SkyscraperCity Forum banner

Our Neighbour | Myanmar

822K views 4K replies 133 participants last post by  Wisarut 
#1 ·
a.k.a. Burma.
This from my trip in December last year

View from the guesthouse


I think they were a little overconfident of their buffet qualities, but it was a good place to stay :)


Burmese fashion. Many people had their wallets stuffed into the back of the longyi, very visible. No worries!




A funky treehouse in Yangoon


No Coca Cola, Fanta or any of the familiar brands available. This is Fruito.


No Burger Kings or Starbucks either. This is slightly similar to.. what was it.. I think I have seen it before.


If I had to name five of the most amazing sights I've seen with my own eyes this would be one. Bagan and the Eiffel Tower would also be on the list.
 
See less See more
8
#877 ·
ไทยพร้อมหนุนพม่าสู่ประชาธิปไตย

27 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 12:31 น.

สุรพงษ์เตรียมกล่าวถ้อยแถลงการณ์ต่อที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนยูเอ็น ยันไทยพร้อมสนับสนุนพม่าก้าวสู่ประชาธิปไตย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ได้เดินทางเข้าร่วมประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งประชาชาติ (HRC) ครั้งที่ 19 วันที่ 27 ก.พ. ที่นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ทั้งนี้ การเข้าร่วมประชุมเพื่อยืนยันบทบาทที่แข็งขันของไทยในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และความพร้อมที่จะร่วมรับผิดชอบในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนกับประชาคมระหว่างประเทศ โดยในวันนี้ (27 ก.พ.) ตนจะกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งประชาชาติ โดยมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 147 ประเทศ จาก 190 ประเทศที่เป็นสมาชิกยูเอ็น

โดยในถ้อยแถลงจะย้ำถึงประเทศไทยมีระบอบประชาธิปไตย มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง และกล่าวถึงการปรองดองของไทยที่มีความคืบหน้า นอกจากนี้ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดของเมียนมาร์ ก็ให้การพร้อมสนับสนุนกระบวนการที่นำไปสู่ประชาธิปไตย ที่ขณะนี้เป็นไปในทิศทางบวก และสถานการณ์ภายในเมียนมาร์มีพัฒนาการในทิศทางในที่ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในถ้อยแถลงยังระบุถึงท่าทีไทยต่อข้อมติของที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนยูเอ็น ต่อกรณีที่สำนักงานสถิติของศรีลังกา มีรายงานเกี่ยวกับการกวาดล้างกบฏพยัคฆทมิฬอีแลม เสียชีวิตกว่า 8,000 ศพ เมื่อ2 ปีก่อน ซึ่งทางศรีลังกาต้องการตรวจสอบ เพื่อดำเนินการกับผู้กระทำผิด โดยไทยเห็นว่าประชาคมโลกควรให้โอกาสกับศรีลังกา และมองว่า การดำเนินใดๆ อาจไม่เร็วดังใจประเทศตะวันตก จึงขอให้ประเทศต่างๆ ได้ให้โอกาสศรีลังกาได้ตรวจสอบให้เป็นไปตามกระบวนการภายใน

นอกจากนี้ ประเทศไทยมีเป้าหมายจะเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนยูเอ็นในปี 2015-2017 ซึ่งเราได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะขอเสียงสนับสนุนจากประเทศที่เป็นกัน โยในการเยือนประเทศโปรตุเกสเมื่อสัปดาห์ก่อน ตนได้มีโอกาสหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศของโปรตุเกส ก็ได้ขอให้โปรตุเกสให้เสียงสนับสนุนไทยในการเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนยูเอ็นต่อ ทั้งนี้ไทยและโปรตุเกสก็ได้แลกเสียงสนับสนุนระหว่างกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกัน นอกจากการกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมแล้ว นายสุรพงษ์มีกำหนดการเข้าหารือกับนางนาวาเนเธ็ม พิลเล ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติ ว่าด้วยการค้าและการพัฒนาด้วย

http://www.posttoday.com/การเมือง/140076/ไทยพร้อมหนุนพม่าสู่ประชาธิปไตย
 
#878 ·
Exploring for the long haul

After more than two decades in Myanmar, PTTEP is well positioned to deal with any changes in energy needs as well as regulation.

Published: 27/02/2012 at 03:09 AM

Resource-rich Myanmar is poised to be a major contributor to Thailand's future energy needs, including gas and possibly electricity from hydropower dams planned for the years ahead.



"Myanmar may account for up to 10% of our total investments in the years to come and the country would supply up to 25% of Thailand's need for natural gas," says Anon Sirisaengtaksin, the president and CEO of PTT Exploration and Production Plc.

The exploration arm of Thailand's largest energy company is no stranger to Myanmar, having begun operations there in 1989. And despite Myanmar's troubled political past, internal strife and occasional conflicts that resulted in border closures, natural gas supplies from Myanmar to Thailand have never been disrupted, says Mr Anon.

"There is no threat to the company's operations from the changes in the government and therefore it gives more legitimacy to the government to grant more concessions," he said at a recent seminar.


‘Onc‘e you go to Myanmar you have to think long-term and not hit-and-run ANON SIRISAENGTAKSIN President & CEO PTT Exploration and Production Plc

In the most recent licensing round overseen by the new government, PTTEP secured more exploration blocks in the Bay of Bengal. Its Zawtika wells are likely to start producing sometime in 2013 and others such as M-3 and M-11, still in the exploration process, may take more time to be operational.

The Zawtika project, which covers 12,306 square kilometres in the Gulf of Martaban, is 80% owned by PTTEP International and 20% by Myanma Oil and Gas Enterprise.

The company currently operates three offshore and two onshore blocks while another two (Yadana and Yetagun) are joint ventures with foreign partners.

"We are at the moment looking for technology for deep water, technology that is not there in Myanmar and for M-11 we need deep water of more than one kilometre," Mr Anon said.

The Yadana and Yetagun blocks have been relatively successful, in contrast to the disappointment of PTTEP's first venture into Myanmar. It began work in the country on the so-called Block F in 1989 but found no gas and terminated the contract in 1997.

"We returned the first block (a joint venture with Unocal) as it was unsuccessful and since then there have been a series of opportunities and more will arise in the future," Mr Anon said.

PTTEP could face more competition in the future in Myanmar if its current reforms lead to the easing of sanctions imposed for two decades by western governments. No major western oil and gas company has any big presence in Myanmar except Total of France. That has left the field open to Asian players including PTTEP, Sinopec of China, Petronas of Malaysia and Essar of India.

And even as the new government starts to open up the economy and welcome more foreign investment, there are signs that it will start driving a harder bargain with companies seeking to exploit its rich oil and gas reserves. As well, as the economy grows, so too will domestic energy needs.

"Myanmar is now looking at greater supply for itself as there is a growing shortage of electricity and new projects now have a clause requiring that they supply part of the gas to the domestic market," said Mr Anon.

He also has a few words of advice for investors who may be looking at Myanmar for the first time: Don't look at the short-term returns only, as was evident from early struggles of PTTEP, which has a long-haul outlook.

"Once you go to Myanmar you have to think long-term and not hit-and-run," he said, adding that while many drawbacks remain in the country, the opportunity outweighs most of them.

These opportunities for oil and gas companies exist not just in the upstream market but also downstream where there is a lack of infrastructure for petrochemical plants.

Myanmar, with oil production capacity estimated in 2010 at 21,000 barrels a day and natural gas production of 11.54 billion cubic feet, still lacks facilities such as modern refineries and has a very limited processing capacity.

"Myanmar needs things such as deep-water technology, which it is looking for, and downstream operations are either ageing or not sufficient to meet future needs. It is basically an overhaul of the system that needs to be undertaken," he said.

Parent PTT Plc, he added, has been looking into the possibility of setting up an operation in Myanmar, although details have not yet been confirmed.

http://www.bangkokpost.com/business/economics/281764/exploring-for-the-long-haul
 
#880 ·
สมาคมข้าวพม่าฯ นำเข้าเครื่องจักร-เมล็ดพันธุ์จีน บูมส่งออก

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 มีนาคม 2555 13:20 น. Share8

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- สมาคมอุตสาหกรรมข้าวพม่า (Myanmar Rice Industry Association) ได้พบหารือกับเอกอัครรัฐทูตจีนประจำกรุงย่างกุ้ง เกี่ยวกับความร่วมมือหลายด้าน รวมทั้งเครื่องการผลิตที่ทันสมัย ในขณะที่พม่าตั้งเป้าส่งออกข้าวทะลุ 1 ล้านตันเป็นครั้งแรกในปีนี้

นายชิดคาย (U Chit Khaing) ประธาน MRIA กับนายอองตานอู (U Aung Than Oo) รองประธาน และนายเยมินออง (Ye Min Aung) เลขาธิการสมาคม ได้นำคณะผู้บริหารสมาคมเข้าพบหารือกับนายหลีจุ่นหัว (Li Junhua) ที่สำนักงานของ MRIA ในกรุงย่างกุ้งวันที่ 4 มี.ค.ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์รายงาน

"ระหว่างการพบเยี่ยมเยือนครั้งนี้ทั้งหมดได้พูดคุยเกี่ยวกับการนำเข้าเครื่องมือทางการเกษตร การปลูกข้าวพันธุ์ผสมที่ให้ผลผลิตสูงและการขยายการส่งออก” หนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นสื่อของรัฐบาลกล่าว

ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นขณะที่ผู้กำกับดูแลการปลูกและส่งออกข้าวหลายฝ่าย กำลังพยายามทุกวิถีทางเพื่อเพิ่มผลผลิตและคาดว่าอาจจะส่งออกได้ถึง 1.5 ล้านตันในปี 2555 นี้เทียบกับประมาณ 7 แสนตันเมื่อปีที่แล้ว

ตามตัวเลขของ MRIA ปีงบประมาณ 2552-2553 พม่าส่งออกข้าวทั้งหมด 800,000 ตัน ส่วนปี 2553-2554 ส่งออกได้เพียง 400,000 ตัน และ เพิ่มเป็น 700,000 ตัน ขณะที่ปีงบประมาณปัจจุบันกำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มี.ค.ศกนี้

หลายปีมานี้พม่าซึ่งเคยเป็นผู้ส่งออกข้าวเบอร์หนึ่งของโลกเมื่อกว่า 40 ปีก่อน ได้ขยายระบบชลประทานและขยายเนื้อที่นาอย่างกว้างขวาง ขณะที่รัฐบาลอนุญาตให้ส่งออกข้าวได้มากขึ้น ในจุดที่ใกล้กับแหล่งเพาะปลูก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตพะโค เขตย่างกุ้งและเขตอิรวดี ซึ่งประเทศไทยได้รับประโยชน์จากนโยบายนี้เต็มที่

ตามรายงานของสื่อทางการปีนี้กระทรวงเกษตรพม่าได้ขยายแปลงทดลองปลูกข้าวหอมพันธุ์ดีออกไปในหลายจุดในเขตอู่ข้าวใหญ่ของประเทศ เมื่อปีที่แล้วข้าวหอมพม่าได้รับการยกย่องเป็นข้าวหอมคุณภาพดีที่สุดของโลก

นิวไลท์ออฟเมียนมาร์กล่าวว่า การเก็บเกี่ยวข้าวหอมสินธุกา-3 (ข้าวหอมพันธุ์ดีแต่ปลูกยาก) ในวันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา จากแปลงทดลองเนื้อที่ 3.78 เอเคอร์ (9.56 ไร่) ในเขตเมืองพะสิม (Pathein) ที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี ได้ข้าวเปลือก 95.65 ตะกร้า (2,008 กก.) ต่อเอเคอร์ (2.529 ไร่) หรือ ประมาณ 771 กก.ต่อไร่ ขณะที่การเพาะทดลองเพื่อเพิ่มผลผลิตยังดำเนินต่อไป

พม่ากำลังทะยานขึ้นเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อีกครั้งหนึ่ง การจัดตั้งระบบเช็คสตอกข้าวเมื่อปลายปีที่แล้วทำให้สามารถควบคุมตัวเลขการผลิตและการส่งออกได้แม่นย่ำยิ่งขึ้น ช่วยคลายความห่วงใยของทางการเกี่ยวกับปริมาณข้าวที่จะต้องสำรองไว้เพื่อบริโภคภายในประเทศอย่างเพียงพอ

เหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้สามารถส่งออกข้าวได้มากขึ้นก็คือ การขยายท่าเรือใหญ่ในเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดีซึ่งแล้วเสร็จกลางปีที่แล้ว ทำให้สามารถส่งออกข้าวจากอู่ข้าวใหญ่ได้โดยตรง ไม่ต้องขนส่งเข้าย่างกุ้งเพื่อส่งออกผ่านท่าเรือในกรุงเก่า นิตยสารข่าวเมียนมาร์ไทม์สรายงาน

สื่อกึ่งทางการรายงานก่อนหน้านี้ว่า การส่งออกโดยตรงจากเขตที่ราบใหญ่อิรวดีช่วยให้ประหยัดค่าขนส่งที่คิดเป็นประมาณ 30-40% ของราคาข้าว ช่วยลดต้นทุนแก่ผู้ค้าและชาวนาได้กำไรมากขึ้น ข้าวพม่าสามารถแข่งขันได้ดีขึ้นในตลาดโลกอีกด้วย.

http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9550000029580
 
#882 · (Edited)
เดินหน้าฟื้นทางรถไฟสายมรณะ

โดย ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ 8 มีนาคม 2555 13:56 น.

ย่างกุ้ง - นักธุรกิจเชื้อสายมอญเผยรัฐมนตรีกระทรวงการรถไฟของพม่าอนุมัติโครงการสร้างทางรถไฟสายมรณะเชื่อมต่อระหว่างเมืองพญาตองซูกับเมาะละแหม่งเรียบร้อยแล้ว คาดจะเริ่มลงมือก่อสร้างในเร็ว ๆ นี้ เพื่อขยายการค้าข้ามพรมแดนระหว่างพม่ากับไทย

นายตุน หน่อง นักธุรกิจเชื้อสายมอญกล่าวว่า คณะนักธุรกิจเชื้อสายมอญ ซึ่งมีตัวเขาเองรวมอยู่ด้วย ได้เข้าร่วมการเจรจาสันติภาพกับคณะผู้แทนเจรจาของรัฐบาลพม่าซึ่งมีนายอ่อง มิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการรถไฟเป็นหัวหน้าคณะ เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และนายอ่อง มิน ได้ตกลงอนุมัติให้ดำเนินการบูรณะและก่อสร้างทางรถไฟระหว่างเมืองพญาตองซูกับเมืองเมาะละแหม่งในระหว่างการประชุมดังกล่าว

นักธุรกิจชาวมอญกล่าวว่า รัฐมนตรีกระทรวงการรถไฟพม่า ตกลงอนุมัติการบูรณะและก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะที่ถูกทิ้งร้างมาเป็นเวลานาน ตามคำร้องขอของคณะนักธุรกิจชาวมอญ เพื่อแสดงความปรารถนาดีของรัฐบาล หลังจากการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลพม่ากับกลุ่มกบฏรัฐมอญใหม่ (NMSP) มีความก้าวหน้าเป็นที่น่าพอใจ

เมืองพญาตองซู ตั้งอยู่ติดกับพรมแดนไทยในบริเวณที่มีการคาดการณ์กันว่าจะพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งจะทำให้เมืองพญาตองซูเป็นเมืองหน้าด่านทางการค้าที่สำคัญ หลังการสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อกับเมืองเมาะละแหม่งเสร็จสิ้นสมบูรณ์ เนื่องจากเมืองเมาะละแหม่งตั้งอยู่ชายทะเลในอ่าวมะตะบันของพม่า

ทางรถไฟรถไฟระหว่างเมืองพญาตองซูกับเมืองเมาะละแหม่ง อดีตเมืองหลวงของรัฐมอญ ได้ชื่อว่าเป็นทางรถไฟสายมรณะ เนื่องจากเป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับทางรถไฟของไทยที่บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแควในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์เชลยสงครามสร้างขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งยังผลให้มีเชลยสงครามเสียชีวิตระหว่างการก่อสร้างทางรถไฟดังกล่าวนับแสนคน และศพของเชลยสงครามเหล่านั้นยังถูกฝังอยู่ในสุสานในจังหวัดกาญจนบุรีจนกระทั่งปัจจุบัน

//-------------------------------------------------------------------

เห็นข่าวชิ้นนี้แล้ว คนเมืองตาก-แม่สอด กะ เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน อยากจะ กินยาตาย เอาหัวโหม่งกำแพงตาย โดดหน้าผาตาย โดดน้ำตาย ยิงตัวตาย ผูกคอตาย ไปตามๆกัน ก็คราวนี้เองเพราะ ที่กะเก็งการไว้แต่ต้นมาล่มสลายเสียหมดก็คราวนี้เองเพราะ อ่านใจรัฐบาลทหารพม่าไม่แตกฉานดีพอ

//----------------------------------------------

Reviving the Death Railway
Manager Weekly 360 Degree
8 March 2012 - 13:56

Yangon - U Tung Naung (Mon businessman), Ministry of Railway just has approved the project of making a rail connection with Thailand by following the old Death Railway from Thanbyuzayat to Payathonzu village (Three pagoda village on Burmese side which is just 112 km from Thanbyuzayat). The construction will be started very soon to promote the trading between Burma and Thailand after Mon rebels have made a peace talk with Burmese government and discussion with U Aung Min (Minisiter of railways). This railway will also allow the hinter land to have the sea access to Mawlamyine via Thanbyuzayat ... an big boon indeed ..

//-------------------------------------------------------------------
This news will drive those traders in Mae Sod, Tak, Mae Hongson, Chiang Mai to commiit suicide since they expect that the railway line linking with Thailand will be at Mae Sod, or Mae Hongson but they forget that those Burmese people still have an impression on the death railway since they also sacrifice their life and blood yo build the line.
 
#883 ·
โครงการท่าเรือทวายทำท่าจะไปไม่รอด
โดย WILLIAM BOOT
THE IRRAWADDY ศุกร์ที่ 9 มีนาคม 2012

แผนการสร้างท่าเรือน้ำลึกเพื่อขนน้ำมัน และ นิคมอุตสาหกรรมหนัก มูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์ ที่ชายฝั่งทะเลทวายทำท่า จะวังเวงยิ่งกว่าเดิม หลังจากรัฐบาลได้ออกแผนจะฟื้นฟูและสร้างท่าเรือในประเทศ เพื่อแข่งกะท่าเรือทวาย ระหว่างการประชุมอาเซียน เรื่อง "Connecting Asean to the World.” เพื่อวางแผนการคมนาคมเพื่อเร่งการแปรสภาพ 10 ประเทศให้เป็นตลาดเดียว ที่กรุงเทพ เมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2012 โดย นายจุล สุขมานพ จากกระทรงคมนาคมได้กล่าวถึงประเด็นนี้

เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ รัฐบาลพม่าสั่งอิตาเลียนไทยไม่ให้สร้างโรงไฟฟ้ากำลังถ่านหิน ขนาด 4 พันเมกาวัตต์ ไปเลี้ยงโครงการท่าเรือน้ำลึกและนคมอุตสาหกรรมทวาย แถมยังตั้งข้อกังขาเรื่องการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงแทนถ่านหินว่า จะดีจริงอย่างที่อิตาเลียนไทยได้อวดสรรพคุณหรือไม่

ถ้าไม่มีโรงไฟฟ้าแล้ว การจะสร้างคลังน้ำมัน และเครื่องที่ทใช้ในการขนส่งน้ำมัน พร้อมโรงงานปิโตรเคมี (ซึ่งทำท่าจะสร้่างไม่ได้เพราะก๊าซที่ขุดได้ในพม่าเป็นก๊าซแห้งเหมาะจะใช้เป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น ไม่ใช่ก๊าซเปียกที่ทำปิโตรเคมีได้) พร้อมโรงงานอุตสาหกรรมหนักเช่นโรงเหล็กเตาถลุง คงจะทำไม่สำเร็จเป็นแน่แท้

เหตุนี้เองที่บังคับให้ไทย เร่งขยายท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อเป็นท่าเรือหลักสำหรับประเทศไทย พม่า ลาว เขมร และ เวียตนาม นอกจากนี้ ไทย ยังจะฟื้นฟูโครงการ สะพานเศรษฐกิจ ใต้ทวายลงมาที่ปากบาราโดยให้่มีท่อก๊าซ และ ท่อส่งน้ำมันผ่านท่าเรือปากบาราในทะเลอันดามัน มาออกสงขลา ระยะทางราว 100 กิโลเมตร ซึ่งสำนักนโยบายและแผนรพลังงานกะจะทำให้เสร็จในอีก 6 เดือน ทั้งๆที่อิตาเลียนไทยพยายามผลักดันท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ที่รัฐบาพม่าเพิ่งอนุมติหลังจากอุตสาห์ออกทุนเลี้ยงดูปูเสื่อบรรดแม่ทัพนายกองพม่าที่ถอดชุดทมหารมาเล่นการเมืองและบรรดาท่านผู้หญิงของนายพล

การเคลื่อนไหวเช่นนี้มีสิทธิ์ทำท่าเรือทวายที่ทำท่าจะเป็นลูกผีลุกคน แท้งก่อนคลอดได้ ดังที่ นิตยสาร Port Strategy กล่าว

ตอนนี้มีเวลาอีก 3 เดือนจากปลายกุุมภาพันธ์ เพื่อหาวิธีจ่ายกำลังงานมาเลี้ยงท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมทวายที่ดีกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ที่พม่ากำหนดให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกอีกด้วย

โครงการสะพานเศรษฐกิจและนิคมทวายก็เพื่อเลี่ยงการ ผ่านช่องแคบมะละกาที่เป็นชุมโจรสลัด เนื่องจากมีเรือผ่านไปมากันคับคั่ง
 
#885 ·
ผมว่านอกจากลาวแล้ว เรายังมีmemberประเทศอื่นแฝงอีกหลายประเทศเหมือนกัน
สัญชาติไม่ให้แต่ใจเค้าไปแล้ว :nuts:
 
#887 ·
อย่าว่าแต่ประเทศอื่นครับ เคสอย่างร้ายแรงมาก มีลูกหลานกบฏแบ่งแยกดินแดนด้วย เมื่อปีสองปีก่อนมั้งถ้าจำไม่ผิด :eek:hno:

 
#886 ·
ITDเร่งหาพันธมิตร พัฒนานิคมฯ”ทวาย”

เศรษฐกิจ 10 มีนาคม 2555 - 00:00

“อิตาเลียนไทย” เร่งพัฒนามิตรต่างชาติร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนิคมฯ ทวายประเทศพม่า มูลค่ากว่า 3 แสนล้าน โวเฟสแรกเปิดให้บริการ ปี 57

นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการโครงการทวายดิเวลอปเมนต์ (ดีดีซี) บมจ.อิตาเลียนไทย ดิเวลอปเมนต์ (ITD) เปิดเผยในงานเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง “ทวาย ประตูการค้าใหม่เชื่อมไทยกับอุตสาหกรรมโลก” ว่าขณะนี้ทางบริษัทอยู่ระหว่างหาพันธมิตรร่วมทุนในโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่า บนเนื้อที่ 2 แสนไร่ใช้งบลงทุนไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท เพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคด้านต่างๆ เช่น โรงกลั่นน้ำมัน โรงไฟฟ้า ระบบน้ำ โรงถลุงเหล็ก และการพัฒนาท่าเทียบเรือ

ทั้งนี้ มีนักลงทุนจากหลายประเทศที่สนใจเข้ามาลงทุน เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี รวมถึงนักลงทุนจากประเทศไทย และได้มีการหารือกับนักลงทุนไทย ร่วมถึงการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ในการเข้าร่วมพัฒนานิคมฯ ทวาย โดยเฉพาะ กนอ. ซึ่งมีความสามารถในการพัฒนาพื้นที่นิคมฯ เพราะมั่นใจว่าในอนาคตโครงการนี้จะผลักดันให้พม่าเป็นผู้นำของอาเซียนในด้านอุตสาหกรรมในอีก 10 ปีข้างหน้า”

“ต้องรักษาความสมดุลของนักลงทุนชาติต่างๆ ให้มากสุด โดยเฉพาะกลุ่มทุนจากจีนและสหรัฐ เพราะเมืองทวายนอกจากจะเป็นเมืองอุตสาหกรรมแล้วยังมีเส้นทางเชื่อมโยงทางทะเลไปยังหลายประเทศ ซึ่งจะเกี่ยวกับความมั่นคงทางทหารของประเทศมหาอำนาจในอนาคต” นายสมเจตน์กล่าว

นายสมเจตน์ กล่าวว่า ถึงความคืบหน้าในการพัฒนาโครงการทวายว่า คาดว่าโครงการระยะแรกใช้งบลงทุน 2.4 แสนล้านบาท เพื่อพัฒนาท่าเรือน้ำลึกบนพื้นที่ 6,100 ไร่ ให้ได้ภายในปี 2557 จะเปิดให้บริการ อย่างไรก็ตาม แผนการพัฒนาประกอบด้วยการก่อสร้างถนนจากทวายมายังชายแดนไทย-พม่า บริเวณ จ.กาญจนบุรี ระยะทาง 132 กม. ขนาด 4 ช่องจราจร รวมทั้งก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาด 4,000 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ 2,300 ไร่ และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ

“การพัฒนาโครงการระยะแรกจะใช้เงินลงทุน 2.4 แสนล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการ 4 ปี 6 เดือน ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ใหญ่ที่สุดในโลก รองรับสินค้าคอนเทนเนอร์ปีละ 20 ล้านตัน หรือ 2 เท่าของท่าเรือแหลมฉบัง ระยะต่อไปจะพัฒนาให้รองรับได้ถึงปีละ 100 ล้านตัน” นายสนเจตน์กล่าว.

http://thaipost.net/news/100312/53751
 
#888 ·
เครือข่ายโครงการรถไฟพม่าที่รัฐฉาน
โดยเสียงเขียวฟ้า พุธที่ 23 ธันวาคม 2009 12.59


ในการสำรวจเส้นทางก่อสร้างทางรถไฟ จากปลายรางที่ลาเฉียวไปด่านมูเซ ระยะทาง 170 กิโลเมตรนั้นได้มีการส่งทหาร 2 กองพันไปร่วมในการสำรวจเส้นทางด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้โดนโจมตี โดยเส้นทาง จะผ่านบ้าน เมืองป่า (Mongpa village) ตำบลแสนหวี (Hsenwi township) ด้านจตะวันตกของทางหลวง ผ่านไปทางกุดค่าย (Kutkhai) ไปถึงปลายรางที่ บ้านคง (Wankhong village) เมืองมูเซ (Muse township) ซึ่งเป็นที่ตั้งสถานี มูเซที่เริ่้มสร้างเมื่อ 3 เดือนก่อน

ซึ่งในการนี้คงจะได้รื้อฟื้นเส้นทางวรถไฟจากลาเฉียวไปเมืองยอน ที่อังกฤษสร้างให้ระยะทาง 32 ไมล์แต่ทำไม่สำเร็จ

นี่คือโครงการรถไฟ 4 เส้นทางในรัฐฉาน ซึ่งส่อแววว่าจะสร้างแบบรถไฟทหารเพื่อความรวดเร็วแต่คุณภาพนั้นท่าจะไม่เหมาะในการโดยสาร และ ขนสินค้า

น้ำสาง (Namzang) - สีป่อ (Hsipaw) 250 กิโลเมตร
น้ำสาง (Namzang) - เชียงตุง (Kengtung) 330 กิโลเมตร
ลาเฉียว (Lashio) - ไปด่านมูเซ (Muse) 170 กิโลเมตร
เมืองนาย (Mongnai) - ที่ขี้่เหล็ก (Tachilek) 350 กิโลเมตร
 
#892 ·
พม่าเตรียมการเปิดชายแดน เชื่อมด่านสิงขรประจวบคีรีขันธ์

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 มีนาคม 2555 17:05 น.


ซินหัว - สื่อท้องถิ่นของพม่ารายงานวานนี้ (12 มี.ค.) ว่า พม่าจะเปิดด่านชายแดนกับไทยเพิ่มอีก 1 แห่ง หวังช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้านในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ

หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวส์ของพม่ารายงานว่า ด่านชายแดนมอตอง (Mawhtaung) ในเขตตะนาวศรี ทางภาคใต้ของพม่า จะกลายเป็นด่านชายแดนกับไทยแห่งที่ 5 และตามรายงานของทางการระบุว่าการค้าบริเวณชายแดนระหว่างพม่ากับไทยมีมูลค่า 274 ล้านดอลลาร์ ในช่วงปีงบประมาณ 2552-2553

ก่อนการเปิดด่านชายแดนแห่งใหม่ พม่ามีด่านชายแดนกับประเทศต่างๆ ทั้งหมด 12 แห่ง โดยเป็นด่านชายแดนกับจีน 4 แห่ง ด่านชายแดนกับไทย 4 แห่ง ด่านชายแดนกับอินเดีย 2 แห่ง และด่านชายแดนกับบังกลาเทศอีก 2 แห่ง

ขณะเดียวกัน ถนนเชื่อมต่อจากกรุงเทพของไทยมายังเมืองทวาย ในรัฐตะนาวศรีของพม่าที่จะช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างกันนั้นอยู่ในระหว่างการก่อสร้างและคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 18 เดือน

ตามสถิติของทางการพม่า ระบุว่า การค้าบริเวณพรมแดนพม่ามีมูลค่ารวมทั้งสิ้นมากกว่า 3,046 ล้านดอลลาร์ ในปีงบประมาณ 2554-2555 เพิ่มขึ้นราว 60% จาก 1,900 ล้านดอลลาร์ ในปีงบประมาณ 2553-2554.


http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9550000032588
 
#893 ·
Suu Kyi: Constitution does not conform with 'democratic norms'
From Kocha Olarn, CNN
March 14, 2012 -- Updated 1736 GMT (0136 HKT)



Bangkok, Thailand (CNN) -- Aung San Suu Kyi, the Myanmarese opposition leader, said her country's present constitution "does not conform" with democratic norms and it should be changed where needed.
Myanmar state television broadcast for the first time an election campaign speech by the pro-democracy leader, a Nobel Peace Prize winner who was under house arrest for years until she was freed more than a year ago.
Suu Kyi and her party, the National League for Democracy, will participate in by-elections on April 1 after boycotting previous elections. She has been crisscrossing the country to attend election rallies.
In her speech, she decried restricting freedom of speech and choice and fostering fear and instability in people's lives. She called for respect of the rule of law.
"As long as freedom of movement and human rights are not fully achieved," democracy will not prevail, she said.
Look inside Myanmar's young 'democracy' Aung San Suu Kyi on the campaign trail
She called for improvements in education, health care, agriculture and the lives of workers and younger people.
Suu Kyi has said that she would change the configuration of the parliament in which 25% of seats help the military establishment. She cited the presence of those nonelected officials in Wednesday's speech.
The country's election commission removed a passage from her speech because it didn't conform with current election law, Suu Kyi told a freelance reporter for CNN.
Earlier, Nyan Win, a National League for Democracy spokesman, said the passage that was removed in advance criticized the previous situation in Myanmar concerning freedom of speech and access to information.
The international community has applauded recent political reforms in Myanmar, also known as Burma, long secluded from the rest of the world after a military junta grabbed power in 1962. The generals have begun loosening their grip after international sanctions and criticism over their regime's human rights record.
The authorities released Suu Kyi from house arrest in November 2010. She registered last month to run for a parliamentary seat in Kawhmu after the regime agreed to negotiate with an ethnic rebel group and pardoned hundreds of political prisoners.
Her televised speech Wednesday is a result of Myanmar's electoral law, which requires that each political party receive appropriate time to broadcast its manifesto.
The National League for Democracy submitted candidates for all 47 seats up for grabs in the April by-elections.
 
#894 ·
พม่าอนุมัติขึ้นเงินเดือน"ข้าราชการ-ทหาร"อีก 30,000 จั๊ต

วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 10:00:40 น.


กระทรวงการคลังและภาษีของพม่าเปิดเผยว่า พม่าอนุมัติขึ้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนและทหารเดือนละ 30,000 จั๊ต หรือประมาณ 1,140 บาท หรือเกือบสองเท่าของรายได้เดิมของข้าราชการชั้นผู้น้อย

ด้านสถานีโทรทัศน์เอ็มอาร์ทีวี อ้างคำกล่าวของกระทรวงการคลังว่า ทางการต้องการให้เจ้าหน้าที่รัฐมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงขึ้นเงินเดือนให้จากรายได้เดิมที่มีอยู่แล้ว โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนเป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่มีการเลือกตั้งซ่อมในพม่า

รายงานระบุว่า บุคลากรในหน่วยงานภาครัฐที่ได้รับค่าจ้างน้อยที่สุดได้รับค่าจ้างวันละ 35,000 จั๊ต และจะได้รับเงินพิเศษรวมเป็น จั๊ต 65,000 ข้าราชการพลเรือนในพม่า ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 3.3 ของประชากร ได้รับเงินเดือนน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ และหลายคนต้องอาศัยค่าน้ำร้อนน้ำชาหรือสินบนเพื่อความอยู่รอด ขณะที่ตำแหน่งที่สูงกว่านั้น จะมีค่าจ้างเพิ่มขึ้นเป็น 130,000 จั๊ต จากแต่เดิม 100,000 จั๊ต ขณะที่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะได้รับเพิ่มขึ้นเป็น 2,100 จั๊ต จากเดิม 1,100 จั๊ต

การปรับขึ้นเงินเดือนครั้งนี้มีขึ้นหลังจากถูกกดดันจากบรรดาสมาชิกรัฐสภาให้ขึ้นเดือน ขณะที่ราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้น และการที่ธนาคารกลางพม่าเตรียมประกาศลอยตัวค่าเงินจั๊ต นับตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป และยกเลิกระบบการตรึงค่าเงิน


ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง กล่าวยอมรับปัญหาเรื่องเงินเดือนในการปราศรัยต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา และรับปากจะเร่งแก้ไขโดยเร็วที่สุด

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1331780632&grpid=&catid=06&subcatid=0600
 
#895 · (Edited)
เปิดร่าง กม.ลงทุนพม่า เปิดทางต่างชาติเช่าที่ดิน 60 ปี

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มีนาคม 2555 00:32 น. Share


ชาวพม่าเดินออกจากศูนย์แลกเปลี่ยนเงินในกรุงย่างกุ้งในภาพวันที่ 7 ธ.ค.2554 ปัจจุบันศูนย์แบบเดียวกันนี้กระจายออกไปยังหลายตัวเมือง ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นการปฏิรูปการเงินของพม่า รัฐบาลใหม่กำลังจะลอยตัวค่าเงินจ๊าตในปีนี้เพื่อรวมระบบแลกเปลี่ยนจาก 2 อัตราให้เป็นหนึ่งเดียว และในวันศุกร์ 16 มี.ค.ศกนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์ได้เปิดร่างกฎมายการลงทุนฉบับปฐมฤกษ์ของพม่า ซึ่งนอกเหนือจากมาตรการด้านภาษีแล้ว มาตรการสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การเปิดทางให้ต่างชาติสามารถเช่าที่ดินได้นานถึง 60 ปี. -- REUTERS/Soe Zeya Tun.

กฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ที่รอมาอย่างยาวนาน พร้อมกับแผนที่จะลอยตัวค่าเงินสกุลจ๊าต ตั้งแต่เดือน เม.ย. เป็นต้นไปนั้น ถือเป็นการปฏิรูปเศรษฐกิจของพม่าครั้งล่าสุด นับตั้งแต่พม่าฟื้นตัวจากการปกครองในระบอบเผด็จการทหารนานหลายทศวรรษที่เศรษฐกิจของประเทศไม่ได้รับการจัดการที่ดีและยังถูกคว่ำบาตรทางการค้าจากต่างชาติ

รัฐบาลพลเรือนพม่าเริ่มดึงดูดนักลงทุนชาติตะวันตกที่ต่างเฝ้ารอเข้ามาลงทุนในนครย่างกุ้ง ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ก่อนการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐและสหภาพยุโรป

ร่างกฎหมายครั้งนี้้เป็นอีกสัญญาณของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในประเทศที่ถูกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลานาน ซึ่งในเวลานี้ ชาวต่างชาติสามารถตั้งบริษัทของตัวเองได้ 100% หรือร่วมทุนกับชาวพม่าหรือหน่วยงานของรัฐบาลได้เช่นกัน แต่การร่วมทุนนั้นต้องมีเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติอย่างน้อย 35%

ร่างกฎหมายระบุว่า นักลงทุนต่างชาติยังสามารถเช่าที่ดินจากรัฐหรือจากเอกชนที่มีใบอนุญาตใช้ที่ดินได้ และในการเช่าเบื้องต้นอาจเช่าได้เป็นเวลานานถึง 30 ปี ขึ้นอยู่กับรูปแบบและขนาดของการลงทุน และอาจขยายเวลาเพิ่มได้ 2 ครั้ง ที่อาจนานได้ถึง 15 ปี ในแต่ละครั้ง

ทั้งนี้บริษัทต่างชาติจะไม่ได้รับอนุญาตให้จ้างแรงงานต่างชาติที่ไร้ทักษะ ส่วนแรงงานที่เป็นชาวพม่าต้องมีทักษะในการทำงานอย่างน้อย 25% หลังผ่านการทำงานแล้ว 5 ปี ซึ่งบริษัทต่างๆ ต้องให้การฝึกอบรมตามความจำเป็นเพื่อให้แรงงานได้ทักษะตามนั้น และทักษะจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อยเป็น 50% หลังผ่านไป 10 ปี และ 75% หลังผ่านไปแล้ว 15 ปี

ร่างกฎหมายฉบับใหม่นี้มีขึ้นเพื่อให้ความมั่นใจกับนักลงทุนที่กังวลเกี่ยวกับการถอยหลังของการปฏิรูปและความเป็นไปได้ของการถูกยึดทรัพย์

"รัฐบาลให้การรับประกันว่าธุรกิจที่ได้รับการอนุมัติจะไม่ถูกโอนเข้าเป็นของรัฐในระหว่างที่ได้รับอนุญาตตามสัญญาหรือช่วงเวลาที่ขยายเพิ่มในสัญญา นอกจากการให้ค่าตอบแทนตามราคาตลาด ในประโยชน์ของสาธารณชน" ส่วนหนึ่งในร่างกฎหมาย ระบุ

กฎหมายฉบับนี้มีแนวโน้มว่าจะได้รับการรับรองจากสภาในระหว่างการประชุมครั้งปัจจุบัน ที่คาดว่าจะสิ้นสุดในปลายเดือนมี.ค. และประธานาธิบดีมีเวลา 14 วันที่จะลงนามรับรองหรือส่งคืนกฎหมายฉบับนี้.
 
#896 ·
พม่าและลาวร่วมหารือสร้างสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำโขง

วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 23:08:27 น.

เมื่อวันที่ 17 มี.ค. หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ของพม่ารายงานว่า พม่าและลาวได้ร่วมหารือการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง โดยการหารือมีขึ้นที่กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของพม่า รายงานระบุว่า ทั้งสองประเทศกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำโขง เพื่ออำนวยความสะดวกและเชื่อมเส้นทางระหว่างประเทศทั้งสอง


นอกจากนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการรักษาความปลอดภัยตามแนวแม่น้ำโขง ทั้งสองประเทศยังเห็นพ้องจะร่วมมือปกป้องคุ้มครองการเดินเรือในแม่น้ำโขง โดยจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกองกำลังรักษาความมั่นคงของประเทศทั้งสอง

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1332000589&grpid=03&catid=&subcatid=
 
#897 ·
พม่าจัดเต็มดึงทุนนอก ต่างชาติดำเนินกิจการได้100% ไม่ต้องลงทุนร่วมกับคนท้องถิ่น

21 มีนาคม 2555 เวลา 06:50 น.

รอยเตอร์ส รายงานว่า พม่ากำลังจะเปิดเสรีด้านการค้าการลงทุนแก่ต่างชาติครั้งใหญ่ครั้งแรก ด้วยการร่างกฎหมายการลงทุนขึ้นใหม่ หวังสร้างความมั่นใจแก่ต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุน พร้อมให้คำมั่นว่าจะไม่มีการผนวกกิจการเข้าเป็นของรัฐแน่นอน และหากเกิดขึ้น รัฐยินดีจ่ายค่าเสียหายให้เป็นพิเศษ

สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว รวมถึงการเปิดทางให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของ กิจการได้ 100% โดยไม่จำเป็นต้องร่วมหุ้นกับนักลงทุนท้องถิ่น แต่หากมีความต้องการจะร่วมลงทุนกับคนท้องถิ่นหรือหน่วยงานรัฐต้องมีทุนต่างชาติเข้าร่วมอย่างน้อย 35%

ร่างกฎหมายดังกล่าวอาจจะให้สิทธิพิเศษด้านภาษีแก่กิจการต่างชาติที่เริ่มเข้าไปลงทุนด้วยการเว้นภาษีเป็นเวลานาน 5 ปีนับตั้งแต่เริ่มเข้าไปดำเนินกิจการ

นอกจากนั้น พม่ายังเตรียมเปิดทางให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเช่าที่ดินจากภาครัฐและเอกชนที่ได้รับอนุญาตแล้ว โดยในเบื้องต้นการเช่าที่ดินจะให้สิทธิการเช่าได้นานสุด 30 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของที่ดินและชนิดกิจการที่เข้าไปลงทุนด้วย สำหรับการต่อระยะเวลาการเช่าจะกระทำได้ 2 ครั้งครั้งละ 15 ปี

อย่างไรก็ตาม ในร่างกฎหมายฉบับใหม่ ไม่อนุญาตให้ผู้ลงทุนจากต่างชาตินำแรงงานไร้ทักษะที่ไม่ใช่ชาวพม่าเข้ามาในประเทศ อีกทั้งยังกำหนดไว้ว่าภายใน 5 ปี แรงงานพม่าที่ทำงานอยู่ในบริษัทของต่าง ชาติอย่างน้อย 25% จากทั้งหมดที่จ้างอยู่จะต้องเป็นแรงงานที่มีทักษะ เพื่อให้แรงงานพม่าได้รับการฝึกทักษะและพัฒนาฝีมือขึ้นมา ซึ่งในส่วนเปอร์เซ็นต์ดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ โดยภายใน 10 ปี แรงงานพม่าที่จ้างอยู่ จะต้องกลายเป็นแรงงานที่มีทักษะอย่างน้อย 50% และ 75% ภายใน 15 ปี ตามลำดับ

ทั้งนี้ ร่างกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ได้ ต่อเมื่อได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาที่จะมีการเปิดวาระการประชุมในปลายเดือนนี้และประธานาธิบดีได้ลงนามเป็นที่เรียบร้อย

ด้าน หนังสือพิมพ์วอลสตรีท เจอร์นัลรายงานโดยอ้างเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลพม่าที่ดูแลเรื่องการสื่อสารซึ่งระบุว่า พม่ากำลังอยู่ในขั้นตอนพิจารณาการเปิดเสรีด้านการลงทุนโทรคมนาคมและการสื่อสารอยู่ แต่ยังไม่สามารถระบุระยะเวลาที่แน่ชัดว่าจะเริ่มมีผลบังคับใช้ได้เมื่อไร

การเปิดเสรีโทรคมนาคมถือเป็นความตั้งใจของรัฐบาลที่จะยกระดับการติดต่อสื่อสารภายในประเทศให้ดีขึ้น โดยรัฐบาลได้วางแผนไว้ว่าจะสามารถเปิดให้บริการแบล็คเบอร์รี่ได้เร็วที่สุดภายในปี 2557 เพื่อสอดรับกับการเป็นเจ้าภาพการประชุมอาเซียน และภายในปี2558 กว่าครึ่งประเทศจะต้องมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตไวไฟใช้

http://www.posttoday.com/รอบโลก/144178/พม่าจัดเต็มดึงทุนนอก
 
#898 ·
Thailand welcomes Myanmar's invitation for international by-election observers

BANGKOK, March 22 -- Thailand welcomed the Myanmar government’s invitations for international representatives as observers for the parliamentary by-election on April 1, saying that the move demonstrates Myanmar's effort to promote credibility of the upcoming poll, according to Thai Foreign Minister Surapong Tovichakchaikul.

Mr Surapong said in a statement issued Wednesday that Thailand welcomes the Myanmar invitation for international representatives from the ASEAN Secretariat, ASEAN member states, together with the accompanying media, as well as representatives from all diplomatic missions, United Nations and international organisations in Yangon to observe the April 1 by-election.

Opposition leader and Nobel laureate Aung San Suu Kyi is contesting the by-election which will be held in 48 constituencies.

He said the move was considered an effort by the Myanmar government to demonstrate to the international community its strong commitment to promoting the transparency, accountability, and credibility of the by-elections.

The minister said Thailand was very encouraged by the on-going progress in Myanmar’s democratisation and national reconciliation process and thus reaffirmed Thailand’s strong support for Myanmar’s reforms and development efforts for the benefit of the Myanmar people and the successful future of Myanmar.

Mr Surapong said he encouraged the international community to provide more support in concrete terms to Myanmar’s efforts in its democratisation and the national reconciliation process as well as its economic reforms.

The international media reported that Myanmar President Thein Sein confirmed on Wednesday that his country will allow some foreign election observers to monitor next month's polls, considered a crucial test of reforms in the country.

Cambodian government spokesman Khieu Kanharith was quoted as saying that Mr Thein Sein, now making an official visit to Cambodia, said each of the 10 member countries of the Association of Southeast Asian Nations would be allowed to send two official delegates to watch the April 1 by-elections. (MCOT online news)

http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/344791.html
 
#899 ·
พม่าไม่รอ 1 เม.ย.ลอยตัวค่าเงินทันที จ๊าตพุ่งจู๊ด 800/ดอลลาร์

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 มีนาคม 2555 12:18 น.


“นับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.เป็นต้นไป ค่าเงินสกุลจ๊าตของพม่าจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของอุปสงค์ และอุปทานในตลาดการเงินระหว่างประเทศ” ส่วนหนึ่งของประกาศที่รายงานอยู่ในหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ และธนาคารแห่งชาติพม่าจะเป็นผู้จัดการกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

พม่ามีระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินที่ซับซ้อนมาก ทั้งอัตราแลกเปลี่ยนแบบทางการ กึ่งทางการ และไม่เป็นทางการ ซึ่งรัฐบาลกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการที่ประมาณ 6 จ๊าต ต่อดอลลาร์ ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดมืดอยู่ที่ 800 จ๊าต ต่อดอลลาร์

รายงานระบุว่า อัตราแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการจะถูกแทนที่ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดโดยตลาดในขั้นแรก เพื่อรวมอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายให้เป็นหน่วยเดียว ขณะเดียวกัน ก็จะให้พื้นที่กับธนาคารแห่งชาติสามารถจัดการกับค่าเงินได้

ในปี 2554 รัฐบาลพม่าได้เชิญคณะผู้แทนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เยือนประเทศเพื่อขอคำแนะนำในการปฏิรูปตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราสากลและการรวมอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายของประเทศให้เป็นหน่วยเดียว

http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9550000039252
 
#900 ·
พม่าเปิดตัวเลขรวย น้ำมันดิบ 3,200 ล้านบาเรลล์ ก๊าซ 11.8 ล้านล้าน ลบฟ.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 มีนาคม 2555 16:51 น.


เอเอฟพี - พม่าจัดการประชุมในวันนี้ (28 มี.ค.) ที่มีเป้าหมายดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้าลงทุนในภาคส่วนทรัพยากรน้ำมันและก๊าซขนาดใหญ่ของประเทศ ในขณะที่การปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ เพิ่มความหวังให้กับนักลงทุนว่ามาตรการคว่ำบาตรจะถูกยกเลิกลงในที่สุด

ศูนย์เพื่อการจัดการด้านเทคโนโลยี ที่เป็นผู้จัดงานร่วมกันกับกระทรวงพลังงาน ระบุว่าการประชุมที่จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วันนี้จะเสนอทิศทางที่ชัดเจนและมุมมองต่อโอกาสการลงทุนในภาคส่วนน้ำมันและก๊าซของพม่า

เว็บไซต์ของศูนย์ฯ ระบุว่า พม่ามีน้ำมันดิบสำรองอยู่ราว 3,200 ล้านบาเรลล์ และก๊าซธรรมชาติสำรองที่ 11.8 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และในเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา พม่าได้จัดสรรแหล่งน้ำมันและก๊าซบนบก 10 หลุม ให้กับ 8 บริษัท และพม่ากำลังมองหาโอกาสที่จะจัดประมูลแหล่งน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งอีก 9 หลุม

ทรัพยากรด้านพลังงานของพม่าเหล่านี้ได้ดึงดูดการลงทุนจากจีนและอินเดียเป็นจำนวนมากอยู่ก่อนแล้ว แต่การคว่ำบาตรของสหรัฐและยุโรปยังเป็นอุปสรรคต่อบริษัทจากชาติตะวันตกที่ต้องการเข้าลงทุนในพม่า

"ขณะที่รอคอยให้มีการยกเลิกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ บรรดาบริษัทต่างชาติกำลังวางแผนและเตรียมพร้อมที่จะเข้ามามีส่วนในข้อตกลงน้ำมันและก๊าซของพม่า" ศูนย์เพื่อการจัดการด้านเทคโนโลยี ระบุ

อย่างไรก็ตาม องค์กรเฝ้าระวังน้ำมันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เป็นตัวแทนของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการน้ำมันและก๊าซ เตือนว่า การลงทุนที่เพิ่มขึ้นในภาคส่วนน้ำมันและก๊าซของพม่าจะสร้างผลเสียต่อประเทศมากกว่าผลดี แม้ว่าพม่าจะมีรายได้จากการขายพลังงานในช่วงปีงบประมาณ 2554-2555 ได้เกือบ 3,000 ล้านดอลลาร์

คลีเมนเต้ บาติสต้า ผู้ประสานงานองค์กรเฝ้าระวังระบุในแถลงว่า การลงทุนในภาคส่วนน้ำมันและก๊าซของพม่าจะไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนชาวพม่า หรือต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน ตราบเท่าที่พม่ายังอยู่ใต้ระบอบทหารและยังไม่เป็นประชาธิปไตย พม่าจะไม่มีความโปร่งใสในการตรวจสอบอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซของประเทศ.

http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9550000039409
 
#901 ·
อิตาเลียนไทยรุกพัฒนาทวาย โรงไฟฟ้า1หมื่นเมกะวัตต์ ครม.ไฟเขียวพรบ.ร่วมทุน

เศรษฐกิจ 30 มีนาคม 2555 - 00:00

อิตาเลียนไทยฯ เดินหน้าพัฒนา "ทวาย" เล็งตั้งโรงไฟฟ้าขนาด 1 หมื่นเมกะวัตต์ ก่อสร้างปลายปีนี้ คาดได้ข้อสรุปผู้ร่วมทุนในอีก 6 เดือน ญี่ปุ่นเต็งได้เป็นพันธมิตร เร่งเจรจากลุ่มทุนโรงกลั่น โรงถลุงเหล็ก โรงปุ๋ยซื้อขายที่ดิน

นายเปรมชัย กรรณสูตร ประธานบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเม้นท์ (ITD) เปิดเผยว่า บริษัทได้ข้อสรุปโครงการผลิตไฟฟ้าในโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายในสหภาพพม่า ว่าจะใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในช่วง 5 ปีแรก จากนั้นจะใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง อย่างไรก็ตาม คาดว่าโครงการผลิตไฟฟ้าอาจจะขยายกำลังการผลิตไปถึง 1 หมื่นเมกะวัตต์ จากเดิมจะมีกำลังการผลิต 4 พันเมกะวัตต์ ทั้งนี้ จะเริ่มก่อสร้างในสิ้นปี 2555 และคาดว่าจะจ่ายไฟได้ในปี 2559

ส่วนความคืบหน้าการเจรจาหาผู้ร่วมลงทุนโรงไฟฟ้าในทวาย กำลังเจรจากับผู้สนใจเข้าร่วมทุนจำนวน 3 ราย คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งสุดท้ายจะต้องเลือกเพียงแค่รายเดียว แต่ยอมรับว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความชำนาญในเรื่องของเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดมากที่สุด และตอนนี้เริ่มทำทีโออาร์แล้ว คาดว่าจะได้ข้อสรุปในอีก 6 เดือน

ล่าสุด ได้มีการเจรจากับนักลงทุนที่สนใจเข้ามาซื้อที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมทวาย ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 1.5 แสนไร่ เพื่อตั้งโรงกลั่นน้ำมัน โรงถลุงเหล็ก โรงปุ๋ย รวมทั้งผู้ที่สนใจเข้ามาถือหุ้นในท่าเรือเรียบร้อยแล้ว

โดยส่วนของโรงกลั่นน้ำมัน ได้เจรจากับบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่จากตะวันออกกลาง เพื่อเข้ามาก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันบนพื้นที่ 2.5 แสนไร่ กำลังการผลิต 3 แสนบาร์เรลต่อวัน สำหรับโรงถลุงเหล็ก บริษัทได้เจรจาขายที่ดินให้กับบริษัทผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่จากญี่ปุ่น โดยสนใจที่จะเข้ามาก่อสร้างโรงงานในพื้นที่ 1.25 หมื่นไร่ มีกำลังการผลิต 10 ล้านตันต่อปี คาดว่าจะสรุปได้ภายในปีนี้ ส่วนโรงงานผลิตปุ๋ย จะเป็นกลุ่มนักลงทุนจากยุโรป กำลังการผลิต 4 ล้านตันต่อปี

ขณะที่การก่อสร้างท่าเรือ ขณะนี้มี บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) และกลุ่มนักลงทุนโรงถลุงเหล็ก สนใจจะร่วมทุนด้วย เพราะเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากท่าเรือโดยตรง โดยท่าเรือมีความสามารถในการรองรับการขนส่งทางเรือขนาด 2 แสนเดทเวตตัน การก่อสร้างท่าเรือจะใช้งบประมาณ 2.5 พันล้านเหรียญ

สำหรับเงินลงทุนทั้งหมดในการก่อสร้างนิคมฯ ทวาย บนพื้นที่ 1.5 แสนไร่ คาดว่าจะใช้เงินงบประมาณ 1.5 แสนล้านบาท บริหารจัดการโดยบริษัท ทวาย ดีเวลลอปเมนท์ ซึ่งมี ITD ถือหุ้น 75% ส่วนอีก 25% กระจายให้กับกลุ่มนักลงทุนท้องถิ่น

http://www.thaipost.net/news/300312/54734
 
#902 ·
NESDB to submit Dawei proposals

THE NATION March 30, 2012 1:00 am

The Thai and Burmese governments have a lot of work to do to facilitate investment in Burma's Dawei special economic zone, including the construction of a highway linking Thailand's Eastern Seaboard to Dawei, Arkhom Termpittayapaisith, secretary-general of the National Economic and Social Development Board, said yesterday.

He said the NESDB would soon propose many measures related to the deep-sea port and industrial park in Dawei to the Cabinet for consideration.

In the short run, the two governments need to facilitate trade at the Baan Namphuron crossing and then establish a permanent checkpoint there, Arkhom said at a conference.

He said the NESDB was studying the proposed highway, which would be about 300 kilometres long.

Thailand needs to find another port because of the congestion at the port in Singapore, he said, adding that Dawei would serve as a western gate for Thai exports to Europe.

Dawei would also accommodate key clusters of industries, such as steel, auto parts and electronics, he said.

"It may take another 10 or 15 years to complete the development of Dawei, which was begun five years ago," Arkhom said.

Development of the deep-sea port is expected to be completed in 2015, while power generation, water works and the industrial park will be completed in later phases, he said.

Another key issue facing the Burmese economy is the exchange rate, Arkhom said.

He urged the two governments to hold further discussions on investment protection, take steps to harmonise their tax systems - such as through a double-taxation agreement - and fully demarcate the border to prevent disputes.

Asean countries - in particular the Lower Mekong Subregion - have committed to creating road and rail links with Dawei. The Chinese government has also expressed interest in using the Dawei seaport in the future.

Dawei Development Co, a subsidiary of the Italthai Group, needs of lot of funding to develop the project, and must have a clear plan spelling out where the funding will come from, Arkhom said.

In the long run, Thailand has to think about how to develop Kanchanaburi province, next-door to Dawei, he said.

Apirath Vieanravi, a former Thai ambassador to Burma, expressed confidence in that country's political stability. "Burma is unlikely to reverse its openness policy," he said.

He is worried, however, about the continuity of democratisation in Burma after President Thein Sein leaves office.

"Thein Sein, a former army general, is a man who can compromise with other parties and who does what he says he will do," Apirath said.

Myo Thet, secretary-general of the Union of Myanmar Federation of Chambers of Commerce and Industry, said Thai investment in Burma was second only to China's. He said food, palm-oil plantations and supporting industries had good potential for Thai investment.

At a separate event, Internet provider True International Gateway, owned by True Corp, announced that it would invest about Bt50 million to create a fibre-optic link with Burma.

Construction is expected to be complete by the middle of this year, said the executive product manager for business development, Rungkiet Kamondetdacha.

The company already has fibre-optic links with Laos, Cambodia and Vietnam.

True International Gateway provides data and Internet gateway services for both domestic and international markets. It targets revenue of about Bt1 billion this year, up from about Bt800 million last year.

http://www.nationmultimedia.com/business/NESDB-to-submit-Dawei-proposals-30179028.html
 
This is an older thread, you may not receive a response, and could be reviving an old thread. Please consider creating a new thread.
Top