SkyscraperCity Forum banner

ARL Airport Rail Link (Airport Link)

Tags
transport
1M views 11K replies 328 participants last post by  Wisarut 
#1 ·
Suriya pushing SRT to conceive the 30 billion baht airport link with private investment - translated and summarized by Wisarut Bholsithi from Prachachat Thurakij, July 1-3, 2004

Suriya is pushing the Suvannabhum Airport Link forward with a turnkey process and private investment along the tracks. The bidding for the Suvannabhum Airport Link will be held in mid-July 2004. The contractor will be awarded by the end of October 2004 and the contract will be signed December 2004 since it is an urgent project. The project was approved by the cabinet on June 1, 2004.

The project will be turnkey project in the same way as Southern Kanchanaphisek Ring Road and be in 2007.
This is a strategic line to be completed quickly and linked with Skytrain at Phyathai, Subway at Phetburi with the maximum speed of 160 kph. The civil works budget for elevated tracks will be 19.7769 billion Baht. System installation and electrification will be 6.163 billion baht. Rolling stock for the Airport Link Express will be 4.075 billion baht.

There will be two kinds of services:
1) Airport Express Makkasan - NBIA nonstop to reach Airport in 15 minutes - 100 baht/trip
2) Airport Commuter - Phyathai - NBIA to reach the airport in 30 minutes - 10 baht + No. km (max 40 Baht)
This will link the CBD with NBIA to cut energy bills and traffic jams.
The depot for the airport link will be at 40-rai of SRT land in Klongtan while the City Air Terminal will be at Makkasan. Makkasan will have commercial development as a business-commercial center. SRT does not have to use the Hopewell structure at Klongtan.

The development of 8 stations will be:
1) Phyathai - Commercial office building and the connecting via duct to Phayathai station.
2) Rajprarob - Commercial and trade center and the connection to Pratoonam - and the area of the old Makkasan will be developed
3) Makkasan (Asok) will have some development on 19.6 rai of land and the connection to Ratchadaphisek, Rama 9, New Phetburi Road, Asok-DIndaeng Road, Kamphaengphet 7 Road and the interchange with Phetburi station
4) Ram Khamhaeng will connect with Kamphaengphet 7 Road, Rama 9, New Phetburi, Ram Khamhaeng Road, Phatthanakarn Sukhumvit Road. Depot will be at Klongtan and close to RCA.
5) Hua Mark is a good interchange to Sri Nakarin and Motorway - needs a park and ride.
6) Ban Thub Chang close to Thubchang Interchange - needs a park and ride to attract those who go along Eastern Kanchanaphisek from Minburi and those who use the motorway
7) Lad Krabang - near Rom Klao Interchange - needs to pick up those who live along Onnut, ROM Klao and King Kaeo.
8) NBIA - underground station.

Each station will have 6 sections: 1) Gates, 2) Ticket selling area, 3) Platforms, 4) Stores, 5) Services, 6) Interchange with other modes of transportation

The first batch of Airport Link rolling stocks to be used in the first 15 years will be:
1) 6 sets of Airport Express (5-car formation), 2) 9 sets of Airport Commuters (5-car formation)

As demand surges due to either popularity or the major expansions to Bangsue via Chitladda Palace, SRT will buy more rolling sets.
Commentary by Wisarut: Probably SRT has learned from KLIA Airport Express as well as the HK Airport Express that they have to get more passengers from commuter lines since relying on airport passengers alone will not work.

Details on the airport link - translated and summarized by Wisarut Bholsithi from Prachachart Thurakij, July 1-3, 2004
Prachachat Thurakij correspondents got the messages from SRT that the Airport Link will use Standard Gauge since the system will eventually be expanded to the New City at Banna as well as Nakhon Ratchasima. After expansion to Khorat, the new EMU which have the maximum speed of 300 kph will be the next batch of Airport Link EMUs

The 160 kph maximum is already ruled out since meter gauge has an inherent limitation of 120 kph--even when using the 60 kg/m welded rails.

There will be 15 sets of 5-car Emus for the 1st batch of the Airport Link:
1) Express version - 6 sets - 1-way ticket for the Express version will cost the passenger 100 baht
2) Commuter version - 9 sets - 1-way ticket for commuter version will cost the passenger from 10-40 baht

Both are externally identical, but the interior is very different since the Airport Express must have a luggage facility and soft leaning seats while the commuter version will have hard seats (like in the Skytrain-Subway) and standing area to pack in more passengers. They have learnt from KLIA Express to pick more commuter passengers than airport passengers.
 
See less See more
#11,301 ·
^^ คิดเหรอว่าเขาไม่ทำ เขาทำป่ะ

แต่เขาเอารถขึ้นไปวิ่ง 9 ขบวนเลยไม่ได้ มันต้องวิ่งแค่ 7 เสริม 1 สำรอง 1

ตอนนี้ก็ใช้เต็มที่ที่ 9 ขบวนจะให้ได้แล้ว เหลือแค่ถอดเบาะกับเปลี่ยนตู้สัมภาระ แต่ถ้าเอาหายไปขบวนไปทำก็กระทบหนักอีก เลยต้องปล่อยไปแบบนี้แหละ
 
  • Like
Reactions: marut
#11,303 ·
ก็สำรองเผื่อมันมีรถเสียไงล่ะครับ ตามการปฏิบัติปกติอ่ะครับ
 
#11,304 ·
จะมาเสริม จะมาสำรองเพื่ออะไร

ทำไมไม่วิ่ง 9
ถามจริง ๆ ไม่เข้าใจจริง ๆ เหรอ

เสริม คือ เอาไปวิ่งในทิศทางที่คนล้น แล้วตีรถเปล่ากลับ
สำรอง คือ เอาไว้วิ่งแทนขบวนที่พัง

ทุกวันนี้ 7 ขบวน คือจริง ๆ เกือบเต็มความถี่แล้วนา

ระบบมันออกแบบไว้ให้ city line ถี่ได้สุด 7.5 นาที กับ express 15 นาที (ซึ่งตอนนี้ slot ของมัน เป็นรถเสริมแทนไปละ) 1 ชม. มีรถวิ่งได้ 12 ขบวนต่อทิศทาง และได้แค่นั้นแหละ ต่อให้เป็น 3 สนามบินความถี่นี้ก็ไม่เปลี่ยนมากนักอ่ะ
 
  • Like
Reactions: marut
#11,305 ·
ถามจริง ๆ ไม่เข้าใจจริง ๆ เหรอ

เสริม คือ เอาไปวิ่งในทิศทางที่คนล้น แล้วตีรถเปล่ากลับ
สำรอง คือ เอาไว้วิ่งแทนขบวนที่พัง

ทุกวันนี้ 7 ขบวน คือจริง ๆ เกือบเต็มความถี่แล้วนา

ระบบมันออกแบบไว้ให้ city line ถี่ได้สุด 7.5 นาที กับ express 15 นาที (ซึ่งตอนนี้ slot ของมัน เป็นรถเสริมแทนไปละ) 1 ชม. มีรถวิ่งได้ 12 ขบวนต่อทิศทาง และได้แค่นั้นแหละ ต่อให้เป็น 3 สนามบินความถี่นี้ก็ไม่เปลี่ยนมากนักอ่ะ
ARL กลายเป็น MRT จอดทุกสถานีแล้ว

ตั้งแต่เอารถแดงด่วน 3 ขบวน มาวิ่งเป็นรถฟ้า

ความหมายผมคือ เอารถ 9 ขบวนว่าวิ่งให้ครบ เต็มความจุ ในระบบ MRT
 
#11,306 ·
จะให้มันถี่เป็น MRT ได้ยังไงก็มีรถอยู่แค่ 9 แแล้วเอาไปวิ่งได้จริงง ๆ แค่ 8 สำรอง 1

เอาไปวิ่งหมด 9 ขบวนยังไงก็ 7 นาทีกว่า ๆ ยกเว้นว่าจะมีรถมากกว่านี้

ไปกลับรวมจอด 1 ชม พอดี หารเลขเอาแล้วกัน
 
  • Like
Reactions: marut
#11,307 ·
ไม่รู้เข้าจัดรถยังไง แต่ละฝั่งยังไง

ไป 4 กลับ 4 เหลือ 1 ?
 
#11,308 ·
^^ก็ไอ้ที่เหลืออยู่ 1 คือสำรอง คือเผื่อเสริมไงล่ะลุง เข้าใจยากจัง
 
#11,309 ·
มันต้องสำรองไว้ขบวนนึงครับเผื่อเกิด Accident เช่น สอยนกจนกระจกแตก...

กรณีนี้จะต้องเอาขบวนรถที่สำรองไว้ วิ่งขึ้นมารับคนที่อยู่บนสถานีแล้วให้บริการต่อแทน แล้วค่อยขับรถคันนั้นลง depot ไป เพื่อเข้าสู่กระบวนการซ่อมแซมฉุกเฉิน

ทั้ง MRT/BTS ยังไงก็ต้องมีขบวนสำรองไว้หมดครับ ไม่มีใครเอารถวิ่งเต็มสตรีมเท่าที่มีอยู่หรอก
 
#11,310 · (Edited)
^^ก็ไอ้ที่เหลืออยู่ 1 คือสำรอง คือเผื่อเสริมไงล่ะลุง เข้าใจยากจัง
ประเด็นผม คือ ขบวนไม่พอ ก็ไม่ต้องสำรอง วิ่งเต็ม 9 ขบวน


ทั้ง MRT/BTS ยังไงก็ต้องมีขบวนสำรองไว้หมดครับ ไม่มีใครเอารถวิ่งเต็มสตรีมเท่าที่มีอยู่หรอก

BTS MRT ขบวนเหลือเยอะ จะสำรองสัก 10 ขบวน ก็ช่างหัวมันเถอะ

แต่ ARL ขบวนไม่พอ ก็ควรวิ่งให้หมด เต็มสตรีม เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้สำหรับตอนนี้

เรื่องรถเสริม มีก็เหมือนไม่มี ดังนั้นขบวนที่เก้า เอามาวิ่งหวานเย็นช่วงคนเยอะเถอะ
 
#11,311 ·
^^ แสดงว่าไม่เคยขึ้น เลยยไม่รู้ว่ารถเสริมทำงานยังไง ขี้เกียจอธิบายแล้ว ต้องมาเจอด้วยตัวเองมั้งถึงจะเข้าใจ
 
  • Like
Reactions: marut
#11,312 ·
^^ แสดงว่าไม่เคยขึ้น เลยยไม่รู้ว่ารถเสริมทำงานยังไง ขี้เกียจอธิบายแล้ว ต้องมาเจอด้วยตัวเองมั้งถึงจะเข้าใจ
เข้าใจนะ

แต่การจัดการมันมีหลายแบบ ผมแสดงวิธีจัดการในอีกแบบเท่านั้น
 
#11,313 ·
ซีพี....เซ็นไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ฝ่าด่านหิน! ลุย...กู้ซาก"แอร์พอร์ตลิงก์"
เผยแพร่: 28 ต.ค. 2562 09:19 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

จรดปากกาเซ็นสัญญาไปแล้วเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2562 กับอภิมหาโปรเจ็กต์ ที่ว่ากันว่า มีมูลค่าสูงที่สุด ของรัฐบาลไทย โครงการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม.มูลค่า 2.24 แสนล้านบาทระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กับ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) หรือ “Eastern High-Speed Rail Linking Three Airports Co.,Ltd.”

ซึ่ง กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และ พันธมิตร ได้แก่ China Railway Construction Corporation Limited จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ,บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ , บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บมจ. ช.การช่าง ร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นตัวแทนลงนามในสัญญาร่วมลงทุน Public – Private - Partnership หรือ PPP

@ย้อน ไทม์ไลน์ เจรจาต่อรอง...สุดมาราธอน

นอกจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะเป็นบิ๊กโปรเจ็กต์ของรัฐบาลแล้ว ยังเป็นโครงการที่มีการเจรจาต่อรองกันอย่างมาราธอน นับจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เปิดประมูลเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2561 มีเอกชนซื้อซองไปถึง 31 รายโดยให้ยื่นซองประมูล วันที่ 12 พ.ย. 2561 หลังจากซื้อซองประมาณ 5 เดือน

โดยมี 2 กลุ่มเอกชนที่ยื่นข้อเสนอ คือ กลุ่ม กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) โดยมี บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) เป็นแกนนำ , บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) , บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)

และ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร มีบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย) เป็นแกนนำ , บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) , China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) , บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) , บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ระดับเจ้าสัวปะทะกัน แบบ“ช้างชนช้าง... ชิงดำโปรเจ็กต์ระดับชาติ” สัญญาสัมปทาน 50 ปี ว่ากันว่า ไม่มีใครยอมใครแน่ เรื่องคุณสมบัติ ประสบการณ์ หายห่วง... งานนี้วัดกันที่ใครใจถึงกว่ากัน เท่านั้น

24ธ.ค. 2561 คณะกรรมการคัดเลือกฯ รฟท.ใช้เวลาประชุมนานกว่า 9 ชั่วโมง กว่าจะสรุปว่า กลุ่มซีพีและพันธมิตร ในนาม CPH ยื่นเสนอขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐต่ำสุด คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 117,227 ล้านบาท ในช่วงเวลา10 ปี จากกรอบงเงินการร่วมลงทุนของรัฐกับเอกชนไม่เกิน 119,425.75 ล้านบาท และได้รับสิทธิ์ในการเจรจาต่อรองแต่!ยังไม่ถือว่า ซีพี ชนะประมูล เพราะหากการเจรจาต่อรอง ทั้ง 2 ฝ่าย คือระหว่าง รฟท.และซีพี ไม่สามารถตกลงกันได้ คณะกรรมการคัดเลือกฯจะเรียกกลุ่ม BSR มาเจรจาแทนได้ทุกเมื่อ

24 ต.ค. 2562 ได้เซ็นสัญญา เจรจามาราธอน ครบ 10 เดือนพอดิบพอดี

หลังจากนี้ เข้าสู่โหมดการบริหารสัญญา โดยช่วงเวลา 5 ปีแรก เป็นการก่อสร้าง ซึ่งปัญหาใหญ่ที่ทำให้การเจรจายืดเยื้อ เป็นเรื่องการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ที่ไม่ชัดเจน ตลอดโครงการจะใช้พื้นที่กว่า 4,300 ไร่ เป็นพื้นที่รถไฟ จำนวน 3,571 ไร่ พื้นที่เวนคืน 850 ไร่ ( มีจำนวน 42 แปลง) และมีสิ่งปลูกสร้าง 245 หลัง ใช้วงเงิน 3,570ล้านบาท

อยู่ระหว่างออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) การกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน พื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง

ส่วน พื้นที่ของรฟท.จำนวน 3,571 ไร่ นั้น พร้อมส่งมอบในช่วงแรกจำนวน 3,151 ไร่ ( 80% ) ส่วนที่เหลือแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ1. พื้นที่ถูกบุกรุกจำนวน 210 ไร่ จะเคลียร์ ภายใน 2 ปี 2. พื้นที่ติดสัญญาเช่า จำนวน 210 ไร่ จำนวน 83 สัญญา ดำเนินการภายใน 1 ปีส่วน

ที่ดินมักกะสัน ทั้งหมดจำนวน 142.26 ไร่ ส่งมอบช่วงแรก 132.95 ไร่ ส่วนที่เหลือประมาณ 9.31 ไร่ เนื่องจากเป็นพื้นที่พวงราง ซึ่งทางซีพี ต้องดำเนินการย้ายพวงรางออกไปก่อน จึงจะเข้าใช้ประโยชน์ได้ ส่วนสถานีศรีราช จำนวน 27.45 ไร่ โดยซีพีจะต้องก่อสร้างแฟลตบ้านพักรถไฟ ทดแทนให้ก่อน จึงจะเข้าพื้นที่ได้ฟาก

ซีพี ต้องการแผนที่ชัดเจน ว่าจะส่งมอบพื้นที่แต่งละจุดได้วันเวลาใด เพื่อความมั่นใจในการลงทุน

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รับทราบแผนเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่ และสรุปออกเป็น 3 ระยะ

1.สถานีพญาไท-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 28 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่แอร์พอร์ตเรลลิงค์เดิม โดย รฟท.สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ทันทีหลังจากที่มีการลงนาม

2.สถานีสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร เร่งรัดส่งมอบพื้นที่ภายใน 1 ปี 3 เดือน แต่สามารถขยายเวลาได้ไม่เกิน 2 ปีหลังลงนามในสัญญา

3.สถานีพญาไท-ดอนเมือง ระยะทาง 22 กิโลเมตร เร่งรัดส่งมอบพื้นที่ภายใน 2 ปี 3 เดือน หรือไม่เกิน 4 ปีหลังลงนาม

ทั้งนี้หากการดำเนินการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เฉพาะสถานีพญาไท-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา จะสามารถเปิดให้บริการได้เร็วที่สุดช่วงปลายปี 2566 หรือต้นปี 2567 ส่วนสถานีพญาไท-ดอนเมือง ที่มีการรื้อย้ายปรับปรุงสาธารณูปโภคจำนวนมาก คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในช่วงปี ‪2567 – 2568

‬ @ซีพี ทุ่มสุดตัว ขอทำงานด้วยความยืดหยุ่น

“ศุภชัย เจียรวนนท์”ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ในสัญญาและแนบท้ายได้กำหนดขั้นตอนกรอบเวลาในการดำเนินงานไว้ เราต้องการเริ่มก่อสร้างภายใน 12 เดือนหรืออย่างช้าไม่เกิน 24 เดือน

ส่วนที่ทำได้เร็วที่สุดคือ 1. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (พญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ) ซึ่งจะทำแผนการรับโอนและการปรับปรุงเพื่อรองรับระบบรถไฟความเร็วสูง 2. ส่วนที่ยากที่สุด คือ การก่อสร้างแอร์พอร์ตเรลลิงก์ต่อขยาย ช่วงพญาไท-ดอนเมือง และ 3. ส่วนที่ต้องตกลงในเรื่องการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างที่มีระยะทางยาวที่สุด ช่วง สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา“

เป็นความท้าทายอย่างมากหากจะให้ทั้ง 3 ส่วน ก่อสร้างเสร็จภายใน 5 ปี

“ศุภชัย”ยอมรับว่า ภาคเอกชนกังวลที่สุดคือเรื่องความเสี่ยง เพราะต้องลงทุน ซึ่งโครงการนี้ วงเงินที่เอกชนต้องรับผิดชอบเกือบแสนล้านบาท ซึ่ง กลุ่มคอนซอร์เตียม หลายราย จะต้องกู้เงินมาด้วย ถ้าดำเนินการแล้วขาดทุน ทุกๆ ปีที่ขาดทุน จะต้องระดมเงินเข้าไป

ดังนั้นเรื่องนี้เราได้ศึกษาอย่างละเอียดและมีความเชื่อมั่นว่า ทำให้สำเร็จได้ขณะที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ มีความเข้มงวดมาก การเจรจาเป็นไปอย่างตรงไปตรงมา เพราะเป็นโครงการแรกที่ PPP ที่มีไซด์ใหญ่กว่าที่เคยมีมาหลายเท่า มีนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาหลายประเทศ จึงหวังว่า โครงการนี้จะเป็นโครงการนำร่องที่โครงการในอีอีซีอื่นๆ รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางอื่น นำไปใช้และประสบความสำเร็จได้

แต่จะไปถึงจุดนั้นได้ การปฏิบัติจริงต้องการความยืดหยุ่น ระหว่างภาครัฐและเอกชนมากทีเดียวเพื่อให้เป็นโครงการตัวอย่างที่นำเอา ปัญหา อุปสรรค รวมถึงสิ่งที่ทำให้สำเร็จไปใช้กับโครงการต่อๆ ไป

@ เปิดเดินรถบางส่วน เจรจารัฐจ่ายเงินอุดหนุนได้

“คณิศ แสงสุพรรณ” เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวัน (อีอีซี) ระบุว่า รัฐต้องดำเนินการในการส่งมอบพื้นที่เพื่อก่อสร้างให้เป็นไปตามแผน ส่วนเงินที่รัฐต้องจ่ายเงินค่าร่วมลงทุนจำนวน 117,227 ล้านบาท ให้แก่ซีพี ภายในระยะเวลา 10 ปีนั้น จะเริ่มจ่ายเมื่อก่อสร้างเสร็จ ซึ่งเมื่อแบ่งงานออกเป็น 3 ท่อน เช่น หากการก่อสร้างช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เสร็จตรวจสอบและเปิดให้บริการ รัฐจะจ่ายให้ก่อน ไม่ได้หมายความว่าต้องรอให้เสร็จทั้ง 3 ส่วนก่อนค่อยจ่าย เป็นระบบปกติที่ทำ

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าฯรฟท. ยืนยันว่า หลักการ ตามสัญญา กรณีเหตุการณ์ปกติเมื่อก่อสร้างเสร็จภายใน 5 ปี รัฐจะจ่ายส่วนที่ต้องร่วมลงทุน ตั้งแต่ปีที่ 6- ปีที่ 15 แต่หากมีเหตุการณ์ที่จำเป็น สัญญาแนบท้ายจะเขียนไว้ว่า สามารถทำอะไรได้บ้าง

ทั้งนี้จะต้องรายงานคณะกรรมการกำกับฯ และบอร์ดอีอีซี รวมถึงต้องได้รับการอนุมัติ จากคณะรัฐมนตรี(ครม.)หมายความว่า หากมีการก่อสร้างช่วง สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เสร็จ เปิดให้บริการก่อนแต่ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง ยังไม่เสร็จ กรณีมีการเสนอ ขอให้รัฐจ่ายเงิน จะต้องเจรจา ต้องประเมินและต้องคำนวณกันว่า จะจ่ายกันเท่าไร จ่ายกันอย่างไร จ่ายเนื่องจากเหตุผลอะไรยืนยันว่า

ไม่มีการจ่ายกันง่ายๆแบบอัตโนมัติ แน่นอน

@จ่าย 1.06 หมื่นล. รับซากรถแอร์พอร์ตลิงก์ ...

“วรวุฒิ”ระบุว่า ตอนนี้ เร่งให้ซีพีส่งแผนการรับโอนโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรงลิงก์ ช่วง พญาไท-มักกะสัน-ดอนเมือง โดยตามเงื่อนไข ซีพี จะต้องรับมอบโครงการ หลังลงนามสัญญา ภายใน2 ปี พร้อมกับชำระเงินค่าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จำนวน 10,671,090,000 บาทให้ครบ ซึ่ง ซีพีจะต้องส่งแผน ทำดิวดิลิเจนซ์ (due diligence) มาภายใน 3 เดือน

เงื่อนไขสำคัญ คือ “แอร์พอร์ตลิงก์ ต้องไม่หยุดวิ่ง”

ขณะที่เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบัน แอร์พอร์ตลิงก์ มี ผู้โดยสารหนาแน่น บางวันเกือบ 9 หมื่นคนแล้ว. และคาดว่า อีกไม่นาน อาจจะทะลุ 1 แสนคน ได้ ทำให้ มีรายได้เฉลี่ยเกือบ 3 ล้านบาทต่อวัน หรือประมาณเดือนละ 90 ล้านบาท ซึ่ง จะเป็นรายได้ของซีพี.ทันที ที่รับโอน

แต่ก่อนที่ซีพี.จะควักเงินกว่าหมื่นล้านบาท เพื่อจ่ายตามเงื่อนไข คงต้องมีการตรวจสอบ แอร์พอร์ตลิงก์กันทุกซอกทุกมุม โดยเฉพาะ ระบบและขบวนรถที่เป็นเครื่องมือหลัก ในการทำมาหากิน เพราะผ่านมา แอร์พอร์ตลิงก์มีชื่อด้านบริการห่วยๆ ..ผู้ใช้บริการอ่อนใจ เพราะต้องลุ้นกัน ว่าวันนี้. จะมีรถวิ่งกี่ขบวน ...เพราะว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา ต้องเจอกับปัญหาบริการ เช้าเสีย...เย็นพัง บางวันก็จอดตายกลางทาง...

ซีพี คงปวดหัวไม่น้อยกับ อาการ รถพัง รถเสีย ระบบเจ๊ง ...และครหาการทุจริต จัดซื้อจัดหาอะไหล่ และการซ่อมบำรุง

หากจะเดาใจ เอกชน ...ในช่วงแรก ซีพี คงไม่อยากลงทุนเพิ่มกับแอร์พอร์ตลิงก์มากนัก ดังนั้น จึงต้องการใช้รถที่มีอยู่ 9 ขบวนอย่างเต็มประสิทธิภาพและคุ้มค่า และ ต้องตรวจ เช็คสภาพ ระบบรถไฟฟ้า (Rolling Stock) อย่างละเอียด ที่สำคัญ หวังว่า เมื่อเช็คบัญชีสต๊อกอะไหล่ ...แล้วจะเจอของจริง ไม่เป็น...สต๊อกลม! ก็แล้วกัน...

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3. สนามบิน ซึ่งวันนี้ โครงการได้เริ่มต้นนับหนึ่งแล้ว โดย รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ต้องดูกันต่อไปว่า ซีพี จะก้าวผ่านบันไดขั้นแรกไปได้ตามเป้าหรือไม่...




https://mgronline.com/business/detail/9620000103227
 
#11,314 ·
ครม.เคาะเวนคืนที่ดิน 4 จ. กรุยทาง “ไฮสปีด3สนามบิน”

29 Oct 2019

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน เพื่อดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ในพื้นที่บางส่วน ประกอบด้วย เขตลาดกระบัง กทม. อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ อ.เมืองชลบุรี อ.ศรีราชา อ.บางละมุง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี และ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เพื่อกำหนดเขตเวนคืนที่ดิน เพื่อสร้างทางรถไฟ เครื่องประกอบทางรถไฟ หรือสิ่งจำเป็นอื่นตามโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หรืออยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)

"การรถไฟแห่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าหน้าที่ในการเวนคืน และให้มีการเริ่มต้นสำรวจที่ดินอสังหาริมทรัพย์ภายใน 60 วัน หลังจากพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินมีผลบังคับใช้"น.ส.ไตรศุลี ระบุ กล่าว

แหล่งข่าวจากรฟท. เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า วาระนี้กระทรวงคมนาคมเป็นผู้เสนอให้ครม. พิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อําเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา อําเภอเมืองชลบุรี อําเภอศรีราชา อําเภอบางละมุง อําเภอสัตหีบ ชลบุรี และอําเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เพื่อดําเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน พ.ศ. ....

หลังจากมีการอนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ในรูปแบบ PPP โดยภาครัฐลงทุนค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และภาคเอกชนลงทุนค่างานโยธา ค่างานระบบรถไฟฯ ขบวนรถไฟฟ้า ค่าพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟและบริการผู้โดยสาร และค่าจ้างที่ปรึกษาโครง รวมทั้งดําเนินงานบริหารและซ่อมบํารุงโครงการ

โดยให้เอกชนร่วมลงทุนรวมเป็นเวลา 50 ปี และเอกชน เป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสารและความเสี่ยงด้านจํานวนผู้โดยสารของโครงการ (Ridership Risk) จัดเก็บรายได้จาก การพัฒนาพื้นที่โครงการ

ซึ่งคณะกรรมการนโยบายพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) ได้ให้ความเห็นชอบด้วยแล้ว และอนุมัติค่างานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าสํารวจอสังหาริมทรัพย์ โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ในกรอบวงเงินจํานวน 3,570.29 ล้านบาท

โดยให้สํานักงบประมาณจัดสรร งบประมาณให้ รฟท. ตามความจําเป็นและเหมาะสมต่อการใช้จ่ายเงินจริงต่อไป ซึ่งรฟท. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อทำการศึกษาควาเหมาะสม ออกแบบรายละเอียดและจัดทำรายงานอีไอเอของโครงการ

โดยได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียกับโครงกาดังกล่าวแล้ว โดยมีทรัพย์สินที่จะต้องเวนคืนประกอบด้วย ที่ดิน 850-0-04.82 ไร่ และสิ่งปลูกสร้างประมาณ 245 หลัง เพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ที่ประกอบด้วยโครงการช่วงพญาไทถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ส่วนต่อขยายช่วงท่าอากาศยานดอนเมืองถึงพญาไท จำนวน 10 สถานี และโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-ท่าอากาศยานอู่ตะเภาจำนวน 5 สถานี รวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร “

เนื่องจากมีความจําเป็นต้องสร้างทางรถไฟ เครื่องประกอบทางรถไฟ ทางและสิ่งจําเป็นอื่น ตามโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ในท้องที่แขวงคลองสามประเวศ แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ตําบลราชาเทวะ ตําบลหนองปรือ อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ตําบลบางเตย ตําบลวังตะเคียน ตําบลท่าไข่ ตําบลบางขวัญ ตําบลบ้านใหม่ ตําบลบางไผ่ อําเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ตําบลบ้านสวน ตําบลหนองข้างคอก ตําบลห้วยกะปิ อําเภอเมืองชลบุรี ตําบลบางพระ ตําบลสุรศักดิ์ อําเภอศรีราชา ตําบลนาเกลือ ตําบลหนองปรือ ตําบลห้วยใหญ่ อําเภอบางละมุง ตําบลนาจอมเทียน ตําบลบางเสร่ ตําบลพลูตาหลวง อําเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และตําบลสํานักท้อน ตําบลพลา อําเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง

เพื่ออํานวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการ สาธารณูปโภค สมควรกําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ดังกล่าวเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิ เข้าไปทําการสํารวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด จึงจําเป็นต้องตรา พระราชกฤษฎีกานี้”

https://www.thansettakij.com/content/413255
 
#11,315 ·
ครม. ไฟเขียวร่างพ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน 850 ไร่ สร้างไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน

วันที่ 29 ตุลาคม 2562

ครม. ไฟเขียวร่างพ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน 850 ไร่ สร้างไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน

เวนคืน850ไร่สร้างไฮสปีดเทรน – น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) ซึ่งรวมไปถึงเครื่องประกอบทางรถไฟ ทาง และสิ่งจำเป็นอื่นๆ ตามโครงการดังกล่าว

ทั้งนี้ ที่ดินที่จะเวนคืนนั้น เพื่อก่อสร้างย่านสถานี ทางเข้าออกสถานี ทางรถไฟ และดำเนินกิจการที่เป็นประโยชน์แก่กิจการรถไฟ ตามโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หรืออยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดย รฟท. จะเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการเวนคืนที่ดิน และจะเริ่มการสำรวจภายใน 60 วันนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

โดยที่ดินที่จะต้องใช้เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ทั้งสิ้น 4,421 ไร่ แยกเป็นที่ดินของ รฟท. 3,571 ไร่ พื้นที่ต้องเวนคืน 850 ไร่ ซึ่งในพื้นที่ของ รฟท. นั้นพร้อมส่งมอบ 3,151 ไร่ หรือคิดเป็น 88% ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนที่เหลือมีการบุกรุก ซึ่งจะต้องดำเนินการเคลื่อนย้ายผู้บุกรุกต่อไป

สำหรับระยะเวลาการส่งมอบที่ดินนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2562 เห็นชอบระยะเวลาการส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนเพื่อดำเนินโครงการ ซึ่งระยะเวลานี้จะเข้าไปอยู่ในสัญญาแนบท้ายที่ รฟท. ลงกับเอกชน แบ่งออกเป็น 3 ช่วง

ช่วงแรกสถานีพญาไท-สุวรรณภูมิ 28 ก.ม. เป็นที่ดินของ รฟท. ส่งมอบได้ทันที

ช่วงที่ 2 สถานีสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 170 ก.ม. เร่งรัดให้ส่งมอบพื้นที่ภายใน 1 ปี 3 เดือน หรือไม่เกิน 2 ปี หลังลงนาม และ

ช่วงที่ 3 สถานีพญาไท-ดอนเมือง 22 ก.ม. เร่งรัดพร้อมส่งมอบพื้นที่ภายใน 2 ปี 3 เดือน หรือไม่เกิน 4 ปีหลังลงนาม

https://www.khaosod.co.th/economics/news_3014703
 
#11,316 ·
การรถไฟฯจ่อหารือ 'ซีพี' เร่งโอนแอร์พอร์ตเรลลิงค์
2 พฤศจิกายน 2562
"ร.ฟ.ท." ลั่นมีความพร้อมโอน "แอร์พอร์ต เรล ลิงค์" ทันที จี้ "ซีพี" เร่งวางแผนชาระสิทธิบริหาร 1 หมื่นล้านบาท กลางปี 2563 เล็งหารือซื้อขบวนเพิ่ม คาดผู้โดยสารโตต่อเนื่องทะลุ 1.2 แสนคนต่อวัน

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า หลังจาก ร.ฟ.ท.ลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) กับบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จากัด ซึ่งเป็นบริษัทที่กลุ่มซีพีและพันธมิตรตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารโครงการ โดย ร.ฟ.ท.จะเริ่มทบทวนดูทรัพย์สินของแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ว่ามีส่วนใดที่จะต้องให้เอกชนรับไปบริหารบ้าง

โดยมีกรอบกำหนดไว้ในเอกสารยื่นข้อเสนอโครงการ (RFP) ไว้อยู่แล้วว่า เอกชนจะต้องจ่ายเงินโอนสิทธิรับบริหารส่วนนี้ 1 หมื่นล้านบาทให้ ร.ฟ.ท.ภายใน 2 ปี จะทยอยจ่ายหรืออะไรก็ได้ แต่เมื่อ จ่ายครบภายใน 2 ปีจึงจะมีสิทธิในการเข้ามาบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงค์

ทั้งนี้ ทรัพย์สินของแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ที่จะต้องส่งมอบให้กับกลุ่มซีพี ประกอบด้วย 1.ขบวนรถที่ปัจจุบันมีอยู่จำนวน 9 ขบวน 2.ระบบและอุปกรณ์ รถไฟฟ้า 3.ตัวสถานีรถไฟฟ้าที่จะมีพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในอาคารที่จะได้สิทธิในการบริหารจัดการด้วย

ส่วนพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณภายนอกสถานี จะไม่ได้รวมอยู่ในการส่งมอบเมื่อชาระค่าใช้จ่ายแล้วเสร็จ เพราะจำเป็นต้องรอเคลียร์พื้นที่ระบบสาธารณูปโภคใต้ดินให้แล้วเสร็จจึงจะส่งมอบได้ โดยสถานีมักกะสันที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพราะมี พื้นที่ทั้งหมดจำนวน 142.26 ไร่ ตามแผนจะมีการส่งมอบช่วงแรก 132.95 ไร่ ส่วนที่เหลือ 9.31 ไร่ จะทยอยส่งมอบ เนื่องจากเป็นพื้นที่พวงราง ซึ่งจะต้องดำเนินการย้ายพวงรางออกไปก่อน จึงจะเข้าใช้ประโยชน์ได้

นายวรุวฒิ กล่าวว่า ร.ฟ.ท.จะส่งมอบทรัพย์สินแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ทันที ที่ทางเอกชนชำระเงินครบ ขอเพียงแค่เอกชนแจ้งแผนที่จะชำระเงินและเข้ามาบริหารงานให้ชัดเจน เพื่อ ร.ฟ.ท.จะได้จัดวางแผนล่วงหน้าในการเตรียมโอนกรรมสิทธิ์และโอนย้ายบุคลากร โดยต้องหารือร่วมกันกับกลุ่มซีพีอย่างชัดเจนหลังลงนามสัญญา เพราะการหารือก่อนหน้านี้ กลุ่มซีพีจะจ่ายเงินบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ในช่วงปลายปีที่ 2

https://www.bangkokbiznews.com/news...zzFh0M8a_9lMCH_6xuwTroqfbTsrwPSAMD_WfD7-QzpJs
 
#11,317 ·
ซี.พี.อัพเกรด “แอร์พอร์ตลิงก์” “ซื้อรถใหม่-รื้อระบบ” หมื่นล้านรับไฮสปีด
วันที่ 6 November 2019 - 12:15 น.

ยังไม่ชัดเจนเสียทีเดียว “กลุ่ม ซี.พี.และพันธมิตร” ผู้รับสัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) จะเข้าพื้นที่พร้อมส่งมอบในทันทีช่วง “สถานีพญาไท-สุวรรณภูมิ” หรือแอร์พอร์ตลิงก์เดิมเลยหรือไม่

เพราะต้องควักเงิน 10,671 ล้านบาท จ่ายค่าใช้สิทธิเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ ระยะเวลา 50 ปี ให้ครบก่อนถึงจะเข้าไปดำเนินการปรับปรุงระบบให้รองรับกับรถไฟความเร็วสูง

รวมถึงทำแผนการเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ในปัจจุบันใหม่ด้วย ยังไม่รู้จะต้องใช้เงินมากน้อยแค่ไหนในการยกเครื่องการบริการ ว่ากันว่าอาจจะเฉียดหมื่นล้าน

กำลังรอดูทรัพย์สินที่รับมอบมาจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ไม่ว่าจะเป็นรถ 9 ขบวน อะไหล่อุปกรณ์ต่าง ๆ สถานี และพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสถานี จะสมบูรณ์ 100% สักแค่ไหน

ขณะที่ในทีโออาร์กำหนดสามารถชำระได้ใน 2 ปี อยู่ที่การตัดสินใจของกลุ่ม ซี.พี.จะจ่ายเลยหรือรอเวลาไปอีก 1-2 ปี หลังเซ็นสัญญาเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2562

ด้าน “ศุภชัย เจียรวนนท์” บอสใหญ่กลุ่ม ซี.พี. ย้ำชัดในวันเซ็นสัญญายังไม่จ่ายเงินในทันที เพราะการบริหารแอร์พอร์ตลิงก์ในทีโออาร์มีกำหนดเงื่อนเวลาที่ชัดเจน

ขณะที่ “วรวุฒิ มาลา” รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ออกมาระบุว่า กลุ่ม ซี.พี.จะต้องทำแผนให้พิจารณาภายใน 3 เดือนหลังเซ็นสัญญา

แหล่งข่าวจากกลุ่ม ซี.พี.เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า นอกจากจ่ายค่าเดินรถ 10,671 ล้านบาท จะต้องลงทุนอีกส่วนหนึ่งอยู่ระหว่างประเมินค่าใช้จ่าย เพื่อปรับปรุงระบบเครื่องกลและรถไฟฟ้าการเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์เดิมให้รองรับกับระบบรถไฟความเร็วสูง เพราะต้องใช้โครงสร้างร่วมกัน เช่น ยกระดับแพลตฟอร์มทางเดินชานชาลาสูงเท่ากับชานชาลาของรถไฟความเร็วสูง และมีบางสถานีจะต้องตัดพื้นที่สถานีออกประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งการปรับปรุงจะต้องดำเนินการนอกเวลาให้บริการแอร์พอร์ตลิงก์ในช่วงเวลา 24.00-05.00 น. เพื่อไม่ให้กระทบการเดินรถ

ขณะเดียวกันยังรวมถึงการซ่อมบำรุงแอร์พอร์ตลิงก์เดิม และอาจจะต้องมีการขยายชานชาลาสถานีที่มักกะสันเป็นสถานีจอดให้รับกับขบวนรถที่นำมาวิ่งด้วย และยังต้องปรับปรุงพื้นที่ อุปกรณ์ภายในสถานี และซื้อรถขบวนใหม่ที่จะมาวิ่งบริการในแอร์พอร์ตลิงก์ เพิ่มประสิทธิภาพให้รองรับผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะสถานีมักกะสันที่จะเป็นประตูสู่พื้นที่อีอีซี จะต้องใช้พื้นที่สถานีให้เต็มประสิทธิภาพ

“รถขบวนใหม่ที่จะนำมาวิ่งบริการเส้นทางแอร์พอร์ตลิงก์เดิมกับขบวนรถไฟความเร็วสูง ยังไม่ได้เลือกว่าจะใช้ระบบของประเทศไหน แต่มีแนวโน้มจะใช้ตามแหล่งเงินกู้ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำ ตอนนี้มีไจก้าพร้อมจะปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ หากใช้รถไฟความเร็วสูงของฮิตาชิ ส่วนการเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ทาง CRCC กับ BEM เป็นผู้ดูแลดำเนินการ ยังไม่รู้ว่าจะใช้รถจีนหรือซีเมนส์”

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ญ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้เดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตามแผนจะต้องส่งมอบแอร์พอร์ตลิงก์ให้กลุ่ม ซี.พี.ใน 2 ปี ช้าสุดวันที่ 24 ต.ค. 2564 อยู่ที่เอกชนจะจ่ายเงินครบเมื่อไหร่ ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างสำรวจสินทรัพย์และทรัพย์สินของระบบแอร์พอร์ตลิงก์ทั้งหมด เพื่อเตรียมส่งมอบให้กลุ่ม ซี.พี.เดินรถต่อไป จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน

“รถทั้ง 9 ขบวนมีอายุการใช้งาน 30 ปี ต้องซ่อมบำรุงใหญ่ระยะทาง 3.6 ล้านกิโลเมตร ในปี 2565 จากปัจจุบันมีระยะวิ่ง 2.4 ล้านกิโลเมตร และจะมีซ่อมใหญ่ในปีที่ 15 แต่ทุกปีมีเตรียมเงินลงทุน 300-400 ล้านบาท ซ่อมบำรุงและซื้ออะไหล่ที่ถึงรอบต้องเปลี่ยนเมื่อครบ 4 ปี เช่น ขอบยางประตูรถ เพื่อประคับประคองการเดินรถให้สมบูรณ์ ก่อนส่งต่อให้กับเอกชนรายใหม่”

นายสุเทพกล่าวอีกว่า ก่อนส่งมอบต้องมีการประชุมร่วมกับกลุ่ม ซี.พี.ที่จะมารับงานต่อ เพื่อทำแผนการซ่อมบำรุงและจัดหาอะไหล่ จะดูในรายละเอียดว่ามีรายการอะไหล่ไหนที่ต้องรอนาน หรือสามารถทำก่อนและหลังได้

รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการเพื่อเพิ่มผู้โดยสาร ปัจจุบันผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่กว่า 90,000 เที่ยวคนต่อวัน เช่น ปรับปรุงตู้ขนสัมภาระ ซื้อรถขบวนใหม่ 7 ขบวน เนื่องจากรถ 9 ขบวนในปัจจุบันสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 90,000 เที่ยวคนต่อวัน หรือรองรับได้อีก 1 ปีกว่า ๆ เท่านั้น อยู่ที่เอกชนรายใหม่จะบริหารจัดการ ซึ่งการซื้อรถใหม่สามารถนำรถที่ผลิตจากจีนและยุโรปมาวิ่งบริการได้ ก่อนหน้านี้บริษัทเคยจะซื้อรถใหม่จากบริษัท CRCC จากจีนกว่า 4,000 ล้านบาท แต่ยกเลิกการประมูลไป

ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ทั้ง ร.ฟ.ท.และบริษัทลูกควรวางแผนในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เอกชนคู่สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จัดเตรียมบุคลากรเข้ามาดำเนินการตั้งแต่เดือน ก.ค. 2563 ในการเตรียมความพร้อมในการเดินรถเสมือนจริง ก่อนส่งมอบธุรกิจตามแผนงาน

ตอนนี้ยังเดาใจ “ซี.พี.” ไม่ออกว่าจะยอมทุ่มเงิน 10,671 ล้านบาท เพื่อเข้าบริหารการเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์เดิมไปพลาง ๆ ก่อน เพื่อเก็บเกี่ยวรายได้ค่าโดยสารที่ตอนนี้รายได้เติบโตขึ้นเฉลี่ยวันละ 3 ล้านบาท เป็นการฆ่าเวลาไปก่อนทุ่มเงินอีกก้อนใหญ่ เพื่อยกเครื่องการเดินรถทั้งพวง แลกกับสัมปทานเดินรถ 50 ปี

https://www.prachachat.net/property/news-387956
 
#11,318 ·
กางสัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน เก็บค่าโดยสารแอร์พอร์ตลิงก์ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ สูงสุด 97 บาท/เที่ยว

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2562

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 6 พ.ย. 2562 เว็บไซต์ www.railway.co.th ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และเว็บไซต์ www.eeco.or.th ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้เผยแพร่สัญญาและเอกสารแนบท้ายสัญญา “โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท” ระหว่างการรถไฟฯ และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่ม CP) ให้สื่อมวลชนและสาธารณชนช่วยตรวจสอบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รฟท. ได้เปิดเผยข้อมูลสาระสำคัญของสัญญาร่วมทุน (PPP) และวิธีการคัดเลือกเอกชน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินบนเว็บไซต์ ตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เพื่อให้เกิดความโปร่งใส โดยสัญญา PPP ระหว่างรัฐและเอกชน ได้กำหนดให้การรฟท. มีหน้าที่ให้สิทธิเอกชนคู่สัญญาร่วมลงทุนในรถไฟความเร็วสูง, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ช่วงพญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ และส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท, สิทธิการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟฯ ของโครงการ และสิทธิการดำเนินกิจการทางพาณิชย์แก่เอกชนคู่สัญญา

นอกจากนี้ รฟท. มีหน้าที่จัดหาและชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ แก่กลุ่ม CP รวมถึงจัดหาและส่งมอบพื้นที่ของโครงการฯ ให้แก่กลุ่ม CP ด้านกลุ่ม CP มีสิทธิและหน้าที่ในการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และส่วนต่อขยาย, การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟฯ ของโครงการฯ และการดำเนินกิจการทางพาณิชย์

ส่วน รฟท.มีสิทธิได้รับผลประโยชน์จากเอกชนคู่สัญญาดังนี้
1. ส่วนแบ่งรายได้ (Revenue sharing) ในระหว่างการให้บริการเดินรถในส่วนของรถไฟความเร็วสูง, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และส่วนต่อขยาย, การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในสัญญา PPP
2. ค่าให้สิทธิเอกชนคู่สัญญาร่วมทุนในแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จำนวน 10,671 ล้านบาท
3. ค่าเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา PPP โดยเอกชนคู่สัญญาจะต้องชำระเป็นรายปีนับตั้งแต่วันที่เริ่มระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่ เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ

ด้านกลุ่ม CP นั้นหากก่อสร้างล่าช้า จะถูกปรับวันละ 11 ล้านบาท โดย รฟท. ต้องส่งมอบพื้นที่โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท-สนามบินดอนเมือง ให้แก่ CP ภายใน 2 ปี นับจากวันลงนามสัญญา หากส่งมอบไม่ได้ โดยไม่ใช่ความผิดของเอกชน สิทธิของคู่สัญญาจะเป็นไปตามกฎหมายไทย โดยกรณีที่ยังไม่มีการเลิกสัญญา PPP จะไม่มีการชดเชยค่าเสียหายเป็นตัวเงิน แต่จะชดเชย โดยการขยายระยะเวลาการออกแบบและก่อสร้างออกไปอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมเท่านั้น


ทั้งนี้ หากกลุ่ม CP ไม่สามารถออกแบบและก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงได้ภายในระยะเวลา 5 ปี หรือภายในระยะเวลาที่ได้รับการขยายจากการรถไฟฯ เอกชนต้องจ่ายค่าปรับให้รฟท. เป็นจำนวนเงิน 9 ล้านบาทต่อวัน แต่หากออกแบบและก่อสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ส่วนต่อขยาย ไม่เสร็จภายในระยะเวลา 5 ปี ก็ต้องชำระค่าปรับเป็นเงิน 2.28 ล้านบาทแก่การรถไฟฯ หรือรวมแล้วเป็นเงิน 11.28 ล้านบาทต่อวัน

กรณีที่ความล่าช้าก่อให้เกิดความเสียหายแก่การรถไฟฯ และค่าเสียหายมีจำนวนมากกว่าค่าปรับ เอกชนคู่สัญญาจะต้องชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่การรถไฟฯ เท่ากับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริง

ส่วนอัตราค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ตามสัญญานั้น การจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ จะต้องมีอัตราไม่เกิน 45 บาทต่อเที่ยวเท่ากับปัจจุบัน แต่เมื่อมีการเปิดให้บริการส่วนต่อขยายอีก 2 สถานี ได้แก่ สถานีดอนบางซื่อและดอนเมือง ก็สามารถเก็บค่าโดยสารได้สูงสุดไม่เกิน 97 บาทต่อเที่ยว และการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงตลอดเส้นทางต้องอยู่ในอัตราไม่เกิน 490 บาทต่อเที่ยว

ทั้งนี้ การปรับอัตราค่าโดยสารจะเป็นไปตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งประกาศโดยกองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตามระยะเวลาและแนวทางการคำนวณที่กำหนดไว้ในสัญญา PPP

https://www.khaosod.co.th/economics/news_3035959
 
#11,319 ·
รถ 5 ขบวน City Line ออกแบบไว้ 55000 เอง ต่อให้แปลก Express มา Ultimate Capacity ก็แค่ 100000 เที่ยวต่อวัน (peak) ป่ะ - -"

CP จะซื้อรถใหม่ได้วันไหนนิ ตาย ๆ

อย่าทำตัวแบบ BEM นะ บอกว่ายังไหว 19 ขบวน ออกแบบไว้แค่ 420000 แต่บอกว่าเฉลี่ยแค่ 400000 ยังได้ๆ (อีห่า Peak 470000) ล้นแล้วล้นอีก
 
#11,320 ·
รถ 5 ขบวน City Line ออกแบบไว้ 55000 เอง ต่อให้แปลก Express มา Ultimate Capacity ก็แค่ 100000 เที่ยวต่อวัน (peak) ป่ะ - -"

CP จะซื้อรถใหม่ได้วันไหนนิ ตาย ๆ

อย่าทำตัวแบบ BEM นะ บอกว่ายังไหว 19 ขบวน ออกแบบไว้แค่ 420000 แต่บอกว่าเฉลี่ยแค่ 400000 ยังได้ๆ (อีห่า Peak 470000) ล้นแล้วล้นอีก
ก็ทางกระทรวงการคลังเห็นถ้าอัดแพ็กกันในรถไฟฟ้าเกิน 100% ของ captacity สูงสุดจึงจะถือว่าใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและจะได้อนุมัติงบปรนะมาณได้อย่างสบายใจครับ
 
This is an older thread, you may not receive a response, and could be reviving an old thread. Please consider creating a new thread.
Top