SkyscraperCity Forum banner

Our Neighbour | Myanmar

822K views 4K replies 133 participants last post by  Wisarut 
#1 ·
a.k.a. Burma.
This from my trip in December last year

View from the guesthouse


I think they were a little overconfident of their buffet qualities, but it was a good place to stay :)


Burmese fashion. Many people had their wallets stuffed into the back of the longyi, very visible. No worries!




A funky treehouse in Yangoon


No Coca Cola, Fanta or any of the familiar brands available. This is Fruito.


No Burger Kings or Starbucks either. This is slightly similar to.. what was it.. I think I have seen it before.


If I had to name five of the most amazing sights I've seen with my own eyes this would be one. Bagan and the Eiffel Tower would also be on the list.
 
See less See more
8
#422 ·
ค้าขายลุงทุนไทย-พม่าฉลุย อังกฤษผงาดขึ้นเบอร์ 2

ภาพแฟ้มเดือน มิ.ย.2552 รถยนต์ทะเบียนพม่าแล่นกันขวักไขว่ที่บริเวณหน้าด่านศูลกากร-ตรวจคนเข้าเมือง อ.แม่สาย จ.เชียงราย สภาหอการค้าฯ ในกรุงย่างกุ้งแถลงตัวเลขล่าสุด การค้าไทย-พม่ายังพุ่งลิ่วต่อไป นอกจากนั้นปีที่ผ่านมา ไทยยังเป็นนักลงทุนเบอร์ 1 ส่วนเบอร์ 2 กลับมาไกลจากยุโรป ดินแดนที่คว่ำบาตรรัฐบาลทหาร

ASTVผู้จัดการออนไลน์-- ไทยซึ่งเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดที่สุด เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด และเป็นผู้เข้าลงทุนอันดับ 1 ในพม่า แต่อันดับ 2 กลับไม่ใช่เพื่อนบ้านแถบนี้ หากมาไกลจากสหภาพยุโรป ดินแดนที่ใช้มาตรการคว่ำบาตรรัฐบาลทหารพม่าอย่างแข็งขัน

การค้าทวิภาคีระหว่างพม่ากับไทยในปีงบประมาณ 2552-2533 ที่สิ้นสุดลงในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา มีมูลค่ารวม 3,577 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว จากสองปีที่แล้ว

นิตยสารข่าวรายสัปดาห์ภาษาพม่า ย่างกุ้งไทมส์ (Yangon Times) อ้างตัวเลขดังกล่าว จากรายงานของสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมพม่า หรือ UMFCCI (Union of Myanmar Federation of Chambers of Commerce and Industry)

ในปีงบประมาณ 2548-2549 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่าเพียง 1,593 ล้านดอลลาร์ UMFCCI เปิดเผยตัวเลขเหล่านี้ ขณะที่จะมีการประชุมพบปะเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างสองประเทศในเดือนนี้

ส่วนประเทศที่เข้าลงทุนในพม่ามากเป็นอันดับ 2 คือ อังกฤษ และอันดับ 3 คือ สิงคโปร์

นักลงทุนจากไทยทุ่มเงินทุนเข้าพม่ารวม 7,411 ล้านดอลลาร์ในช่วง 21 ปีที่ผ่านมา (2531-2552) ในนั้น 81.7% เป็นการลงทุนแขนงผลิตไฟฟ้า 8.33% ในอุตสาหกรรมการผลิต 3.1% ในแขนงโรงแรมกับการท่องเที่ยว

ทางการไม่ได้แสดงตัวเลขของนักลงทุนอันดับ 2 และ 3

รัฐบาลอังกฤษเข้าร่วมอย่างแข็งขันกับสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ในการคว่ำบาตรรัฐบาลทหารที่ปกครองพม่าติดต่อกันมานานเกือบครึ่งศตวรรษ ห้ามนำเข้าสินค้าจากพม่าเกือบจะทุกรายการ

อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันดีว่า กลุ่มบีพี (BP) บริษัทน้ำมันแห่งชาติของอังกฤษยังคงมีผลประโยชน์ในโครงการสำรวจขุดเจาะ พลังงานในพม่า เช่นเดียวกับโตตาลออยล์ของฝรั่งเศส และ เชฟรอน จากสหรัฐฯ และ บริษัทเหล่านี้ปฏิเสธที่จะถอนตัวออกไปตามเสียงเรียกร้องของรัฐบาล โดยอ้างว่าจะไม่ช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ

เมื่อกลับไปมองดูรายละเอียดด้านการค้าไทย-พม่า ไม่เพียงแต่การค้าขายปรกติจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่านั้น การค้าขายข้ามพรมแดนก็มีมูลค่าสูงขึ้นเช่นกัน ย่างกุ้งไทมส์กล่าว

นายทุนอู (Tun Oo) -รองประธานของ UMFCCI U กล่าวกับหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ว่า การค้าข้ามแดนผ่านด้านท่าขี้เหล็ก เมียววดี เกาะสอง กับมะริด มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเพียง 199 ล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2548-2549 เป็น 295 ล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2552-2553

ไทยเป็นคู่ค้าหมายเลข 1 ในการค้าขายตามช่องทางปรกติ ตามด้วยสิงคโปร์ จีน อินเดีย ฮ่องกง มาเลเซีย เกาหลีใต้ และ อินโดนีเซีย

ไทยส่งออกสินค้าพวกสิ่งทอ รองเท้า อาหารทะเล ข้าว ยางพารา อัญมณี รถยนต์ คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ จำหน่ายให้พม่า และ นำเข้าพวกของป่า อาหารทะเลสด ผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ และรายการใหญ่ที่สุดคือ ก๊าซธรรมชาติ.


ภาพแฟ้มเดือน มิ.ย.2552 แม่ค้าบรรทุกสัมภาระเต็มทุกพื้นที่บนจักรยนยนต์คู่ชีพ กำลังมุ่งหน้ากลับฝั่งท่าขี้เหล็ก การค้าไทย-พม่า ยังวิ่งไปข้างหน้าไม่หยุด ไม่ว่าสถานการณ์โลกภายนอกจะเป็นเช่นไร



ภาพแฟ้มเดือน มิ.ย.2552 แม้ค้าเทน้ำให้ลูกค้าล้างมือ เพื่อชิมลิ้นจี่จากจีน ที่แผงบริเวณหน้าด่าน อ.แม่สาย ชายแดนแถบนี้ยังเป็นทางผ่านของผลไม้หลากชนิดจากจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งไปขึ้นบกที่ท่าเรือเชียงแสน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 กันยายน 2553 15:04 น.
 
#423 ·
ค้าขายลุงทุนไทย-พม่าฉลุย อังกฤษผงาดขึ้นเบอร์ 2

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 กันยายน 2553 15:04 น.


ASTVผู้จัดการออนไลน์-- ไทยซึ่งเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดที่สุด เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด และเป็นผู้เข้าลงทุนอันดับ 1 ในพม่า แต่อันดับ 2 กลับไม่ใช่เพื่อนบ้านแถบนี้ หากมาไกลจากสหภาพยุโรป ดินแดนที่ใช้มาตรการคว่ำบาตรรัฐบาลทหารพม่าอย่างแข็งขัน

การค้าทวิภาคีระหว่างพม่ากับไทยในปีงบประมาณ 2552-2533 ที่สิ้นสุดลงในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา มีมูลค่ารวม 3,577 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว จากสองปีที่แล้ว

นิตยสารข่าวรายสัปดาห์ภาษาพม่า ย่างกุ้งไทมส์ (Yangon Times) อ้างตัวเลขดังกล่าว จากรายงานของสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมพม่า หรือ UMFCCI (Union of Myanmar Federation of Chambers of Commerce and Industry)

ในปีงบประมาณ 2548-2549 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่าเพียง 1,593 ล้านดอลลาร์ UMFCCI เปิดเผยตัวเลขเหล่านี้ ขณะที่จะมีการประชุมพบปะเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างสองประเทศในเดือนนี้

ส่วนประเทศที่เข้าลงทุนในพม่ามากเป็นอันดับ 2 คือ อังกฤษ และอันดับ 3 คือ สิงคโปร์

นักลงทุนจากไทยทุ่มเงินทุนเข้าพม่ารวม 7,411 ล้านดอลลาร์ในช่วง 21 ปีที่ผ่านมา (2531-2552) ในนั้น 81.7% เป็นการลงทุนแขนงผลิตไฟฟ้า 8.33% ในอุตสาหกรรมการผลิต 3.1% ในแขนงโรงแรมกับการท่องเที่ยว

ทางการไม่ได้แสดงตัวเลขของนักลงทุนอันดับ 2 และ 3

รัฐบาลอังกฤษเข้าร่วมอย่างแข็งขันกับสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ในการคว่ำบาตรรัฐบาลทหารที่ปกครองพม่าติดต่อกันมานานเกือบครึ่งศตวรรษ ห้ามนำเข้าสินค้าจากพม่าเกือบจะทุกรายการ

อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันดีว่า กลุ่มบีพี (BP) บริษัทน้ำมันแห่งชาติของอังกฤษยังคงมีผลประโยชน์ในโครงการสำรวจขุดเจาะพลังงานในพม่า เช่นเดียวกับโตตาลออยล์ของฝรั่งเศส และ เชฟรอน จากสหรัฐฯ และ บริษัทเหล่านี้ปฏิเสธที่จะถอนตัวออกไปตามเสียงเรียกร้องของรัฐบาล โดยอ้างว่าจะไม่ช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ

เมื่อกลับไปมองดูรายละเอียดด้านการค้าไทย-พม่า ไม่เพียงแต่การค้าขายปรกติจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่านั้น การค้าขายข้ามพรมแดนก็มีมูลค่าสูงขึ้นเช่นกัน ย่างกุ้งไทมส์กล่าว

นายทุนอู (Tun Oo) -รองประธานของ UMFCCI U กล่าวกับหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ว่า การค้าข้ามแดนผ่านด้านท่าขี้เหล็ก เมียววดี เกาะสอง กับมะริด มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเพียง 199 ล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2548-2549 เป็น 295 ล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2552-2553

ไทยเป็นคู่ค้าหมายเลข 1 ในการค้าขายตามช่องทางปรกติ ตามด้วยสิงคโปร์ จีน อินเดีย ฮ่องกง มาเลเซีย เกาหลีใต้ และ อินโดนีเซีย

ไทยส่งออกสินค้าพวกสิ่งทอ รองเท้า อาหารทะเล ข้าว ยางพารา อัญมณี รถยนต์ คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ จำหน่ายให้พม่า และ นำเข้าพวกของป่า อาหารทะเลสด ผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ และรายการใหญ่ที่สุดคือ ก๊าซธรรมชาติ.
 
#424 ·
พม่าขยายแบงก์เอกชนเส้นทหาร

Thaipost ต่างประเทศ17 กันยายน 2553 - 00:00

รัฐบาลทหารพม่าไฟเขียวการก่อตั้งธนาคารพาณิชย์ของเอกชนเพิ่มอีก 4 แห่งก่อนหน้าการเลือกตั้งเดือน พ.ย. เผยเจ้าของแบงก์แต่ละรายล้วนมีเส้นสายในกองทัพ ทั้งนักค้าอาวุธและนักธุรกิจที่ถูกตะวันตกคว่ำบาตร

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานวันที่ 16 กันยายน ว่าการขยายจำนวนธนาคารพาณิชย์ในพม่าครั้งนี้เกิดต่อเนื่องจากสัญญาณที่ว่าจีนกำลังเข้ามาลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่รุ่มรวยทรัพยากรแห่งนี้มากขึ้น รวมถึงการติดต่อทำการค้าระหว่างพม่ากับเพื่อนร่วมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็กำลังขยายตัว กระนั้นนักเศรษฐศาสตร์ได้ตั้งข้อกังขาว่าการเปิดธนาคารเอกชนเพิ่มอีกในประเทศปกครองด้วยทหารจะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ขาดแคลนเงินทุนได้หรือ

ตรงกันข้าม การเพิ่มจำนวนแบงก์เอกชนจากเดิม 15 ราย เป็น 19 รายครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นแนวโน้มที่ว่านายทหารชั้นสูงและพวกพ้องของพวกเขาต้องการจะตั้งตนเป็นผู้มีอิทธิพลทางการเงินในพม่ายุคใหม่ที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลพลเรือน

เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังรายหนึ่งกล่าวว่า นักธุรกิจ 4 รายได้รับอนุญาตให้เปิดธนาคารพาณิชย์ 4 แห่งใหม่ก่อนจะถึงการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 7 พฤศจิกายน ศกนี้ โดยสำนักงานจะตั้งอยู่ที่กรุงเนย์ปีดอว์

บุคคลทั้งสี่ล้วนเป็นบุคคลที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพวกนายพลในรัฐบาลและยังเป็นพลเรือนที่มั่งคั่งที่สุดในประเทศด้วย รายหนึ่งคือ เทย์ ซา นักธุรกิจใหญ่เจ้าของตูกรุ๊ป ผู้ที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐระบุว่าเป็นพ่อค้าอาวุธ อีกรายคือ จ่อ จ่อ ซึ่งถูกสหรัฐคว่ำบาตรเมื่อปีที่แล้ว รายที่สามคือ เนย์ อ่อง บุตรของรัฐมนตรีอุตสาหกรรมที่เป็นผู้ทรงอิทธิพล โดยมองกันว่าเป็นบุคคลที่พลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย กำลังปลุกปั้น นักธุรกิจรายที่ 4 คือ จิต คาย นักพัฒนาที่ดิน ซึ่งก็ถูกชาติตะวันตกคว่ำบาตรเช่นกัน

ชอน เทอร์เนลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจพม่าจากมหาวิทยาลัยแม็กควารีในนครซิดนีย์ กล่าวว่า บุคคลเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความไม่ถูกต้องของเศรษฐกิจพม่า นั่นคือการแสวงหากำไรจากเส้นสายและความคลุมเครือ

เขากล่าวว่า เป็นเรื่องยากที่จะมองว่าธนาคารแห่งใหม่ๆ นี้เป็นมากกว่า "หีบเงิน" ของเครือธุรกิจเจ้าของมัน ในบางบริบทมันอาจดูเหมือนเป็นเพียงของเล่น แต่ขณะเดียวกันธนาคารเหล่านี้ก็ยังเป็นช่องทางในการเข้าถึงสัมปทานรูปแบบต่างๆ, การแลกเปลี่ยนเงินตรา และกระทั่งการยักย้ายถ่ายเทหรือตบตาการเคลื่อนไหวของเงิน

โดยทั่วไปนักเศรษฐศาสตร์มักมองว่า ในประเทศที่มีการบริหารจัดการเศรษฐกิจที่ผิดพลาดมานานหลายทศวรรษและยังถูกบีบเค้นจากมาตรการคว่ำบาตรของตะวันตกสืบเนื่องจากปัญหาสิทธิมนุษยชน ระบบการธนาคารของประเทศเหล่านี้เป็นภาคอุตสาหกรรมที่พิกลพิการ

เทอร์เนลล์ประเมินว่า ช่วงปี 2551/52 นั้นมีสินเชื่อภายในพม่าเพียงแค่ 15% ที่ให้กับภาคเอกชน และช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนของสินเชื่อภาคเอกชนในประเทศลดลงไปเกือบ 25% ทำให้ธุรกิจเอกชนอยู่ในสภาพง่อยเปลี้ย

ภาคที่กระทบหนักที่สุดคือภาคการเกษตร ซึ่งเป็นรายได้เกินครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจพม่า และเป็นอาชีพหลักของประชากรมากกว่า 70% ของทั้งหมด 50 ล้านคน โดยเทอร์เนลล์กล่าวว่า ภาคเกษตรได้สินเชื่อจากธนาคารแค่ 0.4% เท่านั้น ขณะที่ สินเชื่อจำนวนมหาศาลในพม่าเอื้อประโยชน์ให้แก่ระบอบทหาร

นักธุรกิจ 4 รายนี้บริหารเครือข่ายธุรกิจที่สร้างผลกำไรเป็นกอบเป็นกำจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ในปีนี้ ที่มีการขายทรัพย์สินราว 300 แห่งของรัฐ ตั้งแต่อสังหาริมทรัพย์จนถึงท่าเรือ, บริษัทชิปปิงและสายการบิน

เจ้าหน้าที่ธนาคารใหม่แห่งหนึ่งกล่าวโดยอำพรางชื่อว่า ธนาคารของตนจะพยายามยกระดับการธนาคารให้ทันสมัย โดยจะพยายามให้เงินกู้แก่ลูกค้ารายย่อยและนำเสนอบริหารออนไลน์, เอทีเอ็มและอื่นๆ.
 
#425 ·
สอท.คาดถนนท่าเรือทวายสร้างเสร็จปี 2558

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 17 กันยายน 2553 17:30


ส.อ.ท.เผยความคืบหน้าสร้างถนนโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย 3 แสนล้าน เริ่มก่อสร้างเฟสแรกต้นปีหน้า คาดก่อสร้างเสร็จ 2558

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงการศึกษาและสำรวจความเป็นไปได้ในการพัฒนาเส้นทางการค้าของไทยสู่ฝั่งตะวันตกที่รัฐบาลไทยได้ร่วมมือกับรัฐบาลพม่าในการพัฒนาก่อสร้างเส้นทาง โลจิสติกส์ ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและจัดทำแผนงานส่วนท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย ประเทศพม่า ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับพม่า มูลค่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ

ทั้งนี้เส้นทางถนนระยะทาง 160 กิโลเมตรจากเมืองทวาย มายังบ้านพุน้ำร้อนจังหวัดกาญจนบุรี จะดำเนินการก่อสร้างโดยบมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) โดยจะแบ่งเป็น 2 เฟส ซึ่งเฟสแรกจะก่อสร้างต้นปีหน้า เป็นถนนมาตราฐาน 4 เลน และเฟส 2 เป็นการขยายถนนเพิ่มเป็น 8 เลน ซึ่งคาดแล้วเสร็จ 2558 นอกจากนี้จะมีเส้นทางรถไฟที่เชื่อมโยงกับประเทศจีนระยะทาง 1.7 พันกิโลเมตร

ในส่วนการสร้างท่าเรือน้ำลึก ทวายที่ประเทศพม่า คณะกรรมการได้มีการเลือกพื้นที่ นาบูเร ที่พม่า มีระยะทางห่างจากเมืองทวาย 10 กิโลเมตร ซึ่งการก่อสร้างดังกล่าวจะเป็นการลดระยะทางในการขนส่งน้ำมันดิบจากตะวันออก กลาง เป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าไปสู่อินโดจีนและตอนใต้ของประเทศจีน

ด้านนายสุรินทร์ วิเชียร ผู้จัดการโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวาย กล่าวว่า ส่วนของนิคมอุตสาหกรรม จะมีพื้นที่ 250 ตารางกิโลเมตร จะมีโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 4 MVA โรงงานเหล็ก โรงงานปุ๋ย โรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น และโครงการดังกล่าวถือว่ามีขนาดที่ใหญ่กว่านิคมอุตสาหกกรมแหลมฉบังและมาบตา พุดรวมกัน 10 เท่า การก่อสร้างคาดว่าจะใช้เวลา 10 ปีนับจากปี 2554

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้มีนโยบายในการผลักดันโครงการการพัฒนาการก่อสร้างเส้นทางโลจิ สติกส์ไทย-พม่า และโครงการการพัฒนาท่าเรือชายฝั่งตะวันตก โดยคณะกรรมการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ กกร. ร่วมกับคณะกรรมการสภาธุรกิจ GMS-BF ประเทศไทย ซึ่งจัดตั้งโดยความร่วมมือของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้ให้ความสำคัญและอยู่ระหว่างติดตามกรอบนโยบายภาครัฐข้างต้น เพื่อพัฒนาเส้นทางการค้าไทยของไทยสู่ฝั่งตะวันตกดังกล่าว
 
#426 ·
พม่างดเลือกตั้งพื้นที่ชนกลุ่มน้อย

Thaipost ต่างประเทศ18 กันยายน 2553 - 00:00

รัฐบาลทหารยกเลิกการเลือกตั้งหลายพื้นที่ของชนกลุ่มน้อยใน 5 รัฐ อ้างมีความไม่สงบจนไม่อาจจัดให้มีการลงคะแนน "อย่างเสรีและยุติธรรม" ได้ ด้านสหรัฐระบุรอจับตาผลการเลือกตั้งพม่าอาจเกิดผู้เล่นรายใหม่ในการเมืองหม่อง แต่ยอมรับเลือกตั้งปลายปีนี้ไม่มีความน่าเชื่อถือ

สถานีวิทยุและโทรทัศน์ของทางการพม่าประกาศรายชื่อหมู่บ้านราว 300 หมู่บ้าน ในรัฐกะฉิ่น, กะยา, กะเหรี่ยง, มอญ และฉาน ที่ประชาชนจะไม่ได้ใช้สิทธิในการเลือกตั้งทั่วไปปลายปีนี้ โดยรายงานเมื่อวันพฤหัสบดีเผยด้วยว่า ในพื้นที่ของว้านั้นจะมี 4 เมืองที่ไม่ได้จัดการเลือกตั้งด้วย

"การเลือกตั้งทั่วไปแบบหลายพรรคการเมืองในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2553 จะไม่จัดในสถานที่ดังต่อไปนี้ เนื่องจากสภาพการณ์ไม่เอื้อต่อการจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีและยุติธรรมได้" แถลงการณ์ของสื่อรัฐประกาศก่อนเผยรายชื่อเขตเลือกตั้งทั้งหมด

คำประกาศไม่ได้ระบุเจาะจงว่ามีความวิตกด้านความมั่นคงอันใด แต่รัฐเหล่านี้เป็นพื้นที่ของกองกำลังชนกลุ่มน้อย อาทิ องค์กรเอกราชกะฉิ่น, กองทัพรัฐฉาน และสหภาพกะเหรี่ยงแห่งชาติ

ชนกลุ่มน้อยในพื้นที่เหล่านี้ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ตามแนวชายแดนฝั่งตะวันออกและทางเหนือของพม่า เคยสู้รบกับรัฐบาลมายาวนาน และพยายามแข็งขืนต่อแผนการของรัฐบาลทหารที่ต้องการให้กองกำลังกึ่งอิสระของชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ผนวกเข้ากับกองกำลังป้องกันชายแดนของรัฐบาล

อีกด้านหนึ่งที่กรุงวอชิงตัน เคิร์ต แคมป์เบลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศผู้ดูแลนโยบายด้านเอเชียของรัฐบาลสหรัฐ กล่าวต่อที่ประชุมหน่วยงานคลังสมองเวทีหนึ่งเมื่อวันพฤหัสบดีว่า การเลือกตั้งของพม่าวันที่ 7 พ.ย.นี้ ซึ่งกลุ่มสิทธิปรามาสว่าเป็นแค่เลือกตั้งปาหี่เพื่อขยายอำนาจของกองทัพในการปกครองประเทศต่อไปนั้น ยังขาดความชอบด้วยตามกฎหมายที่เป็นพื้นฐานสำคัญ เช่น การมีคณะสังเกตการณ์การเลือกตั้งอิสระ

"เราถือว่ากรณีนี้เป็นการขาดซึ่งความน่าเชื่อถือตามความจำเป็น" เขากล่าว และว่า "ยังมีประเด็นเรื่องช่วงเวลาภายหลังการเลือกตั้งที่อาจมีการสร้างผู้มีบทบาทรายใหม่ ความสัมพันธ์ทางอำนาจรายใหม่ และโครงสร้างใหม่ๆ ในประเทศนี้ ด้วยเหตุนี้เราคิดว่า เราจำเป็นต้องเตรียมพร้อมและดูว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไป"

นางอองซาน ซูจี ผู้นำเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าซึ่งถูกกักบริเวณในบ้านของนางเอง ได้กล่าวแนะให้สมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของนางอย่าได้ไปใช้สิทธิ พรรคเอ็นแอลดีถูกยุบไปโดยปริยายตั้งแต่เดือน พ.ค.ที่ผ่านมาตามกฎหมายเลือกตั้งฉบับใหม่ของพม่า ภายหลังพรรคไม่ยื่นจดทะเบียนพรรคและลงสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวบังคับให้พรรคต้องขับนางซูจีและพวกแกนนำที่ต้องโทษ

แคมป์เบลล์กล่าวด้วยว่า รัฐบาลสหรัฐมีความผิดหวังอย่างยิ่งต่อความพยายามจะติดต่อเกี่ยวกับรัฐบาลทหารพม่าซึ่งยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร "เราผิดหวังในสิ่งที่เราเห็นจนถึงขณะนี้ในแทบทุกเรื่องเลย" เขายอมรับ

เจ้าหน้าที่ผู้นี้เผยว่า รัฐบาลสหรัฐได้ติดต่อสื่อสารกับบรรดาประเทศเพื่อนบ้านของพม่าในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เกี่ยวกับ "การเดินหน้าสานเสวนาอย่างครอบคลุมกับรัฐบาลทหารและรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจต่อจากนี้" ว่าเป็นหนทางที่ดีที่สุดอย่างไร

"เราคิดว่าคงต้องมีการผสมผสานกันระหว่างการกดดันและการให้รางวัลหากมีความคืบหน้าบางประการ เรายังได้เตรียมพร้อมดำเนินการในทั้งสองกรณี ขึ้นอยู่กับพัฒนาการ" เขากล่าว
เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐกล่าวกันว่า ประธานาธิบดีบารัก โอบามา มีกำหนดจะพบปะกับบรรดาผู้นำอาเซียนนอกรอบการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติที่นครนิวยอร์กวันที่ 24 กันยายน โดยคาดว่าในส่วนของพม่านั้นจะส่งรัฐมนตรีต่างประเทศมาร่วมการประชุม.
 
#427 ·
“แอร์พุกาม” บินภูเก็ต-พร้อมกลับกรุงเทพฯ อีกครั้ง


ฟ็อกเกอร์-100 ของแอร์บากาน ลำนี้กระมังที่จะใช้บินเส้นทางใหม่ย่างกุ้ง-ภูเก็ต ในต้นเดือน ธ.ค.ศกนี้ แอร์บากานกำลังรอเครื่องบินอีก 2 ลำ เป็นแอร์บัส A320 กับ ATR72-500

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- สายการบินเอกชนแอร์บากาน (Air Bagan) หรือ “แอร์พุกาม” ของพม่า กำลังจะบินตรงเข้าภูเก็ตในเดือน ธ.ค.ศกนี้ ขณะเดียวกัน ก็พร้อมจะบินกลับเมืองหลวงของไทยอีกครั้งหนึ่ง “ในอนาคตอันใกล้นี้” พร้อมเปิดเที่ยวบินเชื่อมเสียมราฐ ในกัมพูชา กรุงกัวลาลัมเปอร์ และ นครคุนหมิง

นิตยสารข่าวเมียนมาร์ไทมส์ รายงานเรื่องนี้อ้างการเปิดเผยของนางสาวตันดานอย (Sao Thanda Noi) ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาดของแอร์บากาน

“เรามีแผนจะเริ่มบินเส้นทางภูเก็ตในสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม จะมีเที่ยวบินประจำสัปดาห์ละ 2 เที่ยวทุกวันจันทร์กับวันศุกร์” โดยใช้เครื่องฟ็อกเกอร์ ขนาด 100 ที่นั่ง เมียนมาร์ไทมส์อ้างคำพูดของนางนอย

เส้นทางใหม่จะใช้เวลาบินประมาณ 90 นาที เวลาออกเดินทางหรือไปถึงกรุงย่างกุ้ง จะใกล้เคียงกับเวลาของเที่ยวบินย่างกุ้ง-เชียงใหม่ โดยหวังว่าจะสามารถดึงดูดผู้โดยสารที่เป็นนักท่องเที่ยวระหว่างไทยกับพม่า ได้เป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่คนเดียวกันกล่าว

ภูเก็ตกำลังจะเป็นปลายทางที่สองในประเทศไทยของแอร์บากาน หลังจากเปิดให้บริการบินแบบเช่าเหมาลำย่างกุ้ง-เชียงใหม่ เมื่อต้นปีนี้ และ กำลังจะเพิ่มเที่ยวบินเชียงใหม่จาก 2 เป็น 3 เที่ยวต่อสัปดาห์ตั้งแต่เดือน พ.ย.นี้เป็นต้นไป

แอร์บากานเคยบินเข้ากรุงเทพฯ กับกัวลาลัมเปอร์ ในต้นปี 2550 การปราบปรามผู้เดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างรุนแรงของรัฐบาลทหารใน เดือน ก.ย.ปีเดียวกัน ทำให้ผู้โดยสารลดลง

ภัยพิบัติจากพายุลูกหนึ่งในเดือน พ.ค.2551 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2 แสนคน ทำให้การท่องเที่ยวพม่าหยุดนิ่ง แอร์บากานต้องหยุดบินเส้นทางย่างกุ้ง-กรุงเทพฯ กับ ย่างกุ้ง-กัวลาลัมเปอร์

อย่างไรก็ตาม สายการบินนี้มีแผนการมานานที่จะบินกลับเข้ากรุงเทพฯ และกัวลาลัมเปอร์อีกครั้งหนึ่ง พร้อมเปิดเส้นทางเสียมราฐ กับคุนหมิง

หนังสือพิมพ์ “เดอะวอยซ์” (The Voice) ภาษาพม่ารายงานในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา แอร์บากานกำลังจะมีเครื่องบินอีก 4 ลำในปีนี้ เป็นแอร์บัส A-320 จำนวน 2 ลำ กับ ATR72-500 อีก 2 ลำ โดยไม่มีการระบุแหล่งที่มา รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อหรือเช่า

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 กันยายน 2553 18:04 น.
 
#428 ·
"พม่างดเลือกตั้งพื้นที่ชนกลุ่มน้อย" อุบาทเหนือคำบรรยายทุกอย่าง ทำไมไม่ประกาศไปเลยว่าจะบริหารประเทศแบบคอมมิวนีสทุนนิยม ทหารก็จะได้อยู่ในอำนาจต่อไปแต่เปิดประตูรับการลงทุนแบบ คูเวต จีน เวียดนาม อย่างน้อยประชาชนก็จะได้รัฐสวัสดิการที่ควรจะได้ตามหลักคอมมิวนีสทุนนิยม ละแบบนี้เลือกตั้งไปก็เปล่าประโยชน์ความเหลือมล้ำเพียบเลยรัฐบาลใหม่หลังเลือกตั้งคงปวดหัวน่าดู
 
#429 · (Edited)
รัฐบาลใหม่ก็ รัฐบาลทหารเจ้าเก่าเพียงแต่ถอดเครื่องแบบมานุ่งโสร่ง เท่านั้นเอง นอกนั้น ก็เหมือนเดิม แต่ ที่งดเลือกตั้งในเขตชนกลุ่มน้อย 5 รัฐ ก็เพราะ เกรงว่าจะคุมไม่อยู่เลยงดดีกว่าเอาเขตที่คุมอยู่ คือเขตที่ สามารถกำหนดให้ บัตรเลือกตั้งใดที่ลงคะแนนให้ฝ่ายค้าน จะถือว่าเป็นบัตรเสียทันที :eek:

ดีเท่าไหร่แล้วที่ไม่เกิดปรากฏการณ์ คนมาลงคะแนนเสียง 30,000 คนแต่ชนะกัน 600,000 คะแนน ที่ทำเช่นนั้นได้ก็เดพราะ นำรายชื่อคนที่ตายไปแล้ว 100 ปี มาลงคะแนนเสียงให้ด้วย
 
#431 ·
รบ.ทหารพม่าได้ "ช้างเผือก" ตัวใหม่ เชื่อเป็นสัญลักษณ์ชนะเลือกตั้ง

วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 18:07:00 น. มติชนออนไลน์


เอเอฟพี รายงานว่ารัฐบาลพม่ากำลังเชื่อว่าตนเองได้รับสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จ "ในการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตย" มาครอบครอง หลังจากมี "ช้างเผือก" ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แห่งบุญญาบารมีมาตั้งแต่ยุคโบราณตามความเชื่อของชนชั้นนำละแวกนี้ ถูกจับได้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา


ช้างเผือกตัวล่าสุดของพม่าถูกจับได้ที่รัฐยะไข่เมื่อวันที่ 23 กันยายน โดยหนังสือพิมพ์นิว ไลท์ ออฟ เมียนมาร์ ของรัฐบาล ได้ระบุว่าช้างตัวดังกล่าวเป็นช้างเผือกตัวที่ 5 ซึ่งถูกจับได้ในพม่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 เป็นต้นมา และถือเป็นความภาคภูมิใจของชาติ


"ประชาชนต่างพากันพูดคุยอย่างมีความสุขว่า เหตุมงคลเช่นนี้ได้เกิดขึ้นอย่างสองคล้องกับช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยของประเทศพม่า และนี่ก็ถือเป็นสัญลักษณ์อันดีงามที่แสดงให้เห็นถึงการประสบความสำเร็จซึ่งจะเกิดขึ้นกับการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน" บทความของหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวระบุ


นอกจากนี้ บทความชิ้นนั้นยังระบุด้วยว่า ช้างเผือกตัวล่าสุดได้ชี้ให้เห็นว่าประชาชนพม่าจะพบกับความสงบสุข การมีเสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง ในยุคสมัยของรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกันกับยุคสมัยที่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้ทำการปกครองประเทศ
 
#434 ·
กองกำลังอาสาพม่าพัฒนาเป็นผู้ค้ายาเสพติดรายใหม่

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 กันยายน 2553 19:17 น.


สำนักข่าวฉานรายงานว่า กองกำลังอาสา ใต้บังคับบัญชาของรัฐบาลพม่าในเขตรัฐฉาน กำลังมีบทบาทสำคัญในการค้ายาเสพติด และตั้งโรงงานผลิตยาเสพติดหลายแห่งตามชายแดนไทย-พม่า

ทั้งนี้ข้อมูลในรายงานล่าสุดของฉาน ดรัก วอช (Shan Drug Watch) หนึ่งในโครงการของสำนักข่าวฉาน ระบุว่า สงครามปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลทหารพม่าล่าช้ากว่าที่ควรเป็น ตอนนี้ยังมี 46 อำเภอ จาก 55 ในรัฐฉานที่ยังปลูกฝิ่น เพราะรัฐบาลมีนโยบายปล่อยให้กองกำลังอาสา
หลายกลุ่มเข้าไปพัวพันกับการปลูกฝิ่น และได้รับการสนับสนุนจากกองทัพพม่าที่ต้องพึ่งภาษีจากฝิ่น

แห่งสำนักข่าวฉาน เปิดเผยว่า รัฐบาลทหารพม่าเรียกเก็บค่าภาษีแต่ละหมู่บ้าน 4,500-18,000 บาทต่อหนึ่งรอบการเก็บเกี่ยว ขณะที่ชาวพม่าได้รับเงินเดือนเพียงแค่ 660 บาทต่อเดือน เขาบอกว่ากองกำลังอาสาที่ทหารพม่าไว้วางใจได้กลายเป็นพ่อค้ายารายใหญ่แทนที่กองกำลังชนกลุ่มน้อย ในอดีตกองกำลังเหล่านี้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ค้าท้องถิ่น เฉพาะแค่ตอนเหนือของรัฐฉาน มีกว่า 400 กลุ่ม โรงงานยาเสพติดส่วนใหญ่ตามชายแดนไทย-พม่าดูแลโดยกองกำลังอาสาที่ทั้งผลิตและขาย และพบมากบริเวณ ต.ท่าขี้เหล็กของพม่า ติดกับ จ.เชียงราย บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ

นายนอว์ดิน ลาไพ บรรณาธิการของสำนักข่าวคะฉิ่น กล่าวว่า ล่าสุดมีการปะทะระหว่างกองกำลังทหารจากกองทัพคะฉิ่นอิสระและกลุ่มกองกำลังอาสาของรัฐบาลทหาร เมื่อวันที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา และพบโรงงานเฮโรอีนที่เพิ่งตั้งได้เพียง 10 วัน กองกำลังทหารจากกองทัพคะฉิ่นอิสระไม่สามารถปราบปรามการค้ายาของกองกำลังอาสาได้ เพราะกองกำลังนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทหาร โดยมีหลักฐานว่ากองกำลังอาสามีความใกล้ชิดกับพลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย และเคยช่วยเขาทำสงครามกับพรรคคอมมิวนิสต์ในอดีต

นายนอว์ดินยืนยันว่าการสนับสนุนกองกำลังอาสาเป็นกลยุทธ์ของรัฐบาลทหารพม่าที่มุ่งทำลายผู้นำรุ่นใหม่ในรัฐคะฉิ่น และมองว่าปัญหาต่างๆ ยังไม่มีทีท่าจะคลี่คลาย แม้จะมีการเลือกตั้งขึ้นในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
 
#435 ·
พม่าบอกจะปล่อย "อองซานซูจี" หลังเลือกตั้ง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 ตุลาคม 2553 00:47 น.

ASTVผู้จัดการออนไลน์-- ทางการทหารกำลังจะปล่อยนางอองซานซูจี นำฝ่ายค้านให้เป็นอิสระ ไม่นานหลังการเลือกตั้งทั่วไปแล้วเสร็จในเดือน พ.ย. ศกนี้ ขณะที่กำหนดการกักกันตัวในบ้านพักกำลังจะหมดลงในวันที่ 13 เดือนเดียวกัน สำนักข่าวเอเอฟพีอ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่พม่าที่ไม่ประสงค์จะให้ระบุชื่อ

“พฤศจิกายนจะเป็นเดือนที่สำคัญและยุ่งสำหรับเรา เนื่องจากมีการเลือกตั้งกับการปล่อยตัวอองซานซูจี" เอเอฟพีอ้างคำกล่าวของเจ้าหน้าที่พม่า

"นางจะได้รับการปล่อยตัวในวันนั้น ทั้งนี้เป็นไปตามกฎหมาย" เจ้าหน้าที่ทางการอีกผู้หนึ่งกล่าวกับเอฟเอฟพี

นางซูจีซึ่งปัจจุบันอายุ 65 ปี เคยนำฝ่ายค้านจนได้รับชัยชนะอันท่วมท้นในการเลือกตั้งปี 2531 แต่ฝ่ายทหารไม่ยอมลงจากอำนาจ จากนั้นนางซูจีก็ถูกกักบริเวณให้อยู่แต่ในบ้านพักเป็นส่วนใหญ่ตลอด 20 ปีมานี้ แต่ประชาชนพม่าทั่วไปก็ยังเคารพยกย่องโดยเรียกนางซูจีว่า "คุณผู้หญิง"

นางซูจีถูกกักบริเวณครั้งล่าสุดหลังจากเกิดเรื่องราวที่มีชายชาวอเมริกันผู้หนึ่งว่ายน้ำข้ามบึงไปยังบ้านพักของนางในกรุงย่างกุ้ง และ ศาลพิพากษาคดีนี้ในปี 2552 ให้จำคุกเป็นเวลา 3 ปี แต่ลดหย่อนโทษลงกึ่งหนึ่ง และให้กักตัวในบ้านพักแทนการถูกคุมขังในเรือนจำ

นายเนียนวิน ทนายความของนางซูจีกล่าวว่า ทางการเริ่มการคุมขังนางซูจีตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค.2552 จึงมีกำหนดปล่อยตัวในเดือน พ.ย.ศกนี้ เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายใดเพื่อการกักตัวผู้นำฝ่ายค้านอีก

พรรคสันนิบาติประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหรือ เอ็นแอลดี ได้ตัดสินใจคว่ำบาตรการเลือกตั้งที่จัดขึ้น หลังจากรัฐบาลทหารไม่ยอมให้นางซูจีกับผู้นำของพรรคอีกหลายคนที่ต้องโทษจำคุก เข้าร่วม ทำให้พรรคเอ็นแอลดีถูกยุบไป

ผู้นำจำนวนหนึ่งของเอ็นดีแอล ได้ก่อตั้งพรรคพลังประชาธิปไตยแห่งชาติ ขึ้นมาเข้าร่วมการเลือกตั้งเดือน พ.ย.นี้ แม้ว่าจะสวนทางกับนโยบายของนางซูจีกับพรรคฝ่ายค้านดั้งเดิมก็ตาม.
 
#437 ·
เปิดเส้นทางการค้าโลกใหม่ 'ทวาย-กาญจนบุรี' ยกระดับเทียบชั้นสิงคโปร์

วันที่ 07 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4251 ประชาชาติธุรกิจ


โครงข่าย Westgate Landbridge หรือเส้นทางเชื่อมโยงชายฝั่งทะเลตะวันตก-ทวาย หรือดะ-เวย์ (พม่า)-พุน้ำร้อน (ไทย)-กาญจนบุรี-ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือของรัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่า ซึ่งมีการลงนามไปเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2551 โดยจังหวัดทวายจะเป็นจุดหลักของการสร้างท่าเรือน้ำลึก และเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ประมาณ 3 แสนเดทเวทตัน สามารถเข้าไปจอดได้ในระยะห่างจากท่าเรือ 5-10 กิโลเมตร ซึ่งบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทชั้นนำของไทยและต่างชาติอีกหลายราย มีแนวคิดที่จะสร้างเป็น Port City ประกอบด้วย ท่าเรือขนาดใหญ่ มีโครงข่ายถนนรถไฟ ท่อส่งน้ำมันและศูนย์อุตสาหกรรม ซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนขั้นต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท

ล่าสุดเมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ กกร.ร่วมกับคณะกรรมการสภาธุรกิจ GMS-BF ประเทศไทยและ นายธวัช บวรวิไชยกูร ประธานคณะอนุกรรมาธิการโลจิสติกส์ วุฒิสภา ได้นำคณะนักธุรกิจและผู้บริหารภาครัฐศึกษาและสำรวจความเป็นไปได้การพัฒนา ส้นทางการค้าของไทยสู่ฝั่งตะวันตกบริเวณบ้านพุน้ำร้อน อำเภอบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี ที่จะเป็นด่านการค้าชายแดนกับฝั่งพม่า พร้อมกับมาเปิดเสวนาระดมความคิดเรื่อง "ทิศทางการพัฒนาเส้นทางการค้าไทยฝั่งตะวันตกกับโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย...โอกาสหรือ ความเสี่ยงของประเทศไทย" ขึ้น ณ โรงแรมเฟลิกซ์ ริเวอร์แคว แอนด์ รีสอร์ท จ.กาญจนบุรี ในวันเดียวกัน

ในที่ประชุมจากภาครัฐและเอกชนมีความเห็นว่า การก่อสร้างท่าเรือทวายให้เป็นศูนย์กลาง (Hub) แล้วตรงเข้าสู่ประเทศไทยไปสู่อินโดจีนและตอนใต้ของจีน พื้นที่ที่จะใช้ในการสร้างท่าเรือและจะมีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่บนพื้นที่ขนาด 250 ตารางกิโลเมตร สำหรับรองรับท่าเรือน้ำลึกแห่งนี้ ถือว่าเป็นโครงการแห่งอนาคตที่ค่อนข้างสดใส เพราะคาดว่าช่องแคบมะละกาในอีก 10 ปีข้างหน้าจะประสบปัญหาหนัก จากการจราจรทางน้ำแออัด ซึ่งปัจจุบันเรือต้องใช้เวลาวิ่งผ่าน นานขึ้นตั้งแต่ 2-7 วัน ดังนั้นโครงการพัฒนาท่าเรือทวายจะทำให้สามารถลดเวลาและระยะทางในการเดินทางมาถึงด้านอินโดจีนประมาณ 5 วัน

โดยตัวแทนจากบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการทั้งหมดจะไม่มีเงินทุนจากรัฐบาลพม่าและรัฐบาลไทยเข้าร่วม แต่จะเป็นทุนจากนักลงทุนทั่วโลก ซึ่งส่วนที่ 1 เป็นการเตรียมใช้เวลาในการเตรียมการประมาณ 2 ปีเศษ เช่น การเตรียมพื้นที่ การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การทำแผนโครงการและแผนด้านการเงิน ซึ่งบริษัท ได้เสนอตัวต่อรัฐบาลพม่าขอเป็นผู้ศึกษา เส้นทางจากทวายมาไทยหลายเส้นทาง และผลสรุปเส้นทางที่จะมาเชื่อมกับไทยอยู่ที่บ้านพุน้ำร้อน อำเภอบ้านเก่าและบริษัทกำลังดำเนินการก่อสร้าง เส้นทางอยู่

ในส่วนที่ 2 เป็นงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 3 เฟส คือ เฟส 1 ระยะเวลา 5 ปี (1 มกราคม 2554-31 ธันวาคม 2558) ประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึกพร้อมสิ่งอำนายความสะดวก รวมทั้งพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม โครงข่ายถนนหลักภายในโครงการและสาธารณูปโภคพื้นฐานหลักของนิคมฯ และเส้นทางเชื่อมต่อโครงการไปยังประเทศไทย เฟส 2 มีระยะเวลา 5 ปี จะเริ่มหลังจากเฟสที่ 1 เริ่มไปได้ 3 ปี (1 มกราคม 2556-31 ธันวาคม 2561) ประกอบด้วยโครงข่ายถนนภายในโครงการระยะที่ 2 และระบบสาธารณูปโภคเพิ่มเติมของโครงการรวมทั้งศูนย์การค้าและศูนย์ราชการ

เฟสที่ 3 มีระยะเวลา 5 ปี จะเริ่มหลังจากเฟส 1 แล้วเสร็จ (1 มกราคม 2559-31 ธันวาคม 2563) ประกอบด้วยท่าเรือ น้ำลึกส่วนที่ 2 พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงข่ายถนนภายในโครงการเต็มรูปแบบ รวมทั้งทางรถไฟ Standard Gauge รางกว้าง 1.435 เมตร จากโครงการถึงประเทศไทย ระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูง จากโรงไฟฟ้าในพื้นที่โครงการถึงประเทศไทย และระบบท่อส่งน้ำมัน และก๊าซจากโครงการถึงประเทศไทย

ในเฟส 1 จะสร้างท่าเรือและถนนไปพร้อมกัน จะสร้างถนนมาตรฐาน 4 เลน แต่เมื่อครบ 10 ปีแล้ว จะได้ถนน 8 เลน เป็นถนนเก็บค่าผ่านทางจากทวายถึงบ้านพุน้ำร้อน ระยะทาง 160 กิโลเมตร ขณะเดียวกันกรมทางหลวงจะต้องเตรียมถนนมอเตอร์เวย์จากบางใหญ่มาที่กาญจนบุรี ระยะทาง 97 กิโลเมตร และจากกาญจนบุรีมาที่บ้านพุน้ำร้อน 60-70 กิโลเมตร

ทางด้าน นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า ทางจังหวัดเตรียมทำหนังสือผ่านกระทรวงมหาดไทยไปยังสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เพื่อขอให้บริเวณบ้านพุน้ำร้อนเป็นจุดผ่านแดนชั่วคราว รวมทั้งสันปันน้ำ เพื่อชี้เขตชายแดนเพื่อสร้างเมืองต่อไป โดยปีงบประมาณ 2554 ทางจังหวัดได้รับงบฯ 6 ล้านบาท สร้างผังชุมชนรองรับหรือด่านชายแดน โดยโยธาธิการและผังเมือง จะหาพื้นที่ 200 ไร่มารองรับ กาญจนบุรี ที่เมื่อก่อนเป็นประตูก้นซอยก็จะเป็นประตูการค้า จะมีเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนซึ่งเขตนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่ 200 ไร่ ที่กำลังจัดหา

ขณะนี้ถนนจากทวายมายังบ้านพุน้ำร้อนระยะทาง 160 กิโลเมตร สร้างบริเวณ ด้านหัวและด้านท้ายเสร็จแล้ว 100 กิโลเมตร แต่ยังไม่ราดยาง ยังเหลือช่วงกลางที่ผ่านพื้นที่ป่า 60 กิโลเมตร คาดว่าฤดูแล้งปีི จะสร้างเสร็จแล้วบริษัทอิตาเลียนไทยฯเปิดใช้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวและการค้าได้

"ทางจังหวัดกาญจนบุรีจะไม่เดินไป เพียงลำพัง เรามีการรวมกลุ่มกับจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม และราชบุรี เป็น กลุ่มจังหวัดทวารวดีเพื่อติดต่อการค้าการลงทุนกับพม่าในแถบนี้"

หน้า 11
 
#438 ·
ITD to ink Bt400 bn deal with Burma on Dawei port

By The Nation Published on October 8, 2010


ItalianThai Development will sign an agreement with the Myanmar Port Authority and the Burmese government by end of this month for construction of a project on the Dawei deepsea port worth Bt400 billion.


Nijaporn Charanachitta, senior executive vice president of ITD, said yesterday that the framework concession agreement was expected to be inked before November 7, when Burma holds a general election.


The Dawei port will be developed as a special economic zone, with power plants, petrochemical and refinery plants, upstream steel plants, roads and infrastructure on 64,000 hectares.


ITD will seek investment partners because the project is the largest in the company's history, Nijaporn said.


Many investors in countries such as South Korea, China and India have shown interest.


ITD will start realising revenue from its backlog of Bt40 billion to Bt50 billion this year. It will also book income from selling its stake in Nam Theun 2 Power Co to Electricity Generating and EDF International for US$110 million (Bt3.3 billion).


ITD's performance this year should improve from last year, when it lost Bt1.77 billion on revenue of Bt41.45 billion, she said. ITD's stock gained 4.3 per cent to Bt4.82.
 
#440 ·
Hello there !

I've been asking this for some time now and on all threads regarding Myanmar:
Could anyone post more photos of Yangon , the new capital - Naypyidaw , other cities , daily life and all that ...besides , all this thread is in Thai language ...despite the fact that I've been to Thailand ...it's rather difficult to understand....

Thank You !
 
#442 ·
A Better Role Model For Myanmar

Indonesia may be in a position to influence Burma, both as the chair of Asean in 2011 and as a positive example of how a democracy can emerge from a dictatorship


JAKARTA—Twenty-five years ago, both Indonesia and Burma were ruled by totalitarian regimes known for their human rights abuses, lack of genuine democracy and corrupt leaders who siphoned off national resources. Indonesia is now a functioning democracy and human rights advocate with a relatively transparent, free market economy. Burma, on the other hand, has slid further into the pit of oppression and corruption.


With Indonesia set to chair the Association of Southeast Asian Nations (Asean) in 2011, and given its recent transformative history, some observers believe Jakarta is the best suited of all Asean members to influence Burma. But if Indonesia is able, directly or indirectly, to effect a positive change in Burma, it will have to succeed where Asean and the international community have previously failed.
Although Asean’s general-secretary, Surin Pitsuwan, once vowed that Asean would be a “wheel of change” in the region, observers say that since its establishment in 1967, the organization has come up short in its meager efforts to improve the human rights record of member states. While Indonesia, the Philippines, Thailand and Malaysia have recently become more active in calling on the Burmese regime to institute democratic reforms, members such as Brunei, Singapore and Vietnam are still reluctant to pressure the junta.

Observers hope that when Indonesia—Asean’s largest and most populous country— takes over as chair of Asean, it can help find a common platform among Asean members that could provide a basis for calls for reform in states such as Burma. Sources within Asean also said that Indonesia may use its chair position to actively pressure the Asean Intergovernmental Commission on Human Rights (AICHR) to push Burma to improve its human rights records and institute democratic reforms.

Ready to Lead?

Jakarta may already be laying the groundwork for that push. At the 16th Asean summit that took place in Hanoi in July, Indonesian Foreign Minister Marty Natalegawa said the bloc wants very much to see an election in Burma that meets international standards for recognition and credibility. And in March 2010, Natalegawa told his Burmese counterpart in Naypyidaw that Jakarta expected the regime to “uphold its commitment to have an election that allows all parties to take part.”

This is not the first time, however, that expectations were raised regarding Indonesia’s potential influence on Burma. In August 2009, the executive director of the US Campaign for Burma, Aung Din, said “Indonesia is a leading member of Asean, a close friend of Burma and has access to the generals in Naypyidaw. Indonesia is also a reliable partner of the US and EU in many areas. Therefore Indonesia can help to build a bridge between the Western powers and the generals in Burma.”

He was not alone in making such predictions, but despite the fact that Indonesia will soon take over the Asean chair, some Indonesians close to the situation are skeptical their government can have an impact on Burma through Asean.

Rafendi Djamin, the Indonesian representative to the AICHR, told The Irrawaddy he doesn’t believe that Asean as an organization will exercise significant pressure for change in Burma.

Thung Ju Lan, a professor at the Research Center for Society and Culture (Indonesia Institute of Science), said she doesn’t believe Indonesia is the best country to help Asean members improve their human rights records because Indonesia itself is still in transition. “We have to learn from each other.

We have to find a common platform rather than talking about one country to lead others,” she said.
Margiyono, an Indonesian journalist who is the advocacy coordinator for the Alliance of Independent Journalists, noted that “The Indonesian government has made many calls to release Aung San Suu Kyi, but there is no mechanism to force Burma to release her.”

Asean’s policy of non-interference is a primary reason observers doubt Indonesia will take a leading role in international efforts to effect change in Burma, with some going so far as to say that Asean’s non-interference policy has been a key factor in allowing the Burmese military regime to entrench itself over the last four decades.

Anggara, a human rights advocate and lawyer who is the executive director of the Indonesian Advocates Association in Jakarta, said that his country needs to abandon the non-interference principal.

One potential opportunity for finding both a collective Asean platform and a forum for abandoning the non-interference policy that did not exist in previous years is the proposed “Asean community” outlined in the Asean Economic Community Blueprint, under which members would establish a single market and production base that would allow the free flow of goods, services, investment, capital and labor throughout the region.

“For me, the concept of an Asean community is very good. We really need to go together,” said Thung Ju Lan. “But I’m concerned about it because we pay too much attention to politics. The first thing we need to do is try to understand the differences and respect them.”

She and other observers say that while an Asean community is good in concept, the existence of undemocratic member states, especially Burma, will make it difficult to find an effective mechanism to implement the program. “Burma, of course, will be a challenge for an Asean community if it only thinks about its own interest,” Thung Ju Lan said.

As a result, some observers such as Aladdin D. Rillo, the head of the Asean Secretariat Finance Integration, have expressed doubts about the integration of Asean in the time frame outlined in the blueprint. “My personal view is that there will only be a semblance of economic integration … not the full integration that the term implies,” he told The Jakarta Post.

However, if Burma’s undemocratic politics and rights abuses are seen as holding up Asean efforts to establish one economic community, and its members believe they are losing the potential economic benefits to be derived from the blueprint, then it could provide an opportunity for them to bond together under Indonesia’s leadership, forego the non-interference principle and put significant pressure on Burma to change.

Debbie Stothard, a regional activist at Alternative Asean Network on Burma said, “It is time Burma should help Asean, not Asean help Burma to improve its human rights records.”

In the end, however, most observers say that Burma’s revolution must come from within, just as Indonesia’s did, with voluntary change from within the circle of decision makers such as top military officials.

“Activists, media and the international community have to inspire the masses. But the real change will come from the government and the people within,” Djamin said.

“There will be a lot of risk. The more repressive the regime is, the smarter people you need to be able to play in order to sustain the movement,” he said.

Thung Ju Lan said the role of educated young people is also important for change in Burma. “Youth inside and outside Burma should join hands in struggling for democracy. Strong opposition in exile is needed and educated young Burmese people should go back to Burma and struggle for change in different means,” she said.

“Sometimes, it doesn’t mean you need to go back to your country physically. You can do many things even when you stay in exile,” Thung Ju Lan added.

Anggara said popular support is needed for the democracy movement in Burma to be an effective force. “We need a group of brave people. And they need to be supported by the people, the media and the international community,” he said.

Lessons from Jakarta

But even as most observers acknowledge that Burmese reforms must begin internally, many also say that both the Burmese junta and its opposition could benefit from Indonesia’s support and learn from the history of its transition over the past three decades from a dictatorship under Suharto to a democracy today.

Suharto seized power in a coup d’état in 1967, five years after Gen Ne Win did the same in Burma. Suharto executed an estimated 1.5 million opponents, many more than Ne Win, and Transparency International reported that Suharto and his cronies siphoned off an estimated US $15-35 billion in national assets while in power.

In 1998, university students launched protests at campuses across Indonesia following a massive fuel price rise. This instigated a nationwide uprising, including riots during which approximately 1,500 people died and scores of shops, houses, office buildings, shopping malls, markets and hotels were destroyed.


In May 1998, Suharto stepped down and reforms were introduced by the democratic governments that followed.
In 1988, Ne Win was forced out under circumstances similar to those present during the overthrow of Suharto—he also faced student protests and a series of nationwide uprisings in which thousands of people were killed. Then for a brief moment, when Aung San Suu Kyi’s National League for Democracy dominated the 1990 election, it appeared that Burma might be taking the same democratic reform path as Indonesia. But when the new junta threw out the results of the election and placed Suu Kyi under house arrest, the moment was lost.

Since that time, conditions have only deteriorated in Burma, while the situation in Indonesia continues to improve. Today, Indonesia has a democratically elected government under President Susilo Bambang Yudhoyono, while Burma remains under the rule of military strongman Snr-Gen Than Shwe. Indonesia has a modern banking system, while Burma still doesn’t have its first ATMs. Jakarta residents enjoy access to the latest IT innovations, while in Rangoon, cell phones are beyond the reach of all but the very wealthy and well-connected. While Indonesians have the right to express themselves freely, Burmese face arrest and imprisonment for violating draconian censorship laws.

“If there are injustices, people in Indonesia can complain directly to the government, while in Burma we cannot,” said Snay Aung, an ethnic Karenni attending a peace-building training conference in Indonesia.

Analysts have noted that Burma’s military junta is looking to North Korea as its apparent role model for maintaining power and increasing influence. But most agree that Indonesia, a country that has successfully transitioned from a dictatorship engaged in human rights abuses to a democracy promoting the cause of human rights, would be a better role model if the Burmese regime wants to lift its people out of the economic and political abyss that it has dragged their nation into.

In addition, if the Burmese opposition is looking for an example of a successful overthrow of a dictator for inspiration, it may look to Indonesia. And if some members of the Burmese military can look beyond Naypyidaw to Jakarta and see that in a democratic society everyone is better off, then maybe change from within the regime can begin as well.
 
#443 ·
"ซูจี" บอยคอตเลือกตั้งพม่า ปฏิเสธร่วมใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียง

วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 14:13:00 น. มติชนออนไลน์


นางออง ซาน ซูจี ผู้นำการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของพม่า ปฏิเสธที่จะใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งจะถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี


โดยนายยาน วิน ทนายความของนางซูจี ระบุว่า ถึงแม้ลูกความของเขาจะมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง แต่เธอก็จะไม่ยอมเข้าไปมีส่วนร่วมกับการเลือกตั้งที่อยู่ภายใต้การจัดการของทหาร


ขณะนี้ นางซูจียังคงถูกควบคุมตัวในบ้านพัก และถูกเพิกถอนสิทธิ์ในการลงสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากเธอมีคดีความติดตัว นอกจากนั้น พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของเธอ ยังถูกยุบพรรค เนื่องจากพรรคเอ็นแอลดีไม่ยอมขับนางซูจี และสมาชิกที่ต้องโทษคนอื่นๆ ออกจากพรรค ตามกฎหมายเลือกตั้ง


ราเชล ฮาร์วีย์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เห็นว่าการตัดสินใจไม่ร่วมลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของนางซูจี จะเป็นการปลุกเร้าให้ผู้สนับสนุนพรรคเอ็นแอลดีรายอื่นๆ ร่วมกันเพิกเฉยต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งอาจเป็นการสร้างความไม่พอใจให้แก่รัฐบาลเผด็จการทหารพม่า
 
#444 ·
พม่าปิดด่านแม่สอด-เมียวดีสูญเม็ดเงินเดือนละ3พันล้าน

Nation 18 ตค. 2553 14:57 น.


เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2553 นายชัยยุทธ เสณีตันติกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก กล่าวถึงกรณีที่ทางการพม่าปิดด่านพรมแดนตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2553 เป็นต้นมาจนถึงขณะนี้ว่า ทำให้ฝ่ายไทยต้องสูญเสียเม็ดเงินในการค้าชายแดนไปเดือนละ 2,500-3 ,000 ล้านบาท และเม็ดเงินที่หายไปร่วม 10,000 ล้านบาทแล้ว แต่ในระยะหลังเริ่มมีชาวพม่าข้ามไปมาซื้อสินค้าได้บ้าง ทำให้มีการซื้อขายสินค้าในเดือนละกว่า 900 ล้านบาท แต่ยังถือว่าเป็นส่วนน้อยซึ่งนักธุรกิจ พ่อค้าทุกคนยังคงรอความหวังกับการให้พม่าเปิดด่านพรมแดนตามปกติ
 
#445 ·
พม่าห้ามสื่อนอกเข้าประเทศทำข่าวเลือกตั้ง

Nation 18 ตค. 2553 14:48 น.


คณะกรรมการการเลือกตั้งของพม่าแจ้งต่อนักการทูตและสื่อต่างชาติที่ประจำในพม่าวันนี้ว่า จะไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนต่างชาติเข้าประเทศเพื่อรายงานข่าวการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 7 พฤศจิกายน ซึ่งจะเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 20 ปี รวมทั้งไม่อนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งต่างชาติเข้าไปเฝ้าสังเกตการเลือกตั้ง โดยในวันเลือกตั้ง นักการทูตและเจ้าหน้าที่สำนักงานสหประชาชาติที่ประจำอยู่ในพม่าจะได้รับเชิญไปตามหน่วยเลือกตั้งและสังเกตการณ์การลงคะแนนเลือกตั้งได้ จึงไม่จำเป็นต้องเชิญผู้สังเกตการณ์เลือกตั้งต่างชาติเข้าไปอีก

การเลือกตั้งครั้งนี้จะมีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งมากถึงกว่า 40 ล้านคน หน่วยเลือกตั้งราว 40,000 แห่ง และมีผู้สมัครเลือกตั้ง 3,071 คนจากพรรคการเมือง 37 แห่ง ในจำนวนนี้มีผู้หญิง 114 คนและผู้สมัครอิสระ 82 คน
 
#447 ·
รถไฟพม่าแล่นโลด ได้หัวรถจักรจีนอีก 35 คัน


ภาพจากเว็บไซต์บริษัท YMEC ผู้ผลิตหัวรถจักรให้กับการรถไฟพม่า รถบรรทุกพ่วงกำลังนำหัวรถจักดีเซลขนาด 2,000 แรงม้าลอตแรกไปลงเรือเพื่อส่งให้พม่า การส่งมอบ 8 คันแรกมีขึ้นในเดือน พ.ย.2551 จากทั้งหมด 20 คัน สัปดาห์นี้จีนส่งมอบหัวรถจักรอีก 35 คัน แต่เป็นรุ่นที่ติดเครื่องยนต์ 1,000 แรงม้า ซึ่งเข้าใจว่าจะนำไปใช้วิ่งบริการตามเส้นทางช่วงสั้นๆ

ASTVผู้จัดการออนไลน์-- พม่าได้รับหัวรถจักรดีเซลจากจีนอีกกว่า 35 หัว กระทรวงรถไฟจีนได้ส่งมอบหัวรถจักรทั้งหมดให้แก่กระทรวงขนส่งรถไฟพม่าวันที่ 19 ต.ค. ที่เมืองเนปีดอ (Naypyidaw) ในพิธีที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการที่สถานีรถไฟเมืองหลวงใหม่

นับเป็นการส่งมอบครั้งที่ 3 หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์รายงาน โดยไม่ได้กล่าวถึงการส่งมอบครั้งก่อนๆ

ต่างไปจากหัวรถจักรอีก 20 คันที่พม่าซื้อจากจีนในปี 2549 ซึ่งติดเครื่องยนต์แคทเตอร์พิลลา (Caterpillar 3516-B) ขนาด 2,000 แรงม้า ที่ผลิตในสหรัฐฯ หัวรถจักรรุ่นใหม่ติดเครื่องยนต์ไฮดรอลิก "ซีฟาง" (Cifang) ขนาด 1,000 แรงม้า ที่ผลิตในประเทศจีน ทั้งนี้เป็นรายงานของสื่อทางการ

นายอ่องมิน (Aung Min) รัฐมนตรีกระทรวงขนส่งรถไฟ เข้าร่วมในพิธีรับมอบดังกล่าว และ เป็นผู้ประกอบพิธีปะพรมน้ำมนต์ด้วย

นายเต็งส่วย (Thein Swe) ผู้อำนวยการรัฐวิสาหกิจรถไฟพม่ากล่าวว่า ในปี 2549 กระทรวงขนส่งรถไฟพม่าได้รับมอบหัวรถจักรจากกระทรวงรถไฟจีน 5 คัน ในปี 2552 ได้รับตู้นอน 20 คัน กับตู้โดยสารทั่วไปทั้งหมด 200 คัน สัปดาห์ที่แล้วได้รับอุปกรณ์ซ่อมบำรุงอีก 16 รายการ ซึ่งเป็น "ของขวัญ" จากจีน

สื่อของทางการไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดอื่นๆ อีกเกี่ยวกับการจัดซื้อ ราคาและเงื่อนไขต่างๆ

ในเดือน พ.ย.2551 นิวไลท์ออฟเมียนมาร์รายงานข่าว จีนได้ส่งมอบหัวรถจักรติดเครื่องยนต์ 2,000 แรงม้า 8 คันฝ่ายพม่า จาก 20 คันที่สั่งซื้อลอตเดียวกัน ทั้งหมดส่งตรงไปจากโรงงานต้าเหลียน (Dalian) ในมณฑลส้านตง (Shandong) ซึ่งเป็นของบริษัท Yunnan Machinery & Equipment Co (Import and Export) แห่งมณฑลหยุนหนัน

ที่ผ่านมาจีนได้มอบตู้นอนให้แก่พม่า 150 คัน ตู้โดยสารธรรมดา 200 คัน อุปกรณ์ซ่อมบำรุงอีก 16 รายการ แลกกับการรถไฟพม่า มอบหัวรถจักรไอน้ำ (ชั้น SI) จำนวน 2 คันให้กับฝ่ายจีน หนังสือพิมพ์ของทางการกล่าว

ข้อมูลดูสับสนเนื่องจากยังไม่มีการแถลงรายละเอียดต่างๆ อย่างเป็นทางการ


(โปรดเลื่อนลงเพื่ออ่านต่อ)


ภาพจากเว็บไซต์บริษัท YMEC ผู้ผลิตหัวรถจักรให้กับการรถไฟพม่า รถบรรทุกพ่วงกำลังนำหัวรถจักดีเซลขนาด 2,000 แรงม้าลอตแรกไปลงเรือเพื่อส่งให้พม่า การส่งมอบ 8 คันแรกมีขึ้นในเดือน พ.ย.2551 จากทั้งหมด 20 คัน สัปดาห์นี้จีนส่งมอบหัวรถจักรอีก 35 คัน แต่เป็นรุ่นที่ติดเครื่องยนต์ 1,000 แรงม้า ซึ่งเข้าใจว่าจะนำไปใช้วิ่งบริการตามเส้นทางช่วงสั้นๆ



ภาพจากเว็บไซต์บริษัท YMEC ผู้ผลิตหัวรถจักรให้กับการรถไฟพม่า เป็นหัวรถจักรลอตแรกที่จีนส่งมอบในเดือน พ.ย.2551 เป็นรุ่นติดเครื่องยนต์ 2,000 แรงม้า แต่หัวรถจักรรุ่นใหม่ที่ส่งมอบวันที่ 19 ต.ค.ที่ผ่านมา ติดเครื่องยนต์ขนาด 1,000 แรงม้าเท่านั้น สื่อของทางการกล่าว]
แต่ YMEC กล่าวในเว็บไซต์ของ บริษัทว่า มีการส่งรถจักรขนาด 2,000 แรงม้ารุ่นแรกไปให้การรถไฟพม่าตั้งแต่ปี 2534 จนถึงเดือน ก.ย.2551 YMEC ได้ขายหัวรถจักรให้พม่าไปแล้ว 16 คัน ตู้โดยสารอีก 53 คัน และรางเหล็กรวมน้ำหนัก 100,000 ตัน

รัฐบาลทหารกำลังขยายทางรถไฟออกไปทุกทิศทุกทาง รวมทั้งเส้นทางใหม่ความยาวหลายร้อยกิโลเมตร เชื่อมเมืองมัณฑะเลย์ในภาคเหนือ กับเมืองท่าสิตต่วย รัฐระไค (Rakhine) หรือ ยะไข่

ปัจจุบันกำลังก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ช่วงทวาย (Dawei) กับมะริด (Myeik) โดยมีแผนการจะต่อลงไปจนถึงเกาะสอง (Kawthaung) ติดกับชายทะเล จ.ระนองของไทย

พม่ากับจีนมีแผนการจะต่อเชื่อมการขนส่งระบบรางเข้าด้วยกันที่ชายแดน มณฑลหยุนหนัน เช่นเดียวกับการขนส่งทางบกซึ่งจีนตกลงจะช่วยพม่าก่อสร้างถนนจากชายแดนไปยัง เมืองท่าริมทะเลเบงกอง ปัจจุบันจีนเป็นผู้สนับสนุนหัวรถจักร และอุปกรณ์รถไฟรายใหญ่ของรัฐบาลทหาร

อย่างไรก็ตามในเดือน ก.ย.2550 นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับการส่งมอบหัวรถจักร 5 คันแรก จากทั้งหมด 20 คัน ที่พม่าสั่งซื้อจากบริษัท M/S Rite Ltd ในอินเดีย โดยเป็นรุ่น YDM-4 ทั้งหมด เพื่อใช้ในการเดินรถระหว่างกรุงย่างกุ้งกับเมืองมัณฑะเลย์

หลังจากนั้นก็ไม่มีข่าวใดๆ เกี่ยวกับหัวรถจักรอินเดียอีก.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
21 ตุลาคม 2553 04:22 น.
 
#451 ·
ดูจากแผนที่ก็รู้ำได้เลยว่าเ็ป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์มากๆในเอเชียประเทศนึง แต่เวรกรรมอันใดหนอ เท่าที่สังเกตุประเทศที่มีพรหมแดนติดกับจีนมักมีปัญหาภายในตลอด
 
#450 ·
จู่ๆ รัฐบาลทหารพม่า เปลี่ยนชื่อประเทศ เปลี่ยนธงชาติ


เผยให้เห็นเป็นวันแรก รัฐบาลกล่าวว่าการเปลี่ยนชื่อประเทศ และเปลี่ยนธงชาติ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญใหม่ที่ประกาศใช้เมื่อปี 2551 ยังไม่มีคำอธิบายอย่างเป็นทางการเกี่ยวความหายของแถบสีทั้ง 3 กับดาวสีขาว

ASTVผู้จัดการออนไลน์-- อีกเพียงไม่กี่วันจะเปิดคูหาเลือกตั้ง ให้ประชาชนไปใช้สิทธิ์เลือกผู้แทนของตนได้เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปี วันพฤหัสบดี (21 ต.ค.) รัฐบาลทหารพม่า ก็นำธงชาติใหม่ออกอวดชาวโลก พร้อมกับเปลี่ยนชื่อประเทศใหม่แบบไม่มีปี่มีขลุ่ย

ธงชาติใหม่ซึ่งมีแถบสีเหลืองแนวนอนอยู่บนสุด เขียวเข้มอยู่ตรงกลาง สีแดงอยู่ล่าง กับดาวสีขาว 1 ดวงเด่นอยู่ตรงกลางผืน ปลิวสะบัดอยู่ที่ศาลาว่าการกรุงย่างกุ้งเป็นวันแรก ก่อนหน้านั้นได้มีการจัดพิธีเล็กๆ ขึ้นมาโดย นายอองเต็งลิน (Aung Thein Lin) ผู้ว่าราชการกรุงเก่าเข้าร่วมด้วย สำนักข่าวต่างๆ รายงานตอนค่ำวันเดียวกัน

ชื่อประเทศ "สหภาพพม่า" (Union of Myanmar) เช่นเดียวกันกับธงชาติ ใช้มานานกว่า 4 ทศวรรษ ตั้งแต่ปีแรกๆ หลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ และ พรรคโครงการสังคมนิยม ขึ้นจัดตั้งรัฐบาล บัดนี้ชื่อใหม่คือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (Republic of the Union of Myanmar) ซึ่งยาวขึ้น

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นก่อนจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 7 พ.ย. หรืออีกเพียงประมาณ 15 วันเท่านั้น

สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ หรือ SPDC ซึ่งเป็นองค์กรของคณะปกครองทหาร ประกาศเรื่องนี้ผ่านสถานีวิทยุและโทรทัศน์ในเวลาบ่ายวันพฤหัสบดี โดยอ้างว่าเป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้เมื่อปี 2551 แต่ก็ใม่ได้ระบุว่า เริ่มใช้อย่างเป็นทางการในวันใด

ยังไม่มีคำอธิบายในรายละเอียดว่าแถบสีทั้งสามสีนั้นหมายถึงอะไร.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 ตุลาคม 2553 03:12 น.
 
#452 ·
นึกว่าจะเปลี่ยนเป็น กรุงหงสาวดี หรือรัตนบุระอังวะ ซะอีก :D
รัฐบาลทหารน่าจะสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์ซะเลย ตั้งราชวงศ์ใหม่ ไปเล้ย :nuts:
 
This is an older thread, you may not receive a response, and could be reviving an old thread. Please consider creating a new thread.
Top