SkyscraperCity Forum banner

Trat | The Eastern Gem

60K views 151 replies 22 participants last post by  wwc234 
#1 ·
แผนเสกหมู่เกาะช้าง ของบหมื่นล้าน7ปี สวรรค์กลางทะเล

เปิดแผนแม่บทพัฒนาเกาะช้างอพท.ขอหมื่นล้านใน 7 ปี ทุ่มพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานรับแผนเป็นแหล่งท่องเที่ยวไฮเอ็น ทั้งเร่งศึกษาเปิดเกาะให้เอกชนสัมปทาน"วันไอส์แลนด์ วันรีสอร์ท" สร้างสนามบินเล็ก ท่าเรือเฟอร์รี่ ภายใต้คอนเซ็ปท์อีโค-ทัวร์ริสซึ่ม ด้านนายทุนชะงักหลังที่ดินพุ่งไร่ละ10 ล้านบาท





แม้จะล่าถอยแผนจัดระเบียบเกาะพีพี.เพราะโดนต้านอย่างหนัก แต่ที่เกาะช้างอันเป็นจุดกำเนิดขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน) หรืออพท.นั้น ยังทำงานต่ออย่างแข็งขัน


แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการท่องเที่ยว ผู้ประสงค์จะให้ข่าวแต่ไม่ประสงค์ออกนาม แจงว่า เวลานี้การจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาเกาะช้างของอพท.ศึกษาแล้วเสร็จเรียบร้อย แถมผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริหารของ อพท.รอเพียงเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเร็ว ๆ นี้


ทั้งนี้ ตามแผนแม่บทได้กำหนดเม็ดเงินที่จะใช้ ในการพัฒนาเกาะช้างและเกาะบริวาร 52 เกาะ โดยใช้งบในราว 10,000 ล้านบาท เป็นงบประมาณประจำปีผูกพันเป็นระยะเวลา 7 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2549-2555 โดยมุ่งพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเชิงนิเวศน์ และมีการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน


"ส่วนงบประมาณร่วมหมื่นล้านจะเป็นงบที่กระจายผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเน้น ในเรื่องของการสร้างสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน เช่น การปรับปรุงถนนหนทางภายในเกาะ การจัดระบบไฟฟ้า แหล่งน้ำ ประปา โทรศัพท์ การคมนาคม รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกด้านบริการ ท่าเรือเฟอร์รี ศูนย์อะควอเรียม พิพิธภัณฑ์ สนามบินขนาดเล็ก ฯลฯ ที่ถือเป็นการลงทุนแบบบูรณาการ ซึ่งบางโครงการอาจจะเปิดให้ภาคเอกเชนเข้ามาลงทุนด้วย"


แหล่งข่าวคนเดิมยังระบุอีกว่า ในส่วนที่จะเปิดให้เอกชนเข้าร่วม อาจเป็นการลงทุนในลักษณะเปิดสัมปทาน เช่น ท่าเรือเฟอร์รี่ การลงทุนสนามบินขนาดเล็ก เพื่อเชื่อมโยงในพื้นที่ระหว่างเกาะช้างกับเกาะหมาก เนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวก รวมถึงแนวทางการเปิดเกาะ ให้ภาคเอกชนสัมปทานลงทุนในลักษณะ"วันไอส์แลนด์วันรีสอร์ท" ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด ซึ่งเบื้องต้นกำหนด 3 เกาะที่จะเปิดให้สัมปทานคือ เกาะคลุ้ม เกาะหวาย และเกาะใบตั้ง


"การเปิดให้ภาคเอกชนสัมปทานลงทุนนั้นจะต้องมีกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ให้ชัดเจนเพราะขณะนี้เป็นเพียงแค่การศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น โดยรายละเอียดจะต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยต้องเป็นการลงทุนที่สอดคล้องกับแผนแม่บท และต้องสร้างรีสอร์ทที่มีมาตราฐาน และภายใต้แนวคิดอีโคทัวร์ริสซึ่ม"


แค่แง้มแนวทาง เวลานี้มีภาคเอกชนหลายรายทั้งในและต่างประเทศ สนใจถามสอบข้อมูลเกาะบริวารทั้ง 52 เกาะ เพื่อเตรียมลงทุน ซึ่งความเป็นไปได้นั้นอาจจะเปิดสัมปทานเหมือนกับที่หมู่เกาะมัลดีฟส์ คือเป็นรีสอร์ทหรูหราและขายห้องพักในราคาแพงมากมีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับครบและคุ้มค่ากับการลงทุน"


ส่วนสนามบินก็จะเป็นสนามไซส์จิ๋ว สำหรับเครื่องขนาด 20-30 ที่นั่งเท่านั้น โดยต้องการให้เป็นเครื่องบินแบบเอ็กคลูซีฟ ให้บริการเชื่อมโยงระหว่างเกาะช้างกับเกาะบริวาร เกาะกูด เกาะหมาก เป็นต้น ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงรองรับตลาดระดับเศรษฐี


ขณะที่สนามบินตราดนั้นจะเป็นจุดที่เชื่อมบนฝั่งพื้นดิน เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักท่องเที่ยวระดับสูง ซึ่งอาจจะเป็นเจ้าของรีสอร์ทลงทุนเองหรือรัฐบาลลงทุนก็ได้


ทั้งนี้สำหรับแผนแม่บทในการพัฒนาเกาะช้างนั้นแบ่งพื้นที่พัฒนาออกเป็น 4 โซนใหญ่ ๆ


ประกอบด้วยกลุ่มเกาะช้าง เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติที่หลากหลายรูปแบบชุมชนนิเวศน์ (อีโค-วิลเลจ) กลุ่มเกาะหมาก เป็นการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลเช่น


ดำน้ำ ชมปะการัง พิพิภัณฑ์ทางทะเล กีฬาทางน้ำและ"วัน ไอส์แลนด์ วัน รีสอร์ท"


กลุ่มเกาะกูด เน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบเอ็กคลูซีฟ โซน มีมาตรการอนุรักษ์ฟื้นฟูธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมอย่างเข้ม และพื้นที่เชื่อมโยงผังเมืองตราด เน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์การเกษตร และ


ทรัพยากรชายฝั่ง


"พื้นที่บริเวณหมู่เกาะช้างถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีลักษณะพิเศษกว่าชายหาดทั่วไป เพราะมีลักษณะเป็นป่าดิบหรือเรน ฟอร์เรส ผสมผสานกับชายหาดและทะเล ซึ่งถือเป็นจุดขายที่สำคัญที่สามารถพัฒนาขึ้นมารองรับตลาดนักท่องเที่ยวระดับบนได้" แหล่งข่าวคนเดิมกล่าว


พูดถึงเกาะช้าง ขาดไม่ได้ที่ต้องถาม"พรชัย เขมะพรรค์พงษ์" กรรมการผู้จัดการ อัยยะปุระ รีสอร์ท แอนด์ สปา เกาะช้าง เลยได้เบาะแสว่า เวลานี้นอกจากกลุ่มเอวาซอนได้เข้ามาซื้อที่ดินบน


เกาะกูดจำนวน 800 ไร่ สำหรับก่อสร้างโรงแรมระดับ 5-6 ดาว มีลานจอดเครื่องบินส่วนตัว


ขนาด 12-16 ที่นั่งแล้ว กลุ่มซีพีที่จับมือกับบันยันทีสร้างโรงแรม 5 ดาวที่เกาะทรายขาว


ล่าสุดกลุ่มทุนเกาหลีได้มีการซื้อที่ดินที่เกาะหวายจำนวน 21 ไร่และที่ดินครอบครองโดยไม่มีเอกสารสิทธิอีกประมาณ 20 ไร่ มูลค่ากว่า 50 ล้านบาท ขณะที่สลักเพชร ซีฟู้ดได้เสนอแผนไปที่องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ในการขอสัมปทานทำมารีน่า บริเวณอ่าวสลักเพชร มูลค่ากว่า 200 ล้านบาท


ส่วนกลุ่มเซ็นทรัลนั้นขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการสำรวจเท่านั้น ยังไม่ได้มีการซื้อที่ดินแต่อย่างไร สำหรับกลุ่มทุนอื่นๆ แม้จะมีการมาเซอร์เวย์พื้นที่แล้ว แต่ขณะนี้ยังรอดูสถานการณ์ในเรื่องของราคาน้ำมันประกอบกับราคาที่ดินได้มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อาทิ ที่ดินบริเวณหาดทรายขาวราคาสูงถึง 10 ล้านบาทต่อไร่ ส่วนบริเวณทั่วไปนั้นราคาไม่ต่ำกว่า 5-6 ล้านบาทต่อไร่


ใครรักเกาะ ชอบเกาะ น่ารีบไปเที่ยวเสียโดยเร็ว เป็นเกาะสวรรค์เมื่อไหร่ รับรองหมดสิทธิ์

Thannews - June 23-25, 05
 
See less See more
#27 ·
ธุรกิจการค้าชายแดนเขมรส่อพัง สองฝั่งตัดความสัมพันธ์ทางการทูต-"ตราด"ระทึก​

ตราด - จากปัญหาที่รัฐบาลไทยตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกัมพูชา โดยเรียกทูตกลับจากพนมเปญ บรรยากาศที่บริเวณชายแดนบ้านหาดเล็ก จุดผ่านแดนถาวรไทยกัมพูชาด้าน จ.ตราด และ จ.เกาะกง ประเทศกัมพูชา ประชาชนทั้ง 2 ประเทศยังคงเดินทางไปมาอย่างปกติ เนื่องจากยังไม่มีคำสั่งในเรื่องของการปิดจุดผ่านแดนถาวร

นางดวงใจ จันทร เลขาธิการหอการค้าตราด และกรรมการหอการค้าไทยด้านชายแดน เปิดเผยว่า สถานการณ์เช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศทั้ง 2 อาจกระทบในระยะยาวโดยเฉพาะในเรื่องของการค้าและการลงทุนที่ทั้ง 2 ฝ่าย ทำข้อตกลงกันไว้ โดยเฉพาะการสั่งสินค้าในแต่ละวันที่บริเวณท่าเรือส่งออกของ อ.คลองใหญ่ ที่เป็นท่าเรือที่ส่งสินค้าจากประเทศไทยสู่ประเทศกัมพูชา ที่มีมูลค่ามากกว่า 17,000 ล้านบาทต่อปี อาจจะได้รับผลกระทบไปด้วย

"ตอน นี้เรื่องการจัดงานแฟร์ หรืองานแสดงสินค้าที่ จ.เกาะกง ทั้ง 2 จังหวัดเตรียมจัดขึ้นในกลางเดือนม.ค.53 โดย จ.ตราด ตั้งบูธ 400 บูธ เพื่อแสดงสินค้า เมื่อเกิดปัญหาอาจไม่สามารถจัดขึ้นได้ หากทั้ง 2 ประเทศยังเจรจาหาข้อยุติกันไม่ได้ อาจจะต้องสูญเสียยอดการขายสินค้าที่ทั้ง 2 ฝ่ายเจรจาในเบื้องต้นไว้ มีมูลค่านับ 100 ล้านบาท" นางดวงใจ กล่าว

น.อ.ปริญญา ธรรม พูลพิทักษ์ธรรม ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินตราด กล่าวว่า สถานการณ์ตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา ยังคงเป็นปกติ แต่สิ่งที่ทางฝ่ายความมั่นคง เตรียมความพร้อมในเรื่องของการเดินทางเข้าออกของประชาชนทั้ง 2 ฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนคนไทยที่อยู่ในกัมพูชา หากไม่ได้รับความปลอดภัยก็พร้อมที่จะอพยพเข้ามา

ขณะที่นายประยุทธ์ มณีโชติ นายด่านศุลกากรคลองใหญ่ กล่าวว่า ตอนนี้สถานการณ์การค้าชายแดนไทยกัมพูชายังคงปกติ อย่างไรก็ตาม หากคำสั่งทางรัฐบาลให้ปิดด่าน ตนเองในฐานะหน่วยงานในพื้นที่พร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสั่ง

วันที่ 08 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ข่าวสดรายวัน
 
#28 ·
ชาวบ้านปิดเกาะช้าง​

ชาวบ้านประกาศปิดเกาะช้างห้ามนักท่องเที่ยว เข้าต่อรองรัฐบาลแก้ปัญหาสิทธิที่ดิน
กลุ่มประชาคม อ.เกาะช้าง จ.ตราด ประกอบด้วย นายวันรุ่ง ขนรกุล กำนัน ต.เกาะช้าง นายวัชระ ขนรกุล เจ้าของช้างทองรีสอร์ท นายจักรกฤณณ์ สลักเพชร นายก อบต.เกาะช้างใต้ นายนิมิต แว่นแคว้น อดีตสมาชิกสภา อบต.เกาะช้าง นายโสภณ จันเดิม สมาชิกสภา อบจ.ตราด เขต อ.เกาะช้าง และชาวเกาะช้างอีกจำนวนหนึ่ง ประชุมหารือเกี่ยวกับการผลักดันให้ภาครัฐแก้ปัญหาเรื่องสิทธิที่ดินในเกาะ ช้าง แต่ปรากฏว่า ภาครัฐไม่ได้สนใจในการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ แม้ทางชาวเกาะช้างจะได้มีการเคลื่อนไหวในการผลักดันตั้งแต่สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนถึงรัฐบาลปัจจุบัน ก็ยังไม่มีความคืบหน้า โดยเฉพาะการพิสูจน์สิทธิที่ดินที่มีผลสรุปออกมาแล้ว แต่ไม่มีการดำเนินการออกมา กระทั่งทหารเรือได้มีการออกที่ดินหลวง (นส.ล.) ทับที่ดินของชาวเกาะช้างใน 3 หมู่บ้าน และยังมีเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างด้วย

นาย โสภณ จันเดิม กล่าวว่า ประชาชนชาวเกาะช้างได้เคลื่อนไหวในเรื่องนี้มานานกว่า 15 ปี แต่ทางราชการทั้งอุทยานฯ เกาะช้าง, ทหารเรือ, กรมธนารักษ์ รวมทั้ง จ.ตราด เคลื่อนไหวแค่ทำการพิสูจน์สิทธิที่ดินของประชาชนเท่านั้น และเมื่อมีผลพิสูจน์สิทธิออกมา โดยยึดภาพถ่ายดาวเทียมปี 2518 เป็นหลัก เมื่อทำเสร็จแล้วฝ่ายทหารกลับไม่เห็นด้วย และกลับมาใช้ภาพถ่ายดาวเทียมปี 2510 ทำให้ประชาชนเสียเปรียบ ซึ่งปัจจุบันกองทัพเรือได้ออกเอกสารสิทธิที่ดินหลวงไปหมดแล้ว และได้ประกาศทับที่ดินของประชาชนใน 4 หมู่บ้าน เป็นพื้นที่ 500 ไร่

นาย โสภณ จันเดิม กล่าวอีกว่า ชาวเกาะมีมติชุมนุมประท้วงเรียกร้องให้ภาครัฐแก้ไขปัญหาของประชาชน โดยจะมีการชุมนุมที่บริเวณศาลเจ้าพ่อเกาะช้าง ซึ่งจะมีชาวเกาะช้างกว่า 1,000 คนร่วม และพร้อมจะปิดเส้นทางขึ้น อ.เกาะช้าง เพื่อต่อรองให้แก้ไขปัญหาสิทธิที่ดินของเกาะช้างซึ่งจะเริ่มในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2552.

โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 10:40
 
#29 ·
นายทุนรุกจี้รัฐ แก้ปัญหาที่ดิน ขู่ปิดเกาะช้าง

Posttoday 8/11/2009


ญาติรมต.-นายทุน ขู่ปิดเกาะช้างจี้รัฐแก้ปัญหาสิทธิที่ดิน

นายวันรุ่ง ขนรกุล กำนันตำบลเกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด เปิดเผยว่า ที่ประชุมภาคประชาคมชาวเกาะช้างมีมติประกาศชุมนุมประท้วงบริเวณหน้าศาลเจ้าพ่อเกาะช้าง พร้อมกับจะปิดเส้นทางขึ้น อ.เกาะช้าง ในวันที่ 13 พ.ย.นี้ เพื่อต่อรองภาครัฐให้มีการแก้ไขปัญหาสิทธิที่ดินบนเกาะช้าง

ทั้งนี้ สาเหตุของการชุมนุมประท้วง เพราะที่ผ่านมาภาครัฐไม่แก้ปัญหาที่กองทัพเรือได้ออกเอกสารสิทธิ (ที่ดินหลวง นส.ล.) ทับที่ดินของประชาชนใน 4 หมู่บ้าน พื้นที่ 500 ไร่ และภบท.5 อีกหลายร้อยไร่ โดยกองทัพเรือใช้ภาพถ่ายดาวเทียมปี 2510 ขณะที่ชาวบ้านต้องการให้ยึดภาพถ่ายดาวเทียมปี 2518 เป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม ภาคประชาคมเกาะช้างที่ร่วมกันออกประกาศดังกล่าว เช่น นายวัชระ ขนรกุล เจ้าของช้างทองรีสอร์ท นายจักร กฤณณ์ สลักเพชร นายกอบ ต.เกาะช้างใต้ นายนิมิตร แว่นแคว้น สมาชิกสภาอบจ.ตราด
 
#30 ·
"อวนพราย"เวียดนามทะลักตราด อำเภอคลองใหญ่เล็งออกกฎคุมหวั่นสัตว์น้ำสูญพันธุ์

วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4157 ประชาชาติธุรกิจ


เครื่องมือประมงพันธุ์ใหม่ "อวนพราย" จากเวียดนามทะลักเข้าไทย ชาวประมงตราดแห่ซื้อใช้แทนอวนลาก ชุดละ 4 หมื่นบาท ชี้ประหยัดน้ำมันและจับปลาได้มาก ด้านอำเภอคลองใหญ่เตรียมออกประกาศล้อมคอกป้องกันสัตว์น้ำสูญพันธุ์


นายไชยยันต์ การสมเนตร ประมงจังหวัดตราด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมที่ผ่านมา ชาวประมงเรืออวนลากอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ได้หันไปใช้อวนลากดัดแปลงจากเวียดนาม เรียกว่าอวนพราย อวนตาพราย หรืออวนพริกไทย ซึ่งประหยัดน้ำมันและจับปลาได้ปริมาณมากกว่าอวนลากปกติ เนื่องจากลักษณะปากอวนมีขนาดใหญ่กว้างถึง 40 เมตร และถุงอวนมีขนาดตาอวนเล็กมาก ขนาด 0.3 เซนติเมตรเท่านั้น และเป็นถุงซ้อนกันถึง 3 ชั้น ขณะที่อวนลากปกตินั้นตาอวนมีขนาด 2.5 เซนติเมตร

ปัจจุบันมีทั้งเรือประมงไทยและเรือประมงกัมพูชาใช้เครื่องมืออวนพรายนี้ ทำให้กลุ่มปลาผิวน้ำและปลาหน้าดินขนาดเล็กถูกจับขึ้นมาเป็นจำนวนมาก และกำลังเกิดปัญหาขัดแย้งในพื้นที่ระหว่างกลุ่มชาวประมงที่ทำการประมงด้วยเครื่องมือประมงที่จดทะเบียนถูกต้องตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ. 2490 อีกด้วย เนื่องจากการทำประมงด้วยเครื่องมืออวนลากดัดแปลงไม่สามารถขออนุญาตทำการประมงได้

นายไชยยันต์กล่าวอีกว่า อวนพรายดัดแปลงมาจากอวนลาก ฐานผลิตอยู่ที่เวียดนาม จำหน่ายชุดละ 40,000 บาท เป็นอวนลากขนาดใหญ่ ความยาว 140 เมตร ปากอวนด้านบนกว้าง 40 เมตร เรือลากจะสามารถลากได้เร็วประมาณ 6-8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถจับสัตว์ขนาดเล็กทั้งปลาผิวน้ำและปลาหน้าดินได้จำนวนมาก เช่น ปลาทู ปลาสีกุน ปลากะตัก ปลาอินทรี หมึกกล้วย หมึกหอม หากปล่อยให้ใช้เครื่องมือชนิดนี้ จะทำให้สัตว์น้ำลดลงอย่างรวดเร็ว บางชนิดอาจสูญพันธุ์

ขณะนี้จึงได้หาแนวทางควบคุมห้ามชาวประมงใช้เครื่องมืออวนพรายอย่างเร่งด่วน เพราะจากการสำรวจเบื้องต้นพบว่ามีเรือประมงที่ใช้เครื่องมือนี้ประมาณ 20 ลำแล้ว โดยอำเภอคลองใหญ่ได้เตรียมออกประกาศห้ามใช้เครื่องมืออวนพรายแล้ว และได้ขอนักวิชาการประมง จากกรมประมง ศึกษาผลกระทบการจับสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือชนิดนี้แล้ว

ด้านนายสมคิด ขันนาค กำนันตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ กล่าวว่า ชาวประมงพื้นบ้านที่อำเภอคลองใหญ่ได้รับความเดือดร้อนอย่างมากจากการทำการประมงที่ใช้อวนตาพราย เนื่องจากปลาลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว หากอำเภอไม่รีบออกประกาศควบคุม สัตว์น้ำขนาดเล็กจะถูกทำลายอย่างรวดเร็วแน่นอน

จากการสำรวจข้อมูลเรือประมงบริเวณท่าเรือทั้ง 3 แห่งในพื้นที่ตำบลหาดเล็ก พบว่ามีเรือประมงไทยที่มีอวนตาพราย 24 ลำ และเรือประมงของกัมพูชาอีก 36 ลำ ซึ่งทางเวียดนามและกัมพูชาได้ห้ามใช้อวนตาพรายทำการประมงแล้ว เพราะปริมาณ สัตว์น้ำจะลดลงอย่างรวดเร็ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร่างประกาศของอำเภอคลองใหญ่ที่เตรียมออกประกาศเร็ว ๆ นี้มีสาระสำคัญ 3 ข้อ คือ 1) ให้ขยายช่องตาอวนก้นถุงจากอวนตาพริกไทย จากขนาด 0.3-0.5 เซนติเมตร ให้มีขนาดไม่ต่ำกว่า 2.5 เซนติเมตร 2) เรืออวนลากจากต่างประเทศ เช่น กัมพูชาและเวียดนามที่จะเข้ามาจำหน่ายสินค้าในเขตอำเภอคลองใหญ่ ไม่อนุญาตให้นำอวนดัดแปลง (อวนพราย) บรรทุกมาในเรือด้วย และ 3) ให้ผู้ประกอบการอวนลากและชาวประมงในพื้นที่ให้ความร่วมมือ ปฏิบัติตามประกาศของอำเภอคลองใหญ่โดยเคร่งครัด

สำหรับบทลงโทษยังไม่มีกฎหมาย บังคับโดยตรง จะมีการปรับจากใบอนุญาต (อาชญาบัตร) เนื่องจากการใช้เครื่องมือดัดแปลงไม่สามารถขออนุญาตได้ ส่วนเรือประมงกัมพูชาเป็นเรือของต่างชาติ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน เช่น หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน ตำรวจน้ำ หน่วยปราบปรามประมงทะเลเกาะช้าง เป็นต้น

หน้า 24
 
#31 ·
เกาะกูดร้างขรก. สั่งเพิ่มเบี้ยกันดาร

วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6923 ข่าวสดรายวัน


ตราด - นายแก่นเพชร ช่วงรังษี ผวจ.ตราด กล่าวว่า เกาะกูดเป็นเกาะสุดท้ายทางทิศตะวันออกของประเทศ อยู่ห่างจากตัวเมืองตราดประมาณ 80 ก.ม. ถ้านั่งเรือจากบ้านด่านเก่า ต.วังกระแจะ อ.เมือง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นหน้ามรสุมคลื่นลมในทะเลแรง อาจใช้เวลา 4-5 ชั่วโมง แม้ปัจจุบันการเดินทางสะดวกขึ้น เพราะมีเรือโดยสารและเรือสปีดโบ๊ต แต่ผู้ที่ไม่เคยชินกับการนั่งเรือ ไม่อยากเดินทางกันเพราะกลัวเมาเรือ

นายแก่นเพชร กล่าวว่า ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้เกาะกูดประสบปัญหาไม่ค่อยมีข้าราชการสังกัดหน่วยงานต่างๆ ไปประจำ เช่น ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ โรงพยาบาล โรงเรียน จะเหลือเจ้าหน้าที่อยู่ในวันเวลาราชการเพียงไม่กี่คน จึงเห็นว่าสมควรพิจารณาค่าตอบแทนเป็นเงินเพิ่มหรือเบี้ยกันดาร ให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานบนเกาะ แต่มีข้อแม้ว่าต้องเดินทางไปทำงานจริงคนละ 1,000 บาทต่อเดือน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้คนทำงาน และมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการประชาชน

หน้า 28
 
#32 ·
กรมชลฯพัฒนาแหล่งน้ำคลองพร้าวแก้ขาดแคลนน้ำจืดที่เกาะช้าง

Thannews วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2009 เวลา 21:18 น.


นายอนุวงศ์ วิบูลย์วงศ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานตราด เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกาะช้าง จังหวัดตราดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักธุรกิจเข้าไปลงทุนและผู้คนอพยพเข้าไปอยู่อาศัยมากมาย ในขณะที่ชาวบ้านส่วนหนึ่งยังคงยึดอาชีพการเกษตรหาเลี้ยงชีพ ทำให้เริ่ม

เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำจืด กรมชลประทาน จึงได้เข้ามาศึกษาร่วมกับหน่วย ที่เกี่ยวข้อง พบว่าการพัฒนาแหล่งน้ำของเกาะช้างในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นกา
รสร้างฝายขนาดเล็ก เก็บน้ำได้ไม่มากและไม่ยั่งยืน พอเข้าหน้าแล้งทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ ต้องซื้อน้ำในราคาสูงถึงลูกบาศก์เมตรละ 200-300 บาท ซึ่งหากต้องการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน จะต้องสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ซึ่งมีพื้นที่เหมาะสมประมาณ 4-5 แห่ง แต่ที่เหมาะสมที่สุดคือคลองพร้าว


ทั้งนี้ อ่างเก็บน้ำคลองพร้าว เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มีความจุเต็มที่ 2.35 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยได้ออกแบบให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ซึ่งจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งระบบ ประกอบ ด้วย ตัวเขื่อน อาคารประกอบ ระบบส่งน้ำ และระบบการเตือนภัย กว่า 440 ล้านบาท กรมชลประทานจะเป็นผู้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ และระบบส่งน้ำเข้าพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 1,000 ไร่ ส่วนการประปาส่วนภูมิภาค จะลงทุนก่อสร้างระบบส่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคครอบคลุมทั่วทั้งเกาะช้าง ซึ่งจะทำให้มีน้ำประปาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างพอเพียงในอนาคต
 
#33 ·
ตราดเล็งต้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11576 มติชนรายวัน


นักอนุรักษ์ผวา"กัมมันตรังสี"รั่ว หวั่น"ทรัพยากร-แหล่งเที่ยว"พัง

นายสมเกียรติ สมรรถการ นายกสมาคมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ตราด ให้ความเห็นกรณีกระทรวงพลังงาน เตรียมแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ.2552-2564 โดยล่าสุดกำหนดโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ จำนวน 2 โรง และสำรวจหาพื้นที่เหมาะสมจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 1.พื้นที่ใน จ.สุราษฎร์ธานี 2 แห่ง 2.จ.นครศรีธรรมราช 1 แห่ง 3.ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด 1 แห่ง และ 4.จ.นครสวรรค์ 1 แห่งเพื่อคัดเลือกเหลือเพียง 3 แห่ง นำเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ว่า หากมีการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ในพื้นที่ จ.ตราด จะเกิดปัญหาหลายด้านโดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก จ.ตราด มีทรัพยากรธรรมชาติสวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ อีกทั้ง ต.ไม้รูดเป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ มีทรายแก้วมหาศาล มีป่าชายเลนที่สมบูรณ์

"ผมไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้แน่นอน แม้จะมีเทคโนโลยีระดับไหน แต่ไว้วางใจได้แค่ไหนว่าไม่มีสารกัมมันตรังสีรั่วไหลออกมา โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องใช้น้ำเป็นตัวควบคุม น้ำจากทะเลตราดจะไม่สกปรกหรือ หากรั่วไหลออกมาจะสามารถป้องกันได้ทันท่วงทีหรือไม่ ผมว่าตราด ไม่เหมาะสมกับการตั้งโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์" นายสมเกียรติกล่าว

นายสนธยา กล่อมสังข์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เปิดเผยว่า ต.ไม้รูดมีประชากรไม่มากแต่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ทั้งทรายแก้ว ป่าชายเลน และสัตว์ทะเล หากมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทำให้เกิดความเสียหาย ทาง อบต.ไม้รูด และประชาชนคงไม่ยินยอมแน่นอน

นายเสน่ห์ กุฎีรักษ์ รักษาการพลังงงาน จ.ตราด กล่าวว่า ทางสำนักงานพลังงาน จ.ตราด ยังไม่ได้เตรียมการใด ๆ ในเรื่องนี้ เพราะขั้นตอนยังอยู่อีกไกล ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ต้องมาสำรวจ ตรวจสอบสภาพพื้นที่และสำรวจพื้นที่ทางธุรกิจธรณีวิทยา ดังนั้นทางกระทรวงยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ ในขณะนี้ แต่สิ่งที่ต้องทำก็คือ ทางจังหวัดต้องตั้งคณะทำงานในเรื่องนี้มาเพื่อรองรับกับสิ่งที่ทางกระทรวงพลังงานที่จะดำเนินการต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามแผนกระทรวงพลังงานคัดเลือกพื้นที่เหมาะสมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เสนอให้รัฐบาลเป็นผู้ตัดสินใจในเดือนพฤษภาคม 2553

สำหรับการศึกษาความเหมาะสมถูกกำหนดไว้ 5 หัวข้อ 1.การเลือกเทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2.การเลือกสถานที่ตั้ง 3.การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น 4.การศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์พลังงานและการเงิน 5. การวางแผนพัฒนาบุคลากร

ส่วนปัจจัยหลักในการพิจารณาเลือกสถานที่ตั้งโครงการมี 3 ประเด็นหลักคือ 1.ด้านความปลอดภัย 2.ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ 3.ความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ (กรอบบ่าย)

หน้า 9
 
#34 ·
เขมร ประกาศปิดน่านน้ำทะเลติดกับ จ.ตราด ขอเจรจาค่าสัมปทานจับปลาใหม่

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 พฤศจิกายน 2552 15:09 น.


ตราด -กัมพูชาประกาศปิดน่านน้ำทะเลติดกับ จ.ตราด ขอเจรจาค่าสัมปทานทำประมงใหม่ ประธานหอฯตราด ชี้ไม่ใช่มีปัญหาทางการเมือง แต่ปรับค่าสัมปทานและเปลี่ยนตัวผู้ว่าฯใหม่

จากการที่มีรายงานข่าวว่า พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย ระบุว่ากัมพูชาประกาศปิดน่านน้ำทะเลด้าน จ.เกาะกง ประเทศกัมพูชา ที่ติดกับ อ.เกาะกูด จ.ตราด นั้น ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ ในพื้นที่จังหวัดตราดพบว่า มีความเป็นจริงเนื่องจากสมาคมประมง จ.ตราด และผู้ประกอบการประมงในน่านน้ำทะเล จ.เกาะกง ประเทศกัมพูชา ได้ยุติการออกทำประมงในพื้นที่น่านน้ำทะเลเกาะกง ประเทศกัมพูชา และในพื้นที่ทับซ้อน เนื่องจากมีเรือตรวจการณ์ทางทะเลของตำรวจน้ำเกาะกง และกองเรือชายแดนของประเทศกัมพูชาปิดน่านน้ำไม่ให้เรือประมงไทยเข้าไปทำประมงตั้งแต่วันเสาร์-อาทิคย์ ( 21-22 พฤศจิกายน 2552) ที่ผ่านมา

นายฐิติกร โลหะคุปต์ นายกสมาคมประมง จ.ตราด และกรรมการสมาคม การประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เรื่องการปิดน่านน้ำทะเลของประเทศกัมพูชาเป็นเรื่องจริง เนื่องจาก ผู้ว่าราชการ จ.เกาะกง ประเทศกัมพูชา ได้สั่งการให้มีการปิดน่านน้ำด้าน จ.เกาะกง และในพื้นที่ทะเลทับซ้อน เป็นการชั่วคราว เพื่อจัดระเบียบในเรื่องของการทำประมงในพื้นที่ทะเลน่านน้ำ จ.เกาะกงใหม่ ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผิดปกติ แต่เป็นช่วงที่มีการเจรจาเพื่อต่อสัมปทานการทำประมง (ค่าน้ำ) ในพื้นที่ จ.เกาะกง ใหม่

รวมทั้งมีการเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูงใน จ.เกาะกง จึงทำให้มีการปิดน่านน้ำทะเลในพื้นที่ จ.เกาะกงเป็นการชั่วคราว รอจนกว่าจะมีการเจรจาหาข้อสรุปใหม่ ซึ่งในขณะนี้ตนเองยังไม่สามารถหาข้อยุติในเรื่องนี้ได้ เนื่องจากยังไม่ได้มีการประชุมคณะกรรมการเพราะ ทางกัมพูชาได้ประกาศปิดน่านน้ำก่อนที่จะมีการแจ้งให้ทราบ

ในขณะนี้ตนเองยังไม่สามารถให้ข้อมูลได้มากกว่านี้ แต่ถ้าหากปิดน่านน้ำเป็นระยะเวลานาน อาจจะส่งผลกระทบต่อการทำประมงในจ.เกาะกง ของเรือประมงไทยที่มีมากกว่า 200-300 ลำ และมีมูลค่าในการทำประมงมากกว่า 200-300 ล้าน/เดือน

ด้านนายประเสริฐ ศิริ ประธานหอการค้า จ.ตราด กล่าวว่า การประกาศปิดน่านน้ำของกัมพูชา เป็นเรื่องจริง โดยมีสาเหตุ 2 ประการคือ 1) มีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้บริหารระดับสูงของ จ.เกาะกง คือนายยุทธ ภูทอง ผู้ว่าราชการ จ.เกาะกง คนเดิม ถูกโยกย้ายไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษทางด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชาที่กรุงพนมเปญ และได้แต่งตั้ง นายบุญเลิด นายอำเภอนาเกลือ หรือ สะแรอัมเปิล จ.เกาะกง ประเทศกัมพูชา เป็นผู้ว่าราชการ จ.เกาะกง คนใหม่เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งสัญญาหรือข้อตกลงต่าง ๆ ที่ทำไว้ในยุคของผู้ว่าฯ ยุทธ ภูทอง จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนหรือทำข้อตกลงกันใหม่ โดยเฉพาะการให้สัมปทานประมงในน่านน้ำทะเลเกาะกง

2) ที่ผ่านมา การเสียค่าน้ำหรือค่าสัมปทานใน พื้นที่ จ.เกาะกง ประเทศกัมพูชา รายได้ส่วนใหญ่ที่มีมูลค่าเดือนละกว่า 100 ล้านบาท จะถูกแบ่งไปให้ทางรัฐบาลจำนวนไม่มาก ทำให้รัฐบาลเสียประโยชน์จากการทำประมงดังกล่าว จึงจำเป็นจะต้องมีการทบทวนข้อตกลงในเรื่องนี้ใหม่

“ผมขอยืนยันด้วยเกียรติของผมและตำแหน่งประธานหอการค้า ว่าการปิดน่านน้ำทะเลในกัมพูชาครั้งนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมืองหรือความขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศ เพราะเรือขนส่งสินค้าส่งออกทั้งจาก จ.ตราด และ จ.เกาะกง หรือ ในประเทศเวียดนาม ยังสามารถเดินทางขนสินค้าจากทั้ง 2 ประเทศไปมาหาสู่กันได้ หรือจะเป็นเรือประมงขนาดเล็กที่ทำประมงในพื้นที่ชายฝั่ง ก็ยังสามารถทำประมงได้ ผลกระทบอันนี้มีเพียง ธุรกิจประมงของคนไทยในกัมพูชาเท่านั้น หากสามารถตกลงจ่ายค่าสัมปทานได้ตามปกติ ทุกอย่างก็จะกลับมาสู่ภาวะปกติเหมือนเดิม"

สำหรับการทำประมงในน่านน้ำทะเลกัมพูชา มีพื้นที่การทำประมงใน 2 จังหวัดคือ จ.กัมโปงโสม (รวมทั้งกรุงพระสีหนุวิลล์) และ จ.เกาะกง มีเรือประมงของประเทศไทยจาก จ.ตราด จากจังหวัด 3 สมุทร จ.ระยอง และ จังหวัดในภาคใต้ที่จะเข้าไปขอสัมปทานและจ่ายค่าน้ำให้กับทางการ (จ.เกาะกง) เพื่อแลกเปลี่ยนกับการทำประมงใน 2 จังหวัดของกัมพูชา เป็นเวลา 1 ปี โดยแต่ละคู่ (เรืออวนลากคู่ หมายถึงเรือประมง 2 ลำที่ใช้ อวนขึงเรือทั้ง 2 ลำแล้ววิ่งตีคู่ไปกับทะเลเพื่อลากหาปลา) จะเสียค่าใช้จ่ายเดือนละ 1 ล้านบาท แต่ที่ผ่านมามีการ จ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ประมง จ.เกาะกง ตำรวจน้ำเกาะกง ตำรวจ จ.เกาะกง ทหารเรือ จ.เกาะกง และจังหวัดเกาะกง

ในแต่ละส่วนราชการจะนำเงินส่งให้กับทางรัฐบาลกลางตามสัดส่วนที่ได้กำหนดไว้ แต่ผู้ประกอบการประมงคนไทยบางครั้งก็จ่ายไม่ครบหรือเจ้าหน้าที่ของ จ.เกาะกง หรือหน่วยงานของ จ.เกาะกง ส่วนใหญ่จะมีการทุจริต มีการนำเงินส่งราชการน้อย ส่งผลให้เกิดปัญหา และการจับลูกเรือประมงไทยไปเรียกค่าไถ่หรือเป็นตัวประกัน เพื่อให้ผู้ประกอบการประมงนำเงินไปจ่ายค่าสัมปทาน
 
#35 ·
วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เวลา 15:34:26 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ครม.อนุมัติให้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี(ขน.)ใช้งบประมาณกลางปี 2553 สำหรับก่อสร้างโครงการท่าเทียบเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ จังหวัดตราด วงเงิน 1,295.67 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี โดยปี2553 วงเงิน 259 ล้านบาท ปี2554 วงเงิน 432 ล้านบาทและปี 2555 วงเงิน 605 ล้านบาท
 
#40 ·
^^ชายหาดก็โอเคครับแต่ผมไม่ได้ลงไปเล่นหรอกอยู่แต่บริเวณสระน้ำ

วันที่ไปพักได้ดูฝนดาวตกด้วยนะ
 
#41 ·
200 Thai trawlers to seek Cambodian fishing licenses


TRAT, Dec 2 (TNA) – Operators of some 200 Thai trawlers on Thursday will seek licences to fish in Cambodian waters at a temporary office opposite Cambodia's Koh Kong Resort, said Thitikorn Lohakup, chairman of the Trat Fisheries Association.

Cambodian fisheries concession applications procedures will resume beginning Thursday following finalisation of regulations by the Koh Kong authorities, who agreed Tuesday to allow Thai fishermen to seek and renew their licences.

Mr Thitikorn said that the newly-appointed Koh Kong governor set up a committee to be responsible for issuing and renewing the licences. The committee will review relevant details and categorise the type of trawlers as well as the fishing equipment they use.

The chief of the Trat fisheries association added that this period is appropriate for fishing. If the procedure is completed quickly, it will be beneficial to Thai fishermen.

Last week, Cambodian Defence Minister Gen Tea Banh gave assurances that Cambodia has not closed its waters near Koh Kong as earlier reported. He explained that fisheries concession procedures were being amended and that it would not affect the livelihoods of either Thais or Cambodians. (TNA)
 
#42 ·
ประมงไทยแห่ขอสัมปทานจับปลาเขมร

Posttoday วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552


เจ้าของเรือประมงใน จ.ตราด แห่ขอสัมปทานจับปลาในน่านน้ำเขมรกว่า 80 ลำแล้ว

นายฐิติกร โลหะคุปต์ นายกสมาคมประมง จังหวัดตราด เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค. มีเรือประมงไทยเกือบ 80 ลำ เข้าไปต่อใบอนุญาตหรือซื้อตั๋วน้ำในจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชาแล้ว ซึ่งการต่อใบอนุญาตไม่ประสบปัญหา และง่าย กว่าการต่อใบอนุญาตในคราวก่อน
ทั้งนี้ รัฐบาลกัมพูชาได้มอบสิทธิขาดในการจัดระเบียบให้กับคณะกรรมการชุดเดียว คือนายพัด สุภาภา ที่ปรึกษาเศรษฐกิจของฮุนเซน นายกฯ กัมพูชา พล.ร.ต.เตีย โสกา รองผบ.ทหารเรือ และนายบุญเลิด พราหมณ์เกสร ผวจ.เกาะกง เป็นผู้รับผิดชอบ

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการชุดดังกล่าว จะเป็นคนกำหนดพื้นที่ทำประมง คิดค่าตั๋วน้ำ และออกตั๋วน้ำให้กับเรือประมงไทยทุกลำ เพื่อความสะดวก ควบคุมได้ง่าย และป้องกันมิให้หน่วยงานอื่น เช่น ตำรวจน้ำ ประมง ศุลกากร หรือหน่วยงานที่เคยออกตั๋วผีให้กับเรือประมงไทย เพื่อป้องกันการทำทุจริต

สำหรับค่าสัมปทานหรือซื้อตั๋วน้ำนั้น คณะกรรมการกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า จะคิดตามขนาดของเรือประมง เช่น เรืออวนครอบขนาดต่ำกว่า 8 วา จะคิด 3 หมื่นบาท/30 วัน มากกว่า 8 วา จะคิด 4.5 หมื่นบาท/ 30 วัน ในพื้นที่กำหนด (เป็นล็อก) หากมากกว่านี้ จะต้องคำนวณเพิ่มขึ้นตามอัตรา แต่จะมีส่วนลดให้บ้าง

ด้านนายประเสริฐ ศิริ ประธานหอการค้าจังหวัดตราด กล่าวว่า การต่อใบอนุญาตเรือประมงไทยเป็นไปด้วยความสะดวก แม้จะติดขัดในเรื่องธุรการบ้างเพราะมีการเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ในการประสานงาน 3 วันที่ผ่านมามีเรือประมงไทยเข้ามาติดต่อสัมปทานแล้วไม่ต่ำกว่า 80 ลำ และสามารถเข้าไปทำประมงได้ทันที ซึ่งเชื่อว่าจะมีเรือประมงกว่า 300 ลำเข้ามาทำประมงในน่านน้ำกัมพูชา
 
#43 ·
ชาวประมงตราดมึน"เกาะกง"เข้มค่าต๋งแถมขีดเส้นแค่11ไมล์

วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4165 ประชาชาติธุรกิจ


ผู้ว่าฯเกาะกงเข้มใบอนุญาตเรือทุกชนิดและเขตทำประมง หลังไฟเขียวเปิดน่านน้ำ คาด 7-10 วันรู้ผล ชาวประมงรับกฎเกณท์ใหม่ได้หรือไม่ เพราะเขตลดระยะทำการประมงชายฝั่งจาก 12 ไมล์ เหลือ 11 ไมล์ทะเล แถมจำกัดเขตเฉพาะภายในจังหวัดเกาะกง หากเกินเลยเข้าน่านน้ำจังหวัดกัมปงโสม ต้องขออนุญาตอีกทอด


นายฐิติกรณ์ โลหะคุปต์ นายกสมาคมประมงจังหวัดตราด เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา นายบุญเลิศ พราหมเกษร ผู้ว่าราชการจังหวัดเกาะกง ได้ประกาศอนุญาตให้ออกใบอนุญาตหรือตั๋วเรือให้เรือประมงไทยเข้าไปทำการประมงในกัมพูชาได้ตามปกติ ภายหลังหยุดต่อใบอนุญาตมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ได้ปรับระบบการออกค่าใบอนุญาตเป็นระบบและชัดเจนมากขึ้น คือเรือทุกชนิด ทุกประเภท ต้องขออนุญาตและกำหนดเขตให้ทำการประมงเฉพาะน่านน้ำจังหวัดเกาะกง ในระยะ 11 ไมล์จากเดิม 12 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง และกำหนดโทษการฝ่าฝืนที่รุนแรงโดยจับและปรับในอัตราที่สูง

นายฐิติกรณ์เปิดเผยว่า การขออนุญาตจะมีสำนักงานและเจ้าหน้าที่ของฝ่ายกัมพูชามาให้บริการที่บริเวณชายแดนเกาะกง โดยเจ้าของเรือประมงจะต้องนำใบทะเบียนเรือ รูปไต๋เรือ รูปเรือประมงมายื่นขอใบอนุญาตและเสียค่าใบอนุญาตตามกำหนดตามชนิดและขนาดของเรือทำประมงและเครื่องมือทำการประมง ซึ่งระยะเวลาที่กำหนดให้ทำการประมงแตกต่างกัน เช่น เรืออวนครอบขนาด 8 วา เสียค่าตั๋วเรือลำละ 30,000 บาท ขนาดเกินกว่า 8 วา ค่าตั๋ว ลำละ 45,000 บาท ทำประมงได้ 30 วัน ถ้าเป็นเรืออวนซั้งขนาดใหญ่ มีเรืออวนล้อมปั่นไฟ 4 ลำ ค่าตั๋ว 130,000 บาท ทำประมงได้ 45 วัน ทั้งนี้จับปลาได้เฉพาะเขตน่านน้ำจังหวัดเกาะกงในระยะ 11 ไมล์ทะเล

"ตอนนี้มีเรือประมงเริ่มขออนุญาตแล้ว 70-80 ลำ จากเรือทั้งหมดประมาณ 200 ลำ ส่วนเรือที่ขออนุญาตไว้หมดอายุ 25 ธันวาคมมีเล็กน้อย หลังจากนั้นต้องขออนุญาตใหม่เช่นกัน ในระยะ 7 วันต่อจากนี้จะทราบว่าปริมาณปลาที่จับได้ภายใต้การจัดระบบใหม่ ชาวประมงไทยจะอยู่ได้หรือไม่ หรือแน่ใจว่าจะไม่มีการเรียกเก็บภาษีนอกระบบ เพราะการจำกัดเขตพื้นน้ำที่จับปลาปริมาณปลาจะลดลง โดยเฉพาะระยะที่ให้จับปลาลดเหลือ 11 ไมล์ทะเลจาก 12 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง" นายฐิติกรณ์กล่าว

ทางด้านนายปัญจะ ไชยศิริ นายกสมาคมประมงคลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เปิดเผยว่า กฎระเบียบใหม่ของกัมพูชามีความเข้มงวดมากขึ้นทั้งการขออนุญาตไม่ว่าเรือขนาดเล็กขนาดใหญ่ต้องขออนุญาตทั้งหมด และการลงโทษมีจับและปรับ หากไม่เสียค่าปรับจะไม่ปล่อยเด็ดขาด ทั้งนี้หากมีการทำการประมงล่วงล้ำไปเขตพื้นที่น่านน้ำจังหวัดใกล้เคียงอย่างเช่นกัมปงโสม จะต้องขออนุญาตตั๋วเรือจาก กัมปงโสมใหม่เพิ่มขึ้น

ส่วนค่าขออนุญาตจะเพิ่มขึ้นทุกชนิดและขนาดของเรือทำประมง อย่างอวนลากที่เคยเสีย 60,000 บาท เพิ่มเป็น 70,000 บาท หรือถ้าเป็นอวนล้อมที่จับปลาขนาดเล็ก ๆ จะเสียสูงกว่าปกติ เพราะกัมพูชาถือว่าทำลายพันธุ์ปลา เจ้าของเรือประมงสามารถส่งเอกสารขอจัดทำตั๋วเรือ ได้ที่ท่าเทียบเรือฝั่งไทยด้านบ้านหาดเล็ก เพื่อรวบรวมส่งต่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานฝั่งจังหวัดเกาะกง

ทางด้านนายประเสริฐ ศิริ ประธานหอการค้าจังหวัดตราด และผู้เชี่ยวชาญชายแดนตราด-เกาะกง เปิดเผยว่า คาดว่าการปรับระบบการจัดเก็บค่าน้ำไม่มีผลกระทบต่อชาวประมงไทย ค่าใบอนุญาตไม่ได้เพิ่มขึ้น เรือที่ออกไปจับปลาแต่ละเดือนปริมาณปลาที่จับได้จะมีรายได้เป็น 10 เท่าของค่าน้ำ ระบบการทำประมงระหว่างจังหวัดตราด-เกาะกง ที่ไม่เหมือนใคร น่าจะเป็นผลดีต่อชาวประมงไทยเพราะเสียค่าน้ำรายเดือน ชาวประมงจะรู้ว่าช่วงไหนจะจับปลาได้มากน้อย จะเลือกออกเรือในช่วงเวลาที่จับปลาได้มากในแต่ละเดือน

หน้า 23
 
#44 ·
มั่นใจสร้างท่าเรือใหญ่ดันสินค้าเพิ่ม

Transport Journal Tuesday, 08 December 2009 05:04


หอการค้าตราด มั่นใจท่าเรือคลองใหญ่ สามารถรับปริมาณสินค้าที่เพิ่มขึ้นได้ในอนาคต โชว์ตัวเลขค้าชายแดนไทยเกินดุลกัมพูชากว่า 16,000 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นกว่า 300 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะแนะรัฐขจัดอุปสรรคทางการค้า

นายประเสริฐ ศิริ ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดตราด เปิดเผยขณะธนาคารพัฒนาเอเชีย ได้นำคณะสื่อมวลชนไปดูงานที่ จ.ตราด ว่า ตราดมีศักยภาพทางด้านการค้า ซึ่งตั้งแต่ปี 2539 ไทยได้ดุลการค้ากับกัมพูชามาตลอด โดยช่องทางทางการค้า พบว่าช่วงปี 2543 จนถึงปัจจุบัน การค้ากับประเทศกัมพูชาด้านจังหวัดตราด ได้ทำการค้าโดยผ่านช่องทางการค้าจำนวน 2 ช่องทาง ได้แก่

1. จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก พื้นที่ ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ประกาศเปิดจุดผ่านแดนถาวร เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2541 ตรงกันข้ามกับบ้านจามเยี่ยม อ.มณฑลสีมา จ.เกาะกง ของกัมพูชา ลักษณะการค้าผ่านช่องทางนี้ร้อยละ 80 ซึ่งจะนำสินค้าลงเรือเพื่อขนส่งไปยังกัมพูชา โดยใช้ท่าเรือเอกชน 4 แห่ง คือ ท่าเทียบเรือชลาลัย ท่าเทียบเรือกัลปังหา ท่าเรือป.เกษม และท่าเรือ ส.กฤตวรรณ ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านหาดเล็ก ประมาณ 10 กม. เป็นจุดขนถ่ายสินค้า อีกร้อยละ 20 เป็นการนำเข้าและส่งออกผ่านจุดผ่านแดนถาวรโดยตรง

2. จุดผ่อนปรนการค้าบ้านหมื่นด่าน พื้นที่ ต.บ่อพลอย อ.บ่อไร่ จ.ตราด ตรงกันข้ามกับบ้านศาลเจ้า อ.สำรุด จ.พระตะบอง ของกัมพูชา แต่ลักษณะการค้าที่ผ่านช่องทางน้ำปริมาณการค้าน้อยมาก เนื่องจากสภาพพื้นที่บริเวณจุดผ่อนปรนเป็นเทือกเขา การคมนาคมไม่สะดวกเท่าที่ควร

สำหรับการค้าด้าน จ.ตราด ปีงบประมาณ 2552 ตั้งแต่เดือน ต.ค.-ก.ย. 2552 ที่ผ่านพิธีการทางศุลกากร ณ ด่านศุลกากรคลองใหญ่ จ.ตราด พบว่า มูลค่าการค้ารวม จำนวน 16,778.23 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 พบว่า มูลค่าการค้ารวมเพิ่มขึ้น จำนวน 326.71 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.98 มูลค่าการส่งออก จำนวน 16,778.23 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 ปรากฏว่า มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 327.45 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2

มูลค่าการนำเข้า จำนวน 42.82 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 ปรากฏว่ามูลค่าการนำเข้าลดลง 0.74 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.70 ซึ่งทำให้ดุลการค้าเกินดุลจำนวน 16,692.59 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 ปรากฏว่าดุลการค้าเกินดุล 328.19 ล้านบาท หรือเกินดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.01

นายประเสริฐ กล่าวอีกว่า ในอนาคตเชื่อว่าการค้าบริเวณจังหวัดตราดกับกัมพูชา จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเมื่อเร็วๆ นี้ คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีดำเนินโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรืออเนก ประสงค์คลองใหญ่ จ.ตราด ในวงเงิน 1,200 ล้านบาท ซึ่งท่าเรือแห่งนี้สามารถรองรับเรือขนาด 500 ตันกรอส

โครงการท่าเรืออเนกประสงค์ จ.ตราด เป็นการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางน้ำ และเป็นการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้บริการขนส่งทางน้ำมากขึ้น รวมทั้งการขนส่งสินค้าเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการทำให้เกิดมูลค่าเศรษฐกิจของการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยวในภูมิภาค

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าขณะนี้มูลค่าทางการค้าของ จ.ตราด จะเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาและอุปสรรคต่อการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อขยายตัวทางด้านการค้าและการท่องเที่ยวหลายเรื่อง เช่น

1. ขณะนี้ท่าเทียบเรือยังไม่ได้มาตรฐานซึ่งไม่สามารถรองรับเรือขนาด 500 ตันกรอส เพื่องรองรับการส่งออก ดังนั้นการก่อสร้างท่าเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ เป็นเรื่องที่ต้องรีบเร่งรัดดำเนินการซึ่งเรื่องนี้กระทรวงคมมนาคม เป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบ

2. ไม่มีตลาดกลางแสดงและจำหน่ายสินค้าบริเวณชายแดนที่ได้มาตรฐาน ซึ่งตลาดกลางบ้านหาดเล้ ในปัจจุบันมีความอึดอัดมาก ดังนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ต้องดำเนินการจัดตั้งตลาดกลาง

3. ช่องทางการค้าทางชายแดนยังมีน้อย เห็นว่ากระทรวงมหาดไทย ควรเปิดจุดผ่านแดนเพิ่มขึ้นอีก 2 จุด ได้แก่ จุดบ้านเขาวง ต.คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด และจุดบ้านท่าเส้น อ.เมือง ตรงข้ามกับด้านทมอดา อ.เวียลแวง จ.โพธิสัต ประเทศกัมพูชา

4. เส้นทางการขนส่งทางบกยังไม่สะดวก ต้องขยายเส้นทางบกถนนหมายเลข 318 ตราด-คลองใหญ่

5. สนามบินไม่สามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้ ดังนั้น ควรขยายสนามบินเพื่อรองรับเครื่องบินบรรทุกสินค้าขนาดกลาง

6. ผู้ประกอบการขาดความรู้ด้านการส่งออกต่างประเทศดังนั้น กระทรวงพาณิชย์ ควรอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการด้านการนำเข้าส่งออกสินค้า และภาษาต่างประเทศควรจัดการประชุมเจรจาการค้าระดับประเทศ และตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคเอกชน ด้านการค้าชายแดน
 
#45 ·
ค้าชายแดนตราดโตแค่ 1.9% เหตุ ศก.โลกแย่สัมพันธ์ไทย-เขมรเสื่อม​
ตราด/ นายประยุทธ มณีโชติ นายด่านศุลกากรคลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เปิดเผยว่า มูลค่าการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ด้าน อ.คลองใหญ่ ณ จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ในปีงบประมาณ 2553 พบว่า มีมูลค่าการค้าร่วม 16,778.23 ล้านบาท โดยแยกเป็นมูลค่าส่งออก 16,735.41 ล้านบาท ประเทศไทยได้ดุลการค้า 328.19 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2551 ปรากฏว่ามูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 327.45 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.00 มูลค่านำเข้า จำนวน 42.82 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2551 ปรากฏว่ามูลค่านำเข้าลดลง 0.74 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.70 และดุลการค้าเกินดุล จำนวน 16,692.59 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2551 ปรากฎว่าดุลการค้าเกินดุล 328.19 ล้านบาท หรือเกินดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.01

สำหรับสินค้านำเข้าที่ สำคัญคือไม้แปรรูป (กัมพูชา) เครื่องขยายกำลังส่งของเครื่องวิทยุ อุปกรณ์เครื่องวิทยุคมนาคมขณะที่สินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ น้ำตาลทราย นมและอาหารเสริม ขนมต่างๆ เครื่องโทรศัพท์มือถือพร้อมอุปกรณ์ครบชุด ผงชูรส ผงปรุงรส

“ที่ผ่านมาการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ด้าน จ.ตราด มีมูลค่าความเติบโตในระดับ 10-15% เป็นอย่างน้อย แต่ในปีงบประมาณ 2552 กลับมีความเติบโตเพียง 1.9% หรือประมาณ 2% เท่านั้น ซึ่งสาเหตุมาจากการเติบโตของเศรษฐกิจกัมพูชาได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ขณะที่ปัญหาทางการเมืองระหว่าง 2 ประเทศ เกิดความขัดแย้งขึ้นส่งผลให้นักธุรกิจไม่เชื่อมั่นในสถานการณ์จึงได้ชะลอการ สั่งซื้อสินค้าออกไปก่อน หรือสั่งก็สั่งเป็นล็อตเล็กๆ มากกว่า อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2 เดือนสุดท้ายปรากฏว่า มีกำลังซื้อสินค้าจำนวนเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงใกล้เทศกาลปีใหม่ที่ ประชาชนชาวกัมพูชา จะซื้อสินค้าไปจำหน่ายในช่วงปีใหม่ ทำให้สินค้าอุปโภคและบริโภคถูกสั่งซื้อมากขึ้นกว่า 1 เท่าตัว”

นาย ประยุทธ กล่าวอีกว่า ในส่วนปีงบประมาณ 2552 นั้น มูลค่าการค้ายังจะมีความเติบโตเช่นเดิม แต่จะตั้งเป้าหมายไว้เพียง 5% เท่านั้น เนื่องจากสินค้าที่จะส่งไปจำหน่ายในกัมพูชา ยังคงเป็นน้ำตาลทราย นมและอาหารเสริม และน้ำอัดลม อย่างไรก็ตาม น้ำตาลทรายจะมีคำสั่งซื้อลดลงเนื่องจากโรงงานน้ำตาลทรายที่นายพัด สุภาภา ได้ร่วมลงทุนกับนักธุรกิจ จ.ขอนแก่น และจะเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2553 นี้ ซึ่งจะทำให้คำสั่งซื้อน้ำตาลทรายจากประเทศไทยลดลงจาก 3,000-4,000 ล้านบาท/ปี อาจจะเหลือแค่ 2,000-3,000 ล้านบาท/ปี ส่วนน้ำอัดลมที่กัมพูชาเคยสั่งซื้อจากประเทศไทยก็อาจจะไม่สามารถส่งไปขายได้ เนื่องจากเจ้าของบริษัทโค้กในกัมพูชาได้ทำเรื่องฟ้องบริษัทของไทยเพื่อไม่ ให้มีการนำน้ำอัดลมจากไทยข้ามเขตไปจำหน่ายในกัมพูชาอีก ซึ่งมีมูลค่ากว่า 400-500 ล้านบาท/ปีเช่นกัน ส่วนมูลค่าการนำเข้าจะมีมูลค่าสูงขึ้น หลังมีการสั่งกากน้ำตาลจากกระบวนการหีบอ้อยใน จ.เกาะกง เข้ามายังประเทศไทย ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ต้องเร่งแก้ไข

ทางด้านนายประเสริฐ ศิริ ประธานหอการค้า จ.ตราด กล่าวว่า มูลค่าการค้าของชายแดนไทย-กัมพูชา ด้าน จ.ตราด แม้ปี 2552 จะมีมูลค่าเติบโตลดลงเพียง 2% แต่ก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะวิตกกังวลเท่าไร เพราะการค้าในปี 2553 สถานการณ์จะกลับสู่สภาวะปกติและจะมีแนวโน้มเติบโตได้เหมือนทุกๆ ปี ซึ่งคาดว่าน่าจะสูงเกิน 17,000 ล้านบาท หรืออาจจะสูงถึง 12,000 ล้านบาท แต่สำหรับชายแดนด้าน จ.ตราด ผลกระทบจะไม่มากนัก และ จ.ตราด กับ จ.เกาะกง มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและมีความใกล้ชิดเหมือนญาติพี่น้องกัน หากจังหวัดอื่นจะมีการปิดชายแดนก็อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่ จ.ตราด เป็นไปได้ยาก แต่เรื่องมูลค่าการค้าที่เติบโตลดลงเป็นแค่ชั่วคราว ในอนาคตมีแนวโน้มที่จะกลับมาเติบโตเช่นเดิม นอกจากนี้ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ทำให้มูลค่าการค้าลดลง อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรเร่งสร้างความสัมพันธ์กับรัฐบาลกัมพูชาให้กลับมามีความสัมพันธ์ เช่นเดิมจะทำให้การค้าขายเป็นปกติ

โดย บ้านเมืองออนไลน์ เมื่อเวลา 8:59:00 วันที่ 8 มกราคม พ.ศ.2553
 
#46 ·
ตั้งเป้าพัฒนาเกาะช้างหลังออก กม.อีก 9 ฉบับ​

นายกเกาะช้างตั้งเป้าพัฒนาเกาะช้างหลังออกกฎหมาย 9 ฉบับ พร้อมจัดระเบียบใหม่ ขณะรายได้ตามงบได้แค่ 10-15 ล้าน ระบุได้งบเพิ่มจาก กม.ท้องถิ่นใหม่อีก 10 ล้าน
ตราด/ นายศรัณ จิรังศรี นายกเทศมนตรีเทศบาล ต.เกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด เปิดเผยว่า หลังจากเทศบัญญัติเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลฯ ได้ผ่านสภาเทศบาล ต.เกาะช้าง และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะทำให้เทศบาลเกาะช้างสามารถจัดระเบียบในพื้นที่รับผิดชอบได้ สามารถจัดเก็บรายได้ท้องถิ่นอีกหลายช่องทาง เช่น การจัดเก็บค่าจอดรถยนต์ การจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ หรือการได้รับส่วนแบ่งจากภาษีต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้พื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญ เช่น หาดทรายขาว ไก่แบ้ สามารถจัดระเบียบได้ดีขึ้น จากเดิมที่ไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวข้องได้ ขณะที่ถนนสายท่องเที่ยวที่มักจะมีการจอดรถตลอดทั้งสายและทั้ง 2 ด้าน ทางเทศบาลก็จะสามารถจัดระเบียบการจราจรได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย

“ทั้งการจัดการจราจร การจอดรถ ทางเทศบาลสามารถเรียกเก็บค่าจอดได้ ขณะที่ภาษีจากรัฐที่จะแบ่งให้กับท้องถิ่น รวมทั้งการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นที่เทศบาลจะใช้ดำเนินการ และเงินรายได้ที่เทศบาลเก็บได้แค่ 10-15 ล้าน ก็จะมีรายได้สูงขึ้นอีก 15 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย ผมจะได้นำเงินเหล่านี้มาพัฒนาทั้งแหล่งท่องเที่ยวและทำโครงการต่างๆ ของเทศบาลเกาะช้างได้มากขึ้น เกาะช้างก็จะดูดีและมีระเบียบมากขึ้น”

นา ยศรัณ กล่าวว่าในส่วนของการผลักดันแผนพัฒนาการท่องเที่ยวนั้น คณะผู้บริหารจะใช้แผนของเทศบาลและแผนของ อพท.ที่กำลังดำเนินการอยู่ประยุกต์มาเป็นแผนพัฒนาเกาะช้าง และยกระดับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในระดับคุณภาพสมกับเป็นแหล่งท่องเที่ยว ชั้นนำของประเทศ
 
#47 ·
ถล่มเขายายเที่ยง บิ๊กเกาะช้าง ไอซียู

Posttoday วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553


โกลาหลกันไปทั่วเกาะช้าง แหล่งท่องเที่ยวเลื่องชื่อของ จ.ตราด เมื่อเจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยงานทั้งตำรวจอุทยานแห่งชาติ และฝ่ายปกครองนับร้อย

ภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของนภดล ศรีสุข ปลัดจังหวัดตราด ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกำกับและดูแลโรงแรมและรีสอร์ต เข้าตรวจโรงแรมและรีสอร์ตบนพื้นที่เกาะช้าง ที่ไม่ได้รับอนุญาตเมื่อช่วงบ่ายวานนี้


ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นตามคำสั่งของแก่นเพชร ช่วงรังษี ผวจ.ตราด ที่ให้นโยบายว่าต้องการให้โรงแรม-รีสอร์ต บังกะโลบนเกาะช้าง ปฏิบัติตามกฎหมายโดยให้มีใบอนุญาตถูกต้องทั้งหมด แต่พบว่าโรงแรมบนเกาะช้าง ที่มีกว่า 200 แห่งไม่มีใบอนุญาตมากกว่า 100 แห่ง

แม้การตรวจสอบจะดำเนินคดีแก่โรงแรม-รีสอร์ตเพียง 3 ราย หนึ่งในนั้นคือโรงแรมของ เจเน็ต เขียว ดาวตลกหญิงชื่อดัง และโรงแรมของอดีตประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด แต่ที่สร้างผลสะเทือนกว่านั้น คือบรรดาผู้ประกอบการโรงแรม-รีสอร์ต “ขาใหญ่” บนเกาะช้างครึ่งเกาะกว่า 100 ราย พากันงดให้บริการปิดประตูไม่รับลูกค้าที่จะเข้าพัก เพื่อเลี่ยงมิให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ เพราะใช้วิธีล่อซื้อ โดยทำทีเป็นนักท่องเที่ยวเข้าไปติดต่อที่พัก เมื่อตกลงเข้าพักแล้วจึงแสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ขอดูใบอนุญาต

เมื่อผู้ประกอบการเกือบ 100 รายปิดโรงแรมหนี นักท่องเที่ยวที่เข้าพักจึงถูกไล่ออกมา ต้องระเห็จหอบข้าวของสัมภาระหาที่อยู่ใหม่วุ่นวายกันไปทั้งเกาะ ซึ่งกระทบต่อภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวของเกาะช้างเป็นอย่างยิ่ง

โสภณ จันเดิม ประธานชมรมโรงแรมและรีสอร์ตเกาะช้าง กล่าวว่า ปัญหานี้ทางจังหวัดรู้ดีว่าโรงแรมบนเกาะช้างส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องที่ดิน ซึ่งที่ดินบนเกาะช้างส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ โฉนด หรือน.ส.3 ก ส่วนใหญ่จะมี ส.ค.1 หรือ ภบท.5 ซึ่งไม่สามารถนำไปขออนุญาตก่อสร้างโรงแรมได้ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการจะก่อสร้างไปก่อนแล้วขออนุญาตในภายหลัง ซึ่งเกิดปัญหาตามมาคือไม่สามารถต่อใบอนุญาตได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติและไม่ใช่เกิดเฉพาะที่ จ.ตราด แต่ทุกจังหวัดก็เกิดในลักษณะเช่นนี้

“การกระทำของจังหวัดครั้งนี้ จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวบนเกาะช้างอย่างมาก เนื่องจากขณะนี้มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศหนีอากาศหนาวเย็นมาท่องเที่ยวที่เกาะช้างเต็มทั้งหมด หากจังหวัดเข้มงวดโรงแรม ทุกแห่งที่ไม่มีใบอนุญาตอาจจะต้องปิดกิจการชั่วคราว” โสภณ กล่าว

ปฏิบัติการกวาดล้างโรงแรม-รีสอร์ตซึ่งก่อสร้างบนที่ดินซึ่งไม่มีเอกสารสิทธิครั้งนี้ น่าสังเกตว่าเกิดขึ้นก่อนที่สาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานอนุกรรมการชุดนโยบาย ในคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย จะเดินทางมาตรวจสอบปัญหาที่ดินเกาะช้างในวันที่ 20 ม.ค.นี้

ขณะเดียวกันก็เพิ่งผ่านกรณีการครอบครองที่ดิน “เขายายเที่ยง” อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่กลุ่มเสื้อแดงยกขึ้นมาเป็นประเด็นการเมือง ว่ารัฐบาลดำเนินการ 2 มาตรฐาน รวมทั้งการเตรียมยกพลไปชุมนุมที่เขาสอยดาว จ.จันทบุรี เพื่อให้กรมป่าไม้ยกเลิกที่ดินสนามกอล์ฟที่กลุ่มทุนซึ่งใกล้ชิดกับพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี ได้มาโดยมิชอบเพราะเป็นเขตป่าสงวน

ประเด็นที่น่าจับตาคือ การเปิดเกมรุกไล่ผู้ประกอบการโรงแรม-รีสอร์ตเกาะช้างครั้งนี้ จะโยงไปถึงกลุ่มทุนใหญ่ที่มีเส้นสายเชื่อมโยงกับกลุ่มอำนาจเก่าหรือไม่ เพราะเป็นที่ทราบดีว่า นักการเมือง แกนนำสายอำนาจเก่ามีรีสอร์ตหรูอยู่บนเกาะช้าง และเชื่อมโยงไปถึงเกาะกูดหลายราย

งานนี้พ่อเมืองตราดกำหนดเป้าหมายการตรวจสอบไว้ 3 ประเด็น คือ การปลูกสร้างบนที่ดินซึ่งไม่มีเอกสารสิทธิ การปลูกสร้างรุกล้ำไปในทะเล และการปลูกสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต

แม้ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นมาตรการที่ฝ่ายรัฐบาลสั่งการมาเพื่อป้องปรามแกนนำและกลุ่มทุนเสื้อแดง แต่การตรวจสอบการถือครองที่ดินก็เข้มข้นขึ้น ดังนั้นหลังการเดินทางมาตรวจสอบกรณีปัญหาที่ดินเกาะช้างของสาทิตย์ในวันที่ 20 ม.ค.นี้ จึงน่าจับตาอย่างยิ่งว่า จะมีสิ่งใดเกิดขึ้นตามมาหรือ ไม่!?
 
#48 ·
ป.ป.ช.บุกตราดสอบโฉนดที่ดินเกาะช้าง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เวลา 19:17:53 น. มติชนออนไลน์


ที่ห้องประชุมตราดสีทอง ศาลากลางจังหวัดตราด เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พร้อมกรรมการ ป.ป.ช. เข้าสอบปากคำนายแก่นเพชร ช่วงรังษี ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด นายชลอ ใบเจริญ รองผู้ว่าฯตราด นายศักดิ์ประเสริฐ จริญประสิทธิ์ นายอำเภอเกาะช้าง เจ้าพนักงานที่ดินส่วนแยก อ.แหลมงอบ และนายชัยวัฒน์ ศิรุฬารสกุล ธนารักษ์พื้นที่ตราด กรณีมีผู้ร้องเรียนว่ามีการออกโฉนดที่ดินบนเกาะช้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ขณะที่นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า มีผู้ร้องเรียนว่ามีการออกโฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมายบนเกาะช้าง จำนวน 2 แปลง รวมเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ และมีอดีตข้าราชการระดับสูงของกรมที่ดินหลายคน เชื่อมโยงกับข้าราชการกรมที่ดินและกรมการปกครองในพื้นที่ จ.ตราดเข้ามาเกี่ยวข้อง
 
#49 ·
ค้าชายแดนตราด"ม.ค.-ก.พ."ชะลอ เศรษฐกิจกัมพูชาไม่ดีผนวกนโยบายเข้มงวดการค้า

วันที่ 05 เมษายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4198 ประชาชาติธุรกิจ


จับตาค้าชายแดนไทย-กัมพูชาด้านจังหวัดตราด เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2553 เริ่มลดลงจากช่วงปลายปี"52 ระบุสาเหตุเกิดจากภาวะเศรษฐกิจกัมพูชาไม่ดี กำลังซื้อตก และนโยบายเข้มงวดการค้า ผู้ประกอบการหวั่นเสียตลาดสินค้าให้จีน-เวียดนาม ด้านหอฯตราดขอขยายเวลา ปิดด่าน 5 วันช่วงสงกรานต์จัดงานแสดงสินค้าไทยมุ่งเชื่อมสัมพันธ์

ข้อมูลจากด่านศุลกากรคลองใหญ่ จังหวัดตราด พบว่า ที่ผ่านมามูลค่าการค้าชายแดนด้าน อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ระหว่างไทย-กัมพูชาเพิ่มขึ้นทุกปี เช่น ในปีงบประมาณ 2551 มีมูลค่ารวม 16,451.52 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2552 มีมูลค่า 16,788.23 ล้านบาท โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2552 (ตุลาคม-ธันวาคม) มูลค่าสินค้าส่งออก-นำเข้าได้เติบโตต่อเนื่อง โดยมีการส่งออกสินค้ามูลค่า 5,042.51 ล้านบาท นำเข้าสินค้ามูลค่า 15.41 ล้านบาท

ทั้งนี้ ข้อมูลในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2553 มูลค่าการส่งออก-นำเข้าโดยรวมได้ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับในช่วงเดือนธันวาคม 2552 โดยในเดือนมกราคม 2553 ส่งออกมูลค่า 1,503.58 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2552 มูลค่า 1,689.41 ล้านบาท คิดเป็น 11% ส่วนสินค้านำเข้ามูลค่า 2.34 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2552 มูลค่า 4.38 ล้านบาท

สำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ส่งออกมูลค่า 1,330.26 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม 2553 มูลค่า 1,503.58 ล้านบาท คิดเป็น 11.53% และนำเข้า 2.56 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม 2553 มูลค่า 2.33 ล้านบาท อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังคงได้ดุลการค้ากับกัมพูชามาโดยตลอดเพราะการ นำเข้าสินค้ายังมีจำนวนน้อยกว่าการส่งออก

แหล่งข่าวจากศุลกากรคลองใหญ่จังหวัดตราด เปิดเผยว่า ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มสินค้าที่ส่งออกมากที่สุด คือ น้ำตาลทราย แต่ก็ยังมีปัญหาการลักลอบส่งออกน้ำตาล เพราะราคาในตลาดเพื่อนบ้านมีส่วนต่างมากถึงกิโลกรัมละ 7 บาท ขณะที่สินค้าหลายชนิดเริ่มส่งออกลดลง เช่น วัสดุก่อสร้าง เนื่องจากโครงการขนาดใหญ่ ก่อสร้างเสร็จและเดินเครื่องผลิตได้แล้ว เช่น โรงงานน้ำตาลในเกาะกงเฟสแรก ส่วนสินค้าประเภทมอเตอร์ไซค์ น้ำอัดลม ก๊าซ ที่เคยส่งออกจำนวนมาก ขณะนี้มีตัวแทนจำหน่ายโดยตรงอยู่ในกัมพูชา จึงไม่มีการอนุญาตให้นำเข้าจากด่านชายแดนอีก

นอกจากนี้ภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชา เองมีผลทำให้มูลค่าการค้าลดลงในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. 2553 และคาดว่าในเดือนมีนาคมต่อเนื่องถึงเดือนเมษายนก็น่าจะ ลดลงด้วย เพราะมีช่วงวันหยุดยาวหลายวัน

ด้านนางสำราญ ประสิทธิเวช ผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัดท่าเทียบเรือ ส.กฤตรวัณ เปิดเผยว่า ในช่วงต้นปี 2553 จนถึงปัจจุบัน ภาวะการค้าด้านกัมพูชาไม่ดีนักหากเปรียบเทียบกับช่วงปลายปี 2552 สินค้าที่ส่งออกผ่านท่าเรือ ส.กฤตรวัณ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ลดไปถึง 20% ซึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจากภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชาไม่ดี กำลังซื้อลดลงทำให้สินค้าจีนและเวียดนามที่มีราคาถูกกว่าเข้าไปตีตลาดสินค้าไทย โดยมีการจัดโรดโชว์อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ไทยไม่มีการจัดโรดโชว์ จึงทำให้สินค้าจีนเข้ามาตีตลาดสินค้าไทยไปอย่างน่าเสียดาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า ซีอิ๊ว ซอสปรุงรส บะหมี่สำเร็จรูป ผงซักฟอก ฯลฯ

นายประเสริฐ ศิริ ประธานหอการค้าจังหวัดตราด กล่าวว่า ในช่วงต้นปีเป็นเรื่องปกติที่การค้าจะชะงักลงเล็กน้อย เนื่องจากต้องมีการทำสัญญาค้าขายกันใหม่ ซึ่งทำให้มูลค่าการค้าเดือนมกราคมลดลงเล็กน้อย แต่คาดว่าปีนี้มูลค่าการค้าจะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา และยืนยันว่าความสัมพันธ์ทางชายแดนราบรื่นไม่มีปัญหาทางการเมืองแต่อย่างใด

ทั้งนี้ หอการค้าจังหวัดตราดได้เลื่อนการจัดงานแสดงสินค้าที่จังหวัดเกาะกงจากเดือนมกราคมมาจัดงานแสดงสินค้าและเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 6-12 เมษายนนี้ที่วัดเกษมสีมาลา ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด โดยมีการนำสินค้ามาจำหน่าย 110 บูท แบ่งเป็นสินค้าโอท็อป 40 บูท สินค้าทั่วไป 70 บูท โดยได้ขออนุญาตขยายเวลาปิดด่านจากเวลา 20.00 น. เป็นเวลา 24.00 น. เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ชาวกัมพูชาที่จะเดินทางเข้ามาชมงานดังกล่าว

ขณะที่นายสุพจน์ เลียดประถม สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตราด กล่าวว่า ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมามีสินค้าส่งออกหลายชนิดที่ทางการกัมพูชาห้ามนำเข้า เพราะอนุญาตให้มีการจัดตั้งผู้แทนจำหน่าย หรือทำการผลิตสินค้าในกัมพูชาโดยตรง เช่น รถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า น้ำอัดลม

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการเข้มงวด นำเข้าสินค้าจากฝั่งไทย แต่คาดว่าไม่มีผลกระทบต่อการค้าชายแดนของจังหวัดตราด เพราะสินค้าส่งออก 10 อันดับของไทย ยอดขายยังดี เช่น น้ำตาลทราย นมและอาหารเสริม ขนมต่าง ๆ ผงชูรส รวมทั้งยังมีความสะดวกในการขนส่งสินค้าทางเรือ ซึ่งมีต้นทุนต่ำ ส่วนการขนส่งทางบกตามเส้นทางหมายเลข 48 ถึงกรุงพนมเปญก็มีความสะดวกรวดเร็วกว่าชายแดนด้านอื่น ๆ น่าจะทำให้จังหวัดตราดเป็นทำเลทองในการส่งออกด้านกัมพูชา ซึ่งมูลค่าการค้าโดยเฉลี่ยทั้งปีนี้น่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่เกิน 10%

หน้า 23
 
#50 ·
"กรมเจ้าท่า"ลุยท่าเรือเกาะกูด ปักธงอ่าวสลัดเร่งทำ"EIA-HIA"

วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4200 ประชาชาติธุรกิจ


กรมเจ้าท่าเดินหน้าโครงการท่าเทียบเรือ "เกาะกูด ซีฟร้อนท์" จ้างบริษัทที่ปรึกษา "ซีคอนซัลท์ฯ-ไทยเอนยิเนียริ่งฯ" เร่งมือ ทำอีไอเอและเอชไอเอให้เสร็จในเดือนธันวาคมนี้ ระบุเลือกจุดก่อสร้างบนที่ราชพัสดุ พื้นที่หมู่ 6 อ่าวสลัด คาดภายใน 2 ปี ลงมือสร้างแน่


กรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างบริษัท ซีคอนซัลท์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และบริษัท ไทยเอนยิเนียริ่งคอนซัลแตนทส์ จำกัด ศึกษาวิจัยความเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์ วิศวกรรม สิ่งแวดล้อม และออกแบบรายละเอียดท่าเทียบเรือเกาะกูด ซีฟร้อนท์ จังหวัดตราด โดยมีระยะเวลาศึกษาวิจัย 15 เดือน นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552-ธันวาคม 2553 โดยเมื่อวันที่ 29 มี.ค. ที่ผ่านมา เป็นการประชุมสัมมนา เพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นในจังหวัดตราด ครั้งที่ 1 เพื่อนำไปปรับการออกแบบสะพานเพิ่มเติม และจะมีการประชุมรับฟังความคิดเห็นที่เกาะกูด ครั้งที่ 3 เดือน พ.ค.นี้

นายประพัตร์ กรังพาณิชย์ หัวหน้าแผนกสิ่งแวดล้อม บริษัท ไทยเอนยิเนียริ่งคอนซัลแตนทส์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทที่ปรึกษาจะศึกษาสำรวจพื้นที่เหมาะสม และศึกษาข้อมูล 3 ด้าน คือด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม จากนั้นจะมีการออกแบบรายละเอียดให้เหมาะสม ทั้งนี้ให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากจังหวัดตราด 2 ครั้งและที่เกาะกูดอีก 3 ครั้ง

ทั้งนี้ บริษัทได้ดำเนินการมา 5 เดือนแล้ว โดยลงพื้นที่เกาะกูดศึกษาข้อมูลทั้ง 3 ด้าน รวมทั้งสำรวจพื้นที่ก่อสร้างท่าเทียบเรือ 4 แห่ง แต่พื้นที่เหมาะสมที่สุดคือบริเวณหมู่ที่ 6 อ่าวสลัด ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ของกรมธนารักษ์ จำนวน 8 ไร่ มีถนนและอยู่ใกล้ชุมชน ไม่ต้องตัดต้นไม้และพื้นที่ในทะเลมีความลึก ไม่มีการขุดลอกร่องน้ำ ทำให้ความยาวของท่าเทียบเรือสั้น และพื้นทะเลเป็นหินปนทราย สามารถรับน้ำหนักโครงสร้าง ท่าเทียบเรือได้ดี ซึ่งบริเวณนี้ตรงกับโครงการจัดทำแผนแม่บทการใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์เคยสำรวจไว้ สำหรับรูปแบบของสะพานที่ออกแบบไว้เบื้องต้นมีความยาว 200 เมตร สะพานกินน้ำลึก 4 เมตร

ด้านนางวิลาวัณ ศิริงามเพ็ญ ผู้อำนวยการสำนักแผนงาน กรมเจ้าท่า กล่าวเพิ่มเติมว่า การขออนุมัติงบประมาณก่อสร้างสะพานเกาะกูด ซีฟร้อนท์นั้น ตั้งงบประมาณการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมไว้ 8 ล้านบาท และงบฯก่อสร้าง 40 ล้านบาท คาดว่าหลังจากจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA (Environmental Impact Assessment) เสร็จในเดือนธันวาคม 2553 น่าจะใช้เวลาอีก 2 ปีเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากสำนักแผนงาน กรมเจ้าท่า

อย่างไรก็ตาม ยังต้องปฏิบัติตามประกาศกฎกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2552 กำหนดให้การก่อสร้างท่าเทียบเรือขนาดเล็กจัดทำรายงานผลกระทบทางสุขภาพ หรือ HIA (Health Impact Assessment) ด้วย

ขณะที่นายพรหมกฤต ม่วงมงคล นายอำเภอเกาะกูด กล่าวว่า ปัจจุบันเกาะกูดมีท่าเทียบเรือมาตรฐาน 1 แห่ง คือท่าเทียบเรือคลองหินดำ ที่ผ่านมาไม่สามารถใช้งานได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากมีคลื่นลมแรงจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงเดือนเมษายน-ตุลาคม และขณะนี้อยู่ในสภาพชำรุดอยู่ระหว่างการซ่อมแซมโดยได้รับงบฯจากกรมเจ้าท่า จำนวน 90 ล้านบาท

ส่วนท่าเทียบเรือเกาะกูด ซีฟร้อนท์นั้น อยู่ด้านเหนือของเกาะบริเวณอ่าวสลัด ซึ่งอยู่คนละด้านกับท่าเทียบเรือคลองหินดำ สามารถใช้งานได้สะดวกปลอดภัยในช่วงฤดูมรสุม นอกจากนี้ยังสามารถย่นระยะทางและเวลาได้มากกว่าถึงชั่วโมงเศษ เนื่องจากอยู่ใกล้ฝั่งมากกว่า สำหรับการก่อสร้างสะพานหรือสิ่งอื่นๆ บนเกาะกูดนั้นเน้นอนุรักษ์ธรรมชาติจะไม่ให้มีการตัดไม้ทำลายป่าเด็ดขาด

หน้า 17
 
#51 ·
ดีครับผมชื่อ ริชาร์ตครับ พอดีเรียนถ่ายรูปที่มหาลัยครับเลยลองเอามาให้ดูเล็กๆน้อย ติชมกันได้ครับเพราะถ่ายรูปไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่ครับ ผมมือใหม่หัดถ่ายครับ ลองๆเองผลงานตัวเองมาให้ชมกันครับ

ฺBTS อโศกครับ

อาคารInterchange ตรงBTS อโศก

สยามพารากอน

สยามพารากอน 2 ครับ

ลาน ร.6 แยกศาดาแดง

ลาน ร.6 แยกศาดาแดง (อีกมุม)

กลุ่มตึกสูงบริเวณต้นถนนสาธร

ตึอ AllSeason

สถานีต่อไปสถานีห้วยขวาง Next Station ห้วยขวาง 5555

แยกนราธิวาส

ตึก เอมไพร์ พิมพ์ถูกป่าวเนี่ย

กลางแม่น้ำเจ้าพระยาครับ

ปิดท้ายด้วย วัดอรุณฯ ครับ

สวยไม่สวยบอกกันได้ครับยินดีรับคำติชม

ปล. Canon 500D ครับ ถ่ายเองทั้งหมด
 
This is an older thread, you may not receive a response, and could be reviving an old thread. Please consider creating a new thread.
Top