Joined
·
37,999 Posts
ทักษิณเอาใจคนกทม.ลดราคารถไฟใต้ดิน
ครม.ยุค "พี่มีแต่ให้" ล่าสุด ถึงคิว "บีเอ็มซีแอล" ถูกมัดมือชก จับเซ็นเอ็มโอยูทดลองปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน 3 เดือน เหลือ 10-15 บาท จากเดิม 12-31 บาทตลอดสาย มั่นใจมีผู้ใช้บริการเพิ่มไม่น้อยกว่า 50% ต่อวัน เผยก๊อบปี้สูตรชดเชยรายได้ "โทลล์เวย์" มาใช้ "สุริยะ" เปรย หากได้ผลจะยืดเวลาออกไปอีก เล็งขยายอายุสัมปทานเพิ่มให้
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม.) ได้อนุมัติให้ปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน และได้มีการลงนามในข้อตกลงบันทึกความเข้าใจ หรือเอ็มโอยู เพื่อทดลองปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( รฟม.) กับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด ( มหาชน ) หรือบีเอ็มซีแอล โดยจะมีผลในวันที่ 7 มกราคม 2548 เป็นต้นไป เป็นเวลา 3 เดือน โดยอัตราค่าโดยสาร 3 สถานีแรก เก็บ 10 บาท 4 สถานีขึ้นไปเก็บ 15 บาทตลอดสาย สำหรับบุคคลทั่วไป ส่วนกรณีเป็นนักเรียนเก็บอัตราเริ่มต้นที่ 7-11 บาท จากเดิมที่อัตราปกติเริ่มต้นที่ 12-31 บาท คาดว่าจะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 50% ต่อวัน จากปัจจุบันมีปริมาณผู้โดยสาร 1.4 แสนคนต่อวัน
ส่วนค่าชดเชยจะใช้สูตรเดียวกันกับโครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ คือรัฐรับภาระจ่ายค่าชดเชยให้ 80% อีก 20% เอกชนรับภาระ โดยรายได้ที่นำมาชดเชยจะเป็นรายได้จากส่วนแบ่งค่าโดยสารของ รฟม. กับรายได้จากการพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ ทั้ง 3 เดือนไม่เกิน 10 ล้านบาท
พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า ครม.ยังได้อนุมัติวงเงินว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อออกแบบโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายอีก 3 สายทาง วงเงิน 1,196.2 ล้านบาท ประกอบด้วย สายสีม่วง บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 20 กิโลเมตร 345 ล้านบาท สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 13 กิโลเมตร วงเงิน 197 ล้านบาท สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 14 กิโลเมตร 227 ล้านบาท และสายสีส้ม บางกะปิ-บางบำหรุ ระยะทาง 24 กิโลเมตร วงเงิน 426.7 ล้านบาท สาเหตุที่ต้องอนุมัติเนื่องจากต้องเร่งออกแบบ เพราะต้องใช้เวลา 6-7 เดือน และจะเร่งก่อสร้างกลางปี 2548 นี้
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รฟม.กับบีเอ็มซีแอลได้เซ็นเอ็มโอยูทดลองปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้บริการระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการจะแก้ไขปัญหาการจราจร ส่งเสริมการประหยัด และลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งนี้ หากการทดลองประสบผลสำเร็จก็อาจจะให้ยืนราคานี้ต่อไป โดยอาจจะขยายอายุสัมปทานให้เอกชนออกไปอีก ซึ่งเรื่องนี้จะนำมาพิจารณาภายหลัง วิธีนี้คาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินเพิ่มขึ้น 30-50% และไม่เป็นการผิดกฎหมาย เนื่องจากไม่มีการแก้ไขสัญญาใดๆ
ด้านนายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานบริษัทบีเอ็มซีแอล กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวจะทำให้รายได้ของบริษัทลดลง 3-4 แสนบาทต่อวัน เรื่องนี้เป็นความพอใจร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ได้ถูกบีบบังคับให้ลดราคา โดย รฟม.จะจ่ายเงินชดเชยให้บริษัทเดือนต่อเดือน และไม่เกี่ยวกับการเร่งให้ รฟม.อนุมัติให้มีการพัฒนาในเชิงพาณิชย์
Source : Prachachat : Jan 5, 2005
ครม.ยุค "พี่มีแต่ให้" ล่าสุด ถึงคิว "บีเอ็มซีแอล" ถูกมัดมือชก จับเซ็นเอ็มโอยูทดลองปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน 3 เดือน เหลือ 10-15 บาท จากเดิม 12-31 บาทตลอดสาย มั่นใจมีผู้ใช้บริการเพิ่มไม่น้อยกว่า 50% ต่อวัน เผยก๊อบปี้สูตรชดเชยรายได้ "โทลล์เวย์" มาใช้ "สุริยะ" เปรย หากได้ผลจะยืดเวลาออกไปอีก เล็งขยายอายุสัมปทานเพิ่มให้
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม.) ได้อนุมัติให้ปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน และได้มีการลงนามในข้อตกลงบันทึกความเข้าใจ หรือเอ็มโอยู เพื่อทดลองปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( รฟม.) กับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด ( มหาชน ) หรือบีเอ็มซีแอล โดยจะมีผลในวันที่ 7 มกราคม 2548 เป็นต้นไป เป็นเวลา 3 เดือน โดยอัตราค่าโดยสาร 3 สถานีแรก เก็บ 10 บาท 4 สถานีขึ้นไปเก็บ 15 บาทตลอดสาย สำหรับบุคคลทั่วไป ส่วนกรณีเป็นนักเรียนเก็บอัตราเริ่มต้นที่ 7-11 บาท จากเดิมที่อัตราปกติเริ่มต้นที่ 12-31 บาท คาดว่าจะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 50% ต่อวัน จากปัจจุบันมีปริมาณผู้โดยสาร 1.4 แสนคนต่อวัน
ส่วนค่าชดเชยจะใช้สูตรเดียวกันกับโครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ คือรัฐรับภาระจ่ายค่าชดเชยให้ 80% อีก 20% เอกชนรับภาระ โดยรายได้ที่นำมาชดเชยจะเป็นรายได้จากส่วนแบ่งค่าโดยสารของ รฟม. กับรายได้จากการพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ ทั้ง 3 เดือนไม่เกิน 10 ล้านบาท
พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า ครม.ยังได้อนุมัติวงเงินว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อออกแบบโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายอีก 3 สายทาง วงเงิน 1,196.2 ล้านบาท ประกอบด้วย สายสีม่วง บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 20 กิโลเมตร 345 ล้านบาท สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 13 กิโลเมตร วงเงิน 197 ล้านบาท สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 14 กิโลเมตร 227 ล้านบาท และสายสีส้ม บางกะปิ-บางบำหรุ ระยะทาง 24 กิโลเมตร วงเงิน 426.7 ล้านบาท สาเหตุที่ต้องอนุมัติเนื่องจากต้องเร่งออกแบบ เพราะต้องใช้เวลา 6-7 เดือน และจะเร่งก่อสร้างกลางปี 2548 นี้
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รฟม.กับบีเอ็มซีแอลได้เซ็นเอ็มโอยูทดลองปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้บริการระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการจะแก้ไขปัญหาการจราจร ส่งเสริมการประหยัด และลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งนี้ หากการทดลองประสบผลสำเร็จก็อาจจะให้ยืนราคานี้ต่อไป โดยอาจจะขยายอายุสัมปทานให้เอกชนออกไปอีก ซึ่งเรื่องนี้จะนำมาพิจารณาภายหลัง วิธีนี้คาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินเพิ่มขึ้น 30-50% และไม่เป็นการผิดกฎหมาย เนื่องจากไม่มีการแก้ไขสัญญาใดๆ
ด้านนายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานบริษัทบีเอ็มซีแอล กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวจะทำให้รายได้ของบริษัทลดลง 3-4 แสนบาทต่อวัน เรื่องนี้เป็นความพอใจร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ได้ถูกบีบบังคับให้ลดราคา โดย รฟม.จะจ่ายเงินชดเชยให้บริษัทเดือนต่อเดือน และไม่เกี่ยวกับการเร่งให้ รฟม.อนุมัติให้มีการพัฒนาในเชิงพาณิชย์
Source : Prachachat : Jan 5, 2005