SkyscraperCity Forum banner

Bangkok | Phra Pinklao Bridge

29477 Views 54 Replies 3 Participants Last post by  Val2
6
"Residents seek dismantling of bridge"
http://www.pressreader.com/thailand/bangkok-post/20100819/281599531803704
Bangkok Post 19 August 2010
by Supoj Wancharoen

The ageing Phra Pin Klao Bridge should be knocked down to channel traffic away from the historic Ratchadamnoen Avenue, residents say.
The removal of the bridge was raised yesterday by Thirapol Kachachiwa, a resident of Phraeng Phuthon off Ratchadamnoen Klang Avenue, at a seminar attended by a representative of a firm hired to study ways to restore and preserve areas along Ratchadamnoen Avenue.
Participants at the seminar said the bridge, which was opened nearly 40 years ago, provided a main route through the old quarter of Bangkok. It meant traffic was usually heavy on the route and this was causing air and noise pollution.
Ratchadamnoen Avenue was built in 1899 on the order of King Rama V to link the Grand Palace and Dusit Palace near the Royal Plaza.
The thoroughfare was based on the Champs-Elysees in Paris.
It is feared the traffic could cause structural damage to the old buildings along the avenue.
The deputy chairman of the senate subcommittee studying the preservation of Rattanakosin island, MR Priyanandara Rangsit, was worried the large buses carrying tourists to the landmark at- tractions around the area might lead to more damage to the road.
Mr Thirapol suggested the government find ways to lessen traffic through Ratchadamnoen Avenue and make better use of Khlong Lot, the canal which was previously the main transportation route.
Khlong Lot gets clogged as it runs to Phra Pin Klao footbridge and so people can’t travel out to the Chao Phraya any more, Mr Thirapol said.
Watchara Chongsuwat, the chief executive officer of A-Seven Corporation, the company engaged by the National Economic and Social Development Board to study ways to preserve areas along Ratchadamnoen Avenue, said he believed the government could breathe new life into Khlong Lot.
He cited the example of Cheong Gye Cheon creek in central Seoul (https://en.wikipedia.org/wiki/Cheonggyecheon).
A highway built over the creek was demolished and the creek was restored. It is now a popular tourist site.
A-Seven Corp yesterday presented the seminar with plans to improve the Ratchadamnoen area between 2011 and 2013 with a budget of 100 million baht.
A committee overseeing the Ratchadamnoen development plan, chaired by Deputy Prime Minister Trairong Suwannakhiri, would consider the proposals by October before deciding whether to forward them to the cabinet.

-----------------------------------

สภาพัฒน์เตรียมรื้อสะพานปิ่นเกล้า
18 ส.ค. 2010
(https://news.mthai.com/general-news/84520.html)

สภาพัฒน์เล็งเสนอรื้อสะพานพระปิ่นเกล้า อ้างจราจรแออัด ลดมลพิษ ชุบชีวิตคลองหลอด ปั้นโครงการอภิมหาโปรเจ็คใช้งบกว่า 100 ล้าน บูรณะเกาะรัตนโกสินทร์

18 สค. รายงานข่าวแจ้งว่า นายวัชระ จงสุวัฒน์ ประธานกรรมการบริษัท เอ-เซเว่น คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัทที่ปรึกษาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในโครงการศึกษาวิเคราะห์ เสนอแนะแนวทางการรักษาฟื้นฟูและพัฒนาย่านประวัติศาสตร์บริเวณพื้นที่ถนนราชดำเนินโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เปิดเผยว่า บริษัทพร้อมจะรับแนวคิดของประธานชุมชนแพร่งภูธรที่เสนอให้มีการรื้อสะพานพระปิ่นเกล้า เพื่อลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งบนถนนราชดำเนิน และเปิดพื้นที่คลองคูเมืองเดิม (คลองหลอด) ให้ไหลออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้

ทั้งนี้ จะมีการนำแนวคิดนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภาพัฒน์ฯ เพื่อเสนอเป็นโครงการต่อไป โดยเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ เช่นเดียวกับกรุงโซล ประเทศเกาหลี ที่มีการฟื้นฟูคลองสายหลักที่พาดผ่านตัวเมือง จากเดิมที่มีสภาพเสื่อมโทรมมาก ซึ่งมีการสร้างทางด่วนคร่อมคลอง จากนั้นจึงมีการรื้อทางด่วนทิ้งและสามารถฟื้นฟูคลองจนมีสภาพใสสะอาดได้ภายใน 2 ปีครึ่งเท่านั้น

?เดิมถนนราชดำเนินเป็นเส้นทางเสด็จฯ แต่ปัจจุบันกลายเป็นเส้นทางผ่านของรถจำนวนมาก ทำให้แออัดคับคั่ง ฉะนั้นควรลดบทบาทความสำคัญของสะพานพระปิ่นเกล้าลง อาจไม่ถึงขั้นต้องทุบทิ้ง แต่เปลี่ยนเป็นเส้นทางคนเดิน อีกทั้งจะมีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาข้างรัฐสภาแห่งใหม่ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับฝั่งธนบุรีได้? นายวัชระ กล่าว

สำหรับการฟื้นฟูและพัฒนาเกาะรัตนโกสินทร์เป็นเรื่องยาก เนื่องจากจุดอ่อนของประเทศไทยคือการเมืองไม่นิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อย ทำให้โครงการต่างๆ ล่าช้าและไม่ต่อเนื่อง

ขณะที่ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ประธานอนุกรรมาธิการศึกษานโยบายการอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ วุฒิสภา กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวคิดที่จะรื้อสะพานพระปิ่นเกล้า เนื่องจากปัจจุบันถนนราชดำเนินประสบปัญหาจราจรติดขัด ก่อให้เกิดมลพิษอย่างมาก กระทบต่อสุขภาพของประชาชน อีกทั้งแรงสั่นสะเทือนของรถยนต์ยังกระทบต่อโบราณสถาน ทั้งพระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว และวัดโพธิ์

ด้าน นายธีระพล คชาชีวะ ประธานชุมชนแพร่งภูธร กล่าวว่า ขอเสนอให้สภาพัฒน์ฯ รื้อสะพานพระปิ่นเกล้าทิ้ง เพื่อฟื้นฟูคลองคูเมืองเดิมให้เชื่อมต่อไปยังแม่น้ำเจ้าพระยาได้และเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำของประชาชน เพราะสะพานพระปิ่นเกล้าสร้างทับคลองคูเมืองเดิม ทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนไป

อย่างไรก็ตาม สภาพัฒน์ฯ ได้จัดเสวนาเพื่อเสนอโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกาะรัตนโกสินทร์ รวมทั้งสิ้น 25 โครงการ ใช้งบประมาณกว่า 100 ล้านบาท ภายในปี 2554-2556 โดยจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป ถ้าโครงการใดเห็นว่าไม่เหมาะสมก็สามารถยุบทิ้งหรือแก้ไขเพิ่มเติมได้

อนึ่ง โครงการดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาถนนราชดำเนินและอนุรักษ์ชุมชนโดยรอบ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนอาทิ โครงการปรับปรุงการระบายน้ำ การป้องกันอัคคีภัย การจัดเก็บสายไฟและสายสัญญาณลงดิน การปรับภูมิทัศน์ พัฒนาพื้นที่ริมคลอง ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน อนุรักษ์สถาปัตยกรรมชุมชน การปรับปรุงท่าเรือ ส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งมีเป้าหมายว่าจะเป็นประตูสู่กรุงรัตนโกสินทร์

-----------------------------------

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ทำลายเมืองประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553
(http://www.sujitwongthes.com/2010/08/สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้/)
บริเวณเมืองประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ (ไม่ใช่เกาะรัตนโกสินทร์) ที่ถูกทำลายลงทุกวันด้วยการจราจรถนนราชดำเนิน-สะพานปิ่นเกล้า (ภาพจาก สมุดภาพแห่งกรุงเทพมหานคร 220 ปี. สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร, 2546.)

เส้นทางสายหลักผ่าเมืองประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ คือถนนราชดำเนินกลาง ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ส่งผลกระทบสภาพแวดล้อมและโบราณสถานเสื่อมโทรมขนานหนัก

ก่อนลงมือสร้างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า มีเอกชนกลุ่มหนึ่งแสดงความเห็นคัดค้านรัฐบาลเผด็จการทรราชครั้งนั้น ว่าไม่ควรสร้าง ด้วยเหตุผลทางสภาพแวดล้อมและศิลปกรรม

เพราะนอกจากต้องปิดคลองคูเมืองเดิมตรงท่าช้างวังหน้าแล้ว ยังดึงดูดรถนานาชนิดจากที่ต่างๆให้ใช้เส้นทางผ่าเมืองประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ข้ามไปฝั่งธนบุรี เท่ากับทำลายมรดกเหล่านั้นทีละน้อยๆทุกวัน ในที่สุดจะรักษาไว้ไม่ได้

รัฐบาลเผด็จการทรราชย่อมไม่ฟังเสียงใครทั้งนั้น ฉะนั้นไม่นานก็สร้างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าเสร็จเรียบร้อย มหกรรมทำลายเมืองประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ ก็เริ่มต้นตั้งแต่บัดนั้นสืบมาจนบัดนี้ มีผลย่อยยับอย่างไรย่อมเห็นแก่ตาและรู้แก่ใจ มี ผู้แจกแจงผลเสียหายต่อเนื่องหลายครั้งหลายหนแล้ว แต่รัฐบาลไหนๆไม่เคยสนใจเรื่องสำคัญอย่างนี้

มีรายงานข่าว (ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม 2553 หน้า 19) ว่า ชาวชุมชนในเมืองประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ เสนอยกเลิกใช้เส้นทางสัญจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และขอให้ฟื้นฟูคลองคูเมืองเดิม เพราะปัจจุบันบริเวณที่สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าสร้างคร่อมกลายเป็นคลองตัน

คณะอนุกรรมาธิการศึกษานโยบายการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์(กลุ่มหนึ่ง) เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะมีรถขนาดใหญ่จำนวนมากใช้เส้นทางนี้ ทำให้สะเทือนหนักจน พระพุทธไสยาสน์ วัดโพธิ์พระศอหัก

ภาคเอกชนกลุ่มหนึ่งเห็นด้วยที่ให้เลิกใช้เส้นทางนี้ เพราะมีสะพานพระราม 8 ทดแทน และกำลังสร้างสะพานแห่งใหม่ที่เกียกกายเพื่อรองรับรัฐสภาใหม่

“อดีตนายกเทศมนตรีกรุงโซลที่เกาหลียังเคยสั่งรื้อโครงการทางด่วนกลางกรุงโซล เพื่อขุดเป็นคูคลองแทนจนสำเร็จมาแล้ว” ภาคเอกชนอธิบาย

การสร้างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เท่ากับดึงดูดรถยนต์ทั้งหลายเข้ามาผ่าเมืองประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ให้แออัดยัดเยียดยุ่งเหยิง ทำลายล้างผลาญประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ นับเป็นความอัปยศของผู้มีอำนาจยุคนั้นที่ทำสิ่งนี้

เมืองประวัติศาสตร์ในสากลโลกมีแต่จะต้องถนอมรักษาด้วยความเคารพอย่างอ่อนน้อมและอ่อนโยน ไม่ให้มีจราจรแออัดยัดเยียด บางแห่งห้ามยานพาหนะทั้งหมด จะมีก็แต่ขนส่งสาธารณะไร้มลพิษเท่านั้น

ยกเว้นกรุงเทพฯ และประเทศไทย เมืองประวัติศาสตร์ทุกแห่งถูกกระทำชำเราด้วยมนุษย์ที่อวดว่ารักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทั้งนั้น เช่น อยุธยา, เชียงใหม่ ฯลฯ

-----------------------------------


1968 vs. 2012_ Phra Pinklao Bridge B
by Bkk-fan787, sur Flickr

Wat Boworn Sathan Sutthawat_วัดบวรสถานสุทธาวาส (1956 vs. 2011)
by Bkk-fan787, sur Flickr

RE.PHOTOS Phra Pinklao bridge 1958 vs 2017 B
by Bkk-fan787, sur Flickr
www.re.photos/compilation/1681/

Phra Pinklao Bridge area_1950 vs. 1972 vs. 2014
by Bkk-fan787, sur Flickr

Phan Phiphop Lila Bridge_circa 1972 vs. 2014 C
by Bkk-fan787, sur Flickr

Aerial photograph taken in 1946
by Bkk-fan787, sur Flickr
See less See more
41 - 55 of 55 Posts
Tha Chang Bridge (Phra Pinklao Bridge) September 1973


The Nation028
by Bkk-fan787, sur Flickr
See less See more
Tha Chang Bridge (Phra Pinklao Bridge) September 1973


Dpt of Public Works - September 1973
by Bkk-fan787, sur Flickr
See less See more
Tha Chang Bridge (Phra Pinklao Bridge) September 1973

Special supplement of the Bangkok Post/World September 24, 1973


The Bangkok Post - September 1973
by Bkk-fan787, sur Flickr
See less See more
สนับสนุนให้รื้อครับ แต่ต้องรถไฟฟ้าสีน้ำเงินกับสีแดงเปิดบริการก่อน และให้ใช้ชื่อสะพานพระปิ่นเกล้ากับสะพานเกียกกายใหม่แทน
สถานีสนามหลวง (รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม)

สนับสนุนให้รื้อครับ แต่ต้องรถไฟฟ้าสีน้ำเงินกับสีแดงเปิดบริการก่อน และให้ใช้ชื่อสะพานพระปิ่นเกล้ากับสะพานเกียกกายใหม่แทน
ขอขอบคุณสำหรับความช่วยเหลือของคุณครับ ผมใช้ Google Translate เนื่องจากผมไม่สามารถเขียนเป็นภาษาไทยได้ครับ
มีโครงการสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่สนามหลวงรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม มันอาจจะไม่ได้สร้างเร็ว ๆ นี้
(Thanks for your contribution. I am using Google Translate as I can not write in Thai.
There is a project to build a subway station at Sanam Luang on the MRT Orange Line. It might not be built so soon though.

Sanam Luang Station - Orange MRT Line
by Bkk-fan787, sur Flickr
See less See more
- การเกิดของสะพานพระปิ่นเกล้า ทำให้เกิดย่านใหม่ อย่างย่านปิ่นเกล้าและตลิ่งชัน ซึ่งปัจจุบันมีคนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
- ผลที่ว่านั้นทำให้ย่านนี้บูมขึ้นมาในช่วงเวลาหนึ่ง ในฐานะย่านที่อยู่อาศัยและชุมชนทางเศรษฐกิจ เหตุผลหนึ่งคือเป็นพื้นที่เปิดใหม่ใกล้ศูนย์กลางอำนาจ (พื้นที่ราชการ) ในเขตเกาะรัตนโกสินทร์
- ผลจากการที่บูมมาก จนเกิดปัญหาการจราจร และในหลวงภูมิพลก็ลงมาแก้ปัญหา จนเกิดโครงการสะพานพระราม 8 และทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี
- ถ้ามองจากแผนที่ คนที่อยู่อาศัยย่านนี้ มีสองช่องทางหลักในการเข้ากรุงเทพ คือ สะพานปิ่นเกล้าและสะพานกรุงธน ซึ่งทิศทางการเข้าเมืองนี่ไปคนละกลุ่มเป้าหมายเลย คนมาทางสะพานปิ่นเกล้าคือคนที่จะมาย่านพระนคร รวมถึงสยาม-ประตูน้ำ ดูได้จากเส้นทางรถเมล์
- ถนนบรมราชชนนีมี 10 เลน กับ คู่ขนานลอยฟ้าอีก 4 เลน มาเจอกับสะพานปิ่นเกล้า 6 เลนและสะพานพระราม 8 อีก 4 เลน ตอนเช้า-เย็นมีการจราจรสะสม ถ้าทุบสะพานปิ่นเกล้าทิ้ง เหลือสะพานพระราม 8 4 เลน ตายแน่นอน
- คือถ้าจะไม่มีสะพาน ก็ไม่ควรมีตั้งแต่แรก คนจะได้ไม่เลือกไปอยู่แถบนั้น เพราะมันเปรียบเหมือนคุณสร้างหมู่บ้าน แล้ววันดีคืนดีคุณก็ปิดทางเข้าหมู่บ้าน แล้วบอกให้ไปใช้ทางอื่นแทน ซึ่งบางคนไม่ได้อยู่ในพื้นที่ อาจจะไม่เดือดร้อน
- อนาคตถ้ามีรถไฟฟ้า ต่อให้โครงการเสร็จสมบูรณ์ รถไฟฟ้ากับถนนมันก็คนละฟังก์ชั่น แล้วพื่นที่ฝั่งนู้น เป็น Super Block การคมนาคมไม่เข้าไปถึงทุกพื้นที่ รถยนต์จึงยังจำเป็นอยู่มาก คิดว่าทุกวันนี้หลังมีรถไฟฟ้าสายสีม่วง การจราจรบนสะพานพระนั่งเกล้าติดน้อยลงหรือเปล่า ก็เปล่า แค่คนมีทางเลือกมากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
- เหตุผลเรื่องภาวะทางเศรษฐกิจจากการที่เกาะรัตนโกสินทร์เป็นพื้นที่เปิด เพราะมีการ Flow คนผู้คน ไม่ได้เป็นพื้นที่ปิด ในทรรศนะของผม การเป็นพื้นที่เปิดน่าจะดีกว่า เพราะนั่นคือการมีชีวิต มีความเป็นเมือง แต่เข้าใจว่า กระแสอนุรักษ์นิยมอาจจะมาแรงในบ้านเรา อาจไม่ต้องการอะไรแบบนี้ แต่ส่วนตัวผมชอบความเป็นเมืองที่มันมีวิถีชีวิตของความเป็นเมืองจริงๆ
- การขนส่งผู้ป่วยจากย่านพระนครเข้าสู่โรงพยาบาลศิริราชก็จะยากขึ้นอีกหนึ่งขั้น
- ทางออกที่ดีที่สุดถ้าจะทุบ คือการสร้างอุโมงค์รถยนต์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาแทน แต่ราคานี้ รัฐจะยอมจ่ายไหม หรือเห็นคุณภาพชีวิตของประชากรไม่สำคัญเท่ากับอย่างอื่น
See less See more
  • Like
Reactions: 2
คลองช็องกเยช็อนที่โซล เกาหลีใต้_Cheonggyecheon canal in Seoul, South K

See less See more
คลองช็องกเยช็อนที่โซล เกาหลีใต้_Cheonggyecheon canal in Seoul, Korea

มีวันที 25 ตุลาคม สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าปิดการจราจร ส่งผลให้สะพานกรุงธนจากเดิมรถไม่ติด (เพราะอยู่ในช่วงปิดเทอม) กลายเป็นรถติด ติดหนักยิ่งกว่าตอนช่วงเปิดเทอมถึงหนึ่งเท่าตัว (วัดจากระยะของรถติด)
Tokyo to move highway above landmark bridge underground


https://www.japanhoppers.com/th/kanto/tokyo/kanko/514/

July 22, 2017 04:24 JST

The Metropolitan Expressway runs directly over Nihonbashi Bridge.
TOKYO -- Japan's capital is moving forward with plans to take an elevated highway running over the famed Nihonbashi Bridge underground, a project sought after by locals who have long protested that the current structure obstructs views from the landmark.

"Nihonbashi is the source of Japan's roads," said Land and Transport Minister Keiichi Ishii at the press conference Friday. "It will be reborn as a place where you can see the clear sky."

Under the plan, relocation work would begin after the Tokyo Olympics in 2020, coinciding with other projects aimed at revitalizing the area.

The 49-meter bridge has been designated an important cultural asset as a symbol of Edo culture and the source of the Gokaido -- the five main roads that carried people and goods across Japan during that period. The Metropolitan Expressway was built six meters overhead in preparation for the first Tokyo Olympics in 1964, spoiling the scenery over the bridge. Local residents have long demanded that the highway be moved below ground.

At the end of 2005, then-Prime Minister Junichiro Koizumi suggested improving Nihonbashi's scenery. A group pledging to "return the sky" to the Nihonbashi area was formed by Hiroshi Okuda, chief of the Japanese Business Federation at the time. The group called for " the integrated development of city, river and road."

The project never took off, but talks continued. In 2012, an expert panel at the transportation ministry submitted a proposal to "revitalize the Metropolitan Expressway, including moving it underground."

Then in mid-July, Chuo Ward promised to handle consensus-building among locals, setting in motion preparatory work. The transport ministry, which administers the expressway, will decide the structure and sections to be moved, while Tokyo draws the blueprint for redevelopment. Debate will begin on moving the section from Takebashi to Edobashi underground. The project is expected to cost 500 billion yen ($4.5 billion), with each stakeholders' share of the financing to be determined later.

Relocating the expressway will also spur redevelopment of the area, reviving Nihonbashi as the new face of the capital. "We will move the highway underground, linking it to urban development," Tokyo Gov. Yuriko Koike emphasized at Friday's press conference. "I want to leave the future with a Tokyo that people will be proud of for the next 100 years." Koike hopes to develop the area between Otemachi and Nihonbashi into a single, international financial zone, gathering fintech startups and other ventures, as part of her goal to turn Tokyo into a global financial hub.

"Nihonbashi has a history as the center of Japan," said Chief Cabinet Secretary Yoshihide Suga told reporters the same day. "Moving the expressway underground will open up and invigorate the entire city."

"Moving the expressway has been local residents' cherished dream for some time," added Yoshihide Yada, mayor of Chuo Ward. "I am extremely happy we have taken this step."

This fiscal year, three wards in the Nihonbashi area are expected to be approved as special economic zones, a status that speeds up urban development projects. Currently, development in the office district is being led by private companies such as Mitsui Fudosan, Nomura Real Estate Development and Tokyo Tatemono. Moreover, Mistubishi Estate is also planning to build Japan's tallest office building, at 390 meters, near Nihonbashi.

(Nikkei)
https://asia.nikkei.com/Politics/Tokyo-to-move-highway-above-landmark-bridge-underground
See less See more
Phra Pinklao Bridge construction - 15 Nov. 1972

การก่อสร้างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ๒๕๑๕
Reuters
สะพานเฉลิมสวรรค์ ๕๘ (๒๔๕๕-๒๕๑๔) - Chaloem Sawan 58 Bridge (1912-1971)

สามฉากจากภาพยนตร์ "โนห์รา" (๒๕๐๙)
Three scenes from the movie "Norah" (1966)
Free Thai Movement Parade At the End of WWII at Phan Phipop Lila Bridge (September 25, 1945)
การสวนสนามของกองกำลังเสรีไทยที่สะพานผ่านพิภพลีลา (2488)


132624

See less See more
  • Like
Reactions: 1
41 - 55 of 55 Posts
This is an older thread, you may not receive a response, and could be reviving an old thread. Please consider creating a new thread.
Top