รายละเอียดของโครงการ
- เป็นโครงการที่จะลดความแออัดคับคั่งของทางหลวงหมายเลข 4 ตอน หาดใหญ่ - คลองพรวน
- ก่อสร้างเป็นทางหลวงพิเศษ ขนาด 4 ช่องจราจร เขตทางประมาณ 70 ม.
- ระยะทาง 47.200 กม.
- ค่าก่อสร้างประมาณ 7,740 ลบ.
- กรมทางหลวงได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจวิศวกรรมและผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม แล้วเสร็จเมื่อปี 2545 ผลการศึกษา คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ (EIRR = 13.82 %) แต่ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน


ภาพแสดงแนวก่อสร้างทางด่วนพิเศษระหว่างเมือง หรือ มอเตอร์เวย์สายหาดใหญ่ – สะเดา (เส้นประ)
มอเตอร์เวย์หาดใหญ่ – สะเดา
โครงการศึกษาเรื่องการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือ มอเตอร์เวย์เส้นทางหาดใหญ่-ด่านสะเดาระยะทางประมาณ 47.2 กิโลเมตร เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2543 โดยกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เป็นผู้ดำเนินการ แต่มีผลการศึกษาออกมาจริงๆ ในปี 2548 โดยมีวงเงินลงทุนตามผลการศึกษาขณะนั้น มูลค่าประมาณ 10,055 ล้านบาท
นายชูศักดิ์ เสวี ผู้อำนวยการสำนักแผนงานกรมทางหลวง(ทล.) เหตุที่มอเตอร์เวย์หาดใหญ่ – ด่านสะเดา สายนี้ยังไม่ได้ก่อสร้าง เนื่องจากผลการศึกษาขณะนั้น ระบุว่า ยังไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจจึงไม่เร่งผลักดันโครงการ แต่ผลการศึกษาระบุว่า จะเริ่มเห็นผลได้ในปี 2558
“แม้ผลการศึกษาดังกล่าว ระบุว่าจะเห็นผลในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่ขณะนี้ได้เริ่มมีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์เส้นทางหาดใหญ่ - ด่านสะเดาแล้ว เพียงแต่ต้องมาวิเคราะห์งบประมาณในส่วนต่างๆ ใหม่อีกครั้งเท่านั้น โดยเฉพาะการเปิดสัมปทานภายใต้งบประมาณการลงทุนระยะเวลา 30 ปี” นายชูศักดิ์ กล่าว
ปัจจุบันสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้รื้อแผนโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์หาดใหญ่ – ด่านสะเดาขึ้นมาอีกครั้ง แต่ปรับระยะทางเป็น 55 กิโลเมตร เพื่อรองรับการจราจรที่แออัดในถนนกาญจนวนิช ซึ่งเป็นถนนสายหลักสายเดียวจากหาดใหญ่ไปยังด่านสะเดา
แม้ สนข.ได้ปรับเปลี่ยนเส้นทางจากเดิมไปบ้าง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป แต่เส้นทางใหม่ก็ยังผ่านบริเวณนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ หรือนิคมฉลุง อำเภอหาดใหญ่ เชื่อมกับเส้นทางเดิม โดยมีการเสนอให้สร้างอุโมงค์ลอดทางแยกสำคัญๆ
ขณะเดียวกันต้องสอดคล้องกับการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ด้วย เนื่องจากด่านพรมแดนไทย – มาเลเซียที่บ้านด่านนอกปัจจุบัน ก็มีความแออัดเช่นกัน
ส่วนข้อมูลโครงการเดิม ระบุว่า การก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายนี้จะลดจุดตัดสำคัญ 3 จุด ในอำเภอหาดใหญ่ ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา และที่ด่านสะเดา เพื่อให้รถใช้ความเร็วได้สม่ำเสมอ เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยและมาเลเซียผ่านด่านสะเดา
สำหรับจุดเริ่มต้นโครงการอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อยู่ใกล้กับ ไปสิ้นสุดที่ด่านสะเดาติดกับชายแดนประเทศมาเลเซียระยะทางประมาณ 47.2 กิโลเมตร มีทั้งส่วนที่เป็นถนนระดับพื้นและทางยกระดับ เขตทางกว้าง 70 เมตร ทิศทางไป-กลับฝั่งละ 2 ช่องจราจร
โดยมีแนวเส้นทางเชื่อมกับถนนเพชรเกษม ตำบลฉุลง อำเภอหาดใหญ่ ใกล้ๆ กับที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ หรือ นิคมฉลุง ผ่านพื้นที่ใกล้กับสนามบินนานาชาติหาดใหญ่ เข้าไปในเขตอำเภอคลองหอยโข่ง แล้วเชื่อมต่อกับถนนกาญจวนิชก่อนถึงด่านสะเดา แต่อาจมีการเปลี่ยนแนวในบริเวณนี้ เพื่อรองรับด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่
ตลอดเส้นจะมีการติดตั้งรั้วกั้นระหว่างทางหลวงพิเศษและทางบริการชุมชนอื่นๆ จะมีการจัดส่วนไว้รองรับบริการ(Service Track) จะมีทางเข้า – ออก บริเวณที่ผ่านพื้นที่ชุมชนและพื้นที่สีเขียวจะต้องมีการเวนคืนบางส่วน
สำหรับวงเงินลงทุนเดิม 10,055 ล้านบาทนั้น แบ่งออกเป็นค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 641 ล้านบาท ค่าออกแบบรายละเอียด 120 ล้านบาท ค่าควบคุมงานก่อสร้าง 120 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 6,875 ล้านบาท ค่าบริหารจัดการโครงการ 1,456 ล้านบาท ค่าบำรุงรักษาประจำปี(รวม 26 ปี) 312 ล้านบาท ค่าบำรุงรักษาตามกำหนดเวลา (ทุกๆ 7 ปี) 531 ล้านบาท
ระยะเวลาตั้งแต่การออกแบบจนก่อสร้างแล้วเสร็จใช้เวลา 4 ปี และเปิดใช้เส้นทางอีก26 ปี รวมเป็น 30 ปี
- เป็นโครงการที่จะลดความแออัดคับคั่งของทางหลวงหมายเลข 4 ตอน หาดใหญ่ - คลองพรวน
- ก่อสร้างเป็นทางหลวงพิเศษ ขนาด 4 ช่องจราจร เขตทางประมาณ 70 ม.
- ระยะทาง 47.200 กม.
- ค่าก่อสร้างประมาณ 7,740 ลบ.
- กรมทางหลวงได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจวิศวกรรมและผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม แล้วเสร็จเมื่อปี 2545 ผลการศึกษา คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ (EIRR = 13.82 %) แต่ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน


ภาพแสดงแนวก่อสร้างทางด่วนพิเศษระหว่างเมือง หรือ มอเตอร์เวย์สายหาดใหญ่ – สะเดา (เส้นประ)
มอเตอร์เวย์หาดใหญ่ – สะเดา
โครงการศึกษาเรื่องการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือ มอเตอร์เวย์เส้นทางหาดใหญ่-ด่านสะเดาระยะทางประมาณ 47.2 กิโลเมตร เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2543 โดยกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เป็นผู้ดำเนินการ แต่มีผลการศึกษาออกมาจริงๆ ในปี 2548 โดยมีวงเงินลงทุนตามผลการศึกษาขณะนั้น มูลค่าประมาณ 10,055 ล้านบาท
นายชูศักดิ์ เสวี ผู้อำนวยการสำนักแผนงานกรมทางหลวง(ทล.) เหตุที่มอเตอร์เวย์หาดใหญ่ – ด่านสะเดา สายนี้ยังไม่ได้ก่อสร้าง เนื่องจากผลการศึกษาขณะนั้น ระบุว่า ยังไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจจึงไม่เร่งผลักดันโครงการ แต่ผลการศึกษาระบุว่า จะเริ่มเห็นผลได้ในปี 2558
“แม้ผลการศึกษาดังกล่าว ระบุว่าจะเห็นผลในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่ขณะนี้ได้เริ่มมีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์เส้นทางหาดใหญ่ - ด่านสะเดาแล้ว เพียงแต่ต้องมาวิเคราะห์งบประมาณในส่วนต่างๆ ใหม่อีกครั้งเท่านั้น โดยเฉพาะการเปิดสัมปทานภายใต้งบประมาณการลงทุนระยะเวลา 30 ปี” นายชูศักดิ์ กล่าว
ปัจจุบันสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้รื้อแผนโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์หาดใหญ่ – ด่านสะเดาขึ้นมาอีกครั้ง แต่ปรับระยะทางเป็น 55 กิโลเมตร เพื่อรองรับการจราจรที่แออัดในถนนกาญจนวนิช ซึ่งเป็นถนนสายหลักสายเดียวจากหาดใหญ่ไปยังด่านสะเดา
แม้ สนข.ได้ปรับเปลี่ยนเส้นทางจากเดิมไปบ้าง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป แต่เส้นทางใหม่ก็ยังผ่านบริเวณนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ หรือนิคมฉลุง อำเภอหาดใหญ่ เชื่อมกับเส้นทางเดิม โดยมีการเสนอให้สร้างอุโมงค์ลอดทางแยกสำคัญๆ
ขณะเดียวกันต้องสอดคล้องกับการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ด้วย เนื่องจากด่านพรมแดนไทย – มาเลเซียที่บ้านด่านนอกปัจจุบัน ก็มีความแออัดเช่นกัน
ส่วนข้อมูลโครงการเดิม ระบุว่า การก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายนี้จะลดจุดตัดสำคัญ 3 จุด ในอำเภอหาดใหญ่ ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา และที่ด่านสะเดา เพื่อให้รถใช้ความเร็วได้สม่ำเสมอ เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยและมาเลเซียผ่านด่านสะเดา
สำหรับจุดเริ่มต้นโครงการอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อยู่ใกล้กับ ไปสิ้นสุดที่ด่านสะเดาติดกับชายแดนประเทศมาเลเซียระยะทางประมาณ 47.2 กิโลเมตร มีทั้งส่วนที่เป็นถนนระดับพื้นและทางยกระดับ เขตทางกว้าง 70 เมตร ทิศทางไป-กลับฝั่งละ 2 ช่องจราจร
โดยมีแนวเส้นทางเชื่อมกับถนนเพชรเกษม ตำบลฉุลง อำเภอหาดใหญ่ ใกล้ๆ กับที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ หรือ นิคมฉลุง ผ่านพื้นที่ใกล้กับสนามบินนานาชาติหาดใหญ่ เข้าไปในเขตอำเภอคลองหอยโข่ง แล้วเชื่อมต่อกับถนนกาญจวนิชก่อนถึงด่านสะเดา แต่อาจมีการเปลี่ยนแนวในบริเวณนี้ เพื่อรองรับด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่
ตลอดเส้นจะมีการติดตั้งรั้วกั้นระหว่างทางหลวงพิเศษและทางบริการชุมชนอื่นๆ จะมีการจัดส่วนไว้รองรับบริการ(Service Track) จะมีทางเข้า – ออก บริเวณที่ผ่านพื้นที่ชุมชนและพื้นที่สีเขียวจะต้องมีการเวนคืนบางส่วน
สำหรับวงเงินลงทุนเดิม 10,055 ล้านบาทนั้น แบ่งออกเป็นค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 641 ล้านบาท ค่าออกแบบรายละเอียด 120 ล้านบาท ค่าควบคุมงานก่อสร้าง 120 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 6,875 ล้านบาท ค่าบริหารจัดการโครงการ 1,456 ล้านบาท ค่าบำรุงรักษาประจำปี(รวม 26 ปี) 312 ล้านบาท ค่าบำรุงรักษาตามกำหนดเวลา (ทุกๆ 7 ปี) 531 ล้านบาท
ระยะเวลาตั้งแต่การออกแบบจนก่อสร้างแล้วเสร็จใช้เวลา 4 ปี และเปิดใช้เส้นทางอีก26 ปี รวมเป็น 30 ปี