SkyscraperCity Forum banner

Nakhon Ratchasima | New Bus Terminal

1309 Views 3 Replies 1 Participant Last post by  napoleon
1 - 4 of 4 Posts
....
ดึงเอกชนเนรมิต 5 สถานีขนส่ง แข่ง “สนามบิน” สู้ “โลว์คอสต์”

วันที่ 24 ตุลาคม 2560 - 00:27 น.

ปัจจุบัน “รถบัส” หรือรถโดยสารประจำทาง ถูกคู่แข่งสายการบินต้นทุนต่ำหรือโลว์คอสต์แย่งแชร์ตลาด ขณะที่ในอนาคต หากรถไฟความเร็วสูงที่รัฐบาลปัจจุบันกำลังผลักดันให้เริ่มการก่อสร้าง หากสำเร็จดังหวัง คาดการณ์กันว่าไฮสปีดเทรนจะเป็นอีกหนึ่งคู่แข่งของรถ บขส.

เมื่อเทรนด์และพฤติกรรมการเดินทางเปลี่ยนไป ที่ยอมจ่ายเงินเพื่อแลกกับความเร็ว จึงทำให้รถโดยสารประจำทางเริ่มมีความนิยมน้อยลง แต่คงยังไม่ถึงขั้นจะล้มหายไปจากตลาด เพราะรถ บขส.ยังเป็นขวัญใจของกลุ่มรากหญ้า

เพื่อเป็นการรับมือกับจุดเปลี่ยนของตลาด ล่าสุด “ขบ.-กรมขนส่งทางบก” ได้จัดทำแผนแม่บทพัฒนาสถานีขนส่งผู้โดยสารในระยะ 20 ปี (2561-2581) ใน 5 ปีแรก จะนำร่อง 5 จังหวัด

“เชิดชัย สนั่นศรีสาคร” รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันพฤติกรรมผู้ใช้บริการเปลี่ยนไป ประกอบกับมีการแข่งขันของธุรกิจสายการบินและระบบราง รวมทั้งมีการเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน จึงทำให้ต้องมีการศึกษาแผนแม่บทสถานีขนส่งผู้โดยสารใหม่ เพื่อตอบโจทย์กับผู้โดยสาร

เมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2560 ที่ผ่านมา ได้จัดการประชุมกลุ่มย่อย (focus group) ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทในการดำเนินการและการพัฒนาสถานีขนส่งคนโดยสาร เพื่อนำเสนอแนวคิดในการจัดทำแผนแม่บทในการดำเนินการเพื่อนำเสนอแนวคิดในการจัดทำแผนแม่บท ในการดำเนินการและพัฒนาสถานีขนส่งคนโดยสาร ภายในระยะเวลา 20 ปี แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะสั้น 5 ปี ระยะกลาง 6-10 ปี และระยะยาว 11-20 ปี จะเป็นภาพรวมทั้งประเทศ

แผนแม่บทได้จัดทำแผนปฏิบัติการระยะเร่งด่วนภายในระยะเวลา 5 ปี เริ่มปี 2561-2565 โดยคัดสถานีขนส่งที่สำคัญมานำร่อง 5 แห่ง ได้แก่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หรือหมอชิต เพราะมีปริมาณการเดินทางสูง ในปี 2559 สถานีขนส่งหมอชิต มีจำนวนเที่ยวรถ 7,469 เที่ยว จำนวนผู้โดยสาร 128,510 คน และรายได้การบริการ 48,677 ล้านบาท

“หาดใหญ่” เนื่องจากเป็นพื้นที่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน รวมถึงมีเที่ยวรถโดยสารระหว่างประเทศ มีสัดส่วนจำนวนผู้ใช้บริการต่างชาติสูง

“ระยอง” เป็นพื้นที่ตามนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) รองรับนักท่องเที่ยวและผู้โดยสารคนไทย ส่วน “นครราชสีมา” เป็นพื้นที่ที่มีการแข่งขันธุรกิจการบินและระบบราง

และ “เชียงใหม่” เป็นพื้นที่ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวสูง รวมทั้งมีการแข่งขันธุรกิจการบิน

ทั้ง 5 แห่งจะกำหนดรูปแบบการพัฒนาและให้เอกชนร่วมลงทุน โดยหลักแนวคิดในการออกแบบสถานีคือ จัดพื้นที่รับ-ส่งผู้โดยสารอยู่ในส่วนที่เข้าถึงง่าย ลดปริมาณจราจร แยกบริเวณรับ-ส่งผู้โดยสารขาเข้า-ออก

“ออกแบบสถานีให้ใช้ประโยชน์พื้นที่เหมือนสนามบิน จัดช่องจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร สามารถเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย รองรับเทคโนโลยีดิจิทัล เหมือนโมเดลต้นแบบจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น”

ที่ผ่านมาได้ประชุมกลุ่มย่อยใน 3 จังหวัด ได้แก่ หาดใหญ่ นครราชสีมา และระยอง หลังจากนี้จะประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2 ภายในเดือน ม.ค.-ก.พ. 2561 คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในเดือน มี.ค. 2561 จากนั้นจะเสนอให้กระทรวงคมนาคมรับทราบ

“สถานีจตุจักรหมอชิต ขณะนี้นโยบายกระทรวงคมนาคมจะย้ายไปอยู่ที่สถานีบีทีเอสหมอชิต ขนาดพื้นที่ 1 แสน ตร.ม. รองรับการเดินทางของประชาชนในการใช้ระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ เป็นสถานีรับ-ส่งผู้โดยสารอย่างเดียว ส่วนการแก้ไขปัญหาจราจรทางเข้า-ออก จะต้องหารือกับทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) อีกครั้ง คาดว่าเริ่มก่อสร้างปีหน้า”นายเชิดชัยกล่าวและว่า

สำหรับการลงทุนสถานีต่างจังหวัด ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้ดำเนินการ กรมจะเป็นผู้กำกับดูแล หากมีการร่วมทุนกับเอกชนก็จะเป็นท้องถิ่นกับเอกชนเป็นผู้ร่วมพัฒนาโครงการ

https://www.prachachat.net/property/news-58958
See less See more
ยกเครื่องสถานีขนส่งหมอชิต-4 จังหวัดฝันไกลสู้โลว์คอสต์

วันที่ 2 มีนาคม 2561 - 07:45 น.

ขนส่งยกเครื่องสถานี บขส. แข่งโลว์คอสต์นำร่อง 5 แห่ง กทม. สงขลา ระยอง โคราช เชียงใหม่ ปีนี้ประเดิมหมอชิตใหม่ ผุด “สมาร์ท เทอร์มินอล” ดีเดย์ มี.ค.นี้เปิดใช้รับเทศกาลสงกรานต์

นายเชิดชัย สนั่นศรีสาคร รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยว่า สถานีขนส่งผู้โดยสารถือเป็นปัจจัยหลักและเป็นระบบขนส่งขั้นพื้นฐานที่ควรให้ความสำคัญ เพราะมีราคาถูกและเข้าถึงชุมชนได้ทุกระดับ แต่การเติบโตอย่างรวดเร็วของสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์) ทำให้ผู้โดยสารหันไปใช้บริการสายการบินโลว์คอสต์มากขึ้น ส่งผลกระทบต่อกิจการรถโดยสารประจำทางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรมจึงจัดทำโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทในการดำเนินการและการพัฒนาสถานีขนส่งผู้โดยสารขึ้น ระยะเวลาของแผนแม่บท 20 ปี (2561-2580) แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น 1-5 ปี (2561-2565) ระยะกลาง 6-10 ปี (2566-2570) ระยะยาว 11-20 ปี (2571-2580) ประกอบด้วย 4 มิติพัฒนา ได้แก่



1.การพัฒนาทางกายภาพ และการเพิ่มพื้นที่การให้บริการ 2.การปรับปรุงและพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบ 3.การพัฒนาระบบและรูปแบบบริหารจัดการสถานี และ 4.การพัฒนาเทคโนโลยี และแผนเร่งด่วน 5 ปี ที่เน้นการพัฒนาใน 3 มิติหลัก คือ การปรับปรุงทางกายภาพ และการจัดการตามภารกิจฯ การทดลองนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและกำกับดูแลกิจการของสถานี และการพัฒนาตามลักษณะและบริบทเฉพาะของแต่ละสถานี จะใช้ในพื้นที่นำร่อง 5 จังหวัด ได้แก่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร), สถานีสงขลา, สถานีระยอง, สถานีนครราชสีมา และสถานีเชียงใหม่ ซึ่งแผนพัฒนาได้ร่างเสร็จแล้ว แต่ในบางพื้นที่ยังมีปัญหาที่ต้องจัดการแก้ไขก่อนเริ่มดำเนินการ คาดว่าประมาณเดือน มี.ค.-เม.ย.จะได้ข้อสรุป

ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสถานีขนส่งจตุจักร จัดทำขึ้นภายหลังรับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ และประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสถานีขนส่งคนโดยสารเมื่อปลายปี 2560 โดยใช้ประกอบเป็นแนวทางในการปรับปรุงรายละเอียดการจัดทำร่างแผนปฏิบัติการให้เหมาะสมกับความต้องการของทุกภาคส่วน และสอดคล้องกับแผนแม่บทการพัฒนาสถานีขนส่งคนโดยสารระยะ 20 ปี ที่ได้จัดทำขึ้นมาภายใต้โครงการเดียวกันนี้

นอกจากนี้ กรมได้เตรียมนำระบบ “สมาร์ทเทอร์มินอล” มาใช้เชื่อมโยงกับศูนย์บริหารจัดการจีพีเอส โดยติดตามการเดินรถพร้อมแสดงเวลาเข้า-ออก เช่นเดียวกับสนามบิน คาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ในเดือน มี.ค.นี้ เพื่อให้ทันต่อการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เช่น ใช้ระบบตรวจเช็กเวลาเข้าออกรถอัตโนมัติ, ระบบขายตั๋วร่วม, ระบบบริหารจัดการช่องจอดอัตโนมัติ การนำอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัดมาเป็นจุดเด่น และมีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียงสถานีขนส่ง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นด้วย

https://www.prachachat.net/property/news-124225
See less See more
1 - 4 of 4 Posts
This is an older thread, you may not receive a response, and could be reviving an old thread. Please consider creating a new thread.
Top