SkyscraperCity Forum banner

Trang | The Emerald of Andaman

4M views 13K replies 324 participants last post by  wpreecha 
#1 · (Edited)
ที่นี่ "เมืองตรัง"

เมืองสวยงามที่ไม่เล็กจนเงียบเหงา ไม่ใหญ่โตจนพลุกพล่าน

Trang is an outstanding province in the southern part of Thailand. It is a coastal city for tourism along the Andaman Sea. In those days, Trang used to be a port for trade with other countries. It also used to a center of transportation to Nakorn Si Thammarat. Trang is the first province where para rubber trees were planted. Praya Rasadanupradit (Kor Simby Na Ranong) too the rubber seeds from Malaysia. An American woman named Edna Bruner Bulkley reached Trang and wrote that “the middle of both seas was the place I could call it My Home. I had already explored through various areas for the distance of 40 miles within almost twenty years. In my opinion, Trang is the most beautiful in Siam. Its nature consists of mountains, streams, rivers, lakes, waterfalls and red soil. Later, the officials carried out intelligent development by building roads throughout this area and it can be accessible to every place.(Siam Was Our Home: A Narrative Memoir of Edna Bruner Bulkley’s years in Thailand in the early 1900’s)



The emblem of Trang is a picture of a lighthouse and waves. The lighthouse represents the port for trade with other countries while waves symbolize small and hilly characteristics of the landscape in Trang. The flower which is considered to be a symbol of Trang is called Sritrang(Jacaranda filicifolia). The city slogan is “Trang people are broad-minded , doing only good deeds.” The slogan for tourism is

A City of Praya Rasada

Broad-minded people

Delicious roast pork

Origin of para rubber

Splendid Sritrang flower

Beautiful coral reefs

Charming and sandy beautiful beaches

Spectacular waterfalls.




KOH ROK (ROK ISLAND) : TRANG










วิสัยทัศน์ของจังหวัด (Vision)

สวรรค์แห่งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เมืองแห่งการเรียนรู้ พัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน




อาณาเขตติดต่อ

จังหวัดตรัง ตั้งอยู่ภาคใต้ของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ 828 กม. มีพื้นที่ประมาณ 4,941.439 ตร.กม. หรือประมาณ 3,088,399.375 ไร่

ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่

ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล และทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอควนขนุน อำเภอกงหรา และอำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอคลองท่อม เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ และทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย


ประชากรจังหวัดตรัง ปี 2552

ประชากร ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 รวมทั้งสิ้น 622,659 คน เป็นชาย 305,678 คน หญิง 316,981 คน สำหรับอำเภอที่มีประชากรมากที่สุด ได้แก่ อำเภอเมือง รองลงมา ได้แก่ อำเภอห้วยยอด และอำเภอกันตัง สำหรับอำเภอที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด คือ อำเภอเมือง 275 คน/ตร.กม. รองลงมา ได้แก่ อำเภอนาโยง 259 คน/ตร.กม. และอำเภอย่านตาขาว 144 คน/ตร.กม.

ประชากรในจังหวัดตรังส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน รองลงมาเป็นชาวไทย รวมไปถึงชาวมุสลิม คนกลุ่มนิกริโต และชาวเลในท้องถิ่น ประชากรร้อยละ 80 นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาเป็นชาวมุสลิมร้อยละ 18.5 และศาสนาคริสต์ร้อยละ 1.5 มีวัดทั้งหมด 129 แห่ง สำนักสงฆ์ 65 แห่ง มัสยิด 87 แห่ง โบสถ์คริสต์ 10 แห่ง ศาลเจ้าและโรงเจ 19 แห่ง



การอพยพของประชากร

จากสภาพภูมิประเทศที่เอื้ออำนวยและทรัพยากรอันสมบูรณ์ของจังหวัด ทำให้ชาวจังหวัดตรังโดยทั่วๆ ไปมีฐานะความเป็นอยู่ดี ฉะนั้นปัญหาอพยพของประชากรในจังหวัดเพื่อไปหางานทำในท้องถิ่นอื่นจึงไม่มี แต่ในทางตรงข้าม ปรากฎว่าประชาชนจากท้องถิ่นอื่น เช่น จากจังหวัดใกล้เคียง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนจากจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อพยพเข้ามาหางานทำมีจำนวนมาก โดยการเป็นลูกจ้างในสวนยาง ลูกเรือประมง ลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม และอาชีพรับจ้างบริการทั่วไป ดังนั้นจังหวัดตรังจึงมีประชากรย้ายเข้ามามากกว่าการย้ายออก



รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี

ตรัง 97,765


การปกครอง แบ่งออกเป็น 10 อำเภอ 87 ตำบล 723 หมู่บ้าน

1. อำเภอเมืองตรัง
2. อำเภอกันตัง
3. อำเภอย่านตาขาว
4. อำเภอปะเหลียน
5. อำเภอสิเกา
6. อำเภอห้วยยอด
7. อำเภอวังวิเศษ
8. อำเภอนาโยง
9. อำเภอรัษฎา
10. อำเภอหาดสำราญ



สัญลักษณ์ ประจำจังหวัด



ตราประจำจังหวัด :ภาพกระโจมไฟและภาพลูกคลื่น ภาพกระโจมไฟหมายถึง จังหวัดตรังเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ ภาพลูกคลื่นหมายถึง ลักษณะพื้นที่ของจังหวัดตรัง เป็นเนินเล็ก ๆ สูง ๆ ต่ำ ๆ คล้ายลูกคลื่น
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกศรีตรัง (Jacaranda filicifolia)
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ศรีตรัง (Jacaranda filicifolia)
คำขวัญประจำเมือง : ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี





ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่เป็นเนินสูงๆ ต่ำๆ สลับด้วยเขาเล็กๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป พื้นที่ค่อนข้างราบเรียบมีจำนวนน้อยซึ่งใช้เพาะปลูกข้าว ทางทิศตะวันออกมีเทือกเขาบรรทัดยาวจากเหนือจดตอนใต้ และเป็นเส้นแบ่งเขตแดนจังหวัดตรังกับจังหวัดพัทลุง มีเนื้อที่ป่าเกือบร้อยละ 20 ของเนื้อที่จังหวัดส่วนใหญ่เป็นพื้นที่แถบเทือกเขาบรรทัด ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น มีป่าชายเลนสำหรับท้องที่ที่อยู่ติดชายทะเล และมีลำน้ำสำคัญๆ 3 สาย อันได้แก่ แม่น้ำตรัง ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเขาวังหีบ เทือกเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช แม่น้ำปะเหลียน เกิดจากเทือกเขาบรรทัด เขตอำเภอปะเหลียน คลองกะลาแสและต้นน้ำ ที่เกิดจากควนปลวกร้อน ควนชะไน และควนน้ำแดง ชายแดนตรัง กระบี่ นอกจากนี้ยังมีลำห้วยบริวารที่คอยส่งน้ำให้อีกกว่า 100 สาย ทั้งยังมีชายฝั่งด้านตะวันตก ติดทะเลอันดามันที่ยาวถึง 119 กม. กับเกาะต่างๆ กระจัดกระจาย อยู่กว่า 46 เกาะ และป่าชายเลนที่ยังคงอยู่ในสภาพที่อุดมสมบูรณ์


สภาพภูมิอากาศ

จังหวัดตรังได้รับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม และลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ช่วง เดือนพฤษภาคม-กันยายนทำให้มีฝนตกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 27.4 องศาเซลเซียส ส่วนช่วงเวลาที่อากาศเย็นสบาย จะอยู่ประมาณปลาย เดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนธันวาคม


คำขวัญประจำจังหวัด

เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา

เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา



การเดินทางสู่จังหวัดตรัง

รถยนต์

๑. ไปตามทางหลวงหมายเลข ๔ กรุงเทพฯ-ชุมพร จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข ๔๑ ผ่าน สุราษฎร์ธานี-ทุ่งสง-ห้วยยอด-ตรัง ระยะทาง ๘๒๘ กิโลเมตร

๒. ไปตามทางหลวงหมายเลข ๔ กรุงเทพฯ-ชุมพร จากนั้นผ่านแยกเข้าระนอง-พังงา-กระบี่-ตรัง ระยะทาง ๑,๐๒๐ กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ กรุงเทพฯ - ตรังบริการทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ที่ บจก.ขนส่ง 99 (บขส.) โทรศัพท์ (กรุงเทพฯ) 0 2435 5605 (ตรัง) 0 7521 0455 บจก.ทรัพย์ไพศาล โทรศัพท์ (กรุงเทพฯ) 0 2884 9584 (ตรัง) 0 7521 8718

รถไฟ มีรถเร็วและรถด่วนออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ถึงสถานีตรังทุกวัน ระยะทาง ๘๗๐ กิโลเมตร ใช้เวลา ๑๕ ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. ๑๖๙๐, ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔, ๐ ๒๒๒๐ ๔๔๔๔ (สำรองตั๋วทางโทรศัพท์ ๓ วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน ๖๐ วัน) หรือสถานีรถไฟตรัง โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๘๐๑๒ www.railway.co.th

เครื่องบิน สายการบินนกแอร์ และวันทูโก มีเที่ยวบินตรงไปจังหวัดตรังทุกวัน นกแอร์ DD โทร 1318 http://www.nokair.com ขึ้นอยู่กับวันเดินทาง One-Two-Go OG โทร 1126 http://www.fly12go.com 1,750 (ช่วงเทศกาลราคาจะเพิ่มขึ้น)

--------------------------------------------------

ขออนุญาตผู้ใหญ่ใจดีทุกๆท่านนำภาพมาประกอบนะครับ :lol:

--------------------------------------------------





ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆครับ :)
 
See less See more
9
#2 · (Edited)
โครงการก่อสร้างปรับปรุงภูมิทัศน์และปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงสูงเป็นระบบเคเบิลใต้ดิน


เทศบาลนครตรัง นับว่าเป็นเทศบาลแรกในประเทศไทยในการดำเนินโครงการการก่อสร้างปรับภูมิทัศน์ โดยการนำสายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ลงใต้ดิน ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 ในถนนพระราม 6 ต่อเนื่องมา ถนนกันตัง-ห้วยยอด และถนนราชดำเนิน
โครงการนำสายไฟฟ้าลงสู่ใต้ดิน เป็นการจัดภูมิทัศน์ของเมืองให้เป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม ทั้งนี้ เนื่องจากถนนสายหลักในเขตเทศบาลเป็นถนนที่เชื่อมต่อระหว่างย่านพาณิชย์ ธุรกิจค้าขายที่อยู่อาศัยหนาแน่น และศูนย์รวมหน่วยราชการปัจจุบันปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีความแออัด และมีความต้องการพื้นที่จอดรถริมถนนมากขึ้น ประกอบกับถนนสายหลักต่างๆ มีเสาไฟสายไฟฟ้าพาดผ่าน และสายโทรศัพท์ ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้เกิดปัญหาความไม่สะดวกและปลอดภัยแก่ผู้สัญจร
ดังนั้น เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด โดยให้ผู้เดินทางมาท่องเที่ยวที่มาจากต่างจังหวัด ได้พบเห็นความสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมือง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ที่ได้เริ่มให้ความสนใจเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดตรัง ซึ่งจังหวัดตรังเป็นแหล่งที่มีการอนุรักษ์ธรรมชาติให้คงสภาพเดิมไว้มาก ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ชายทะเล หมู่เกาะที่สวยงาม และมีน้ำตกที่มีสภาพป่าสมบูรณ์ ซึ่งเป็นที่ดึงดูดความสนใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมในจังหวัดตรังมากขึ้นการพัฒนาเมืองให้เป็นระเบียบเรียบร้อยบ้านเมืองสวยงามจึงจำเป็น โดยการดำเนินโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ฯ ซึ่งโครงการระยะแรกเทศบาลได้รับการสนับสนุนงบประมาณในรูปเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 และปีงบประมาณพ.ศ. 2546 เพื่อปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงสูงเป็นระบบเคเบิลใต้ดิน และปรับภูมิทัศน์ถนนพระราม 6พร้อมกับการปรับปรุงเกาะกลางปลูกต้นศรีตรัง และเสาไฟฟ้ารูปนางฟ้า (เมขลา) เอกลักษณ์ของเทศบาลนครตรัง จากบริเวณสี่แยกหอนาฬิกา ถึงบริเวณหน้าสถานีรถไฟ และโครงการ
ระยะที่ 2 เป็นโครงการในถนนกันตัง จากสี่แยกถนนกันตังไปสี่แยกท่ากลางและถนนห้วยยอด บริเวณหน้าคลินิกตรังชาตะปัจจุบันทั้ง 2 โครงการได้ดำเนินการเสร็จแล้ว และสามารถใช้งานได้สมบูรณ์ 100% ในปีพ.ศ. 2551 และได้ขยายโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ในถนนวิเศษกุลบางส่วน และถนนราชดำเนิน ตลอดสาย ซึ่งโครงการนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และทดสอบระบบไฟฟ้าก่อนการตรวจรับงานในงวดสุดท้ายสำหรับในงบประมาณ พ.ศ. 2552 เพื่อให้โครงการได้เชื่อมต่อกับถนนราชดำเนินจึงได้มีโครงการที่จะก่อสร้างขยายผลไปทางถนนพัทลุง โดยเริ่มจากสี่แยกข้างที่ว่าการอำเภอเมืองตรัง ถึง ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน และในการก่อสร้างถนนสายนี้มีการปรับภูมิทัศน์ริมหนองพลอง (หนองน้ำสาธารณะ) ข้างบ้านพักปลัดจังหวัด ให้สวยงามยิ่งขึ้นด้วยโดยคาดว่าจะดำเนินการในปี พ.ศ.2553 นี้
จากแผนพัฒนาเทศบาลระยะ 3 ปี พ.ศ. 2553 -2555 เทศบาลมีแผนงานโครงการระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงสูงเคเบิลใต้ดิน ในถนนสายหลักอีกสายหนึ่งคือ ถนนวิเศษกุล ช่วงสี่แยกหอนาฬิกา ถึงสะพานไต๋ต๋อง และช่วงสี่แยกข้างที่ว่าการอำเภอถึง สามแยกหมี โดยเฉพาะโครงการสายวิเศษกุล
นี้ เทศบาลคาดว่าจะได้รับงบประมาณสนันสนุนในส่วนของระบบไฟฟ้าเคเบิลใต้ดิน จากการไฟฟ้า
ส่วนภูมิภาคเต็มจำนวน ยกเว้นงบประมาณในส่วนการก่อสร้างท่อระบายน้ำและทางเท้าเป็นของเทศบาล

จาก นางฟ้าสาร(สารเทศบาลนครตรัง)ประจำเดือน ธันวาคม2552-มกราคม2553





ศูนย์ราชการจังหวัดตรัง













 
#3 · (Edited)
บรรยากาศภายในตัวเมืองตรัง จะเป็นสไตล์ ไทย จีน ผสม ยุโรปแบบโปรตุกีสครับ

ถนนหลายสายสาธารณูปโภคลงใต้ดิน ตามแผนงานพัฒนาเทศบาลนครตรังอย่างยั่งยืน ดูเป็นระเบียบดีครับ














ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆครับ :)
 
#4 · (Edited)











ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆครับ :)
 
#5 · (Edited)















ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆครับ :)
 
#6 · (Edited)
หอนาฬิกา สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส







ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆครับ :)
 
#7 · (Edited)
วงเวียนน้ำพุ 8 ล้าน








ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆครับ :)
 
#9 · (Edited)
สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส จะพบเห็นได้ทั่วไปในตัวเมืองของจังหวัดตรัง

ซึ่งทางจังหวัดและภาคเอกชนได้ร่วมกันอนุรักษ์ตึกเก่าแก่เหล่านี้ให้คงอยู่

















ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆครับ :)
 
#10 · (Edited)
สถานีรถไฟ



 
#11 · (Edited)
เมืองตรัง เมืองคนช่างกิน ของกินที่นี่อร่อยมาก

หมูย่างเมืองตรัง ของแท้แน่นอน





ขนมเค้ก ของขึ้นชื่ออีกหนึ่งอย่าง




ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆครับ :)
 
#12 · (Edited)
ตำหนักเจ้าแม่กวนอิม






ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆครับ :)
 
#14 ·
เมืองตรัง
ไร้สายไฟ สวยจริงๆ
.......................................................................................................................
 
#16 ·
ทับเที่ยง สุดยอด :banana: บ้านหลังที่สองของผมเองครับ

พูดถึงแล้วเมืองตรังกับภูเก็ตมีความคล้ายคลึงกันมากมาย ทั้งขนาดเมือง สภาปัตยกรรม ผู้คนที่จีนฮกเกี้ยนเยอะเหมือนกัน และลูกหลานพระยารัษฎาเหมือนกันครับ :)
 
#19 ·
#20 ·


ขอพรอันประเสริฐทั่วสากลโลก จงบันดาลให้ท่านทั้งหลายจงพบแต่ความสุขความเจริญ

สุขยิ่งขึ้น มียิ่งขึ้น ได้ยิ่งขึ้น ในปีใหม่นี้ ด้วยเทอญ

สวัสดีปีใหม่ 2553​
 
Top