Joined
·
38,022 Posts
เชียงใหม่"เลือกขนส่งBRT ลงทุนเฟสแรก1.4หมื่นล้าน
คนเชียงใหม่เลือกใช้ระบบขนส่งมวลชน BRT ในเขตเมือง คาดลงมือเส้นทางแรกได้ปีหน้า เงินลงทุนระยะแรก 1.4 หมื่นล้าน และระยะต่อเนื่องอีก 1.7 หมื่นล้าน ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 12% ระบุประชาชนห่วงเรื่องความปลอดภัยมากสุด
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานจาก จังหวัดเชียงใหม่ว่า เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 ที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ได้จัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นทั่วไปครั้งที่ 1 เรื่องแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสำหรับเมืองเชียงใหม่ ที่โรงแรมดิเอ็มเพรสเชียงใหม่ ซึ่ง สนข.ได้ว่าจ้างให้สถานบริการวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบเพื่อก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเชียงใหม่ โดยศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของการก่อสร้าง รวมถึงการออกแบบเบื้องต้น กำหนดรูปแบบการดำเนินการและเอกสารจัดจ้างให้นำไปสู่การก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนในอนาคต
ดร.รังสรรค์ อุดมศรี ผู้จัดการโครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบ เพื่อก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเชียงใหม่ กล่าวว่า ในเบื้องต้นผลการสำรวจความเห็นเกี่ยวกับความต้องการระบบขนส่งมวลชนในเมืองเชียงใหม่จำนวน 1,200 ตัวอย่าง พบว่าประชาชนให้ความสำคัญต่อเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก รองลงไปคือเรื่องความตรงเวลา และความสะดวกสบาย โดยเลือกระบบขนส่งมวลชนที่มีเส้นทางครอบคลุมพื้นที่เขตเมืองสูงสุด รองลงไปคือเส้นทางที่ผ่านแหล่งกิจกรรมที่สำคัญต่างๆ
สำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกที่ประชาชนต้องการสูงสุด คือ เรื่องป้ายบอกเวลามาถึงของรถขนส่งมวลชน/แผนที่เดินรถ, สถานีหยุดรถที่แน่นอนตามลำดับ ส่วนตัวรถเน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ตามในด้านผลกระทบประชาชนมีความคำนึงในเรื่องผลกระทบด้านมลพิษเสียงและการสั่นสะเทือน, ทัศนียภาพและภูมิทัศน์ ผลกระทบต่อวิถีชีวิตคนเชียงใหม่ตามลำดับ
"สิ่งที่ประชาชนเลือกระบบขนส่งมวลชนสูงสุดที่ใช้เงินลงทุนเท่ากัน คือ ระบบบนดินถึง 46% รองลงไปคือ ยกระดับ 33% และใต้ดิน 20% ทั้งนี้ในการก่อสร้างมีการระบุด้านสถาปัตยกรรมว่าควรจะเป็นรูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนาผสมผสานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่สูงสุดถึง 53.4%"
ดร.รังสรรค์กล่าวต่อว่า ผลการสำรวจความคิดเห็นสอดคล้องกับผลการศึกษาของแผนแม่บทและออกแบบ ซึ่งวิเคราะห์ในหลายด้านทั้งโครงข่าย ด้านเศรษฐกิจการเงิน-การลงทุน การคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับสภาพของเมืองเชียงใหม่ที่ได้ผลสรุปว่าระบบ BRT เหมาะสมกับเมืองเชียงใหม่มากที่สุด ซึ่งหากผ่านกระบวนการพิจารณาภายในปี 2549 นี้ คาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างเส้นทางแรกได้ภายในปี 2550 โดยใช้เงินลงทุนก่อสร้างทั้งระบบเพื่อรองรับการจราจรภายในระยะเวลา 10 ปี มีกรอบการลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 14,000 ล้านบาท ส่วนระยะที่ 2 ต่อเนื่องจะลงทุนเพิ่มอีก 17,000 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 12%
อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นของระบบ BRT ที่เป็นรูปธรรมจะต้องบูรณาการระบบขนส่งแบบอื่นๆ เข้าไปด้วย เช่น การใช้จักรยาน, การเดิน, การมีจุดจอดแล้วจร (park and ride), การมีสถานีที่เหมาะสมรวมถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติและวัฒนธรรมการเดินทางใหม่ ประการสำคัญคือการจัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นมา ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น รัฐบาลให้การสนับสนุน, ท้องถิ่นเข้ามาบริหาร, หรือให้เอกชนสัมปทาน
สำหรับระบบบีอาร์ที (Bus Rapid Transit : BRT) เป็นระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษที่ผสมผสานข้อดีของระบบรถไฟฟ้า และข้อได้เปรียบของระบบขนส่งทางถนนด้วยลักษณะเด่น คือ รวดเร็ว และตรงเวลา ทางวิ่งเป็นช่องทางพิเศษที่มีแนวกั้นชัดเจนและรถวิ่งผ่านแยกได้โดยไม่ต้องรอสัญญาณไฟ ทำให้ไม่ติดขัดในกระแสการจราจรทั่วไป
Source : Prachachart Turakij : May 20, 2006
คนเชียงใหม่เลือกใช้ระบบขนส่งมวลชน BRT ในเขตเมือง คาดลงมือเส้นทางแรกได้ปีหน้า เงินลงทุนระยะแรก 1.4 หมื่นล้าน และระยะต่อเนื่องอีก 1.7 หมื่นล้าน ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 12% ระบุประชาชนห่วงเรื่องความปลอดภัยมากสุด
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานจาก จังหวัดเชียงใหม่ว่า เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 ที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ได้จัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นทั่วไปครั้งที่ 1 เรื่องแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสำหรับเมืองเชียงใหม่ ที่โรงแรมดิเอ็มเพรสเชียงใหม่ ซึ่ง สนข.ได้ว่าจ้างให้สถานบริการวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบเพื่อก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเชียงใหม่ โดยศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของการก่อสร้าง รวมถึงการออกแบบเบื้องต้น กำหนดรูปแบบการดำเนินการและเอกสารจัดจ้างให้นำไปสู่การก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนในอนาคต
ดร.รังสรรค์ อุดมศรี ผู้จัดการโครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบ เพื่อก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเชียงใหม่ กล่าวว่า ในเบื้องต้นผลการสำรวจความเห็นเกี่ยวกับความต้องการระบบขนส่งมวลชนในเมืองเชียงใหม่จำนวน 1,200 ตัวอย่าง พบว่าประชาชนให้ความสำคัญต่อเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก รองลงไปคือเรื่องความตรงเวลา และความสะดวกสบาย โดยเลือกระบบขนส่งมวลชนที่มีเส้นทางครอบคลุมพื้นที่เขตเมืองสูงสุด รองลงไปคือเส้นทางที่ผ่านแหล่งกิจกรรมที่สำคัญต่างๆ
สำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกที่ประชาชนต้องการสูงสุด คือ เรื่องป้ายบอกเวลามาถึงของรถขนส่งมวลชน/แผนที่เดินรถ, สถานีหยุดรถที่แน่นอนตามลำดับ ส่วนตัวรถเน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ตามในด้านผลกระทบประชาชนมีความคำนึงในเรื่องผลกระทบด้านมลพิษเสียงและการสั่นสะเทือน, ทัศนียภาพและภูมิทัศน์ ผลกระทบต่อวิถีชีวิตคนเชียงใหม่ตามลำดับ
"สิ่งที่ประชาชนเลือกระบบขนส่งมวลชนสูงสุดที่ใช้เงินลงทุนเท่ากัน คือ ระบบบนดินถึง 46% รองลงไปคือ ยกระดับ 33% และใต้ดิน 20% ทั้งนี้ในการก่อสร้างมีการระบุด้านสถาปัตยกรรมว่าควรจะเป็นรูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนาผสมผสานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่สูงสุดถึง 53.4%"
ดร.รังสรรค์กล่าวต่อว่า ผลการสำรวจความคิดเห็นสอดคล้องกับผลการศึกษาของแผนแม่บทและออกแบบ ซึ่งวิเคราะห์ในหลายด้านทั้งโครงข่าย ด้านเศรษฐกิจการเงิน-การลงทุน การคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับสภาพของเมืองเชียงใหม่ที่ได้ผลสรุปว่าระบบ BRT เหมาะสมกับเมืองเชียงใหม่มากที่สุด ซึ่งหากผ่านกระบวนการพิจารณาภายในปี 2549 นี้ คาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างเส้นทางแรกได้ภายในปี 2550 โดยใช้เงินลงทุนก่อสร้างทั้งระบบเพื่อรองรับการจราจรภายในระยะเวลา 10 ปี มีกรอบการลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 14,000 ล้านบาท ส่วนระยะที่ 2 ต่อเนื่องจะลงทุนเพิ่มอีก 17,000 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 12%
อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นของระบบ BRT ที่เป็นรูปธรรมจะต้องบูรณาการระบบขนส่งแบบอื่นๆ เข้าไปด้วย เช่น การใช้จักรยาน, การเดิน, การมีจุดจอดแล้วจร (park and ride), การมีสถานีที่เหมาะสมรวมถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติและวัฒนธรรมการเดินทางใหม่ ประการสำคัญคือการจัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นมา ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น รัฐบาลให้การสนับสนุน, ท้องถิ่นเข้ามาบริหาร, หรือให้เอกชนสัมปทาน
สำหรับระบบบีอาร์ที (Bus Rapid Transit : BRT) เป็นระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษที่ผสมผสานข้อดีของระบบรถไฟฟ้า และข้อได้เปรียบของระบบขนส่งทางถนนด้วยลักษณะเด่น คือ รวดเร็ว และตรงเวลา ทางวิ่งเป็นช่องทางพิเศษที่มีแนวกั้นชัดเจนและรถวิ่งผ่านแยกได้โดยไม่ต้องรอสัญญาณไฟ ทำให้ไม่ติดขัดในกระแสการจราจรทั่วไป
Source : Prachachart Turakij : May 20, 2006