SkyscraperCity Forum banner

Trat | The Eastern Gem

60K views 151 replies 22 participants last post by  wwc234 
#1 ·
แผนเสกหมู่เกาะช้าง ของบหมื่นล้าน7ปี สวรรค์กลางทะเล

เปิดแผนแม่บทพัฒนาเกาะช้างอพท.ขอหมื่นล้านใน 7 ปี ทุ่มพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานรับแผนเป็นแหล่งท่องเที่ยวไฮเอ็น ทั้งเร่งศึกษาเปิดเกาะให้เอกชนสัมปทาน"วันไอส์แลนด์ วันรีสอร์ท" สร้างสนามบินเล็ก ท่าเรือเฟอร์รี่ ภายใต้คอนเซ็ปท์อีโค-ทัวร์ริสซึ่ม ด้านนายทุนชะงักหลังที่ดินพุ่งไร่ละ10 ล้านบาท





แม้จะล่าถอยแผนจัดระเบียบเกาะพีพี.เพราะโดนต้านอย่างหนัก แต่ที่เกาะช้างอันเป็นจุดกำเนิดขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน) หรืออพท.นั้น ยังทำงานต่ออย่างแข็งขัน


แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการท่องเที่ยว ผู้ประสงค์จะให้ข่าวแต่ไม่ประสงค์ออกนาม แจงว่า เวลานี้การจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาเกาะช้างของอพท.ศึกษาแล้วเสร็จเรียบร้อย แถมผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริหารของ อพท.รอเพียงเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเร็ว ๆ นี้


ทั้งนี้ ตามแผนแม่บทได้กำหนดเม็ดเงินที่จะใช้ ในการพัฒนาเกาะช้างและเกาะบริวาร 52 เกาะ โดยใช้งบในราว 10,000 ล้านบาท เป็นงบประมาณประจำปีผูกพันเป็นระยะเวลา 7 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2549-2555 โดยมุ่งพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเชิงนิเวศน์ และมีการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน


"ส่วนงบประมาณร่วมหมื่นล้านจะเป็นงบที่กระจายผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเน้น ในเรื่องของการสร้างสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน เช่น การปรับปรุงถนนหนทางภายในเกาะ การจัดระบบไฟฟ้า แหล่งน้ำ ประปา โทรศัพท์ การคมนาคม รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกด้านบริการ ท่าเรือเฟอร์รี ศูนย์อะควอเรียม พิพิธภัณฑ์ สนามบินขนาดเล็ก ฯลฯ ที่ถือเป็นการลงทุนแบบบูรณาการ ซึ่งบางโครงการอาจจะเปิดให้ภาคเอกเชนเข้ามาลงทุนด้วย"


แหล่งข่าวคนเดิมยังระบุอีกว่า ในส่วนที่จะเปิดให้เอกชนเข้าร่วม อาจเป็นการลงทุนในลักษณะเปิดสัมปทาน เช่น ท่าเรือเฟอร์รี่ การลงทุนสนามบินขนาดเล็ก เพื่อเชื่อมโยงในพื้นที่ระหว่างเกาะช้างกับเกาะหมาก เนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวก รวมถึงแนวทางการเปิดเกาะ ให้ภาคเอกชนสัมปทานลงทุนในลักษณะ"วันไอส์แลนด์วันรีสอร์ท" ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด ซึ่งเบื้องต้นกำหนด 3 เกาะที่จะเปิดให้สัมปทานคือ เกาะคลุ้ม เกาะหวาย และเกาะใบตั้ง


"การเปิดให้ภาคเอกชนสัมปทานลงทุนนั้นจะต้องมีกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ให้ชัดเจนเพราะขณะนี้เป็นเพียงแค่การศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น โดยรายละเอียดจะต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยต้องเป็นการลงทุนที่สอดคล้องกับแผนแม่บท และต้องสร้างรีสอร์ทที่มีมาตราฐาน และภายใต้แนวคิดอีโคทัวร์ริสซึ่ม"


แค่แง้มแนวทาง เวลานี้มีภาคเอกชนหลายรายทั้งในและต่างประเทศ สนใจถามสอบข้อมูลเกาะบริวารทั้ง 52 เกาะ เพื่อเตรียมลงทุน ซึ่งความเป็นไปได้นั้นอาจจะเปิดสัมปทานเหมือนกับที่หมู่เกาะมัลดีฟส์ คือเป็นรีสอร์ทหรูหราและขายห้องพักในราคาแพงมากมีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับครบและคุ้มค่ากับการลงทุน"


ส่วนสนามบินก็จะเป็นสนามไซส์จิ๋ว สำหรับเครื่องขนาด 20-30 ที่นั่งเท่านั้น โดยต้องการให้เป็นเครื่องบินแบบเอ็กคลูซีฟ ให้บริการเชื่อมโยงระหว่างเกาะช้างกับเกาะบริวาร เกาะกูด เกาะหมาก เป็นต้น ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงรองรับตลาดระดับเศรษฐี


ขณะที่สนามบินตราดนั้นจะเป็นจุดที่เชื่อมบนฝั่งพื้นดิน เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักท่องเที่ยวระดับสูง ซึ่งอาจจะเป็นเจ้าของรีสอร์ทลงทุนเองหรือรัฐบาลลงทุนก็ได้


ทั้งนี้สำหรับแผนแม่บทในการพัฒนาเกาะช้างนั้นแบ่งพื้นที่พัฒนาออกเป็น 4 โซนใหญ่ ๆ


ประกอบด้วยกลุ่มเกาะช้าง เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติที่หลากหลายรูปแบบชุมชนนิเวศน์ (อีโค-วิลเลจ) กลุ่มเกาะหมาก เป็นการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลเช่น


ดำน้ำ ชมปะการัง พิพิภัณฑ์ทางทะเล กีฬาทางน้ำและ"วัน ไอส์แลนด์ วัน รีสอร์ท"


กลุ่มเกาะกูด เน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบเอ็กคลูซีฟ โซน มีมาตรการอนุรักษ์ฟื้นฟูธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมอย่างเข้ม และพื้นที่เชื่อมโยงผังเมืองตราด เน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์การเกษตร และ


ทรัพยากรชายฝั่ง


"พื้นที่บริเวณหมู่เกาะช้างถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีลักษณะพิเศษกว่าชายหาดทั่วไป เพราะมีลักษณะเป็นป่าดิบหรือเรน ฟอร์เรส ผสมผสานกับชายหาดและทะเล ซึ่งถือเป็นจุดขายที่สำคัญที่สามารถพัฒนาขึ้นมารองรับตลาดนักท่องเที่ยวระดับบนได้" แหล่งข่าวคนเดิมกล่าว


พูดถึงเกาะช้าง ขาดไม่ได้ที่ต้องถาม"พรชัย เขมะพรรค์พงษ์" กรรมการผู้จัดการ อัยยะปุระ รีสอร์ท แอนด์ สปา เกาะช้าง เลยได้เบาะแสว่า เวลานี้นอกจากกลุ่มเอวาซอนได้เข้ามาซื้อที่ดินบน


เกาะกูดจำนวน 800 ไร่ สำหรับก่อสร้างโรงแรมระดับ 5-6 ดาว มีลานจอดเครื่องบินส่วนตัว


ขนาด 12-16 ที่นั่งแล้ว กลุ่มซีพีที่จับมือกับบันยันทีสร้างโรงแรม 5 ดาวที่เกาะทรายขาว


ล่าสุดกลุ่มทุนเกาหลีได้มีการซื้อที่ดินที่เกาะหวายจำนวน 21 ไร่และที่ดินครอบครองโดยไม่มีเอกสารสิทธิอีกประมาณ 20 ไร่ มูลค่ากว่า 50 ล้านบาท ขณะที่สลักเพชร ซีฟู้ดได้เสนอแผนไปที่องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ในการขอสัมปทานทำมารีน่า บริเวณอ่าวสลักเพชร มูลค่ากว่า 200 ล้านบาท


ส่วนกลุ่มเซ็นทรัลนั้นขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการสำรวจเท่านั้น ยังไม่ได้มีการซื้อที่ดินแต่อย่างไร สำหรับกลุ่มทุนอื่นๆ แม้จะมีการมาเซอร์เวย์พื้นที่แล้ว แต่ขณะนี้ยังรอดูสถานการณ์ในเรื่องของราคาน้ำมันประกอบกับราคาที่ดินได้มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อาทิ ที่ดินบริเวณหาดทรายขาวราคาสูงถึง 10 ล้านบาทต่อไร่ ส่วนบริเวณทั่วไปนั้นราคาไม่ต่ำกว่า 5-6 ล้านบาทต่อไร่


ใครรักเกาะ ชอบเกาะ น่ารีบไปเที่ยวเสียโดยเร็ว เป็นเกาะสวรรค์เมื่อไหร่ รับรองหมดสิทธิ์

Thannews - June 23-25, 05
 
See less See more
#3 ·
Koh Chang Images



 
#6 ·
Location of KOH CHANG

 
#13 ·
เปิดแผนลงทุนพัฒนา"เกาะช้าง"ชง"สมคิด"ทุ่มงบฯหมื่นล.

เจาะลึกไส้ใน "แผนแม่บทพัฒนาหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง" อพท. ชง "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" ไฟเขียวอภิโปรเจ็กต์ 172 โครงการ เงินลงทุนร่วม 1.1 หมื่นล้าน อัดเงินลงทุนสาธารณูปโภค-ท่าเรือ-สนามบินเล็ก-กระเช้าลอยฟ้า พร้อมเล็งให้เอกชนสัมปทาน 8 เกาะ สนามกอล์ฟ 6 แห่ง หวังผงาดขึ้นแท่นแหล่งท่องเที่ยวระดับ World Class เริ่มเดินเครื่องทันทีปี 2549-2555 คาด 18 ปีคุ้มทุน สร้างรายได้ 279,000 ล้านบาท/ปี ชี้ผลตอบแทนสูงถึง 78%

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายประกาศจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. โดยเลือกที่จะพัฒนาหมู่เกาะช้าง และพื้นที่เชื่อมโยงให้เป็นพื้นที่นำร่องในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับสากล (World Class Destination) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (2547-2550) ไปเมื่อวันที่ 25 พ.ค.2547

พร้อมทั้งได้อนุมัติงบประมาณในการพัฒนาหมู่เกาะช้างเบื้องต้น 573 ล้านบาท มีโครงการก่อสร้าง 14 โครงการจากทั้งหมด 6 ด้าน คือ โครงข่ายถนน การรักษาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาชุมชน การพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว การวางผังพัฒนาพื้นที่ ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการในช่วง 2546-2547 คาดว่าจะเสร็จสิ้นในปี 2550

ขณะเดียวกัน อพท.ได้จัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการพัฒนาพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยงเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขึ้น โดย อพท.ได้ว่าจ้างบริษัท เอส.เจ.เอ.ทรีดี จำกัด เป็นผู้จัดทำรายงานการศึกษาแผนแม่บทเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีการนำเสนอผลการศึกษาให้คณะที่ปรึกษาพิจารณาและรับฟังความเห็นขององค์กรปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น

ทั้งนี้ แผนแม่บทดังกล่าวมีโครงการที่ต้องดำเนินการทั้งสิ้นในช่วงปี 2549-2555 จำนวน 172 โครงการ แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ คือ 1.ระยะเร่งด่วน (ปี 2549-2550) จำนวน 94 โครงการ เน้นเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว การฟื้นฟูพื้นที่หมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยงอย่างต่อเนื่อง ในด้านการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินและพัฒนาชุมชน ซึ่งเน้นความสมดุลความสอดคล้องกับการอนุรักษ์ โดยเฉพาะการปรับปรุงภูมิทัศน์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาแหล่งน้ำ ระบบไฟฟ้า

2.ระยะปานกลาง (2551-2555) จำนวน 78 โครงการ เน้นการฟื้นฟูปรับปรุงพื้นที่ตามโครงการในแผนแม่บทและแผนพัฒนาพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างให้เสร็จสมบูรณ์ และเน้นการพัฒนาคุณภาพบริการและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวและส่งเสริมการลงทุนโดยภาคเอกชน

จากรายงานสรุปผลการศึกษาของบริษัท เอส.เจ.เอ.ทรีดี จำกัด มีโครงการที่จะต้องดำเนินการตามแผนแม่บทในระยะเร่งด่วนปี 2549-2551 ได้แก่ หมวดการใช้ประโยชน์ที่ดินและพัฒนาชุมชน เช่น โครงการฟื้นฟูพัฒนาชุมชนนำร่องหาดทรายขาว บางเบ้า สลักเพชร แหลมตุ๊กแก แหลมคลองเจ้า อ่าวสลัด โครงการออกแบบก่อสร้างศูนย์ข้อมูลและทางเดินธรรมชาติป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน โครงการศึกษาเส้นทางเที่ยวป่า-ชมไพร

หมวดขนส่งทางบก เช่น โครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนสายเจ็กแบ๊-อ่าวสลัด แนวถนนหลักในเขตชุมชนบนเกาะช้าง ถนนคลองเจ้า-อ่าวพร้าว-อ่าวใหญ่ โครงการปรับปรุงถนนโครงข่ายหลักในเขตชุมชน และที่จอดรถแบบ off street parking บนเกาะช้าง เกาะหมาก เกาะกูด โครงการออกแบบก่อสร้างและปรับปรุงทางเดินสาธารณะลงชายหาด

หมวดขนส่งทางบกและอากาศ เช่น โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือท่องเที่ยวที่เกาะช้างขนาดเล็กไม่เกิน 150 ตันกรอส ที่บางเบ้า สลักเพชร และที่อ่าวตานิดบนเกาะหมาก และที่อ่าวสลัด คลองมาด อ่าวพร้าว คลองเจ้าบนเกาะกูด โครงการออกแบบท่าเทียบเรือเฟอร์รี่ที่อ่าวธรรมชาติ อ่าวตาตุ่มบริเวณฐานทัพเรือ โครงการออกแบบท่าเทียบเรือมารีน่า ที่อ่าวสลักเพชร และโครงการศึกษาความเหมาะสมการสร้างสนามบินขนาดเล็ก เพื่อให้เอกชนสัมปทาน 3 แห่ง คือ เกาะหมาก เกาะกระดาด เกาะไม้ชี้

นอกจากนี้ยังมีโครงการลงทุนที่น่าสนใจคือ แผนงานสนับสนุนการลงทุนโดยภาคเอกชน ได้แก่ 1.โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกข้อกำหนด One Island One Destination เพื่อให้เอกชนสัมปทาน 8 แห่งที่เกาะง่าม เกาะเหลายา เกาะหวาย เกาะใบดั้ง เกาะไม้ซี้เล็ก เกาะไม้ซี้ใหญ่ เกาะกระดาด เกาะไม้ซี้ 2.โครงการศึกษาความเหมาะสมและจัดทำหลักปฏิบัติในการสร้างสนามกอล์ฟรักษาระบบนิเวศเพื่อให้เอกชนสัมปทาน (บางเบ้า คลองสน สลักเพชร เกาะหมาก เกาะกระดาด เกาะกูด) 3.โครงการศึกษาความเหมาะสมของการสร้างสนามบินขนาดเล็ก เพื่อให้เอกชนสัมปทาน 3 แห่ง ที่เกาะหมาก เกาะกระดาด เกาะไม้ซี้

4.โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทางทะเล 8 แห่ง (เกาะช้าง เกาะกูด เกาะหมาก เกาะกระดาด อ่าวธรรมชาติ แหลมกลัด ไม้รูด แหลมคอก) 5.โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างกระเช้าลอยฟ้า 6.โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกข้อกำหนด exclusive entertainment resort เพื่อให้เอกชนสัมปทาน 7.โครงการออกแบบมาตรฐานอาคารเพื่อการพัฒนาบ้านพักตากอากาศแบบพิเศษ และ 8.โครงการศึกษารูปแบบสร้างปะการังเทียมเกาะช้างให้สัมปทานชาวประมงพื้นบ้านดำเนินการ

นายพยากร รัตนกุล ประธานคณะที่ปรึกษาสำนักงานพื้นที่พิเศษที่ 1 ซึ่งดูแลพื้นที่การพัฒนาหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง กล่าวถึงแผนการลงทุนและหลักการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการทั้งหมดว่า มีโครงการที่ต้องดำเนินการทั้งสิ้น 172 โครงการ มูลค่าการลงทุนประมาณ 11,000 ล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการตามโครงการ 7 ปี ตั้งแต่ปี 2549-2555

หากวิเคราะห์ผลของการลงทุนที่มีผลต่อการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษระยะยาวช่วงปี 2548-2565 (18 ปี) จากเงินลงทุนประมาณหมื่นกว่าล้านบาทจะมีรายได้ทางด้านการท่องเที่ยวประมาณ 279,000 ล้านบาท เป็นรายได้ที่มาจากนักเที่ยวชาวต่างประเทศ 198,000 ล้านบาท คนไทย 81,000 ล้านบาท เมื่อนำมาหักเงินรายได้การท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีโครงการต่างๆ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ 4,500 ล้านบาท/ปี หรือ 76,500 ล้านบาทตลอดอายุของโครงการ ประมาณรายได้จากการท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นประมาณ 190,000 ล้านบาทในช่วงอายุของโครงการ 2549-2565

"การคิดค่าผลตอบแทนการลงทุนตลอดอายุโครงการ 18 ปี จากมูลค่าปัจจุบันปี 2548 ใช้อัตราส่วนลด 7% โครงการลงทุนทั้งหมดประมาณ 84,000 ล้านบาท แผนการลงทุนโดยรวมมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ คุ้มค่าทรัพยากร คิดอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับ 78% ซึ่งค่าตอบแทนสูงกว่า 50% ถือว่าสูงแล้ว เมื่อพิจารณารวมกับผลประโยชน์ทางอ้อมอื่นๆ ที่จะได้รับอีก เช่น ภาษีเงินได้บุคคล การจ้างงาน รวมตลอดอายุของโครงการไม่น้อยกว่า 46,000 ล้านบาท หรือราว 4 เท่าของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด"

ด้านนายธันยา หาญพล รอง ผอ.รักษาการแทน ผอ.อพท.กล่าวเพิ่มเติมว่า จะนำข้อเสนอแนะจากที่ประชุมนี้ไปปรับลงในแผนแม่บท และจะนำเสนอนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาอนุมัติต่อไป หากดำเนินการได้ตามขั้นตอนดังกล่าวคาดว่าจะได้รับการอนุมัติในเดือนกรกฎาคมนี้ จากนั้นจะนำไปประชุมชี้แจงให้ชาวจังหวัดตราดทราบต่อไป

Prachachart - June 30, 05
 
#14 ·
เปิดแผนแม่บท "พัฒนาหมู่เกาะช้าง" อพท.เร่งปั้นสู่แหล่งท่องเที่ยว World Class

รายงาน โดย กาญจนา จินตกานนท์


การกำเนิดขึ้นขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน ) หรือ อพท.ในช่วงเวลา 2 ปีกว่าที่ผ่านมา มีผลงานที่น่าจับตาคือ "โครงการพัฒนาหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยงจังหวัดตราด" เพราะถือเป็นพื้นที่นำร่องที่จะพิสูจน์ฝีมือในการบริหารจัดการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของหน่วยงานนี้


ขณะเดียวกันเพื่อเร่งรัดการพัฒนาหมู่เกาะช้าง รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนในช่วงปี 2545-2546 ไปแล้ว 573 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง จำนวน 52 เกาะและพื้นที่ฝั่งเมืองตราด

ล่าสุด บริษัท เอส.เจ.เอ.ทรีดี จำกัด ซึ่งเป็นผู้จัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการพัฒนาพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยงเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ได้นำเสนอผลการศึกษาให้แก่ อพท.แล้ว โดยเป้าหมายหลักของแผนแม่บทฯมุ่งเน้นการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ และฟื้นฟูระบบนิเวศของป่าดิบชื้น ป่าชายเลน ทะเล เพื่อทำให้พื้นที่หมู่เกาะช้าง ขึ้นแท่นเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับสากล (world class destination) และตั้งสมญานามหมู่เกาะช้างเป็นเสมือน "อัญมณีแห่งอ่าวไทย"

ทั้งนี้ในร่างแผนแม่บทได้กำหนดรูปแบบการพัฒนาพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยงเป็น 4 พื้นที่หลักคือ กลุ่มเกาะช้าง กลุ่มเกาะหมาก กลุ่มเกาะกูด และกลุ่มพื้นที่เชื่อมโยงฝั่งเมืองตราด โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

พื้นที่ 1.กลุ่มเกาะช้าง เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติที่หลากหลายและรูปแบบชุมชนนิเวศ (eco-village) แต่เนื่องจากพื้นที่บนเกาะช้าง มีขนาดใหญ่และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ธรรมชาติเขตร้อนชื้น และเป็นต้นน้ำบนเกาะที่สงวนไว้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ มีพื้นที่ชุมชนและชายหาดที่ใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอยู่โดยรอบเกาะ จึงแบ่งพื้นที่การพัฒนาเป็น 6 พื้นที่ และกำหนดลักษณะการพัฒนาออกเป็นดังนี้

1)บริเวณอ่าวสับปะรด-ด่านเก่า กำหนดเป็นประตูสู่เกาะของนักท่องเที่ยวและส่วนบริการบนเกาะ 2)บริเวณหาดทรายขาว กำหนดเป็นตลาดนัดชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว 3)บริเวณหาดคลองพร้าว-ไก่แบ้ กำหนดเป็นบ้านพักตากอากาศริมหาด

4)บริเวณบ้านด่านใหม่ กำหนดเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่น 5)บริเวณน้ำตกคลองพลู และพื้นที่ที่มีศักยภาพสนับสนุนการท่องเที่ยวในเขตอุทยานฯ กำหนดเป็นเขตอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 6)บริเวณบ้านบางเบ้า-สลักเพชร กำหนดเป็นชุมชนนิเวศ (eco-village area)

พื้นที่ 2.กลุ่มเกาะหมาก เน้นการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเล การศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมทางทะเล และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับทะเล ได้แก่ การดำน้ำ ตกปลา ชมปะการัง และกีฬาทางน้ำอื่นๆ โดยเชื่อมโยงโครงข่ายการท่องเที่ยวกับกลุ่มเกาะช้างและกลุ่มเกาะกูด และโครงการสนับสนุนการลงทุนโดยภาคเอกชนลงทุน เช่น หนึ่งเกาะหนึ่งแหล่งท่องเที่ยว (one Island one destination) ซึ่งเกาะที่อยู่ในข่ายเตรียมจะเปิดให้เอกชนสัมปทานได้แก่ เกาะง่าม เกาะเหลายา เกาะหวาย เกาะใบดั้ง เกาะไม้ซี้เล็ก เกาะไม้ซี้ใหญ่ เกาะกระดาด และเกาะไม้ซี้

นอกจากนี้ยังได้แบ่งพื้นที่การพัฒนาเป็น 6 จุด ประกอบด้วย 1)บริเวณชายฝั่งยุทธนาวีเกาะช้าง กำหนดเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทางทะเล 2)บริเวณทะเลด้านล่างฝั่งตะวันออกเกาะช้าง กำหนดเป็นอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล 3)บริเวณกลุ่มเกาะหวาย เกาะคลุ้ม เกาะใบดั้ง กำหนดเป็นหนึ่งเกาะหนึ่งแหล่งท่องเที่ยว 4)บริเวณเกาะหมาก กำหนดเป็นศูนย์กลางกิจกรรมการเรียนรู้ทางทะเล 5)บริเวณเกาะรัง กำหนดเป็นกิจกรรมนันทนาการระดับสากล 6)บริเวณเกาะกระดาด กำหนดเป็นบ้านพักตากอากาศกิจกรรมบันเทิงระดับสากล (exclusive entertainment resort)

พื้นที่ 3.กลุ่มเกาะกูด เน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทเขตกิจกรรมพิเศษ (exclusive zone) โดยมีมาตรการฟื้นฟูอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างเข้ม เพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวมีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล ซึ่งเกาะกูดเป็นเกาะขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากเกาะช้าง และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดชันและป่าเขา พื้นที่ที่สามารถพัฒนาได้จะอยู่โดยรอบเกาะ ส่วนในบริเวณกลางเกาะนั้น เป็นเขตอุทยานแห่งชาติที่จะต้องรักษาระบบนิเวศวิทยาไว้ให้มากที่สุด

ดังนั้นการนำพื้นที่ส่วนนี้ออกมาใช้งานควรคำนึงถึงความเหมาะสมและสร้างผลกระทบทางนิเวศ วิทยาให้มากที่สุด โดยแบ่งพื้นที่การพัฒนาไว้ 4 ส่วนคือ 1)บริเวณริมหาดด้านฝั่งตะวันตก กำหนดเป็นบ้านพักตากอากาศริมหาด 2)บริเวณอ่าวสลัด กำหนดเป็นที่บริการนักท่องเที่ยวและหมู่บ้านชาวประมง 3)บริเวณอ่าวใหญ่ กำหนดเป็นศูนย์กลางการบริการสาธารณะ 4)บริเวณตอนกลางของเกาะในเขตอุทยานฯ

สำหรับ พื้นที่ 4.คือพื้นที่เชื่อมโยงฝั่งเมืองตราด เน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประวัติ ศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์การเกษตร และทรัพยากรทางธรรมชาติชายฝั่งทะเล แบ่งพื้นที่การพัฒนาออกเป็น 8 พื้นที่ ดังนี้

1)บริเวณชายฝั่งแหลมงอบ-อ่าวธรรมชาติ กำหนดเป็นประตูสู่เกาะของนักท่องเที่ยวและส่วนบริการบนฝั่ง 2)บริเวณทางแยก แสนตุ้ง เป็นศูนย์หนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล และศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว 3)บริเวณตัวเมืองตราด-บ้านน้ำเชี่ยว กำหนดเป็นท่องเที่ยวทางประเพณีและเอกลักษณ์ท้องถิ่น

4)บริเวณบ้านเปร็ดใน กำหนดเป็นอนุรักษ์ป่าชายเลน 5)บริเวณแหลมกลัด เป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเกษตรกรรม

6)บริเวณบ้านไม้รูด กำหนดเป็นประตูสู่เกาะช้าง 7)บริเวณชายหาดฝั่งตะวันตก อ.คลองใหญ่ กำหนดเป็นบ้านพักตากอากาศริมหาด 8)บริเวณบ้านคลองใหญ่-หาดเล็ก เป็นจุดตรวจผ่านแดน

นอกจากนี้ยังมีโครงการที่จะต้องดำเนินการตามแผนแม่บทรวมทั้งสิ้น 172 โครงการ มูลค่าการลงทุน 11,000 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการระยะเร่งด่วน (ปี 2549-2550) จำนวน 94 โครงการ และโครงการระยะปานกลาง (ปี 2551-2555) อีก 78 โครงการ ซึ่งนาย พยากร รัตนกุล ประธานคณะที่ปรึกษาสำนักงานพื้นที่พิเศษที่ 1 ระบุว่าการทุ่มเม็ดเงินลงทุนหมื่นกว่าล้านบาทจะสามารถสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวได้ประมาณ 279,000 ล้านบาท ในช่วงระหว่างปี 2548-2565

อย่างไรก็ตาม แผนแม่บทฉบับนี้จะต้องรอไฟเขียวจากรัฐบาลก่อน และต้องจับตาดูว่ารัฐบาลจะหาเงินลงทุนหมื่นล้านมาจากไหน และใช้จ่ายมีประสิทธิภาพหรือไม่

Source : Prachachat : Jul 1, 2005
 
#18 ·
Cabinet approves Bt40 million for Koh Chang development

The Cabinet on Tuesday approved Bt40 million for the development of Koh Chang off Trat.

Deputy Government Spokesman Chalermchai Mahakijsiri said the Cabinet approved in principle development projects worth Bt236 million but approved only Bt40 milion fo one of the projects Tuesday.

As part of the overall development plan, for which the Cabinet has yet to approve full budget, two wasted water plants and a garbage disposal system would be built.

Source: The Nation: Aug 30
 
#20 ·
R 48 เส้นทางสายตราด-เกาะกง-สะแรอัมเปิล อนาคตแห่งประชาคมอาเซียน

คอลัมน์ เปิดมุมมอง วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4143 ประชาชาติธุรกิจ


ช่วงวันที่ 17-23 กรกฎาคม 2552 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียน ที่จังหวัดภูเก็ต ประเด็นหนึ่งที่ได้กล่าวถึงการเป็นประชาคมอาเซียน เหมือนกับที่ยุโรปรวมตัวกันเป็นประชาคมยุโรป ในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว เปรียบเทียบสภาพภูมิศาสตร์ของกลุ่มประเทศยุโรปกับกลุ่มประเทศอาเซียนมีลักษณะคล้ายๆ กัน คือแต่ละประเทศเป็นสมาชิกมีพื้นที่ติดต่อกัน ซึ่งสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้ทั้งทางบก เรือ และอากาศ

การเดินทางโดยทางอากาศนั้นไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ติดต่อกัน จะดำเนินการได้ หากมีสนามบิน เช่น การเดินทางเชื่อมทวีปและหมู่เกาะต่างๆ ซึ่งมีจุดด้อยในด้านค่าใช้จ่ายที่สูงและร่นจากต้นทางไปปลายทาง ส่วนการเดินทางโดยเรือจะได้ประสบการณ์และบรรยากาศอีกแบบหนึ่ง มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด แต่ต้องใช้เวลานานกว่าทางอากาศและทางบก

การเดินทางทางบกโดยมีถนนเชื่อมโยงจุดต่างๆ เป็นโครงข่ายถึงกัน นอกจากจะทำให้การคมนาคมสะดวก รวดเร็ว ยังเป็นตัวช่วยให้การค้า การขนส่ง และการท่องเที่ยวเติบโตได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมระหว่างพื้นที่ต่อพื้นที่ได้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

ถนน R 48 เส้นทางสายตราด-เกาะกง-สะแรอัมเปิล รวมระยะทางทั้งหมดกว่า 300 กิโลเมตร เริ่มต้นจากชายแดนจังหวัดตราดของประเทศไทยเข้าสู่ประเทศกัมพูชาที่เกาะกงไปสิ้นสุดที่สะแรอัมเปิล สามารถเชื่อมต่อเข้ากรุงพนมเปญได้โดยสะดวก และจากสะแรอัมเปิลยังเชื่อมต่อไปประเทศเวียดนามได้ ตามกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) พัฒนาเส้นทางสาย R 48 ให้เป็นถนนโครงข่ายตามแนวชายฝั่งทะเลด้านใต้ของกัมพูชาเชื่อมต่อระหว่างไทย-กัมพูชา-เวียดนาม เพื่อการสนับสนุนทางเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว การคมนาคม และการลงทุนระหว่างกัน



เดิม สภาพถนน R 48 เป็นสายสำรองผ่านเชิงเขาและต้องผ่านแม่น้ำ 4 สาย ประกอบด้วย Sre Ambel River, Anduang Tock River, Trapeng Roung และ Tatai River ในอดีต การเดินทางไปยังกรุงพนมเปญต้องใช้แพขนานยนต์ขนถ่ายรถยนต์ รถบรรทุก ซึ่งใช้เวลาในแต่ละจุดของการข้ามแม่น้ำร่วมครึ่งชั่วโมง ทำให้การเดินทางไปกรุงพนมเปญจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง เพราะนอกจากจะต้องรอเวลาข้ามแพขนานยนต์ด้วยแล้ว เส้นทางเดิมที่เป็นลูกรังและตัดผ่านเชิงเขาส่งผลให้การเดินทางไม่สามารถทำความเร็วได้

ในอดีต ประเทศกัมพูชาตกอยู่ในภาวะสงครามเป็นเวลานาน หลังจากประเทศสงบตั้งแต่ปี 2533 รัฐบาลกัมพูชาจึงได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเส้นทางการคมนาคมที่สะดวกในด้านการท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดให้มีรายได้เข้าประเทศมากขึ้น และเพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่ง

ถนน R 48 เป็นโครงการเงินกู้แบบผ่อนปรนที่รัฐบาลไทยได้ให้ความร่วมมือผ่านสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) เริ่มดำเนินการก่อสร้างปี 2547 ใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 3 ปี โดยมีผู้รับเหมาก่อสร้างของไทยคือบริษัท สหการวิศวกร จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางจาก National Road No.4 ที่ Camkar Luong กับจังหวัดเกาะกง ที่ทำให้การคมนาคมจากจังหวัดเกาะกงและพนมเปญสะดวกขึ้น

อีกประเด็นสำคัญของการปรับปรุงลาดยางถนนสาย R 48 คือการค้าชายแดน เนื่องจากจังหวัดตราดมีเขตชายแดนติดต่อกับกัมพูชาทั้งทางบกและทางทะเลถึง 330.50 กิโลเมตร มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดตราดเท่ากับ 18,000 ล้านบาท อัตราเติบโตร้อยละ 3 ศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยวสูง ไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ สถานที่ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ซึ่งได้ดำเนินการผ่าน 2 ช่องทาง คือ

- จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก มีการค้าผ่านแดนร้อยละ 80 เมื่อได้ดำเนินการขออนุญาตผ่านด่านศุลกากรคลองใหญ่อย่างถูกต้องแล้ว จะนำสินค้าลงเรือเพื่อขนส่งไปยังกัมพูชา โดยใช้ท่าเทียบเรือเอกชน 2 แห่ง เป็นจุดขนถ่ายสินค้า ส่วนอีกร้อยละ 20 เป็นการนำเข้า-ส่งออกที่จุดผ่านแดนถาวรโดยตรง

- จุดผ่อนปรนการค้าบ้านหมื่นด่าน พื้นที่ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อไร่ แต่ปริมาณการค้ายังมีน้อย เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นเทือกเขา การคมนาคมไม่สะดวกเท่าที่ควร

ดังนั้นถนน R 48 จึงมีผลประโยชน์อย่างมากมาย นอกจากทำให้การเดินทางจากเกาะกงไปกรุงพนมเปญใช้เวลาสั้นลงอย่างน้อย 4 ชั่วโมง จากที่ต้องใช้เวลาถึง 12 ชั่วโมงแล้ว ผลที่จะได้รับโดยตรง มีดังนี้

1.เกิดการจับจองและพัฒนาที่ดินในเกาะกง มีการก่อสร้างโรงแรมและร้านอาหาร เพื่อรองรับผู้มาเยี่ยมเยือน และกำหนดเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม

2.การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคจากไทยสู่พนมเปญและกัมปงโสมสะดวกรวดเร็วขึ้น การประหยัดค่าขนส่งและเวลา เพราะรถตู้คอนเทนเนอร์สามารถวิ่งตรงจากไทยไปยังกรุงพนมเปญได้

3.สถานที่ท่องเที่ยวของไทยในจังหวัดตราดจะเป็นแหล่งดึงดูดให้ชาวต่างชาติและชาวกัมพูชาได้มาเยี่ยมเยือน โดยใช้ถนน R 48 เป็นเส้นทางคมนาคม

4.การพัฒนาถนนสาย R 48 จะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเส้นทางคมนาคมภายใต้โครงการ SEC เส้นทาง Southern Coastal Subcorridor ระยะทางประมาณ 970 กิโลเมตร เริ่มต้นจากกรุงเทพฯ-ตราด (ไทย)-เกาะกง-สะแรอัมเปิล-กำปอด (กัมพูชา)-ฮาเตียน-Ca Mau-Nam Can (เวียดนาม) เพื่อเชื่อมโยงชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (Eastern Seaboard) ของไทย

แน่นอนว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับต่อไทย-กัมพูชา-เวียดนาม รวมถึงกลุ่มประชาคมอาเซียนในเชิงรูปธรรมจะเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว สำคัญที่สุดคือ สัมพันธภาพและความเข้าใจ การช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างเพื่อนบ้าน เป็นคุณค่าที่ไม่สามารถประเมินได้เลย

หน้า 38
 
#21 ·
เกาะช้างเหม็นขยะตกค้าง500ตัน

Posttoday วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552


พ่อเมืองตราดจี้เทศบาลตำบลเกาะช้าง จัดการปัญหาขยะล้นเกาะให้แล้วเสร็จ

นายวินัย กาวิชัย รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีขยะตกค้างใน อ.เกาะช้าง จำนวน 500 ตัน ซึ่งจะต้องขนมาทิ้งบนฝั่ง จ.ตราด แต่บริษัทรับจ้างยังไม่ดำเนินการ เพราะใช้งบประมาณสูง
ทั้งนี้ ในแต่ละวันจะมีขยะ 12-17 ตัน (ช่วงโลว์) หากเป็นช่วงไฮจะมีสูงถึง 20-27 ตัน ใช้คนงานกำจัดได้ 30 ตัน/วัน แต่ปัจจุบันอุปกรณ์และปริมาณที่สะสมมีมาก จนไม่สามารถดำเนินการได้

วานนี้ นายแก่นเพชร ช่วงรังษี ผวจ.ตราด เป็นประธานประชุมแนวทางการจัดการปัญหาขยะและของเสียในแหล่งท่องเที่ยว จ.ตราด ครั้งที่ 1/2552 หลังจากที่สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด ทำหนังสือถึงจังหวัดเพื่อให้แก้ปัญหาขยะในแหล่งท่องเที่ยว

นายแก่นเพชร กล่าวว่า เทศบาลตำบลเกาะช้างต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 10 วัน หากไม่แล้วเสร็จจะถือว่าบกพร่อง เพราะที่ผ่านมาเทศบาลตำบลเกาะช้างไม่สามารถบริหารจัดการควบคุมบริษัทรับจ้างให้ดำเนินการตามนโยบายได้ โดยมอบหมายให้นายชลอ ใบเจริญ รองผวจ.ตราด เป็นผู้ควบคุมดูแล หากไม่แล้วเสร็จจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของเกาะช้างอย่างมาก
 
#22 ·
ค้าชายแดนอีสานใต้พุ่งตราดโกย1.7หมื่นล้าน

Posttoday วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552


การค้าชายแดนอีสานใต้ทะลุ 1,400 ล้าน ขณะที่ จ.ตราด ฉลุยกว่า 1.7 หมื่นล้าน

นายไพรัช เจริญชาศรี นายด่านศุลกากรช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ เปิดเผยว่า การค้าขายชายแดนไทย-กัมพูชา ผ่านด่าน ชายแดนถาวรช่องจอม อ.กาบเชิง และช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ ทะลุกว่า 1,420.38 ล้านบาท ขณะที่ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมามูลค่าการส่งออกเพียง 1,178.67 ล้านบาท

ทั้งนี้ นักธุรกิจ พ่อค้า และประชาชนชาวกัมพูชา ในจังหวัดอุดรมีชัย จังหวัดพระวิหาร และจังหวัดเสียมราฐ ซึ่งเป็นจังหวัด ที่มีชายแดนติดกับไทยด้าน จ.สุรินทร์ และ จ.ศรีสะเกษ ได้ ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากไทยเข้าไปจำหน่ายให้แก่ประชาชนชาวกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีความขัดแย้งเรื่องเขาพระวิหาร แต่ยอดการค้าขายไม่มีผลกระทบ

“ปัจจุบันนักธุรกิจรายใหญ่ รวมทั้งผู้ประกอบการกาสิโน ในฝั่ง โอร์เสม็ด กัมพูชา หันมาซื้อและนำเข้า น้ำมันเชื้อเพลิงจากฝั่งไทยมากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า และจำหน่ายให้กับประชาชนกัมพูชา” นายด่านศุลกากรช่องจอมกล่าว

นายไพรัช กล่าวอีกว่า ในอนาคตการค้า การลงทุน การขนส่งและการท่องเที่ยวภูมิภาคนี้ มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ เนื่องจากจะได้รับอานิสงส์จากที่ประเทศไทยทุ่มงบกว่า 3,000 ล้านบาท ช่วยกัมพูชา สร้างปรับปรุงถนนหมายเลข 67, 68 ซึ่งเป็นสองเส้นทางยุทธศาสตร์เชื่อมโยงภาคเหนือเขมร-นครวัด นครธม กับภาคอีสานใต้ของไทยที่เปิดให้บริการไปแล้ว ทำให้การขนส่งสินค้าสะดวกยิ่งขึ้น

ขณะที่ นายกฤษฎา อินทชาติ พาณิชย์ จ.ตราด กล่าวว่า แม้ว่าในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ไทยจะเกิดความขัดแย้งกับกัมพูชาเรื่องเขาพระวิหาร แต่มูลค่าการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ด้าน จ.ตราด มีความเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ยอดถึงเดือนก.ย. มีมูลค่าส่งออกสูงถึง 1.75 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น จากเดือนก.ย. 2551 ที่มีมูลค่า 16,431.67 ล้านบาท
 
#23 ·
ขยะล้นเกาะช้างจวกกันวุ่น ผู้ว่าฯบี้ขีดเส้นเทศบาลแก้ใน10วัน

วันที่ 03 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6883 ข่าวสดรายวัน


นายแก่นเพชร ช่วงรังษี ผู้ว่าฯ ตราด เป็นประธานประชุมแนวทางการแก้ปัญหาขยะในแหล่งท่องเที่ยว จ.ตราด โดยเฉพาะที่เกาะช้าง เนื่องจากปัจจุบันมีขยะตกค้างจำนวนมากส่งกลิ่นเหม็นและไม่มีผู้จัดเก็บ

นายสุขสันต์ เพ็งดิษฐ์ เจ้าหน้าที่สำนักงานพื้นที่พิเศษเกาะช้าง กล่าวว่า ทาง อพท.ได้งบประมาณก่อสร้างโรงกำจัดขยะแบบชีวมวล 50 ล้านบาท ผลิตเป็นก๊าซชีวภาพมาใช้ปั่นเป็นไฟฟ้าได้ และนำดินที่หมักจากขยะมาทำเป็นปุ๋ยได้อีก จากนั้น อพท.ว่าจ้างเอกชนเข้ามาบริหารจัดการและจัดเก็บขยะเดือนละ 800,000 บาท โดยบริษัท ส.คงทน จำกัด ของนายสุรศักดิ์ อิงประสาน เป็นผู้บริหาร ต่อมาเมื่อหมดสัญญามีการประมูลใหม่ บริษัท รีซอสท์ รีคอฟเวอร์รี่ จำกัด ได้รับเลือกเป็นผู้รับจ้างเดือนละ 500,000 บาท

นายวินัย กาวิชัย รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเกาะช้าง กล่าวว่า ปัจจุบันมีขยะตกค้างในเกาะช้าง 500 ตัน ซึ่งจะต้องขนมาทิ้งบนฝั่ง จ.ตราด แต่บริษัทรับจ้างไม่ดำเนินการเพราะต้องใช้งบประมาณสูง ในแต่ละวันของช่วงโลว์ซีซั่นจะมีขยะ 12-17 ตัน หากเป็นช่วงไฮจะมีสูงถึง 20-27 ตัน ใช้คนงานกำจัดวันละ 30 ตัน แต่ปัจจุบันอุปกรณ์และปริมาณขยะสะสมมีมากจนไม่สามารถดำเนินการได้

นายสุรศักดิ์ อิงประสาน กล่าวว่า ผู้รับจ้างรายใหม่รับจ้างเดือนละ 500,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ขาดทุน และผู้รับจ้างคิดว่าขยะต้องทิ้งบนเกาะ แต่ในสัญญาระบุว่าต้องทิ้งบนฝั่ง ต้องมีค่าขนส่งเรือเฟอร์รี่เดือนละ 2-3 ครั้ง ค่าทิ้งขยะของศูนย์บำบัดขยะของเทศบาลเมืองตราดตันละ 600 บาท ทำให้ผู้รับเหมาขาดทุน ทำไม่ได้และจะทิ้งงานจนงานเกิดมีปัญหา ขณะที่บริษัทของตนไม่เคยมีปัญหา แม้จะแพงกว่าและการจะแก้ปัญหาขยะ 500 ตันที่อยู่บนเกาะช้างจะต้องใช้เวลากี่วัน ซึ่งอาจจะถึง 3 เดือนจึงจะแล้วเสร็จ ที่ผ่านมาบริษัทของตนใช้วิธีอัดแท่งทำให้ง่ายในการกำจัด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงท้ายของการประชุมผู้ว่าฯ ตราดได้มอบหมายให้เทศบาลตำบลเกาะช้างไปดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 10 วันเพราะที่ผ่านมาเทศบาลตำบลเกาะช้างไม่สามารถบริหารจัดการควบคุมบริษัทรับจ้างให้ดำเนินการตามนโยบายได้ ซึ่งตนจะเดินทางไปเกาะช้างในวันที่ 8 ต.ค.

หน้า 28
 
#24 ·
ค้าชายแดนตราดเฮ!เห็นแสงสว่าง สะพัดเฉียด1.7หมื่นล้าน-บิ๊กธุรกิจฟันธงปีหน้าโต4%

วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4151 ประชาชาติธุรกิจ


ค้าชายแดนไทย-กัมพูชาด้าน จ.ตราดเห็นแสงสว่าง ขยายตัว 2% มูลค่า 16,778 ล้าน ประธานหอฯเผยข้อมูลไม่ผ่านด่านศุลกากรอีกเท่าตัว ฟันธงปีหน้าโต 3-4% ชี้ศักยภาพการขนส่งทางเรือ-ถนนหมายเลข 48 ตัวกระตุ้น ส.ว.ตราดแนะควรพัฒนาและเปิดตลาดสินค้าเกษตรแปรรูปแทนที่สินค้าส่งออกอันดับหนึ่งน้ำตาลทราย


นายประยุทธ มณีโชติ นายด่านศุลกากรคลองใหญ่ จ.ตราด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในช่วงปีงบประมาณ 2552 (ก.ย. 2551-ต.ค. 2552) การค้าชายแดนด้าน อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ระหว่างไทย-กัมพูชาและเวียดนามมีมูลค่ารวม 16,788.2 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2551 (ก.ย. 2550-ต.ค. 2551) ที่มีมูลค่า 16,451.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.9 แยกเป็นมูลค่าส่งออก 16,735.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ที่มีมูลค่าส่งออก 16,407.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.9 เช่นเดียวกัน

ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 42.8 ล้านบาท ลดลงจากปี 2551 ที่มีมูลค่านำเข้า 45.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.7 โดยสินค้าส่งออกใน 5-6 ลำดับต้น ๆ คือ น้ำตาลทรายร้อยละ 53 นมและอาหารเสริม เหล็กเส้น แผ่นเหล็ก โครงเหล็ก เครื่องดื่มน้ำอัดลม น้ำหวานต่าง ๆ ขนม และผงชูรส-ผงปรุงรส ส่วนสินค้านำเข้า คือ ไม้แปรรูปร้อยละ 29.5 หวาย มะพร้าวผล ปลาหมึกตากแห้ง ทั้งนี้ปริมาณการนำเข้าที่ลดลงส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรที่นำเข้าทดแทนการขาดแคลน

นายกฤษฎา อินทชาติ พาณิชย์จังหวัดตราด เปิดเผยว่า ปริมาณมูลค่าการค้าชายแดนด้าน อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ปี 2552 แม้มีปัญหาด้านภาวะเศรษฐกิจโลกและของไทย รวมทั้งปัญหาการเมือง ในประเทศ แต่อัตราการขยายตัวยังเพิ่มขึ้น แม้มีปริมาณไม่มากนักก็ตาม เนื่องจากกัมพูชาอยู่ในช่วงระยะของการลงทุน มีโครงการลงทุนด้านอุตสาหกรรมจากประเทศเกาหลี จีน มาเลเซีย ในเมืองต่าง ๆ รวมทั้งจังหวัดเกาะกงที่ติดชายแดน จ.ตราด

คาดว่าในช่วงไตรมาสที่ 4 คือ ตุลาคม-ธันวาคม 2552 ปริมาณการค้าน่าจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าไตรมาสที่ผ่านมาเหมือนทุก ๆ ปี 3 ปัจจัยหลักที่ช่วยส่งเสริม คือ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตราด-เกาะกง เปรียบเสมือนบ้านพี่เมืองน้อง ทำให้ไม่มีการต่อต้านหรือขัดแย้งกัน การขนส่งที่สะดวกทั้งทางบกถนนหมายเลข 48 ส่วนทางน้ำสามารถ ส่งสินค้าได้ถึงเวียดนามและทำให้ลดต้นทุน รวมทั้งคุณภาพสินค้าไทยเป็นที่นิยมของตลาดกัมพูชา

นายประเสริฐ ศิริ ประธานหอการค้าจังหวัดตราด เปิดเผยว่า ภายหลังเปิดใช้ถนนหมายเลข 48 เชื่อมต่อพนมเปญและสีหนุวิลล์ เมื่อกลางปี 2551 สินค้าที่เคยส่งออกทางด้านสระแก้ว จันทบุรี ได้เปลี่ยนมาใช้ทางด้าน จ.ตราด รวมทั้งจังหวัดตราดโดยเฉพาะประเภทผัก ผลไม้ แต่ในขณะเดียวกันการขนส่งทางน้ำยังคงมีปริมาณมากถึง 80-85% โดยเฉพาะสินค้าขนาดใหญ่ เนื่องจากค่าขนส่งถูกกว่าและเส้นทางเรือสามารถเชื่อมต่อจากกัมพูชา สีหนุวิลล์ ถึงเวียดนามที่เมืองฮาเตียน นอกจากนี้การขนส่งสินค้าทางเรือเสียภาษีน้อยกว่าทางบก เพราะมีด่านจัดเก็บน้อยกว่าทางบกที่ต้องเสียทุกจังหวัด

คาดว่าในปี 2553 ปริมาณการค้าจะเติบโตเพียง 3-4% เช่นเดียวกับปี 2552 เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลกยังไม่ดีนัก

"มูลค่าการค้าชายแดนจริง ๆ มากกว่าตัวเลขที่ผ่านด่านศุลกากรถึงเท่าตัว เพราะบางอย่างไม่ต้องสำแดงตัวเลข อย่างส่งออกผลไม้ที่ผ่านทางหอการค้าปี 2552 ประมาณเกือบ 2,000 ตัน มูลค่า 30 ล้านเศษ ส่วนปริมาณมูลค่าการค้าที่ลดลงไปส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการส่งออกปูนซีเมนต์ที่เคย ส่งออกทางด้าน จ.ตราดได้เปลี่ยนเส้นทางส่งออกเป็นทาง จ.เพชรบุรีแวะพักที่เกาะกูดและเข้าสีหนุวิลล์โดยตรง" นายประเสริฐกล่าวและว่า

จริง ๆ แล้วสินค้าไทยเป็นที่ต้องการของตลาดกัมพูชา เพียงต้องพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ที่ผ่านมาหอการค้าทำ MOU กับหอการค้าของกัมพูชา และเดือนมกราคม 2553 นี้รัฐบาลกัมพูชาได้สนับสนุนให้มีการจัดแสดงสินค้าร่วมกันเนื่องในโอกาสฉลองเอกราช จัดให้มีการจำหน่ายสินค้าจาก 20 จังหวัดในกัมพูชาที่จังหวัดเกาะกง โดยเชิญให้ไทยนำสินค้าไปจำหน่ายกว่า 200 บูท จากทั้งหมด 300 บูท ซึ่งจะเป็นช่องทางนำสินค้าไทยไปเผยแพร่ในกัมพูชา

ทางด้านนายสุพจน์ เลียดประถม สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตราด เปิดเผยว่า ปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา จะมีผลต่อการต่อต้านสินค้าไทย ทำให้สินค้าเวียดนามและจีนอาจเข้ามาแทนที่สินค้าไทยบางอย่าง หรือปัญหาการเมืองภายในประเทศทำให้ชาวต่างชาติอาจเปลี่ยนเส้นทางการเดินทางไปสิงคโปร์ มาเลเซียแทน

ทั้งนี้ในส่วนของตัวสินค้าไทยเองเป็นสินค้าเดิม ๆ ที่ส่งออกจำนวนมาก เช่น น้ำตาลทราย น่าจะพัฒนาสินค้าการเกษตรอื่น ๆ เพื่อส่งออกเพิ่มขึ้นบ้าง

หน้า 23
 
#25 ·
มาเลเซียทึ่งไม้กฤษณา เล็งส่งเสริมเป็นไม้เศรษฐกิจ​

รัฐบาลมาเลเซียดูงานไม้กฤษณาจังหวัดตราด เผยไม้กฤษณาเมืองตราดสายพันธุ์ดีที่สุดในโลก เล็งนำความรู้และเทคนิควิธีการ ต่างๆไปใช้ในการส่งเสริมเกษตรกรชาวมาเลเซียให้ปลูกเป็นไม้เศรษฐกิจของ มาเลเซียต่อไป...
วันนี้(24 ต.ค.)ดาโต๊ะอัดุลฮายี รมยี ผู้ว่าการรัฐอะลัดตาจากประเทศมาเลเซีย นำคณะเจ้าหน้าที่หน่วยงานเกษตร มาศึกษาดูงานการปลูกและแปรรูปไม้กฤษณาในเขตอำเภอบ่อไร่และอำเภอเมือง จังหวัดตราด โดยมีนายขวัญชัย พูลสระคู นายสำเนา หอยสังข์ ผู้ประสานงานจาก จ.สตูล และ จ.ตราด นำศึกษาดูงานการปลูกไม้กฤษณาในแปลงไม้กฤษณาต่างๆ รวมทั้งเตาต้มกลั่นน้ำมัน กฤษณาในเขตอำเภอบ่อไร่และอำเภอเมือง จังหวัดตราด โดยเข้าศึกษาแปลงปลูกไม้กฤษณาและโรงงานเตาต้มกลั่นน้ำมันกฤษณา ทั้งโรงงานขนาดเล็กแบบอุตสาหกรรมในครัวเรือนและโรงงานขนาดใหญ่มีเตาต้มกลั่น นับร้อยเตา เพื่อศึกษาข้อมูล เทคนิค วิธการปลุกและแปรรูปต้มกลั่นน้ำมันกฤษณา ไปส่งเสริมการปลูกและแปรรูปน้ำมันกฤษณาในประเทศมาเลเซีย

ผู้สื่อ ข่าวรายงานว่า การเดินทางมาศึกษาดูงานการปลูกและแปรรูปไม้กฤษณาในจังหวัดตราดของรัฐบาล มาเลเซียในครั้งนี้ เนื่องจากจังหวัดตราดโดยเฉพาะอำเภอบ่อไร่ มีการปลูกไม้กฤษณามาก และมีสายพันธุ์ไม้กฤษณาที่ดีที่สุดในโลก คือ สายพันธุ์เอ ควิลาเรียตราด 1 เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุดเนื่องจากสามารถปรับสภาพแวดล้อมได้ทั่วทุก ภูมิภาคของประเทศไทย เจริญเติบโตได้ดี สามารถกระตุ้นให้เกิดสารกฤษณาได้ง่ายและคุณภาพดี คุณภาพน้ำมันกฤษณาและผลิตภัณฑ์มีราคาแพง ตลาดต้องการจำนวนมาก ปัจจุบันได้ขอขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรแล้ว

ด้านดาโต๊ะอับดุล ฮายี รมยี ผู้ว่าการรัฐอะลัดตา กล่าวว่า จังหวัดตราดมีไม้กฤษณาที่ดีที่สุดในโลกและมีวิธีการปลูกและกระตุ้นสาร กฤษณา ตลอดจนเทคนิคในการต้มกลั่นน้ำมันกฤษณาจึงต้องการนำความรู้และเทคนิควิธีการ ต่างๆไปใช้ในการส่งเสริมเกษตรกรชาวมาเลเซียให้ปลูกไม้กฤษณา ซึ่งขณะนี้รัฐบาลมาเลเซียกำลังส่งเสริมให้ปลูกเป็นไม้เศรษฐกิจของมาเลเซีย ต่อไป.
 
#26 ·
ล่องเรือดูหิ่งห้อย ที่เวนิซเกาะช้าง​
วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6904 ข่าวสดรายวัน

ฤดู ฝนพรำ การเที่ยวเกาะดูไม่มีความหมายสำหรับนักท่องเที่ยวเท่าไหร่ อาจเพราะมุมมองในการท่องเที่ยวทะเลดูไม่สวยงามดังที่ตั้งใจ สายฝนทำลายความสวย งามของผืนน้ำสีคราม จะดำน้ำดูปะการังหรือลงแหวกว่ายท้องทะเลยามฝนพรำก็คงใช่ที่
ขอแนะนำ สำหรับผู้ที่ตั้งใจเที่ยว "เกาะช้าง" จ.ตราด ยามพบเจอเม็ดฝน ให้คงความตั้งใจการท่องเที่ยวเกาะไว้ แต่หักมุมไปลิ้มรสชาติท่องสายน้ำ เลาะป่าชายเลน ในตอนกลางวัน และดูหิ่งห้อย ในตอนกลางคืน อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่ง

ทั้งหมดใช้เวลาเพียงวัน เดียว ก็ครบสูตรตามที่ตั้งไว้

ใน ที่นี้ไม่รวมถึงระยะเวลาการเดินทางจากต้นทาง ซึ่งอาจเดินทางด้วยรถโดยสารตั้งแต่สถานีขนส่งเอกมัย ถ.สุขุมวิท หรือสถานีขนส่งหมอชิตก็ได้ แล้วแต่สะดวกราว 4 ชั่วโมง

หากมีเวลา น้อยแนะนำให้เลือกซื้อตั๋วโดยสารเที่ยว 23.00-24.00 น. ระหว่างนี้ มีให้เลือกหลายบริษัทโดยสาร เพื่อให้ถึงปลายทางเช้ามืด ก่อนต่อรถสองแถวเล็กไปยังท่าเรือแหลมงอบ ค่าโดยสารคนละ 20 บาท รอเรือโดยสารข้ามเกาะ เสียเวลาอีกราว 45 นาที มุ่งหน้ายังเกาะช้าง

หรือ หากไปรถยนต์ส่วนตัวก็เดินทางมุ่งหน้าไปจ.ตราด ตามทางมอเตอร์เวย์หรือสุขุมวิทก็ได้ตามสะดวก ก่อนจะเลี้ยวขวาเพื่อไปยังท่าเรือแหลมงอบ ก่อนจะมุ่งหน้าไปเกาะช้าง

ถึง เกาะช้าง เก็บสัมภาระเข้าที่พักที่เลือกได้ตามอัธยาศัย ก่อนพาร่างอันทะมัดทะแมง พร้อมเพื่อนพ้องและอุปกรณ์คู่กาย เช่น กล้องหรือหมวก มุ่งหน้ายังเป้าหมาย "หมู่บ้านบ้านสลักคอก" ที่อยู่ฝั่งตะวันออกของเกาะ โดยการจ้างเหมารถสองแถวให้ไปส่ง อัตราค่าจ้างเหมาไม่สูงนัก เมื่อเดินทางพร้อมกันหลายคน หรือแล้วแต่จะตกลง


"สลัก คอก" เมื่อมองจากทะเลเข้าไปจะไม่เห็นมุมใดๆ ของหมู่บ้านนี้ เพราะเป็นหมู่บ้านชาวประมงที่อยู่หลบเขาไปในช่องแคบๆ หากนับจากทะเลเข้ามา แต่ช่องแคบที่ว่าจะกว้างออกเป็นเวิ้ง สำหรับเรือประมงใช้หลบลม โดยรอบของเวิ้งเป็นป่าชายเลน ไม่มีหาดทรายขาวให้ชม แต่มีสายน้ำสีเขียวสด ผนวกกับพรรณพืชของป่าชายเลนซึ่งเป็นพืชเฉพาะถิ่น

หากไม่เคยสัมผัส วิถีประมงที่แท้จริง บ้านสลักคอกเป็นคำตอบได้อย่างดี เพราะที่นี่ยังคงสภาพวิถีชาวเลดั้งเดิมและเพิ่มเติมให้ด้วยว่า เป็น มุมที่แน่นอนว่าไม่เคยเห็นในเกาะช้างมาก่อน

ชุมชนแห่งนี้สมบูรณ์ที่ สุดในเรื่องของวิถีดั้งเดิมของชาวเล ต่อเมื่อศักยภาพการท่องเที่ยวของเกาะช้างสูงขึ้น วิถีแห่งการปรับเปลี่ยนก็เข้าใกล้ชุมชนมากขึ้น และเพื่อให้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นไปอย่างยั่งยืน องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) องค์การมหาชน จึงเข้ามามีบทบาทให้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน เข้าถึงชาวบ้านอย่างหมู่บ้านสลักคอก

หมู่บ้านสลักคอก เป็นที่ตั้งของป่าชายเลนผืนใหญ่ที่สุดของเกาะช้าง ผืนป่าราว 670 ไร่ จึงเป็นแหล่งอนุบาลพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นแหล่งประมงพื้นบ้าน เป็นผืนป่าที่ช่วยป้องกันการพังทลายของชายฝั่ง ต้านความเร็วลม และยังเป็นแหล่งสมุนไพรนานาชนิด ด้วยเหตุผลนี้การจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่ ชาวบ้านจึงจำเป็นต้องมีส่วนร่วม

จุด ที่รถสองแถวรับส่งได้เป็นบริเวณทางเข้าบ้านสลักคอก อันเป็นจุดเริ่มต้นทำกิจกรรมท่องสายน้ำ เลาะป่าชายเลน ซึ่งถัดจุดรับส่งนักท่องเที่ยวมาเป็นสะพานไม้ทอดตัวยาวพุ่งตรงไปสุดทางที่ลำ คลอง บริเวณนั้นเป็นท่าเรือสำหรับล่องเรือชม ป่าชายเลนด้วย "เรือคายัก" และ "เรือมาด"

แต่ถึงอย่างไรการล่องเรือชมป่าชายเลนไม่ว่าจะด้วยเรือ คายักหรือเรือมาด ก็ล้วนถูกแสงแดดอย่างแน่นอน เพราะท้องน้ำจะสะท้อน แดดเป็นเงาระยับ ขับสีเขียวใต้ท้องน้ำออกมา ให้ความรู้สึกว่าอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอย่างแท้จริง

เรือทั้งสองแบบ ขึ้นกับความชอบของนักท่องเที่ยว โดยคิดราคาแบบชาวบ้าน เรือคายักมี 2 แบบ คือ พายเรือเองพร้อมอุปกรณ์ชูชีพ ในอัตรา 100 บาทต่อคนต่อชั่วโมง ส่วนมีผู้ช่วยพายและมีอุปกรณ์ชูชีพ สนนราคา 200 บาทต่อคนต่อชั่วโมง

ส่วน เรือมาดราคาจะสูงกว่า เพราะมีมาดเหมือนชื่อ เหมาะยิ่งสำหรับคู่รัก เนื่องจากเรือมาดจะจัดโต๊ะอยู่กลาง มีที่นั่งพนักพิง 2 ฟาก นั่งได้ 4 คนหันหน้าเข้าหากัน มีร่มขาวปักไว้กลางโต๊ะ ดูโรแมนติกไม่เบา จนหลายคนเอ่ยปากให้เรือมาด เป็นเรือพายพื้นบ้านของเมืองเวนิซ ประเทศอิตาลี ที่เรียกว่า "เรือกอนโดลา"

การเช่าเรือมาดตอนกลางวัน คิดค่าเช่าเป็นรายหัวอยู่ราว 200 ต่อคนต่อชั่วโมง แต่หากเหมารวมอาหารทะเลสดหลากหลายในมื้อกลางวันพร้อมล่องเรือชมป่าชายเลนไป ด้วย ราคาจะสูงขึ้นอีก แต่ถ้ามีเวลาพอค้างคืนแบบโฮมสเตย์ อยากให้เลือกล่องเรือมาดในเวลากลางคืนจะมีเสน่ห์ที่สุด เพราะจะได้ชมแสงอาทิตย์อัสดง ที่ต้องริ้วน้ำบริเวณปากอ่าวจากคลองสู่ทะเลที่หาชมได้ยากยิ่ง เพียงแต่อัตราค่าเช่าเรือมาดพร้อมฝีพาย จะคิดราคาที่ 1,200 บาทต่อคนต่อ 2 ชั่วโมงครึ่ง โดยจะเสิร์ฟพร้อมอาหาร 4 ชนิด พร้อมไวน์ และดนตรีไทยบรรเลงประ กอบการชม

จุดที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ดี ไม่เฉพาะเวลาพลบค่ำต้องแสงอาทิตย์เท่านั้น เป็นบริเวณปากอ่าวสลักคอก อันเป็นจุดที่มีสันทรายนูน ที่แม้จะสัมผัสด้วยตาเห็นได้ว่าเป็นสันทรายที่ค่อนข้างหยาบ แต่ก็จูงใจให้ขึ้นไปเดินเล่นหรือบันทึกภาพเก็บไว้ ทั้งยังเป็นจุดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างแนวป่าชายเลนสองแนวที่ทอดยาวมาเกือบ บรรจบบริเวณ จุดนัดพบของทะเลและอ่าวสลักคอก

เสร็จสรรพการล่องเรืออัน แสนโรแมนติก รอให้แสงแห่งกลางวันสิ้นสุด จะติดต่อไว้ล่วงหน้า สำหรับการชมหิ่งห้อยในช่วงเวลากลางคืนจะเป็นการดี แต่ด้วยชุมชนยังไม่ทันสมัยนัก การให้บริการนั่งเรือชมหิ่งห้อยจะมีเฉพาะร้านอาหารที่อยู่ริมคลอง ซึ่งเป็นการบริการพร้อมกับการเสิร์ฟอาหารมื้อเย็น หากต้องการชมเฉพาะหิ่งห้อย ก็สามารถเจรจาค่าใช้จ่ายกับเจ้าของร้านอาหารได้

เพราะ จำนวนนักท่องเที่ยวเกาะช้างที่เพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ หากแบ่งจำนวนนักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งมาใช้บริการการ ท่องเที่ยวในรูปแบบชาวบ้านที่บริหารและจัดการโดยชาวบ้าน เอง ก็จะดีไม่น้อย เพราะอย่างน้อยก็ถือเป็นการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บนวิถีวัฒนธรรมอย่างแท้จริง

สนใจการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บนวิถีวัฒนธรรมแห่งชาวเล บนเกาะช้าง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว ท่าโสม อพท. โทร.0-3951-6051-4 มีคำตอบให้ทุกคำถาม
 
This is an older thread, you may not receive a response, and could be reviving an old thread. Please consider creating a new thread.
Top