SkyscraperCity Forum banner

Bangkok | Sappaya-Sapasathan (New Parliament Complex)

675742 Views 2065 Replies 229 Participants Last post by  Appleich
2



MoU for new House signed

Bangkokpost 16/08/2008


Prime Minister Samak Sundaravej yesterday signed a memorandum of understanding (MoU) for construction of a new parliament complex amid an outcry from students of a major school in the area. Mr Samak said occupants of the 130-rai land plot selected as the location of the parliament complex must vacate in three months, except Yothinburana school.

The school will move out after a new school has been built. Construction is expected to take two years, Mr Samak said.

The eight agencies which signed the MoU yesterday were from parliament, the Office of the Defence Permanent Secretary, the army, the Royal Aide-de-Camp Department, the Office of the Basic Education Commission, the Forest Industry Organisation, and the Treasury Department.

Mr Samak took credit for ending what had seemed a perennial, 16-year search for a suitable site.

''I have to say the deal is successful because of my vision. I want everything I manage to end with success,'' he said before the MoU signing.

He said the Kiakkai land on the Chao Phraya river bank was chosen after the government decided against another plot belonging to the State Railway of Thailand (SRT) due to opposition from the SRT labour union.

The union, which owns a 165-rai land plot in Klong Toey, had asked for 10 billion baht for a 30-year lease, which the government regarded as too much. The land plot is an oil storage farm.

The compound of the Army Transportation Department in Kiakkai was picked instead.

Parts of the land are also occupied by non-military residents and Yothinburana school.

News of the Kiakkai land deal being finalised angered students of the school who led a protest march to parliament yesterday.

More than 500 protesting students said they opposed the selection of the Kiakkai plan. House Speaker Chai Chidchob met the students and said the decision was irreversible.

Prathana Jaiberkbarn, a Mathayom 4 student, said students were attached to the school, which should have told students earlier about the relocation.

''Will this new parliament improve the way our country is managed? The state of our country is determined not by where the parliament is located but who works in it,'' she said.

Manop Noppasirikul, the school director, denied the school was hiding the relocation plan from students.

Yothinburana student president Prachya Manop said most students are military officers' children. Relocation of the school to an area near Wat Soi Thong in Bang Sue district would increase their travel expenses. No public hearing was organised over the relocation.

Khunying Kasama Voravarn na Ayutthaya, secretary-general of the Office of the Basic Education Commission, said the government's offer of one billion baht to pay for land and construction of the new school was reasonable. Students will be invited to take part in designing the school.

The students could not prevent the relocation from going ahead except by petitioning the Central Administrative Court.

Many sites were proposed for a new parliament. They include the Treasury Department's plot in Chachoengsao's Bang Nam Prieo district, Don Muang airport, a 400-rai private plot in Samut Prakan and a tract in Lop Buri near Pasak Chonlasit dam.

......


นายกรัฐมนตรีลงนาม MOU ก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก (15/8/2008)


นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยประธานรัฐสภาร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐสภากับ 8 หน่วยงาน เพื่อเตรียมการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ บริเวณย่านเกียกกาย


วันนี้ (15 ส.ค.) เวลา 16.00 น. ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข 213-216 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ราชพัสดุ ถนนทหาร (เกียกกาย) 8 หน่วยงาน ได้แก่ รัฐสภา สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองทัพบก กรมราชองครักษ์ กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และกรมธนารักษ์

ทั้งนี้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุถึงรายละเอียดการเข้าใช้พื้นที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ในที่ดินราชพัสดุ ถนนทหาร ย่านเกียกกาย จำนวน 119 ไร่ รวมทั้งการเข้าใช้พื้นที่ของหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่ต้องย้ายออกจากพื้นที่เดิม และระบุถึงอัตราการจ่ายค่าชดเชยและค่าก่อสร้างทดแทน

นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังร่วมเป็นสักขีพยานบันทึกข้อตกลงว่า ตนเองจะเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการทั้งหมด ส่วนที่ต้องลงนามในบันทึกข้อตกลงนั้น เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ โดยหน่วยงานต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ 119 ไร่ จะต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากพื้นที่ภายใน 3 เดือน ยกเว้นโรงเรียนโยธินบูรณะที่ต้องรอให้ก่อสร้างสถานที่ใหม่เสร็จก่อน คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี ส่วนการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยเบื้องต้นให้กับกำลังพลของกรมการขนส่งทหารบกนั้น

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้เตรียมให้เข้าไปอยู่ชั่วคราวที่บ้านเอื้ออาทร บริเวณวัดบัวขวัญ ถนนงามวงศ์วาน โดยหลังจากสร้างแฟลตในที่ดินกองคลัง กรมสรรพวุธทหารบก อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เสร็จแล้วก็จะให้ย้ายเข้าไปอยู่ ซึ่งในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็จะตามไปแก้แบบก่อสร้างที่อยู่อาศัยของกำลังพลให้อยู่สบายที่สุด สำหรับการแก้ปัญหาของโรงเรียนช่างกล ขสทบ. จะออกแบบก่อสร้างอาคารชั่วคราวเพื่อรองรับนักเรียน 2,000 คน โดยจะสร้างให้เสร็จภายใน 2 เดือนครึ่ง ทั้งนี้ เหตุที่ต้องรื้อถอนเพื่อปรับปรุงพื้นที่ให้ทันพิธีการวางศิลาฤกษ์ก่อนวันที่ 5 ธันวาคมนี้





World Forum BANGKOK | New National Parliament Complex

Web http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/main.php?filename=home
See less See more
1781 - 1800 of 2066 Posts
เลขาฯ สภามั่นใจหลัง ครม.อนุมัติงบ 4.8 พันล้านสภาใหม่เสร็จทันใช้ มิ.ย.62

เผยแพร่: 24 ส.ค. 2561 13:07 ปรับปรุง: 24 ส.ค. 2561 13:16 โดย: MGR Online


เลขาฯ สภา ลั่นหลัง ครม.อนุมัติสร้างรัฐสภาใหม่อีก 4,861 ล้านบาท ทำให้เร่งเดินหน้าได้เร็วขึ้น มั่นใจห้องประชุมหรือพื้นที่บางส่วนจะเสร็จทันเดือน มิ.ย. 62 ทันสมาชิกสภาชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง

วันนี้ (24 ส.ค.) นายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงความคืบหน้าก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ย่านเกียกกาย ว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณล่าสุด 4,861 ล้านบาท จากของเดิม 3,586 ล้านบาท เท่ากับเราได้จำนวนเงินเพิ่มมา 1,274 ล้านบาท หลังจากได้งบประมาณเราจะเร่งรัดให้ทุกฝ่ายดำเนินการอย่างเต็มที่ให้รวดเร็ว

โดยจะแบ่งงบประมาณดังกล่าวเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. งบประมาณทางด้านเทคโนโลยี ไอซีที จำนวน 3,515 ล้านบาท ซึ่งกระบวนการทำงานจะตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องขึ้นมาพิจารณาดำเนินงาน 2. งบประมาณด้านสาธารณูปโภค จำนวน 802 ล้านบาท ซึ่งจะตั้งคณะกรรมการ 3 คณะทำงาน และ 3. งบประมาณด้านการจ้างที่ปรึกษาด้านไอซีที จำนวน 143 ล้านบาท

“วันนี้เราเร่งทำอย่างเต็มที่ให้เร็วที่สุด ยอมรับว่าอยากได้เงินจำนวนมากกว่านี้ แต่เท่าที่ได้มาก็ต้องบริหารให้เพียงพอ จะปรับให้ทุกอย่างมีความทันสมัยเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ตอนนี้ต้องเร่งรัดผู้รับจ้างด้านไอซีทีให้เร่งทำงานมากขึ้น ทางด้านผู้รับจ้างยังยืนยันว่าจะทำเสร็จบางส่วนก่อน เช่น ห้องกรรมาธิการ ห้องเจ้าหน้าที่ หรือพื้นที่ชั่วคราว โดยเร็วที่สุดอาจเป็นเดือนมิถุนายน 62 คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาและคงจะทันใช้กับสภาชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง” เลขาสภาฯ กล่าว

https://mgronline.com/politics/detail/9610000084819
See less See more
หวังว่าคงจะทัน อยากให้ในหลวงเสด็จมาเปิดสภาด้วย ภาพบรรยากาศคงดี เป็นภาพประวัติศาสตร์
  • Like
Reactions: 1
เป็นรัฐสภาที่ดูธรรมดามากเลยของเยอรมัน
เลขาฯ สภายันรัฐสภาใหม่พร้อมใช้ ก.ค. 62 แจงใช้ไม้สักสร้างโถงทางเดินตามสัญญา

เผยแพร่: 24 ก.ย. 2561 16:43 ปรับปรุง: 24 ก.ย. 2561 17:52 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

“สรศักดิ์” เผยทำตามสัญญาใช้ไม้สักสร้างทางเดินโถงอาคารรัฐสภาใหม่ ย้อน “อนุทิน” ดำเนินการสมัย “ปู่ชัย” แจงพร้อมใช้งานนัดแรก ก.ค. 2562

วันนี้ (24 ก.ย.) ที่รัฐสภา นายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการก่อสร้างทางเดินโถงอาคารรัฐสภาใหม่ต้องใช้ตัดไม้สักกว่า 5 พันท่อนว่า การใช้ไม้สักดังกล่าวเป็นไปตามการออกแบบของผู้ชนะการออกแบบ เพื่อสื่อถึงวัฒนธรรมความเป็นประเทศไทย ที่ผ่านมาเคยมีความพยายามแก้ไขแบบไม่ใช้ไม้สัก แต่บริษัทผู้ออกแบบและสภาผู้แทนราษฎรไม่ยินยอมจึงต้องดำเนินตามสัญญาออกแบบ คือ ใช้ไม้สัก 5 พันท่อน โดยซื้อจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ที่ปลูกไม้สักไว้ขายอยู่แล้ว ขณะนี้ทราบว่าบริษัทผู้รับเหมาเริ่มทยอยติดตั้งไม้สักแล้ว ยืนยันว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ไม่เกี่ยวกับการสนับสนุนให้ใช้ไม้สักก่อสร้างสภาใหม่ เพราะบริษัทที่ชนะการออกแบบเป็นการดำเนินการสมัยที่นายชัย ชิดชอบ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร

ส่วนความคืบหน้าการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่นั้น ขณะนี้คืบหน้าไป 50 กว่าเปอร์เซ็นต์ ทุกอย่างเป็นไปตามแผน โดยเฉพาะการเร่งการก่อสร้างห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร และห้องประชุมวุฒิสภา ต้องทำให้เสร็จในเดือน ก.ค. 2562 ให้ทันต่อการเปิดประชุมรัฐสภานัดแรก ส่วนจะเสร็จสมบูรณ์ 100% สามารถเข้าไปอยู่ใช้ได้ในทุกพื้นที่คงเป็นช่วงปี 2563

https://mgronline.com/politics/detail/9610000095654
See less See more
“เลขาฯสภา” โต้ “ศรีสุวรรณ” เผยซื้อไม้สักถูกต้อง ยันสภาใหม่ เปลี่ยนวัสดุไม่ได้

30 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 20:15 น.


“เลขาฯสภา” โต้ “ศรีสุวรรณ” เผย ชิโน-ไทย ซื้อไม้สักถูกต้อง ยันสภาใหม่ เปลี่ยนวัสดุไม่ได้ เพราะออกแบบมาเพื่อความเป็นไทย


เมื่อวันที่ 30 ก.ย.นายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ออกมาเรียกร้องให้หัวหน้าคสช.ใช้อำนาจพิเศษในการปกป้องต้นไม้สักที่กำลังโดนโค่น เพื่อนำมาก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ว่า เข้าใจว่า บริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ได้ซื้อไม้สักไว้หมดแล้ว โดยซื้อจาก องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.)ซึ่งต้นไม้ที่ก็ต้องนำมาผ่านกระบวนการ ทั้งเอามาแช่น้ำ ตากแดด ซึ่งไม้สักบางอย่างก็ต้องเหลา ซึ่งทราบว่าเอามาไว้ที่ที่รัฐสภาใหม่ เกียกกายแล้ว


เมื่อถามว่า นายศรีสุวรรณ อ้างว่าเป็นการทำลายป่าใหม่ และต้องการให้ใช้วัสดุอื่นแทน นายสรศักดิ์ กล่าวว่า อ.อ.ป.มีหน้าที่ในการปลูกต้นไม้และจำหน่วย ซึ่งเป็นไม้เศรษฐกิจของประเทศ และไม้สักดังกล่าว ทางบริษัทชิโน-ไทย ก็ซื้อมาอย่างถูกต้อง โดยราคารวมอยู่ในค่าก่อสร้างหมดแล้ว และถ้าบอกว่าให้ใช้วัสดุอื่นแทนไม้สักคงไม่ได้ เพราะแบบก่อสร้างออกมาเพื่อให้เห็นและบ่งบอกถึงความเป็นไทย และเห็นถึงวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชาติ

https://www.thaipost.net/main/detail/18742
See less See more
เป็นรัฐสภาที่ดูธรรมดามากเลยของเยอรมัน
ผมชอบมากเลยนะ มันดูธรรมดา เหมือนออฟฟิศทั่วๆไปที่นึง เป็นการเเสดงให้เห็นหลักคิดเบื้องหลังของสถานะนักการเมืองบ้านเค้า ว่านักการเมืองที่มาทำงานก็เป็นเสมือนประชาชนคนธรรมดาทั่วๆไป ไม่ได้มีความพิเศษไปกว่าคนอื่นๆ ทั้งยังมีหน้าที่ที่หนักกว่าคนทั่วไป ที่จะต้องจัดการบริหารทั้งประเทศให้สามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้ มีภาระที่หนักกว่าคนอื่นในหลายๆอย่างที่จะต้องจัดการเพื่อความเป็นอยู่ของพลเมืองในประเทศ

สถานที่ทำงานของนักการเมือง มันควรจะให้ความรู้สึกว่าเหมือนการใช้ชีวิตของประชาชนทั่วๆไป จะได้ไม่ลืมตัวว่าเข้ามาทำงานอะไร ถ้าสถานที่มันดีมากไป มันจะลืมตัวเอาง่ายๆ สบายเกินไปก็จะลืมความลำบากที่คนทั่วไปยังต่อประสบในชีวิตประจำวันอยู่ มันก็จะไม่กระตือรือร้นที่จะเเก้ไขอะไร เพราะถือว่าตัวเองนั้นสบายเเล้ว ระดับความสนใจเเละความเข้าใจในปัญหาต่างๆก็จะมีความบกพร่อง เพราะปัญหาไม่เคยต้องมาถึงตัว มีเเต่คนยกมือไหว้ ประจบนอบน้อม จะไปไหนก็มีคนอำนวยความสะดวกสบายไปซะทุกอย่าง มันจะรู้ได้ยังไงว่าคนทั่วไปเจอปัญหาอะไรบ้าง
See less See more
  • Like
Reactions: 2
ตัดสัก 5 พันต้น สร้าง รัฐสภาใหม่ ใช้เป็นเสาประดับอาคาร ‘อ.อ.ป’ แจง เป็นไปตามกฎหมาย

วันที่ 1 ตุลาคม 2561 - 19:15 น.

อ.อ.ป.ตัดไม้สักสร้างสภาใหม่ เตรียมส่งล็อตแรก 200 ท่อนภายในสัปดาห์นี้ ที่เหลือภายในสิ้นปี ระบุเป็นไม้เศรษฐกิจ ทำทุกขั้นตอนอย่างถูกกฎหมาย เผยเป็นภารกิจในการส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจเพื่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
รัฐสภาใหม่ – กรณีรัฐสภามีโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บริเวณเกียกกาย ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยรัฐสภาว่าจ้างบริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบแปลน ที่กลุ่มกิจการร่วมค้า สงบ 1051 เป็นผู้ชนะการออกแบบ

โดยให้มีเสาไม้ประดับอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ทั้งภายในและภายนอกอาคารตามแบบสัญญาจ้าง และตามแบบสถาปัตยกรรมที่กำหนดว่า ต้องใช้ไม้สักเหลากลม ไม่คดงอ ไม่มีกระพี้ ไม่มีตาไม้ ที่ทำให้เสียความแข็งแรงและสวยงาม เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว ยาว 5 เมตร จำนวน 4,534 ต้น จะต้องใช้ไม้สักที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 30-40 ปีขึ้นไป นั้น

วันที่ 1 ต.ค. นายสุกิจ จันทร์ทอง รองผอ.องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ปัจจุบันอ.อ.ป. ดูแลป่าเศรษฐกิจประมาณ 1,200,000 ไร่ทั่วประเทศ เป็นป่าไม้สัก 245 แห่ง รวมกว่า 600,000 ไร่ มีป่าสักจำนวน 40-50 ล้านต้น โดยอ.อ.ป.ได้เริ่มปลูกไม้สักมาตั้งแต่ปี 2510 ไม้สักที่มีอยู่ส่วนใหญ่จึงเป็นไม้ต้นใหญ่อายุหลายสิบปี

โดยทุกปีอ.อ.ป.จะตัดจำหน่ายไม้สักส่งภายในประเทศประมาณ 6 – 7 หมื่นลูกบาศ์กเมตรต่อปี หรือประมาณ 5 – 6 แสนต้นต่อปี แต่จะมีการปลูกเพิ่มทดแทนปีละประมาณ 9 แสนต้นต่อปี ซึ่งเป็นภารกิจหน้าที่ของอ.อ.ป. ในการส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจเพื่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยปกติอยู่แล้ว


นายสุกิจ กล่าวต่อว่า ส่วนบริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับเหมาก่อสร้างอาคารสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ก็เป็นลูกค้ารายหนึ่งของอ.อ.ป. ซึ่งมาทำสัญญาซื้อขายไม้สักรวม 1,000 ท่อน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว ความยาว 5 เมตร

โดยเหลาเป็นท่อนกลม ซึ่งเราทำตามแบบโครงสร้างเสากลมของรัฐสภาที่ว่าจ้างไว้ เมื่อตัดท่อนคัดแยกตามแบบแล้ว ส่วนที่เหลือของต้นนั้นๆ จะนำไปขายตามปกติ คือ เราใช้ทุกส่วนของต้นไม้อย่างเป็นประโยชน์ ไม่มีการทิ้งขว้างแต่อย่างใด ส่วนราคาซื้อขายไม่อยากเปิดเผย แต่เป็นราคาตลาดไม้ตามปกติ และมีค่าดำเนินการต่างๆ ค่าเหลากลมเพิ่มไปด้วย

รองผอ.อ.อ.ป. กล่าวว่า ส่วนไม้สักที่ซื้อขายกันนั้นยืนยันว่า เป็นไม้สักจากสวนป่าเศรษฐกิจทางภาคเหนือ และถูกต้องตามกฎหมายทุกขั้นตอน มีการทำทะเบียนก่อนตัด และหลังตัด แหล่งที่มาของสวนป่าอย่างละเอียด ซึ่งการตัดไม้สักไปนั้นอ.อ.ป.ได้ปลูกไม้ทดแทนอย่างสม่ำเสมอ และดำเนินการตามภารกิจในการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ เพื่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างเคร่งครัด

ดังนั้นไม้สักที่อ.อ.ป.ส่งมอบให้บริษัท ชิโน-ไทย จึงไม่มีการสวมไม้จากธรรมชาติอย่างแน่นอน โดยภายในสัปดาห์นี้ บริษัท ชิโน-ไทย จะมารับไม้สักล็อตแรกเองที่จ.ลำปาง จำนวน 200 ท่อน ส่วนที่เหลืออีก 800 ท่อนจะทำการส่งมอบให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้

https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_1629312
See less See more
น่ากลัวมาก
3
งานส่วนเครื่องยอดอาคารรัฐสภาแห่งใหม่







Cr.S.Boonmeerit Engineering Co.,Ltd.
See less See more
  • Like
Reactions: 2
เจ้าสัว"เจริญ"ชนะประมูลที่ดิน'AQ'ทั้งแปลง 4,300 ไร่ วงเงิน 8,914 ล้านบาท จับตา'กรุงไทย'รับชำระหนี้ก้อนโต

เผยแพร่: 17 ต.ค. 2561 19:05 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

https://mgronline.com/stockmarket/detail/9610000103988
ข่าวล่าสุด ที่ดินเอกชน ที่เสนอให้รัฐบาลฟรี

แลกกับสร้างอาคารรัฐสภา ยุคหลังปี 2541 ผ่านสองรัฐบาล ชวน ทักษิณ
September - October 2018 Progress:






มองจากทางด่วนไปทิศตะวันตก เจอตึกคอนกรีตสีขาว ไม่รู้หน่วยงานไหนบังหมด

ไม่ทราบว่า กทม ตัดถนนผัง รอบอาคารรึยัง หรือยังไม่ได้ทำเลย ?​
เร่งเวนคืนเกียกกาย-ถนนนิมิตใหม่

นายศักดิ์ชัยกล่าวว่า นอกจากนี้ ในปี 2562 กทม.ยังได้งบฯเวนคืนที่ดินโครงการที่ล่าช้า เช่น สะพานเกียกกาย วงเงิน 1,300 ล้านบาท ล่าสุด ได้ข้อสรุปแบบก่อสร้างช่วงรัฐสภาใหม่ จะไม่สร้างทางขึ้นลงบริเวณดังกล่าว เพื่อเลี่ยงการใช้พื้นที่ของรัฐสภา ส่วนค่าก่อสร้างจะของบฯในปี 2563

รูปแบบก่อสร้างเป็นสะพานยกระดับและถนนต่อเชื่อมยกระดับ 4-6 ช่องจราจร เชื่อมการเดินทาง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีจุดเริ่มต้นอยู่ถนนคู่ขนานทางรถไฟสายใต้ ผ่านโครงการบ้านฉัตรเพชร บ้านบางส่วนในชุมชนสงวนทรัพย์ ซอยจรัญฯ 93/1 ร้านอาหารหัวปลาช่องนนทรี และร้านอาหาร Pier 92 แล้วข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านวัดแก้วฟ้าจุฬามณี รัฐสภาแห่งใหม่ จากนั้นผ่านแยกเกียกกาย เมื่อถึงแยกสะพานแดง แล้วเลี้ยวซ้ายใช้ถนนเลียบทางรถไฟสายเหนือฝั่งตะวันตก หรือถนนกำแพงเพชร 6 แล้วผ่านแยกสะพานดำ ถนนกำแพงเพชร ถนนพหลโยธิน สิ้นสุดบริเวณหมอชิตเก่าที่สวนจตุจักร ระยะทาง 5.9 กม. มีสะพานข้ามแม่น้ำ 1 แห่ง และทางขึ้นลง 9 แห่งและจะเร่งเวนคืนที่ดินตัดถนนรัตนโกสินทร์สมโภช-นิมิตใหม่ จำนวน 500 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 300 ราย มีค่าเวนคืน 2,500 ล้านบาท ส่วนค่าก่อสร้าง 1,800 ล้านบาท จะของบฯปี 2563 เป็นถนนตัดใหม่ 6 ช่องจราจร พร้อมทางต่างระดับช่วงต่อเชื่อมถนนวงแหวนรอบนอก เมื่อก่อสร้างเสร็จจะเป็นโครงข่ายถนนสายหลักในแนวตะวันออก-ตะวันตก เพิ่มทางเลือกการเดินทางและแก้ปัญหาจราจรพื้นที่ปิดล้อมเขตบางเขน คลองสามวา และหนองจอก

1/12/2561 https://www.prachachat.net/property/news-258724
See less See more
กำลังจะกลายเป็นสภาเร่ร่อนไปซะแล้ว
ปิดตำนาน 44 ปีรัฐสภาอู่ทองใน สนช.นัดบิ๊กคลีนนิ่ง 26 ธ.ค.นี้

ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 5 December 2018 - 15:25 น.

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 ในฐานะประธานคณะทำงานเพื่อจัดหาสถานที่เพื่อใช้การประชุมของสมาชิกสนช. แห่งใหม่ เปิดเผยว่า วันที่ 11 ธันวาคม ตนจะลงพื้นที่เพื่อดูสถานที่ตามที่มีผู้เสนอเป็นสถานที่ประชุมของสมาชิกชั่วคราว 6 เดือน ระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน 2562 เบื้องต้นมี 5 ตัวเลือกคือ 1.ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ 2.หอประชุมใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 3.ห้องประชุมทีโอที ถนนแจ้งวัฒนะ 4.ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และ 5.ห้องประชุมกองทัพภาคที่ 1 โดยจะพิจารณาและเลือกใช้เป็นสถานที่ประชุมจากสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งสถานที่จอดรถ ห้องอาหาร ห้องพักของบุคคลที่รอเข้าชี้แจงในที่ประชุม ระบบการลงมติวาระการพิจารณา และค่าเช่า ทั้งนี้หลังจากที่ดูพื้นที่แล้ว จะกลับมาหารือกับคณะกรรมการ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และเลขาธิการวุฒิสภาต่อไป คาดว่าจะได้ข้อสรุปในวันที 13 ธันวาคมนี้ว่าจะใช้สถานที่แห่งไหนเป็นที่ประชุม

นายสุรชัย กล่าวด้วยว่า สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ย่านเกียกกายนั้น ตนรับทราบเบื้องต้นผ่านทางนายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ว่าจะแล้วเสร็จช่วงเดือนมิถุนายน 2562 ดังนั้น ตนต้องหาสถานที่เพื่อรองรับการประชุมในเรื่องดังกล่าวตั้งแต่สิ้นเดือนธันวาคม 2561 เป็นต้นไป ส่วนข้อสงสัยว่า อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ จะแล้วเสร็จรับรองสมาชิกรัฐสภาโหวตเลือกนายกฯ ภายหลังเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์ 2562 หรือไม่นั้น ตนคาดว่าทัน เพราะหลังเลือกตั้ง จะมีเวลาการรับรองผลของกกต.ไม่เกิน 2 เดือน ก่อนเปิดประชุมสภาลงมติเลือกนายกฯ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลต่อไป ส่วนการก่อสร้างจะแล้วเสร็จตามคาดการณ์กลางปี 2562 หรือไม่ ตนไม่ทราบเพราะไม่ได้ดูแลโดยตรง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมเพื่อหาสถานที่เพื่อเตรียมรับรองการประชุมสนช. นั้น เป็นไปได้ว่าจะเลือกใช้ห้องประชุมทีโอที ถนนแจ้งวัฒนะ เนื่องจากมีความพร้อมมากที่สุด ซึ่งสามารถรองรับสมาชิกที่เข้าประชุมได้กว่า 500 ที่นั่ง แต่ต้องพิจารณาเงื่อนไขอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ ค่าเช่าพื้นที่ที่เบื้องต้น มีค่าเช่าวันละ 8 หมื่นบาท แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลาคือ ช่วงเช้า 08.00 – 12.00 น. และ ช่วงบ่าย 12.00 – 16.00 น. แต่สนช. อาจจะใช้เวลาประชุมช่วง 10.00 – 17.00 น. จึงอาจขอต่อราคาเช่าห้องประชุมให้เหลือเพียงวันละ 6หมื่นบาท ทั้งนี้สัญญาเช่ามีระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม2562 ซึ่งจะรวมถึงการจัดประชุมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หลังการเลือกตั้งด้วย สำหรับกองทัพภาคที่ 1 ซึ่งก่อนหน้านี้ สนช. เตรียมจะขอใช้สถานที่ โดยไม่มีค่าเช่านั้น แต่ในการหารือ มีข้อท้วงติงถึงความสง่างาม ที่อาจถูกสังคมวิจารณ์ได้ว่าประชุมกันในค่ายทหาร ทำให้ สนช. จึงอาจใช้เป็นตัวเลือกสุดท้ายของการหาพื้นที่

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ทั้งนี้ทางกลุ่มไลน์ สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา แจ้งว่า ในวันที่ 26 ธันวาคม ที่ถนนหน้าอาคารรัฐสภา 1 จะมีการจัดกิจกรรม “Big Cleaningสภาครั้งใหญ่” โดยจะเชิญสมาชิก สนช. บุคลากรของ 2 สำนักงานฯ ผู้ติดตาม ผู้ปฏิบัติงานในวงงาน รวมถึงสื่อมวลชน ร่วมกิจกรรม เพื่อเป็นการรวมพลังคนสภาทุกกลุ่มเป็นครั้งประวัติศาสตร์และเป็นครั้งสุดท้ายของสภาแห่งนี้ก่อนส่งมอบให้สำนักพระราชวังในปี 2562 โดยมี นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือ ครูหยุย ซึ่งได้รับมอบหมายจาก นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ให้เป็นประธานฯจัดงานกิจกรรมเพื่อเป็นการรำลึกความหลังและเพื่อเป็นการส่งท้ายอาคารรัฐสภาอู่ทองใน

สำหรับอาคารรัฐสภาอู่ทองในนั้น เปิดใช้ทำการครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยาคม 2517 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 รวมระยะเวลารับใช้สมาชิกรัฐสภา ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและแต่งตั้งทั้งสิ้น 44 ปี

ที่มา: https://www.prachachat.net/politics/news-260706
สนช.เล็งเช่าตึกทีโอทีเป็นที่ประชุมชั่วคราว ขอต่อเหลือวันละ 6 หมื่น ยาว 1 ปี

เผยแพร่: 5 ธ.ค. 2561 11:45 ปรับปรุง: 5 ธ.ค. 2561 11:52 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

รอง ปธ.สนช. เผย เคาะที่ประชุมชั่วคราว สนช. 13 ธ.ค. เล็งเช่าตึกทีโอที เป็นที่ประชุมชั่วคราว ขอต่อราคาวันละ 6 หมื่น ยาว 1 ปี

วันนี้ (5 ธ.ค.) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 กล่าวถึงการทำงานของคณะกรรมการจัดหาสถานที่ประชุมชั่วคราวของ สนช. ว่า คณะกรรมการจะลงพื้นที่สำรวจสถานที่ในวันที่ 11 ธ.ค. และเก็บข้อมูลห้องประชุมแต่ละแห่งที่มีการเสนอมา คือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ถ.แจ้งวัฒนะ, ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, องค์การสหประชาติ (UN), กองทัพภาคที่ 1, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งการพิจารณจะดูที่ปริมาณความจุในห้องประชุม เพื่อรองรับสมาชิก สนช. ในปัจจุบัน จะต้องมีห้องให้ผู้ชี้แจงพักคอย รวมถึงห้องอาหารของสมาชิกฯ ที่จะต้องไม่ห่างไกลจากห้องประชุม และที่สำคัญ ต้องดูราคาค่าเช่าพื้นที่ด้วย คาดว่า จะได้ข้อยุติในวันที่ 13 ธ.ค.

ส่วนห้องประชุมสำหรับสภาผู้แทนราษฎร และ สมาชิกวุฒิสภา ชุดใหม่นั้น นายสุรชัย กล่าวว่า เท่าที่ได้รับรายงานจากผู้รับผิดชอบในการดำเนินการก่อสร้าง ก็ยังยืนยันว่า จะสามารถทำให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2562 แต่จะเสร็จตามกำหนดหรือไม่ตนไม่สามารถยืนยันได้ เพราะเป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบ

ทั้งนี้ มีรายงานว่า คณะกรรมการให้ความสนใจห้องประชุมทีโอที เพราะมีความพร้อมด้านการประชุมมากที่สุด สามารถรองรับสมาชิกที่เข้าประชุมได้กว่า 500 ที่นั่ง แต่ต้องพิจารณาเงื่อนไขอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ ค่าเช่าพื้นที่ที่เบื้องต้น มีค่าเช่าวันละ 8 หมื่นบาท แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้า 08.00-12.00 น. และ ช่วงบ่าย 12.00-16.00 น. แต่ สนช. อาจจะใช้เวลาประชุมช่วง 10.00-17.00 น. จึงอาจขอต่อราคาเช่าห้องประชุมให้เหลือเพียงวันละ 6 หมื่นบาท ทั้งนี้ สัญญาเช่ามีระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 ซึ่งจะรวมถึงการจัดประชุมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หลังการเลือกตั้งด้วย

https://mgronline.com/politics/detail/9610000121035
See less See more
รัฐสภากับทำเนียบจะย้ายไปอยู่รวมกันหรือเปล่าครับ หรือว่าทำเนียบยังคงเป็นตึกสันติไมตรีเหมือนเดิม
รัฐสภากับทำเนียบจะย้ายไปอยู่รวมกันหรือเปล่าครับ หรือว่าทำเนียบยังคงเป็นตึกสันติไมตรีเหมือนเดิม
ทำเนียบรัฐบาลยังอยู่ที่เดิมครับ
1781 - 1800 of 2066 Posts
This is an older thread, you may not receive a response, and could be reviving an old thread. Please consider creating a new thread.
Top