SkyscraperCity Forum banner

Nakhon Phanom | The Mekong Province

1M views 4K replies 224 participants last post by  wpreecha 
#1 · (Edited)
ภาพลานกันเกรา หนึ่งในสวนสาธารณะ เขื่อนหน้าเมืองนครพนม ริมฝั่งแม่น้ำโขงครับ
ถ่ายเมื่อ 19/03/51

 
See less See more
1
#456 ·
ความก้าวหน้าการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 3 ประจำเดือนกรกฎาคม 2553

ผลงานประจำเดือน
2.94%
ผลงานรวม
50.19%
แผนงานประจำเดือน
4.46%
แผนงานรวม
36.56%
เร็ว / ช้า กว่าแผน
13.63%


ความก้าวหน้าของโครงการฯ

- งาน Temporary Jetty ในแม่น้ำโขง ฝั่งไทย และ ส.ป.ป.ลาว บริษัทฯ ทำการรื้อถอนทั้งสองฝั่งแล้วเสร็จ
- งาน Pier Head Segment สะพานในแม่น้ำ (Main Bridge) เทคอนกรีตครั้งสุดท้ายเมื่อ 18 ก.ค. 53 ทำงานแล้วเสร็จ 100% (ไทย 2 ส.ป.ป.ลาว 2 รวม 4 ตับ)

:banana::banana::banana:

ใกล้แล้วครับ... เกินครึ่งแล้วๆๆๆๆๆ
กลับบ้านไปวันแม่ เดี๋ยวจะไปถ่ายรูปมาให้ชมกันครับ
 
#458 ·


พระธาตุนคร วัดมหาธาตุ ริมโขง ครับ
 
#459 ·
จังหวัดนครพนมสวยงาม น่าอยู่จริงๆครับ อยู่พะเยา เคยไปอีสานครั้งเดียวกับทริปสั้นๆสมัยเรียนหนังสือ วางแผนว่าหนาวนี้จะพาครอบครัวไปบุกอีสานกัน นครพนม ก็น่าไปเยี่ยมชมจริงๆ อย่าลืมแวะมาแอ่วบอร์ด Phayao Phare Nan กันนะครับ:banana::banana::banana:
 
#461 ·
สะพานนครพนม-คำม่วนคืบหน้า53.52% เร็วกว่าแผนงาน
วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม 2010 เวลา 11:42 น. ทีมออนไลน์ ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ



นายอิทธิวัตร์กฤษณะวณิช นายช่างกรมทางหลวง หัวหน้าโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่3 (นครพนม-คำม่วน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินงานก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 ว่า โครงการนี้เริ่มทำสัญญาก่อสร้างเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม2552 บริษัท อิตาเลียนไทยฯ เป็นผู้รับจ้างก่อสร้าง ใช้งบประมาณก่อสร้างจากรัฐบาลไทยทั้งสิ้น 1,723 ล้านบาท มีระยะเวลาการก่อสร้างรวม 900 วัน สะพานจะแล้วเสร็จในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 จนถึงปัจจุบันใช้เวลาก่อสร้างรวม 15 เดือน มีความคืบหน้า53.52% เร็วกว่าแผนงาน 12.39% คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จก่อนกำหนดถึง 3 เดือน เมื่อสะพานแล้วเสร็จจะเป็นเส้นทางการคมนาคม ขนส่งด้านการค้าและการท่องเที่ยวเชื่อมโยงจากไทย ลาว เวียดนาม และภาคใต้ประเทศจีน ในระยะทางที่ใกล้ที่สุด
 
#462 ·
เทศบาลเมืองนครพนม ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นการจัดทำประชาพิจารณ์
กรณีก่อสร้างห้างสรรพสินค้า บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด


สวท. นครพนม :: 19/8/2553

นายนิวัต เจียวิริยะบุญญา นายกเทศมนตรีเมืองนครพนม เปิดเผยว่า บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) จะเข้ามาดำเนินการก่อสร้างห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์บริเวณริมถนนนิตโย ฝั่งขาออก ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครพนม ดังนั้นเทศบาลเมืองนครพนม จึงประกาศให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและจัดทำประชาพิจารณ์ ในวันที่27สิงหาคม 2553 เวลา14.00น.ณ ศาลาประชาคมยงใจยุทธ ในการพิจารณาอนุญาตให้เปิดดำเนินการ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ เทศบาลเมืองนครพนมจึงขอเชิญประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมจัดทำ
ประชาพิจารณ์โดยสามารถติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลเมืองนครพนม ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป.
 
#463 ·
ความก้าวหน้าการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 ประจำเดือนสิงหาคม 2553

31 ส.ค. 2010 10:14น.

ความก้าวหน้าการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 ประจำเดือนสิงหาคม 2553

ผลงานประจำเดือน 3.33%

ผลงานรวม 53.52%

แผนงานประจำเดือน 4.57%

แผนงานรวม 41.13%

เร็ว / ช้า กว่าแผน 12.39%
 
#464 ·


จังหวัดนครพนม กำหนดจัดงานประเพณีไหลเรือไฟนครพนม ปี 2553 ณ บริเวณริมแม่น้ำโขงและหน้าตลาดอินโดจีน อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ระหว่างวันที่ 16-24 ตุลาคม 2553

ความเป็นมา

ประเพณีไหลเรือไฟเป็นประเพณีสำคัญที่ชาวอีสานสืบทอดปฏิบัติใน เทศกาลออกพรรษาทำกันในวันขึ้น 15 คํ่า หรือ แรม 1 คํ่า เดือน 11 ตามแม่นํ้าลำคลอง "เรือไฟ"หรือภาษาถิ่นเรียกว่า "เรือไฟ"นี้เป็นเรือที่ทำด้วยต้นกล้วย ท่อนกล้วยหรือไม้ไผ่ต่อเป็นลำเรือยาวประมาณ 5-6 วา ข้างในบรรจุขนม ข้าวต้มผัดหรือสี่ง ที่ต้องการบริจาคทาน ข้างนอกเรือมีดอกไม้ ธูปเทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างก่อน จะปล่อยเรือไฟซึ่งเรียกว่า "การไหลเรือไฟ" หรือ "ปล่อยเฮือไฟ" พิธีและกิจกรรม ก่อนถึงวันงานไหลเรือไฟชาวคุ้ม วัดจะช่วยกันประดิษฐ์ตกแต่งเรือไฟด้วย ต้นกล้วยไม้ไผ่หรือวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีรูปร่างลักษณะ เหมือนเรือมีความยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร จะประดิษฐ์เป็นรูปหงส์ นาค ครุฑ หรือรูปอย่างใดก็ได้ที่คิดว่า สวยงาม มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เพื่อ ความสวยงามและเพื่อให้การจุดประทีปโคมไฟอยู่ได้ ทนทาน เมื่อถึงวันงานก็จะมีขบวนสนุกสนานสวย งามด้วย ตอนกลางคืนจะมีการไหลเรือไฟจะสุดอยู่ที่แม่น้ำโขงทางทิศใต้มีการทำพิธีกรรมทางศาสนา การ กล่าวคำบูชารอยพระพุทธบาท

มูลเหตุของการไหลเรือไฟ
ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธ บาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่นํ้านิมมทานที ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารพะรัตนตรัย และพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาคุณแม่โพสพความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาวิญญาณของบรรพบุรุษ ประเพณีไหลเรือไฟ หรือ "ไหลเฮือไฟ" ในภาษาอีสานเป็นประเพณีลอยกระทงตามแบบอีสานจะจัดในเทศกาลออกพรรษาของชาวจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงจะจัดขึ้นใน วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลก

หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงพระธรรมโปรด พระพุทธมารดาและเป็นความเชื่อว่าถ้าจัดพิธีนี้ขึ้นก็จะเป็นการแสดงความคารวะต่อพระยานาคที่สถิตอยู่ตามแม่น้ำใหญ่ให้คุ้มครองรักษาผู้สัญจรไปมาทางน้ำไม่ให้มีภัยอันตรายเกิดขึ้นโดยพิธีนี้จะจัดขึ้นในแม่น้ำใหญ่ๆ เช่น แม่น้ำมูลแม่น้ำชีในจังหวัดเลยและในแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงคาน เป็นต้น


"เรือไฟ" หรือ "เฮือไฟ" คือเรือที่ทำด้วยท่อนกล้วยและไม้ไผ่ตัวเรือยาวประมาณ20-30เมตร แล้วใช้ไม้ไผ่ซีกจัดทำโครง เป็นรูปเรือประดับด้วยไต้ หรือตะเกียงน้ำมันวางเรียงห่างกัน ประมาณ 1-2 คืบ ภายในเรือบรรจุไปด้วยดอกไม้ ธูปเทียน และขนม ข้าวต้ม ฝ้าย ไหมและเครื่องไทยธรรมต่างๆ อีกมากมายที่พุทธศาสนิกชนที่มีศรัทธาซื้อมาร่วมทำบุญ ครั้นพอตกค่ำบรรดาเจ้าของเรือจะจุดไต้ หรือตะเกียงให้สว่าง แล้วนำเรือของตนออกไปกลางแม่น้ำแล้วปล่อยให้เรือไหลไปตามแม่น้ำคล้ายกับการลอยกระทง และมีเรือของหนุ่มๆ สาวๆ ที่พากันตีกลองร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานในเวลานั้นท้องน้ำก็จะสว่างไสวไปด้วยไฟระยิบระยับสร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้ชม ตามริมสองฝั่งแม่น้ำเป็นอย่างมาก
 
#465 ·


การแข่งขันเรือยาว ชิงแชมป์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชิงโลห์ำพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง จังหวัดนครพนม
 
#466 ·
สนุก เป็นชื่อกลุ่มจังหวัด [cluster]
ของกระทรวงมหาดไทย ประกอบไปด้วย
จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร
โดยนำพยัญชนะและสระของแต่ละจังหวัด
มาประกอบเป็นคำ สนุก คือ

ส.เสือ จาก สกลนคร น.หนู จาก นครพนม สระ อุ และ ก.ไก่ จาก มุกดาหาร

----------------------------------------------------------



สกลนคร

พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาร แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม

สกลนคร เป็นเมืองพุทธศาสน์ พระธาตุห้าแห่ง แหล่งอารยธรรมสามพันปี ตามตำนานเล่าว่า เ มืองหนองหานหลวงในอดีต หรือสกลนครในปัจจุบันนั้น สร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ในยุคที่ขอมมีอำนาจในดินแดนนี้ ต่อมาเมื่ออิทธิพลขอมเสื่อมลง เมืองหนองหานหลวงตกไปอยู่ในความปกครองของอาณาจักรล้านช้าง เรียกชื่อเมืองว่า “ เมืองเชียงใหม่หนองหาน ” และเมื่อมาอยู่ในความปกครองของไทย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ เมืองสกลทวาปี ” ต่อมา ในปี พ . ศ . ๒๓๗๓ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เปลี่ยนชื่อจากเมืองสกลทวาปี เป็น “ เมืองสกลนคร ” ในปัจจุบัน

จังหวัด สกลนคร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๖๔๗ กิโลเมตร มี พื้น ที่ ทั้งสิ้น ประมาณ ๙ , ๖๐๕ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๘ อำเภอ คือ อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอกุดบาก อำเภอพรรณานิคม อำเภอวาริชภูมิ อำเภอส่องดาว อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวานรนิวาส อำเภออากาศอำนวย อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอคำตากล้า อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอเต่างอย อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอโพนนาแก้ว และอำเภอภูพาน

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดหนองคาย จังหวัดบึงกาฬ และจังหวัดนครพนม

ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมุกดาหาร

ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดนครพนม

ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดกาฬสินธุ์

-----------------------------------------------

นครพนม

พระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย เรณูภูไท เรือไฟโสภา งามตาฝั่งโขง

๐ นครพนม เมืองนครแห่งอีสาน ดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขงแถบนี้ เดิมทีเป็นที่ตั้งของอาณาจักรศรีโคตรบูร ตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของลำน้ำโขง(ฝั่งลาว) บริเวณทางใต้ปากเซบั้งไฟ ตรงข้ามกับพระธาตุพนมในปัจจุบัน ตามประวัติเล่ากันว่าเมื่อพญานันทเสนผู้ครองศรีโคตรบูรสวรรคต เสนาอำมาตย์และประชาชนต่างก็เห็นว่าบ้านเมืองเกิดเภทภัยหลายครั้ง ควรที่จะย้ายไปสร้างเมืองใหม่อยู่ตรงข้ามกัน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีป่าไม้รวกขึ้นอยู่เป็นดงจึงได้เรียกชื่อเมืองใหม่นี้ว่า “มรุกขนคร” หมายถึงเมืองที่อยู่ในดงไม้รวก

มรุกขนครในสมัยพญาสุมิตรธรรมเมื่อ พ.ศ. ๕๐๐ นั้นรุ่งเรืองมาก มีเมืองขึ้นมากมายและมีการบูรณะพระธาตุพนมขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย โดยการก่อพระลานอูบมุงชั้นที่ ๑ และชั้นที่ ๒ แล้วสร้างกำแแพงล้อมรอบ มีงานสมโภชใหญ่โต หลังจากพญา สุมิตรธรรมแล้วก็มีผู้ครองนครต่อมาอีก ๒ พระองค์ แต่ก็เกิดมีเหตุอาเพศแก่อาณาจักรศรีโคตรบูรจนกลายเป็นเมืองร้าง กระทั่งถึง พ.ศ. ๑๘๐๐ เจ้าศรีโคตรบูรได้สร้างเมืองมรุกขนครขึ้นใหม่ใต้เมืองท่าแขก บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ในพ.ศ. ๒๐๕๗ ผู้ครองเมืองมรุกขนครคือพระเจ้านครหลวงพิชิตทศพิศ ราชธานีศรีโคตรบูรหลวง ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลายเป็น “เมืองศรีโคตรบูร”

ตรงตามชื่ออาณาจักรดั้งเดิม ในยุคสมัยนี้ยังได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมอีกด้วย ต่อมา พ.ศ. ๒๒๘๐ พระธรรมราชา เจ้าเมืองศรีโคตรบูรองค์สุดท้ายได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าขึ้นไปทางเหนือ แล้วให้ชื่อว่า “เมืองนคร” ซึ่งก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะมีการโยกย้ายอีกหลายครั้ง ดังเช่น พ.ศ.๒๓๒๑ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ได้มีการย้ายเมืองอีกครั้งไปตั้งที่บ้านหนองจันทร์ ห่างขึ้นไปทางทิศเหนือ ๕๒ กิโลเมตร จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๓๓ เมื่อผู้ครองเมืองนครถึงแก่พิราลัย เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยรัชกาลที่ ๑ พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “ นครพนม”

ชื่อนครพนมนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อนและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์จึงได้ใช้คำว่า “ นคร” ส่วนคำว่า “พนม” ก็มาจากพระธาตุพนมปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน บ้างก็ว่ามรุกขนครเดิมที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงตั้งอยู่ในบริเวณที่มีภูเขาสลับซับซ้อนจึงนำคำว่า “พนม” ซึ่งแปลว่าภูเขามาใช้ ส่วนคำว่า “นคร” ก็เป็นการดำรงชื่อเมืองไว้คือเมืองมรุกขนคร นครพนมจึงหมายถึง “ เมืองแห่งภูเขา” นั่นเอง

จังหวัดนครพนมมีพื้นที่ประมาณ ๕,๕๑๒.๖๖๘ ตารางกิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๗๔๐ กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๑ อำเภอ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองนครพนม ธาตุพนม นาแก ท่าอุเทน เรณูนคร บ้านแพง ปลาปาก ศรีสงคราม นาหว้า โพนสวรรค์ นาทม และกิ่งอำเภอวังยาง

๐ อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดบึงกาฬ

ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดมุกดาหาร

ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน

ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสกลนคร

-----------------------------------------------

มุกดาหาร

หอแก้วสูงเสียดฟ้า ภูผาเทิบแก่งกระเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน

มุกดาหาร เป็นจังหวัดที่ ๗๓ ของประเทศไทย มีประวัติความเป็นมาว่าในปลาย สมัยกรุงศรีอยุธยาทางฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงแขวงสะหวันนะเขต มีหมู่บ้านชุมชนใหญ่ชื่อบ้านหลวงโพนสิน ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณพระธาตุอิงฮัง แขวงสะหวันนะเขตในปัจจุบัน โดยมีเจ้าจันทรสุริยวงศ์ปกครอง มีบุตรชายชื่อเจ้ากินรี ซึ่งต่อมาได้ข้ามลำน้ำโขงมาฝั่งขวาที่บริเวณปากห้วยมุก และสร้างเมืองขึ้น ณ ที่นั้นในปี พ . ศ . ๒๓๑๐ แล้วเสร็จในปี พ . ศ . ๒๓๑๓ และตั้งชื่อเมืองว่า “ มุกดาหาร ” อันเกิดจากศุภนิมิตรที่พบเห็นในขณะที่กำลังสร้างเมือง ชาวเมืองทั่วไปเรียกมุกดาหารว่า เมืองมุก

ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เจ้ากินรีเป็นพระยาจันทรศรีสุราช อุปราชามัณฑาตุราช ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองคนแรกของเมืองมุกดาหาร เมื่อปี พ . ศ . ๒๓๒๑

เดิมเมืองมุกดาหารมีฐานะเป็นเมืองขึ้นการปกครองกับมณฑลอุดร ต่อมาเมื่อปี พ . ศ . ๒๔๕๐ มีการปรับปรุงการปกครองมณฑลอุดรเป็นจังหวัด และเมืองมุกดาหารจึงถูกยุบเป็นอำเภอเมืองมุกดาหาร ขึ้นการปกครองกับจังหวัดนครพนม จนกระทั่งปี พ . ศ . ๒๕๒๕ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหารขึ้นเป็นจังหวัดที่ ๗๓ ของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่ ๑๗ ของภาคอีสาน

จังหวัดมุกดาหารเป็นประตูด่านสำคัญสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน มีความสัมพันธ์ฉันท์บ้านพี่เมืองน้องกับแขวงสะหวันนะเขต สปป . ลาว มาช้านาน โดยมีแม่น้ำโขงซึ่งมีความยาวถึง ๗๐ กิโลเมตร เป็นเส้นกั้นพรมแดน และมีความโดดเด่นในด้านชนเผ่าพื้นเมืองต่าง ๆ ที่มีถึง ๘ เผ่าได้แก่ เผ่าไทยอีสาน ภูไท ไทยข่า กระโซ่ ไทยย้อ ไทยแสก ไทยกะเลิง และไทยกุลา และยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม มุกดาหารมีพื้นที่ประมาณ ๔ , ๓๓๙ . ๘๓๐ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ คือ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอคำชะอี อำเภอดอนตาล อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดงหลวง อำเภอหว้านใหญ่ และอำเภอหนองสูง

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสกลนคร และจังหวัดนครพนม

ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญ

และ จังหวัดร้อยเอ็ด

ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน

ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดร้อยเอ็ด

---------------------------------------------------

ขอขอบคุณ ข้อมูลดีๆ จาก www.tatsanuk.com ครับ
 
#469 ·
วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4244 ประชาชาติธุรกิจ


มันฝรั่งเลย์...บุกภาคอีสาน หนุนปลูกพืชเศรษฐกิจตัวใหม่

โดย สุดารัตน์ ภูตาไสย


"มัน ฝรั่ง" เป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกกันทั่วไปในภาคอีสาน ข้อดี คือให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง ลงทุนน้อย ดูแลรักษาง่าย อายุการเก็บเกี่ยวเพียง 90 วัน ปัจจุบันเริ่มมีการส่งเสริมให้เกษตรกรภาคอีสานปลูกเพื่อส่งเข้าโรงงานแปรรูป ให้เป็นขนมขบเคี้ยวอย่างกว้างขวาง เช่น จังหวัดสกลนคร นครพนม ชัยภูมิ เป็นต้น

"จาตุรันต์ สมิทธ์ภินันท์" สหกรณ์จังหวัดอุดรธานี บอกว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้จัดการฝึกอบรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการบริโภค และอุตสาหกรรมของกลุ่มจังหวัด 6.1 ปีงบประมาณ 2553 (จังหวัดอุดรธานี) โดยเชิญโบรกเกอร์ที่ประสานงานกับโรงงานผู้ผลิตมันฝรั่งมาให้ความรู้แก่ เกษตรกรกว่า 300 ราย

โบรกเกอร์ดังกล่าวมีโควตาพื้นที่ปลูก มันฝรั่งประมาณ 100 ไร่ ที่จะให้เกษตรกรในจังหวัดอุดรธานีปลูกหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว โดยบริษัทจะจัดทำ MOU รับซื้อคืนในราคาที่เป็นธรรมกับเกษตรกร แม้ว่าปัจจุบันจะยังมีจำนวนน้อย แต่คาดว่าจะมีเกษตรกรใน 1-2 อำเภอสนใจ ซึ่งมองว่ามันฝรั่งเป็นพืชที่ต้องการน้ำ ในพื้นที่เขตห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ชลประทานอยู่กว่า 92,000 ไร่ หากแนะนำให้ปลูกมันฝรั่งครอบคลุมได้ทั้งหมด อีกไม่นานบริษัทอาจจะมาตั้งโรงงานที่จังหวัดอุดรธานี

"สมัยที่ผมเป็น สหกรณ์จังหวัดนครพนม ก็มีการทำคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งระหว่างเกษตรกร โดยผ่านสถาบันสหกรณ์กับบริษัทเอกชน ในพื้นที่ 1 ไร่ หากเกษตรกรทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ภายใน 90 วัน ก็จะเหลือรายได้ 7,000-10,000 บาท/ไร่"

มันฝรั่งที่ปลูกในเมืองไทย วิจัยโดยกลุ่มบริษัทเลย์ ซึ่งปัจจุบันมี 1 สายพันธุ์ที่สามารถนำมาปลูกในภาคอีสานแล้วมีคุณค่าในตัวมันดีกว่าทางภาค เหนือ เนื่องจากสภาพดินเอื้ออำนวย ซึ่งจะนำมาผลิตมันฝรั่งกล่อง โดยเฉพาะสูตร Original เมื่อผลิตแล้วคุณภาพดีกว่าทางภาคเหนือ

นอก จากมันฝรั่งแล้ว ขณะนี้จังหวัดอุดรธานียังได้รับการคัดเลือกจากองค์การสวนยางมาสร้างโรงงาน ยางแท่ง มีกำลังการผลิตปีละประมาณ 20,000 ตัน ในวันที่ 16 กันยายนนี้ สหกรณ์จังหวัดอุดรธานีจะจัดสัมมนา โดยกำหนดทิศทางใช้สถาบันสหกรณ์เป็นจุดรวบรวมยาง เพื่อส่งผลผลิตให้โรงงานยางแท่งที่อำเภอวังสามหมอต่อไป

อย่างไรก็ ตาม โบรกเกอร์ในภาคอีสานระบุว่า ขณะนี้มีกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ได้ทำ MOU กับเอกชนเพื่อปลูกมันฝรั่ง อาทิ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งสกลนคร โดยการสนับสนุนของบริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตมันฝรั่งทอดกรอบเลย์ โดยทดลองปลูกมันฝรั่งในเขตชลประทานลุ่มน้ำอูน ในพื้นที่ อ.พังโคน, อ.พรรณานิคม, อ.เมือง มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ซึ่งการทดลองได้ผลเป็นอย่างดี ล่าสุดในปี 2551 ได้ขยายพื้นที่การปลูกเพิ่มขึ้นอีกมากในหลายอำเภอของจังหวัดสกลนคร

ฤดู กาลปลูกมันฝรั่งในพื้นที่จังหวัดสกลนคร เริ่มต้นตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน-กลางเดือนธันวาคมของทุกปี ปลูกขึ้นได้ดีในพื้นที่นาที่เป็นดินทราย หรือดินร่วน มีระบบน้ำหล่อเลี้ยงพอสมควร สายพันธุ์ที่ปลูก คือแอตแลนด์ติส มีลักษณะลูกกลม ในขณะที่ในตลาดทั่ว ๆ ไป จะมีลักษณะลูกรี หรือยาว ไม่เหมาะที่จะนำมาทำมันฝรั่งทอดกรอบ

จากสถิติการปลูกในพื้นที่บ้าน แร่ อ.พังโคน ในปีการผลิต 2551 ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 2.9 ตัน/ไร่ สามารถสร้างรายได้สุทธิให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เฉลี่ยที่ 8,000-15,000 บาท/ไร่ สร้าง รายได้ให้เกษตรกรบ้านแร่ เป็นเงินกว่า 1.1 ล้านบาท โดยบริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด จะเป็นผู้เซ็นสัญญารับซื้อผลผลิตของเกษตรกรทั้งหมดในราคาประกันกิโลกรัมละ 9 บาท

หน้า 24

 
#470 ·
คต. แจงผลการเยือนเวียดนามและจีน

ThaiPR.net -- อังคารที่ 7 กันยายน 2553 15:19:58 น.

นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศได้จัดคณะผู้แทนการค้าการลงทุนภาครัฐ และเอกชน เดินทางไปเยือนเวียดนามและจีนตอนใต้ระหว่างวันที่ 12 — 18 สิงหาคม 2553 ประกอบด้วย พาณิชย์จังหวัดนครพนม สกลนคร ผู้ประกอบการในส่วนกลาง และผู้ประกอบการในจังหวัดนครพนม สกลนคร อุดรธานี และมุกดาหาร รวม 23 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ และหาลู่ทางในการขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน

คณะผู้แทนการค้าฯ ได้พบปะเจรจาหารือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของเวียดนามและจีน ได้แก่ หอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม ณ กรุงฮานอย กรมพาณิชย์เขตปกครองตนเองกว่างซี และสภาส่งเสริมธุรกิจการค้าแห่งชาติสาขาเขตปกครองตนเองกว่างซี ณ เมืองหนานหนิง เกี่ยวกับความร่วมมือในการขยายการค้าการลงทุนไทยกับทั้ง 2 ประเทศให้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการขยายการค้าผ่านแดนระหว่างไทยและเวียดนาม ตามเส้นทางถนนสาย R12 จากจังหวัดนครพนม ผ่านประเทศลาว(เมืองท่าแขก) ทางถนนหมายเลข 12 ไปยังเวียดนาม(ผ่านด่านจาลอ—เมืองวินห์—ฮานอย) รวมทั้งได้จัดให้มีการพบปะเจรจาธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างผู้ประกอบการของไทยกับเวียดนาม และไทยกับจีน เกี่ยวกับธุรกิจระบบก่อสร้างและติดตั้งสาธารณูปโภคในอาคาร สินค้าวัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุปโภคบริโภค และผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เป็นต้น

นอกจากนี้ คณะผู้แทนการค้าฯ ยังได้ศึกษาสภาพเส้นทางการขนส่งสินค้าระหว่างจังหวัดนครพนม ผ่านประเทศลาว (เมืองท่าแขก) ทางถนนหมายเลข 12 ไปยังเวียดนาม(ผ่านด่านจาลอ —เมืองวินห์ — ฮานอย) และเข้าสู่จีนตอนใต้ (เมืองหนานหนิง) ซึ่งเป็นเส้นทางเศรษฐกิจการค้าสายใหม่ของไทยไปยังเวียดนามตอนเหนือและจีนตอนใต้ พบว่า เส้นทางดังกล่าวมีสภาพเป็นถนนลาดยางสองช่องทางจราจร ตั้งแต่เมืองท่าแข็กของ สปป.ลาว ไปจนถึงกรุงฮานอย และเมืองหลั่งเซิน(ชายแดนเวียดนาม/จีน) และถนนทางด่วนจากเมืองหลั่งเซินไปยังเมืองหนาน หนิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเขตปกครองตนเองกว่างซี่ ซึ่งหากไทยสามารถขยายการค้าผ่านแดนของไทยไปยังเวียดนามและจีน โดยเส้นทางการขนส่งดังกล่าวจะช่วยให้สามารถลดระยะเวลาการขนส่งได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 จังหวัดนครพนมแล้วเสร็จ

รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า คณะผู้แทนการค้าฯได้ศึกษาดูงานด้าน โลจิสติกส์ที่ Guangxi Pingxiang Wantong International Logistics Park ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่จีนจัดตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) และศูนย์กลางทางด้านโลจิสติกส์ในการนำเข้าส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ด้านที่ติดกับเวียดนามไปยังประเทศอาเซียนอื่น ๆ ซึ่งสินค้าที่ผ่านด่านผิงเสียจะต้องมาดำเนินพิธีการศุลกากร ที่ Wantong International Logistics Park รวมทั้งได้เข้าชมศูนย์กระจายสินค้าเกษตรไฮเพอเรียน (Hyperion) แหล่งรวบรวมและกระจายสินค้าเกษตรไปยังจังหวัดต่าง ๆ ของเขตกว่างซี และศูนย์ธุรกิจไทย-จีนประจำนครหนานหนิง ซึ่งเป็นสถานที่แสดงสินค้าไทยให้ผู้ประกอบการจีนที่สนใจเข้าชม รวมทั้งให้บริการด้านธุรกิจแก่นักธุรกิจไทย-จีน เช่น ห้องประชุม/สัมมนา การนัดหมายธุรกิจ เป็นต้น

การเยือนเวียดนาม (กรุงฮานอย) และจีน (เมืองหนานหนิง)ในครั้งนี้ จึงนับได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และจะมีการสานสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของทั้ง 3 ประเทศกันต่อไป
 
#471 ·
ความก้าวหน้าการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 ประจำเดือนกันยายน 2553

24 ก.ย. 2010 10:51น.

ผลงานประจำเดือน 3.88%
ผลงานรวม 57.40%
แผนงานประจำเดือน 5.44%
แผนงานรวม 46.57%
เร็ว / ช้า กว่าแผน 10.83%



ความก้าวหน้าของโครงการฯ

- เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2553 เวลา 18.00 น. โครงการฯ ได้จัดทำประชาพิจารณ์ครั้งแรก โดยเชิญประชาชนโดยรอบจุดก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเข้าร่วมประชุม ณ วัดจอมพล บ้านห้อม หมู่ที่ 11 ต.อาจสามารถ อ.เมือง จ.นครพนม ผลสรุปส่วนใหญ่พึงพอใจ

- ระดับน้ำในแม่น้ำโขงในช่วงเดือนนี้ระดับน้ำสูงสุดจากหลังฐานรากในแม่น้ำประมาณ 3.47 เมตร
 
#472 ·
จะออกพรรษาแล้ว เขาเริ่มทำเรือไฟ กันหรือยัง

เห็นจากกบนอกกะลาแล้ว เรือไฟนครพนม ละเอียดมาก ไม่เหมือนที่อื่น

เหมือนกับ เทียนพรรษาอุบล ที่กว่าจะออกมาเป็นชิ้นงานสวย ๆ นับถือคนทำ และความร่วมแรงร่วมใจกัน ของแต่ละคุ้มจริง ๆ

ผมว่ายากกว่า การทำบั้งไฟ บ้านผมอีก
 
#473 ·
^^ผมว่าพอๆกันเเหละครับ...ยิ่งบั้งไฟยิ่งต้องละเอียดเพราะต้องคำนึงถึงชีวิตคนด้วย:lol::lol::lol::lol: เข้าพรรษาอยู่อุบลฯแล้วออกพรรษาต้องมาดูไหลเรือไฟนครพนมเพราะไม่มีที่ไหนใหญ่เท่านี้อีกแล้ว:cheers::cheers:
 
#474 ·
ผมแปลกใจอยู่อย่างหนึ่ง ยโส เคยเป็นอำเภอหนึ่งของ อุบล แล้วทำไม งานแห่เทียน ยโส ถึงได้ดูจืด ๆ ไม่เด่นเลย

อย่างงี้ เรียกว่า ไม่ได้เชื้อแม่มา หรือเปล่า อีกนัยหนึ่ง จะเป็นที่ ต้องการฉีกแนว ไปทำบุญบั้งไฟ เพื่อเลี่ยงไม่ให้แย่งซีน กับเมืองแม่

....................................

น้องโต้ด พักนี้ไม่เห็นมีภาพอัพเดท สะพานข้ามโขง เลย

ส่วนตัวคิดว่า สะพานข้ามโขงที่ นครพนม สวยมาก ชอบแบบนี้ที่สุด
 
#475 ·
ผมอยู่ขอนแก่นครับ พี่ครับ...

ไม่ได้กลับบ้านเลย.... > <

จะได้กลับก็คง ไหลเรือไฟ... แล้วก็คงจะมีภาพมาให้ชมกัน... ครับ
 
#476 ·
พิพิธภัณฑ์จวนผู้ว่าฯ นครพนมหลังเก่า...ไม่มีเสา!!

พิพิธภัณฑ์จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม (หลังเก่า) นั้น อายุของตัวอาคารยืนนานมากว่า 94 ปี ซึ่งหลังจากการบูรณะ ทางจังหวัดนครพนมจึงแปรเปลี่ยนจากตึกที่พักอาศัย กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ไว้สำหรับจัดแสดงนิทรรศการ เพื่อให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ตลอดจนนักท่องเที่ยว ใช้เป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้ในด้านศิลปวัฒธรรมและประวัติศาสตร์เมืองนครพนม



อาคารหลังนี้สร้างสรรค์โดยกูบา เจริญ ช่างชาวญวณ ในสไตล์โคโลเนียล (Colonial) ซึ่งได้รับอิทธิพลของอาณานิคมในยุคสงครามอินโดจีนผสานตะวันตกให้ผสมกับตะวันออกอย่างลงตัว ทั้งประตูโค้งครึ่งวงกลม หน้าต่างโค้ง เหนือประตูหน้าต่างเป็นลายปูนปั้นหรือแกะสลัก หลังคาไม่ลาดชันนัก อาคารมีเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่โดยรอบตัวอาคาร



แต่เอ๊ะ!!...แล้วส่วนไหนที่ไม่มีเสา??

ถ้าใครได้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ให้สังเกตดีๆ จะพบว่า ช่วงกลางตัวอาคารหลังนี้จะไม่มีเสาเหมือนอาคารทั่วไป แต่จะใช้ผนังที่ก่อสร้างโดยอิฐแดงก้อนใหญ่เป็นโครงสร้างหลักเพื่อรับน้ำหนักของตัวอาคาร สถาปัตยกรรมเก่าแก่หลังนี้จึงมีผนังกั้นห้องแต่ละห้องอย่างเป็นสัดส่วน แต่ไม่มีเสากลางบ้านให้รกหูรกตาอย่างที่เห็นครับ

นอกจากพิพิธภัณฑ์จวนผู้ว่าฯ หลังนี้แล้ว เรายังสามารถพบเห็นสถาปัตยกรรมที่ไม่มีเสาในลักษณะนี้ได้บ้างครับ ทั้งหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครพนม พิพิธภัณฑ์สยามที่กรุงเทพมหานคร และพระที่นั่งอนันตสมาคมครับ







พิพิธภัณฑ์จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม (หลังเก่า) เดิมเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพระยาอดุลยเดชสยามเมศวรภัคดีพิริยพาหะ (อุ้ย นาครทรรพ) เทศาภิบาลมณฑลอุดรธานี ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมคนแรก ก่อสร้างสร้างระหว่างปี พ.ศ.2455-2457 ต่อมาพระยาอดุลยเดชฯ ได้ขายอาคารหลังนี้ให้กระทรวงมหาดไทย เพื่อใช้เป็นที่พักของผู้ว่าฯ เมื่อ พ.ศ.2470 ในราคา 2 หมื่นบาท และในระหว่างวันที่ 12-13 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 ในหลวงและพระราชินีเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางจังหวัดจึงจัดให้จวนแห่งนี้เป็นที่ประทับแรม ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเรียบร้อยแล้วครับ

-------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณสุภรา ปราบใหญ่ และคุณศุภลักษ์ ประทุมรัตน์ ภรรฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑ์จวนผู้ว่าจังหวัดนครพนม (หลังเก่า)

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก Thaipost.net
 
#479 ·
นครพนม เปิดรับฟังความเห็น หลังบิ๊กซี เตรียมแต่งตัวลงพื้นที่

http://76.nationchannel.com/ วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม 2553

เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2553 เทศบาลเมืองนครพนมได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยการจัดทำประชาพิจารณ์ ต่อการอนุญาตให้เปิดดำเนินการห้าง บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ ซึ่งมีชาวบ้านที่สนใจเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นประมาณ 500 คน

โดยก่อนหน้านี้ห้างบิ๊กซีได้ขออนุญาตเปิดดำเนินการสาขาที่ 69ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม แต่เกิดการต่อต้านจากกลุ่มค้าปลีกในจังหวัดนครพนม เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากทุนที่หนากว่า

นายมงคล ตันสุวรรณ ประธานหอการค้าจังหวัดนครพนมเปิดเผยว่า ตนในฐานะตัวแทนผู้ประกอบการค้าปลีกในจังหวัดนครพนม อยากให้ทางการคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับคนในท้องที่บ้าง หากจะต้องสร้างจริง ๆ ก็ขอให้ย้ายออกไปตั้งนอกเขตเทศบาลก็จะเป็นการดี ซึ่งบรรยากาศในการทำประชาพิจารณ์ได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง และหลังจากสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นแล้วทางจังหวัดจะประกาศผลสรุปภายในเวลา 15 วัน
 
#480 ·


อัพเดทสะพาน ล่าสุด เท่าที่จะหาได้ครับ...
 
#481 ·
ก.เกษตรฯจับมือเอฟเอโอจัดวันอาหารโลกนครพนม

หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พุธที่ 6 ตุลาคม 2553 03:54:35 น.ง

นายศุภชัย โพธิ์สุ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯร่วมกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟ เอ โอ) ประจำภูมิภาคเอเซียแห่งแปซิฟิก และจ.นครพนม จัดงานวันอาหารโลกประจำปี 2553 ระหว่างวันที่ 17-24 ตุลาคม ที่บริเวณศูนย์ราชการ จ.นครพนม เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหารต่อมนุษย์ กระตุ้นการพัฒนาทางด้านอาหารและการเกษตรเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร และร่วมกันแก้ไขปัญหาความอดหยากหิวโหยของประชาคมโลก เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนชุมชนในชนบทในการพัฒนาระดับคุณภาพชีวิต

นายศุภชัย กล่าวต่อว่า เอฟ เอ โอ เป็นองค์กรที่มุ่งยกระดับการบริโภคอาหารและมาตรฐานการครองชีพของประชากรในโลกให้ดีขึ้น โดยจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2488 และได้กำหนดให้วันที่ 16 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก โดยได้เชิญชวนให้ประเทศสมาชิก 191 ประเทศทั่วโลก ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลอง เพื่อให้สาธารณชนได้ตระหนักถึงปัญหาความอดหยากหิวโหยในโลก ซึ่งปัจจุบันมีประชากรโลกที่อดหยากหิวโหยประมาณ 1,000 ล้านคน

สำหรับกิจกรรมในงานวันอาหารโลกที่ จ.นครพนม ประกอบด้วย การจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับข้าว พืชผัก ผลไม้ ปศุสัตว์ ประมง และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กิจกรรมการแข่งขันจัดผักพื้นบ้านอาหารชุมชน การแข่งขันประกอบอาหารเมนูถิ่นนครพนม และเมนูไข่ไก่ใส่ใจคุณภาพ รวมทั้งการประชุมสัมมนาหัวข้อ "การพึ่งพาตนเองด้านอาหาร ทางรอดเกษตรกร" ตลอดจนการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และการจำหน่ายสินค้าเกษตรราคาถูก
 
#482 ·
ผู้ว่าฯนครพนมคนใหม่เดินหน้า5แผนพัฒนารับสะพานไทย-ลาว

ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- จันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2553 09:56:40 น.

นครพนม:นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี ผู้ว่าราชการราชการจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ตนได้เรียกประชุมหน่วยงานข้าราชการทุกหน่วยงานเพื่อทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดในหลายปีที่ผ่านมาทั้งหมด พร้อมกับการแสดงแนวคิดในการพัฒนาใหม่ทั้งหมดภายใต้ความฝันว่า ”อยากให้นครพนมเป็นอย่างไร” ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ

โดยทุกโครงการพัฒนาจังหวัดตลอดจนการของบประมาณจากรัฐจะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนานครพนมถึงปี 2555 ซึ่งได้วางกรอบไว้ 5 ข้อ
1. คือการการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการเกษตรจากเดิมที่มีต้นทุนอยู่แล้ว
2.การพัฒนาการค้าชายแดน
3.การพัฒนาการท่องเที่ยวทั้งในนครพนม
4.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ
5.พัฒนาเมืองน่าอยู่

ซึ่งแผนพัฒนาจังหวัดนครพนมทั้ง 5 ข้อเป็นยุทธศาสตร์กลยุทธพัฒนานครพนม เพื่อเป็นการรองรับสะพานข้ามแม่น้ำโขงระหว่างนครพนม-แขวงคำม่วน สปป.ลาว ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปีหน้านี้
 
#485 ·


วิดีโอบรรยากาศ วันทำประชาพิจารณ์ เรื่อง การก่อสร้างบิ๊กซี สาขานครพนม
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมาครับ
 
Top