SkyscraperCity Forum banner

Creative Technology University | 20 Storey | Naradhiwas Rajanagarindra

3979 Views 6 Replies 4 Participants Last post by  tk719
Name : Creative Technology University, Rajamangala University of Tecnology Bangkok
Location : Narathiwas Road, Sathorn
Owner : Rajamangala University
Project Description : 20 Storey Building
Construction Start : Q1 2012
1 - 7 of 7 Posts
ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ทุ่มงบกว่า 500 ล้านบาท สร้าง “อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์”
จันทร์ที่ 9 เมษายน 2555 22:29:36 น.



ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ทุ่มงบกว่า 500 ล้านบาท สร้าง “อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์” รองรับ สบร. พร้อมย้าย ทีเค ปาร์ค ทีซีดีซี และเอ็นดีเอ็มไอ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ทุ่มงบสร้างอาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท เพื่อรองรับหลักสูตรใหม่ของสถาบันที่จะมีการปรับปรุง และกำลังร่างหลักสูตรเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์เป็นครั้งแรกในไทย เพิ่มเติมจากหลักสูตรเดิมหวังสร้างบัณฑิตคุณภาพที่แน่นทั้งวิชาการและความคิดสร้างสรรค์ไม่เหมือนใคร พร้อมยกพื้นที่กว่าครึ่งให้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ สบร. ย้ายอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) และสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (NDMI)

นายสาธิต พุทธชัยยงค์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (มทร. กรุงเทพ) กล่าวว่า ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การยกระดับความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยจึงได้ตอบสนองนโยบายดังกล่าว ด้วยการพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ (Creative Technology University) อีกทั้งเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต จึงทำให้มหาวิทยาลัยมีโครงการสร้าง อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ ขึ้นด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท ออกแบบอาคารโดย นายดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิกชื่อดังของไทย มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 25,000 ตารางเมตร จำนวน 20 ชั้น ซึ่งตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัย ด้านถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และคาดว่าอาคารจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2559 นี้

อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษาและการให้บริการความรู้ด้านเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ ตลอดจนเป็นสถานที่ในการระดมความคิดระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ เพื่อเกิดความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์โดยบูรณาการองค์ความรู้เข้าด้วยกันเป็นวิชาใหม่ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือการบริการแบบใหม่ รวมถึงกระบวนการผลิตและกระบวนการทางธุรกิจแบบใหม่ที่จะสามารถเกิดขึ้นจริงในอนาคต

นายสาธิต กล่าวเพิ่มเติมว่า มทร. กรุงเทพ ได้จัดสรรพื้นที่อาคารดังกล่าวให้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ สบร. ประมาณ 12,000 ตารางเมตร เพื่อเป็นสถานที่ทำการและแหล่งบริการความรู้แก่ประชาชน รวมทั้งเป็นที่ตั้งของหน่วยงานภายใน ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) และสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (NDMI)

ด้าน นายปราโมทย์ วิทยาสุข ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า สบร. เป็นองค์กรผู้นำในการพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา โดยกระบวนการเรียนรู้สาธารณะ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานความคิดสร้างสรรค์อยู่แล้ว ซึ่งมีความคล้ายคลึงและเป็นแนวทางเดียวกันกับนโยบายของ มทร. กรุงเทพ ที่กำลังพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ จึงทำให้ สบร. มีความประสงค์ที่จะย้ายสำนักงานเข้ามาทำการที่อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ ของ มทร.กรุงเทพทันทีที่อาคารสร้างเสร็จ ซึ่งตนเชื่อว่าการร่วมมือกันในครั้งนี้ จะสามารถเสริมสร้างและให้ประโยชน์สูงสุดกับประเทศได้ในการพัฒนาเทคโนโลยีและธุรกิจเชิงสร้างสรรค์อย่างแน่นอน
See less See more




สถาปัตยกรรมสร้างไอเดีย

17 พ.ค. 2555


' ดวงฤทธิ์ บุนนาค' สถาปนิกขั้นเทพ ที่มีผลงานการออกแบบติดอันดับ1 ใน 5 ของเอเซีย สร้างผลงานโดดเด่นมากมาย เช่น H1 บูติกมอลล์ ย่านทองหล่อ Costa Lantaรีสอร์ท และล่าสุดคือโครงการ อาคารปฎิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยราชมงคลกรุงเทพ สาทร

อาคารปฎิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ พื้นที่สำหรับนักศึกษา ผู้สนใจที่จะได้เรียนรู้และค้นพบความคิดสร้างสรรค์ ผ่านบรรยากาศ กิจกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นจากศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ( TCDC) สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ ( TK Park) และสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

: ดีไซน์กระตุ้นไอเดีย

"ปกติอาคารราชการมักจะดูน่าเบื่อ แต่เราทำให้เห็นว่าจริงๆ อาคารราชการ ไม่จำเป็นต้องดูน่าเบื่อเสมอไป และสถาปนิกไทยก็มีความสามารถพอที่จะทำให้มันดีได้ภายใต้เงื่อนไขและงบประมาณ งานนี้จึงเป็นตัวอย่าง ที่เปลี่ยนแปลงวิธีคิดของราชการ และวิธีทำงานกับราชการ ”

ในส่วนของพื้นที่อาคาร เป็น 2หมื่นกว่าตารางเมตร จำนวน20ชั้น แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ชั้นล่างเป็นพื้นที่เรียนของมหาวิทยาลัย ส่วนที่สองเป็นพื้นที่ที่เป็น ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบและห้องสมุด ส่วนที่สามเป็นพื้นที่สำนักงานของมหาวิทยาลัย

โดยรูปร่างทางสถาปัตยกรรมของอาคารนี้ ถูกสร้างขึ้น บนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ ในมุมมองของดวงฤทธิ์ คือคำว่า "เป็นไปได้ " เป็นความเป็นไปได้ที่มีพื้นฐานอยู่บนพื้นฐานของความจริงฉะนั้นมัน “ไม่ใช่” เรื่องของความเฟ้อฝัน จินตนาการ “คนเราจะมีความคิดสร้างสรรค์ได้ต้องมองเห็นความเป็นไปได้ก่อน”

สถาปัตยกรรมของอาคารมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท ถูกออกแบบขึ้นโดยท้าทาย ความเป็นไปได้ ทั้งในเรื่องโครงสร้าง และรูปทรงของสถาปัตยกรรม ด้วยการนำเสนอรูปทรงที่มีลักษณะเหมือนมีการแยกตัวออกจากกัน 3 ส่วน จากปกติที่อาคารสูงทั่วไปจะเป็นลักษณะตรง แต่อาคารหลังนี้เหมือนว่ามันถูกดันให้แยกออกจากกันเป็นรูปทรง 3 ก้อน

“ ความเป็นไปได้ที่เราสร้างขึ้นคือ เราสร้างรูปทรงของของอาคารที่มีลักษณะ เหมือน"ไม่มี"สมดุล แต่ในแง่ของโครงสร้างแล้วมี “สมดุล” และแข็งแรงเต็มที่ โดยที่มวลของอาคารทั้ง 3 ก้อนยังอยู่ ในสภาพที่สมดุล และในทางโครงสร้างก็ มีเสถียรภาพสมบูรณ์แบบทุกอย่าง ”

ซึ่งสถาปัตยกรรมนี้เป็นการรวมงานวิศวกรรมเข้าไปในงานสถาปัตยกรรมอย่างสมบูรณ์แบบ มีการคำนึงถึงความประหยัด แต่ยังคงคุณภาพที่ดี โดยความโดดเด่นของอาคารหลังนี้คือตัวอาคารที่ยื่นออกมาถึง

8 เมตร ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า “โพสเทนชั่น” (Post-Tension)คือระบบพื้นอาคารที่ใช้ลวดอัดแรงในการรับน้ำหนักของพื้น มีลักษณะ เป็นพื้นไร้คาน ส่งผลให้โครงสร้างอาคารสมบูรณ์แบบตามการออกแบบของสถาปนิกเป็นไปได้จริง โดยสามารถรักษารูปทรงของสถาปัตยกรรมได้ด้วย

หนุ่มสถาปนิก บอกถึงที่มาของการออกแบบอาคารว่า ต้องการกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจและ สุนทรียภาพเกิดกับผู้ที่เข้ามาใช้บริการ ผ่านอาคาร ที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ ตามโจทย์ของมหาวิทยาลัย ให้มองเห็นความเป็นไปได้ว่า รูปทรงของอาคารไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมเหมือนเดิมอีกต่อไป ถือเป็นความท้าทายที่เขาต้องการให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

“เราพยายามสร้างพื้นที่สถาปัตยกรรมให้มันสามารถจะกำหนดหรือกระตุ้นให้ผู้ที่ใช้เกิดแรงบันดาลใจ หรือแรงกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น นี่คือเหตุผลที่เราเข้าประกวดแบบและได้รับการคัดเลือก ”

ทางเดินนอกกรอบ

กลไกที่สำคัญในแง่สถาบัตยกรรมที่แตกต่างอีกอันหนึ่ง คือเรื่องของความกว้างของบันไดทางเดิน ที่สามารถเชื่อมต่อกันของอาคารค่อนข้างเยอะทั้งในตัวอาคารและนอกอาคาร ซึ่งจะเป็นส่วนที่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยจะมาใช้ โดยมีความเชื่อว่ายิ่งมีพื้นที่ลักษณะนี้มากก็จะเอื้อให้นักศึกษาเกิดการจับกลุ่มกันและเกิดการเชื่อมโยงกันทางความคิดที่แตกต่างกันได้เร็วขึ้น

จุดประสงค์ของทางเดินลักษณะนี้เพื่อทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากขึ้น แทนที่จะเป็นในโรงอาหาร ใต้ถุนตึกเหมือนในอดีต ยิ่งในยุคนี้สำคัญมากเพราะนักศึกษาไม่ค่อยคุยกันแบบเห็นหน้า ตัวต่อตัว แต่จะไปคุยกันผ่านเฟซบุ๊ค

“ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้ เกิดขึ้นจากในห้องเรียน ในห้องเรียนครูจะสอนพื้นฐานความจริงเพื่อให้ เด็กจับกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดกันแล้วก็นำไปคิดต่อ เมื่อสามารถสร้างกลุ่ม และเกิดความเชื่อมโยงขึ้นได้ จะเกิดลักษณะที่เรียกว่า Lateral thinking (คิดด้านข้าง) หรือการคิดนอกกรอบ คิดออกไปนอกทิศทางจากตำรา เด็กคุยกันในเรื่องที่เรียนมา แต่คุยออกไปนอกกรอบที่เรียนทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน และความคิดสร้างสรรค์ ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ”

สิ่งที่เจ้าของโครงการและคนออกแบบอยากให้เกิดในอาคารหลังนี้คือ ผู้ที่มาใช้ นอกจากมีความตื่นเต้นจากสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นแล้ว จะต้องรู้สึกสนุกที่ใช้งานอาคารหลังนี้แล้วเกิดแลกเปลี่ยนพูดคุยกันในเรื่องต่างๆที่อยู่รอบตัวเสมือนเป็นโจทย์ที่มากระตุ้นให้เกิดการคิดตลอดเวลา และสิ่งเหล่านี้จะช่วยนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง วิธีคิดของผู้ที่มาใช้ นักศึกษา และอาจารย์ผู้สอนไปด้วย
See less See more
2
ชอบแถวนั้น บรรยากาศดีมาก
ย้ายจริงเหรอ ไม่นะ
1 - 7 of 7 Posts
This is an older thread, you may not receive a response, and could be reviving an old thread. Please consider creating a new thread.
Top