SkyscraperCity Forum banner

Lampang | Northern Midlands

3M views 9K replies 354 participants last post by  Phraeboy 
#1 · (Edited)
จังหวัดลำปาง เป็นจังหวัดที่มีอายุเก่าแก่ไม่น้อยกว่า 1,300 ปี มีชื่อเรียกขานกันหลายชื่อ ซึ่งปรากฏหลักฐานตามตำนานต่าง ๆ รวม 11 ชื่อ ได้แก่ กุกกุฏนคร ลัมภกับปะนคร ศรีนครชัย นครเวียงคอกวัว เวียงดิน เขลางค์นคร นครลำปางคำเขลางค์ อาลัมภางค์ เมืองลคร และเมืองนครลำปาง จากการที่เรียกขานกันว่า “ กุกกุฏนคร ” แปลว่าเมืองไก่ ดังนั้น ตราประจำจังหวัดลำปาง คือ “ ไก่ขาว ”
จังหวัดลำปาง สร้างเมื่อ พ.ศ.1223 จากหนังสือพงศาวดารโยนกกล่าวว่า “ สุพรหมฤาษี ” สร้างเมืองเพื่อให้ เจ้าอนันตยศ โอรสพระนางจามเทวี ครองคู่กับเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ให้ชื่อเมืองว่า “ นครเขลางค์ ” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “ นครอัมภางค์ ” และเปลี่ยนชื่อเป็น “ นครลำปาง ” ในภายหลัง
ในสมัยโยนกเชียงแสน นครลำปางเคยตกอยู่ภายใต้อำนาจของขอม เคยเป็นเมืองประเทศราชของพม่าและเมืองเชียงใหม่ ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี “ เจ้าทิพย์ช้าง ” สามารถขับไล่พวกพม่าออกจากเมืองลำปางได้สำเร็จ จึงได้รับการสถาปนาเป็น “ พระยาสุวลือไชยสงคราม ” ขึ้นครองนครลำปางในปี พ.ศ.2279
ในปี พ.ศ.2307 “ เจ้าแก้วฟ้า ” พระโอรสของเจ้าทิพย์ช้างได้ขึ้นครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง ณ ลำพูน รวมทั้ง ณ เชียงใหม่ ในเวลาต่อมา และมี “ เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ” เป็นผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย
จังหวัดลำปางได้ประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัด ในปี พ.ศ.2435 (สมัยรัชกาลที่ 5) โดยขึ้นอยู่กับมณฑลพายับสมัยหนึ่ง (พ.ศ.2443) ต่อมาแยกเป็นมณฑลมหาราษฎร์ ในปี พ.ศ.2458 ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีประกาศยกเลิกมณฑลทั่วราชอาณาจักร ลำปางจึงมีฐานะเป็น “ จังหวัดลำปาง ” ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการอาณาจักรสยาม พ.ศ.2476[/B]
www.lampang.go.th
 
See less See more
#1,741 ·
Echoes of a bygone era
A century-old riverside market community in Lampang matures gracefully with age

* Published: 2/06/2011 at 12:00 AM
* Newspaper section: Life

Situated on the bank of the river Mae Nam Wang, Kat Kong Ta or Talad Kao, is a historical quarter of Lampang downtown. The two-kilometre stretch of the market that starts from Ratsadapisek Bridge and ends where it joins the main Thip Chang Road is lined with wooden houses and concrete buildings, some dating back over a hundred years. While most show their age, quite a few are still well preserved. Now and then, the sounds of bells from horse-drawn carriages and the clip-clops of hooves take one back in time. Somehow Kat Kong Ta holds the charm of slow paced life that seems surreal these days.


This elegant traditional Lanna house now serves as the Art Centre.

AN INTERNATIONAL MELTING POT

Back when forests were abundant and Lampang was the hub of the teak industry in the North, timbers from upstream would be gathered here before being rafted down the Wang River to Pak Nam Pho in Nakhon Sawan province and on to Bangkok. Because of its strategic location, Kat (meaning market) Kong (street) Ta (pier) grew into a flourishing trading community where locals rubbed shoulders with Britons, Burmese, Tai Yai (Thai-speaking ethnic group from Shan state), Indians and Chinese.

Kat Kong Ta became a melting pot of foreign cultures largely because big trading companies like Bombay Burmah, British Borneo, East Asiatic, Siam Forest and Louise T. Leonowens all had their employees positioned here to operate their teak concessions. They also hired Burmese men to look after their interests. Many Burmese headmen who worked for these companies later became very wealthy and influential.

There were Burmese merchants who sold clothes, lacquerware, medicinal herbs and other forest products as well. In effect Lampang's economy in the late 19th century to the first two decades of the 20th century was practically in the hands of the Burmese. Chinese traders subsequently took over as they began ferrying goods and imported merchandise from Bangkok for sale to locals and Westerners. Not before long they amassed enough fortune to build shophouses fronting the street with depots at the back bordering the river. Because of large Chinese presence, the business community along the Wang River came to be known as Talad Chin, or the Chinese market, until the name was changed to Talad Kao (old market) to reflect the pro-nationalist policy advocated by Field Marshal Plaek Pibulsongkram's government.


Since 2005 the street market has become a regular event at Kat Kong Ta every weekend.

With the arrival of railways in 1915, river trade soon lost prominence. Floating timbers and traditional freight boats disappeared from the river and the bustle of Talad Kao died down. As trains became a more popular means of travel and cargo transportation, new communities sprang up in the neighbourhood of the railway station. Sop Tui, Sathanee Rod Fai and Gao Jao eventually took over from Talad Kao as Lampang's new centres of trade and commerce.

A PEDESTRIAN STREET WITH A DIFFERENCE

The Burmese and Chinese who became rich and successful left behind a magnificent legacy in the form of distinctive row houses and private residences in Kat Kong Ta. Today various architectural marvels can still be found on both sides of the street and in the flanking alleys.

Kittisak Hengsadeekul, an avid architectural conservationist and a native of Lampang, pointed out some differences between Kat Kong Ta buildings and Lampang's vernacular structures.

Notably the latter are made chiefly of teak wood and roofed with terracotta tiles. Floors are raised high above the ground over large open spaces. Typically they are living quarters with connecting passages sitting in large compounds with plenty of trees for shade.

Those at Kat Kong Ta, on the other hand, are more often blocks of structures huddling together, facing the street to allow easy access for customers. Sometimes bricks and mortar were used for reinforcement. Wooden ban fiem (accordion doors) are a common feature.


Lampang is known for ceramics, but the province has more to offer in terms of souvenirs.

No wonder Kat Kong Ta provides an exceptional setting for a walking street fair, an idea initially sponsored by the Tourism Authority of Thailand (TAT) and run by the Lampang municipality in 1998. The project was part of a bigger effort to preserve the aesthetic and historical values of this old downtown area. However the first and subsequent fairs failed to catch on.

UNDAUNTED COMMUNITY SPIRIT

It was not until 2005 when the challenge to revitalise Kat Kong Ta was taken up again - this time by those who live in the community themselves. Since then the street market has become a regular event that breathes life into Kat Kong Ta every weekend. Underlying this sustainable achievement is community empowerment with the blessing of the local authority. According to Kiatichai Manasin, Kat Kong Ta's chief of operations, "We took management of the market into our own hands, everything from publicity, zoning, regulations and rentals to security and sanitation. Our experience as relief volunteers proved very helpful. Other communities were so inspired they came to learn from us."

While tourists are always welcome, the community's earnest aspiration is to have Kat Kong Ta serve as a social and cultural space for the local people and by the local people. As such, Kat Kong Ta will be a public venue where the like-minded can meet and share their ideas, showcase or even sell handicrafts and works of art. Exciting plans include literary talks, musical and dance performances, theatres as well as workshops of contemporary and traditional arts and crafts such as short film making, hand-made book making, paper (traditional streamers) and paper (traditional lantern) making.


Moung Ngwe Zin building is one of five architectural heritages that won the Association of Siamese Architects’ awards for conservation.

The idea of social and cultural space was taken further beyond occasional street activities and events when the Niyom Patamasevi Foundation opened Patamasevi Learning Centre in 2007 and Lampang Arts Centre in 2010. The Learning Centre occupies part of 100-years-old Fong Lee Building and a newly built annex while the Arts Centre takes up the entire complex of a graceful traditional Lanna house just next door.

Their long-term ambition is to conserve and hand down Lampang's heritage to future generations through a variety of activities. The Learning Centre takes local kids on a sight-seeing trip once a month, giving them a first-hand opportunity to learn and appreciate the history, culture and popular wisdom of their home province. The Arts Centre, meanwhile, regularly holds exhibitions and workshops where salah or great folk artisans are invited to impart their skills to interested groups of people.

THE FRUIT OF DEDICATION

Kat Kong Ta market is the only one to have received five prestigious awards from the Association of Siamese Architects.

Built in 1919, Baan Sinanon was cited for Outstanding Architectural Conservation in 2005, picking up the top award in the residence houses category.

Two years later the Moung Ngwe Zin Building (1908) and the traditional Thai house (now the Arts Centre) were awarded Outstanding Architectural Conservation, in the Lanna architecture category.


Shop till you drop and refill yourself with the numerous traditional northern delicacies on offer along the road.

Link : http://www.bangkokpost.com/lifestyle/family/240166/echoes-of-a-bygone-era
 
#1,742 ·
นอกจากนี้เซ็นทรัลพัฒนายัง เตรียมลงทุนในสาขารอบนอกและต่างจังหวัดอีก 10 แห่ง ซึ่งล้วนเป็นตลาดที่มีอนาคต กำลังซื้อสูง มีไลฟ์สไตล์ และดีมานด์ไม่ต่างจากกรุงเทพฯ

^^^ รีบมาเร็วๆ น่ะ CPN รออยู่ :)

=================================================================

“เซ็นทรัล” กางปีก ใหญ่ทั้งใน-โตทั่วโลก
โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ 2 มิถุนายน 2554 11:26 น.


ทศ จิราธิวัฒน์

โลกห้างสรรพสินค้า หลังเซ็นทรัลฮุบ ห้างหรู “ลา รีนาเซนเต” ประเทศอิตาลี จิ๊กซอว์สำคัญที่ทำให้ยุทธศาสตร์กลุ่มเซ็นทรัลถูกเติมเต็ม พร้อมจะสยายปีกโตไปทั่วโลก ด้านในประเทศไทยพร้อมขยายอาณาจักรต่อเนื่องด้วยการปูพรมสาขาใหม่ทั้งใน กรุงเทพฯและต่างจังหวัดนับ 10 แห่ง รวมถึงการรีโนเวตปรับโฉมครั้งใหญ่สาขาเดิมเร้าอุณหภูมิการแข่งขันยิ่งขึ้น

หากจะบอกว่าตลาดค้าปลีกเมืองไทยวินาทีนี้ดูจะเล็กเกินไปสำหรับ “ทศ จิราธิวัฒน์” และ “เซ็นทรัลรีเทล” คงจะไม่ผิด เพราะหากดูจากภาพรวมตลาดค้าปลีกเมืองไทยวันนี้ แม้จะยังมีโอกาสเติบโตในทิศทางที่ดี แต่หากเทียบกับตลาดค้าปลีกในต่างประเทศ ถือได้ว่าตลาดต่างประเทศยังเป็นน่านน้ำสีคราม ที่ยังมีโอกาสให้กลุ่มเซ็นทรัล สามารถขยายการเติบโตได้อย่างมหาศาลกว่ามาก

ดังนั้น จะมีเหตุผลอันใด ที่เซียนค้าปลีกอันดับ 1 ของเมืองไทย จะปล่อยโอกาสนี้ให้หลุดมือไปง่ายๆ

มิลาน ประเทศอิตาลี คือ น่านน้ำผืนใหม่ ที่เซ็นทรัลรีเทล กำลังจะปักหมุดความเป็นแบรนด์คนไทยลงไปให้ทั่วโลกได้เห็นศักดา หลังจากก่อนหน้านี้ได้เข้าไปชิมลางปักฐานธุรกิจค้าปลีกในจีนมาแล้ว

“การเข้าซื้อกิจการห้างสรรพสินค้า ลา รีนาเซนเต ด้วยเม็ดเงินกว่า 10,000 ล้านบาทในครั้งนี้ จะเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่ในวงการค้าปลีกไทย และเซ็นทรัลรีเทล เนื่องจากเป็นการก้าวกระโดดขยายฐานเข้าไปในยุโรป ซึ่งเป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่างมาก”

เป็นคำกล่าวของ ทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ถึงย่างก้าวสำคัญทั้งของวงการค้าปลีกไทยและเซ็นทรัลรีเทลฯ

การเข้าซื้อกิจการห้างหรูครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายการขยายธุรกิจด้วยกลยุทธ์การลงทุน (Strategic Investment) โดยการซื้อและควบรวมกิจการ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การซื้อแบรนด์ และตำแหน่งทางการตลาดของห้างที่ดีเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงได้การบริหารจัดการทีมที่ดีด้วย

ทศ อธิบายถึงแบรนด์และตำแหน่งทางการตลาดของห้างสรรพสินค้า ลา รีนาเซนเต ว่า ลา รีนาเซนเต ถือเป็นห้างสรรพสินค้าสุดหรูชื่อดังอันดับ 1 ของอิตาลี และเป็นห้างที่ดีที่สุดห้างหนึ่งในทวีปยุโรป ทั้งอยู่ศูนย์กลางชั้นนำของโลกแฟชั่น และเปิดกิจการมานานกว่า 150 ปี ขณะที่โพซิชันนิ่งของห้างอยู่ในระดับลักชูรี ดังนั้น การได้ห้างหรูแห่งนี้มาอยู่ในพอร์ตโฟลิโอ เท่ากับช่วยเซ็นทรัลเข้าสู่การแข่งขันตลาดระดับโลกง่ายขึ้น

“แบรนด์ชั้นนำของโลกส่วนใหญ่ไม่อยู่ในเมืองมิลาน ก็จะอยู่ฝรั่งเศส การซื้อห้างหรูนี้ก็เท่ากับเราบรรลุผลครึ่งทางแล้ว มีห้างหรูทันทีใจกลางเมืองแฟชั่นของโลก เหมือนเมืองไทย ใจกลางเมืองก็ต้องสีลม เพลินจิต”

เซ็นทรัลรีเทลมีเป้าหมายจะทำให้แบรนด์ ลา รีนาเซนเต เป็นแบรนด์ระดับโลก (Global Brand) โดยได้วางแนวทางโปรโมตให้เป็นที่รู้จัก และคาดภายใน 5 ปี ลา รีนาเซนเต จะเป็นแบรนด์ที่โด่งดังทั้งในยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชีย และจีน

สำหรับแผนการขยายสาขานับจากนี้ นอกจากสาขารวมที่มีอยู่ 11 สาขาปัจจุบัน ยังมีแผนจะขยายสาขาเพิ่มอีก 2 แห่ง ที่โรมและเวนิส โดยคาดว่าเวนิสจะเป็นลักษณะการเช่าอาคาร ส่วนที่โรมมีความเป็นไปได้ที่จะซื้อสังหาริมทรัพย์เพื่อนำมาปรับปรุงเป็น ห้างสรรพสินค้า ซึ่งหากทำการเปิดสาขาใหม่ได้เร็ว คาดว่าจะใช้เวลาคุ้มทุนประมาณ 8-10 ปี

พร้อมกันนี้ยังมีแผนที่จะใช้ลา รีนาเซนเต เป็นฐานต่อยอดการเติบโตให้กับซัปพลายเออร์ของเซ็นทรัลรีเทล ที่มีอยู่ 5,000 ราย เติบโตไปพร้อมกัน โดยช่วงแรกจะยังไม่ผลีผลาม ขอมีซัปพลายเออร์ประมาณ 100-200 รายที่มีศักยภาพเข้าไปทำตลาดเท่านั้น

เซ็นทรัลรีเทลมองว่าตลาดค้าปลีกในอิตาลีแข่งขันไม่รุนแรง เพราะผู้เล่นตรงในตลาดมีจำนวนไม่มาก อีกทั้งการสร้างตึกใหม่ทำได้ยาก เนื่องจากตึกส่วนมากเป็นตึกโบราณ ทำให้คู่แข่งส่วนมากจะเป็นคู่แข่งทางอ้อมโดยเป็นร้านค้าขนาดเล็กที่ตั้งข้าง ทาง แต่ก็ไม่หวั่น โดยเชื่อว่าจากแนวทางการพัฒนาพื้นที่ห้างฯ ต่อเนื่องจากนี้ไป จะทำให้ยอดขายของห้างฯ เติบโตเพิ่มขึ้น โดยปีแรกคาดว่าจะมีรายได้ 15,000 ล้านบาท ทำให้รายได้ของเซ็นทรัลรีเทล ปีนี้เติบโตขึ้น 15% ทันที จากปีนี้ที่คาดว่ายอดขายจะอยู่ที่ 100,000 ล้านบาท เป็น 115,000 ล้านบาท

พร้อมกันนี้ยังทำให้เซ็นทรัลรีเทลฯ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายของห้างสรรพสินค้าจาก 4 แบรนด์ ได้แก่ เซ็นทรัล ซึ่งปัจจุบันกำลังมีการปรับปรุงพื้นที่หลายสาขา ในชั้นกราวนด์, เพิ่มลักชูรีแบรนด์มากขึ้น ขณะที่เซนมีแผนจะเปิดในเดือนพฤศจิกายน ส่วนโรบินสัน วางตำแหน่งเป็นห้างที่เสิร์ฟได้ทุกกลุ่ม และลา รีนาเซนเต

ทั้งหมดทั้งมวลแล้ว ก็คือ การเติบโตที่แข็งแกร่งทั้งในและนอกประเทศของเซ็นทรัลรีเทลในวันนี้และอนาคต

ปูพรมสาขาใหม่
รีโนเวตใหญ่สาขาเดิม

วันนี้เซ็นทรัลแม้ว่า จะต้องการโตมากขึ้นในตลาดต่างประเทศ แต่การเติบโตภายในประเทศเป็นสิ่งที่เซ็นทรัลได้ตั้งเป้าหมายเดินหน้าลงทุน สาขาใหม่ เพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ยิ่งขึ้น

สิ่งที่จะเห็นคือการรุกอย่างหนักของกลุ่มเซ็นทรัลนับจากปีนี้จนถึงปี 2557 ด้วยเม็ดเงินหลายหมื่นล้านบาท

ในช่วงครึ่งปีหลังนี้เซ็นทรัล พัฒนา ผู้ถือหุ้นใหญ่ในเซ็นทรัลรีเทล มีแผนที่จะเปิดศูนย์การค้าใหม่อีก 2 แห่งที่พิษณุโลกและพระราม 9 นอกจากนี้ยังมีแผนเปิดศูนย์ใหม่ 2 แห่ง ที่สุราษฎร์ธานีและเชียงใหม่ในปี 2555 และ 2556 ซึ่งจะส่งผลให้ศูนย์การค้าเพิ่มขึ้น 25% หรือกว่า 2 แสนตารางเมตร

ไม่เพียงเท่านั้น เซ็นทรัลพัฒนามีแผนพัฒนาโครงการสวนลุมไนท์บาซาร์ เพื่อพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ทั้งศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน และโรงแรมในอนาคต ในรูปแบบโมเดล “มิกซ์ยูส”

นอกจากนี้เซ็นทรัลพัฒนายัง เตรียมลงทุนในสาขารอบนอกและต่างจังหวัดอีก 10 แห่ง ซึ่งล้วนเป็นตลาดที่มีอนาคต กำลังซื้อสูง มีไลฟ์สไตล์ และดีมานด์ไม่ต่างจากกรุงเทพฯ

ส่วนการปิดปรับปรุงสาขา ลาดพร้าวและห้างเซนนั้น จะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 3 ซึ่งเมื่อมีการเปิดตัวขึ้นอีกครั้ง รายได้ของกลุ่มเซ็นทรัลจะเพิ่มขึ้นและเติบโตขึ้นทันที

ยิ่งไปกว่านั้น เซ็นทรัลพัฒนาพร้อมทุ่มเงินถึง 1,000 ล้านบาทปรับโฉมครั้งใหญ่ให้กับเซ็นทรัล บางนา เพื่อรับมือการแข่งขันของศูนย์การค้ากรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก และตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ของกลุ่มลูกค้า โดยเซ็นทรัลมีที่ดินเหลือประมาณ 8 ไร่ด้านหลังของศูนย์บางนา และเตรียมจะนำมาพัฒนาเป็นอาคารจอดรถและปรับพื้นที่ลานจอดรถเดิมเป็นพื้นที่ ขายสำหรับร้านค้าที่ต้องการเข้ามาเปิด

รวมถึงการดึงร้านค้าขนาดใหญ่ ที่จะเข้ามาเป็นแม็กเน็ตเสริมให้กับเซ็นทรัล บางนา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา คาดว่าจะแล้วเสร็จและพร้อมเปิดเต็มรูปแบบปลายปีหน้า โดยจะมีการแบ่งการลงทุน 2 ช่วง คือเริ่มในปีนี้ 500 ล้านบาท และปีหน้าอีก 500 ล้านบาท

Link : http://www.manager.co.th/mgrWeekly/...540000067247&Keyword=%e0%ab%e7%b9%b7%c3%d1%c5
 
#1,746 ·
ลำปางแถลงพร้อมหาดใหญ่ครับไม่นานเกินรอ อิอิ

เรามาปิดซอยเลี้ยงพร้อมกันดีกว่า ขอไส้อั่วหนึ่งจานครับ :bowtie:
^^ ไส้อั่ว แล้วก็แหนม แคบหมู น้ำพริกหนุ่ม ด้วยม่ะครับ จะได้ครบเซ็ท...55+
 
#1,748 ·
ยินดีกับชาวลำปางและหาดใหญ่ล่วงหน้าเลยนะครับ

ปล ได้แต่ยินดีกับจังหวัดโน้นจังหวัดนี้ เมือ่ไรบ้านผมจะได้จุดพลุฉลองกับเค้าบ้างนะ อิอิ
 
#1,749 ·
ลำปางแถลงพร้อมหาดใหญ่ครับไม่นานเกินรอ อิอิ

เรามาปิดซอยเลี้ยงพร้อมกันดีกว่า ขอไส้อั่วหนึ่งจานครับ :bowtie:
รอร้อรอออ มานานน๊านนานน เลยครับ หวังว่าจะมีข่าวดีพร้อมหาดใหญ่เช่นกันครับ :D
 
#1,750 ·
เมื่อคืนได้พูดคุยกันในเซ็นทรัลเชียงราย ว่าจะมีการก่อสร้างสาขาลำปางในปลายปีนี้นะครับ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีตามกระแสข่าวที่มีการขยายสาขา ซึ่งฟังหลายๆ คนพูดกันเริ่มหนาหูขึ้นเรื่อยๆ ก็ขอแสดงความยินดีกับในภาคเหนืออีก 1 สาขาใหม่ครับ :)
 
#1,751 ·
ว้าววว ข่าวดีจริงๆ
 
#1,752 · (Edited)
อัพเดทข่าว CPN จากห้องหาดใหญ่ ตามลิงค์ด้านล่างนี้ครับ...

http://www.google.co.th/url?sa=t&sou...eSbsUId3CJiJgQ

ส่วนรายระเอียดของโครงการใหม่และกำหนดการเปิดตามรูปด้านล่างนี้ครับ :)





ปล.1 เซ็นซ่าลำปาง ถ้าแถลงข่าวพร้อมหาดใหญ่ และเริ่มก่อสร้างปลายปีนี้หรือเร็วกว่านั้นตามข่าว
ก็น่าจะเปิดได้ใน Q3 ก่อนหาดใหญ่ที่มีกำหนดเปิดใน Q4 ปีหน้่า ตามรูปข้างบนเลยครับ...
และจะเป็น 1 ใน 10 สาขาใหม่ของ CPN ในเมืองไทย ซึ่งจะทยอยเปิดกันในช่วงปี 2013-15 ครับ :)

ปล.2 10 สาขาใหม่ของ CPN ที่เป็นข่าว 1.ลำปาง 2.หาดใหญ่ 3.ลุมพินี 4.เชียงใหม่2
อีก 6 สาขามาลุ้นกัน...ว่าที่ไหนกันบ้าง...อาจจะเป็นที่...

ภาคเหนือ นครสวรรค์
ภาคตะวันออก ระยอง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา อุบลราชธานี
ภาคใต้ เดายากหน่อยอาจจะเป็น เพชรบุรี ประจวบฯ(หัวหิน) นครศรีฯ ภูเก็ต2 สมุย
 
#1,754 ·
โอมเพี้ยง ขอให้นครสวรรค์เข้ารอบ 1ใน10 จังหวัดสุดท้ายที่โชคดีด้วยเถิด :)

ส่วนลำปาง คุณได้สิทธิ์นั้นเดี๋ยวนี้
 
#1,755 ·
โอมเพี้ยง ขอให้นครสวรรค์เข้ารอบ 1ใน10 จังหวัดสุดท้ายที่โชคดีด้วยเถิด :)

ส่วนลำปาง คุณได้สิทธิ์นั้นเดี๋ยวนี้
^^^^^^ ผมชอบกดไลค์ล้านครั้ง:lol:
 
#1,756 ·
สำนักข่าวเนชั่น : อำเภอแม่เมาะ ลำปาง เตรียมผุดศูนย์กลางซากฟอสซิล ขนาดใหญ่ และสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย ใช้งบจากกองทุนรอบโรงไฟฟ้าดำเนินการ คาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ระดับประเทศ

ลำปาง - 9 มิ.ย.54--นายวีระกิตติ์ อินทรประสิทธิ์ นายอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางอำเภอแม่เมาะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอแม่เมาะ เตรียมพัฒนาให้อำเภอแม่เมาะให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ของจังหวัดลำปาง โดยชูจุดเด่นเป็นศูนย์กลางซากฟอสซิล ที่สมบูรณ์ที่สุดในในประเทศไทย โดยจะใช้งบประมาณจากกองทุนรอบโรงไฟฟ้า จังหวัดลำปาง ที่จะจัดสรรให้อำเภอแม่เมาะประมาณ 25 ล้านบาท ต่อเดือน ในการสร้างศูนย์ ซึ่งคาดว่าหากศูนย์ ดังกล่าวข้างต้น เกิดขึ้น จะจุดขายและจุดเด่น ในการ ดึงนักท่องเที่ยว เข้ามาท่องเที่ยว ในอำเภอแม่เมาะและจังหวัดลำปาง

สำหรับอำเภอแม่เมาะเป็นอำเภอที่มีการทำเหมืองลิกไนต์และนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า และเป็นเหมืองถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นอกจากนักท่องเที่ยวจะสามารถ ชมศูนย์กลางซากฟอสซิล ที่สมบูรณ์ที่สุดในในประเทศไทย แล้ว จะได้พบกับการทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์ขนาดใหญ่ ชมรถขุดแร่สูงเท่าตึก 3 ชั้น รถขนแร่ขนาด 100 ตัน ซึ่งใช้ยาง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร นอกจากนี้อำเภอแม่เมาะยังมีสนามกลอฟ์ ที่ได้มาตรฐาน โรงแรมที่พัก ดัดแปลงจากแฟลตพักพนักงานการไฟฟ้ากลายมาเป็นโรงแรมรับรองที่ได้มาตรฐาน สวนพฤษชาติต้นไม้นานาชนิด พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา พิพิธภัณฑ์ที่ทันสมัยแห่งหนึ่งของประเทศไทย ห้องชมภาพยนตร์ระบบสามมิติเรื่องการกำเนิดถ่านหิน และการจัดแสดงซากฟอสซิลพืชและสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่ขุดค้นพบที่เหมืองแม่เมาะ มีการจำลองช้าง 4 งา และจำลองบรรยากาศในบ่อเหมืองพร้อมทั้งเรื่องราวเกี่ยวกับการทำเหมืองและการกำเนิดถ่านหิน ชิมอาหารอร่อย อาหารออแกนิก ผักปลอดสารพิษจากศูนย์การเรียนรู้อำเภอแม่เมาะ ตามโครงการพระราชดำริฯ เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเชื่อว่า แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ระดับประเทศ
 
#1,760 ·
ตกลงว่า โครงการเซ็นทรัลสุราษฏ์ฯ ไม่นับรวมอยู่เป็น 1 ใน 10 ที่ CPN. จะมีโครงการเปิดในอนาคตปี 2013-2015ตามข่าว ใช่ป่ะสรุปคือ ในปี 2012 จะมีเปิดได้ที่ สุราษฏ์ธานี ลุมพินี ลำปาง และหาดใหญ่หรอครับ. แบบนี้ ช่วงปี 2013-2015 จะเหลืออีกสาขาหรอ งง แล้วสิ
 
Top