SkyscraperCity Forum banner

Thailand High-speed Railways

4M views 17K replies 533 participants last post by  Lion007 
#1 · (Edited)
Thailand to build over 2,500-km high-speed railways in 20 years

BANGKOK, March 30 (Xinhua) -- Thailand will build 2,506 km high-speed railways linking northern Chiang Mai, northeastern Nong Khai, southeastern Rayong and southern Padang Besar with the capital by 2036, a Thai official said.

Suphalerk Soodyodprasert, Rail Project Development Officer from the Office of Transport and Traffic Policy and Planning (OTP) under Thai Ministry of Transport, introduced the development of high-speed railways in Thailand Thursday at the Rail Asia Expo & RISE Symposium.

The first phase of Bangkok-Nong Khai high-speed rail, Thailand's first high-speed railway under Thailand-China cooperation, is under construction after a ground-breaking ceremony late last year, Suphalerk said.

He also introduced Thailand's master plan of high-speed railways.

The four projects in the first period from 2017 to 2021 include a 253-km first phase of China-Thailand cooperation project, or the high-speed rail between Bangkok and Nakhon Ratchasima, a 355-km second phase from Nakhon Ratchasima to Nong Khai on the Thai-Lao border, a high-speed rail linking Suvarnabhumi, Don Mueang and U-Tapao airports and its further extension to Rayong, and a 380-km Bangkok-Phitsanulok high-speed rail, according to Suphalerk.

He added that a 211-km Bangkok-Hua Hin high-speed rail has been put into the second period of plan, which lasts from 2022 to 2026.

A 288-km high speed rail from Phitsanulok to Chiang Mai is also planned in the second period.

For the third period from 2027 to 2036, Thailand plans to extend the Bangkok-Hua Hin high-speed railway by 424 km to Surat Thani and then another 335 km to Padang Besar on the Thai-Malaysian border.

The master plan is set to cost some 1.57 trillion baht (about 50 billion U.S. dollars).

30/3/2018 http://www.xinhuanet.com/english/2018-03/30/c_137077695.htm


แผนพัฒนารถไฟความเร็วสูง พ.ศ 2560 - 2579

cr. กรมการขนส่งทางราง 2562

 
See less See more
1
  • Like
Reactions: passat1717
#10,221 ·

Raising the issue on 2.2 trillion Baht loan while Khun Chatchart, Ai Warathep and Yinglux threatening the constitution court with mumbo jumbo that if the constitution court judges have reject this act, Thailand will be underdeveloped due to the lack of financial resources for High Speed train
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1394522370&grpid=00&catid=&subcatid=
http://www.thanonline.com/index.php...e&id=222144&catid=176&Itemid=524#.Ux8UIsQW31V
https://www.facebook.com/photo.php?....372914529407289.91778.372488206116588&type=1
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000027500
 
#10,222 · (Edited)
ไทยเข้มแข๊ง กู้มาเฟสแรก 5 แสนล้าน ดอกเบี้ยเท่าไหร่ มีหน่วยงานไหน หรือสื่อทั้งหลายไปตรวจสอบบ้าง :nuts::nuts:

แล้วผ่านมา 2 ปีครึ่ง รัฐบาลปัจจุบัน ใช้หนี้เงินกู้ที่รัฐบาลที่แล้วกู้มาถลุงไปเท่าไหร่แล้ว ?? ไม่สนใจกันบ้างหรือ ??
 
#10,224 ·
ดูความอนาถรถไฟไทย ผ่านไป 60 ปี เปลี่ยนแค่หัวรถจักร

 
#10,225 ·
^^ อ้าว เปลี่ยนแค่หัวรถจักรหรอครับ?

แล้วไอ้ราง 100 ปอนด์ 120 ปอนด์ ที่เริ่มเอามาเปลี่ยนตั้งแต่สมัยปี 2545-2546...

สายสีแดงที่กำลังสร้าง...

รถไฟฟ้า ARL...

ไม่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงหรอครับ?
 
#10,226 · (Edited)
ใช้กี่ปีหมดนี่คำนวณกันยังไงครับ อีก15ปีจีดีพีก็เพิ่มมากกว่าตอนนี้2เท่า มีเงินใช้หนี้เร็วขึ้นด้วย รายได้รัฐเพิ่มขึ้นทุกปี หรือเอาแค่เศรษฐกิจในตอนนี้มาคำนวณอีก50ปีข้างหน้า ไม่คิดว่าจะรวยขึ้น? เป็นผมยอมนะต่อให้เป็นหนี้50ปี ถ้ามันทำให้ประเทศหลุดพ้นจากเป็นประเทศเกษตรอุบาทว์ที่แจกเงินชาวบ้านแต่มีแต่หนี้ แล้วสร้างโลจิสติกส์ให้จังหวัดที่อยู่ไกลๆได้มีภาคบริการ การท่องเที่ยวหรืออุตสาหกรรมมากขึ้น
 
#10,227 ·
ศาลรธน.ชี้ร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน ขัดรัฐธรรมนูญ
เดลินิวส์ วันพุธ 12 มีนาคม 2557 เวลา 13:03 น.

เมื่อวันที่ 12 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้นัดประชุมเพื่อแถลงด้วยวาจา และลงมติอ่านคำวินิจฉัย ในคำร้องที่ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นคำร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ.... วงเงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169 และ 170 หรือไม่ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาแล้วมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เห็นว่า การดำเนินการการออกร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวฯ นั้นขัดรัฐธรรมนูญ และมีมติ 6 ต่อ 2 เห็นว่า กระบวนการตราไม่ชอบด้วยกฎหมาย

นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการ ศาลรธน.เปิดเผยว่า ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเห็นว่า ร่างพ.ร.บ.เงินกู้ฯ ขัดรัฐรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ร่างพ.ร.บ.ฯดังกล่าวต้องตกไป เนื่องจากเนื้อหาและกระบวนการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ยังได้รับคำร้องกกต.ไว้พิจารณาแล้ว.
 
#10,228 ·
ตัดสินลงเนื้อหาแบบนี้ ระวังกฎหมายที่ใช้กู้เงินที่ผ่านมาทั้งหลายจะถูกฟ้องกันเป็นพรวนครับ
เพราะเนื้อหามันอย่างเดียวกันหมดคือกู้แล้วเอาไปใช้ได้โดยไม่ต้องนำส่งคลัง ทีนี้ล่ะพ่อคุณเอ้ย
รถไฟฟ้าที่สร้างๆกันอยู่อาจจะต้องหยุดสร้าง
 
#10,229 ·
^^ อ้าว เปลี่ยนแค่หัวรถจักรหรอครับ?

แล้วไอ้ราง 100 ปอนด์ 120 ปอนด์ ที่เริ่มเอามาเปลี่ยนตั้งแต่สมัยปี 2545-2546...

สายสีแดงที่กำลังสร้าง...

รถไฟฟ้า ARL...

ไม่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงหรอครับ?

ผมเปรียบเปรยในคลิ๊ปที่เป็นสายกาญ

ส่วนที่น้องมารุตเขียน ก็เป็นอีกเรื่อง อาจจะพัฒนาแต่ก็แค่กระจุก

ตัดสินลงเนื้อหาแบบนี้ ระวังกฎหมายที่ใช้กู้เงินที่ผ่านมาทั้งหลายจะถูกฟ้องกันเป็นพรวนครับ
เพราะเนื้อหามันอย่างเดียวกันหมดคือกู้แล้วเอาไปใช้ได้โดยไม่ต้องนำส่งคลัง ทีนี้ล่ะพ่อคุณเอ้ย
รถไฟฟ้าที่สร้างๆกันอยู่อาจจะต้องหยุดสร้าง
กระทรวงคลัง ออก พรบ กู้เงินสารพัดนี่ หมายถึงเรื่องนี้ใช่ไหมครับ


เรื่องสองล้านล้านไม่ผ่าน รออ่านผลตัวเต็มก่อน

แต่ตอนนี้น่าเสียใจมากที่ประเทศไทยต้องดักดานต่อไป โจรใต้ก็ดีใจตามที่พวกเขาคาดคะเน :eek:hno:
 
#10,232 · (Edited)
https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=294511&page=115
https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=294511&page=122
https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=294511&page=129
https://thaimilitaryandasianregion.wordpress.com/2016/09/18/oplot-mbt/
https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1246567&page=128
https://www.skyscrapercity.com/showpost.php?p=167089020&postcount=6021



https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?p=161737702
https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1246567&page=289
https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1246567&page=296
http://thaidefense-news.blogspot.com/2018/01/vt-4-4-2561.html
https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1246567&page=96
https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?p=132971702&langid=6
https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?p=151370445
https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1246567&page=286

http://www.ctat.or.th/FileUpload/Ed...rplan The 20 year of Motorway development.pdf
https://www.skyscrapercity.com/showpost.php?p=158702794&postcount=4327
https://www.skyscrapercity.com/showpost.php?p=128817314&postcount=1575
https://www.skyscrapercity.com/showpost.php?p=128619746&postcount=1559
https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=515759&page=84
ลองอ่านประโยชน์ของรถไฟรางคู่ดู

ศูนย์วิจัยกสิกรฯ ชี้รถไฟทางคู่ตอบโจทย์การลดต้นทุน ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
https://www.skyscrapercity.com/showpost.php?p=132414902&postcount=6598
http://thaidefense-news.blogspot.com/2017/07/s26t-yuan-class.html
https://thaimilitaryandasianregion....yuan-type-039a-type-041-submarine-yuan-class/
“รถไฟความเร็วสูง” สร้างแล้วคุ้มค่าหรือไม่?
ตลอด 2 ปีที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย “ทักษิณคิด-ยิ่งลักษณ์ทำ” เข้ามาบริหารประเทศ ได้ให้กำเนิดโครงการที่ถูกตั้งข้อสังเกตถึงความเหมาะสมมากมาย อย่างนโยบายอันอื้อฉาวที่สุดอย่าง “จำนำข้าว” ที่ระยะเวลาเพียง 2 ปี ขาดทุนไปแล้วเกือบ 5 แสนล้านบาท รวมทั้งไม่สามารถตอบสาธารณชนได้ว่าจะทำอย่างไรกับข้าวที่รับจำนำไว้ เช่นเดียวกัน อีกโครงการที่เป็นประเด็นถกเถียงมาตลอดปี 2556 คือ “เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท” ที่จำนวนนี้ส่วนใหญ่นำไปใช้ลงทุนระบบราง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “รถไฟความเร็วสูง” แน่นอนย่อมมาพร้อมคำถามว่า..คุ้มหรือไม่?

ประเมิน “กำลังซื้อ” คนไทย

คำถามแรกที่เกิดขึ้นหลังรัฐบาลมีแผนสร้างรถไฟความเร็วสูง นั่นคือคนไทยมีความสามารถในการซื้อตั๋วโดยสารเพียงใด จากข้อมูลเบื้องต้นที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คำนวณออกมา คาดว่าราคาค่าโดยสารต่อคนจะอยู่ระหว่าง 1.60 – 2.50 บาทต่อกิโลเมตร

เราลองคำนวณค่าโดยสารในสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่คาดว่าระยะทางอยู่ที่ 669 กิโลเมตร หากใช้ราคาต่ำสุด 1.60 บาท/กม. จะอยู่ที่ 1,070.40 บาทต่อคน แต่หากใช้ราคาสูงสุดคือ 2.50 บาท/กม. จะอยู่ที่ 1,672.50 บาทต่อคน หรือถ้าใช้ราคากลางที่ 2 บาท/กม. จะอยู่ที่ 1,338 บาทต่อคน และหากใช้เกณฑ์ความเร็วเฉลี่ย 250-300 กม./ชม. ตามมาตรฐานรถไฟความเร็วสูงของนานาชาติ จะใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 3-4 ชั่วโมง หรือถ้าใช้ความเร็วเท่า Express Line ของรถไฟฟ้า Airport Link ในไทยคือ 130-160 กม./ชม. จะใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 4-5 ชั่วโมง

เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลือกอื่นๆ เช่น “รถทัวร์” ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 9-10 ชั่วโมง เราลองใช้ข้อมูลจากบริษัทเดินรถชื่อดัง 2 แห่ง คือนครชัยแอร์กับสมบัติทัวร์ ในส่วนของนครชัยแอร์ พบว่าชั้น First Class อยู่ที่ 876 บาทต่อคน ส่วน Gold Class อยู่ที่ 657 บาทต่อคน ขณะที่สมบัติทัวร์ มี 3 ราคา คือรถปรับอากาศชั้น 1 (ข) อยู่ที่ 563 บาทต่อคน รถปรับอากาศพิเศษ (พ) อยู่ที่ 657 บาท และรถ VIP (ก) อยู่ที่ 876 บาทต่อคน

หรือตัวเลือกใหม่ที่กำลังมาแรงอย่าง “สายการบินต้นทุนต่ำ” (Low Cost Airline) เราลองใช้ข้อมูลจากผู้ให้บริการยอดนิยมอย่างนกแอร์ ตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัด (NOK ECO) เฉลี่ยอยู่ที่ 1,500-2,500 บาทต่อคน (ขึ้นอยู่กับความต้องการโดยสาร เช่นตั๋วในช่วงเทศกาลปีใหม่ราคาจะอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าวันปกติ) ใช้เวลาเดินทางเพียงชั่วโมงเศษๆ เท่านั้น

แม้กระทั่งสายที่ใกล้ที่สุดอย่างกรุงเทพฯ-หัวหิน ที่คาดว่าระยะทางน่าจะอยู่ที่ 225 กิโลเมตร หากใช้เกณฑ์ราคาต่ำสุด 1.60 บาท/กม./คน จะอยู่ที่ 360 บาท หรือราคาสูงสุด 2.50 บาท/กม./คน จะอยู่ที่ 562.50 บาท และถ้าใช้ราคากลางที่ 2 บาท/กม./คน จะอยู่ที่ 450 บาท

ดูเหมือนว่าไม่น่าจะแพงนัก แต่รายงานของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ระบุว่ารถไฟความเร็วสูงจะคุ้มทุน ก็ต่อเมื่อมีผู้โดยสาร 9 ล้านคนต่อปี ปัญหาคือ..เรามีประชากรที่มีกำลังซื้อมากขนาดนั้นหรือไม่? เพราะค่าโดยสารก็ไม่ใช่ถูกๆ อย่างที่คำนวณไปแล้วข้างต้น

ทั้งนี้แม้กระทั่งรถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟใต้ดิน (MRT) ใน กทม. ที่ดูเหมือนคนใช้กันหนาแน่น (7 แสนคนต่อวัน) แต่เมื่อเราออกไปสังเกตการณ์ในจุดต่างๆ ตามแนวรถไฟฟ้า ก็พบว่ายังมีคนอีกเป็นจำนวนมาก ยอมทนลำบากโหนรถเมล์ท่ามกลางการจราจรที่ติดขัด เนื่องจากต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ในยุคที่ค่าครองชีพสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับรายได้ (ประชากร กทม. ที่ลงทะเบียนไว้มีราว 5 ล้านคน แต่คาดว่ามีประชากรจริงๆ ราว 13 ล้านคน เพราะส่วนใหญ่ย้ายเข้ามาเรียนหรือทำงาน แต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาด้วย)

ซึ่งในทรรศนะของ น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร มองว่าการสร้างรถไฟความเร็วสูงไม่คุ้มค่าและเสี่ยงต่อการขาดทุน เพราะด้วยรายได้ของคนไทยระดับล่างและกลางล่าง คงไม่สามารถโดยสารรถไฟความเร็วสูงได้บ่อยครั้งนัก

“สมมติรถไฟความเร็วสูง จากกรุงเทพไปหัวหิน ซึ่งมี ส.ว. บางท่านอภิปรายว่ามันดีมากเลย บ้านเราอยู่หัวหิน เรามาทำงานกรุงเทพ เราสามารถนั่งรถไปกลับแล้วก็ได้อยู่กับครอบครัว ก็บอกว่าลองดูสิ บาทหกสิบสตางค์ต่อกิโลเมตร ระยะทางสมมติตีซะ 200 กิโลเมตร คุณเสียค่าโดยสารเที่ยวละ 300 บาทขึ้นไป จะมีใครจ่ายเงินไปกลับวันละ 600 บาทเพื่อไปอยู่กับครอบครัว ถามหน่อยสิ? ฉะนั้นโครงการแบบนี้มีแต่เจ๊งลูกเดียว” ส.ว.กทม. ให้ความเห็น

“รถไฟทางคู่” ตอบโจทย์ที่สุด

จากกระแสคัดค้านโครงการรถไฟความเร็วสูงของหลายฝ่าย ทำให้กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลออกมาโจมตีว่าผู้คัดค้านเป็นพวกไม่อยากให้ประเทศเจริญก้าวหน้า หรือไม่ต้องการกระจายความเจริญไปสู่ชนบท ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ทั้งนี้ยังมีหนทางอื่นในการปฏิรูประบบขนส่งมวลชน โดยใช้งบประมาณที่น้อยกว่ามาก เช่นเรื่องของการปรับปรุงทางรถไฟให้เป็นแบบคู่ขนานทั่วประเทศ หรือเรียกว่า “รถไฟทางคู่” (รางคู่)

นายไกร ตั้งสง่า อุปนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เปรียบเทียบการพัฒนาระบบขนส่งเหมือนกับการสร้างบ้าน ซึ่งต้องสร้างสิ่งที่จำเป็นของการประกอบเป็นตัวบ้านก่อน จากนั้นเมื่อมีงบประมาณเหลือ หรือฐานะของครอบครัวดีขึ้น ค่อยคิดถึงการตกแต่งให้สวยงามต่อไป

ในที่นี้คือหากจะปฏิรูประบบขนส่งมวลชน ให้ตอบสนองต่อประชาชนที่ส่วนใหญ่ยังกังวลกับรายได้และค่าครองชีพได้จริง รถไฟทางคู่ถือเป็นตัวเลือกที่ดีกว่ามาก เบื้องต้นเสียเพียงค่าปรับปรุงรางเท่านั้น เพราะหัวรถจักรดีเซลที่หลายคนดูถูกว่าเก่าแก่โบราณ ในความเป็นจริงสามารถทำความเร็วสูงสุดได้เฉลี่ย 80-100 กม./ชม. แต่ทุกวันนี้ติดปัญหาที่ต้องรอสับหลีกเมื่อมีขบวนรถสวนมา ทำให้รถไฟไทยไม่สามารถรักษาเวลาได้แบบนานาอารยประเทศ

หรือความกังวลเกี่ยวกับค่าโดยสาร เมื่อไม่ต้องเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ทั้งหมด ก็แทบไม่จำเป็นต้องขึ้นค่าโดยสารในอัตราสูงจนประชาชนเดือดร้อนแต่อย่างใด รวมทั้งลดการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุช่วงเทศกาลได้ด้วย เพราะรถไฟมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้น้อยกว่ารถยนต์ เมื่อราคาไม่แพง ปลอดภัยและใช้เวลาเดินทางน้อยกว่า ผู้มีรายได้ไม่มากนักย่อมมีทางเลือกเพิ่มขึ้นมาอีกทางหนึ่ง

“เร่งทำรถไฟทางคู่ ให้ได้ประมาณ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นไปได้ ในปัจจุบันประมาณ 38 กิโลเมตรเองนะครับ เพราะเรารอหลีกกัน ท่านก็สามารถบรรลุเป้าหมายได้เช่นกัน แล้วยังสามารถขนสินค้าได้ด้วย ค่าโดยสารก็ไม่ต้องเพิ่มมากเพราะถูกอยู่แล้ว”

อุปนายก วสท. กล่าวทิ้งท้าย ทั้งนี้เส้นทางรถไฟที่เป็นทางคู่ของไทยถือว่าน้อยมาก และหยุดชะงักมานาน โดยสายเหนือคือกรุงเทพฯ-บ้านภาชี (อยุธยา) ระยะทาง 90 กิโลเมตร , บ้านภาชี-ลพบุรี ระยะทาง 43 กิโลเมตร สายใต้คือบางซื่อ (กทม.)-นครปฐม ระยะทาง 56 กิโลเมตร และสายตะวันออกเฉียงเหนือ จากบ้านภาชี-มาบกะเบา (อ.แก่งคอย จ.สระบุรี) ระยะทาง 44 กิโลเมตร ซึ่งหากรัฐบาลประสงค์จะทำให้เป็นทางคู่ทั้งประเทศ จะใช้งบประมาณถูกกว่ารถไฟความเร็วสูง และไม่จำเป็นต้องกู้เงินจำนวนมาก แต่สามารถใช้เงินจากงบประมาณรายปีตามปกติได้เลย

ภาษิตโบราณเขาว่า “การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก” และคงไม่มีใครอยากเป็นหนี้โดยไม่จำเป็น แต่เหตุใดในเมื่อมีทางที่ดีกว่า รัฐบาลกลับเลือกที่จะนำเพื่อนร่วมชาติอีกหกสิบกว่าล้านคนไปแบกหนี้ แถมเป็นหนี้ที่คาดว่าจะยาวนานถึง 50 ปี อีกต่างหาก

http://www.naewna.com/scoop/82343



"สุพจน์ ทรัพย์ล้อม" กับแผนบูรณาการโลจิสติกส์


มิติใหม่ระบบคมนาคมไทย

นับเป็นเรื่องน่ายินดี ที่กระทรวงคมนาคมซึ่งมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบระบบคมนาคมขนส่งทั่วประเทศได้กำหนดให้ปี 2553 ที่กำลังจะมาถึงเป็นปีแห่งความปลอดภัย ภายใต้เป้าหมายที่จะเร่งยกระดับพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยในเส้นทางคมนาคมทั่วประเทศ ทั้งทางบก น้ำ และอากาศ เพราะความปลอดภัยในการเดินทางอันเนื่องมาจากการมีเส้นทางคมนาคมที่ได้มาตรฐาน ทันสมัย และรวดเร็วนั้น นอกจากจะช่วยลดจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในแต่ละปีแล้ว ยังก่อให้เกิดความสะดวกสบายในการเดินทาง และลดต้นทุนการขนถ่ายสินค้า อันนับได้ว่า เป็นฟันเฟืองหลักที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

และหากจะพูดกันถึงการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมทั้งบก เรือ อากาศเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดโครงข่ายในการขนส่งสินค้า ที่ช่วยลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว เรากำลังพูดถึงการวางระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ที่นับวันจะยิ่งมีนัยสำคัญอย่างยิ่งยวด ต่อการพัฒนา และการเติบโตของเศรษฐกิจ

แม้จะดูเหมือนไม่ง่ายและต้องใช้เวลาไม่น้อย ก็ยังนับว่าน่าชื่นใจที่แผนการส่วนใหญ่ ได้อยู่ในมือของ สุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะผู้ควบคุมแผนบูรณาการระบบคมนาคมของประเทศไทย แล้ว

เขาเอ่ยถึงแผนบูรณาการระบบการคมนาคมนี้ กับ ทีมเศรษฐกิจ ในการสัมภาษณ์พิเศษส่งท้ายปีเพื่อฉายให้เห็นภาพกว้างของ "เส้นทางคมนาคมแห่งอนาคต" ไปพร้อมๆกัน

บูรณาการระบบโลจิสติกส์ทั่วประเทศ
การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ (Logistics) ของประเทศอย่างเป็นระบบ ต้องเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นจากหน่วยงานใดเป็นผู้จัดทำ อีกทั้งต้องหารือกับเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาวางแผนอย่างบูรณาการ

เขาบอกว่า ข้อมูลที่ต้องการ ได้แก่ ข้อมูลจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ว่าในแต่ละนิคมอุตสาหกรรมมีโรงงานกี่แห่ง เช่นเดียวกับจำนวนโรงงานนอกนิคมอุตสาหกรรม ข้อมูลการผลิต แหล่งวัตถุดิบ สถานที่ส่งไปจำหน่าย ศูนย์กระจายสินค้า

รวมทั้งยังต้องประสานงานกับกรมทางหลวง เพื่อหาแนวทางร่วมกันในเรื่องของรถบรรทุก 6 ล้อ และ 10 ล้อ เพื่อขนส่งสินค้าจากสถานีรถไฟ ไปยังศูนย์กระจายสินค้า และขนส่งสินค้าไปยังสถานีรถไฟ เพื่อกระจายไปถึงมือผู้บริโภค

ส่วนการขนส่งทางน้ำ ต้องขอเวลาอีกสักระยะหนึ่ง เพราะปัจจุบันการขนส่งทางน้ำไปถึงเพียง จ.พระนครศรีอยุธยา เท่านั้น เพราะร่องน้ำและความกว้างของแม่น้ำไม่เพียงพอ และหากจะขนส่งทางน้ำจริงๆ จังๆ ก็ต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมอีก

อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินงาน โดยหลัง จากรวบรวมข้อมูลได้ทั้งหมดแล้ว จะว่าจ้างที่ปรึกษามาวิเคราะห์ข้อมูล และวางแผนระบบคมนาคมทั้งประเทศต่อไป

"ผมมีเป้าหมายว่าภายใน 5 ปี จะลดสัดส่วนค่าขนส่งของประเทศ ให้เหลือ 10-12% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จากปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ที่ 18.40% ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงได้ปีละ 10,970 ล้านบาท และเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางเพิ่มเป็น 5% จากปัจจุบัน 2%"

เพราะหัวใจของระบบโลจิสติกส์ในแทบทุกประเทศนั้น จะอยู่ ที่ระบบรางเป็นสำคัญ เนื่องจากมีราคาประหยัด ปลอดภัย ควบคุมระยะเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบคมนาคมอื่น

นอกจากนั้น การพัฒนาระบบรางให้ทันสมัย ให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังช่วยประหยัดเงินงบประมาณในการซ่อมบำรุงถนนหนทางทั่วประเทศ พัฒนาระบบคมนาคมของไทยให้ดีขึ้น เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกร เพราะขนส่งสินค้าเกษตรได้เร็วขึ้น อัตราค่าขนส่งถูกลง ในส่วนของผู้บริโภค ทำให้ได้บริโภคของดี ราคาถูกลง ส่งผลดีต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ

เริ่มต้นที่ปฏิรูปโครงสร้างรถไฟ

และเพราะระบบรางถือเป็นหัวใจสำคัญของการปูพื้นฐานโลจิสติกส์ ความจำเป็นในการปฏิรูปโครงสร้างรถไฟจึงกลายเป็นภารกิจสำคัญแรกที่ต้องเร่งสะสางโดยเร็ว

ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต้องจัดทัพองค์กรใหม่ ด้วยการปรับโครงสร้าง จัดตั้งหน่วยธุรกิจขึ้นมา 3 หน่วยธุรกิจ ได้แก่ 1.บริหารจัดการการเดินรถ 2.บริหารจัดการซ่อมบำรุง 3.บริหารทรัพย์สิน โดยแต่ละหน่วยจะแบ่งความรับผิดชอบชัดเจน แยกระบบบัญชี มีกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ซีอีโอ) รับผิดชอบบริหารจัดการหน่วยธุรกิจของตัวเอง และต้องเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจของตัวเอง

ส่วนแอร์พอร์ตลิงค์ รถไฟสายที่เชื่อมต่อสนามบินสุวรรณภูมิเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครนั้น จะจัดตั้งบริษัทลูก เพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดงาน โดยแอร์พอร์ตลิงค์ ซึ่งจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการในเดือน เม.ย.53 นั้น มีขบวนรถไฟ 2 แบบคือ รถไฟด่วน (เอ็กซ์เพรส) จากสถานีมักกะสัน-สนามบินสุวรรณภูมิ ราคา 150 บาทตลอดสาย ส่วนรถไฟธรรมดา (ซิตี้) จอดประมาณ 8 สถานี ราคาไม่เกิน 30 บาทซึ่งคิดตามระยะทาง

ที่เหลือเป็นการทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อปรับปรุงบริการให้แก่ รฟท. ซึ่งปัจจุบันมีเส้นทางรถไฟรวม 4,363 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บริการ 46 จังหวัด โดยรางรถไฟเกือบทั้งหมด มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 40 ปี จึงควรจะถึงเวลาเสียทีที่จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพ

เริ่มตั้งแต่การปรับปรุงสิ่งที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ เช่น ไม้หมอนชำรุด รางเก่า รวมทั้งการจัดหาหัวรถจักรและขบวนรถใหม่ การก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่ จัดหารถโบกี้บรรทุกสินค้าตามแผนงานปรับปรุงและพัฒนารถไฟไทย ภายใต้กรอบวงเงิน 150,000 ล้านบาทดังกล่าว

ได้แก่ การเพิ่มขนาดรางเป็น 100 ปอนด์ ระยะทาง 2,835 กิโลเมตร การเปลี่ยนไม้หมอนคอนกรีตระยะทาง 1,382 กิโลเมตร การติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณไฟสี 230 สถานี การปรับปรุงสะพาน 1,321 แห่ง โดยในส่วนนี้จะใช้เงินลงทุนรวม 63,200 ล้านบาท

รวมทั้งการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า 27 คัน รถจักรดีเซลไฟฟ้าทดแทนรถจีอี 50 คัน รถโดยสารรูปแบบชุด 6 ขบวน รถโดยสารดีเซลปรับอากาศ 20 ขบวน รถดีเซลราง 58 คัน และการปรับปรุงรถจักรเดิม 56 คัน ซึ่งส่วนนี้จะใช้เงินลงทุน 26,782 ล้านบาท

ส่วนแผนการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน มี 5 เส้นทาง ระยะทาง 767 กิโลเมตร วงเงิน 66,110 ล้านบาท คือ 1.ลพบุรี-นครสวรรค์ ระยะทาง 113 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 7,860 ล้านบาท 2.มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 11,640 ล้านบาท

3.ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 13,010 ล้านบาท 4.นครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 16,600 ล้านบาทและ 5.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 17,000 ล้านบาท

หลังจากการปรับปรุงจะช่วยเพิ่มความเร็วของขบวนรถไฟเป็น 100-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากปัจจุบัน 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และรถไฟด่วน 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสามารถเพิ่มจำนวนผู้โดยสารได้เป็นวันละ 417 ขบวน จากปัจจุบัน 202 ขบวน และเพิ่มปริมาณการขนส่งผู้โดยสารเป็น 97 ล้านคนต่อปี จากเดิม 47 ล้านคนต่อปี

ขณะที่การขนส่งสินค้าจะเพิ่มเป็นวันละ 216 ขบวนจากปัจจุบัน 62 ขบวน และจะเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าเป็นปีละ 63 ล้านตันจากปัจจุบัน 12 ล้านตัน

นับจากวันนี้ไปอีก 5 ปี คนไทยจะได้เห็นรถไฟไทยที่เปลี่ยนโฉมใหม่ จะมีบริการที่ดีขึ้น สะอาด ปลอดภัย ขบวนรถไฟตรงเวลา ร่นระยะเวลาเดินทางให้เร็วขึ้น เพราะขบวนรถไฟวิ่งได้เร็วขึ้น และในอีก 10 ปีข้างหน้า เส้นทางรถไฟจะเป็นระบบรางคู่ทั้งหมดทั่วประเทศ

ฟื้นรายได้พลิกที่ดินเป็นทอง

นายสุพจน์ยังกล่าวถึงแผนพัฒนาที่ดินจำนวนมหาศาลของ รฟท. เพื่อเพิ่มรายได้ที่พึงได้รับว่า รถไฟมีที่ดินจำนวนมหาศาลที่ถือเป็นทรัพย์สินอันล้ำค่ากว่า 234,000 ไร่ กระจายอยู่ทั่วประเทศ แบ่งเป็นที่ดินเพื่อการเดินรถและที่ตั้งสถานี 198,674 ไร่ และอีก 36,302 ไร่ เป็นที่ดินเชิงพาณิชย์ที่เปิดให้เอกชนเช่า ทำรายได้ให้ รฟท. ปีละ 1,600 ล้านบาท

แต่หากเปรียบเทียบรายได้จากการบริหารจัดการที่ดิน นับเป็นรายได้ที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนและมูลค่าที่ดินที่มีอยู่ จึงจำเป็นต้องบริหารจัดการกันใหม่ เพราะที่ดิน รฟท.แต่ละทำเล มีศักยภาพแตกต่างกัน

โดยมีที่ดินที่มีศักยภาพสูง 7,500 ไร่ ศักยภาพปานกลาง 7,200 ไร่ เบื้องต้นที่ดิน ที่มีศักยภาพสูง และน่าจะสร้างรายได้ให้ รฟท. เช่น ที่ดินสถานีแม่น้ำริมเจ้าพระยา ย่านคลองเตย 130 ไร่ ซึ่งหมดสัญญาเช่าแล้ว ที่ดินย่านมักกะสัน 350 ไร่ ที่ดินบริเวณสถานีบางซื่อ ซึ่งในอนาคตจะเป็นศูนย์กลางการขนส่งแทนสถานีหัวลำโพง ซึ่งจะมีพื้นที่สำหรับพัฒนา เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น รวมทั้งที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก และย่านพหลโยธิน รวมทั้งจตุจักร

โดยที่ดินบางทำเล จะพัฒนาเป็นธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ เช่น โรงแรม คอนโดมิเนียม เป็นต้น ตั้งเป้าหมายว่า ต้องมีรายได้จากที่ดินไม่ต่ำกว่าปีละ 2,700 ล้านบาท เพื่อจะนำรายได้จากการเช่าที่ดิน มาเป็นค่าใช้จ่ายเงินบำนาญให้พนักงาน รฟท.ที่เกษียณอายุไปแล้ว เฉลี่ยปีละ 2,700 ล้านบาท

จากที่ผ่านมา รฟท.จะต้องกู้เงินโดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อนำมาจ่ายเงินบำนาญดังกล่าว รวมกู้เงินเพื่อมาบริหารจัดการ รฟท.ในช่วงที่ผ่านมา จน รฟท.มีหนี้สินพอกพูนกว่า 70,000 ล้านบาท หาก รฟท.สามารถบริหารจัดการและสร้างรายได้จากการเช่าที่ดินได้มากกว่า 2,700 ล้านบาท

ก็ถือว่าประสบความสำเร็จ รวมถึงการปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพของ รฟท.ให้มีประสิทธิภาพ จึงเชื่อมั่นว่าภายใน 3-5 ปีข้างหน้า จะสามารถจ่ายโบนัสได้อย่างแน่นอน

คมนาคมปลอดภัยสังคมไทยเป็นสุข

และที่สุด เมื่อระบบคมนาคมถูกพัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์ การจราจรตามเส้นทางคมนาคมทั่วประเทศก็จะก่อให้เกิดความปลอดภัย เป็นความปลอดภัยที่ยั่งยืนอันมาจากถนนหนทางที่ได้มาตรฐาน

"ปีหน้าเราจะรณรงค์เรื่องความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ ภายใต้สโลแกนคมนาคมปลอดภัย สังคมไทยเป็นสุข"

โดยจะเป็นปีที่รณรงค์ต่อเนื่องตลอดปีและตลอดไป จากเดิมจะทำเป็นช่วงๆ เฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ เพราะเป็นช่วงที่มีสถิติเกิดอุบัติเหตุสูงสุด และการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก ก็มักหลีกเลี่ยงต่อความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนการสูญเสียโอกาสทางชีวิตไปไม่ได้ เพราะหลายคนอาจต้องพิการ แขน ขาหัก ไม่สามารถกลับไปทำงาน หมดหนทางในชีวิต

จากการรายงานขององค์การอนามัยโลก World Health Organization : WHO ออกมาระบุว่าในปี 2552 ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในการเดินทางไปแล้วกว่า 1.3 ล้านคน โดย 90% เกิดในประเทศยากจน และยังคาดการณ์ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นถึง 20 ล้านคน

ตัวเลขดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงความสูญเสียที่คนทั้งโลกกำลังเผชิญและจะทวีความรุนแรงมากขึ้น หากยังไม่เร่งหาทางป้องกัน ปัญหาก็จะบานปลาย และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกว่า 40% เกิดขึ้นกับหัวหน้าครอบครัว ซึ่งเมื่อครอบครัวสูญเสียผู้นำ ก็มีผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ และเป็นบ่อเกิดของสถาบันครอบครัวล่มสลาย และเกิดปัญหาสังคมตามมา

กระทรวงคมนาคม จึงจะร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรณรงค์การลดอุบัติเหตุรวมกัน โดยเฉพาะจุดตัดทางรถไฟทั่วประเทศ เพราะ รฟท.ต้องการข้อมูลจุดตัดทางรถไฟทั้งหมดทั่วประเทศ ที่เกิดจากการกำหนดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้ไม่มีอาณัติสัญญาณไฟ ไม่มีเครื่องกั้นกว่า 1,528 แห่ง อีกทั้งยังมีทางต่างระดับ 261 แห่ง ไม่มีสะพานข้ามทางรถจนเป็นบ่อเกิดอุบัติเหตุ

อีกทั้งจะหารือกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อบรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนของเด็กนักเรียนตั้งแต่ระดับประถม ในหลักสูตรเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิต (สปช.) เพื่อปลูกฝังการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึก ตั้งแต่เด็กเพื่อเรียนรู้เรื่องกฎระเบียบการจราจรและคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ


http://www.logisticsdigest.com/component/content/article/26-transportation/3289-
http://stks.or.th/wiki/doku.php?id=transport:high-speed-train
http://www.scbsme.com/th/business-k...ทบทางเศรษฐกิจจากโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง-hsr



https://www.skyscrapercity.com/showpost.php?p=116977733&postcount=2298
https://www.scbeic.com/th/detail/product/307


เมื่อรถไฟฟ้าของแต่ละเมืองหลวงและปริมณฑลเสร็จครบทุกสาย (อิงแผนแม่บทแต่ละประเทศ ณ ปัจจุบัน)
คิดในกรณีที่สถานี Interchange นับเป็น 1 สถานี
(ง่ายๆก็ จำนวน Destination ที่ไปได้นั่นแหล่ะ)
Bangkok Metro: 310 สถานี (13 สาย)
Singapore Metro: 158 สถานี (11 สาย)
KL Metro: 102 สถานี (7 สาย)
Jakarta Metro: 101 สถานี (8 สาย)
Manila Metro: 100 สถานี (8 สาย)
Hanoi Metro: 93 สถานี (8 สาย)
https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1684907&page=153
http://www.realist.co.th/blog/อัพเดทรถไฟฟ้า/
https://newzoo.com/insights/rankings/top-100-countries-by-game-revenues/
 
#10,234 ·
ไล่รัฐบาลนี้ได้ประเทศไทยควรทุ่มเทสร้างรถไฟรางคู่เป็นหลักเอาไว้ให้รางคู่มากพอค่อยสร้างรถไฟความเร็วสูง

ประจานความโง่หน่อย

เงินรางคู่ ก็อยู่ใน 2 ล้านล้าน :eek:hno::eek:hno:
 
#10,235 · (Edited)
ประจานความโง่หน่อย

เงินรางคู่ ก็อยู่ใน 2 ล้านล้าน :eek:hno::eek:hno:
ไม่ใช่สร้างสองอย่างพร้อมกันเพราะเปลืองเงินเกินไปสร้างรางคู่ก่อนเอาเท่าที่มีประหยัดงบไปด้วยรอผลตอบแทนที่รางคู่ให้มาก่อนมากพอมีเงิืนเยอะค่อยสร้างความเร็วสูง
 
#10,236 ·
ไม่ใช่สร้างสองอย่างพร้อมกันเพราะเปลืองเงินเกินไปสร้างรางคู่ก่อนเอาเท่าที่มีประหยัดงบไปด้วยรอผลตอบแทนที่รางคู่ให้มาก่อนมากพอมีเงิืนเยอะค่อยสร้างความเร็วสูง
:eek:hno::eek:hno::eek:hno::eek:hno:
 
#10,237 ·
คือ ผมก็ประชาชนคนนึงไม่ได้อยู่ฝ่ายการเมืองไหน แต่ชาตินี้ผมอยากให้ประเทศไทยมีรถไฟความเร็วสูงได้ใช้ ผมก็อยากใช้ ผมอยากให้ประเทศนี้พัฒนาระบบขนส่งที่ดีจริงๆจังๆ ไม่ใช่แค่ในกรุงเทพ นึกถึงคนต่างจังหวัดบ้างสิครับ ถ้าคุณคิดได้แค่ว่าตอนนี้เอารางคู่ให้มากพอก่อน แล้วอนาคตค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงมันจะเพิ่มขึ้นมากอีกตั้งเท่าไหร่? แล้วไหนกว่าจะต้องมาศึกษากว่าจะเริ่มสร้าง ตายก่อนได้ใช้พอดีครับ
 
Top