SkyscraperCity Forum banner

Chao Phraya Canal 2

2865 Views 9 Replies 1 Participant Last post by  napoleon


ในรอบ 20 ปี นับจากปี 2541

ข่าวขุดแม่น้ำเจ้าพระยา 2 โผล่ครั้งแรกปี 2545 ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

ผมจำเดือนไม่ได้ ใครสนใจก็ลองไปค้นดู
See less See more
1 - 10 of 10 Posts
.....
.....
คลองเจ้าพระยา 2

วันนี้ผมต้องขอบคุณเจ้าของนามแฝง “ผู้หวังดีต่อประเทศไทยอย่างสุดซึ้ง” และคุณนงค์ พาหาสิงห์ จาก อ.หนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ที่กรุณาถ่ายเอกสารข้อเขียนของผมใน นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันเสาร์ที่ 28 กันยายน เมื่อปี พ.ศ.2545 ซึ่งผมเขียนเสนอให้รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร “ขุดคลองเจ้าพระยา 2” เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ และจังหวัดรอบๆอย่างถาวร

ปี 2545 ก็เกิดน้ำท่วมใหญ่ในภาคกลางตอนล่างเหมือนปีนี้ ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำสูงถึง 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

พอน้ำท่วมผ่านไปแล้ว ทุกอย่างก็เงียบหายไปกับสายลม ปีที่แล้วมีข่าวเมกะโปรเจกต์ 2 แสนกว่าล้าน พัฒนาแหล่งน้ำ แต่ก็ไม่มีเรื่องนี้ ที่ต้องทำเป็นเมกะโปรเจกต์ก็เพื่อให้ “ผู้รับเหมา”ได้รับเหมาไปเพียงเจ้าเดียวเต็มๆ

โครงการขุด “คลองเจ้าพระยา 2” ที่ผมเสนอไปเมื่อ 4 ปีก่อนนั้น ไม่ใช่โครงการฝันกลางวันหรือนั่งเทียนเขียนขึ้นมาเอง แต่เป็นโครงการที่ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ว่าจ้างให้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ศึกษาเรื่องนี้

วัตถุประสงค์ก็เพื่อหาช่องทางที่จะสร้าง Flood Way “ผันน้ำหลาก” ตั้งแต่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้ไหลลงสู่อ่าวไทยโดยตรง เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในภาคกลางตอนล่าง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และกรุงเทพฯ อย่างที่ประชาชนใน 3 จังหวัดประสบในวันนั้นและวันนี้

การศึกษาโครงการนี้มีการทำวิจัยค่อนข้างละเอียด โดยกำหนดให้ตัว “คลองเจ้าพระยา 2” มีความกว้าง 400-500 เมตร มีความยาว 100 กิโลเมตร โดยเริ่มจากฝั่งตะวันออกของอำเภอบางไทร ผ่านบางไทร วังน้อย ธัญบุรี รังสิตคลอง 13-14 ไปลงที่ คลองไชยานุชิต แล้วไหลไปออกที่ คลองด่าน ลงสู่ อ่าวไทย

มูลค่าโครงการ 100,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้น 1-5 ปี ระยะยาว 5-10 ปี

คลองเจ้าพระยา 2 นี้ ระยะแรกจะระบายน้ำได้ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีแล้วค่อยๆเพิ่มปริมาณการรับน้ำขึ้นไปเรื่อยๆจนถึง 1,900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

ถ้าเริ่มขุดตั้งแต่ตอนนั้น วันนี้ก็มีคลองเจ้าพระยาที่จะรับน้ำเหนือหลากได้แล้ว ไม่ต้องท่วมถึงคอ ทรัพย์สินข้าวของเสียหายยับเยินอย่างทุกวันนี้

สิ่งที่ผมชื่นชมในโครงการ “คลองเจ้าพระยา 2” นี้ ไม่ใช่แค่เป็นคลองระบายน้ำเหนือหลากเท่านั้น แต่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาโครงการแบบ “ครบวงจร” เป็นทั้งคลองระบายน้ำหลากในหน้าฝน และเป็นคลองกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง

ที่ผมชอบใจที่สุดก็คือ ข้อเสนอให้สร้าง “มอเตอร์เวย์” ทางด่วนสองสายขนานไปตลอดแนวคลองระยะทาง 100 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมการจราจรและการขนส่งใน 3 จังหวัดที่คลองผ่าน คือ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และสมุทรปราการ

สองข้างคลองก็จะพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนสองฝั่งคลอง

หรือจะสร้างเป็น “เมืองบริวาร” เพื่อรองรับการขยายตัวของกรุงเทพฯ และสามจังหวัด เพื่อระบายความแออัดของเมืองก็ได้

แม้โครงการนี้จะศึกษาเสร็จมา 4 ปีกว่าแล้ว ผมคิดว่ายังไม่ล้าสมัย รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ น่าจะขอผลการศึกษา จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เจ้าของโครงการมาศึกษาเพิ่มเติมอีกครั้ง ถ้าเป็นไปได้ ผมคิดว่ารัฐบาลน่าจะทำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมระยะยาว

คลองเจ้าพระยา 2 นี้ ไม่เพียงคนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และกรุงเทพฯ จะได้ประโยชน์เท่านั้น สนามบินสุวรรณภูมิที่สร้างขวางทางน้ำผ่านก็จะได้ประโยชน์ด้วย

ไทยรัฐ - 1 พฤศจิกายน 2549
See less See more
คมนาคมปิ้งไอเดียสร้างคลองระบายน้ำคู่ขนานถนนวงแหวนรอบนอกรอบที่ 3

วันอังคารที่ 20 กันยายน 2011 เวลา 20:34 น.

“คมนาคม” เร่งสรุปโครงการสร้างถนนวงแหวนรอบนอกรอบที่ 3 มูลค่ากว่าแสนล้านบาท ล่าสุดปิ้งแนวคิดปรับเกาะกลางเป็นคลองช่วยระบายน้ำจากอยุธยาออกสู่ทะเลเพื่อ แก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ภาคกลางตลอดแนว 280 กิโลเมตร สั่งทล.ปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อชงครม.ขออนุมัติในหลักการ

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ร่วมกับกรมทางหลวง (ทล.) ว่าได้ให้ทล.ปรับปรุงแผนโครงการถนนวงแหวนรอบที่ 3 ตามแนวคิดใหม่ซึ่งจะช่วยในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ โดยตลอดแนวเส้นทางที่เริ่มตั้งแต่ จ.พระนครศรีอยุธยาลงมาทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก จนถึงปากอ่าวไทย ระยะทางประมาณ 280 กิโลเมตรนั้นจะปรับพื้นที่เกาะกลางเป็นคลองหรือแม่น้ำ ซึ่งจะช่วยเร่งการระบายน้ำออกสู่ทะเล ร่วมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ได้โดย พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้รายงานแนวคิดดังกล่าวต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งภายใน 2 เดือนนี้ จะสรุปแนวคิดนี้อีกครั้งเพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการก่อนศึกษาในรายละเอียดโครงการต่อไป

ทั้งนี้ จากผลศึกษาเบื้องต้นได้ประเมินค่าลงทุนในส่วนของถนนไว้กว่าแสนล้านบาท และค่าเวนคืนประมาณ 60,000 ล้านบาทหรือประมาณ 150,000-160,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงมากจึงให้ไปศึกษาเพิ่มเติมเพื่อปรับลดเงินลงทุนลงอีก เช่น ค่าเวนคืนเนื่องจากอยู่นอกเขตกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่สีเขียว ส่วนค่าก่อสร้างถนนระดับดินกิโลเมตรละประมาณ 100 ล้านบาทเศษ นอกจากนี้ จะต้องทบทวนรูปแบบโครงสร้างช่วงที่จะออกปากอ่าวไทย ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตรที่กำหนดเป็นสะพานหรือทางยกระดับเพื่อให้น้ำไหลผ่านได้สะดวก

เนื่องจากส่วนนี้ค่าก่อสร้างสูงถึงกิโลเมตรละ 700-800 ล้านบาท หากตัดออกโดยลากแนวไปเชื่อมกับถนนพระราม 2 ด้านตะวันตกและถนนสุขุมวิทด้านตะวันออก ก็จะช่วยลดเงินลงทุนลงได้กว่า 60,000 ล้านบาท ส่วนของคลองส่งน้ำนั้นประเมินว่าตลอดระยะทางจะลงทุนประมาณ 56,000 ล้านบาท (เฉลี่ยกม.ละ 200 ล้านบาท)

นายสุพจน์กล่าวอีกว่า โครงการดังกล่าวจะเป็นการบูรณาการระหว่างกระทรวงคมนาคมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องจากจะต้องหารือกับกรมชลประทานในการกำหนดความกว้าง ความลึก ของคลองส่งน้ำและประตูระบายน้ำเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด และบรรลุเป้าหมายในการลดพื้นที่ภาคกลางที่จะถูกน้ำท่วมได้ตลอดแนว ซึ่งเบื้องต้น คาดว่าคลองดังกล่าวควรจะกว้างประมาณ 200 เมตร ลึก 5-8 เมตร

“งบประมาณการลงทุนค่อนข้างสูง แต่น่าจะปรับลดได้ ซึ่งการทำคลองคู่ขนานไปตลอดแนวคาดว่าจะใช้งบกว่า 5 หมื่นล้านบาทนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับการสูญเสียทางเศรษฐกิจและการเยียวยาผลกระทบจากน้ำท่วมแล้วถือเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า” นายสุพจน์กล่าว

http://www.thanonline.com/index.php...7:-3&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
See less See more
"บรรหาร"ลุยขุด"เจ้าพระยา2" ยาว100ก.ม.แก้น้ำท่วมยั่งยืน

updated: 28 ก.ย. 2554 เวลา 08:19:50 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

กรมชลฯลุยแก้น้ำท่วมถาวร เร่งสร้างคลองระบายน้ำใหม่ 4 โครงการยักษ์ งบฯหมื่นล้านบาท "บรรหาร ศิลปอาชา" ผนึกแผนลงทุนข้ามกระทรวง "คมนาคม-เกษตรฯ" ฟื้นโครงการเจ้าพระยา 2 ทุ่มแสนล้านบาท ขุดคลองลึก 8 เมตร กว้าง 200 เมตร ขนาบถนนตัดใหม่ "วงแหวนรอบที่ 3" ระยะทาง 97 ก.ม. เปิดพื้นที่โซนตะวันออกผันน้ำลงอ่าวไทย เผยมอเตอร์เวย์สายใหม่ตัดผ่าน 7 จังหวัด 22 อำเภอ "บางไทร-ลาดหลุมแก้ว-ลาดกระบัง-บางขุนเทียน-บางพลี-กระทุ่มแบน-สามพราน-ไทรน้อย" กรมทางหลวงเร่งศึกษาปีหน้า คาด 10 ปีสร้างเสร็จ


ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2554 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริแก้ปัญหาน้ำท่วม โดยกรมชลฯจะจัดทำแผนพัฒนาคลองระบายน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งมีอยู่ 4 โครงการ

"แผนงานทั้งหมดจะแก้ปัญหา น้ำท่วมได้อย่างถาวรในพื้นที่ตั้งแต่ภาคกลางตอนล่างลงมา ได้แก่จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และ กทม. ครอบคลุมพื้นที่ฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งนำเสนอรัฐบาลแล้ว จะเริ่มในปี 2555"

ดร.สมเกียรติกล่าวว่า โครงการที่ 1 พื้นที่ฝั่งตะวันออกมีโครงการจะขยายก้นคลองชัยนาท-ป่าสัก ซึ่งเป็นคลองเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีขนาดกว้างขึ้น พร้อมขุดคลองแนวใหม่ขยายเส้นทางต่อจาก ป่าสักเชื่อมกับคลองระพีพัฒน์ ต่อเนื่องมาถึงคลองชายทะเลแล้วลงสู่อ่าวไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพคลองเดิมที่ทำหน้าที่เป็นคลองส่งน้ำให้ระบายน้ำได้มากขึ้น จากเดิม 200 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เป้าหมายเพิ่มเป็น 700 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ลงทุน 10,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี โดยจะขอจัดสรรงบประมาณปี 2555 หากได้รับอนุมัติจะดำเนินการทันที พร้อมออกแบบและก่อสร้างไปด้วย

โครงการที่ 2 ขุดคลองบางไทร-อ่าวไทย หรือเจ้าพระยา 2 ที่กรมเคยมี แนวเส้นทางเดิมไว้แล้ว ส่วนนี้คาดว่าจะร่วมกับกรมทางหลวง สังกัดกระทรวงคมนาคม ที่มีโมเดลจะสร้างถนนวงแหวนรอบที่ 3 พร้อมคลองผันน้ำ ซึ่งอาจจะต้องศึกษาร่วมกัน ระหว่างช่องทางระบายน้ำกับถนนตัดใหม่

ดร.สมเกียรติกล่าวต่อว่า โครงการที่ 3 พื้นที่ฝั่งตะวันตก มีแนวคิดจะก่อสร้างคลองแนวใหม่ พร้อมพื้นที่รับน้ำ (ฟลัดเวย์) ซึ่งเป็นทั้งคลองระบายน้ำและกันพื้นที่บางส่วนสำหรับทำเกษตรกรรม แนวเส้นทางจะขนานกับคลองมะขามเฒ่าอู่ทอง โดยจะช่วยระบายน้ำจากจังหวัดชัยนาทแล้วอ้อมมาตามคลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง สุพรรณบุรี เลาะลงมาจนถึงอ่าวไทย ระยะทางกว่า 200 ก.ม.

"โครงการที่ 4 คือขุดคลองลัดระบายน้ำเพิ่มอีก 1 แห่ง จากแม่น้ำสุพรรณบุรีถึงแม่น้ำท่าจีน เพราะแม่น้ำท่าจีนมีสภาพพื้นที่คดเคี้ยวมาก จึงต้องขุดคลองใหม่มาเสริม เหมือนกับโครงการคลองลัดโพธิ์ ที่ช่วยระบายน้ำได้เร็วขึ้นจากด้านเหนือลงสู่อ่าวไทย จะเริ่มโครงการในปีหน้าเช่นกัน"

.......................................................................

@ ที่มา...แผนลงทุนข้ามกระทรวง

โปรเจ็กต์แสนล้าน ขุดคลอง "เจ้าพระยา 2" ของกรม ชลประทาน สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถูกหยิบมาปัดฝุ่นอีกครั้ง หลังสถานการณ์น้ำท่วมปีนี้หนักหนาสาหัสกว่าทุกปี

การกลับมาคราวนี้ แผนลงทุนถูกบูรณาการรวมเข้าไปกับโครงการก่อสร้าง "ถนนวงแหวนรอบที่ 3" มูลค่ากว่า 1.5 แสนล้านของกรมทางหลวง (ทล.) สังกัดกระทรวงคมนาคม

ล่าสุด ไอเดียนี้ถูกกล่าวถึงเมื่อบ่าย 20 กันยายนที่ผ่านมา ในการประชุมแผนก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ที่มี "สุพจน์ ทรัพย์ล้อม" ปลัดกระทรวงคมนาคม นั่งเป็นประธานหัวโต๊ะ

บรรยากาศในวันนั้นน่าจะโฟกัสเฉพาะเรื่องแผนก่อสร้างมอเตอร์เวย์นำร่อง 5 สาย แต่ "ปลัดสุพจน์" ทะลุกลางปล้อง พูดถึงถนนวงแหวนรอบที่ 3 พ่วงด้วยการก่อสร้าง "คลองผันน้ำ" ขนาบคู่ไปกับถนนเข้าไปด้วย แถมโชว์ ไอเดียผ่านเพาเวอร์พอยต์ ถ่ายทอดออกมาเป็นนโยบายให้ข้าราชการกรมทางหลวงและบริษัทที่ปรึกษาฟัง และกลับไปศึกษาเพิ่มเติม

สร้างความฉงนให้บิ๊กกรมทางหลวงเจ้าของโครงการไม่น้อยว่า "คลองผันน้ำ" สายนี้โผล่มากลางคันได้ยังไง ? เพราะผลศึกษาดั้งเดิม โปรเจ็กต์ถนนวงแหวนรอบที่ 3 เสร็จสิ้นไปตั้งแต่ปี 2552 มีแต่เรื่องงานสร้างถนนที่มีเป้าหมายแก้การจราจรอย่างเดียว

"ปลัดให้กลับไปทบทวนใหม่ ให้นำคลองผันน้ำใส่ร่วมเข้าไปด้วยเพื่อเป็นพื้นที่รับน้ำจากน้ำเหนือจากภาคกลางตอนล่างไหลลงอ่าวไทย แก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่อยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพฯ โดยให้ร่วมกับกรมชลประทาน" แหล่งข่าวจากกรมทางหลวงกล่าวและว่า

ว่ากันว่า ก่อนที่ "ปลัดสุพจน์" จะเรียกประชุมประมาณ 1 สัปดาห์ ได้เข้าหารืออย่างไม่เป็นทางการร่วมกับบิ๊กพรรคชาติไทยพัฒนา "บรรหาร ศิลปอาชา" จนมีการฟันธงว่า โมเดล ขุดคลองแสนล้านนี้น่าจะมาจากฝ่ายการเมืองกำกับอยู่เบื้องหลัง

เพราะกรมชลประทานอยู่ในกำกับของพรรคชาติไทยพัฒนา หากย้อนประวัติโครงการนี้ ทางกรมชลฯ ศึกษาและเก็บใส่ลิ้นชักหลายปีดีดัก แต่ไม่มีใครหยิบขึ้นมาดำเนินการอย่างจริงจัง

ครั้งนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะทั้ง "โอกาส-จังหวะ" ที่บิ๊กพรรคชาติไทยพัฒนาจะพลิกฟื้นโปรเจ็กต์นี้อีกครั้ง ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง 2 กระทรวงใหญ่ "เกษตรฯ-คมนาคม"

แม้ว่า "คมนาคม" จะไม่อยู่ในความดูแลของพรรคชาติไทยพัฒนา แต่บิ๊กคมนาคม "ปลัดสุพจน์" นั้น ความสัมพันธ์กับผู้มากบารมีแห่งสุพรรณบุรีนั้นอยู่ในขั้น...ไม่ธรรมดา แนบแน่นยิ่งกว่าแนบแน่น ตั้งแต่ยังเป็นแค่ข้าราชการธรรมดาของกรมทางหลวง จนนั่งเป็นเบอร์ 1 ของข้าราชประจำทั้งกระทรวง

จึงไม่แปลกที่ "คลองเจ้าพระยา 2" แห่งกรมชลประทานกับมอเตอร์เวย์ "วงแหวนรอบที่ 3"แห่งกรมทางฯ จะกลายเป็นคนละโปรเจ็กต์เดียวกันในวันนี้

https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1317172633
See less See more
รื้อแนวฟลัดเวย์"เจ้าพระยา2"แสนล. กรมชล-ทล.เวนคืน300ม.ลากยาวอยุธยาชนชัยนาท

updated: 15 ก.ค. 2555 เวลา 15:12:03 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

กรมทางหลวงรื้อแนวถนนวงแหวนรอบที่ 3 ใหม่ สอดรับแผนป้องกันน้ำท่วมยั่งยืนรัฐบาลเพื่อไทย ขยายพื้นที่เวนคืนกว้าง 300 เมตร ขีดแนวเส้นทางไกลขึ้นกว่าเดิม ลากจากอยุธยาไปจนถึงใต้แม่น้ำชัยนาท ขุดคลองระบายน้ำหรือฟลัดเวย์กว้าง 180 เมตร พร้อมสร้างถนนขนาด 4 เลน ขนาน 2 ฝั่ง รองรับน้ำจากภาคเหนือ ภาคกลางตอนบนลงสู่อ่าวไทย เผยเฟสแรกเดินหน้าฝั่งตะวันออกก่อน ออกแบบเป็นเจ้าพระยา 2 คู่ขนานไปกับเจ้าพระยา 1


นายชูศักดิ์ เกวี รองอธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในปีงบประมาณ 2556 กรมได้รับจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาล จำนวน 80 ล้านบาท เพื่อศึกษาความเหมาะสมพร้อมออกแบบรายละเอียดเบื้องต้นและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการถนนวงแหวนรอบนอก รอบที่ 3 คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี

เนื่องจากผลการศึกษาเดิมที่กรมศึกษาไว้มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาการจราจรในเขตปริมณฑลของกรุงเทพฯอย่างเดียว เมื่อรัฐบาลมีแนวคิดจะใช้แนวเขตทางเป็นฟลัดเวย์ด้วย จำเป็นจะต้องวิเคราะห์ทิศทางการระบายน้ำและปริมาณน้ำที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและรองรับได้ด้วย รวมทั้งบูรณาการร่วมกับถนนให้สามารถรองรับน้ำเหนือไหลหลากลงสู่ทะเลอ่าวไทย

"รูปแบบใหม่อาจจะต้องมีการขยับแนวใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนของรัฐบาล อยู่ที่ว่ารัฐบาลจะให้รองรับน้ำจากจุดเริ่มต้นพื้นที่ไหน" รองอธิบดีกรมทางหลวงกล่าว

แหล่งข่าวจากกรมทางหลวงกล่าวเพิ่มเติมว่า รูปแบบเดิมที่กรมเคยศึกษาไว้เมื่อปี 2552 รวมระยะทางประมาณ 254 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นวงกลมคล้ายระฆังคว่ำ แนวเส้นทางลากยาวตั้งแต่ฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด รวม 22 อำเภอ

ประกอบด้วย จ.พระนครศรีอยุธยา ผ่าน อ.ลาดบัวหลวง บางไทร บางปะอิน วังน้อย และอุทัย, จ.ปทุมธานี ตัดผ่าน อ.หนองเสือ ลาดหลุมแก้ว ธัญบุรี และลำลูกกา, กรุงเทพฯ ตัดผ่านเขตหนองจอก ลาดกระบัง และบางขุนเทียนจ.สมุทรปราการ ผ่าน อ.บางบ่อ พระสมุทรเจดีย์ อ.เมือง บางเสาธง และบางพลี, จ.สมุทรสาครที่ อ.กระทุ่มแบน และ อ.เมือง, จ.นครปฐม มี อ.สามพรานและพุทธมณฑล และ จ.นนทบุรี ที่ อ.ไทรน้อย

โดยทั้งโครงการใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 154,521 ล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืน 56,331 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 96,363 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษาออกแบบ ควบคุมงาน 1,827 ล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ปลายปีที่แล้วเมื่อครั้งที่ นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ยังนั่งเป็นปลัดกระทรวงคมนาคม มีนโยบายจะให้เริ่มดำเนินการเฟสแรกด้านฝั่งตะวันออก ระยะทางประมาณ 97 กิโลเมตร เงินลงทุนประมาณ 103,983 ล้านบาท แยกเป็น

ค่าก่อสร้างถนนพร้อมคลองผันน้ำ 87,300 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 16,683 ล้านบาท (ทั้งโครงการคาดว่าจะใช้ค่าเวนคืน 63,000 ล้านบาท) มีพื้นที่เวนคืน 6,872 ไร่ เพื่อเป็นคลองระบายน้ำขนาดใหญ่คู่ขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยา ตามแผนคาดว่าใช้เวลาก่อสร้าง 6 ปี

"แนวคิดเดิมจะเป็นรูปแบบมีคลองขนาบอยู่ด้านข้างของถนนที่กรมทางหลวงจะสร้าง ส่วนที่กรมจะจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมใหม่นั้น ยังคงกำหนดแนวเส้นทางให้สร้างด้านฝั่ง

ตะวันออกก่อนเหมือนเดิม แต่ระยะทางอาจจะยาวขึ้นกว่าเดิมที่กำหนดไว้ประมาณ 97 กิโลเมตร เพราะหากรัฐบาลให้รับน้ำจากเขื่อนชัยนาท จำเป็นจะต้องขยับแนวเดิม เท่าที่ดูจุดที่จะเพิ่มเติมเริ่มจากอยุธยาขึ้นไปทางด้านเหนืออีก ความยาวอาจจะถึงประมาณ 200 กิโลเมตร และการเวนคืนที่ดินอาจจะต้องมากขึ้น ซึ่งกรมชลประทานที่จะต้องมาบูรณาการทำงานร่วมกันเสนอให้กรมออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินขนาดเขตทางกว้าง 300 เมตร"

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า นอกจากนี้จะปรับรูปแบบโครงการใหม่ ให้มีคลองระบายน้ำขนาดใหญ่ (ฟลัดเวย์) กว้างประมาณ 180 เมตร อยู่ตรงกลาง สามารถรองรับน้ำได้ 1,000 ลูกบาศก์เมตร และสร้างถนนขนาด 4 ช่องจราจร ขนาบข้างแต่ละฝั่ง เพื่อระบายน้ำจากภาคเหนือ ภาคกลางตอนบนลงสู่ทะเลอ่าวไทย คาดว่าจะใช้เงินก่อสร้างกว่า 1 แสนล้านบาท

https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1342339023
See less See more
เวนคืนแสนไร่เซ่นฟลัดเวย์ 11จว.รอบกทม.-ปริมณฑล

updated: 03 มี.ค. 2556 เวลา 00:20:42 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เปิดแนวเวนคืนสร้างฟลัดเวย์ 1.2 แสนล้าน 2 ทางเลือกเวนคืน 3 หมื่นไร่-1.4 แสนไร่ กบอ.เล็งใช้แนวกรมชลฯ ขุดคลองระบายน้ำ-ถนน 4 เลน ฝั่ง ตอ. 270 กม. ผ่าน 6 จังหวัด "ชัยนาท-สิงห์บุรี-ลพบุรี-สระบุรี-ปทุมฯ-สมุทรปราการ" ใช้แนวคลอง "ชัยนาท-ป่าสัก-ระพีพัฒน์" และขุดคลองใหม่ลงอ่าวไทย ฝั่ง ตต. 300 กม. จากเหนือ นครสวรรค์-ชัยนาท-สุพรรณฯ-นครปฐม-กาญจนบุรี-สมุทรสาคร

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า วันที่ 15 มี.ค. 2556 นี้ กบอ.จะให้บริษัทเอกชน 3 ราย ประกอบด้วย 1.กลุ่มอิตาเลียนไทย 2.เควอเตอร์ และ 3.กิจการร่วมค้าไทย-ญี่ปุ่น ที่ผ่านการพิจารณากรอบแนวคิดพัฒนาโครงการก่อสร้างทางน้ำหลาก (Floodway) หรือทางผันน้ำ (Flood Channel) ทั้งในพื้นที่ฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ขนาดการระบายน้ำไม่น้อยกว่า 1,500 ลูกบาศก์เมตร วงเงินก่อสร้าง 120,000 ล้านบาท ซึ่งล่าสุดทีโออาร์ได้กำหนดรายละเอียดโครงการเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะรายละเอียดเกี่ยวกับพื้นที่ว่าพิจารณาจะใช้แนวเส้นทางไหน และรูปแบบการพัฒนาโครงการจะเป็นแนวฟลัดเวย์หรือทางผันน้ำ เพื่อให้เอกชนออกแบบในรายละเอียดก่อนยื่นประมูลก่อสร้าง

ฝั่งตะวันออกเน้นขยายคลองเดิม

ข้อสรุปเบื้องต้นในส่วนของการกำหนดเส้นทางการระบายน้ำหรือฟลัดเวย์ จะใช้แนวเดิมที่กรมชลประทานที่ศึกษาไว้ (ดูแผนที่) โดยฝั่งตะวันออกมีระยะทางประมาณ 270 กิโลเมตร พาดผ่านพื้นที่ 6 จังหวัด จาก จ.ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี จนถึง จ.สมุทรปราการ

รูปแบบโครงการจะปรับปรุงขยายระบบเดิม คลองชัยนาท-ป่าสัก และคลองระพีพัฒน์ ให้มีขนาดความกว้างประมาณ 200 เมตร ซึ่งจะสามารถระบายน้ำได้มากขึ้น จากปัจจุบัน 210 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เป็น 1,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที

และขุดคลองใหม่ขนาดความกว้าง 200 เมตร ต่อจากคลองระพีพัฒน์ คู่ขนานคลองรังสิต 14, 15 คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต และออกสู่ทะเลอ่าวไทย ช่วงด้านล่างแนวเส้นทางจะอยู่ถัดจากถนนวงแหวนรอบที่ 3 ของกรมทางหลวง (ทล.) ประมาณ 20-30 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 78,263 ล้านบาท

ฝั่งตะวันตกขุดแนวใหม่คลอง-ถนน



ส่วนฝั่งตะวันตก กบอ.กำหนดให้เป็นแนวตัดใหม่ตลอดเส้นทาง มีระยะทางรวมประมาณ 300 กิโลเมตร ปัจจุบันกรมชลประทานกำลังสรุปพื้นที่ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะรับน้ำจากด้านเหนือและช่วงปลายที่ระบายน้ำว่าจะใช้พื้นที่ไหนจึงจะเหมาะสมที่สุดแต่ช่วงพื้นที่กลางน้ำแนวชัดเจนแล้ว โดยจะพาดผ่าน 4 จังหวัด คือ จ.ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม และ จ.สมุทรสาคร

แหล่งข่าวกล่าวว่า โดยช่วงต้นน้ำมี 2 ทางเลือก คือ 1.รับน้ำจากพื้นที่เหนือ จ.นครสวรรค์ขึ้นไป เช่น อ.เก้าเลี้ยว อ.ขาณุวรลักษบุรี อ.บรรพตพิสัย หรือ 2.รับน้ำจากบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ลงมา

ขณะที่พื้นที่ปลายน้ำมี 2 ทางเลือกเช่นเดียวกัน โดย 1.จะระบายลงอ่าวไทย โดยฉีกแนวมาทาง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ผ่านไปยังลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี หรือ 2.ระบายมาทางแม่น้ำแม่กลอง จ.สมุทรสาคร แนวจะตัดตรงผ่าน จ.นครปฐม ไล่ลงมาถึงแม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำท่าจีน

ฝั่งตะวันตกจะมีทั้งคลองขุดใหม่ระบายน้ำหลากขนาดความกว้างประมาณ 300 เมตร และมีถนนขนาด 4 ช่องจราจร ขนาบอยู่ด้านข้างเป็นคันกั้นน้ำ ส่วนการระบายน้ำกำลังดูว่าจะเป็น 500 ลูกบาศก์เมตร 1,000 ลูกบาศก์เมตร หรือ 1,500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที คาดว่าเงินลงทุนก่อสร้างจะสูงกว่าฝั่งตะวันออก เพราะมีทั้งถนนและคลองระบายน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นแนวใหม่ทั้งหมด โดยแนวเดิมที่กรมชลฯศึกษาไว้เบื้องต้น เฉพาะการก่อสร้างคลองระบายน้ำ วงเงินลงทุนอยู่ที่ 40,250 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามเพื่อให้การลงทุนก่อสร้างแนวฟลัดเวย์อยู่ภายใต้กรอบวงเงิน 120,000 ล้านบาท ทาง กบอ.อยู่ระหว่างพิจารณาจะปรับลดการลงทุนสร้างฟลัดเวย์ฝั่งตะวันออกลง แต่ยังคงแนวเดิมที่กรมชลฯศึกษาไว้ ด้วยการลดขนาดการรับน้ำลงจากเดิม 1,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เหลือประมาณ 500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที และอาจจะมีการก่อสร้างถนนขนาบทั้ง 2 ข้างของคลองระบายน้ำด้วย

ปรับเงินลงทุนซุกตะวันออก

สาเหตุที่ปรับขนาดฟลัดเวย์ทางฝั่งตะวันออกของลุ่มน้ำเจ้าพระยาก็เพื่อจะนำวงเงินมาเน้นก่อสร้างโครงการในฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยาแทน เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ฝั่งตะวันออกมีโครงการระบายน้ำ

ที่สมบูรณ์แบบมากกว่าฝั่งตะวันตก จึงต้องเลือกสร้างคลองระบายน้ำในฝั่งตะวันตกให้ระบายได้ 1,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที

"กบอ.มีแนวคิดจะลดการลงทุนฝั่งตะวันออก เพราะหากสร้างเต็มทั้งโครงการอาจจะต้องเวนคืนที่ดินมาก จากผลการศึกษาของกรมชลฯเดิมคาดว่าจะเวนคืนที่ดินร่วม 3-4 หมื่นไร่ อีกทั้งที่ดินยังมีสภาพเป็นดินอ่อน และมีบางช่วงเป็นพื้นที่ลักษณะตกท้องช้าง ทำให้การระบายน้ำลงสู่ทะเลอ่าวไทยทำได้ไม่ค่อยดี ที่สำคัญงบประมาณ 1.2 แสนล้านบาท จะทำทั้ง 2 ฝั่งอาจจะไม่พอ"

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า เม็ดเงินลงทุนจะมากหรือน้อยอยู่กับรูปแบบการก่อสร้างว่า กบอ.จะเลือกแบบแนวฟลัดเวย์ หรือคลองผันน้ำ ถ้าเป็นคลองผันน้ำต้นทุนจะสูงกว่าเพราะต้องขุดคลองใหม่พร้อมถนน 2 ข้างเป็นคันกั้นน้ำ แต่แบบฟลัดเวย์จะสร้างเป็นแค่สร้างกั้นถนนขนาบข้างพื้นที่ที่จะรับน้ำหลาก

เวนคืนที่ดิน 3 หมื่น-1.4 แสนไร่

ขณะเดียวกันเป็นไปได้ที่ กบอ.จะให้ผสมผสานทั้งฟลัดเวย์และคลองผันน้ำ อย่างฝั่งตะวันตกช่วงด้านบนจะเป็นแบบคลองผันน้ำ และด้านล่างเป็นแบบฟลัดเวย์

ส่วนการใช้พื้นที่เวนคืนเพื่อมาก่อสร้างอยู่ที่ขนาดคลองระบายน้ำ หากกว้าง 1 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางกว่า 200-300 กิโลเมตร ใน 1 เส้นทางต้องใช้พื้นที่ไม่น้อยกว่า 1.4 แสนไร่ หากกว้าง 200-500 เมตร ใน 1 เส้นทางต้องไม่น้อยกว่า 3-6 หมื่นไร่

ครม.อนุมัตพิมพ์เขียว กบอ.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่ กบอ.เสนอรายละเอียดการออกแบบ Floodway และ Flood Diversion Channel เพื่อป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจกรุงเทพฯ และพื้นที่ใกล้เคียง โดยระบุว่าทางเลือกที่ดีที่สุดคือผันน้ำ หรือเบี่ยงเส้นทางน้ำโดยจะดำเนินการใน 2 พื้นที่ คือฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้เวลาราว 2 ปีและฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา จะออกแบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพ ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี โดยในการออกแบบจะให้สามารถใช้ประโยชน์ทางคมนาคมได้ด้วย

https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1362241302
See less See more
ปี62น้ำไม่ท่วมอยุธยาแน่! หลังโครงการคลองระบายน้ำ'เจ้าพระยา2'แล้วเสร็จ

14 ก.ค.60 ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน เดินทางมาร่วมประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีนายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรยายสรุปสถานการณ์บริหารจัดการน้ำของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่อำเภอบางบาล เสนา ผักไห่ ได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งท่วมถนนในหมู่บ้านและท่วมที่นาบางส่วน โดยต่อมา นายทองเปลว ทองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ได้เดินทางไปพบกับชาวบ้านที่ประตูระบายน้ำวัดใบบัวหมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 9 ตำบลบ้านทุ่มอำเภอเสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีนายสุชาติ เจริญศรี ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 นายจำนง ธรรมสรณ์ ผู้อำนวยการชลประทานผักไห่ ให้การต้อนรับ

โดยมีเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวมารอพบ และขอคำยืนยันว่าจะไม่มีการปล่อยน้ำเข้าทุ่งในช่วงเดือนนี้ ซึ่งนายทองเปลว รับปากพร้อมเปิดเผยว่า ที่บริเวณประตูระบายน้ำซึ่งมีการสูบน้ำโดยใช้เครื่องสูบน้ำจำนวน 2 ท่อ ระบายน้ำออกจากทุ่ง ใบบัวซึ่งมีพื้นที่เกษตรปลูกข้าวสี่หมื่นไร่โดยระดับน้ำ นอกแนวถนนชลประทานมีความสูงบวก 4 ส่วนหลังประตูระบายน้ำมีความสูงบวกสอง โดยน้ำที่ขัง บริเวณพื้นที่ทำนาเป็นน้ำฝนและน้ำที่ซึมเข้ามาโดยทางชลประทานยืนยันว่า จะไม่มีการระบายน้ำเข้าทุ่งนี้ จนกว่าเกษตรกรจะทำการเก็บเกี่ยวเสร็จ ช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ขณะเดียวกัน มีชาวบ้านได้ร้องขอให้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่ม และเพิ่มเวลาในการสูบน้ำซึ่งทางชลประทานรับปากและจะดำเนินการโดยเร็ว



นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน เดินทางมาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมเรียกหน่วยงานราชการในสังกัดพื้นที่ภาคกลางตอนล่างมาประชุม เพื่อติดตามโครงการคลองระบายน้ำหลาก บางบาล-บางไทร หรือ เจ้าพระยา 2 ซึ่งรัฐบาลและกรมชลประทานเอง มั่นใจจะต้องมีการเดินหน้าสร้างตามแผนที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นคลองระบายน้ำเหนือไหลหลาก จากพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาลงสู่ทะเลให้เร็วที่สุดมั่นใจว่า หากโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร หรือ เจ้าพระยา 2 แล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า น้ำจะไม่ท่วมอยุธยาแน่นอน

นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้แทนฝ่ายปกครองเข้าร่วมประชุม และกล่าวว่า เห็นด้วยกันโครงการนี้ เพราะจะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นได้ และได้ร้องขออธิบดีกรมชลประทาน เห็นใจคนท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ด้วยเพราะมีการเพิ่มตัวเลขปล่อยน้ำในปริมาณมาก แต่มีการแจ้งแบบกระชั้นชิดเกินไป

ภาคเอกชนเสนอกรมชลประทานจัดสร้างคลองระบายน้ำและด้านวิศวกรรม โครงการบายพาสบางบาลบางไทร ต้องคำนึกถึงผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นกับภายขนส่งเห็นด้วยที่โครงการดังกล่าวเพราะจะแก้ปัญหาน้ำท่วมไม่ให้เกิดขึ้นเหมือน ปี 2554

http://m.naewna.com/view/breakingnews/280759
See less See more
กรมชลฯทุ่มงบกว่า 2 ล้านล้านชงแผนแก้น้ำท่วมแล้งทั้งระบบ

เมื่อวันที่ 27 ส.ค.นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน
เปิดเผยว่าได้เร่งเสนอแผนงานแก้ปัญหาน้ำทั้งระบบ โดยกรมชลฯเดินหน้าแผนบูรณาการน้ำ 9
แผนงานป้องกันอุทกภัยลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างทั้งฝั่งตะวันตก-ฝั่งตะวันออก วงเงินกว่า
2 แสนล้านบาท
ที่ผ่านเห็นชอบแล้วจากคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(กนช.)ที่มีนายกรัฐมนตรี
เป็นประธาน เช่น ฝั่งตะวันตก ขุดคลองสายใหม่บางบาล-บางไทร
จะผันน้ำจากช่วงลำน้ำที่แคบที่สุด ก่อนเข้าเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา
จะเป็นทางผันน้ำเลี่ยงเมือง ระยะทางยาว 23 กม. กว้าง 230 เมตร
ดำเนินการปักหลักเขตแนวคลอง อีก6-7 เดือนข้างหน้า เนื้อที่ 3.6 พันไร่

โดยจะขออนุมัติ ครม.เปิดโครงการในกลางเดือนก.ย. เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี
มีการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ เขื่อนพระนครศรีอยุธยา
ทำหน้าที่ทดน้ำมาเข้าคลองบางบาล-บางไทร เพื่อระบายน้ำหลาก ในอัตรา1.2
พันลบ.ม.ต่อวินาที เสริมคันกั้นน้ำเพิ่มแนวถนนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 65 กม.
ทั้งโครงการ 1.7 หมื่นล้านบาท โดยในปี 61 สร้างประตูระบายน้ำคลองบางบาล 2 แห่ง
จะป้องกันน้ำท่วมได้ปีหน้า รวมทั้งได้ปรับการปลูกข้าวให้เร็วขึ้น
เตรียมไว้เป็นแก้มลิงพื้นที่รับน้ำนองอีก 1.5 ล้านไร่
ซึ่งคาดว่าปีนี้จะประสบความสำเร็จตามนโยบายของรมว.เกษตรฯ

นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า แผนน้ำฝั่งตะวันออก ขยายคลองชัยนาท-ป่าสัก
เพิ่มอัตราการระบายน้ำจาก130 ลบ.ม.ต่อวินาที เป็น 930 ลบ.ม.ต่อวินาที
ระยะทางยาว120กม.เริ่มปี61 และ โครงการขุดคลองสายใหม่ ป่าสัก -อ่าวไทย 600
ลบ.ม.ยาว130 กม. ได้ศึกษาอีไอเอแล้วเตรียมยื่นสผ.พิจารณาความเหมาะสม
และโครงการขุดคลองใหม่เป็นฟัดส์ไดเวอร์ชั่น เรียกว่า “คลองเจ้าพระยาสอง”
ขนานวงแหวนขั้นที่3 จากก่อนจุดบรรจบแม่น้ำน้อยกับแม่น้ำเจ้าพระยาลงอ่าวไทย

ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างศึกษาอีไอเอ 1 ปี ส่วนแผนป้องกันอุทกภัยฝั่งตะวันตก
ลุ่มน้ำท่าจีน-แม่กลอง จะขยายแม่น้ำสุพรรณบุรี ช่วงเป็นปัญหาคอขวด
ผ่านอ.เมืองสุพรรณฯ ขุดคลองเลี่ยงเมือง และมีโครงการเชื่อมทั้งระบบ
เพื่อดึงน้ำจากแม่น้ำน้อย คลองเจ้าเจ็ด- บางยี่หน ลงสู่อ่าวไทย
เชื่อมแนวคลองพระยาบรรลือ คลองมหาสวัสดิ์ คลองมหาชัย-สนามชัย

ซึ่งคลองเหล่านี้เป็นคลองแนวขวาง เพื่อลดภาระปริมาณน้ำไปลงแม่น้ำท่าจีน
และเจ้าพระยา นอกจากนี้แผนงานเร่งด่วนเริ่มปี 61 แก้วิฤกติน้ำทะเลรุกล้ำน้ำจืด
บริเวณอ.ดำเนินสะดวก ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม
ที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำช่วงหน้าแล้ง ก็จะใช้น้ำจากแม่กลองมาผลักดันน้ำเค็ม

ซึ่งขณะนี้เหลือน้ำต้นทุนของเขื่อนลุ่มน้ำแม่กลอง 6 พันล้านลบ.ม.
และเตรียมทำคันกันน้ำเค็มตามแนวพระราชดำริ ถนนเอกชัย –พระราม2 ระยะทาง 62 กม.วงเงิน
500 ล้านบาท และสร้างแก้มลิง สนามไชยเขต ต่อเนื่องกับแก้มลิงคลองสุนัขหอน วงเงิน
980 ล้านบาท สร้างประตูระบายน้ำ ปากคลองฝั่งท่าจีน
ทำประตูน้ำช่วงกลางใกล้จุดบรรจบคลอง ขุดลอกช่วงตื้นเขิน
ปรับปรุงระบบชลประทานทั้งหมด ที่สร้างมากว่า50-60 ปี

รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวต่อว่า สำหรับพื้นที่ภาคอีสาน
จะมีการปรับโครงการมาป้องกันอุทกภัย-ภัยแล้ง วงเงิน 1.6 หมื่นล้านบาท
ระยะเร่งด่วนปี 61-62 มี 300 กว่าโครงการ กำหนดพื้นที่เป้าหมาย 9 พื้นที่ ปรับลงมา
8 พื้นที่ ลุ่มน้ำชายขอบแม่โขง ลุ่มน้ำสงคราม ลุ่มน้ำก่ำ ลุ่มน้ำชี
พัฒนาอ่างเก็บโปร่งขุนเพชร แนวทางแก้ปัญหา สร้างเขื่อนลำน้ำชี เขื่อนพระอาจารย์จื่อ

ซึ่งเขื่อนวังสะพุงอยู่ระหว่างการสำรวจออกแบบ ขณะที่ปัญหาเขื่อนลำตะคอง
ที่มีน้ำไม่ถึง30% นั้น ในระยะ10ปีข้างหน้า
จังหวัดเสนอโครงการเจาะอุโมงค์ผันน้ำจากเขื่อนป่าสัก -ลำตะคอง วงเงิน 4 พันล้านบาท
โดยสามารถก่อสร้างได้ปี 63 อุโมงค์เจาะรอดเขาดงพระยาเย็น กว้าง 3 เมตร ยาว 25 กม.
ท่อส่งน้ำ 40 กว่ากม.สูบน้ำยกขึ้น พักที่อ่างหมวกเหล็ก และพัฒนาล้ำน้ำมูล
ลำเชียงไกร วงเงิน 1.6 พันล้านบาท พัฒนาระบบชลประทานท้ายลำตะคอง
ก่อนเข้าตัวเมืองโคราช เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมอ.เมือง
นอกจากนี้ยังได้เสนอแผนแก้น้ำท่วม-แล้ง จ.อุบลราชธานีทั้งระบบ
และเดินหน้าโครงการผันน้ำ โขง- เลย- ชี -มูล ที่มีพื้นที่เกษตร ต้องการน้ำ
33ล้านไร่ วงเงิน 1.8 ล้านๆบาท ระยะยาว 20 ปี โดยจะดำเนินการเฟสแรก 1.69 ล้านไร่
วงเงิน 1.5 แสนล้าน ปลายปี 62 จะเริ่มโครงการ เน้นเติมน้ำ3 เขื่อนลำปาว อุบลรัตน์
ห้วยหลวง.

https://www.dailynews.co.th/politics/594592
See less See more
  • Like
Reactions: 1
1 - 10 of 10 Posts
This is an older thread, you may not receive a response, and could be reviving an old thread. Please consider creating a new thread.
Top