SkyscraperCity Forum banner

BTS Dark Green Line & Extensions

1M views 4K replies 310 participants last post by  chaodeknoi2016 
#1 · (Edited)



South Phase 1, Taksin Extension 2.2 Kms



รัฐบาลยกธงสงบศึกส่วนต่อ 2.2 กม.แต่บี้ กทม.เจรจาบีทีเอสบีบค่าโดยสาร

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤศจิกายน 2548 16:17 น.

“รัฐบาล” โยน กทม.เจรจาบีทีเอส บีบลดค่าโดยสาร หากแข็งข้อจะไม่อนุญาตให้ทำส่วนต่อขยายจุดอื่นเพิ่ม "อภิรักษ์" เร่งเดินเครื่องประกาศแล้วเสร็จภายใน 1 ปี ยืนยันการเจรจาเรื่องค่าโดยสารจะต้องไม่แพงกว่าเดิมที่กำหนดเอาไว้ที่ 10-40 บาท

นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมเรื่องการพิจารณาส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าเส้นทางสาทร–ตากสิน โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในการหารือร่วมกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ว่า นายกรัฐมนตรียืนยันการตัดสินใจของ ครม.อันเดิม ที่ให้ส่วนต่อขยาย 2.2 กม.ควรจะมีการเจรจากับ บีทีเอส เพื่อจะเดินทางโดยไม่ต้องซื้อหัวรถจักรอีก และให้เจรจาถึงผลกำไรและรายได้จากการเดินรถ ที่จะต้องจ่ายคืนให้ กทม.เป็นค่าลงทุนเท่าไร ส่วนที่เหลือก็ให้หักเป็นค่าโดยสาร ค่าโดยสารของบีทีเอสก็ต้องลดลงด้วย

ขณะเดียวกัน กทม.ต้องประสานกับขนส่งมวลชนด้วย เพื่อวางแนวทางในการเจรจากับบีทีเอสต่อไป เพื่อส่วนต่อขยายอื่นๆ ที่บีบเอาคืนมาแล้ว ผู้โดยสารจะต้องมีมากขึ้น ราคาต้องลดลงตามลำดับ อันนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการต่อขยาย 2.2 กม.จากนั้น ส่วนที่ต่ออีก 4.5 กม.ก็เร่งให้ กทม.ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายสิ่งแวดล้อม และกฎหมายอื่นๆ นอกจากนั้น ยังต้องขออนุญาตการเปลี่ยนแปลงมติ ครม.ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากเป็นหน่วยราชการด้วย ก็ให้เร่งเสนอเรื่องขึ้นมา เพื่อให้หน่วยราชการปฏิบัติตามกฎหมายให้ถูกต้อง

นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า กทม.จะรับไปดำเนินการและประสานรายละเอียดกับกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคม ต่อไป รัฐบาลยืนยันมาตลอดว่าควรมีการเจรจากับบีทีเอส เพื่อให้เดินรถ แต่การที่จะให้ กทม.ทำเอง เดินรถเองจะเกิดปัญหาว่าค่าหัวรถจักรต้องลงทุนเท่าไหร่ ซึ่งการประชุมที่ผ่านมารัฐบาลขอให้ กทม.ไปเจรจากับบีทีเอสให้เดินรถต่ออีก 2.2 กม.โดยที่ไม่ต้องซื้อรถเพิ่ม แค่เดินรถมารับคนเท่านั้น ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นก็แบ่งให้ กทม.

ส่วนทำไมอยู่ๆ ไทยรักไทย ยอมให้ กทม.ดำเนินการส่วนต่อขยายนี้ได้ เพราะรัฐบาลไม่เคยเห็นด้วยตั้งแต่ต้น นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ไม่ใช่ไม่เห็นด้วย แต่รัฐบาลขอให้ กทม.เจรจากับบีทีเอสมาตลอด แต่ กทม.ไม่เคยดำเนินการเลย แต่วันนี้ กทม.รับปากว่าจะไปเจรจากับบีทีเอสในเรื่องการเดินรถ ส่วนเรื่องค่าโดยสารต่าง ๆ ต้องรอฟังผลการเจรจาของ กทม.

อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้วจะต้องหารือร่วมกัน ว่า จะเจรจากับบีทีเอสอย่างไร ที่จะส่งผลให้ค่าโดยสารลดลง ถ้าผลการเจรจา กทม.กับบีทีเอสไม่เป็นที่ตกลง รัฐบาลก็จะไม่อนุญาตให้ทำส่วนต่อขยายจุดอื่นเพิ่ม เพราะผู้โดยสารจะทำให้รายได้บีทีเอสเพิ่มขึ้น โดยไม่ลดค่าโดยสารลงนั้น เป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่เห็นด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นการปล่อยเกาะให้ กทม.ไปว่าเองใช่หรือไม่ นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ไม่ แล้วแต่นักข่าวจะวิจารณ์ไป แต่คำวิจารณ์คงไม่ถูก ซึ่งขั้นตอนจากนี้ไป กทม.จะต้องนำเสนอกระทรวงมหาดไทย เมื่อถามว่าต่อไปนี้รัฐบาลกลางจะปล่อยให้รัฐบาลท้องถิ่นดำเนินการไปโดยไม่สนใจ นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า เราสนใจ เพราะต้องดูว่าเส้นสีเขียวที่จะทำจะใช้บีทีเอสได้อย่าง ถ้าบีทีเอสไม่แก้ไขสัมปทานและราคารัฐบาลก็คงต้องทำเส้นทางใหม่ขึ้นมาแข่งขัน

เมื่อถามว่า ในอนาคตจะให้องค์การบริหารจัดการค่าโดยสารทั้งระบบ หรือ เอ็มทีเอ ควบคุมทั้งหมดหรือไม่ นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องค่าโดยสารต้องมีการควบคุมและให้องค์กรใหญ่เข้ามาดูแล

ด้านนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีสนับสนุนให้กรุงเทพมหานครดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าเส้นทางดังกล่าวต่อไป 2.2 กิโลเมตร โดยกรุงเทพมหานครลงทุนเองทั้งหมด มีเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี แต่ต้องเจรจากับบีทีเอสเกี่ยวกับระบบการเดินรถ ในส่วนของค่าโดยสารต้องพิจารณาร่วมกับบีทีเอสต่อไป แต่ต้องไม่แพงกว่าเดิมที่ 10-40 บาท ซึ่งจะเร่งเจรจาให้เร็วที่สุด

ส่วนการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายอื่นนั้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จะต้องประสานและเจรจากับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามขั้นตอนและถูกต้องต่อไป

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9480000152851
 
See less See more
2
#3 · (Edited)
West, National Stadium to Prannok 7.7 kms


กทม.ทุ่ม 4 หมื่นล้านผุดรถไฟฟ้ามุดเจ้าพระยาเชื่อมฝั่งธนฯ เปิดทำเลทองใหม่

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เวลา 09:37:51 น.


ผู้ว่าฯ "สุขุมพันธุ์" เล็งทุ่ม4หมื่นล้านสร้างรถไฟฟ้าข้ามเจ้าพระยาสายที่ 2 "สนามกีฬา-ศิริราช-พรานนก" ชี้ถึงคิวฝั่งธนฯแจ็กพอต 2 เด้ง "พรานนก-บางกอกน้อย" ทำเลทองแห่งใหม่ จับตาราคาที่ดินทะลุแสนบาท/ตร.ว. พร้อมเร่งระดมทุน 2.1 หมื่นล้านบาท ออก "สลากการกุศล-พันธบัตร" ผุดบิ๊กโปรเจ็กต์เร่งด่วนหลายโครงการ ดีเดย์ปลายปีนี้

นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่ปีนี้รายรับของ กทม.ทั้งที่จัดเก็บเองและรัฐบาลจัดเก็บให้จะต่ำกว่าประมาณการ 10,040 ล้นบาท โดยน่าจะมีรายได้รวม 35,960 ล้านบาท จากเป้าที่ตั้งไว้ 46,000 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อการลงทุนโครงการต่างๆ ตามแผนที่วางไว้ กทม.จึงมีแนวคิดจะหารายได้ด้วยการระดมทุนโดยออกพันธบัตร การออกสลากการกุศล ฯลฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง สำหรับโครงการเร่งด่วนที่จะดำเนินการโดยใช้เงินจากการระดมทุน อาทิ โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายอ่อนนุช-แบริ่ง, ตากสิน-บางหว้า โครงการโมโนเรล โรงพยายาล โรงบำบัดน้ำเสีย และโครงการรถไฟฟ้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสายที่ 2 สนามกีฬา-ศิริราช-พรานนก เป็นต้น



"ก่อนหน้านี้ฝ่ายคลัง กทม.เสนอให้เก็บค่าบำบัดน้ำเสียเพิ่มรายได้ เพราะมีข้อบัญญัติรองรับและสามารถดำเนินการได้ทันที แต่เราเกรงว่าขณะนี้ประชาชนได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ จึงขอหาแนวทางระดมทุนแทน และการกู้เงินแทน โดยจะยืดเวลาเก็บค่าบำบัดน้ำเสียออกไปอีกระยะหนึ่ง"


สำหรับสลากการกุศลที่จะจัดจำหน่าย วัตถุประสงค์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกุศล ไม่ใช่เรื่องมอมเมา เป็นการเชิญชวนผู้ใจบุญเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างโรงพยาบาลบางขุนเทียน แต่จะมีรางวัลให้กับผู้ซื้อด้วย ในส่วนนี้จะทำให้ กทม.มีรายได้เข้ามา 1,000 ล้านบาท แบ่งการก่อสร้างเป็น 3 เฟส ส่วนการออกพันธบัตร จะช่วยเรื่องการออมเงินของประชาชน เพราะได้ผลตอบแทนด้านดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากทั่วไป ที่สำคัญประชาชนจะได้มีส่วนร่วมในการพัฒนากรุงเทพฯ

@ ออกพันธบัตร 2 หมื่น ล.ผุดโครงการด่วน

นายธีระชนกล่าวว่า ตามแผนโครงการที่จะออกพันธบัตรระดมทุนจะเป็นโครงการเร่งด่วน เช่น โครงการระบบขนส่งมวลชน ประกอบด้วย รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายบีทีเอส ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และตากสิน-บางหว้า ซึ่งต้องใช้เงินอีก 9,000 ล้านบาท เพื่อวางระบบอาณัติสัญญาณ ระบบราง และสร้างสถานี ให้ทันเปิดให้บริการในปี 2554 นอกนั้นมีรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรล ที่ กทม.กำลังศึกษา โรงบำบัดน้ำเสียบริเวณบางซื่อ ที่ยังขาดเงินก่อสร้างอีกหลายพันล้านบาทกว่าจะแล้วเสร็จ และการจัดการขยะมูลฝอยที่เปลี่ยนจากฝังกลบเป็นใช้เตาเผา ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงินจากการออกพันธบัตร 20,000 ล้านบาท รวมระดมทุนทั้งออกพันธบัตร และสลากการกุศลวงเงิน 21,000 ล้านบาท


ทั้งหมดนี้ได้หารือกับนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว ปรากฏว่า รมว.คลังเห็นด้วยและพร้อมจะสนับสนุน แต่ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอีกครั้ง โดยการออกสลากการกุศลน่าจะดำเนินการได้ปลายปีนี้ ขณะที่การออกพันธบัตรน่าจะเป็นช่วงต้นปี 2553 อายุพันธบัตร 5-10 ปี อัตราดอกเบี้ย 4-5% ออกครั้งละ 5,000 ล้านบาท 4 ครั้ง หรือออกครั้งละ 10,000 ล้านบาท 2 ครั้ง รวมวงเงิน 20,000 ล้านบาท นอกจากนี้หากมีการบังคับใช้กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แทนภาษีโรงเรือนและที่ดิน กทม.ก็จะมีรายได้ในส่วนนี้เพิ่มขึ้นอีกจากปัจจุบันอยู่ที่กว่า 10,000 ล้านบาท เป็น 20,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นหลักประกันได้เป็นอย่างดีว่าผู้ซื้อพันธบัตรจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยในอัตราที่ดีกว่าการฝากเงินทั่วไป


@ เพิ่มบีทีเอสสายใหม่มุดเจ้าพระยา "สนามกีฬา-พรานนก

ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ตนได้ทำหนังสือหารือกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชน โดยเสนอให้ ครม.ทบทวนมติที่โอนส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว 2 ช่วง คือ หมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 11.4 กิโลเมตร และแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ก่อสร้าง โดย กทม.จะขอคืนมาก่อสร้างเอง



นอกจากนี้มีรถไฟฟ้าสายใหม่ที่ต้องการจะเร่งดำเนินการอีกโครงการหนึ่งคือ ส่วนต่อขยายจากสนามกีฬาไปฝั่งธนฯ โดยจะมุดลอดแม่น้ำเจ้าพระยาไปโผล่ที่พรานนก จะเป็นบีทีเอสสายที่ 2 ที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์"


รถไฟฟ้าสายนี้ กทม.เคยศึกษาไว้แล้ว ใช้เงินลงทุนประมาณ 40,000 ล้านบาท เพราะเป็นใต้ดิน แต่คิดว่าคุ้มค่าเพราะปริมาณผู้โดยสารค่อนข้างมาก ประมาณ 2 แสนคนต่อวัน นอกจากนี้ยังสอดรับกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาลด้วย ตามแผนจะเริ่มสร้างปี 2554 แนวเส้นทางจะเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ แล้วลดระดับลงพื้นดินมุดเข้าไปในอุโมงค์บริเวณแยกเจริญผล ตรงไปยังสะพานกษัตริย์ศึก ถนนราชดำเนิน สนามหลวง ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาไปศิริราช และสิ้นสุดบริเวณพรานนก มี 5 สถานี คือ สถานีกษัตริย์ศึกอยู่สะพานกษัตริย์ศึก สถานีผ่านฟ้าลีลาศอยู่ถนนราชดำเนิน สถานีสนามหลวงอยู่บริเวณสนามหลวง สถานีบางกอกน้อยที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย และสถานีพรานนกบริเวณแยกไฟฉาย


ขณะเดียวกัน กทม.กำลังศึกษาระบบโมโนเรล ที่มีข้อดีกว่าระบบบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินเพราะลงทุนน้อย ใช้พื้นที่น้อย และใช้เวลาก่อสร้างสั้น เพื่อเป็นระบบเสริมป้อนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชนหลัก คาดว่าเส้นทางแรกสามารถดำเนินการได้ใน 4 ปีจากนี้ไป สำหรับความคืบหน้าของส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสสายอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ช่วงต่อขยายจากวงเวียนใหญ่ไปบางหว้าน่าจะเสร็จตามกำหนดในปี 2554 ส่วนต่อขยายอ่อนนุชไปแบริ่งจะเปิดใช้ปี 2554 เช่นกัน แต่อาจจะร่นให้เร็วขึ้นเป็นธันวาคม 2553 ส่วนบีอาร์ทีสายแรกจากช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ วันที่ 15 พฤษภาคม 2553 จะเปิดให้บริการ


@ ราคาที่ดินพุ่ง-บูมพื้นที่ฝั่งธนฯ

นายแคล้ว ทองสม ผู้อำนวยการสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน (ปท.) กรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า หาก กทม.ก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสไปถึงพรานนก จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่โซนฝั่งธนบุรีอย่างมาก โดยเฉพาะจุดปลายทางย่านพรานนก และบริเวณโดยรอบสถานีในรัศมี 500 เมตร และ 1 กิโลเมตร ที่จะเห็นชัดเจนคือการขยับขึ้นของราคาที่ดิน ที่อย่างน้อยน่าจะปรับตัวสูงขึ้น 10-20% ขึ้นไป เช่น บางกอกน้อย ราคาจะทะลุ 1 แสนบาท/ตารางวา ฯลฯ


นอกจากนี้สภาพการจราจรฝั่งธนฯจะคล่องตัวขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปิ่นเกล้า สามแยกไฟฉาย ขยายวงกว้างไปถึงถนนราชพฤกษ์ เพราะคนจะหันมาใช้รถไฟฟ้าเดินทางเป็นทางลัดเข้าเมืองมากขึ้น ไม่ต้องไปเข้าราชพฤกษ์ก่อนจะไปสีลมเหมือนปัจจุบัน ที่สำคัญในอนาคตฝั่งธนฯจะยิ่งบูมมากเพราะจะมีรถไฟฟ้า 2 สาย ทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ซึ่งพาดผ่านบริเวณพรานนกเช่นเดียวกัน
 
#172 · (Edited)
West, National Stadium to Prannok 7.7 kms



กทม.ทุ่ม 4 หมื่นล้านผุดรถไฟฟ้ามุดเจ้าพระยาเชื่อมฝั่งธนฯ เปิดทำเลทองใหม่

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เวลา 09:37:51 น.


ผู้ว่าฯ "สุขุมพันธุ์" เล็งทุ่ม4หมื่นล้านสร้างรถไฟฟ้าข้ามเจ้าพระยาสายที่ 2 "สนามกีฬา-ศิริราช-พรานนก" ชี้ถึงคิวฝั่งธนฯแจ็กพอต 2 เด้ง "พรานนก-บางกอกน้อย" ทำเลทองแห่งใหม่ จับตาราคาที่ดินทะลุแสนบาท/ตร.ว. พร้อมเร่งระดมทุน 2.1 หมื่นล้านบาท ออก "สลากการกุศล-พันธบัตร" ผุดบิ๊กโปรเจ็กต์เร่งด่วนหลายโครงการ ดีเดย์ปลายปีนี้

นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่ปีนี้รายรับของ กทม.ทั้งที่จัดเก็บเองและรัฐบาลจัดเก็บให้จะต่ำกว่าประมาณการ 10,040 ล้นบาท โดยน่าจะมีรายได้รวม 35,960 ล้านบาท จากเป้าที่ตั้งไว้ 46,000 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อการลงทุนโครงการต่างๆ ตามแผนที่วางไว้ กทม.จึงมีแนวคิดจะหารายได้ด้วยการระดมทุนโดยออกพันธบัตร การออกสลากการกุศล ฯลฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง สำหรับโครงการเร่งด่วนที่จะดำเนินการโดยใช้เงินจากการระดมทุน อาทิ โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายอ่อนนุช-แบริ่ง, ตากสิน-บางหว้า โครงการโมโนเรล โรงพยายาล โรงบำบัดน้ำเสีย และโครงการรถไฟฟ้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสายที่ 2 สนามกีฬา-ศิริราช-พรานนก เป็นต้น



"ก่อนหน้านี้ฝ่ายคลัง กทม.เสนอให้เก็บค่าบำบัดน้ำเสียเพิ่มรายได้ เพราะมีข้อบัญญัติรองรับและสามารถดำเนินการได้ทันที แต่เราเกรงว่าขณะนี้ประชาชนได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ จึงขอหาแนวทางระดมทุนแทน และการกู้เงินแทน โดยจะยืดเวลาเก็บค่าบำบัดน้ำเสียออกไปอีกระยะหนึ่ง"


สำหรับสลากการกุศลที่จะจัดจำหน่าย วัตถุประสงค์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกุศล ไม่ใช่เรื่องมอมเมา เป็นการเชิญชวนผู้ใจบุญเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างโรงพยาบาลบางขุนเทียน แต่จะมีรางวัลให้กับผู้ซื้อด้วย ในส่วนนี้จะทำให้ กทม.มีรายได้เข้ามา 1,000 ล้านบาท แบ่งการก่อสร้างเป็น 3 เฟส ส่วนการออกพันธบัตร จะช่วยเรื่องการออมเงินของประชาชน เพราะได้ผลตอบแทนด้านดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากทั่วไป ที่สำคัญประชาชนจะได้มีส่วนร่วมในการพัฒนากรุงเทพฯ

@ ออกพันธบัตร 2 หมื่น ล.ผุดโครงการด่วน

นายธีระชนกล่าวว่า ตามแผนโครงการที่จะออกพันธบัตรระดมทุนจะเป็นโครงการเร่งด่วน เช่น โครงการระบบขนส่งมวลชน ประกอบด้วย รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายบีทีเอส ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และตากสิน-บางหว้า ซึ่งต้องใช้เงินอีก 9,000 ล้านบาท เพื่อวางระบบอาณัติสัญญาณ ระบบราง และสร้างสถานี ให้ทันเปิดให้บริการในปี 2554 นอกนั้นมีรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรล ที่ กทม.กำลังศึกษา โรงบำบัดน้ำเสียบริเวณบางซื่อ ที่ยังขาดเงินก่อสร้างอีกหลายพันล้านบาทกว่าจะแล้วเสร็จ และการจัดการขยะมูลฝอยที่เปลี่ยนจากฝังกลบเป็นใช้เตาเผา ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงินจากการออกพันธบัตร 20,000 ล้านบาท รวมระดมทุนทั้งออกพันธบัตร และสลากการกุศลวงเงิน 21,000 ล้านบาท


ทั้งหมดนี้ได้หารือกับนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว ปรากฏว่า รมว.คลังเห็นด้วยและพร้อมจะสนับสนุน แต่ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอีกครั้ง โดยการออกสลากการกุศลน่าจะดำเนินการได้ปลายปีนี้ ขณะที่การออกพันธบัตรน่าจะเป็นช่วงต้นปี 2553 อายุพันธบัตร 5-10 ปี อัตราดอกเบี้ย 4-5% ออกครั้งละ 5,000 ล้านบาท 4 ครั้ง หรือออกครั้งละ 10,000 ล้านบาท 2 ครั้ง รวมวงเงิน 20,000 ล้านบาท นอกจากนี้หากมีการบังคับใช้กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แทนภาษีโรงเรือนและที่ดิน กทม.ก็จะมีรายได้ในส่วนนี้เพิ่มขึ้นอีกจากปัจจุบันอยู่ที่กว่า 10,000 ล้านบาท เป็น 20,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นหลักประกันได้เป็นอย่างดีว่าผู้ซื้อพันธบัตรจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยในอัตราที่ดีกว่าการฝากเงินทั่วไป


@ เพิ่มบีทีเอสสายใหม่มุดเจ้าพระยา "สนามกีฬา-พรานนก

ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ตนได้ทำหนังสือหารือกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชน โดยเสนอให้ ครม.ทบทวนมติที่โอนส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว 2 ช่วง คือ หมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 11.4 กิโลเมตร และแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ก่อสร้าง โดย กทม.จะขอคืนมาก่อสร้างเอง



นอกจากนี้มีรถไฟฟ้าสายใหม่ที่ต้องการจะเร่งดำเนินการอีกโครงการหนึ่งคือ ส่วนต่อขยายจากสนามกีฬาไปฝั่งธนฯ โดยจะมุดลอดแม่น้ำเจ้าพระยาไปโผล่ที่พรานนก จะเป็นบีทีเอสสายที่ 2 ที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์"


รถไฟฟ้าสายนี้ กทม.เคยศึกษาไว้แล้ว ใช้เงินลงทุนประมาณ 40,000 ล้านบาท เพราะเป็นใต้ดิน แต่คิดว่าคุ้มค่าเพราะปริมาณผู้โดยสารค่อนข้างมาก ประมาณ 2 แสนคนต่อวัน นอกจากนี้ยังสอดรับกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาลด้วย ตามแผนจะเริ่มสร้างปี 2554 แนวเส้นทางจะเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ แล้วลดระดับลงพื้นดินมุดเข้าไปในอุโมงค์บริเวณแยกเจริญผล ตรงไปยังสะพานกษัตริย์ศึก ถนนราชดำเนิน สนามหลวง ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาไปศิริราช และสิ้นสุดบริเวณพรานนก มี 5 สถานี คือ สถานีกษัตริย์ศึกอยู่สะพานกษัตริย์ศึก สถานีผ่านฟ้าลีลาศอยู่ถนนราชดำเนิน สถานีสนามหลวงอยู่บริเวณสนามหลวง สถานีบางกอกน้อยที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย และสถานีพรานนกบริเวณแยกไฟฉาย


ขณะเดียวกัน กทม.กำลังศึกษาระบบโมโนเรล ที่มีข้อดีกว่าระบบบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินเพราะลงทุนน้อย ใช้พื้นที่น้อย และใช้เวลาก่อสร้างสั้น เพื่อเป็นระบบเสริมป้อนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชนหลัก คาดว่าเส้นทางแรกสามารถดำเนินการได้ใน 4 ปีจากนี้ไป สำหรับความคืบหน้าของส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสสายอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ช่วงต่อขยายจากวงเวียนใหญ่ไปบางหว้าน่าจะเสร็จตามกำหนดในปี 2554 ส่วนต่อขยายอ่อนนุชไปแบริ่งจะเปิดใช้ปี 2554 เช่นกัน แต่อาจจะร่นให้เร็วขึ้นเป็นธันวาคม 2553 ส่วนบีอาร์ทีสายแรกจากช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ วันที่ 15 พฤษภาคม 2553 จะเปิดให้บริการ


@ ราคาที่ดินพุ่ง-บูมพื้นที่ฝั่งธนฯ

นายแคล้ว ทองสม ผู้อำนวยการสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน (ปท.) กรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า หาก กทม.ก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสไปถึงพรานนก จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่โซนฝั่งธนบุรีอย่างมาก โดยเฉพาะจุดปลายทางย่านพรานนก และบริเวณโดยรอบสถานีในรัศมี 500 เมตร และ 1 กิโลเมตร ที่จะเห็นชัดเจนคือการขยับขึ้นของราคาที่ดิน ที่อย่างน้อยน่าจะปรับตัวสูงขึ้น 10-20% ขึ้นไป เช่น บางกอกน้อย ราคาจะทะลุ 1 แสนบาท/ตารางวา ฯลฯ


นอกจากนี้สภาพการจราจรฝั่งธนฯจะคล่องตัวขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปิ่นเกล้า สามแยกไฟฉาย ขยายวงกว้างไปถึงถนนราชพฤกษ์ เพราะคนจะหันมาใช้รถไฟฟ้าเดินทางเป็นทางลัดเข้าเมืองมากขึ้น ไม่ต้องไปเข้าราชพฤกษ์ก่อนจะไปสีลมเหมือนปัจจุบัน ที่สำคัญในอนาคตฝั่งธนฯจะยิ่งบูมมากเพราะจะมีรถไฟฟ้า 2 สาย ทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ซึ่งพาดผ่านบริเวณพรานนกเช่นเดียวกัน
 
#4 · (Edited)
All Dark Green Lines news have been started from here.

http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=514835&page=37

......

แค่ 2.2 ก.ม.เส้นทางนี้มีความหมาย

Dailynews 2548


ความหวังของชาวฝั่งธนฯ ที่จะมีรถไฟฟ้าเป็นความจริงแล้ว เมื่อที่ประชุมสภา กทม. มี ส.ก. กว่า 50 คน ยกมือเป็นเอกฉันท์เห็นด้วยกับมติที่ประชุมขออนุมัติงบประมาณในการสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร จากสาทรถึงตากสิน ในวงเงินประมาณ 2,394 ล้านบาท สร้างความดีอกดีใจให้ชาวฝั่งธนฯ และชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง


ย้อนถึงที่มาที่ไปของ รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสาทร-ตากสิน แรกเริ่มเดิมทีตอม่อ และทางวิ่งที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นโครงสร้างโครงการทางยกระดับเลียบคลองภาษีเจริญ สมัย พิจิตต รัตตกุล เป็นผู้ว่าฯ กทม. ได้ทำ ทิ้งไว้ ปรากฏว่าสมัยนั้นทำไม่สำเร็จ




สร้างได้ตรงช่วงเชิงสะพานสาทรฝั่งธนบุรี ผ่านแยกตากสินไปตามแนวถนนตากสิน-เพชรเกษม และไปสิ้นสุดที่บริเวณจุดตัดคลองภาษีเจริญ ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร สาเหตุที่ไม่สำเร็จเนื่องจากมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้ชาวบ้านคัดค้าน โครงการจึงถูก ยกเลิกไป


ต่อมาสมัย สมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. รัฐบาลได้หยิบยกโครงการนี้เข้ามาในที่ประชุมคณะอนุกรรมการจัดระบบโครงการขนาดใหญ่ (อจข.) สมัยนั้น เห็นควรให้ปรับโครงการดังกล่าวเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าเนื่องจากแนวสายทางซ้อนทับกับโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายจากสาทร-ตากสินมีระยะทาง 2.2 กิโลเมตร ซึ่งเป็นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2543 โดยเห็นชอบโครงการส่วนต่อขยาย 3 สาย ได้แก่ สายสีลม จากสาทรไปตากสิน 2.2 กิโลเมตร สายสุขุมวิท จากอ่อนนุชไปสำโรง 8.9 กิโลเมตร และสายพระราม 3 ระยะทาง 8.5 กิโลเมตร


ภายใต้เงื่อนไขให้กรุง เทพมหานครจัดหาผู้ลงทุนตาม พ.ร.บ. ร่วมทุนปี 2535 โดยให้เอกชนลงทุน 100 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม กทม. ได้เชิญชวนเอกชนมาลงทุน 100 เปอร์เซ็นต์ ตามมติคณะรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่าไม่มีเอกชนรายใดสนใจ จึงต้องปรับเนื้องานโดยให้ผู้รับเหมาขยายเส้นทางสร้างฐานรากทางรถไฟฟ้า จากสะพานสาทรฝั่งธนบุรี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีตากสิน และต่อขยายจากจุดตัดเลียบคลองภาษีเจริญไปถึงถนนเพชรเกษม (บางหว้า) รวมระยะทาง 6.7 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 1,438 ล้านบาท


เมื่อมาถึงสมัยผู้ว่าฯ กทม. คนปัจจุบัน อภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้ออกประกาศเดินหน้า ใช้เงิน กทม. 100 เปอร์เซ็นต์ ในการก่อสร้างส่วนต่อขยาย อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ปี 2548 ที่ให้สิทธิ กทม. ทำโครงการแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ และตาม พ.ร.บ. กำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นปี 2542 โดยใช้งบทั้งหมด 2,393 ล้านบาท แต่ต้องเสนอโดยสภากทม. เพื่อขอนุมัติเพิ่มเติม จากเดิมที่ขอไว้เพียง 1,113 ล้านบาท เพื่อชดเชยในส่วนที่จะขอสนับสนุนจากรัฐบาล




ดังที่กล่าวข้างต้น ผลของการลงมติจะมีการสร้างส่วนต่อขยายโดย กทม. ซึ่งในระยะทาง 2.2 กิโลเมตรดังกล่าว จะมี 2 สถานีคือสถานีกรุงธนบุรี และสถานีสมเด็จพระเจ้าตากสิน ซึ่ง กทม. ตั้งเป้าไว้จะเปิดให้บริการได้ภายใน 1 ปี คาดว่าจะมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 10 บาทไม่เกิน 40 บาทตามระยะทางตลอดสาย

ปัจจุบันสภาพการจราจรของย่านฝั่งธนฯ-สาทรมีความคับคั่งมาก แต่ละวันปริมาณรถยนต์ ที่ข้ามสะพานสาทรมีมากถึง 100,000 คัน ในชั่วโมงเร่งด่วน ผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ต้องใช้บริการทั้งรถและเรือเพื่อสัญจร และจุดสำคัญคือการใช้บริการเรือโดยสารจากท่าเรือสาทร เพื่อไปยังสถานีรถไฟฟ้าตากสิน


พ.ต.ท.กิตติพันธุ์ รองผู้กำกับจราจรสถานีตำรวจยานนาวา ชี้แจงสภาพ การจราจรของถนนสาทรว่า ในช่วงเช้าชั่วโมงเร่งด่วน รถที่มาจากนอกเมืองทั้งสาทรเหนือ-ใต้ ซึ่งวิ่งมาจากถนนตัดใหม่ได้แก่ถนนพระรามที่ 5 และรัตนาธิเบศร์ ถนนดังกล่าวไม่มีสัญญาณไฟจราจร เมื่อวิ่งมาตรงบริเวณแยกสาทร ทำให้รถสะสมประกอบ กับบริเวณนั้นเป็นที่ตั้งของโรง เรียนอัสสัมชัญ เซนต์โยเซฟคอนแวนต์ กรุงเทพคริสเตียน ผู้ปกครองต้องใช้รถส่วนตัวมาส่งบุตรหลาน นอกจากรถมุ่งหน้าเข้าเมืองสู่ถนนพระรามที่ 4 ถนนสีลม เวลา 09.00-10.00 น. แล้ว ปริมาณรถยังหนาแน่น


ส่วนช่วงเย็น ในทาง กลับกันตั้งแต่ 14.00 น. เป็นต้นไป บรรดารถผู้ปกครองจะเริ่มทยอยมารอรับบุตรหลาน ปริมาณรถจะหนาแน่นขึ้นอีกจนถึงเวลา 17.00- 18.00 น. บรรดาออฟฟิศย่านสาทรเลิกงาน ปริมาณรถออกมาสู่ถนนเพิ่มขึ้น จนยาวเหยียดไปจนถึง 21.00 น. แต่หลังจาก 22.00 น. มีรถบรรทุกวิ่งเข้าเมือง อีกระลอก เรียกว่าย่านนี้ติดขัดกันเกือบทั้งวัน


“ในช่วงฝนตกจะสาหัสกว่านี้ ยิ่งในช่วงเช้านักเรียนลงรถช้า รถจะหยุดนาน ส่วนใหญ่โรงเรียนแถวนี้จะเป็นเด็กเล็กเด็กอนุบาลทำให้ช้าไปอีก และตรงป้ายหยุดรถประจำทางหลังจอด แล้วรถ ขสมก. ต้องเปลี่ยนเลน ยิ่งทำให้รถติดเพิ่มขึ้น”


อย่างไรก็ตามจากสภาพการจราจรของย่านนี้ จนทำให้ชื่อย่านสาทรถูกเรียกขานใหม่ว่าย่านสาหัส การระดมกำลังตำรวจเต็มพื้นที่อย่างหนาแน่นยังไม่เพียงพอ ย่านนี้ยังมีอาสาจราจรซึ่งเป็นประชาชนในย่านนั้นอาสามาช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจโบกรถ แต่ก็ไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นในช่วงเปิดเทอม ผู้ปกครองของนักเรียนย่านนี้จะต้องเข้ามาร่วมประชุมเพื่อหารือปรับแผนรับมือร่วมกัน

และยิ่งเป็นผู้ปกครองใหม่ที่นี่จะได้รับคู่มือการแก้ไขปัญหาจราจรร่วมกัน ซึ่งเป็นเคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ให้บุตรหลานเตรียมตัวลงรถตั้งแต่ก่อนถึงโรงเรียน โดยต้องไปนั่งอยู่ฝั่งที่จะลง ห้ามเอากระเป๋านักเรียนไว้ท้ายรถ จะเสียเวลาตอนเปิดท้ายรถ ผู้ปกครองต้องปลุกลูกก่อนถึงโรงเรียน เพราะเด็กบางคนบ้านไกลต้องตื่นเช้า จึงนั่งหลับมาตลอด ทำให้เสียเวลาปลุกจอดรถแช่นาน และยังมีระบบรุ่นพี่รับรุ่นน้อง ตอนลงจากรถพ่อแม่ไม่ต้องจอดรถเพื่อเดินไปส่งลูกถึงในโรงเรียน


“คิดว่าเมื่อมีรถไฟฟ้า จะมีประโยชน์ทำให้การจราจรย่านนี้ดีขึ้น แต่ข้อสำคัญต้องมีจุดจอดรถของผู้ปกครองก่อนที่จะถึงสถานีรถไฟฟ้า ทางที่ดีกลุ่มผู้ปกครองที่นั่งรถไฟฟ้ามาส่งลูก ควรจะได้รับค่าโดยสารที่ถูกลง ถ้าไม่ทำเช่นนี้ บริเวณจุดหน้า โรงเรียนก็มีปัญหาจราจรเหมือนเดิม และบริเวณแยกสาทรควรสร้างสะพานลอยคนข้าม จะช่วยลดปัญหาจราจรได้อีกขั้นหนึ่ง” เจ้าหน้าที่ ตร. ผู้คลุกคลีกับปัญหาจราจรย่านนี้มาตลอดให้คำแนะนำ

ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า 2.2 กิโลเมตร ที่คนต่างจังหวัดมองว่าสั้นนิดเดียวแต่กับคนกรุงเทพฯ แล้วยิ่งใหญ่ เพราะหมายถึงวิถีชีวิตของเด็กและผู้คนย่านธนบุรีกำลังได้รับการพัฒนาไปในแนวทางที่ดีขึ้นหลายคนหวังไว้อย่างนั้น.


ใช้รถไฟฟ้าตลอดสายไปฝั่งธนฯค่าโดยสารไม่เพิ่ม เร่งเจรจาบีทีเอสเดินรถสรุปแผนเสร็จ ธ.ค.นี้

Dailynews 27/11/2008


นายอมร กิจเชวงกุล กรรมการผู้อำนวยการบริษัทกรุงเทพธนาคม วิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยกรณี ได้รับการมอบหมายจาก กทม. ให้เป็นผู้บริหารระบบรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีลมจากสาทร-ตากสิน ระยะทาง 2.2 กม. ซึ่งล่าสุดนายจุมพล สำเภาพล ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ระบุว่าเตรียมทดลองเดินรถเดือน เม.ย. ปีหน้า และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการวันที่ 12 ส.ค. 2552 ว่า แม้นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน จะลาออกจากผู้ว่าฯ กทม. แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานก่อสร้างและงานวางระบบรถไฟฟ้า

ขณะนี้งานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องยังดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ ในส่วนของกรุงเทพธนาคม อยู่ระหว่างศึกษาวิเคราะห์รูปแบบว่าจ้างการเดินรถ และศึกษารูปแบบการจัดเก็บค่าโดยสาร

ในส่วนการว่าจ้างเดินรถบริษัทได้เสนอทางเลือกที่ใกล้เคียงกับรูปแบบการบริหารโครงการที่รัฐบาลได้อนุมัติใช้ในโครงการแอร์พอร์ตลิงก์และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง คือ แบบ Gross cost เป็นรูปแบบที่ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) หรือ ADB ได้ศึกษาไว้และมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย โดยผู้รับจ้างเดินรถจะได้รับผลตอบแทนเป็นค่าจ้างเท่านั้น รายได้จากค่าโดยสารทั้งหมดจะเข้า กทม. สามารถควบคุมอัตราค่าโดยสารและคุณภาพในการให้บริการได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ บีทีเอส เพื่อว่าจ้างมาเดินรถ ซึ่งคิดค่าจ้างทั้งแบบผันแปรและคงอยู่ อยู่ระหว่างสรุปตัวเลข

นายอมร กล่าวต่อว่า ส่วนรูปแบบการจัดเก็บค่าโดยสารนั้น ประชาชนจะได้รับความเป็นธรรม สะดวกในการเดินทางโดยเบื้องต้นแม้จะเปิดใช้เพิ่มอีก 2.2 กม. แต่ประชาชนก็สามารถเชื่อมต่อการเดินทางตลอดสายโดยจ่ายค่ารถไฟฟ้าเท่าเดิมที่บีทีเอสเก็บอยู่ 15-40 บาท ซึ่งสามารถขยายเพดานได้ถึง 45 บาท แต่บริษัทเก็บเพียง 35 บาท ส่วนการแบ่งรายได้ส่วนที่เป็นของ กทม.รายได้จะเข้า กทม. ส่วนที่เป็นของบีทีเอสรายได้จะเข้าบีทีเอส อยู่ระหว่างสรุปตัวเลขเช่นกัน

คาดว่าจะนำทั้ง 2 ส่วนเสนอ สจส. พิจารณาภายในเดือน ธ.ค. นี้ ทั้งนี้ก่อนการเดินรถบริษัทต้องเตรียมงานในรายละเอียดต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ เช่น การจัดหาและฝึกอบรมบุคลากร อย่างน้อยต้องใช้ระยะเวลา 6-8 เดือน ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ.
 
#5 ·
กทม.เปิดหวูดรถไฟฟ้า "บีทีเอสฝั่งธนฯ"เม.ย. 52 ทดสอบระบบ-เปิดจริงส.ค. เล็งเปิดใช้ฟรี6เดือน!

มติชนออนไลน์ วันที่ 11 ธันวาคม 2551 - เวลา 09:30:13 น.


คนฝั่งธนฯใกล้เฮ! กทม.เตรียมเปิดทดสอบระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสฝั่งธนฯ-ตากสินเมษาฯปีหน้า เผยงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณคืบหน้าไปกว่า60%แล้ว เล็งเปิดให้ปชช.โดยสารฟรี 6 เดือน พร้อมเตรียมศึกษาหารถ shuttle bus 10 เส้นทางต้อนคนมาใช้บริการ


หากไม่มีเหตุขัดข้องเกิดขึ้น ประมาณเดือนเมษายน 2552 กรุงเทพมหานคร (กทม.) จะได้ฤกษ์ทดสอบระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสฝั่งธนฯ ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร จากสถานีตากสิน-แยกตากสิน จากนั้นจะเปิดให้บริการจริงในเดือนสิงหาคม 2552 หลังชาวฝั่งธนฯตั้งตารอมานานจนเวลาล่วงมานานถึง 8 ปี ผ่านมือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ถึง 3 สมัย ก็ยังเปิดหวูดไม่ได้เสียที

นอกจากนี้หลัง "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" ได้รับเลือกจากคนกรุงเทพฯให้กลับมานั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม.อีกครั้ง ช่วงก่อนหน้านี้การเร่งรัดและสานต่อโครงการเพื่อให้สามารถเปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสไปฝั่งธนฯก็ถือเป็นภารกิจแรกที่จะดำเนินการ แต่เมื่อ "อภิรักษ์" โดนพิษจากปัญหาการจัดซื้อรถดับเพลิงจนต้องประกาศลาออกจากตำแหน่ง ทำให้ไม่อาจคาดเดาได้ว่าการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายนี้จะยังเป็นไปตามกำหนดเวลาเดิมหรือไม่

ปัจจุบันงานโครงการบีทีเอสฝั่งธนฯ งานก่อสร้างโครงสร้างแล้วเสร็จเต็ม 100% แล้ว เหลืองานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณซึ่งมีความคืบหน้ากว่า 60% การวางระบบสื่อสารและไฟฟ้าคืบหน้ากว่า 40% ตามแผนจะเปิดให้ประชาชนโดยสารฟรี 6 เดือน จากนั้นจึงคิดค่าโดยสารตามระยะทางหรือตามที่ได้มีการเจรจาตกลงกับบีทีเอส

นอกจากนี้ กทม.กำลังศึกษาเส้นทางรถโดยสาร shuttle bus จำนวน 10 เส้นทาง เพื่อนำผู้โดยสารที่ต้องการใช้รถไฟฟ้าให้สามารถเดินทางมาขึ้นที่สถานีวงเวียนใหญ่ได้สะดวกและครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ย่านฝั่งธนบุรี เช่น บางขุนเทียน ภาษีเจริญ จอมทอง ทุ่งครุ บางบอน ตลิ่งชัน เป็นต้น ขณะเดียวกันด้านล่างของสถานีจะมีจุดจอดแล้วจร ที่จอดรถประจำทาง ที่จอดรถวินจักรยานยนต์ วินรถตู้

โดย กทม.จะพัฒนาให้เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางคมนาคมอีกจุดหนึ่ง พร้อมๆ กับเร่งรัดให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างสะพานเดินลอยฟ้า sky walk เชื่อมจากแยกสมเด็จพระเจ้าตากสินไปยังสถานีวงเวียนใหญ่ เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทาง โดยคาดว่าจะมีประชาชนใช้บริการในเส้นทางต่อขยายนี้ประมาณ 5 หมื่นคนต่อวัน

ในการนี้ กทม.กำลังเจรจากับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เรื่องการเดินรถไฟฟ้า โดยมอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด บริษัทลูกเป็นผู้เจรจา เป้าหมายก็เพื่อว่าจ้างให้เดินรถไฟฟ้าบีทีเอสสายที่วิ่งอยู่ปัจจุบันข้าไปฝั่งธนฯอีก 2 สถานี คือสถานีกรุงธนบุรีและสถานีวงเวียนใหญ่ พร้อมบริหารจัดการทั้งหมด แต่ยังไม่มีความคืบหน้าว่าการว่าจ้างจะออกมารูปแบบใด ขณะที่อัตราค่าโดยสารก็ยังไม่ได้ข้อสรุป แม้ กทม.จะยืนยันมาตลอดว่าจะจัดเก็บที่ 10 บาท ส่วนบีทีเอสกำหนดค่าแรกเข้าไว้ที่ 15 บาท

เบื้องต้นจะว่าจ้างบีทีเอสเดินรถโดยคิดเป็นกิโลเมตร หรือ train kilometers จ่ายตามค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ระยะเวลาจ้าง 5 ปี จากนั้นจะประเมินผลก่อนต่อสัญญาใหม่ เบ็ดเสร็จแล้ว กทม.ต้องจ่ายให้บีทีเอสเฉลี่ยปีละ 150 ล้านบาท โดยอัตราค่าโดยสารจะต้องไม่แพงเกินเพดาน 40 บาท แม้จะเพิ่มอีก 2 สถานี พร้อมจัดโปรโมชั่นช่วงแรกที่เปิดให้บริการ โดยอาจจะคิดค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท ช่วง 3 สถานีแรก

ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการบีทีเอสแต่ละวันที่ 4-5 แสนคน โดยเฉพาะสถานีวงเวียนใหญ่ที่จะเปิดใหม่คาดว่าจะมีผู้ใช้ระบบไม่น้อยกว่า 5 หมื่นคนต่อวัน
 
#6 ·
รถไฟฟ้าBTS ฝั่งธน 'ตากสิน-บางหว้า' ประมูลกลางปี52 -เปิดใช้ต้นปี 54

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2384 18 ธ.ค. - 20 ธ.ค. 2551


กรุงเทพมหานคร เร่งก่อสร้างโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส ฝั่งธน ช่วงที่สอง จากถนนตากสินถึงบางหว้า ระยะทาง 5.3 กิโลเมตร มูลค่า 7,000 ล้านบาท ต่อจากช่วง " สาทร- ตากสิน" ที่จะเปิดให้บริการ สิงหาคม 2552

อย่างไรก็ดี โครงการนี้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้พิจารณาเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA เรียบร้อยแล้วรวมถึงการก่อสร้างโครงสร้างและระบบราง และ กลางปี 2552 จะเปิดประมูลหาผู้รับจ้างเพื่อก่อสร้างสถานี จำนวน 4 สถานี

ขณะนี้ สำนักการจราจรและขนส่ง กทม. อยู่ระหว่างจัดเตรียมเอกสาร ร่างทีโออาร์ กำหนด คุณสมบัติเบื้องต้นผู้รับเหมา ที่มีประสบการณ์ด้านการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า และระบบราง ซึ่งเชื่อว่าจะมีผู้รับเหมารายใหญ่ทั้งไทยและต่างประเทศให้ความสนใจ

อย่างไรก็ดี "จุมพล สำเภาพล " ผู้อำนวยการสำนักจราจรและขนส่ง กทม. ระบุว่า การก่อสร้างตามแผนจะใช้เวลา 2 ปีคาดว่า จะสามารถทดสอบระบบการเดินรถได้ประมาณปลายปี 2553 และ เสร็จสมบูรณ์เปิดให้บริการทั้งระบบประมาณต้นปี 2554

ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาจราจร ด้วยการเชื่อมโครงข่ายระบบราง ระหว่างฝั่งธน ไปยัง ใจกลางเมืองและ ฝั่งตะวันออกของกทม.และปริมณฑลได้อย่างรวดเร็ว โดยมีจุดเริ่มต้น จาก บริเวณถนนตากสิน ไปจนถึง บางหว้า (ดูแนวเส้นทางประกอบ) ซึ่งจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน "บางหว้า-ภาษีเจริญ" และ "หัวลำโพง -ท่าพระ" ของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)

ส่วน ราคาที่ดิน ตลอด แนว รถไฟฟ้า ฝั่งธน "วสันต์ คงจันทร์ " กรรมการผู้จัดการบริษัท เอเจนซีฟอร์เรียลเอสเตทแอฟแฟร์สฯ กล่าวว่า ราคาที่ดิน ตั้งแต่ช่วง โครงการส่วนต่อขยาย " ตากสิน-บางหว้า " ราคาเฉลี่ย 50,000-70,000 บาทต่อตารางวา โดยบริเวณ สถานีจุดตัดราชพฤกษ์ ราคา 50,000-60,000บาทต่อตารางวา และ บริเวณถนนกัลปพฤกษ์ ออกไปยังถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก ราคาเฉลี่ย 60,000-70,000บาทต่อตารางวา

ทั้งนี้ เนื่องจากการใช้ที่ดินตามผังเมืองรวมกทม.ส่วนใหญ่เป็นสีเขียว(ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม ) สามารถพัฒนาได้เฉพาะบ้านเดี่ยว โดยเฉพาะตั้งแต่ จุดตัดบริเวณ ถนนราชพฤกษ์ ถนน กัลปพฤกษ์ ไปจนถึงปลายสถานีคือบางหว้า ซึ่งขณะนี้มี บริษัทพัฒนาที่ดินค่ายใหญ่ อาทิ บริษัทพร็อพเพอร์ตี้เพอร์เฟค จำกัด(มหาชน) พัฒนาบ้านราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป

ส่วนตั้งแต่ ถนนตากสินถึง ถนนรัชดาภิเษก หรือ บริเวณใกล้กับห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ ท่าพระ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นสีส้ม (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) และ สีน้ำตาล (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยประเภทหนาแน่นมาก )สามารถพัฒนาอาคารชุดได้ ซึ่งขณะนี้มีโครงการคอนโดมิเนียมแนวราบ 5-6โครงการ เปิดขายอยู่ อาทิ โครงการแอลพีเอ็น ราคาที่ดินเฉลี่ยราคาตารางวาละ 100,000-200,000 บาทต่อตารางวา ซึ่งมองว่าอนาคตทำเลนี้จะมีศักยภาพมากต่อการพัฒนาโดยเฉพาะคอนโดมิเนียม
 
#7 ·
ลุยต่อขยายBTS 3หมื่นล. ปิ่นเกล้าฯ-สนามกีฬาแห่งชาติ-พรานนก

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2385 21 ธ.ค. - 24 ธ.ค. 2551


โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยายสายปิ่นเกล้า สนามกีฬาแห่งชาติ ถึงพรานนก ระยะทาง 7.7กิโลเมตร มูลค่า 30,000 ล้านบาท ซึ่งได้มีการผลักดัน โครงการช่วงที่ "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" เป็นผู้ว่าฯกทม.

ทั้งนี้ เพื่อต้องการให้เชื่อมโครงข่ายระบบราง ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และ ช่วงปลายเดือนธันวาคม 2551 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เตรียมศึกษาความเป็นไปได้ ของแนวสายทางอีกครั้ง เพื่อความเหมาะสม โดยใช้เวลา 1 ปี

ขณะเดียวกัน ผู้อำนวยการสำนักจราจรและขนส่ง กทม. "จุมพล สำเภาพล" กล่าวถึงความคืบหน้าล่าสุดว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ(บอร์ดสวล.) พิจารณา ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA

อย่างไรก็ดี ส่วนต่อขยายเส้นนี้ มีอุปสรรคพอสมควรเนื่องจาก แนวสายทาง พาดผ่าน " เกาะรัตนโกสินทร์ "ซึ่งเป็นเขตอนุรักษ์ ด้านโบราณสถานโบราณวัตถุ บริเวณคลองหลอดและ คลองบางลำพู ที่กำหนดให้เป็นช่วงมุดลงใต้ดิน 2สถานี ส่งผลให้กทม.ต้องขอความเห็นชอบ ต่อคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์อีกคณะหนึ่งด้วย


ส่วนการออกแบบรายละเอียดนั้น กทม. จะต้องรอ ความชัดเจน ของรถไฟสายสีแดง ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ซึ่งเป็นจุดตัด กับส่วนต่อขยายสายสีเขียวอ่อน บริเวณสะพานกษัตริย์ศึก(ยศเส) หรือ แยก บำรุงเมือง-สนามกีฬาแห่งชาติ ว่าจะ ใช้รูปแบบมุดดินหรือ ลอยฟ้า และ จุดตัดต่อขยายสายสีเขียวอ่อนของกทม.กับ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วง บางใหญ่-บางซื่อของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) บริเวณ ผ่านฟ้าซึ่งจุดตัดสถานีดังกล่าวจะเป็นสถานีร่วมที่ต้องมีความสัมพันธ์กัน


สำหรับงบก่อสร้าง 30,000 ล้านบาทนั้น มี2 รูปแบบคืออาจจะเป็น รายได้จากการจัดเก็บภาษีของกทม. 100 % หรือ ขอรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ ในสัดส่วน กทม. 60% รัฐบาล 40%


การเวนคืน "จุมพล" ยืนยันว่า คงไม่มากเนื่องจากสร้างไปตามแนวถนนเดิม และ จะมีผลกระทบเฉพาะบริเวณตัวสถานี 7-8 แห่งที่สำคัญ ส่วนใหญ่ จะเป็นโครงสร้างมุดลงดินเกือบทั้งหมด แต่จะถูกเวนคืนมากน้อยแค่ไหน แต่ละสถานีจะอยู่บริเวณไหนบ้าง นั้นคงต้องรอผลศึกษาจากสนข.ก่อน ส่วน EIA และ บอร์ดเกาะรัตนโกสินทร์ คาดว่าจะผ่าน ภายใน 1-2 ปีนี้ จากนั้นจะเริ่มเวนคืนและ ก่อสร้างได้

ต่อขยายสายสีเขียวอ่อนช่วง ปิ่นเกล้า - สนามกีฬาแห่งชาติ-พรานนก มีจุดเริ่มต้นบริเวณ จุดสิ้นสุด รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม บริเวณสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ที่เปิดให้บริการปัจจุบัน วิ่งไปตามถนนบำรุงเมืองตัดกับรถไฟสายสีแดง ผ่านถนนวรจักร ตัดกับ รถไฟฟ้าสายสีม่วง บริเวณ ผ่านฟ้า ผ่านวังบูรพา ตัดผ่านถนนพระปิ่นเกล้า ผ่านถนนพรานนก ไปชนกับ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บริเวณสถานนี แยกไฟฉายหรือ ถนนจรัญสนิทวงศ์ ส่วนราคาที่ดิน บริเวณถนนจรัญสนิทวงศ์ราคา กว่า 100,000 บาทต่อตารางวา และ ตลอดแนว จะมีศักยภาพต่อการพัฒนา อาคารชุดเกาะแนวรถไฟฟ้า

ส่วนเมื่อไหร่ชาวกทม. จะใช้บริการรถไฟฟ้าสายนี้ ยังไงตอนนี้ ต้องช่วยกันลุ้น บอร์ดเกาะรัตนโกสินทร์และ บอร์ดสวล. ว่า จะอนุมัติให้ผ่านเมื่อไหร่
 
#8 ·
Some comments on the last bit of news.

Only in Thailand could we still need 1-2 years of 'assessment' to work out that a route extension that has been BLINDINGLY OBVIOUS since day 1, 9 years ago, is actually needed or not. Some of these guys should set up a committee to see if Thai people need to breathe oxygen every day or not....they will need a year to decide on the results.

Second, from what I remember, the BTS is linked to the Democrat party. So they better hurry to build this money-making extension right now while they have the chance! Maybe all the 'assessment' will be hurried up by a bag of cash!

Any thoughts?
 
#9 ·
กำลังจะเข้ามาบ่นเหมือนกันว่ามันต้องประเมินอะไรกันตั้ง 1-2 ปี ....... บ้า

เวลาประเมินนี่นานพอๆกับเวลาก่อสร้างจริงเลย
 
#11 ·
สงสัยเขาประมาณ รวมเวลาเจรจาเวลาชาวบ้านประท้วงตามแนวเวนคืนด้วยล่ะมั้ง (หรือถ้าไม่รวม ก็ อาจจะ 3-4 ปี :bash::bash::bash:
 
#12 ·
เปิดใช้บีทีเอสตากสิน-สาธร 15 พ.ค.

วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2552 เวลา 13:59:15 น. มติชนออนไลน์


ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึง โครงการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้า ตากสิน-สาธร ยืนยันว่า จะสามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ ภายในวันที่ 15 พ.ค.นี้
 
#15 ·
บีทีเอสสายตากสิน-วงเวียนใหญ่เปิดวิ่ง15พ.ค.

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 27/01/2009


ผู้ว่าฯกทม.เผยรถไฟฟ้าต่อขยายบีทีเอส สะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ เปิดใช้แน่ 15 พ.ค.นี้ เปิดวิ่งฟรีจนถึง 12 ส.ค. ยังไม่สรุปอัตราค่าโดยสาร

ที่ศาลาว่าการ กทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม. วันนี้( 27 ม.ค.) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีลม จากสถานีสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร ตามที่สำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.) รายงาน โดยการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณจะแล้วเสร็จในเดือน มี.ค.นี้ ก่อนที่จะเปิดให้บริการในวันที่ 15 พ.ค. โดยจะวิ่งให้บริการฟรี จากนั้นจะเริ่มเก็บค่าบริการในวันที่ 13 ส.ค. หลังจากวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

"อัตราค่าโดยสาร ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป แต่เรื่องนี้จะต้องนำเข้าที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร เพื่อให้สมาชิกสภา กทม. พิจารณาความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังมีเวลาในการตัดสินใจอีกหลายเดือน แต่ยืนยัน กทม.จะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก"

ด้านนายจุมพล สำเภาพล ผอ.สำนักการจราจรและขนส่ง กล่าวว่า กทม.จะต้องออกข้อบัญญัติเก็บค่าโดยสารเสนอสภา กทม. เชื่อว่าจะสามารถออกมาทัน ก่อนที่จะคิดค่าบริการในวันที่ 13 ส.ค. ทั้งนี้การกำหนดอัตราค่าโดยสารอยู่ระหว่างการหารือของบริษัทกรุงเทพธนาคาร ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ กทม.กับ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ(บีทีเอส) จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ แต่เบื้องต้นมีแนวทางในการคิดค่าเข้าระบบทางบริษัท บีทีเอส 15 บาท ส่วนค่าแรกเข้าระบบของ กทม. 5 บาท ส่วนระบบตั๋วร่วม ขณะนี้ยังติดปัญหา เพราะ กทม.ต้องหารือกับทางธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลัง เพื่อออกกฎกระทรวง มารองรับ

อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถเจรจาเพื่อดำเนินการได้ทัน กทม.อาจใช้เส้นทางของทางราชการแจ้งให้ทราบ นอกจากนี้ ในการว่าจ้างบริษัท บีทีเอส เดินรถนั้น กทม.จะดำเนินการว่าจ้างแบบปีต่อปี คิดตามระยะทางที่วิ่งจริงเป็นกิโลเมตร โดยเปรียบเทียบกับปัจจุบันที่บริษัท บีทีเอส วิ่งในขณะนี้ คือ 40,000 เที่ยว 1,400 กิโลเมตร คิดเป็นอัตราค่าจ้าง 20 ล้านบาทต่อเดือน หรือปีละกว่า 200 ล้านบาท

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการจัดเก็บรายได้ตามสิทธินั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาใน 3 แนวทาง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะกับประชาชน ประกอบด้วย

1.เก็บตามระยะทางแบบที่บีทีเอสดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน

2.เก็บแบบข้อที่ 1.แต่เพิ่มอัตราช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในระบบของ กทม. เพราะถือว่าเป็นอุปสรรคและใช้ต้นทุนในการก่อสร้างสูงเป็นไปตามหลักสากล ที่ประเทศฮ่องกงก็ใช้การหลักการนี้

3.การเก็บอัตราคงที่ โดยทั้ง 3 หลักการกทม.จะต้องตัดสินใจภายในเดือนก.พ.นี้ว่าจะเลือกใช้วิธีการใด เพื่อนำหลักการไปเจรจากับบริษัท บีทีเอส และจัดหาระบบตั๋วหรือ AFC ( Automatic Fare Collection) เพื่อนำมาเขียนโปรแกรมการจัดเก็บรายได้ต่อไป

ส่วนอัตราค่าโดยสารจะอยู่ที่ประมาณ 15-45 บาท อย่างไรก็ตามการจัดเก็บค่าโดยสารของ กทม.จะต้องผ่านการพิจารณาจากสภา กทม.ในการออกข้อบัญญัติการจัดเก็บค่าโดยสาร เพื่อนำมากำหนดค่าโดยสารต่อไป สำหรับการตั้ง Clear House นั้นต้องขออนุญาตจากกระทรวงการคลังก่อน โดยนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. จะเข้าหารือกับร่วมกับนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในวันที่ 29 ม.ค.นี้
 
#17 ·
ดีจังช่วงต่อไปนี้ระยะไม่นานนักจะมีรถไฟฟ้าเปิดใช้หลายสายเลย
เริ่มจากสีเขียวตากสิน พ.ค. แอร์พอร์ตลิ้งค์ ส.ค. และสายสีเขียวอ่อนนุชสำโรงก็น่าจะสักปีหน้า?
 
#18 ·
กทม.เปิดวิ่งทดสอบระบบรถไฟฟ้าฝั่งธนฯ 13 เม.ย.

Nation 28/01/2009 17:31 น.


นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.)ร่วมประชุมติดตามความคืบหน้าการเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายตากสิน-บางหว้า ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร โดยมีนายจุมพล สำเภาพล ผองสำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.)นายอมร กิจเชวงกุล ผู้อำนวยการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด และเจ้าหน้าที่จากบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ(บีทีเอส ) เข้าร่วมประชุม

ในที่ประชุมมีการเร่งรัดการดำเนินการเพื่อให้สามารถทดลองเปิดเดินรถได้ตามเป้าหมายของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. ในวันที่ 15 พ.ค. โดยจะมีการทดลองวิ่งรถเปล่าก่อนเป็นเวลา 1 เดือน คือเริ่มในวันที่ 13 เม.ย. รวมเวลานับถอยหลังการดำเนินงานประมาณ 75 วัน โดยบริษัท บีทีเอส จะเป็นผู้ทดลองเดินรถผ่านการว่าจ้างจากบริษัท กรุงเทพธนาคม

ทั้งนี้ ในที่ประชุมมีการตกลงกันว่า จะประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าในทุกสัปดาห์จากนี้ไป ก่อนทดลองวิ่งรถประมาณ 10 ครั้ง และทุกครั้งจะต้องมีความคืบหน้าในเรื่องต่าง ๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ประมาณ 12 เรื่อง เช่น ขบวนรถ ระบบตั๋ว การซ่อมบำรุง การว่าจ้างบริษัทประกันความปลอดภัย การเตรียมบุคลากร เป็นต้น

นายธีระชน กล่าวว่า ในส่วนเรื่องราคาค่าโดยสารนั้น ขณะนี้ บ.กรุงเทพธนาคม อยู่ระหว่างหารือกับบีทีเอส เพื่อให้ค่าแรกเข้าอยู่ที่ราคา 15 บาท และเพดานราคายังอยู่ที่ 40 บาทเท่าเดิม เนื่องจากคาดว่า จะมีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการในสายตากสินเพิ่มกว่า 100,000 คน ซึ่งในส่วน กทม.อาจจะมีการทำผลสำรวจความคิดเห็น การเข้าใช้บริการของประชาชน เพื่อให้ทราบตัวเลขผู้ใช้บริการที่ชัดเจน และใช้ในการอ้างอิงแก่ บ.บีทีเอส

นอกจากนี้ ในเรื่องค่าโดยสารทางสภา กทม.ได้มีข้อแนะนำว่า ให้พิจารณาถึงอนาคตด้วย เนื่องจาก กทม.อยู่ระหว่างการดำเนินการสร้างสถานีเพิ่ม ทั้งสายอ่อนนุช-แบริ่ง และจากวงเวียนใหญ่-บางหว้า ให้แล้วเสร็จในสมัยนี้ ซึ่งเมื่อเส้นทางมีความสมบูรณ์แล้ว น่าจะมีการคำนึงถึงการเข้าพรบ.ร่วมทุนระหว่าง กทม.กับบีทีเอส เพื่อที่จะบริหารงานร่วมกัน และจะทำให้ประชาชนที่มาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เรื่องราคาจึงอาจมีความเป็นไปได้ที่จะลดลงอีก

ส่วนเรื่องตั๋วร่วมนั้น คาดว่า ในสัปดาห์หน้า จะสามารถหารือกับนายกรณ์ จาติกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เรื่องการขอให้กระทรวงออกกฎกระทรวง เพื่อรองรับการใช้ตั๋วร่วมแบบอิเล็กทรอนิกส์

นายธีระชน กล่าวด้วยว่า เพื่อเป็นการเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าของ กทม.จะเร่งดำเนินการว่าจ้างบริษัทกรุงเทพธนาคม เพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการอย่างเต็มที่ วงเงินค่าจ้างราว 160-200 ล้านบาท/เดือน รวมทั้งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารบริษัทกรุงเทพธนาคมอีก 4 คน ได้แก่ รศ.ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ มาดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร นางวรรณวิไล พรหมลักขโณ น.ส.รสสุคนธ์ แสงอ่อน รองผอ.สำนักการคลัง และดร.ศุภชัย ตันติคม อีกทั้งน่าจะสามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดทุน ของบ.กรุงเพทธนาคม ที่มีการขาดทุนถึง 6 ล้านบาทในช่วงปีที่ผ่านมา
 
#19 · (Edited)
บีทีเอสยอมเก็บค่ารถไฟฟ้าเชื่อมฝั่งธนฯ15-40บ. รายได้กทม.หดลงถูกเฉือนเป็นค่าแรกเข้า

Dailynews 4/02/2009


เมื่อวันที่ 2 ก.พ. ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายจากสาทร-ตากสิน ระยะทาง 2.2 กม. ไปฝั่งธนบุรีที่กทม.จะเริ่มทดสอบระบบรถวันที่ 13 เม.ย.นี้ เปิดทดลองให้ประชาชนใช้ฟรีวันที่ 15 พ.ค. และเปิดให้บริการจริงในวันที่ 13 ส.ค. มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ได้แก่ สำนักการจราจรและขนส่ง บริษัทกรุงเทพธนาคม ผู้บริหารโครงการ และนายสุรพงษ์ เลาหอัญญา กรรมการรองผู้จัดการใหญ่สายปฏิบัติการบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด หรือ บีทีเอส ว่า แผนงานทั้งหมดรุดหน้าด้วยดี

ขณะนี้โครงการภาพรวมคืบหน้ากว่า 90% จะเปิดให้บริการตามแผนที่กำหนด ในส่วนของการจัดเก็บค่าโดยสารหลังจากที่เปิดให้ประชาชนทดลองใช้ฟรีแล้ว 3 เดือนนั้น ผู้แทนบีทีเอสยินดีที่จะเก็บค่าโดยสารให้ประชาชนที่ใช้บริการโครงการส่วนแรก 23 กม. ที่บริษัทรับสัมปทานอยู่และวิ่งยาวมาถึงฝั่งธนบุรีอีก 2.2 กม. รวม 25.2 กม. ในอัตราเดิมตามที่ กทม.ร้องขอคือ 15-40 บาท และให้ผนวกเส้นทางที่เปิดใช้เพิ่มเข้าไปอยู่ในเพดานในการจัดเก็บค่าโดยสารเช่นเดิม

หากจะมีการเพิ่มค่าโดยสารตามสัญญาก็ให้ใช้เพดานเดิม แต่บริษัทแจ้งว่าในการเชื่อม 2 โครงการต้องคิดค่าแรกเข้าระบบ 10-15 บาท ค่าโดยสารที่แท้จริงจะตกราว 20-50 บาท ดังนั้นการเก็บในอัตราเดิมจะทำให้ส่วนแบ่งค่าโดยสารของกทม.ลดลง ซึ่งตนไม่ติดใจในเรื่องนี้แต่ได้มอบให้กรุงเทพธนาคมผู้เจรจากับบีทีเอสในเรื่องนี้จัดทำรายละเอียดส่วนแบ่งค่าโดยสารที่ชัดเจนมานำเสนอ

นายธีระชน กล่าวต่อว่า สำหรับการว่าจ้างบีทีเอสมาเดินรถนั้น กทม.จะตั้งงบประมาณให้กรุงเทพธนาคมปีละ 160-200 ล้านบาทเพื่อบริหารระบบ ซึ่งในจำนวนนี้รวมค่าจ้างเดินรถบีทีเอสเดือนละ 10 ล้านบาทหรือปีละ 120 ล้านบาท คาดว่าปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดใช้ส่วนต่อขยายราว 30,000-50,000 คน จะเป็นรายได้ที่เพียงพอต่อค่าบริหารระบบ ทั้งนี้วันที่ 5 ก.พ.นี้ ผู้บริหารกทม.จะลงพื้นที่ดูความคืบหน้าโครงการดังกล่าวด้วย.
 
#20 ·
Sukhumphan walking to inspect BTS track - ready for test run on 13 April 2009
ASTV Manager Daily - 5 Feb 2009




After fulfillign his wish by walking along the track at Wongwian Yai station (S8) - the electromechanic installation on 2.2 km track by AAt COnsortium is 90% done, ready for test run on 13 April 2009, a free ride on 15 May 2009 and commercial service on 12 August 2009

BTS has improved the signal system to allow the through service at Saphan Taksin station.

The 5.3 km extension to Bang Wah will have 4 station - ONLY 800 meter of elevated track has nto been constructed yet.

If everythgin goes according the plan, test run to Bang Wah will started in December 2010 - ready for comemrcial service in March 2011.

If Subway throguh Rattankosin Island is executed, it will connect with BTS at S12 station (Bang Wah) - the terminal for 10 shuttle buses (100 buses)

สุขุมพันธุ์” สมใจอยากเดินบนรางบีทีเอส ลั่น 13 เม.ย.ทุกอย่างเรียบร้อย‏

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 กุมภาพันธ์ 2552 18:35 น.


“สุขุมพันธุ์” สมใจอยากเดินบนรางบีทีเอส ลั่น 13 เม.ย.ทุกอย่างเรียบร้อยพร้อมทดลองวิ่งรถเปล่า ขณะที่ความคืบหน้าโครงการล่าสุด 90% แล้ว ส่วนโครงการบีอาร์ทีเห็นด้วยกับแนวทาง”ธีระชน” ประกวดราคาจ้างเอกชนเดินรถ

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีลม ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร ที่สถานี S8 วงเวียนใหญ่ เพื่อสร้างความมั่นใจในการเปิดให้บริการแก่ประชาชนนัวนที่ 15 พ.ค.นี้ โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นวันที่ตนได้ทำในสิ่งที่ตนปรารถนามานานแล้วนั้นก็คือการเดินบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส

ทั้งนี้ ตนมั่นใจว่าในวันที่ 13 เมษายน 2552 ทุกอย่างจะต้องเรียบร้อยสำหรับการทดลองเดิอนรถเปล่า ก่อนที่จะเปิดทดลองให้ประชาชนได้ใช้บริการในวันที่ 15 พฤษภาคม
โดยขณะนี้การติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ที่ดำเนินการโดยบ.บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล (ประเทศไทย) จำกัด คืบหน้าแล้ว 90% กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ส่วนระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ที่ดำเนินการโดย บ.AAT Consortium จำกัด คืบหน้าแล้ว 90% กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 18 กุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมถือว่ามีความคืบหน้าไปแล้ว 90% ส่วนอีก 10% ที่เหลือคือการทดสอบระบบต่างๆ และการทดลองการเดินรถ ขณะเดียวกันทางบีทีเอสก็มีการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณในสถานีเชื่อมต่อที่สถานีสะพานตากสินเพื่อให้สามารถเชื่อต่อกับของเราได้

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า สำหรับส่วนต่อขยายช่วงที่ 2 ไปบางหว้าระยะทาง 5.3 กิโลเมตร จำนวน 4 สถานี เหลือทางยกระดับอีก 800 เมตรที่ยังไม่ได้ก่อสร้างซึ่งตามแผนงานคาดว่าในเดือนธันวาคม 2553 จะสามารถทดลองเดินรถได้ และสามารถเปิดให้บริการในเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งส่วนต่อขยายสายนี้จะไปบรรจบกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินของรัฐบาลที่สถานี S12 โดยจะจัดให้มีรถชัตเติ้ลบัส 10 สาย กว่า 100 คันคอยให้บริการรับส่งประชาชน

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวถึงโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ทีสายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ ด้วยว่า ตนเห็นด้วยกับแนวทางของนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม.ที่เสนอให้เปิดประกวดราคาว่าจ้างเอกชนให้มาเดินรถแทนการจัดซื้อรถบีอาร์ทีที่ยังเป็นคดีความอยู่ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพราะเป็นความจำเป็นที่จะต้องเดินหน้าหากไม่โครงการก็จะหยุดชะงัก เรื่องไหนที่เป็นคดีความก็ให้ฟ้องร้องกันไป ส่วนที่ต้องเดินหน้าก็ต้องทำต่อไป
 
#21 ·
ถ้าหากกทม.จะเอาโครงการมาทำเองแล้วล่ะก็อยากให้เร่งทำ
ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติไปฝั่งพรานนกซึ่งเป็นระบบใต้ดินโดยเร็วครับ
ผมมองว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวในตัวเมืองกรุงเทพฯ
โดยเฉพาะพวกนักท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นอย่างมาก
ส่วนคนไทยไม่ต้องพูดถึงได้ประโยชน์เต็มๆ

ผมว่าสายนี้ยังได้ประโยชน์ดีกว่าสร้างจากสะพานพระนั่งเกล้าไปบางใหญ่(รฟม)
หรือจากแบริ่งไปสมุทรปราการเสียอีก(กทม)

แต่ไม่รู้ด้วยเหตุผลอะไรทำให้สายพรานนกไม่ถูกบรรจุเข้าไปในโครงการเฟสแรก
ไม่รู้ว่าจะด้วยความช้าของการศึกษาผลกระทบจากการก่อสร้าง
หรืออะไรก็ช่าง แต่ผมว่าส่วนนี้มันเร่งได้

ความจริงก็เป็นเรื่องน่าตลกที่ รกรากเดิมของกรุงเทพมหานครที่มีอายุเกือบ230ปี
คือเกาะรัตนโกสินทร์นั้นกลับยังไม่มีรถไฟฟ้าเข้าไปถึงเลย
แต่เมืองส่วนที่ขยายจากตัวพระนครเดิมในช่วงไม่ถึง100ปี
กลับมีรถไฟฟ้าใช้แล้ว
 
#34 ·
ความจริงก็เป็นเรื่องน่าตลกที่ รกรากเดิมของกรุงเทพมหานครที่มีอายุเกือบ230ปี
คือเกาะรัตนโกสินทร์นั้นกลับยังไม่มีรถไฟฟ้าเข้าไปถึงเลย
แต่เมืองส่วนที่ขยายจากตัวพระนครเดิมในช่วงไม่ถึง100ปี
กลับมีรถไฟฟ้าใช้แล้ว
นี่แหละครับความหมายของหัวเราะทีหลังดังกว่า :lol::lol::lol: เห็นๆ
 
#23 ·
ส่วนต่อขยายถึงบางว้านี่ก็เสร็จแล้วใช่ไหมครับเพราะดูจาก google earth เห็นเป็นแนว รอทำรางกับทำสถานี
 
#25 ·
I'm new to this forum. And I know what I'm going to ask must have been raised before.

I'm wondering how they operate the train via Thaksin station because tracks are reduced to single track. It might be chaotic during rush hours and very impractical given the fact that BTS is a mass transit system.

Do they have any plan to relocate or reconfigure Thaksin station? My sense tells me that concerning agencies have no subtle thought on this.
 
#26 ·
Do you know what the train frequency for BTS Sathorn Line in peak hours? It would be better if Saphan Taksin station was redesigned, but I'm thinking that a few minutes' delay (potential queueing at Saphan Taksin?) is better than spending millions of baht and increased delay in the short term. The truth is that its not worth the trouble for politicians and BTSC to take the long view.
 
#27 ·
เช็กความพร้อม BTS ฝั่งธนฯ การันตีเปิดใช้จริง 15 พ.ค.นี้

ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4079


คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต

นับถอยหลังจากนี้ไปอีก 3 เดือนเศษ ฝันของคนฝั่งธนฯจะกลายเป็นจริง เพราะ "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร" ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้คำมั่นสัญญาว่าจะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสระยะ 2.2 กิโลเมตร จากสถานีตากสิน-แยกตากสิน ดีเดย์วันที่ 15 พฤษภาคมนี้ หลังล่าช้ามานานหลายปี

และเพื่อเร่งรัดงานก่อสร้างให้แล้วเสร็จทันกำหนด ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ว่าฯ กทม.ได้ลงพื้นที่สำรวจความพร้อมโครงการนี้ พบว่าโดยรวมงานมีความคืบหน้าเกือบ 100% แล้ว ทั้งงานโครงสร้างพื้นฐานและระบบราง

เหลืองานระบบการเดินรถ 2 ส่วนที่ต้องเร่งมือ ส่วนแรกเป็นงานระบบอาณัติสัญญาณ คืบหน้า 85.15% ล่าช้า กว่าแผน 11.65% จะแล้วเสร็จวันที่ 28 กุมภาพันธ์ และงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล คืบหน้า 83.27% ล่าช้า 12.75% จะแล้วเสร็จวันที่ 18 กุมภาพันธ์นี้

ผู้ว่าฯ กทม.ตั้งเป้าจะเริ่มทดสอบระบบทั้งหมด ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนเมษายน จากนั้นจะทดลองเดินรถจริงวันที่ 13 เมษายนถึง 13 พฤษภาคม และพร้อมเปิดให้ประชาชนใช้บริการตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคมเป็นต้นไป โดยช่วง 3 เดือนแรกจะยังไม่จัดเก็บค่าบริการ จะเริ่มเก็บจริงวันที่ 13 สิงหาคมเป็นต้นไป ในอัตรา 15-40 บาท เท่ากับค่าโดยสารรถไฟฟ้า บีทีเอสที่เปิดให้บริการอยู่ขณะนี้

"สุรพงษ์ เลาหะอัญญา" กรรมการและผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้า บอกว่า บริษัทไม่มีปัญหาพร้อมเปิดให้บริการส่วนต่อขยายฝั่งธนฯ ทันตามกำหนดแน่

ส่วนการเชื่อมต่อระบบผู้โดยสารไม่ต้องกังวล แม้บีทีเอสจะยังเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณไม่แล้วเสร็จ แต่รถไฟฟ้าสามารถวิ่งเข้ามาเชื่อมระบบของ กทม.ได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวน เพราะมีการติดตั้งระบบไว้ภายในรถไฟฟ้าเพื่อแก้ปัญหา เฉพาะหน้าแล้ว ส่วนระบบใหม่จะเสร็จเรียบร้อยพร้อมกับรถไฟฟ้าขบวนใหม่ที่บริษัทซื้อเพิ่มอีก 12 ขบวนปลายปี 2552 หรือไม่ต้นปีก็ 2553

ผู้บริหารบีทีเอสบอกอีกว่า จะมีสิ่งแปลกใหม่เล็กน้อยที่สถานีตากสิน เนื่องจากสถานีมีข้อจำกัดชานชาลามีด้านเดียว แต่คงไม่เป็นปัญหา ผู้โดยสารจะไม่เกิดความสับสนเวลามาใช้บริการ เพราะจะทำเครื่องหมายเขียนบอกไว้ที่พื้นชานชาลา แยกเป็นช่องเสร็จสรรพว่ารถไฟฟ้าสายไหนข้ามไป ฝั่งธนฯ ช่องไหนวิ่งเข้าเมือง

สำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ กทม.จัดเตรียมไว้พร้อมแล้ว เช่น ลิฟต์สำหรับผู้พิการ ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพฯจุดจอดแล้วจร จุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร จอดรถแท็กซี่ รถตู้โดยสาร มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถบริการรับ-ส่ง หรือชัตเทิลบัส และทางเดินลอยฟ้า เดินเชื่อมระหว่างสถานีกรุงธนบุรีและสถานีวงเวียนใหญ่

ขณะเดียวกัน ผู้ว่าฯ กทม.กำลังเร่งเครื่องส่วนต่อขยายบีทีเอสอีก 2 สาย ที่จะเปิดให้บริการกลางเดือนมีนาคม 2554 คือ จากตากสิน-บางหว้า ระยะทาง 5.3 กิโลเมตร ซึ่งโครงสร้างเสร็จถึง ถนนเพชรเกษมแล้ว เหลืออีกแค่ 800 เมตร มีทั้งหมด 4 สถานี และสายสุขุมวิท จากอ่อนนุช-แบริ่ง ระยะทาง 5.25 กิโลเมตร

หน้า 8
 
#28 ·
ผู้บริหารบีทีเอสบอกอีกว่า จะมีสิ่งแปลกใหม่เล็กน้อยที่สถานีตากสิน เนื่องจากสถานีมีข้อจำกัดชานชาลามีด้านเดียว แต่คงไม่เป็นปัญหา ผู้โดยสารจะไม่เกิดความสับสนเวลามาใช้บริการ เพราะจะทำเครื่องหมายเขียนบอกไว้ที่พื้นชานชาลา แยกเป็นช่องเสร็จสรรพว่ารถไฟฟ้าสายไหนข้ามไป ฝั่งธนฯ ช่องไหนวิ่งเข้าเมือง
ฟังดูเหมือนว่าส่วนต่อขยายจะมีขบวนรถของตัวเองวิ่งแยกกันกับสายเดิมที่มีอยู่หรอครับ
แสดงว่าถ้านั่งจากฝั่งธนฯ จะต้องลงที่สถานีสะพานตากสินเพื่อต่อรถอีกขบวนไปสยามใช่ไหมครับ
 
#29 ·
เค้าแค่บอกว่าจะเพิ่มลายที่พื้นสำหรับแบ่งแยกว่ารถขบวนใดไปไหนครับ

เช่น หากรถที่มาจากสยาม จะไป วงเวียนใหญ่ จะจอดที่ลายที่พื้นอันเดิม
หากรถที่มาจากวงเวียนใหญ่ จะไป สยาม จะจอดตรงกับลายที่พื้นอันใหม่ครับ แค่นั้น

ซึ่งมันกำหนดได้ในระบบอาณัติสัญญาณครับ ว่าจะให้รถจอดตรงไหนครับ... :lol:
 
#31 ·
เกาะรัตนโกสินทร์ถ้าสร้างจริง ๆ คงต้องเป็นรถไฟใต้ดินแหละครับ ขืนสร้างลอยฟ้าจริง ๆ นี่คงทำลายภูมิทัศน์ของย่านกรุงเก่าหมด ยิ่งแถวนั้นมีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์สวย ๆ งาม ๆ มากมายด้วย แต่ก็อย่างว่าภูมิประเทศแถวนั้นคงไม่เอื้อต่อการสร้างรถไฟลอยฟ้าด้วยแหละ เพราะถนนไม่มีเกาะกลาง ขืนสร้างจริง ๆ คงวุ่นวายน่าดู
 
#32 ·
รถไฟฟ้าทุกสาย ทั้งสีน้ำเงิน สีม่วง สีเขียว ตามโครงการก็เป็นเส้นทางใต้ดินทั้งนั้นนี่ครับ
 
Top