SkyscraperCity Forum banner

Bangkok Metropolitan Region - Urban Master Plan 2017

3055 Views 6 Replies 2 Participants Last post by  atom
“กรมโยธา”ยกเครื่องผังเมืองทั้งระบบ บูม”นครปฐม-ปากน้ำ-มหาชัย”ศก.ไร้รอยต่อ
วันที่ 17 มกราคม 2561 - 07:45 น.



กรมโยธาฯเร่งยกเครื่องผังเมือง กทม.และปริมณฑล นนทบุรี ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา นครนายก นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการ วางผังพัฒนาเมืองแบบไร้รอยต่อ รับมือเมืองโต กระจายความเจริญจากใจกลางธุรกิจสู่ตะเข็บชานเมือง สร้างเมืองใหม่ ลดความแออัด เผยโฉมกลางปีนี้

นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างดำเนินการวางผังภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก สมุทรสาคร ปทุมธานี สมุทรปราการ และนครปฐม ให้มีแนวทางการพัฒนาแบบไร้รอยต่อ คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2561

โดยบูรณาการให้เขตรอยต่อระหว่างจังหวัดมีการกำหนดผังเมืองเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค รวมถึงข้อกำหนดที่สอดคล้องกันและเป็นแผนผังที่สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือให้หน่วยงานภาครัฐใช้เป็นแนวทางพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคให้เกิดประสิทธิภาพ และพิจารณาจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่ด้วย

วางผังเสร็จกลางปีนี้

“กลางปีนี้จะเห็นภาพผังโครงสร้างการพัฒนาผังเมืองรวมกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยมองถึงการเชื่อมโยงเหมือนเป็นพื้นที่เดียวกัน ปัจจุบันพื้นที่รอยต่อแยกไม่ออกแล้วว่าตรงไหนเป็นนนทบุรี ปทุมธานี เพราะความเจริญเชื่อมต่อกันหมด ทำให้เมืองโตต่อเนื่อง เรียกว่าอภิมหานคร ต่อไปผังเมืองแต่ละจังหวัดจะสอดคล้องเป็นผืนเดียวกัน”

ขณะที่ที่ดินกรุงเทพฯมีราคาแพง ส่งผลกระทบทำให้ผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถอยู่ใน กทม.ได้ ต้องหาที่อยู่อาศัยไกลกว่าศูนย์กลางกรุงเทพฯออกไป จึงต้องปรับแก้ผังเมืองที่มีอยู่ให้สอดรับและเชื่อมโยง เพื่อกระจายความเจริญจากกรุงเทพฯไปยังพื้นที่โดยรอบ

ทั้งนี้กรมได้ส่งข้อมูลให้ผังเมืองกรุงเทพฯ รับทราบถึงแนวทางการวางผังเมืองให้ไร้รอยต่อเป็นลักษณะไหนให้เชื่อมโยงกับผังเมืองรวม 7 จังหวัด บริเวณที่เป็นชายขอบแต่ละจังหวัดต้องมีการเปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่สีเดียวกัน จากปัจจุบันที่ขัดแย้งกัน และระหว่างทางจากกรุงเทพฯที่เป็นจุดศูนย์กลางไปยังจังหวัดโดยรอบ จะต้องมีเมืองที่เกิดขึ้นมารองรับ ทั้งเป็นชุมชนและเมืองบริวาร

ซึ่งที่ผ่านมากรุงเทพฯได้ประชุมร่วมกับจังหวัดปริมณฑลและจังหวัดข้างเคียงเพื่อประสาน และบูรณาการด้านการพัฒนาเมือง ทั้งด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระบบคมนาคมขนส่ง โครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการและการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ จะนำข้อมูลไปประมวลผลในการปรับปรุงข้อกำหนด แผนผัง และมาตรการทางผังเมืองที่เกี่ยวข้อง ในการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพฯฉบับใหม่ ซึ่งกำลังดำเนินการปรับปรุงครั้งที่ 4 เพื่อให้เป็นผังเมืองที่ไร้รอยต่อ

นนท์นำโมเดล กทม.ต้นแบบ

“ผังเมืองรวมนนทบุรีใช้โมเดลการพัฒนารูปแบบเดียวกับ กทม. เช่น ข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน นำ FAR และ OSR มาใช้ในการจัดวางผังเมืองรวมฉบับใหม่เพื่อจัดระเบียบของเมือง ส่วนจังหวัดอื่น ๆ อยู่ที่ความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่” นายมณฑลกล่าวและว่า

ปัจจุบันสภาพผังเมืองของกรุงเทพฯและปริมณฑล เนื่องจากขาดการบูรณาการร่วมกัน ทำให้เกิดรอยต่อของการพัฒนาที่มีความขัดแย้งกัน เนื่องจากผังเมืองรวมกรุงเทพฯส่งเสริมการพัฒนาในบริเวณศูนย์กลางเมืองและพื้นที่ต่อเนื่องให้เป็นย่านที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากกับย่านพาณิชยกรรม เพราะเน้นการพัฒนาเมืองในรูปแบบเมืองกระชับหรือ compact city ในกรอบถนนรัชดาภิเษก ถัดมาเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและศูนย์บริการชุมชน

บูมที่ดินตะเข็บชานเมือง

ส่วนพื้นที่รอบนอกชานเมืองรัศมีเกินจากถนนกาญจนาภิเษกออกไปมีการจำกัดการพัฒนาโดยการกำหนดเป็นพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) และพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียวลายขาว) และกำหนดให้เป็นพื้นที่เมืองเฉพาะในบริเวณศูนย์ชุมชนชานเมืองเท่านั้น เช่น มีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง และบางขุนเทียน โดยมีข้อกำหนดควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เข้มงวด เช่น มาตรการพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR) พื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (OSR)

ขณะที่จังหวัดปริมณฑลเป็นพื้นที่รอยต่อไม่มีมาตรการดังกล่าวบังคับใช้ และหลายแห่งยังเป็นพื้นที่ที่ไม่มีกฎกระทรวงผังเมืองรวมควบคุมการพัฒนาเมือง หรือแม้จะมีบังคับใช้แต่ก็มีความผ่อนปรนของระบบแผนผังและข้อกำหนดอยู่มาก

“เมื่อพิจารณาถึงภาพรอยต่อ พบว่ากำหนดแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินและระบบคมนาคมขนส่งกรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑล การส่งเสริมการพัฒนาเมืองขาดความต่อเนื่อง”

อย่างเช่น พื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมที่เป็นพื้นที่ฟลัดเวย์ ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯขัดแย้งกับการกำหนดศูนย์ชุมชนเมืองในจังหวัดปทุมธานี และสนามบินสุวรรณภูมิในจังหวัดสมุทรปราการ พื้นที่สีเขียวและสีเขียวลายในฝั่งธนบุรีขาดความต่อเนื่องการพัฒนาเมืองในจังหวัดสมุทรสาคร นครปฐม และนนทบุรี

รวมถึงระบบโครงข่ายถนนแต่ละแผนผังไม่มีระบบที่ต่อเนื่องกัน เช่น ถนนพุทธมณฑลสาย 1 สาย 2 สาย 3 ไม่ต่อเนื่องกับโครงการก่อสร้างถนนในจังหวัดนนทบุรีเป็นพื้นที่รอยต่อกรุงเทพฯ เป็นต้น ดังนั้นจึงจัดทำผังเมืองรวมสามารถวางผังได้อย่างไร้รอยต่อทั้งระบบ สอดคล้องในการส่งเสริมและควบคุมการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา ขยะมูลฝอย และระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ร่วมกัน
https://www.prachachat.net/property/news-102192
See less See more
1 - 7 of 7 Posts
2
The Bangkok Metropolitan Region (Thai: กรุงเทพมหานครและปริมณฑล; RTGS: Krung Thep Mahanakhon Lae Parimonthon; Literally: Bangkok and surrounding provinces), may refer to a government-defined "political definition" of the urban region surrounding the metropolis of Bangkok, or the built-up area, i.e., urban agglomeration of Bangkok, Thailand, which varies in size and shape, and gets filled in as development expands.

The political definition is defined as the metropolis and the five adjacent provinces of Nakhon Pathom, Pathum Thani, Nonthaburi, Samut Prakan, and Samut Sakhon.
https://en.wikipedia.org/wiki/Bangkok_Metropolitan_Region

The master plan of 2017 will include Chachoengsao and Nakhon Nayok with total population of 16,889,502


Chachoengsao


Nakhon Nayok

http://citypopulation.de/php/thailand-prov-admin.php
See less See more
3
3 new focusing cities of Nakhon Pathom, Paknam and Mahachai


Nakhon Pathom


Paknam


Mahachai
See less See more
ปี 61 เจอกัน “ผังเมืองฉบับใหม่” หนุนส่งต่อความเป็นเมืองสู่ปริมณฑล



ในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความเจริญของกรุงเทพมหานครมีการเติบโตอย่างมาก ส่งผลให้เกิดเขตพื้นที่ New CBD ใหม่ อาทิ รัชดา-พระราม 9-อโศก พื้นที่ย่านธุรกิจที่สำคัญของคนกรุงฯ รวมไปถึงบริเวณรอยต่อของกรุงเทพฯ ในย่านปริมณฑล อันประกอบไปด้วย 6 จังหวัด นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม และฉะเชิงเทรา อันได้รับอานิสงส์จากการขยายเส้นทางให้บริการรถไฟฟ้า รวมถึงแผนเมกะโปรเจกต์ตามนโยบายของรัฐบาลอย่างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ส่งผลให้เขตพื้นที่ดังกล่าวถูกจับจองที่ดินโดยนายทุนและผู้ประกอบการอสังหาฯ ดังนั้นภาพจากผังเมืองสีเขียวจึงถูกแปรเปลี่ยนเป็นสีส้ม อันหมายถึงความหนาแน่นประชากรมากขึ้น เหตุนี้เองจึงส่งผลให้กรมโยธาธิการและผังเมืองต้องมีการปรับเปลี่ยนผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครใหม่ และประกาศใช้ในปี 2561 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน พร้อมกับแก้ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณรอยต่อของกรุงเทพฯ ด้วย

กรมโยธาฯ ประกาศใช้ผังเมืองฉบับใหม่ปี 2561
ปัจจุบันพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครอยู่ในกรอบของผังเมืองรวม ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค. 2556 รวมเป็นระยะเวลากว่า 4 ปี ทั้งนี้ด้วยนโยบายของรัฐบาลในการเร่งพัฒนาโครงสร้างของเมืองในด้านต่างๆ โดยเฉพาะระบบคมนาคม เพื่อแก้ปัญหาการจราจรแสนสาหัสในกรุงเทพฯ จึงทำให้เกิดแผนการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ มีความหนาแน่นของจำนวนประชากรเกินข้อกำหนดของผังเมือง ด้วยเหตุนี้กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงต้องปรับเปลี่ยนแก้ไขผังเมืองรวมกรุงเทพฯ ฉบับใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ประกอบกับเป็นการแก้ปัญหาซ้ำซากที่กำลังเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็รการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัด ปัญหาการจราจรติดขัด รวมไปถึงการขยายตัวของเมืองอย่างไร้ทิศทาง ซึ่งขณะนี้ผังเมืองรวมฉบับใหม่ดังกล่าว อยู่ระหว่างขั้นตอนปรับปรุงเปลี่ยนแปลง โดยกำหนดให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ พร้อมประกาศใช้ในปี 2561

ผังเมืองฉบับใหม่ เน้นเชื่อมโยงกทม.- ปริมณฑล – EEC
สำหรับผังเมืองรวมกรุงเทพฯ ฉบับใหม่ อันเกิดขึ้นจากการปรับปรุงฉบับเดิมเมื่อปี 2556 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของเมืองกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้านั้น วัตถุประสงค์อีกประการของผังเมืองฉบับนี้ อยู่บนพื้นฐานของแนวคิด “กรุงเทพฯ ไร้รอยต่อ” อันตีความหมายได้ถึงการขยายตัวความเจริญสู่พื้นที่ปริมณฑลบริเวณโดยรอบ ในที่นี้คือ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม และฉะเชิงเทรา ทั้งหมดล้วนเป็น 6 จังหวัด ที่อยู่บริเวณรอยต่อของกรุงเทพฯ และอยู่ในแผนการขยายเส้นทางให้บริการรถไฟฟ้าในอนาคต ได้แก่สาย

– สีเขียว ส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคต (เตรียมเปิดให้บริการปี 2563) และแบริ่ง-สมุทรปราการ (เตรียมเปิดให้บริการปี 2561)
– สายสีม่วง เตาปูน-คลองบางไผ่ (เปิดให้บริการไปแล้วเมื่อปปี 2559)
– สีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค (เตรียมเปิดให้บริการปี 2562)
– สายสีแดง บางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน (เตรียมเปิดให้บริการปี 2563)
– สายสีชมพู แคราย-มีนบุรี (คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2563)
– สีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรงบุรี (คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2564)
– รถไฟฟ้าความเร็วสูง EEC Gateway (อยู่ในขั้นตอนของการทำสัมปทาน)

ทั้งนี้จังหวัดที่อยู่รอยต่อกรุงเทพฯ ทั้ง 6 จังหวัดตามผังเมืองเดิมนั้น อยู่ในเขตพื้นที่สีเขียว อันหมายถึงที่ดินประเภทชนบทหรือเกษตรกรรม ดังนั้นหากไม่มีการปรับเปลี่ยนผังเมืองใหม่ จะไม่สามารถดำเนินการตามนโยบายพัฒนาเมืองได้ สืบเนื่องจากมีการกำหนดให้สามารถใช้ประโยชน์เขตพื้นที่ดังกล่าวได้ หากเป็นพื้นที่สีส้มหรือที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง
https://www.ddproperty.com/ข่าวอสังหาริมทรัพย์-บทความ/2017/12/166741/ปี-61-เจอกัน-ผังเมืองฉบับ
See less See more
เมื่อไหร่เราจะมีผังเมืองที่ออกแบบเมืองจริงๆ ไม่ใช่ผังเมืองแบบระบายสีไม้แบบนี้
^^ การจัดสรรที่ดินต้องทำในรูปแบบแปลงขนาดใหญ่ และตัดถนนรอง สร้างสาธารณูปโภคและระบบขนส่งเข้าไปในพื้นที่
1 - 7 of 7 Posts
This is an older thread, you may not receive a response, and could be reviving an old thread. Please consider creating a new thread.
Top