วัตถุประสงค์และผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะด้วยรถโดยสารด่วนพิเศษ(Bus Rapid Transit,BRT) ต้นแบบในเมืองภูมิภาค เพื่อการการจราจรปลอดภัยอย่างยั่งยืนแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจร ปัญหาจราจรติดขัด ลดปัญหาโลกร้อนและผลกระทบสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน
เพื่อศึกษาและสำรวจด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการออกแบบรายละเอียดและพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะรถโดยสารด่วนพิเศษในเขตเทศบาลขอนแก่น
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาวิจัย
เป็นการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนต้นแบบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนประเภทการเดินทางจากการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและจักรยานยนต์ ที่มีความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุสูง มาเป็นรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ที่มีความปลอดภัยมากกว่า จึงส่งผลให้ลดความเสี่ยงและความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุจราจรตามแนวถนนมิตรภาพ ในเขตผังเมืองรวมจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีความยาวประมาณ 14 กิโลเมตร
ลดความเสี่ยงและความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุจราจรในเขตเมือง
ลดปัญหาการจราจรติดขัด การใช้พลังงานเชื้อเพลิง ปัญหาโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน
ขอบเขตของงาน
พื้นที่ศึกษาจะมุ่งเน้นพื้นที่ในเขตผังเมืองรวมเป็นหลัก และพิจารณาเส้นทางระบบขนส่งมวลชนต้นแบบ (สายสีแดง) ซึ่งเริ่มต้นจากถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2)ตัดกับทางเลี่ยงเมือง ทางด้านทิศเหนือถึงจุดสิ้นสุดที่เป็นจุดตัดระหว่างถนนมิตรภาพกับทางเลี่ยงเมืองทางด้านทิศใต้ รวมระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร
การสำรวจเพื่อจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) ตามแนวเส้นทางจะดำเนินการตามแนวเส้นทาง
ระบบขนส่งมวลชนต้นแบบ (สายสีแดง) และพื้นที่ข้างเคียงในรัศมี 500 เมตร จากสถานีจอดรถตามแนวเส้นทาง (สายสีแดง) และจะพัฒนาเป็นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โดยใช้โปรแกรม ArcView ด้วย
การศึกษาและพัฒนาระบบขนส่งเส้นทางอื่นๆ รวมทั้งโครงข่ายการเดินทางและการเชื่อมต่อ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาเมืองขอนแก่นให้เป็นเมืองน่าอยู่และนำไปสู่การจราจรปลอดภัยอย่างยั่งยืน
ระบบรถโดยสารด่วนพิเศษ(BRT) ต้นแบบ คือ ระบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (Bus Rapid Transit, BRT) ซึ่งมีโครงสร้างแบบระดับดิน มีช่องเดินรถเฉพาะแยกออกมาจากช่องจราจรทั่วไป และมีศูนย์ควบคุม มีระบบควบคุม ที่เหมาะสม เช่น ระบบ Bus Priority เป็นต้น
การจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาค จะประยุกต์ใช้โปรแกรม Micro-simulation ที่เหมาะสมและยอมรับในด้านความน่าเชื่อถือและได้มาตรฐาน
การศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์ (Economic Evaluation) และการเงิน (Financial Evaluation) จะพิจารณาจากดัชนีต่าง ๆ ดังนี้ มูลค่าปัจจุบันสิทธิ (Net Present Value,NPV) อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อเงินทุน (Benefit Cost Ratio , BCR) อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return ,IRR) และระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) รวมทั้งการวิเคราะห์ความอ่อนไหว (Sensitivity Analysis) ด้วย
การศึกษาและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและสภาพปัญหาของโครงการระบบโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ของกรุงเทพฯ เส้นทางจากสถานีช่องนนทรี ถึงสถานีราชพฤกษ์ รวมเป็นระยะทาง 16 กิโลเมตร รวมไปถึงการไปศึกษาดูงานและรับฟังการบรรยายและประเมินผลและการให้บริการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน RSA เพื่อมาเป็นบทเรียนและปรับปรุงดำเนินการระบบรถ BRT ในเขตผังเมืองรวมเมืองขอนแก่น
การศึกษาอัตราการเข้าถึงระบบและการเปลี่ยนมาใช้ระบบรถเมล์ด่วนพิเศษ เมื่อดำเนินการแล้ว ว่ามีการเข้าถึงเพิ่มขึ้นหรือไม่ เป็นสัดส่วนเท่าใด โดยเฉพาะสัดส่วนของผู้ใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยใช้แบบจำลองการเลือกรูปแบบการขนส่ง (Modal Split Model)ในการดำเนินการ
ศึกษาผลของการนำระบบรถขนส่งสาธารณะด่วนพิเศษมาใช้ ว่าจะมีภาพรวมที่ดีขึ้นมากน้อยเพียงใด