SkyscraperCity Forum banner

Our Neighbour | Myanmar

822K views 4K replies 133 participants last post by  Wisarut 
#1 ·
a.k.a. Burma.
This from my trip in December last year

View from the guesthouse


I think they were a little overconfident of their buffet qualities, but it was a good place to stay :)


Burmese fashion. Many people had their wallets stuffed into the back of the longyi, very visible. No worries!




A funky treehouse in Yangoon


No Coca Cola, Fanta or any of the familiar brands available. This is Fruito.


No Burger Kings or Starbucks either. This is slightly similar to.. what was it.. I think I have seen it before.


If I had to name five of the most amazing sights I've seen with my own eyes this would be one. Bagan and the Eiffel Tower would also be on the list.
 
See less See more
8
#502 ·
สาละวินโพสต์รายงาน หิมะตกหนักที่ "รัฐคะฉิ่น" ชายแดนด้านเหนือของ "พม่า"

Matichon วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554 เวลา 22:30:00 น.


เว็บไซต์นิตยสารสาละวินโพสต์ (http://www.salweennews.org) รายงานว่า หิมะที่กำลังตกหนักตรงบริเวณหุบเขาปันวา ในรัฐคะฉิ่น ใกล้กับชายแดนจีน กำลังส่งผลกระทบให้อาคารบ้านเรือน รวมถึงสำนักงานศุลกากรของทางการพม่าพังเสียหายหลายหลัง และทำให้การเดินทางสัญจรไปมาเป็นไปอย่างยากลำบาก


"เราไม่เคยเจอเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน หิมะตกอย่างกับฝนตกหนัก นั่นจึงทำให้อาคารหลายหลังพังเสียหายลงมา แม้จะยังไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ แต่ก็มีการปิดกั้นไม่ให้ประชาชนเดินทางเข้าออกตรงบริเวณที่เกิดเหตุแล้ว" ชาวบ้านในพื้นที่กล่าว


ขณะที่การเดินทางสัญจรไปมาในเมืองชีพวย เมืองที่อยู่ถัดไปก็เป็นไปอย่างทุลักทุเลเช่นกัน เนื่องจากตามถนนเต็มไปด้วยหิมะและลูกเห็บ มีรายงานเช่นกันว่า ผู้สูงอายุเป็นจำนวนมากในเมืองบ่าหม่อเกิดอาการช็อก เป็นเพราะอุณหภูมิที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง


ด้านนายทุน ลิน จากกรมอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยาในย่างกุ้งรายงานเมื่อต้นเดือนนี้ว่า มวลอากาศเย็นจะปกคลุมทางตอนเหนือของรัฐคะฉิ่นอย่างต่อเนื่องระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม โดยอุณหภูมิในพื้นที่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ขึ้นอยู่กับความเร็วลมและทิศทางลมจากพื้นที่สูงในประเทศจีน


มีรายงานเช่นเดียวกันว่า นับตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคมปีที่แล้วถึงเดือนมกราคม พื้นที่สูงทางภาคตะวันตก ภาคเหนือและภาคตะวันออกของพม่ามีอากาศหนาวเย็นต่อเนื่อง โดยในเมืองฮักคา เมืองมินดาด ในรัฐชิน เมืองหลอยแหลมและเมืองป๋างโหลง ทางใต้ของรัฐฉานพบว่ามีอุณหภูมิติดลบในตอนกลางคืนด้วยเช่นกัน

 
#503 ·
ออง ซาน ซู จี ได้รับอนุญาตให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้แล้ว

ย่างกุ้ง 21 ม.ค.-นางออง ซาน ซู จี สัญลักษณ์ประชาธิปไตยของพม่า ได้รับอนุญาตให้ติดตั้งอินเทอร์เน็ตที่บ้านได้แล้ว หลังจากที่รัฐบาลทหารพม่ายกเลิกการกักบริเวณเมื่อ 2 เดือนก่อน

นายวิน เทียน หัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยของนางซู จี เปิดเผยว่า เธอดีใจที่จะสามารถเข้าสู่โลกออนไลน์จากบ้านพักริมทะเลสาบกรุงย่างกุ้งและจะใช้เทคโนโลยีนี้ติดต่อกับเครือข่ายผู้สนับสนุน อย่างไรก็ตาม นางซู จี ยังไม่ได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในเวลานี้เนื่องจากไม่สบาย

ก่อนหน้านี้ เป็นที่เชื่อว่านางซู จี ไม่เคยใช้อินเทอร์เน็ตมาก่อน แต่เธอได้แสดงความสนใจที่จะใช้งานเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น ทวิตเตอร์และเฟซบุคเพื่อเข้าถึงคนหนุ่มสาว

รายงานระบุว่า นางซู จี สมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตกับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง หลังจากที่เธอได้รับการปล่อยตัวได้ไม่นาน แต่คำร้องของเธอได้ถูกโอนไปให้กับบริษัทยาตานาร์พอน เทเลพอร์ต ซึ่งดำเนินการโดยกองทัพพม่า

กฎหมายของพม่ากำหนดให้พลเมืองจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลจึงจะสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตจากที่บ้านได้ ซึ่งนายวิน เทียน กล่าวว่า นางซู จี สมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตโดยใช้ชื่อตัวเองเพราะต้องการใช้อีเมล สหภาพโทรคมนาคมนานาชาติซึ่งเป็นหน่วยงานของสหประชาชาติ นครเจนีวา รายงานว่า ในปี 2552 มีชาวพม่าเพียง 1 คน จากทุก ๆ 455 คน ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตบางรายเชื่อว่ารัฐบาลพม่าตั้งใจให้การทำงานของอินเทอร์เน็ตล่าช้าก่อนการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 20 ปีเมื่อเดือนพฤศจิกายน ขณะที่ผู้ใช้บริการอีกเป็นจำนวนมากเกรงว่ารัฐบาลตรวจตราการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเข้มงวด.-สำนักข่าวไทย

MCOT วันศุกร์ ที่ 21 ม.ค. 2554
 
#504 ·
พม่าโอ่ปีที่แล้วทำลายไร่ฝิ่นกว่า 25,000 ไร่ แหล่งเดิมๆ ในรัฐชาน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 มกราคม 2554 12:16 น.


ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ระหว่างเดือน ก.ย.2553 จนถึงวันที่ 13 ม.ค.2554 นี้ เจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ร่วมกันทำลายไร่ฝิ่นได้ 10,117.6 เอเคอร์ (เกือบ 25,600 ไร่) ทั้งหมดอยู่ในเขต 15 เมืองของรัฐชานเหนือ ใต้ และตะวันตก รวมทั้งเขตเมืองเชียงตุง กับอีกจำนวนหนึ่งเขตผลิตพลอยคุณภาพดีที่สุดของโลกใกล้กับเมืองมัณฑะเลย์

แต่ตัวเลขของทางการ แสดงให้เห็นว่า พื้นที่ปลูกฝิ่นลดลงมากในฤดูปัจจุบัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว

โมกก (Mogok) เป็นแหล่งผลิตพลอยคุณภาพดีที่สุดของโลก ชนชาติส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ในเขตเขาห่างไกลออกไป ยังนิยมปลูกฝิ่นในฤดูหนาว แม้จะอ้างว่าปลูกเป็นธรรมเนียมเพื่อใช้ทำยารักษาโรค แต่ก็มีการลักลอบส่งจำหน่ายให้แก่ผู้ผลิตยาเสพติดด้วย

ปีนี้เขตโมกก มีไร่ฝิ่นถูกทำลายไป 97 เอเคอร์ (245 ไร่) หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์กล่าว

เมื่อต้นปีที่แล้วสื่อของทางการ รายงานว่า เจ้าหน้าที่หน่วยต่างๆ ร่วมกันทำลายไร่ฝิ่นได้ 13,319.09 เอเคอร์ (เกือบ 33,700 ไร่) เกือบทั้งหมด กระจายอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับปีนี้ การปฏิบัติการที่เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2552 ดำเนินไปจนถึงสิ้นเดือน ก.พ.2553

ขณะเดียวกัน ในลาว แม้จะยังลักลอบปลูกน้อยกว่าในพม่า แต่ตัวเลขของสำนักงานเพื่อยาเสพติดและอาชญากรรม (UNODC) ระบุว่า ในปลายปี 2553 พบในภาคเหนือของลาวมีการปลูกฝิ่นประมาณ 3,000 เฮกตาร์ (กว่า 17,700 ไร่) แต่คิดเป็นอัตราเพิ่มถึง 58% เมื่อเทียบกับเพียง 1,900 เอเคอร์ (11,875 ไร่) ในปี 2552

ลาวจึงมีอัตราการลักลอบปลูกฝิ่นเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ UNODC กล่าว

เมื่อดูภาพรวมทั่วทั้งภูมิภาคปี 2553 มีการปลูกฝิ่นเพิ่มขึ้นกว่า 20% รวมทั้งในประเทศไทยด้วย UNODC อ้างสถิติของสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของไทย

หน่วยงานของสหประชาชาติแถลงเกี่ยวกับตัวเลขเหล่านี้ในกลางเดือน ธ.ค.2553 จึงยังไม่ได้นับรวมพื้นที่ปลูกอีกจำนวนหนึ่ง ที่มักจะทำกันในช่วงต้นถัดมา

การสำรวจของ UNODC ประมาณว่า ฝิ่นที่ผลิตจากย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อปีที่แล้ว มีมูลค่ารวมกันประมาณ 219 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นราว 100 ล้านดอลลาร์จากปี 2552 คิดเป็นอัตราเพิ่ม 82%

รายงานของ UNODC กล่าวว่า แม้พื้นที่ปลูกฝิ่นในภูมิภาคนี้จะลดลงอย่างมาก หากเทียบกับช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 ที่เคยสูงถึง 160,000 เฮกตาร์ หรือ 1 ล้านไร่ แต่ปี 2549 เป็นต้นมา พื้นที่ปลูกเริ่มขยับขยายออกไปอีก

UNODC ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้การช่วยเหลือประเทศต่างๆ เหล่านี้ตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพม่ากับลาว เพื่อลดพื้นที่ปลูกฝิ่นอันเป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเฮโรอีนลง รวมทั้งใช้มาตรการป้องกัน ส่งเสริมในราษฎรในพื้นที่ห่างไกลปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ เพื่อให้มีรายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น.
 
#505 ·
ป่วยไม่ไหวจะเคลียกับตำแหน่งประธานาธิบดีพม่า เข้าใจว่าปฏิวัติแล้วยังไงมันก็ลงจากอำนาจไม่ได้ ถึงพม่าจะปล่อยให้มีการเลือกตั้งทั่วไปแบบไทยแต่ถ้าได้รัฐบาลไม่ถูกใจทหารก็จะออกมาปฏิวัติแบบไทยชิมิทำให้มันเนียนหน่อยซิ ในจุดนี้ทำไมไม่บอกโลกไปเลยว่าจะเปลี่ยนประเทศจากเผด็จการทหารไปเป็นคอมมิวนีส ยังไงก็ให้ทหารคุมสภาไม่ต้องมาเสียเวลาเลือกตั้งแบบนี้ มันจะง่ายกว่ามาบอกโลกว่ามีการเลือกตั้งแต่ก็ยังเอาตำแหน่งลากตั้งเข้าไปอยู่ในสภาเพียบ แถมนับคะแนนเลือกตั้งตอนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินภายในให้ทหารคุมอีก ไม่ต้องมาเอาการปกครองประเทศไทยไปเป็นต้นแบบถ้าเนียนไม่เท่า ไปเอาคอมมิวนีสของจีนมาแทนจะดีกว่าในเมื่อพม่าก็แบ่งรัฐแบบจีน มีชนกลุ่มน้อยก็ให้เค้าเป็นเขตปกครองตัวเองไปซิ 2 ประเทศ 1 มาตราฐาน แบบ จีน=ฮ่องกง ถ้าพม่าคิดจะเอาไทยเป็นต้นแบบมันจะเป็นระบบ 1 ประเทศ 2 มาตราฐาน
 
#507 ·
จีน กับฮ่องกงเขาเรียกว่า 1 ประเทศ 2 ระบบไม่ใช่เหรอครับ One country, two systems

一国两制[一國兩制]
 
#508 ·
^^
ถูกละครับ 1 ประเทศ 2 ระบบ แต่พอดีผมเห็นว่าฮ่องกงมีผู้นำอะไรเป็นของตัวเองหมด
แล้วก็ไม่รู้ว่าจะคิดคำอะไรสวยๆ ดีน่ะครับ ให้มันตัดกับ 1 ประเทศ 2 มาตราฐาน ก็เลยตั้งใจเขียนไปแบบนั้นเลย
 
#509 ·
ส่องทะเลและสรรพชีวิตใต้ทะเล @ พม่า
จัดให้อันเนื่องมาจากพม่ามาช่วยขอให้เชียงใหม่เป็นพี่เลี้ยงเรื่องการท่องเที่ยว
































พม่าครับ เปิดประเทศแล้วช่วยห่วงทรัพยากรธรรมชาติให้มากถึงมากที่สุดนะครับ บางอย่างมีที่ทะเลอันดามันของพม่าเท่านั้น สำหรับการเข้าไปเที่ยวทะเลและหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลน่านน้ำของพม่า ไม่จำเป็นต้องเดินทางขึ้นมาทางเหนือของไทยครับ ท่านสามารถเดินทางเข้าได้ตั้งแต่ ภาคเหนือ ภาคกลาง และ ภาคใต้ของประเทศไทยได้เลย

 
#511 ·
รางวัลบันเทิงพม่า งดแจกรางวัลนักแสดงหญิง หลังดาราสาวจัดงานแต่งเกินหน้าลูกสาว "ตานฉ่วย"


เว็บไซต์นิตยสาร "สาละวิน โพสต์" (www.salweennews.org) รายงานข่าว การประกาศผลรางวัลบันเทิงพม่าประจำ 2552 แต่เพิ่งจัดขึ้นที่กรุงเนปีดอว์ เมื่อวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา ปรากฏว่า เนโท ดาราดาวรุ่งพม่าสามารถคว้ารางวัลดารานำชายยอดเยี่ยมประจำปี 2552 ไปครองได้สำเร็จตามคาด ขณะที่โซปี๊ ตาสิ่น สามารถคว้ารางวัลนักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า ปีนี้คณะผู้จัดงานงดแจกรางวัลสำคัญอย่างรางวัลดารานำหญิงยอดเยี่ยมและรางวัลนักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม


เพีย ตี้ อู และ อินดรา จ่อ ซิน ที่เพิ่งเข้าวิวาห์เมื่อวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา

ส่วนหนังเรื่อง “อะเต๊ก อิ๊ อะเยก - เงาอดีต” สามารถคว้ามาได้ 2 รางวัล คือรางวัลบันทึกเสียงยอดเยี่ยมและรางวัลถ่ายภาพยอดเยี่ยมอีกสาขา ด้านผู้กำกับยอดเยี่ยมตกเป็นของ นายมีปวา จากหนังเรื่อง”ซอก้า ก้า หนี่ดี -เริงระบำ” นอกจากนี้ยังมีการแจกรางวัลในสาขาอื่นๆ เช่น รางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลตัดต่อยอดเยี่ยม รางวัลดนตรีประกอบยอดเยี่ยมและรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

ขณะที่ก่อนหน้านี้ มีการคาดการณ์กันว่า อินดรา จ่อ ซิน นักแสดงหญิงชื่อดังของพม่า น่าจะคว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ประจำปี 2552 แต่ปรากฏว่า ไม่มีการแจกรางวัลนักแสดงนำหญิงและนักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยมแต่อย่างใด ซึ่งก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่งดแจกในปีนี้

อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง ชาวพม่าหลายคนวิพากษ์วิจารณ์กันในโลกอินเตอร์เน็ตว่า น่าจะมาจากสาเหตุที่อินดรา จ่อ ซิน จัดงานแต่งงานใหญ่โตเกินหน้าเกินตาลูกสาวของนายพลอาวุโสตานฉ่วย ซึ่งทำให้ครอบครัวของผู้นำไม่พอใจ จึงทำให้เธอชวดรางวัลในครั้งนี้


อินดรา จ่อ ซิน เป็นนักแสดงหญิงที่ได้รับความนิยมมากในพม่า โดยเธอเพิ่งเข้าวิวาห์กับ เพีย ตี้ อู แฟนหนุ่มในวงการบันเทิงเมื่อวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา โดยงานแต่งงานของทั้งคู่นั้น มีการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่องเมียนมาร์ทีวี และมีนายพลชั้นผู้ใหญ่หลายคนเข้าร่วมงานด้วย

matichon วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554 เวลา 20:33:32 น
 
#512 · (Edited)
พม่าช่างรวยอัศจรรย์ พบน้ำมันในแหล่งบนบกอีกอื้อ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 มกราคม 2554 14:16 น.


ASTVผู้จัดการออนไลน์-- บริษัทร่วมทุนจีน-พม่า พบน้ำมันในบ่อเจาะทดสอบ 2 บ่อในแปลง D ในเขตมาเกว (Magwe) กับ สะกาย (Sagaing) เมื่อปีที่แล้ว พบทั้งน้ำมันดิบและก๊าซในปริมาณที่ผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ และ บริษัทฯ ยังจะต้องเจาะทดสอบอีกหลายบ่อ เนื่องจากมีข้อบ่งชี้ว่ามีโอกาสที่จะพบพลังงานล้ำค่าอีก

บริษัทลูกของกลุ่มซิโนเปก (Sinopec) กลุ่มผู้ผลิตและค้าน้ำมันรายใหญ่จากจีน ได้เซ็นสัญญาแบ่งปันผลประโยชน์กับรัฐวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซพม่า หรือ MOGE (Myanmar Oil and Gas Enterprise) เมื่อปี 2550

ในปี 2553 ที่ผ่านมาได้เจาะทดสอบบ่อที่ 1 กับ บ่อที่ 2 ในหลุมปาโตโลง (Pahtolong) ต่อเนื่อง และ พบมีก๊าซรวมกันประมาณ 909,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต น้ำมันดิบอีกราว 7.16 ล้านบาร์เรล ทั้งนี้เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์

บริษัท Sinopec International Petroleum (Myanmar) จะเจาะทดสอบอีกหลายบ่อในหลุมเดียวกัน ซึ่งมีศักยภาพสูงมากที่จะพบทั้งก๊าซและน้ำมันดิบเพิ่มเติม

มีบ่อน้ำมันที่อยู่ในแผนการเจาะทดสอบจำนวน 42 บ่อ ใน 6-7 หลุมในแล่งมาเกว-สะกาย ซึ่งต้องเจาะลงไปลึกกว่า 20,000 ฟุต

ตามรายงานการเจาะทดสอบในปี 2551 คาดว่าในบ่อที่ 1 ของหลุมปาโตโลง จะผลิตน้ำมันดิบได้วันละ 61 บาร์เรล และ ก๊าซอีกวันละกว่า 5 ล้าน ลบฟ. และบ่อที่ 2 น้ำมันดิบวันละ 30 บาร์เรล ก๊าซอีก 3.5 ล้าน ลบฟ.

บริษัทร่วมทุนต้องเตรียมการอีกหลายด้านก่อนจะนำพลังงานขึ้นมาใช้ได้ รวมทั้งการสำรวจศึกษาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม การปกป้องแหล่งน้ำลำธารในอาณาบริเวณ การกำจัดของเสียอย่างปลอดภัย รวมทั้งป้องกันการรั่วไหลด้วย หนังสือพิมพ์ของทางการกล่าว

พม่ารุ่มรวยด้วยน้ำมันดิบและก๊าซ มีทั้งแหล่งในอ่าวเมาะตะมะทางตอนใต้ และ ในทะเลเบงกอลนอกชายฝั่งรัฐระไค (Rakhine) หรือ "ยะไข่" นอกจากนั้นยังมีแหล่งบนบกอีกนับสิบแหล่งที่กำลังอยู่ระหว่างการสำรวจ โดยบริษัทจีน อินเดีย เกาหลี และรัสเซีย.

 
#514 ·
เปิดพิมพ์เขียวท่าเรือทวาย เมกะโปรเจ็กต์ 5.8 หมื่นล้านเหรียญ

วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4283 ประชาชาติธุรกิจ


นับจากปลายปีที่ผ่านมาโครงการ "ท่าเรือน้ำลึกทวาย" สหภาพพม่า ที่ "อิตาเลี่ยนไทย ดีเวล๊อปเมนต์" บริษัทมหาชนยักษ์ใหญ่วงการรับเหมาก่อสร้างได้รับสัมปทานที่ดินนาน 75 ปี กลายเป็นเมกะโปรเจ็กต์ที่ถูกจับตามองมากที่สุดแห่งหนึ่ง ด้วยขนาดโครงการครอบคลุมพื้นที่ 250 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2 แสนไร่ มีเม็ดเงินที่จะต้องเข้าไปลงทุนหลายหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

ว่ากันว่าหากท่าเรือทวายเริ่มเปิดใช้จะกลายเป็นประตูเชื่อมเศรษฐกิจระหว่างโลกฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก ซึ่งประเทศไทยก็จะได้รับอานิสงส์จากโครงการนี้ด้วย โดยหนังสือพิมพ์ Newyork Time เคยระบุว่า...โครงการท่าเรือน้ำลึกทวายจะเป็นโปรเจ็กต์ที่เปลี่ยนแปลงสหภาพพม่า

ก่อนหน้านี้อิตาเลี่ยนไทยฯ ในฐานะผู้รับสัมปทาน ได้จัดตั้งบริษัทลูก (จดทะเบียนในสหภาพพม่า) ภายใต้ชื่อ "ทวาย ดีเวลอปเม้นท์" มีทุนจดทะเบียนเบื้องต้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ลักษณะเป็นโฮลดิ้งคอมปะนีที่มีอิตาเลี่ยนไทยฯถือ หุ้น 100% เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายทั้งหมด

พร้อมทั้งมอบหมายให้ "สมเจตน์ ทิณพงษ์" อดีตผู้ว่าการ กนอ. (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) ดีกรีด็อกเตอร์ ที่ผ่านประสบการณ์พัฒนาโครงการนิคมอุตฯ อีสเทิร์นซีบอร์ดมาแล้ว เข้ามานั่งเก้าอี้ประธานกรรมการบริหารโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย เพื่อช่วยสานฝันของ "เปรมชัย กรรณสูต" นายใหญ่อิตาเลี่ยนไทยให้เป็นจริง

แล้วกระบวนการตกผลึกเป็นโครงการท่าเรือทวายมาอย่างไร

ชูทวาย "ฮับภูมิภาคอาเซียน"

ในแง่ทำเลที่ตั้ง อิตาเลี่ยนไทยมั่นใจว่า "เมืองทวาย" น่าจะมีความสามารถเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียนได้ เพราะปัจจุบันแลนด์สเคปทางเศรษฐศาสตร์ของโลกได้เปลี่ยนไปแล้ว อาเซียนกำลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจ ส่วนประเทศจีนขณะนี้มีการสร้างนิคมอุตฯ 30 แห่ง จนเป็นฐานเศรษฐกิจ แห่งที่ 2 ของโลก มี FDI (Foreign direct investment) สูงสุดในโลก คือประมาณกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับสหภาพพม่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาและภูมิภาคนี้ยังคอนซูม (มีการบริโภค) จึงสามารถเป็นจุดยุทธศาสตร์ แต่เรื่องโลจิสติกส์หรือการขนส่งสินค้าต้องดี ทั้งหมดนำมาสู่การทำแผนโครงการท่าเรือทวายที่ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4 อย่างคือ 1) ท่าเรือน้ำลึก 2) คอมเมอร์เชียล และเรสซิเดนเชียลแอเรีย (การค้าขายและที่อยู่อาศัย) 3) อินดัสเทรียลเอสเตท (นิคมอุตสาหกรรม) และ 4) มีทรานส์บอร์เดอร์คอร์ริดอร์ (เส้นทางขนส่งชายแดน)

สำหรับการพัฒนา "ท่าเรือน้ำลึก" จะต้องมี 3 อย่างคือ 1) น้ำต้องลึก 2) เวลาขึ้นต้องมีเกาะบัง 3) ด้านหน้าและหลังท่าเรือต้องมีพื้นที่ราบให้พัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมได้ โดยจะก่อสร้างเป็นท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ ขนสินค้าอย่างแร่เหล็ก ถ่านหิน สินค้าเกษตรต่างๆ ที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ หรือเป็นสินค้าของเหลวอย่างจำพวกสารเคมีหรือน้ำมัน

จากจุดนี้การเดินทางไปมาระหว่างยุโรปจะไม่ต้องไปอ้อมประเทศอินโดนีเซีย ช่วยลดระยะเวลาเดินทางเหลือ 5 วัน ภายในจะมีท่าเรือ 5 ท่า รองรับเรือขนาดใหญ่สูงสุดได้พร้อมกัน 5 ลำ มีอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ 4 อู่ ต่อเรือที่มีความจุได้ถึง 4 แสนตัน ดังนั้นต่อไปก็ซื้อน้ำมันก็สามารถมารับได้ที่นี่และ ปั๊มผ่านท่อมาถึงอีสเทิร์นซีบอร์ด ไม่ต้องอ้อมไปสิงคโปร์ หรืออินโดนีเซีย

จัดโซนนิ่งอุตฯ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ

"นิคมอุตสาหกรรม" จะแบ่งโซนนิ่งเป็น 3 ส่วนคือ 1) อุตสาหกรรมต้นน้ำหรืออุตฯ หนัก ได้แก่ โรงไฟฟ้า โรงเหล็ก โรงกลั่น โรงปุ๋ย ปิโตรเคมี 2) อุตฯ กลางน้ำ อาทิ โรงกระดาษ ฯลฯ และ 3) อุตฯ ปลายน้ำ เช่น โรงผลิตยางรถยนต์ สิ่งทอ ไม้ อาหาร อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ แต่เบื้องหลังคือสหภาพพม่าไม่มีวัตถุดิบและไม่ได้มีความต้องการใช้สินค้าเหล่านี้จำนวนมาก ดังนั้นตลาดคือการผลิตและส่งสินค้าไปขายทั่วโลก และอนาคตก็ต้องมีการสร้างที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่เพื่อรองรับผู้ที่มาทำงานและเกิดการค้าตามมา

นี่คือความต่างที่ยิ่งใหญ่ เพราะไม่เหมือนการสร้างนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดหรือท่าเรือแหลมฉบัง การพัฒนาโครงการตอนนั้นใช้วิธีคำนวณว่า ในอนาคตประเทศไทยจะใช้สินค้า อาทิ พลาสติก เรซิ่น เท่าไหร่ แต่กรณีท่าเรือทวายจะตรงกันข้ามเพราะนิคมฯ ที่นี่จะผลิตเพื่อขายต่างประเทศ ขายตลาดทั้งโลก รวมถึงประเทศไทย

ลงทุน 5.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

โครงการนี้จะใช้งบฯ ลงทุนหลัก ๆ คือ 1) โครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ถนน ใช้งบประมาณ 8,000 ล้านเหรีญสหรัฐ 2) การลงทุนอุตฯ ขนาดใหญ่ที่อิตาเลี่ยนไทยจะหาผู้ร่วมทุน ได้แก่ โรงเหล็ก โรงไฟฟ้า โรงปุ๋ย และโรงปิโตรเคมี รวมกันใช้งบฯ อีกประมาณ 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะได้ข้อสรุป ผู้ร่วมทุนในแต่ละอุตสาหกรรมตั้งแต่ประมาณเดือนเมษายนนี้ โดยทั้งหมดจะต้องเกิดภายในปี 2558

ส่วนผู้ประกอบการคนไทยจะเป็นตัวเลือกแรกหรือไม่ ผู้บริหารโปรเจ็กต์ทวายระบุว่า...คนไทยก็ต้องรักคนไทย ให้คนไทยได้ประโยชน์

โดยขณะนี้อิตาเลี่ยนไทยจะลงทุนเองก่อน โครงการนี้แบ่งเป็น 2 เฟส เฟสแรก 5 ปี (2553-2558) เพื่อรองรับอาเซียน เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต้องรีบทำให้ทัน โรงงาน ต้องประกอบกิจการได้ มีไฟฟ้า ประปาใช้ ก็ต้องพัฒนา อ่างเก็บน้ำเองขนาด 150 ล้านคิวบิกเมตร ทำโรงไฟฟ้าเองขนาดประมาณ 4,000 เมกะวัตต์ ต้องสร้างถนนเองยาว 170 กิโลเมตร สร้างทางรถไฟเอง ขุดเจาะอุโมงค์ 22 แห่ง

เปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ

สำหรับการลงทุนในทวายอาจจะมีคนกล้าๆ กลัวๆ เรื่องความเสี่ยงการลงทุนและความปลอดภัย คำตอบคือโครงการ นี้ "ไฮริสก์ ไฮรีเทิร์น" (เสี่ยงสูงผลตอบแทนสูง) แต่พม่า จะเปิดให้ทวายเป็น "เขตเศรษฐกิจพิเศษ" ซึ่งซีเคียวหรือ ปลอดภัยต่อการลงทุน ล่าสุด ทางอิตาเลี่ยนไทยกำลังยกร่างรายละเอียดการเปิดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเสนอให้รัฐบาลพม่าพิจารณา

คืบหน้า ณ วันนี้ มีการระดมคนเข้าไปแล้ว มีท่าเรือรองรับการขนส่งวัสดุเครื่องมือก่อสร้างแล้ว ประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคมก็พร้อมจะพาไปดู เริ่มต้นจะมีคนเข้าไปทำงาน 60-70 คน แต่ถ้าทั้งโปรเจ็กต์ก็ต้องใช้คนงานเป็นแสนคน

ทางหลวงจ่อสร้างมอเตอร์เวย์ถึงกาญจน์

ในแง่การเดินทางจากโครงการท่าเรือทวายไปถึงชายแดน ฝั่งไทยที่ย่านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี ระยะทาง 160 กิโลเมตร จากย่านพุน้ำร้อน-เมืองกาญจนบุรี ระยะทาง 70 กิโลเมตร และจากจังหวัดกาญจนบุรีเข้ากรุงเทพฯ อีก 160 กิโลเมตร เบ็ดเสร็จรวมระยะทางจากทวายถึงกรุงเทพฯ ประมาณ 390 กิโลเมตร ถือว่าอยู่ในระยะที่ขนส่งได้

ล่าสุด "วีระ เรืองสุขศรีวงศ์" อธิบดีกรมทางหลวงมีโครงการก่อสร้างทาง "มอเตอร์เวย์" อยู่ในแผน เริ่มต้นจาก "บางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี" เป็นถนนฝั่งละ 2 เลน รวม 4 ช่องจราจร ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เส้นทางโครงการมอเตอร์เวย์ที่อยู่ในแผนเสนอ ของบฯก่อสร้าง โดยอยู่ระหว่างการปรับแบบและทบทวนวงเงิน ค่าก่อสร้าง ซึ่งโครงการนี้น่าจะใช้งบฯ ลงทุนประมาณ 2-3 หมื่นล้านบาท

แน่นอนว่าโปรเจ็กต์ท่าเรือทวายก็จะได้รับอานิสงส์ทางอ้อมด้วย

หน้า 2

 
#515 ·
Businesses keen on roads along border with Burma

Bangkokpost Published: 31/01/2011 at 12:00 AM


Business leaders in the country's central region are pushing for more road development along the 2,193-kilometre border with Burma linking Chiang Rai to Chumphon without running through Bangkok and surrounding cities.

Sing Tangcharoenchaichana, who heads the Federation of Thai Industries (FTI) in the central region, said members there were now working with government agencies to push forward a road construction project covering several provinces: Chiang Rai, Chiang Mai, Mae Hong Son, Tak, Kamphaeng Phet, Nakhon Sawan, Uthai Thani, Suphan Buri, Kanchanaburi, Ratchaburi, Phetchaburi, Prachuap Khiri Khan, and Chumphon.

The proposed road development is meant to attract industries to expand in the area, improving income distribution to those provinces and lifting Thailand's competitiveness in trade, investment, tourism and employment, he said.

Mr Sing was part of an FTI mission to Dawei in Burma from Jan 22-25 to discuss a partnership between Dawei University and the Union of Myanmar Federation of Chambers of Commerce and Industry.

The mission was also monitoring the progress of the 400-billion-baht Dawei project that includes a highway linking Dawei and Kanchanaburi, a deep-sea port and an industrial estate.

Construction of the port and highway in Dawei will be completed by 2015.

Dawei aims to be a trade hub connecting Southeast Asia and China to the Indian Ocean, via the Andaman Sea, receiving goods from the Middle East, Europe and Africa.

Kanchanaburi province expects to develop a special economic zone to accommodate trade, investment and transport to the Dawei project, he said.

On growing concerns over border unrest that may affect the plan, Mr Sing believes Burmese authorities are unlikely to close the road on a whim, though they would try to prevent incidents that may block construction.

At a recent meeting of the Asean Chambers of Commerce and Industry, Burma pledged to upgrade the new road to become part of the Asian Highway, an international highway.

Kanchanaburi deputy governor Chaiwat Limwantha said the province was accelerating efforts to turn Baan Phu Namron into a border checkpoint and customs office to facilitate transport of construction materials and allow investors and tourists into Dawei. The process is expected to take at most four months.

The new customs office would facilitate the export of machinery and equipment for the construction of the Dawei port and industrial zone. Many Thai factories may relocate to Dawei.

The government recently unveiled plans to construct two motorways - a Bang Yai-Nakhon Pathom-Muang Kanchanaburi route and another from Muang Kanchanaburi to Baan Phu Namron to connect to Dawei.
 
#518 ·
พม่าเปิดประชุมรัฐสภา ปิดลับทุกอย่าง ความในห้ามนำออก

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 31 มกราคม 2554 12:34 น.



ภาพวันที่ 30 ม.ค.2554 ชาวพม่าอยู่ภายในพระมหาเจดีย์อุปตศานติ ที่เพิ่งสร้างแล้วเสร็จหมาดๆ ในเนปีดอ ขณะที่คณะปกครองทหารรพม่าเปิดประชุมรัฐสภาชุดแรกในรอบกว่า 20 ปีเช้าวันจันทร์ 31 ม.ค.นี้ ทุกอย่างเป็นความลับ ห้ามกระทั่งเข้าไปถ่ายรูปอาคารรัฐสภา.-- AFP PHOTO/Soe Than Win.



เนปีดอ (เอเอฟพี) -- พม่าเปิดประชุมรัฐสภาใหม่ของคณะปกครองทหารในเช้าวันจันทร์ 31 ม.ค.นี้ตามกำหนด บรรดาผู้แทนราษฎรไปชุมนุมกันภายในอาคารรัฐสภาหลังใหม่เอี่ยมอย่างปิดลับ เป็นการประชุมนิติบัญญัติครั้งแรกนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 หลังการเลือกตั้งที่ได้รับการประณามและวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง

ทางการไม่อนุญาตให้สื่อต่างชาติเข้าทำข่าวหรือเป็นสักขีพยาน หรือ แม้แต่เข้าไปถ่ายภาพอาคารรัฐสภาหลังใหม่ในเนปีดอ ที่ ส.ส.ทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและได้รับการแต่งตั้งเข้าไปประชุมกัน

“รัฐสภาเริ่มประชุมเวลา 08:55 น.สมาชิกเข้าร่วมทั้งหมด” เจ้าหน้าที่ทางการกล่าวกับเอเอฟพี ภายใต้เงื่อนไม่ให้ระบุชื่อ

การเลือกตั้งในเดือน พ.ย.ปีที่แล้วที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี นางอองซาน ซูจี ผู้นำการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยถูกกีดกันออกไปไม่ให้เข้าร่วม และยังมีขึ้นท่ามกลางการกล่าวหามีการโกงคะแนนอย่างกว้างขวาง การข่มขู่ผู้ไปใช้สิทธิ์ แต่ในที่สุดคณะปกครองทหารที่ครองอำนาจมานานเกือบ 50 ปี ก็ปกครองประเทศนี้ต่อไปโดยผ่านรัฐสภา

การมีรัฐสภาระดับประเทศ สภาระดับท้องถิ่นในอีก 17 รัฐกับเขตปกครอง ทำให้พม่าก้าวเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายใน “โร้ดแมป” หรือ บันได 7 ขั้นไปสู่ “ประชาธิปไตยอย่างมีวินัย” ของฝ่ายทหาร ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2546

แต่ 1 ใน 4 ของที่นั่งในสภาผู้แทน แต่งตั้งไปจากคณะปกครองทหาร ก่อนจะมีการเลือกตั้งด้วยซ้ำ และ พรรคสหภาพสมานฉันท์และการพัฒนา ที่มีคณะปกครองทหารอยู่เบื้องหลังครองเสียงข้างมากท่วมท้น ชนะการเลือกตั้ง 882 คน ในสภา 1,154 ที่นั่ง


ภาพวันที่ 30 ม.ค.2554 ชาวพม่าอยู่ภายในพระมหาเจดีย์อุปตศานติ ที่เพิ่งสร้างแล้วเสร็จหมาดๆ ในเนปีดอ ขณะที่คณะปกครองทหารรพม่าเปิดประชุมรัฐสภาชุดแรกในรอบกว่า 20 ปีในเช้าวันจันทร์ 31 ม.ค.นี้ และ ทุกอย่างปิดเป็นความลับ ห้ามกระทั่งเข้าไปถ่ายรูปอาคารัฐสภา.-- AFP PHOTO/Soe Than Win.


แม้ระบอบทหารจะเตรียมเรื่องนี้มานานหลายปี แต่สำหรับ ส.ส.ที่ได้รับเลือกตั้งยังคงมืดมนไม่ทราบว่าพวกตนจะมีบทบาทอย่างไรในรัฐสภา ขณะที่กระบวนการต่างๆ ยังเป็นความลับ ห้ามทุกคนนำเอาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆ เข้าไป รวมทั้งคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือด้วย

“ไม่มีใครรู้จริงๆ ว่ารัฐสภาจะออกมาอย่างไร เราจะรู้เมื่อเข้าไปที่นั่น” นายโซวิน สส.พรรคประชาธิปไตยแห่งชาติ (ที่แยกตัวจากพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของนางซูจี) กล่าว

“ความรู้สึกของผมคือ เรากำลังเคลื่อนไปข้างหน้าอีกหนึ่งก้าว”

นางซูจี ได้รับการปล่อยตัวจาถูกกับริเวณในบ้านพักเพียงไม่วันหลังการเลือกตั้งผ่านไป และในการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้นำฝ่ายค้านไม่ได้แสดงความหวังอะไรต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศ

“ดิฉันไม่คิดว่าการเลือกตั้งมีความหมายว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ อย่างแท้จริงในขบวนการทางการเมือง” นางซูจี กล่าวกับหนังสือพิมพ์ของอังกฤษ

“ดิฉันถูกปล่อยตัวก็เพราะว่าระยะเวลาการกักกันสิ้นสุดลง ไม่มีอะไรเกี่ยวกับข้องกับเรื่องนี้” ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าว
 
#519 ·
พม่าเสนอชื่อผู้ชิงประธานาธิบดี

Thaopost ต่างประเทศ2 กุมภาพันธ์ 2554 - 00:00

รัฐสภาพม่าเสนอรายชื่อผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีพลเรือนคนแรกของประเทศและรองประธานาธิบดีแล้วเมื่อวันอังคาร ไร้ชื่อพลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย คาดยังอยู่หลังฉากชักใยหุ่นเชิดต่อ สภาเลื่อนประชุมระหว่างพิจารณาคุณสมบัติก่อนคณะกรรมการพิเศษลงมติเลือกวันพฤหัสบดีนี้

การประชุมสภานิติบัญญัติของพม่าในวันอังคาร เป็นวาระการเสนอรายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี หลังจากเมื่อวันจันทร์สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้เปิดประชุมและลงมติเลือกประธานของทั้งสองสภาไปแล้ว โดยปรากฏว่า ตูระ ฉ่วย มาน ผู้บัญชาการอันดับ 3 ของรัฐบาลทหารชุดเก่าที่ทิ้งเครื่องแบบมาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (ยูเอสดีพี) ที่กองทัพหนุนหลัง ได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนฯ และขิ่น อ่อง มิ้นต์ อดีตรัฐมนตรีวัฒนธรรม ได้เป็นประธานวุฒิสภา

ข่าวรอยเตอร์รายงานอ้างแหล่งข่าวสมาชิกรัฐสภาหลายรายว่า พลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย วัย 78 ไม่ได้มีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้ที่มีโอกาสได้รับการเสนอชื่อทั้ง 5 ราย ซึ่งเป็นสัญญาณยุติอำนาจปกครองโดยตรงของเขาที่กินเวลายาวนานถึง 18 ปี แต่เชื่อแน่ว่าเขาไม่น่าจะวางมือ โดยคาดว่าตาน ฉ่วย อาจดำรงตำแหน่งอันทรงอิทธิพลในกองทัพต่อไป หรือมิเช่นนั้นก็อาจมีบทบาททางการเมืองที่คอยชักใยอยู่เบื้องหลัง

"ในความเป็นจริงแล้ว ตราบใดที่ตาน ฉ่วย ยังเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด เขาจะยังมีอำนาจมากกว่าประธานาธิบดี" อ่อง เนียง อู นักวิชาการชาวพม่าและรองผู้อำนวยการสถาบันวาฮูดีเวลลอปเมนต์ซึ่งมีที่ตั้งในไทย กล่าว

การเสนอชื่อประธานาธิบดีและรองทั้ง 2 คนนั้น แบ่งเป็นผู้สมัครจากสภาล่าง, สภาสูง และผู้แทนที่มาจากการแต่งตั้งของกองทัพในทั้งสองสภา ในส่วนของสภาล่างนั้น ส.ส.รายหนึ่งเผยว่า คณะกรรมาธิการพิจารณาของสภาผู้แทนฯ เห็นพ้องจะเสนอชื่อเทียนเส่ง หรือจ่อ เทียน อ่อง นักการเมืองชนกลุ่มน้อยเผ่ากะเหรี่ยง

สมาชิกสภาในสายกองทัพรายหนึ่งเผยว่า คณะกรรมาธิการของตนจะเสนอชื่อถิ่น อ่อง มินต์ อู ผู้บัญชาการอันดับ 5 ของกองทัพ ส่วนสภาสูงนั้น ส.ว.รายหนึ่งกล่าวว่า สมาชิกเห็นชอบว่าถ้าไม่ใช่เอ หม่อง ผู้นำพรรคพัฒนาชนเชื้อชาติยะไข่ ก็จะเป็นซาย โม คาม สมาชิกพรรคยูเอสดีพี
สภาได้เลื่อนประชุมไปจนถึงวันพฤหัสบดี เพื่อให้เวลาสมาชิกคณะกรรมาธิการพิจารณาคุณสมบัติผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ

ผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดจากการลงมติของคณะกรรมาธิการพิเศษทั้งสามชุด จะได้เป็นประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี อีก 2 คนที่เหลือจะเป็นรองประธานาธิบดี จากนั้นประธานาธิบดีจะจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของพม่าที่ร่างขึ้นภายใต้การกำกับการของคณะปกครองทหารเมื่อปี 2551 ระบุไว้ว่า ประธานาธิบดีควรเป็นบุคคลที่มีความคุ้นเคยด้านการเมือง, การบริหารจัดการ, เศรษฐกิจ และการทหาร

โดยทั่วไปคาดการณ์กันว่า ตำแหน่งประธานาธิบดีพลเรือนคนแรกของพม่าน่าจะตกเป็นของเทียน เส่ง นายกฯ คนปัจจุบัน ซึ่งเป็นผู้นำลำดับ 4 ของกองทัพ ที่เกษียณจากกองทัพเพื่อมาลงเลือกตั้งในฐานะผู้นำพรรคยูเอสดีพี

นักวิชาการพม่ารายเดิมให้น้ำหนักกับเทียน เส่ง เช่นกัน โดยเห็นว่าเขาเป็นตัวเลือกที่ทุกฝ่ายในกองทัพยอมรับได้ เขายังมีภาพลักษณ์ซื่อสัตย์ ไม่ได้เป็นตัวแทนของกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะและไม่มีผลประโยชน์ทางธุรกิจที่เด่นชัด

"เทียน เส่ง เป็นเดิมพันที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับตารน ฉ่วย และสำหรับกองทัพที่จะครองอำนาจไว้ต่อไป ตาน ฉ่วย เลือกแทงม้าตัวที่เขารู้ว่าจะเข้าเส้นชัย" อ่อง เนียง อู ทิ้งท้าย.
 
#520 ·
ผิดคาด"เต็ง เส่ง"ผงาดจ่อเป็นปธน.พม่า"ตาน ฉ่วย"เป็น"ผู้นำเงา"วางแผนบริหารปท.หลังฉาก

Matichon วันที่ 02 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เวลา 12:10:47 น.


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 2 ก.พ.ว่า นายพลตาน ฉ่วย ผู้นำสูงสุดของพม่า ไม่ได้อยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ถูกเสนอดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีพม่า ซึ่งชี้ว่า เขาจะไม่ได้เป็นผู้นำพม่าอย่างเป็นทางการเหมือนที่ผ่านมา โดยบัญชีรายชื่อดังกล่าวบรรจุรายชื่อบุคคล 5 ชื่อ



สำหรับการเฟ้นหาบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีอีก 2 ตำแหน่ง ซึ่งในบัญชีดังกล่าว มีชื่อนายพลเต็ง เส่ง ที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีพม่า ในชุดรัฐบาลทหาร และเป็นพันธมิตรที่ได้รับความไว้วางใจจากนายพลตาน ฉ่วย

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์เชื่อว่า นายพลตาน ฉ่วย วัย 77 ปี จะยังคงกุมอำนาจสำคัญบริหารประเทศพม่าอยู่ โดยเขาจะไม่น่าจะทิ้งอำนาจทั้งหมด และคาดว่าอาจจะดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้ากองทัพที่ทรงอิทธิพลของพม่า หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่กุมอำนาจสำคัญของประเทศอยู่หลังฉาก

อย่างไรก็ตาม จากการสัมภาษณ์นางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า ระบุว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินว่า การที่นายพลตาน ฉ่วย ไม่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีพม่า จะมีผลใด ๆ หรือไม่ และยังไม่แน่ใจว่า นายพลพม่าผู้นี้จะดำรงตำแหน่งใดในอนาคต แต่ที่รู้ก็คือ เขาไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีผู้ถูกเสนอชื่อดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีพม่า
 
This is an older thread, you may not receive a response, and could be reviving an old thread. Please consider creating a new thread.
Top