Joined
·
34 Posts
นักธุรกิจขอนแก่นตั้งไข่แผนระดมทุนสร้างรถไฟฟ้า-บีอาร์ที เปิดพิมพ์เขียวสายแรกทำแน่ "รถรางสายสีแดง" 27 กม. เส้นทางบ้านสำราญ-ท่าพระ-ม.ขอนแก่น เทศบาลนครขอนแก่นเปิดแผนร่วมทุนสร้างศูนย์ประชุมนานาชาติ ตั้งเป้าเห็นรูปธรรมภายใน 3 ปี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 พ.ย.ที่ผ่านมา เทศบาลนครขอนแก่นร่วมกับหอการค้าจังหวัดขอนแก่น และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดสัมมนาเรื่องแนวทางการจัดตั้งบริษัทจำกัด และการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีผู้สนใจจากหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกว่า 200 คน
นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น เปิดเผยว่า เทศบาลมีโครงการความร่วมมือกับภาคประชาสังคมในการร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยพันธมิตรหลักที่เปิดตัวตอนนี้ คือ กลุ่มบริษัท KKTT (Khon Kaen Think Tank Co,. Ltd.) ที่เกิดจากการรวมตัวของนักธุรกิจขอนแก่น 20 ราย อย่างไรก็ตาม แหล่งเงินที่จะลงทุนมีแนวคิดว่าจะระดมทุนผ่านการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรืออินฟราสตรักเจอร์ฟันด์ ดังนั้นจึงต้องจัดสัมมนาเพื่อประชาสัมพันธ์และให้ความรู้กับนักลงทุนในพื้นที่และคนขอนแก่น
ผุดศูนย์ประชุมนานาชาติ
"ในส่วนเทศบาลกำลังดำเนินการจัดตั้งบริษัทนิติบุคคลของตัวเอง ในรูปแบบเดียวกับที่กรุงเทพมหานครมีบริษัทกรุงเทพธนาคม เข้ามาลงทุนโครงการสาธารณะ ตามแนวทางนี้จะเพิ่มความคล่องตัวให้กับเทศบาล แต่ยังติดปัญหาทางข้อกฎหมายบางประการ ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทยได้เร่งรัดให้กรมการปกครองท้องถิ่นไปดูแลแก้ไขระเบียบให้สามารถดำเนินการได้ คาดว่าน่าจะจดทะเบียนบริษัทได้ภายใน 3-5 ปี และหลังจากสัมมนาครั้งนี้จะนำกลุ่มนักธุรกิจเข้าพบ รมว.มหาดไทย เพื่อนำเสนอพลังขับเคลื่อนที่เกิดจากการรวมตัวของคนขอนแก่นต่อไป"
นายธีระศักดิ์กล่าวว่า ขณะนี้เทศบาลมีแผนร่วมลงทุนกับกลุ่ม KKTT ในการสร้างศูนย์ประชุมนานาชาติ วงเงินลงทุน 300-400 ล้านบาท ตั้งเป้ารูปแบบการบริหาร 2 รูปแบบ คือ 1.ร่วมทุนกับบริษัทเอกชน 2.เทศบาลเป็นผู้ลงทุนแล้วให้สัมปทานเอกชนบริหาร คาดว่าจะมีความชัดเจนต้นเดือนธันวาคมนี้
ทุนประเดิมเป้า 300 ล้าน
นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไชย รองคณบดีฝ่ายบริหารวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทวี ดอลลาเชียน จำกัด หนึ่งในนักธุรกิจขอนแก่นผู้ริเริ่มกลุ่ม KKTT กล่าวเพิ่มเติมว่า อนาคตขอนแก่นจะเป็น 4 แยกอินโดจีน จึงต้องร่วมกันคิดว่าจะทำอย่างไรในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
"กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและบริษัทจำกัดของเทศบาลนครขอนแก่น คือคำตอบที่เป็นทางออกที่จะสามารถพัฒนาเมืองขอนแก่นได้เอง จากคำแนะนำของตลาดหลักทรัพย์ฯมีความมั่นใจ 90% ว่าขอนแก่นจะมีกองทุนโครงสร้างพื้นฐานของตัวเอง โดยเริ่มต้นจากผู้ประกอบการ 20-30 ราย ต้องมีเงินประเดิมก้อนแรก 200-300 ล้านบาท โดยจะทำคู่ขนานไปกับการจัดตั้งบริษัทจำกัดของเทศบาล และแม้ว่าเทศบาลจะไม่สามารถตั้งบริษัทเพื่อร่วมทุน กองทุนก็ยังสามารถดำเนินการได้ในรูปแบบที่เทศบาลให้สัมปทานกับกองทุน โดยต้นเดือนธันวาคมนี้จะเริ่มคิกออฟในการระดมทุนจากกลุ่ม KKTT"
ชิมลาง รถรางสายสีแดง
"เงินประเดิมก้อนแรก 200-300 ล้านบาท อาจจะนำไปสร้างศูนย์ประชุมระดับนานาชาติ อีกส่วนนำไปจัดจ้างที่ปรึกษาต่าง ๆ รวมถึงการระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ"
นายสุรเดชกล่าวว่า เบื้องต้นจะมีการลงทุนรถไฟฟ้า แต่ไม่ใช่รถไฟฟ้าแบบกรุงเทพฯ แต่เรียกว่า Tram เป็นรถรางสายสีแดง เส้นทางบ้านสำราญ ท่าพระ เลี้ยวเข้ามหาวิทยาลัยขอนแก่น ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร ตัวรถจะอยู่เกาะกลางถนน วิ่งตามถนนมิตรภาพมาเรื่อย ๆ ไม่ไปกินพื้นที่ถนน รวมทั้งมีการพัฒนาพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ อาทิ สำนักงาน ที่อยู่อาศัย เพื่อให้เมืองโตอย่างมีระเบียบ
"จริง ๆ ที่วางแผนไว้มีหลายสาย แต่วันนี้เราต้องการทำสายแรกให้ได้ก่อน เมื่อเริ่มสายแรกได้ สายอื่นจะตามมา คาดว่าใช้เวลา 3 ปีในการระดมทุน ส่วนปัญหาจราจรในตัวเมืองจะใช้ระบบ BRT หรือรถโดยสารด่วนพิเศษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าระดมทุนไม่ต่ำกว่า 3-4 พันล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 พ.ย.ที่ผ่านมา เทศบาลนครขอนแก่นร่วมกับหอการค้าจังหวัดขอนแก่น และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดสัมมนาเรื่องแนวทางการจัดตั้งบริษัทจำกัด และการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีผู้สนใจจากหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกว่า 200 คน
นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น เปิดเผยว่า เทศบาลมีโครงการความร่วมมือกับภาคประชาสังคมในการร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยพันธมิตรหลักที่เปิดตัวตอนนี้ คือ กลุ่มบริษัท KKTT (Khon Kaen Think Tank Co,. Ltd.) ที่เกิดจากการรวมตัวของนักธุรกิจขอนแก่น 20 ราย อย่างไรก็ตาม แหล่งเงินที่จะลงทุนมีแนวคิดว่าจะระดมทุนผ่านการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรืออินฟราสตรักเจอร์ฟันด์ ดังนั้นจึงต้องจัดสัมมนาเพื่อประชาสัมพันธ์และให้ความรู้กับนักลงทุนในพื้นที่และคนขอนแก่น
ผุดศูนย์ประชุมนานาชาติ
"ในส่วนเทศบาลกำลังดำเนินการจัดตั้งบริษัทนิติบุคคลของตัวเอง ในรูปแบบเดียวกับที่กรุงเทพมหานครมีบริษัทกรุงเทพธนาคม เข้ามาลงทุนโครงการสาธารณะ ตามแนวทางนี้จะเพิ่มความคล่องตัวให้กับเทศบาล แต่ยังติดปัญหาทางข้อกฎหมายบางประการ ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทยได้เร่งรัดให้กรมการปกครองท้องถิ่นไปดูแลแก้ไขระเบียบให้สามารถดำเนินการได้ คาดว่าน่าจะจดทะเบียนบริษัทได้ภายใน 3-5 ปี และหลังจากสัมมนาครั้งนี้จะนำกลุ่มนักธุรกิจเข้าพบ รมว.มหาดไทย เพื่อนำเสนอพลังขับเคลื่อนที่เกิดจากการรวมตัวของคนขอนแก่นต่อไป"
นายธีระศักดิ์กล่าวว่า ขณะนี้เทศบาลมีแผนร่วมลงทุนกับกลุ่ม KKTT ในการสร้างศูนย์ประชุมนานาชาติ วงเงินลงทุน 300-400 ล้านบาท ตั้งเป้ารูปแบบการบริหาร 2 รูปแบบ คือ 1.ร่วมทุนกับบริษัทเอกชน 2.เทศบาลเป็นผู้ลงทุนแล้วให้สัมปทานเอกชนบริหาร คาดว่าจะมีความชัดเจนต้นเดือนธันวาคมนี้
ทุนประเดิมเป้า 300 ล้าน
นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไชย รองคณบดีฝ่ายบริหารวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทวี ดอลลาเชียน จำกัด หนึ่งในนักธุรกิจขอนแก่นผู้ริเริ่มกลุ่ม KKTT กล่าวเพิ่มเติมว่า อนาคตขอนแก่นจะเป็น 4 แยกอินโดจีน จึงต้องร่วมกันคิดว่าจะทำอย่างไรในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
"กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและบริษัทจำกัดของเทศบาลนครขอนแก่น คือคำตอบที่เป็นทางออกที่จะสามารถพัฒนาเมืองขอนแก่นได้เอง จากคำแนะนำของตลาดหลักทรัพย์ฯมีความมั่นใจ 90% ว่าขอนแก่นจะมีกองทุนโครงสร้างพื้นฐานของตัวเอง โดยเริ่มต้นจากผู้ประกอบการ 20-30 ราย ต้องมีเงินประเดิมก้อนแรก 200-300 ล้านบาท โดยจะทำคู่ขนานไปกับการจัดตั้งบริษัทจำกัดของเทศบาล และแม้ว่าเทศบาลจะไม่สามารถตั้งบริษัทเพื่อร่วมทุน กองทุนก็ยังสามารถดำเนินการได้ในรูปแบบที่เทศบาลให้สัมปทานกับกองทุน โดยต้นเดือนธันวาคมนี้จะเริ่มคิกออฟในการระดมทุนจากกลุ่ม KKTT"
ชิมลาง รถรางสายสีแดง
"เงินประเดิมก้อนแรก 200-300 ล้านบาท อาจจะนำไปสร้างศูนย์ประชุมระดับนานาชาติ อีกส่วนนำไปจัดจ้างที่ปรึกษาต่าง ๆ รวมถึงการระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ"
นายสุรเดชกล่าวว่า เบื้องต้นจะมีการลงทุนรถไฟฟ้า แต่ไม่ใช่รถไฟฟ้าแบบกรุงเทพฯ แต่เรียกว่า Tram เป็นรถรางสายสีแดง เส้นทางบ้านสำราญ ท่าพระ เลี้ยวเข้ามหาวิทยาลัยขอนแก่น ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร ตัวรถจะอยู่เกาะกลางถนน วิ่งตามถนนมิตรภาพมาเรื่อย ๆ ไม่ไปกินพื้นที่ถนน รวมทั้งมีการพัฒนาพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ อาทิ สำนักงาน ที่อยู่อาศัย เพื่อให้เมืองโตอย่างมีระเบียบ
"จริง ๆ ที่วางแผนไว้มีหลายสาย แต่วันนี้เราต้องการทำสายแรกให้ได้ก่อน เมื่อเริ่มสายแรกได้ สายอื่นจะตามมา คาดว่าใช้เวลา 3 ปีในการระดมทุน ส่วนปัญหาจราจรในตัวเมืองจะใช้ระบบ BRT หรือรถโดยสารด่วนพิเศษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าระดมทุนไม่ต่ำกว่า 3-4 พันล้านบาท