SkyscraperCity Forum banner

Khon Kaen Light Rail Transit (Red Line)

117821 Views 295 Replies 75 Participants Last post by  Wisarut
21 - 40 of 296 Posts
รอดูว่าจะกู้เงินยังไง
วันจันทร์ 11 กันยายน 2560

ด้าน นายเข็มชาติ สมใจวงษ์ ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) จ.ขอนแก่น วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท เส้นทางเหนือ-ใต้นั้น มีสัดส่วนเอกชนลงทุน 100% ขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น คาดว่าจะเปิดประมูลและเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ภายในปลายปีนี้

http://www.chaoprayanews.com/2017/09/11/รัฐบาล-เล็งควัก-7หมื่นล้/
See less See more
รถไฟฟ้าขอนแก่นตอกเสาเข็ม ธ.ค.

รถรางขอนแก่นเคาะราคา15 ถึง 25บาท ตลอดสาย เตรียมสร้าง ธ.ค.นี้

จันทร์ที่ 11 กันยายน 2560 เวลา 11.00 น.

นายเข็มชาติ สมใจวงษ์ ประธานหอการค้า จ.ขอนแก่น
เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบา(แอลอาร์ที)
เส้นทางที่ 1 สายเหนือ-ใต้ช่วงบ้านสำราญ-บ้านท่าพระ จ.ขอนแก่น 16 สถานี วงเงิน
15,000 ล้านบาทว่า จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) และเปิดประมูลภายในปลายปีนี้
เริ่มก่อสร้างต้นปี 61 กำหนดแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการปี 63
ส่วนโครงการต่อเนื่องในเส้นทางที่ 2 เชื่อมต่อตะวันออก-ตะวันตกของเมืองขอนแก่น
วงเงิน 15,000 ล้านบาทนั้น จะเริ่มเปิดประมูลปี 63
สำหรับหน่วยงานที่บริหารจัดการเดินรถนั้น จ.ขอนแก่นได้จดทะเบียนก่อตั้งบริษัท
ขอนแก่น ทรานซิทซิสเท็มส์ หรือ เคเคทีเอส (KKTS) ประกอบด้วยผู้ถือหุ้นจาก5 เทศบาล
ซึ่งเป็นเส้นทางที่รถไฟฟ้ารางเบาวิ่งผ่าน ได้แก่ เทศบาลนครขอนแก่นเทศบาลเมืองศิลา
เทศบาลตำบลเมืองเก่า เทศบาลตำบลสำราญ และเทศบาลตำบลท่าพระ

นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) หรือ
CHO ผู้ร่วมก่อตั้งเคเคทีเอส กล่าวว่า โครงการรถไฟรางเบา จ.ขอนแก่น สายเหนือ-ใต้
มีระยะทางรวม 26 กม. วงเงิน15,000 ล้านบาท คาดว่า มข.จะศึกษาแล้วเสร็จ
และเสนอฉบับสมบูรณ์ในวันที่ 2 ต.ค.นี้ เพื่อเปิดประมูลช่วงปลายปีนี้
ก่อนลงนามสัญญาเอกชนภายในเดือนมี.ค. 61และในเดือน ธ.ค.นี้ ทางเทศบาลขอนแก่นจะเชิญ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานทำพิธีตอกเสาเข็มโครงการ

สำหรับค่าโดยสารนั้นเบื้องต้นผลการศึกษาระบุว่า จะมีราคาเริ่มต้นสถานีแรกที่ 15
บาท ไปจนถึงราคา 25บาทตลอดสาย ขณะที่คาดการณ์ปริมาณผู้ใช้ต่อวันอยู่ที่ 60,000
เที่ยวต่อวันส่วนด้านโครงการรถไฟฟ้ารางเบาอีก 4 เส้นทางนั้น จะให้ มข.
ดำเนินการศึกษาและออกแบบโดยเส้นทางที่ 2 เพื่อเชื่อมตะวันออกและตะวันตกของจังหวัด
ซึ่งจะผ่านสนามบินขอนแก่นด้วย วงเงิน 15,000 บาทจะเร่งให้ศึกษาแล้วเสร็จภายในปี
61อย่างไรก็ตาม หลังจากเปิดบริการรถไฟฟ้ารางเบาสายแรกแล้ว
ทางจังหวัดจะใช้รถโดยสารบีอาร์ทีทดลองวิ่งบริการในแนวเส้นทางรถไฟฟ้ารางเบาที่จะก่อสร้างอีกำ
4 สายเพื่อสำรวจความต้องการและเสียงตอบรับ ก่อนดำเนินโครงการต่อไป


https://www.dailynews.co.th/economic/597390
See less See more
  • Like
Reactions: 1
ขอนแก่นประชุม EIA รถไฟฟ้ารางเบา

19 September 2017

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม (สนข.) นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น พร้อมด้วย ดร.กฤษณวรุณ ไชยนิจ ปลัดเทศบาล นายยินชัย อานันทนสกุล ผอ.สำนักการช่าง นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย รองประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น และตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ประชุมคณะกรรมการกำกับการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่น (โครงการระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบา LRT ) ถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยเรื่องที่พิจารณา ได้แก่

-ร่างรายงานการศึกษาความเหมาะสมวิศวกรรม และออกแบบรายละเอียด โครงการระบบขนส่งมวลรถไฟฟ้ารางเบาเส้นทางนำร่อง 1 เส้นทาง สายเหนือ-ใต้ สำราญ-ท่าพระ ระยะทางที่ศึกษา 22.8 กิโลเมตร ร่างแบบรายละเอียด (Detail Design) ของระบบขนส่งสาธารณะเมืองขอนแก่น

-ร่างเอกสารประมาณราคาก่อสร้างและค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเบื้องต้นและร่างเอกสารประกวดราคา ร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment,EIA) รายงานฉบับสมบูรณ์

-แผนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบพื้นที่สถานีหรือจุดจอด Transit Oriented Development (TOD) และพื้นที่ต่อเนื่องในเมืองขอนแก่น รายงานฉบับสมบูรณ์แผนการจัดระบบการจราจรในพื้นที่โดยรอบพื้นที่สถานีหรือจุดจอด (TOD) และพื้นที่ต่อเนื่องในเมืองขอนแก่น และร่างรายงานการศึกษาความเหมาะสมเศรษฐกิจ และการบริหารโครงการ(ฉบับปรับปรุง)

ทั้งนี้ในที่ประชุมได้สรุปผลคือ มติที่ประชุมเห็นชอบตามรายงานที่เสนอ และมีข้อเสนอแนะเพื่อไปปรับรายละเอียดเพิ่มเติมในรายงานฉบับสมบูรณ์ต่อไป หากมีความคืบหน้าประการใด ทางเทศบาลนครขอนแก่นจะรายงานให้ทราบในครั้งต่อไป

http://www.thansettakij.com/content/209728
See less See more
สำหรับโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) จ.ขอนแก่นวงเงิน 15,000 ล้านบาท
โดยเส้นทางเหนือ-ใต้นั้นจะสามารถเปิดประมูลโครงการและเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ภายในปลายปีนี้้
และก่อสร้างต้นปี 61โดยมีกำหนดการแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในปี
63

ขณะที่โครงการต่อเนื่องในเส้นทางที่ 2เชื่อมต่อตะวันออก-ตะวันตกของเมืองขอนแก่น
วงเงิน 15,000ล้านบาทนั้นจะเริ่มเปิดประมูลในปี 63

https://www.dailynews.co.th/economic/604420
See less See more
แห่ซื้อแบบรถไฟฟ้าขอนแก่น20ราย

เอกชนแห่ซื้อแบบลงทุนสร้างรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น 20 ราย คาดปลายเดือน ต.ค.-ต้นเดือน
พ.ย.60 ทราบเอกชนที่ชนะการประมูล เริ่มสร้างต้นปี 61 ให้บริการปี 63

พฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2560 เวลา 13.00 น.

รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)
แจ้งความคืบหน้าโครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่นและผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่นว่า
การศึกษาใกล้เสร็จสมบูรณ์เหลือเพียงให้ที่ปรึกษากลับไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องแนวเส้นทางและสถานีคาดว่าจะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการฯ
ของ สนข.พิจารณาเห็นชอบภายในเดือนพ.ย.นี้ก่อนส่งกระทรวงคมนาคมเดือน ธ.ค. 60
เพื่อเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.) และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)
เห็นชอบต่อไป

ทั้งนี้ภาคเอกชนจ.ขอนแก่นได้ศึกษาแนวเส้นทางควบคู่ไปกับสนข.ด้วยซึ่งตามสิทธิ์แล้วเอกชนสามารถศึกษาร่างเอกสารข้อกำหนดและขอบเขตงาน(ทีโออาร์)และเปิดประมูลโครงการเองได้แต่ยังไม่มีกฎหมายรองรับการก่อสร้างและบริหารจัดการพื้นที่ตลอดแนวก่อสร้างจึงต้องจับตาดูการออกร่างกฎหมายกระจายอำนาจส่วนท้องถิ่นฉบับใหม่ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)า
คาดว่าจะประกาศใช้ช่วงปลายปีนี้โดยเนื้อหากฎหมายใหม่นั้นจะให้อำนาจส่วนปกครองท้องถิ่นอาทิเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดใ
(อบจ.)มีอำนาจบริหารจัดการพื้นที่ภายในจังหวัดเพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะทั้งระบบรางทางบกและทางน้ำป
ซึ่งจะเปิดช่องให้แต่ละจังหวัดสามารถบริหารพื้นที่การก่อสร้างและตอกเสาเข็มโครงการรถไฟรางเบาได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้นโดยไม่ติดข้อกฎหมาย

ด้านนายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์
นายกเทศมนตรีนครขอนแก่นเปิดเผยความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนรางเบา (แทรม)
ต้นแบบในเมืองภูมิภาค ของ จ.ขอนแก่นว่า
หลังเปิดขายทีโออาร์ให้เอกชนยื่นข้อเสนอลงทุนโครงการรถไฟฟ้ารางเบาจ.ขอนแก่น
เส้นทางแนวเหนือ-ใต้ ถนนมิตรภาพช่วงบ้านสำราญ-บ้านท่าพระ ระยะทาง 22.6กม. 16 สถานี
วงเงินลงทุน 15,000 ล้านบาท ปรากฎว่ามีเอกชนสนใจซื้อเอกสาร 20
รายอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะผู้บริหารของบริษัทขอนแก่นทรานซิทซิสเต็ม
(เคเคทีเอส)จำกัด ผู้บริหารโครงการ
โดยผู้สนใจซื้อแบบต้องกลับไปเสนอรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมคาดว่าภายในปลายเดือน
ต.ค.-ต้นเดือน
พ.ย.จะทราบถึงเอกชนที่ยื่นข้อเสนอที่ดีที่สุดและได้รับคัดเลือกเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโครงการ

นายธีระศักดิ์ กล่าวต่อว่าขณะเดียวกันบริษัทฯ
ต้องรอผลการศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการของสนข.ก่อน และจะเข้าพบรมว.มหาดไทย
และรมว.เกษตรและสหกรณ์เพื่อรายงานความคืบหน้าและรูปแบบการดำเนินโครงการอีกทั้งต้องเจรจากรมธนารักษ์จ.ขอนแก่นขอใช้พื้นที่ของศูนย์วิจัยข้าว200ต
ไร่ มาพัฒนาเป็นศูนย์ซ่อมบำรุง
หากทั้งหมดเรียบร้อยเคทีทีเอสจะลงนามบริษัทเอกชนที่ชนะการประมูลได้ภายในสิ้นปีนี้เพื่อเริ่มก่อสร้างต้นปี61ฆ
เปิดให้บริการปี 63

https://www.dailynews.co.th/economic/605092
See less See more
  • Like
Reactions: 3
ยังไม่ชัดเริ่มสร้างรถไฟฟ้าขอนแก่นปีหน้า


สนข.โยนให้ที่ปรึกษาศึกษารถไฟฟ้าให้ชัดระยะทาง ที่ตั้งเดปโป้ จุดจอดและจร
พบข้อมูลผลการศึกษาไม่ตรงกับท้องถิ่น

พฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม 2560 เวลา 10.32 น.


นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น เปิดเผยว่า บริษัท
ขอนแก่นทรานซิทซิสเต็มจำกัด(เคเคทีเอส)
ได้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเพื่อจ้างเป็นที่ปรึกษาอิสระตรวจสอบ
ควบคุมและรับรองระบบขนส่งผู้โดยสารรางเบา ประเภทแทรม และการพัฒนาเมือง
โครงการระบบขนส่งมวลชนรางเบา (แทรม) สายเหนือ–สายใต้ต้นแบบในเมืองภูมิภาค จ.ขอนแก่น
หรือโครงการเคเค-สาม( KK-3)
ที่ใช้แนวก่อสร้างบนถนนมิตรภาพช่วงบ้านสำราญ-บ้านท่าพระ ระยะทาง 12.6กม.
โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา WCE
เป็นผู้ที่ได้รับคัดเลือกลำดับแรกและกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา APMBW Consortium
เป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นลำดับสอง(สำรอง) จากที่มีเอกชนยื่นข้อเสนอ 20 ราย

นายธีระศักดิ์
กล่าวต่อว่าจะเชิญผู้ที่ได้รับการคัดเลือกลำดับแรกมาเปิดซองและต่อรองราคาและเจรจารายละเอียดต่อไป
ขณะเดียวกันบริษัทฯกำลังพิจารณาหาผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการฯ
คาดว่าจะประกาศรายชื่อเอกชนที่ผ่านการคัดเลือกทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ ได้อย่างเร็ว
ช่วง ปลาย ธ.ค.- ต้นม.ค.
61หลังจากนั้นจะพิจารณาหาที่ปรึกษาบริหารจัดการระบบการเดินรถในลำดับต่อไป
ขณะเดียวกันบริษัทฯต้องรอผลการศึกษาของสนข. รวมทั้งเข้าพบรมว.มหาดไทยหรือ มท.1
เพื่อหารือการดำเนินโครงการโดยเฉพาะการขอใช้พื้นที่ของศูนย์วิจัยข้าว 200 ไร่
มาพัฒนาเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงและพื้นที่เชิงพาณิชย์รวมทั้งเข้าพบรมว.เกษตรและสหกรณ์เพื่อขอใช้พื้นที่ของศูนย์วิจัยข้าวท
200 ไร่ภายใน ธ.ค. นี้

โดยวางแผนเริ่มก่อสร้างช่วงไตรมาสแรก ของปี61
แล้วเสร็จและให้บริการได้ในปี 63
ส่วนรูปแบบการลงทุนบริษัทฯจะจ้างเอกชนบริหารการเดินรถ
โดยมีเคเคทีเอสเป็นผู้กำกับดูแลออกนโยบายและบริหารในภาพรวม

รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) แจ้งว่า
ได้มอบหมายมหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.)
ในฐานะที่ปรึกษาโครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่นและผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น
ไปศึกษารายละเอียดโครงการให้ชัดเจน เช่น ระยะทางรถไฟฟ้ารางเบาเส้นทางแนวเหนือใต้
ถนนมิตรภาพ ช่วงบ้านสำราญ-บ้านท่าพระ ที่ สนข. ศึกษามีระยะทาง22.8 กม.
มีศูนย์ซ่อมบำรุง (เดปโป้) ที่สถานีโลตัสเอ็กตร้า เดินรถผ่านหน้า มข.เท่านั้น

ขณะที่โครงการขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าระบบรางเบาจ.ขอนแก่น ทางท้องถิ่นได้ผลักดันภายใต้
บริษัทเคเคทีเอส ด้วยการจัดตั้งบริษัท 5เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลสำราญ
เทศบาลเมืองศิลา เทศบาลนครขอนแก่นเทศบาลตำบลเมืองเก่า และเทศบาลตำบลท่าพระ อ.เมือง
จ.ขอนแก่น จะก่อสร้าง เส้นทางเดียวกันแนวเหนือใต้ถนนมิตรภาพ
ช่วงบ้านสำราญ-บ้านท่าพระ ระยะทางแค่12.6 กม. มีเดปโป้อยู่ที่ศูนย์วิจัยข้าว 200
ไร่ และเดินรถเข้ามข. ด้วย แต่ข้อมูลไม่ตรงกัน

คาดว่าผลการศึกษาจะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการฯประมาณ ม.ค.61
เมื่อเห็นชอบรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์จะเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกร
(คจร.) ให้มอบหมายการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)
ศึกษารูปแบบการลงทุนแบบพีพีพี ใช้เวลาศึกษา1 ปี
ก่อนเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)

คาดว่าก่อสร้างได้อย่างเร็วปี62 ใช้เวลา3ปี แล้วเสร็จปี 65
ส่วนที่เคเคทีเอสได้ประกาศหาที่ปรึกษาและเตรียมหาผู้รับเหมาก่อสร้างนั้นดำเนินการได้ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯม

https://www.dailynews.co.th/economic/614147
See less See more
เฟ้นผู้รับเหมาสร้างรถรางขอนแก่น

บริษัทขอนแก่นทรานซิทซิสเต็มจำกัด (เคเคทีเอส)
เร่งหาผู้รับเหมาโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรางเบา (แทรม) สายเหนือ–สายใต้
ต้นแบบในเมืองภูมิภาค

พุธที่ 13 ธันวาคม 2560 เวลา 16.40 น.

นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น
เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรางเบา (แทรม) สายเหนือ–สายใต้
ต้นแบบในเมืองภูมิภาค จ.ขอนแก่น ว่า บริษัทขอนแก่นทรานซิทซิสเต็มจำกัด (เคเคทีเอส)
ได้ประกาศเชิญชวนประกวดราคาและยื่นข้อเสนองานโครงการก่อสร้าง ระบบขนส่งมวลชน
ระบบรถรางเบา สายเหนือ-ใต้ ต้นแบบในเมืองภูมิภาค จ.ขอนแก่น
โครงการขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ ระยะที่ 1 ประกอบด้วย3 โครงการหลัก ได้แก่

1.งานจ้างเหมาออกแบบ และก่อสร้าง งานโยธา และโครงสร้าง พร้อมทั้งการผลิต
และการติดตั้ง ระบบขนส่งผู้โดยสารรางเบา ประเภทแทรม และการพัฒนาเมือง (ทีโอดี)
หรืองานโครงการเคเค-หนึ่ง (KK-1) ราคากลางวงเงินไม่เกิน 13,707,000,000 บาท

2.งานจ้างเหมาปฏิบัติการเดินรถ การบำรุงรักษา และบริหารจัดการพื้นที่สถานี
และส่วนเกี่ยวเนื่อง ระบบขนส่งผู้โดยสารรางเบา ประเภทแทรม และทีโอดี
หรืองานโครงการเคเค-สอง (KK-2) และ

3.งานจ้างที่ปรึกษาอิสระ ตรวจสอบ ควบคุม
และรับรอง ระบบขนส่งผู้โดยสารรางเบา ประเภทแทรม และทีโอดี หรืองานโครงการเคเค-สาม
(KK-3)



นายธีระศักดิ์ กล่าวต่อว่า ทางบริษัทฯได้เปิดให้ยื่นข้อเสนองานโครงการ
เคเค-สามเป็นอันดับแรก ปรากฎว่ามีเอกชนผู้ผ่านการคัดเลือกงาน
2ลำดับแรกจากผู้สนใจทั้งหมด 20 ราย คือ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา WCE และ
กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา APMBW Consortium ตามลำดับ

ทั้งนี้บริษัทฯ จะเชิญผู้ที่ได้รับการคัดเลือกลำดับแรกมาเปิดซอง
ต่อรองราคาและเจรจาในรายละเอียดของสัญญาต่อไป ขณะเดียวกัน บริษัทฯ
กำลังพิจารณาหาเอกชนมารับเหมาดำเนินโครงการเคเค-หนึ่ง
คาดว่าจะสามารถประกาศรายชื่อเอกชนที่ผ่านการคัดเลือกทางเว็บไซต์ของ บริษัทฯ
ได้ในช่วงปลายเดือน ธ.ค. หรือต้น ม.ค. 61
และหลังจากนั้นจึงจะพิจารณาหาเอกชนมารับเหมางานโครงการเคเค-สอง ต่อไป

https://www.dailynews.co.th/economic/615471
See less See more
ชาวขอนแก่นเชียร์รถไฟฟ้ารางเบา

ชาวขอนแก่น หนุนสร้างรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น หลังจัดซาวด์เสียงครั้งสุดท้าย
แนะเดินรถให้เชื่อมต่อสนามบิน-สถานีขนส่ง เข้าถึงทุกกลุ่มคนพิการ-สูงอายุ
เพื่อความสะดวกการเดินทาง

จันทร์ที่ 1 มกราคม 2561 เวลา 07.00 น.

รศ.ดร.พนกฤษณ คลังบุญครอง
รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน
ภาควิชาวิศวกรรมโยธาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)
ในฐานะรองผู้จัดการโครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่นและผลกระทบสิ่งแวดล้อมท
เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. ที่ผ่านมา
ได้จัดประชุมสรุปผลและรับฟังข้อคิดเห็นโครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่นร
และผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น เพื่อปิดโครงการ

โดยที่ปรึกษาได้สรุปผลการศึกษาเป็นรถไฟฟ้ารางเบา นำร่อง เส้นทางบ้านสำราญ-ท่าพระ
ระยะทาง 22.8 กม. 16 สถานี มีจุดจอดและจร 4 จุด ได้แก่ ท่าพระ บขส.3ตำบลศิลา และ
บ้านสำราญ มีศูนย์ซ่อมบำรุง (เดปโป้) 1 แห่ง ที่บริเวณทางด้านทิศเหนือบ้านสำราญ
มีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี (ทีโอดี) 3 แห่ง คือ 1.สถานีเซ็นเตอร์พ้อยท์ 2.บขส.3 และ
3.โลตัสเอ็กตร้า วงเงินลงทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาท

รศ.ดร.พนกฤษณ กล่าวต่อว่า
ส่วนการแสดงความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับผลการศึกษา
ขณะเดียวกันประชาชนต้องการให้รถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่นเข้าถึงคนทุกกลุ่ม
ทั้งผู้สูงอายุและผู้พิการด้วย
นอกจากนี้ต้องการให้เชื่อมต่อการเดินทางทั้งสนามบินและสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นต
เพื่อความสะดวกในการเดินทาง

หลังจากนี้จะนำความคิดเห็นมาปรับปรุงผลการศึกษาเพื่อนำเสนอรายงานฉบับสมบูรณ์ให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร่
(สนข.) ปลายเดือน ม.ค.61 หลังจากนั้น สนข. นำเสนอผลการศึกษาให้กระทรวงคมนาคมต่อไป
ส่วนการลงทุนรถไฟฟ้ารางเบานั้น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์
ซึ่งขณะนี้ทางจังหวัดขอนแก่นนำโดย บริษัทขอนแก่นทรานซิทซิสเต็ม (เคเคทีเอส) จำกัด
ได้ผลักดันโครงการดังกล่าวและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

รายงานข่าวจาก สนข. แจ้งว่า รถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น เส้นทางบ้านสำราญ-ท่าพระ
ตามแผนใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปี 63 เสร็จปี 65 และให้บริการปี
66


https://www.dailynews.co.th/economic/618960
See less See more
ชงโมโนเรลภูเก็ต-เชียงใหม่เข้าครม.-ขอนแก่นส่อยื้อติดPPP

วันที่ 8 มกราคม 2561 - 10:18 น.

รถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต - เป็นที่แน่ชัดรัฐบาลคสช.จะเร่งลงทุนรถไฟฟ้ารางเบาหรือไลต์เรลภูเก็ตเป็นโครงการแรก รูปแบบ PPP มี รฟม.เป็นเจ้าภาพ เพื่อแก้รถติด
สนข.เร่งชง ครม.อนุมัติโมโนเรลแก้รถติดหัวเมืองใหญ่ ประเดิม “ภูเก็ต-เชียงใหม่” ดึงเอกชน PPP ส่วนขอนแก่น รอนโยบายรัฐเคาะ งง! เอกชนท้องถิ่นเดินหน้าประมูล เผยหากสนใจต้องเข้ากระบวนการกฎหมายร่วมทุนเท่านั้น

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจเป็นประธาน ได้รับทราบผลการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะใน 5 เมืองภูมิภาค ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมาและหาดใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาจราจร คิดเป็นเงินลงทุนรวม 131,525 ล้านบาท

ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายให้เร่งโครงการที่ภูเก็ตและเชียงใหม่ โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP ระยะเวลา 30 ปี 40 ปี และ 50 ปี โดยรัฐจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนเอกชนลงทุนงานระบบ ซึ่งโครงการถูกบรรจุไว้ใน PPP Fast Track ปี 2560 แล้ว

“จะเดินหน้าภูเก็ตก่อน กระทรวงมอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยหรือ รฟม.เป็นผู้ดำเนินการ อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบ PPP จะเป็นรูปแบบไหน Net Cost (สัมปทาน) หรือ Gross Cost (จ้าง) เพราะ สนข.ศึกษาแค่แผนแม่บทให้เป็นระบบไหนถึงจะเหมาะสมกับพื้นที่ ที่เหลือเป็นหน้าที่ของ รฟม.ทางรองนายกฯ สมคิดต้องการจะให้ได้ผู้ลงทุนภายในปี 2561”

เนื่องจากภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวมากกว่า 12 ล้านคน ผลการศึกษาความเหมาะสมที่ออกมาเป็นรถไฟฟ้ารางเบาหรือไลต์เรล เป็นเส้นทางสายใหม่จากสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต ระยะทาง 58.25 กม. เงินลงทุนทั้งโครงการ 39,406.06 ล้านบาท

จุดเริ่มต้นอยู่สถานีรถไฟท่านุ่น จ.พังงา เชื่อมกับระบบรถไฟสายใหม่เส้นทาง จ.สุราษฎร์ธานี ถึง จ.พังงา ส่วนจุดสิ้นสุดโครงการอยู่ทางเหนือของห้าแยกฉลอง บน ถ.เจ้าฟ้าตะวันออก ห่างจากห้าแยกฉลอง ประมาณ 200 เมตร มี 24 สถานี เป็นสถานียกระดับ 1 สถานีที่สนามบินภูเก็ต เป็นสถานีใต้ดิน 1 สถานี ที่สถานีถลาง และมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณ อ.ถลาง แบ่งสร้าง 2 เฟส ระยะแรกจากท่านุ่น-สนามบินภูเก็ต และระยะที่ 2 จากสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง

สำหรับเชียงใหม่ ผลการศึกษาเสร็จแล้วและเสนอไปที่กระทรวงคมนาคมแล้ว อยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบและวงเงินลงทุนโครงการ เนื่องจากเงินลงทุนโครงการแตกต่างกันมากถึง 3 เท่า ระหว่างการก่อสร้างระดับดินผสมใต้ดินและใต้ดินทั้งหมด เมื่อกระทรวงได้ข้อสรุปแล้ว จะนำเสนอให้ คจร.พิจารณาต่อไป ก่อนจะเริ่มขั้นตอน PPP

รูปแบบที่เหมาะสมเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา สร้างอยู่ในพื้นที่เขตเมือง มี 3 เส้นทางให้เลือก ระหว่าง เป็นทางวิ่งบนดิน และใต้ดินร่วมกัน เงินลงทุนรวม 106,895 ล้านบาท และทางวิ่งบนดินทั้งหมด เงินลงทุน 28,419 ล้านบาท

ได้แก่ 1.สายสีแดงโรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการเชียงใหม่-สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี-ศูนย์ประชุมนานาชาติ-สถานีตำรวจช้างเผือก-แยกข่วงสิงห์-มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่-สถานีขนส่งช้างเผือก-โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม-โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-ร.ร.วัฒโนทัยพายัพ-สนามบินเชียงใหม่-สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่-ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีหางดง

2.สายสีเขียวแยกรวมโชค-แยกแม่โจ้-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล-สถานีขนส่งอาเขต-โรงพยาบาลแมคคอร์มิคเชียงใหม่-ร.ร.ดาราวิทยาลัย-ร.ร.ปรินส์รอแยลส์วิทยาลัย-ตลาดวโรรส (กาดหลวง)-เทศบาลนครเชียงใหม่-ย่านเชียงใหม่ไนท์บาซาร์-ร.ร.เรยีนาเชลีวิทยาลัย-ร.ร.พระหฤทัย-ร.ร.มงฟอร์ตวิทยาลัย-เชียงใหม่แลนด์-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา-เชียงใหม่แอร์พอร์ต-มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น-สนามบินเชียงใหม่

และ 3.สายสีน้ำเงิน สวนสัตว์เชียงใหม่-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-แยกตลาดต้นพยอม-รพ.มหาราชนครเชียงใหม่-วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร-ประตูท่าแพ-ย่านเชียงใหม่ไนท์บาซาร์ตลาดสันป่าข่อย-สถานีรถไฟเชียงใหม่-แยกหนองประทีป-ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีดอนจั่น-ห้างสรรพสินค้าพรอมเมนาดา

ส่วนขอนแก่น ผอ.สนข.กล่าวว่า ผลการศึกษายังไม่แล้วเสร็จ ซึ่ง สนข.ศึกษาเป็นแผนแม่บทอย่างเดียว ส่วนการลงทุนอยู่ที่นโยบายของรัฐบาล หากเอกชนท้องถิ่นสนใจจะลงทุนจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน PPP

รูปแบบโครงการเป็นรถไฟฟ้ารางเบา แนวเส้นทางเชื่อมการเดินทางแนวเหนือ-ใต้ จากบ้านสำราญ-บ้านท่าพระ ระยะทางประมาณ 22.8 กม. มี 16 สถานี เงินลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท

“การที่เอกชนท้องถิ่นยื่นประมูลโครงการยังไม่ทราบรายละเอียด แต่ สนข.ศึกษาแผนแม่บทไว้ เมื่อเสร็จแล้วเสนอไปที่กระทรวงคมนาคม คาดว่าจะเสนอกลางเดือน ม.ค.นี้ เพื่อกำหนดนโยบายการพัฒนาโครงการ อาจจะให้ รฟม.ดำเนินการเหมือนที่ภูเก็ต และให้เอกชนร่วม PPP งานระบบและจัดหารถ”

ด้าน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล เริ่มจากคลองหวะ-สถานีรถตู้ ระยะทาง 12.54 กม. มีสถานี 12 สถานี มูลค่าลงทุน 16,100 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับแก้รายงานอีไอเอ

ขณะที่นครราชสีมา ผลศึกษาใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเบา เป็นระบบหลักในการเดินทางและมีระบบรถโดยสาร เป็นระบบรอง เงินลงทุน 32,600 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 เฟส ระยะแรก เงินลงทุน 14,000 ล้านบาท ระยะที่ 2 เงินลงทุน 4,900 ล้านบาท และระยะที่ 3 เงินลงทุน 13,600 ล้านบาท

https://www.prachachat.net/property/news-97628
See less See more
ด้านรถไฟฟ้าในภูมิภาค พร้อมดำเนินการ คือ รถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบ PPP จะแล้วเสร็จภายใน 4 เดือนนี้ จากนั้นจะเสนอโครงการให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ถัดมาเป็นโมโนเรลเชียงใหม่ ทางกระทรวงกำลังพิจารณาจะเป็นใต้ดินหรือยกระดับ จากนั้นถึงจะเป็นโมโนเรลขอนแก่น

23 มกราคม 2561 https://www.prachachat.net/property/news-105734
See less See more
'ขอนแก่นซิตี้บัส' ขาดทุน แต่ไม่ท้อยังเพิ่มรถ 25 คัน

2018-01-29

นายภูริภัทร ลิมป์นิศากร ผู้จัดการบริษัทขอนแก่นซิตี้บัสจำกัด เปิดเผยว่า มีแผนเพิ่มรถขอนแก่นซิตี้บัสอีก 25 คัน ภายในปีนี้ใช้งบประมาณซื้อรถ 75 ล้านบาทหรือตกคันละ 3 ล้านบาท เพื่อรองรับผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นและบรรจุในเส้นทางใหม่ในอนาคต เนื่องจากรถโดยสารปรับอากาศของขอนแก่นซิตี้บัสให้บริการมา 2-3 ปีแล้ว มีรถให้บริการ 10 คัน ใน 3 เส้นทาง คือ 1.สายสีแดง วนขวา 2.สายสีน้ำเงิน วนซ้าย และ 3.สายสีเขียว สนามบิน มีผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 1,500-2,000 คน รายได้ประมาณ 10,000-20,000 บาทต่อวัน เพิ่มขึ้นประมาณ 30% ผู้โดยสารมีทุกเพศทุกวัย รถใน3 เส้นทางยังน้อย ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ของผู้โดยสาร



นายภูริภัทร กล่าวต่อว่า ขอนแก่นซิตี้บัสได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นรถโดยสารปรับอากาศยุคใหม่ที่มาพร้อมเทคโนโลยีล้ำสมัย ช่วยอำนวยความสะดวก และการติดตาม ทั้ง กล้องวงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งถึง 3 จุด ระบบจีพีเอสติดตามตรวจสอบพฤติกรรมคนขับรถ และตรวจสอบระยะเวลาการเดินทางที่โชว์ผ่านแอพพลิเคชั่น KK Transit (เคเคทรานซิท) ที่มียอดนดาวน์โหลดใช้งาน 200,000-300,000 คน ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) บริการตลอด 24 ชม. รองรับรถเข็น สำหรับคนพิการ บริการ ฟรี ไวไฟ (Free Wifi) พนักงานทุกคนสวมสูท พูดสุภาพ ชำระค่าโดยสารด้วยบัตรเติมเงินอัตโนมัติ 300 บาท ขั้นต่ำ 100 บาท เติมเงินได้ที่พนักงานขับรถ

นายภูริภัทร กล่าวอีกว่า แค่นำบัตรไปแตะที่ตู้หยอดเหรียญสีเหลืองหรือชำระค่าโดยสารด้วยระบบตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติรองรับเฉพาะเหรียญ 1, 5 และ 10 บาทเท่านั้น ยังไม่รองรับเหรียญ 2 บาท เพื่อนำร่องในการพัฒนาเมืองและคนขอนแก่น (สมาร์ทซิตี้) แต่ยังขาดทุนโดยรวม 2-3 ล้านบาท เนื่องจากอัตราค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย ส่วนเด็ก/นักเรียน 10 บาทตลอดสายต่ำกว่าต้นทุน จึงคิดเพิ่มค่าโดยสารอีก 5 บาท เป็น 20 บาทตลอดสายสำหรับประชาชนทั่วไป ส่วนเด็ก/นักเรียน จาก 10 บาท เป็น 15 บาท คาดว่าจะทำให้บริษัทฯ อยู่ได้โดยเน้นคุณภาพการบริหารเช่นเดิม

โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมากรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้เชิญผู้ประกอบการรถโดยสารไปหารือแต่ ขบ. ยังไม่ให้ปรับขึ้นค่าโดยสารต้องรอผลการศึกษาเรื่องค่าโดยสารให้แล้วเสร็จก่อน

https://www.dailynews.co.th/economic/624062
See less See more
มติ สนข.เห็นชอบโครงการรถไฟฟ้า LRT ขอนแก่น


28 February 2018

นายชัยธวัช เนียมศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วยนายธีระศักด์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น นายยินชัย อานันทนสกุล ผอ.สำนักการช่าง นายธวัชชัย วนาพิทักษ์กุล ผอ.ส่วนการโยธา เทศบาลนครขอนแก่น นายภารณ ธีรภานุ กรรมการหอการค้าจังหวัดขอนแก่น ประชุมคณะกรรมการกำกับการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่น (รถไฟฟ้า LRT) และผลกระทบสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุมอาคารสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

โดยมีนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)เป็นประธานการประชุม รศ.ดร.พนกฤษณ คลังบุญครอง รองผู้จัดการโครงการ พร้อมด้วยคณะกรรมการจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม สำหรับเรื่องที่พิจารณา ประกอบด้วย

การรายงานการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ และการบริหารโครงการ ศึกษาความเหมาะสมของระบบขนส่งสาธารณะของเมืองขอนแก่น (รถไฟฟ้า LRT) รวมทั้งรายงานบทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary Report)/ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รายงานการศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม และออกแบบรายละเอียดโครงการนำร่อง จำนวน 1 เส้นทาง (สำราญ-ท่าพระ) ระยะทาง 22.8 กิโลเมตร รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA(Environmental Impact Assessment)ให้เพิ่มเอกสารเพิ่มเติมคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 15 วัน การคำนวณโครงการระบบขนส่งสาธารณะ การออกแบบ รายละเอียดระบบขนส่ง แบบแปลน แสดงแนวเขตทางและค่าพิกัดต่างๆ การสำรวจทางด้านธรณีวิทยาระบบขนส่งสาธารณะเมืองขอนแก่น ซึ่งคณะกรรมการ มีมติเห็นชอบ

ทั้งนี้หลังจากผลการศึกษาเสร็จสมบูรณ์ ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จะดำเนินการเสนอเพื่อพิจารณาในส่วนของนโยบาย เพื่อมอบหน่วยงานที่เป็นเจ้าของโครงการผ่านที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.)ตามลำดับ ซึ่งก่อนหน้านี้เทศบาลนครขอนแก่น ได้ทำหนังสือและเข้าพบ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 เพื่อรายงานความก้าวหน้าและขอให้กระทรวงมหาดไทย ทำหนังสือแสดงเจตจำนง ในการเป็นเจ้าของโครงการและขอให้ผลการศึกษาของ สนข.กระทรวงคมนาคม เพื่อไปดำเนินการโครงการโดยท้องถิ่นต่อไป

http://www.thansettakij.com/content/263899
See less See more
  • Like
Reactions: 1
รถไฟฟ้าขอนแก่นเกิดแน่ ลุยก่อสร้างปีนี้


วันที่ 6 มีนาคม 2561 - 23:25 น.

รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 ก.พ. สนข. สรุปผลการศึกษาโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนระบบรางเบา สายเหนือ-ใต้ ต้นแบบในเมืองภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น ระยะทาง 26 กิโลเมตร เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยขั้นตอนหลังจากนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อส่งให้จังหวัดดำเนินการต่อ

นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ร่วมผลักดันโครงการดังกล่าว เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวดำเนินการโดยบริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด (เคเคทีเอส) ซึ่งมี 5 เทศบาลในขอนแก่นร่วมดำเนินการ ไม่ใช่บริษัทเอกชนโดยขั้นตอนหลังจาก สนข. สรุปผลการศึกษาอย่างเป็นทางการแล้ว กระทรวงมหาดไทย จะทำหนังสือแสดงเจตจำนงไปที่กระทรวงคมนาคมเพื่อให้ท้องถิ่น คือ เทศบาล เป็นดำเนินโครงการดังกล่าวเอง

“คาดว่าไม่เกิน 1 เดือน หรือภายในเดือนเม.ย. กระทรวงมหาดไทยจะส่งเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมได้ จากนั้น จ.ขอนแก่น จะต้องทำตามขั้นตอนรายละเอียดโครงการอีกประมาณ 60 วัน ก่อนที่จะเดินหน้าโครงการ”นายสุรเดช กล่าว

นายสุรเดช กล่าวว่า เคเคทีเอสได้จัดทำเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) เสร็จแล้ว ขณะนี้เปิดประกวดราคาหาผู้ร่วมทุนไปแล้ว โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะการประมูล แต่เดินหน้าไม่ได้ เพราะต้องรอผลการศึกษาของ สนข.ก่อน ซึ่งขณะนี้ ผลการศึกษาของ สนข. แล้วเสร็จ ดังนั้นจะต้องนำผลการศึกษาไปประกอบกับทีโออาร์เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถเดินหน้าขั้นตอนการพิจารณาคัดเลือกต่อได้ คาดว่าจะสามารถ เริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2561 นี้



สำหรับรายละเอียดการร่วมทุนในทีโออาร์เบื้องต้นเคเคทีเอสกำหนดให้ ผู้เข้าร่วมลงทุนต้องมีธนาคารที่พร้อมจะปล่อยเงินกู้ให้กับกับเคเคทีเอส เพื่อดำเนินโครงการ โดยเคเคทีเอสจะต้องไม่มีภาระในการค้ำประกันตามเงื่อนไขที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้นโยบายไว้ คือ เคเคทีเอส ห้ามค้ำประกันและทางผู้ร่วมลงทุนต้องพร้อมจะเอาเงินมาลงทุนทำโครงการ ซึ่งเบื้องต้นมีผู้สนใจแล้ว 2 ราย

“โครงการนี้จะดำเนินการคล้ายกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ โดยเคเคทีเอสจะว่าจ้างเอกชนมาก่อสร้าง เก็บค่าโดยสาร งานซ่อมบำรุงรักษา งานบริการ และเดินรถต่างๆ ซึ่งรายได้จากค้าโดยสารก็จะส่งคืนให้เคเคทีเอส ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการล่าช้ากว่าแผน 1 ปี 3 เดือน เพราะรอ สนข.”นายสรุเดช กล่าว

อย่างไรก็ตาม การประกวดราคาดังกล่าว จะแบ่งเป็น 2 ซอง คือ 1.งานโยธา 2.บริหารจัดการ บำรุงรักษา ซ่อมบำรุง และบริการ คือ ซองที่ 1 เป็นซองรับจ้างก่อสร้าง และ 2. รับจ้างดำเนินการ

https://www.khaosod.co.th/economics/news_807560
See less See more
ดึงเอกชนแจมรถไฟฟ้าหัวเมือง'เชียงใหม่-ขอนแก่น'

11 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 15:32 น.

สคร. จ่อชงบอร์ดพีพีพีไฟเขียวดึงเอกชนร่วมแจมโครงการรถไฟฟ้าในหัวเมืองใหญ่ "เชียงใหม่-ขอนแก่น" รับนโยบายรัฐบาลในการเร่งกระจายการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสู่ภูมิภาค หวังแก้ไขปัญหาการจราจรหน้าแน่นในเมืองหลัก

11 มี.ค. 2561 นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม มีแผนเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการพีพีพี) พิจารณาโครงการร่วมทุนรถไฟฟ้าในพื้นที่หัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัดเพิ่มเติมอีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าจังหวัดเชียงใหม่ และโครงการรถไฟฟ้าจังหวัดขอนแก่น หลังจากที่ผ่านมา คณะกรรมการฯได้มีการอนุมัติให้มีการร่วมทุนทุนไปแล้ว 2 จังหวัดที่จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครราชสีมา

“การจัดทำโครงการพัฒนารถไฟฟ้าในพื้นที่ต่างจังหวัดถือเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการกระจายการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปสู่ภูมิภาคและแก้ไขปัญหาการจราจรหนาแน่นของเมืองหลัก โดยให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดติดตามการดำเนินโครงการภายใต้มาตรการพีพีพี ฟาสต์ แทร็ก เพื่อช่วยย่นระยะเวลาในการดำเนินโครงการเหลือเพียง 9 เดือน จากเดิมที่ใช้เวลามากกว่า 2 ปี” นายเอกนิติ กล่าว

ก่อนหน้านี้โครงการระบบขนส่งมวลชน จ.นครราชสีมา หรือโครงการรถไฟฟ้านครราชสีมา มูลค่า 32,600 ล้านบาท เข้าร่วมลงทุนพีพีพีฟาสต์แทรก โดยคาดว่าในปีนี้จะมีการอนุมัติโครงการร่วมทุนพีพีพีฟาสต์แทรกอีก 3 โครงการ วงเงิน 406,874 ล้านบาท ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าส่ายสีส้ม ช่วงตะวันตกและตะวันออก 195,642 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-วงแหวนกาญจนาภิเษก 131,172 ล้านบาท และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม-ชะอำ 80,060 ล้านบาท ส่งผลให้ถึงสิ้นปีนี้จะมีการอนุมัติพีพีพี ฟาสต์แทรก ได้รวม 966,800 ล้านบาท

รายงานข่าวแจ้งเพิ่มว่า โครงการรถไฟฟ้าเชียงใหม่ตอนนี้ผลการศึกษาเสร็จแล้ว และเสนอไปที่กระทรวงคมนาคมพิจารณารูปแบบและเงินลงทุน โดยเป็นการลงทุนรถไฟฟ้าแบบรางเบามีให้เลือก 3 ทางเลือก วงเงินลงทุน 28,419-106,895 ล้านบาท ได้แก่ การก่อสร้างระดับดิน ระดับดินผสมใต้ดินและใต้ดินทั้งหมด เมื่อกระทรวงได้ข้อสรุปแล้ว จะนำเสนอให้ คจร.พิจารณาต่อไปก่อนจะเริ่มขั้นตอนพีพีพี ส่วนแบบรถไฟฟ้าขอนแก่น เป็นโครงการรถไฟฟ้ารางเบาสายเหนือใต้ สำราญ-ท่าพระ เป็นสายนำร่อง จะมีระยะทาง 26 กิโลเมตร และมีจำนวนสถานี 18 สถานี

http://www.thaipost.net/main/detail/4725
See less See more
ปลุกลงทุนรถไฟฟ้าภูธร 2 แสนล้าน แจก 50 ปีนำร่อง “ภูเก็ต-เชียงใหม่-โคราช”

วันที่ 17 April 2018 - 17:57 น.

การประชุม “คจร.-คณะกรรมการจัดระบบการจราจร” นัดแรกของปี 2561 วันที่ 21 ก.พ. 2561 มี “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” นั่งหัวโต๊ะ ได้เร่งรัดกระทรวงคมนาคมลงทุนระบบขนส่งมวลชนในภูมิภาคตามแผนแม่บท ที่ “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” ศึกษาไว้ 5 จังหวัด ในภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคใต้ เพื่อให้รัฐและเอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP ระยะเวลา 30 ปี 40 ปีและ 50 ปี มูลค่าลงทุนรวม 211,234 ล้านบาท

มี “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” เป็นเจ้าภาพศึกษารูปแบบลงทุน PPP การเปิดประมูลโครงการ คาดว่าสิ้นปีนี้จะประเดิม “ภูเก็ต” เป็นจังหวัดแรก ฟาสต์แทร็กภูเก็ต 4 หมื่นล้าน

จากผลศึกษาพัฒนาเป็น “ระบบรถไฟฟ้ารางเบา” ได้ทั้งไลต์เรลและแทรม เงินลงทุน 39,406 ล้านบาท มีโครงสร้างทางวิ่งระดับดินตลอดเส้นทาง ยกเว้นบริเวณสนามบินภูเก็ตจะเป็นสถานียกระดับ มีทั้งหมด 24 สถานี เป็นยกระดับ 1 สถานี ที่สนามบินภูเก็ต และใต้ดิน 1 สถานีที่สถานีถลาง มีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณ อ.ถลาง

จุดเริ่มต้นโครงการอยู่บริเวณสถานีรถไฟท่านุ่น จ.พังงา จะเชื่อมต่อกับระบบรถไฟสายใหม่เส้นทาสุราษฎร์ธานี-พังงา จุดสิ้นสุดโครงการอยู่ทางเหนือของห้าแยกฉลอง ห่างจากห้าแยก 200 เมตร รวมระยะทาง 58.525 กม.

ปัจจุบันโครงการได้ถูกบรรจุไว้ในโครงการตามมาตรการ PPP Fast Track 2560 ของกระทรวงคมนาคม ล่าสุด “รฟม.” อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบ PPP ที่ให้เอกชนร่วมลงทุน คาดว่า
จะแล้วเสร็จและเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในปีนี้

เชียงใหม่อัดแสน ล.มุดดิน-บนดิน



จากนั้นเป็นคิวของ “เชียงใหม่” ที่ สนข.เร่งดำเนินการต่อ ซึ่งผลศึกษาแล้วเสร็จเมื่อเดือน ต.ค.ปีที่แล้ว เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา เงินลงทุน 105,735 ล้านบาท เนื่องจากโครงสร้างมีทั้งอุโมงค์ใต้ดินช่วงผ่านพื้นที่ในเมืองและยกระดับในช่วงนอกเมือง มี 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 36 กม. 1.สายสีแดง รพ.พิงค์-ศูนย์ราชการเชียงใหม่-สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี-ศูนย์ประชุมนานาชาติ-สถานีตำรวจช้างเผือก-แยกข่วงสิงห์-ม.ราชภัฏเชียงใหม่-สถานีขนส่งช้างเผือก-รพ.เชียงใหม่ราม-รพ.มหาราชนครเชียงใหม่-ร.ร.วัฒโนทัยพายัพ-สนามบินเชียงใหม่-ขนส่งทางบก-บิ๊กซีหางดง

2.สายสีเขียว แยกรวมโชค-แยกแม่โจ้-เซ็นทรัลเฟสติวัล-สถานีขนส่งอาเขต-รพ.แมคคอร์มิคเชียงใหม่-ร.ร.ดาราวิทยาลัย-ร.ร.ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย-ตลาดวโรรส-เทศบาลนครเชียงใหม่-เชียงใหม่ไนท์บาซาร์-ร.ร.เรยีนาเชลีวิทยาลัย-ร.ร.พระหฤทัย-ร.ร.มงฟอร์ตวิทยาลัย-เชียงใหม่แลนด์-เซ็นทรัลพลาซา-เชียงใหม่แอร์พอร์ต-ม.ฟาร์อีสเทอร์น-สนามบินเชียงใหม่

3.สายสีน้ำเงิน สวนสัตว์เชียงใหม่-ม.เทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา-ม.เชียงใหม่-แยกตลาดต้นพยอม-รพ.มหาราชนครเชียงใหม่-วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร-ประตูท่าแพ-ย่านเชียงใหม่ไนท์บาซาร์ตลาดสันป่าข่อย-สถานีรถไฟเชียงใหม่-แยกหนองประทีป-บิ๊กซีดอนจั่น -ห้างพรอมเมนาดา

สำหรับการลงทุนมี 3 ทางเลือก ได้แก่ รัฐลงทุน 100% เปิด PPP โดยรัฐลงทุนงานโยธา เอกชนลงทุนงานระบบเครื่องกลและระบบไฟฟ้าและจัดหาขบวนรถไฟฟ้า และ PPP รัฐร่วมเอกชน จัดตั้งบริษัท และระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน



เร่งลงทุนโคราชรับไฮสปีด

ตามมาด้วย “นครราชสีมา” กำลังเร่งเครื่องไม่แพ้จังหวัดอื่น ๆ สร้างเป็นรถไฟฟ้ารางเบา วงเงิน 32,600 ล้านบาท มี 3 เฟส ระยะแรก 14,000 ล้านบาท มีสายสีส้มเข้ม แยกประโดก-ถนนช้างเผือก-คูเมืองเก่า 9.81 กม. 17 สถานี สีเขียวเข้ม ตลาดเซฟวัน-ถนนมุขมนตรี-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ 11.17 กม. 18 สถานี

ระยะที่ 2 ลงทุน 4,900 ล้านบาท สายสีม่วงเข้ม ตลาดเซฟวัน-ถนนมิตรภาพ-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ 11.92 กม. 9 สถานี ระยะที่ 3 ลงทุน 13,600 ล้านบาท สายสีส้มอ่อน ร.ร.เทศบาล 1-หัวทะเล-ดูโฮม 5.37 กม. 4 สถานี สายสีเขียวอ่อนสถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 3 (ห้วยบ้านยาง)-ตลาดเซฟวัน และสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์-สำนักงานขนส่ง จ.นครราชสีมาสาขา 2 ระยะทาง 12.12 กม. 13 สถานี สายสีม่วงอ่อน ม.วงษ์ชวลิตกุล-แยกจอหอ-ค่ายสุรนารายณ์ 4.48 กม. 3 สถานี

“ระยะแรก” เร่งลงทุนสายสีเขียวพร้อมกับสายสีส้ม จากนั้นเป็น “สายสีม่วง” จะมีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีหรือจุดจอดของระบบขนส่งสาธารณะ 2 บริเวณ ที่ย่านสถานีรถไฟนครราชสีมา และย่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจ.นครราชสีมาแห่งที่ 2

ขอนแก่นเลือกไลต์เรล

ขณะที่ “ขอนแก่น” ที่ประชุมรับทราบผลการศึกษาโครงการ ซึ่งผลศึกษาเลือก “ระบบไลท์เรล” เป็นระบบที่เหมาะสม ส่วนการลงทุนรัฐจะเวนคืนที่ดินแล้วให้เอกชนร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน งานระบบและจัดหาตัวรถ ตลอดจนซ่อมบำรุงรักษาโครงการตลอดอายุสัญญา

จะนำร่องเส้นทางในแนวเหนือ-ใต้ จากบ้านสำราญตำบลสำราญ – ต.ท่าพระ อ.เมืองขอนแก่น ระยะทาง 22.8 กม.เป็นโครงสร้างระดับดิน 15.07 กม.และทางวิ่งยกระดับ 7. 27 กม. มี 16 สถานี เป็นระดับดิน 10 แห่ง ยกระดับ 6 แห่ง เงินลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท

พิษณุโลกแบ่งพัฒนา2เฟส

ด้าน “พิษณุโลก” จังหวัดในแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก และฮับสี่แยกอินโดจีน จากการศึกษาพบว่าเทคโนโลยีระบบขนส่งสาธารณะที่มีความเหมาะสมกับแนวเส้นทาง และมีความเป็นไปได้มี 3 รูปแบบ ได้แก่ รถโดยสารขนาดปกติ รถโดยสารขนาดเล็ก (ไมโครบัส) และรถรางล้อยาง (Tram)

มีระยะทางรวม 114.65 กม. มูลค่าการลงทุนรวม 13,493 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่1 ปี 2565-2573 มี 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 83.05 กม. มูลค่าก่อสร้าง 2,607 ล้านบาท มูลค่าการบำรุงรักษาตลอดอายุโครงการ 8,190 ล้านบาท ระยะที่ 2 ปี 2574-2584 มี 2 เส้นทางและ 3 ส่วนต่อขยาย ระยะทาง 31.6 กม. มูลค่าการก่อสร้าง 643 ล้านบาทและมูลค่าการบำรุงรักษาตลอดอายุโครงการ 2,171 ล้านบาท

ด้านอัตราค่าโดยสารกำหนดไว้ 3 ลักษณะ คือ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้สูงอายุและผู้พิการ 10 บาท ประชาชนทั่วไป 20 บาท และนักท่องเที่ยว 30 บาท

นอกจากนี้กำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี (TOD) 3 แห่ง ได้แก่ 1.สถานีขนส่งพิษณุโลก แห่งที่ 1 พื้นที่ 6 ไร่ รองรับกิจกรรมเชิงพาณิชย์เป็นหลักมีความพร้อมค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะ

2. ศูนย์การค้าโลตัสท่าทอง พื้นที่ 25 ไร่ รองรับกิจกรรมที่พักอาศัยเป็นหลัก ความพร้อมค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นจุดศูนย์กลางการเชื่อมโยงระหว่างศูนย์การค้าชานเมืองและขั้วความเจริญมหาวิทยาลัยนเรศวรและ 3. สถานีขนส่งพิษณุโลก แห่งที่ 2 พื้นที่ 50 ไร่ รองรับกิจกรรมเชิงพาณิชย์เป็นหลัก ความพร้อมค่อนข้างสูง เนื่องจากทำเลที่ตั้งใกล้กับศูนย์พัฒนาสี่แยกอินโดจีนและสถานีขนส่งสาธารณะแห่งใหม่และรองรับการบริการขนส่งสาธารณะและบริการด้านโลจิสติกส์

เป็นความก้าวหน้าล่าสุด ส่วนจะเป็นจริงได้แค่ไหน คงต้องดูกันต่อไปยาวๆ

https://www.prachachat.net/property/news-144320
See less See more
  • Like
Reactions: 1
ไฟเขียวขอนแก่นลุยรถไฟฟ้ารางเบา

2018-05-02 18:30:00

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรางเบา สายเหนือใต้ต้นแบบในเมืองภูมิภาค จ.ขอนแก่นว่า เบื้องต้นที่ประชุมเห็นชอบในหลักการให้ท้องถิ่นนำผลการศึกษาโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรางเบา (แทรม) สายเหนือ–สายใต้ ถนนมิตรภาพ ช่วงบ้านท่าพระ-บ้านสำราญ ระยะทาง 26 กม. 16 สถานี วงเงิน 15,000 ล้านบาท ไปดำเนินโครงการดังกล่าว เนื่องจากทางขอนแก่นยืนยันว่าต้องการสร้างเอง ซึ่งกระทรวงคมนาคมก็ไม่ได้ขัดข้อง

ด้านนายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) หรือ CHO และรองคณบดี วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าวว่า จากการหารือกับนายไพรินทร์ ก็ไม่ได้ติดขัดอะไร เพียงแต่ต้องการให้กระทรวงมหาดไทยส่งหนังสือขอผลการศึกษา เพื่อแสดงเจตจำนงค์อย่างเป็นทางการ โดยกระทรวงมหาดไทยอยู่ระหว่างทำหนังสือ

นายสุรเดช กล่าวต่อว่า ขณะนี้บริษัท ขอนแก่นทรานซิทซิสเต็ม จำกัด (เคเคทีเอส) อยู่ระหว่างเปิดประมูลเส้นทางดังกล่าว หาผู้รับเหมา โดยตั้งเป้าตอกเสาเข็มก่อสร้างรถฟ้ารางเบาภายในปีนี้ อย่างไรก็ตามระหว่างดำเนินการต้องการให้ สนข. และ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เข้ามาเป็นที่ปรึกษาในช่วงเริ่มก่อสร้างและการบริหารจัดการด้วย

นายสุรเดช กล่าวอีกว่า ส่วนความคืบหน้ากรณีศาลปกครองกลางสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ระงับโครงการจัดซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) จำนวน 489 คัน วงเงิน 4,261 ล้านบาท ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่มีกลุ่มร่วมทำงาน SCN-CHO นำโดยบริษัท ช.ทวี จำกัด (มหาชน) และบริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) นั้น การส่งมอบรถเมล์เอ็นจีวีล็อตสอง 100 คัน ต้องชะลอไปก่อน โดยในวันที่ 3 พ.ค. ขสมก. จะไปยื่นอุทธรณ์กับศาลปกครองกลาง หากศาลสั่งฯ ปลดล็อกคำสั่งระงับจัดซื้อรถเอ็นจีวี ขสมก. จ่ายค่าจัดซื้อรถล็อตแรก 100 คัน และดำเนินการส่งมอบรถล็อตสอง และส่วนที่เหลือที่เหลือต่อไป ขณะเดียวกันหากศาลฯ ไม่ปลดล็อกคำสั่ง ต้องหารือกันอีกครั้ง เพื่อดำเนินการต่อ

ส่วนความคืบหน้า โครงการเช่าระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์พร้อมอุปกรณ์ (อีทิคเก็ต) และเครื่องเก็บค่าโดยสาร หรือกล่องเก็บค่าโดยสาร “แคชบ็อกซ์” (Cash box) บนรถโดยสารประจำทาง 2,600 คัน ขณะนี้ ช ทวีฯ ถูกปรับส่งมอบงานล่าช้า ตั้งแต่วันที่ 14 ต.ค. 60 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันประมาณ 700,000-800,000 บาท แต่ยังไม่ได้ชำระค่าปรับ ส่วนกล่องเก็บค่าโดยสาร ขณะนี้ได้ดำเนินกายกเลิก ซึ่ง ขสมก. อยู่ระหว่างปรับวงเงินในสัญญา ถ้าไม่ติดตั้งกล่องเก็บค่าโดยสารแล้ววงเงินจะมีจำนวนเท่าไหร่ ตอนนี้อยู่ระหว่างเจราจาหาข้อสรุปวงเงิน ซึ่งมีการส่งตัวเลขประมาณ 2-3 ครั้งแล้วแต่ยังไม่ได้ข้อสรุป.

https://www.dailynews.co.th/economic/641310
See less See more
คค.ยกรถไฟฟ้าขอนแก่นให้ท้องถิ่น

2018-05-07

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม(คค.) เปิดเผยว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้เป็นประธานการประชุมโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรางเบาสายเหนือใต้ต้นแบบในเมืองภูมิภาคจ.ขอนแก่น โดยหารือเรื่องการมอบโครงการให้ท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ เนื่องจากจังหวัดขอนแก่นยืนยันว่าต้องการก่อสร้างโครงการเอง ซึ่งกระทรวงคมนาคมไม่ขัดข้อง

ด้านนายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) หรือ CHO และรองคณบดี วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าวว่า ผู้บริหารจังหวัดขอนแก่นและกระทรวงมหาดไทย(มท.)ได้หารือนายไพรินทร์ เพื่อเจรจาขอผลการศึกษาโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรางเบา(แทรม) สายเหนือ–สายใต้ ถนนมิตรภาพ ช่วงบ้านท่าพระ-บ้านสำราญระยะทาง 26 กม. 16 สถานี วงเงิน 15,000 ล้านบาท ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ได้ศึกษาเสร็จแล้วไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินการโครงการซึ่ง นายไพรินทร์ไม่ได้ติดขัดอะไร เพียงแต่ต้องการให้กระทรวงมหาดไทยส่งหนังสือขอผลการศึกษาเพื่อแสดงเจตจำนงอย่างเป็นทางการ กระทรวงมหาดไทยอยู่ระหว่างทำหนังสือถึงกระทรวงคมนาคม

นายสุรเดช กล่าวต่อว่า ขณะนี้บริษัทขอนแก่นทรานซิทซิสเต็มจำกัด(เคเคทีเอส) ผู้บริหารจัดการโครงการอยู่ระหว่างเปิดประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการ และรอผลการศึกษาจากกระทรวงคมนาคมควบคู่กันเพือนำผลการศึกษาให้ผู้รับเหมาไปพิจารณารายละเอียดการก่อสร้าง

โดยตั้งเป้าตอกเสาเข็มก่อสร้างรถฟ้ารางเบาภายในปีนี้ และจะขอให้สนข. และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เข้ามาเป็นที่ปรึกษาช่วงเริ่มก่อสร้างและบริหารจัดการด้วยเนื่องจากมีประสบการณ์เรื่องรถไฟฟ้า ทั้งนี้ชาวขอนแก่นต้องการลงทุนสร้างรถไฟฟ้าเองเพื่อให้ผลผลิตตกอยู่ในจังหวัดเป็นเครื่องมือในการสร้างความเจริญและเป็นเมืองที่ดีและน่าอยู่อย่างยั่งยืน

https://www.dailynews.co.th/economic/641949
See less See more
  • Like
Reactions: 1
ข่าวดี รถไฟฟ้า LRT ขอนแก่น ได้ไปต่อ รมว.เกษตร เห็นชอบ ให้ใช้พื้นที่

รมว.เกษตรฯ เห็นชอบให้ 5 เทศบาลขอนแก่นใช้พื้นที่ศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น
เป็นสถานีรถไฟฟ้า LRT และพัฒนาเป็นพื้นที่ TOD
ให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน พร้อมตั้งเป็นศูนย์พิพิธภัณฑ์สถานีวิจัยข้าว
ขอนแก่น

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2561 ดร. สมศักดิ์ จังตระกุล
ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นำผู้บริหาร 5 เทศบาล และผู้บริหาร KKTS เข้าพบ
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ Smart City (ระยะที่ 1)
การก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรางเบา LRT ขอนแก่น
และเสนอบันทึกข้อตกลงการขอใช้พื้นที่ศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น ณ ห้องประชุม 123
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

โดยมีนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายกฤณพงศ์
ศรีพงษ์พันธุ์กุล รองอธิบดีกรมการข้าว นายสมหมาย เลิศนา
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น ส่วนตัวแทนจาก 5 เทศบาล นำโดยนายธีระศักดิ์
ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น นายอิชวุฒิ ฤทธาภัย ธนารักษ์พื้นที่ขอนแก่น
นายทองปักษ์ ไทธานี ผอ.กลุ่มงานยุทธศาสตร์ สำนักงานจังหวัดขอนแก่น ดร.กฤษวรุณ
ไชยนิจ ปลัดเทศบาลนครขอนแก่น นายยุทธภูมิ เย็นสบาย รองนายกเทศมนตรีตำบลสำราญ
นายธวัชชัย วนาพิทักษ์กุล ผอ.ส่วนการโยธา สำนักการช่างเทศบาลนครขอนแก่น
พล.ต.ชาติชาย ประดิษพงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด
(KKTS) นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย
รองคณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น นายศุภวัตร สาขา
นิติกรเทศบาลนครขอนแก่น และคณะร่วมประชุม
เพื่อรายงานความก้าวหน้าและขอคำแนะนำการดำเนินโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรางเบา
สายเหนือ-ใต้ ต้นแบบในเมืองภูมิภาค จังหวัดขอนแก่น



ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าว ในการดำเนินโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรางเบา
LRT ขอนแก่น ขณะนี้เหลือ 2 ขั้นตอนสุดท้าย ขั้นตอนที่ 1
เรื่องการขอใช้พื้นที่ศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น ให้เป็นพื้นที่พัฒนา TOD
(Transit-Oriented Development ) ให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน
เป็นสถานีรถไฟฟ้ารางเบา เพราะอยู่ตรงจุดกึ่งกลางเส้นทาง
สร้างที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดการพึ่งพิงการใช้รถส่วนบุคคลซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาที่ซับซ้อนและการกระจายตัวขอบเมืองแบบไร้ทิศทาง
ขั้นตอนที่ 2 คือการประเมิน PPP ว่าเป็นไปตามระเบียบหรือไม่อย่างไร
แล้วค่อยเรียนเชิญท่านนายกรัฐมนตรี ไปวางศิลาฤกษ์ โครงการ ซึ่งเป้าหมายประมาณ
เดือนธันวาคม นี้


นายกเทศมนตรี กล่าวว่า สำหรับพื้นที่ที่ทางกรมการข้าว ต้องการทดแทน
ซึ่งทางโครงการได้หาพื้นที่ที่กรมการข้าวต้องการ และมากกว่าเดิม
พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทุกๆ ด้าน ตามที่กรมการข้าวเสนอมา
ทั้งนี้จะให้พื้นที่เดิม จำนวน 20 ไร่ ซึ่งทางศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น
ต้องการทำเป็นศูนย์พิพิธภัณฑ์สถานีวิจัยข้าว ขอนแก่น

ด้านธนารักษ์พื้นที่ขอนแก่น กล่าวเพิ่มเติมว่า
ด้วยเหตุบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ความเจริญเติบโตของเมืองเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันและอนาคต ทำให้เกิดปัญหามากมาย
ด้วยเหตุนี้ จึงอยากพัฒนาพื้นที่ให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเมือง
ซึ่งเป็นหลักคิดในการดำเนินโครงการภาครัฐรูปแบบใหม่ ที่มีประสิทธิภาพ



ท้ายสุดนี้ รมว.เกษตรฯ กล่าวสรุปว่า ถ้าเป็นไปตามที่ตกลงกัน เห็นชอบให้ 5
เทศบาลขอนแก่นใช้พื้นที่ศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น เป็นสถานีรถไฟฟ้า LRT /Depot
ส่วนเรื่องการทำบันทึกแลกเปลี่ยนพื้นที่ (MOU)ร่วมกันให้ ทาง 5 เทศบาลขอนแก่น
ปรับปรุงที่อยู่ใหม่ให้กับทางศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น
สำเร็จเสร็จทุกอย่างก่อนค่อยเข้าสู่กระบวนการย้ายศูนย์วิจัย้าว ส่วนการลงนามในMOU
ให้ส่งร่างMOUพร้อมส่งเอกสารที่กระทรวงมหาไทย เห็นชอบให้จัดตั้งบริษัทจำกัดของ 5
เทศบาล เรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรให้ตรวจพิจารณา จากนั้นขั้นตอนที่ 2
ตั้งคณะทำงานพบปะเพื่อปฏิบัติตาม MOU โดยมอบหมาย รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธาน
พร้อมตัวแทนกรมการข้าว ไปดูคุยประชุมร่วมกับคณะทำงานขอใช้ที่ดินจังหวัดขอนแก่น

https://www.khonkaenlink.info/home/news/6713.html
See less See more
ต่างชาติสนลงทุน'รถไฟฟ้างรางเบา'จ.ขอนแก่น

2018-08-14

นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) หรือ CHO ผู้ร่วมก่อตั้งเคเคทีเอส กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบา(แอลอาร์ที) เป็นเส้นทางแรก สายเหนือ-ใต้ช่วงบ้านสำราญ-บ้านท่าพระ จ.ขอนแก่น จำนวน 18สถานี ระยะทาง26กม. วงเงิน 15,000 ล้านบาทว่า ขณะนี้โครงการ อยู่ระหว่างรอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.)อนุมัติภายในเดือนนี้ และคาดว่าจะหาตัวผู้รับจ้างก่อสร้างภายใน2-3เดือนและจะเริ่มก่อสร้างภายในปลายปีนี้ ส่วนโครงการต่อเนื่องในเส้นทางที่ 2 เชื่อมต่อตะวันออก-ตะวันตกของเมืองขอนแก่น งบประมาณ 15,000 ล้านบาทนั้น จะเริ่มเปิดประกวดราคาภายในปี 63



นายสุรเดช กล่าวต่อว่าสำหรับโครงสร้างราคารถไฟฟ้านั้นบริษัท ขอนแก่น ทรานซิทซิสเท็มส์ หรือ เคเคทีเอส (KKTS) ได้ให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ศึกษาโครงสร้างราคาโดยเปรียบเทียบการศึกษาราคาของระบบขนส่งภายในจังหวัดเพื่อให้ประชาชาสามารถใช้งานได้ราคาไม่ไกลตัวมากนัก เบื้องต้นได้ขอสรุปราคาค่าโดยสาร 17-20 บาท คาดการณ์ปริมาณผู้ใช้อยู่ที่ 60,000 เที่ยวต่อวัน ส่วนด้านการลงทุนนั้นทาง เทศบาลจะเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด ร่วมถึงเรื่องการจัดหาขบวนรถมาใช้บริการนั้น

ขณะนี้มีบริษัทต่างชาติได้แก่ประเทศจีน เยอรมัน และเช็ก สนใจในการลงทุนด้านงานระบบ อยู่ระหว่างการพิจารณาของเทศบาล จะใช้ขบวนรถ จำนวน 15 ขบวน โดยมีขบวนละ 3 ตู้ ซึ่งใน 1 ขบวน สามารถบรรจุผู้โดยสารได้ 180 คน ซึ่งทางเทศบาลเมืองขอนแก่นได้ระบุในทีโออาร์ว่าหากบริษัทต่างชาติที่มาลงทุนงานระบบและขบวนรถนั้นต้องตั้งโรงงานประกอบรถไฟฟ้าในไทยเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านรถไฟฟ้าให้แก่คนไทยด้วย ซึ่งบริษัทหลายรายก็ยอมรับซึ่งคาดว่าจะได้ตัวภายในปีนี้เช่นกัน

https://www.dailynews.co.th/economic/660478
See less See more
21 - 40 of 296 Posts
This is an older thread, you may not receive a response, and could be reviving an old thread. Please consider creating a new thread.
Top