SkyscraperCity Forum banner

Nonthaburi 1 Bridge

87658 Views 206 Replies 63 Participants Last post by  napoleon



World Forum https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?p=46106887


http://www.nonthaburi1bridge.com

Project Background


As a continuous growth of population in Bangkok and its vicinity, the land used of the area in the north of Bangkok and its adjacent area of Nonthaburi Province, especially in the west side of the Chao Phraya River, has been rapidly changed due to the large amount of residential community development. This results in an increasing traffic demand in the morning from the residential area on the west side to the employment and educational area on the east side and vice versa situation in the evening. Consequently, this increasing demand results in a congested traffic condition on the existing river crossing bridges especially in the morning peak period


The Commission for the Management of Land Traffic, the summit body who considers the land transportation system of the nation of which the chairman is the Prime Minister, had a resolution on 23rd February 2004 assigning the Department of Rural Roads (DRR) as the Executing Agency for the implementation of the Project.

.....เนื่องด้วยคณะกรรมการจัดระบบการจัดจราจรทางบกได้มีการประชุม ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547
โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งผลการประชุมมีมติในเรื่องของการพัฒนาระบบถนนและทางด่วน มอบหมายให้กรมทางหลวงชนบท ดำเนินการโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1

จากการกระจายตัวของการพัฒนาพื้นที่ไปในทิศทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลสืบเนื่องจากอัตราการเพิ่มของประชาชนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีการพัฒนาค่อนข้างมาก มีผลให้ความต้องการในการเดินทางข้ามไปมาระหว่างสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากปริมาณของการจราจรบนสะพานที่เชื่อมการคมนาคมระหว่างฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบันมีสภาพที่หนาแน่นมาก


.... ดั้งนั้นจึงมีความจำเป็นในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มเติมในบริเวณที่เหมาะสม และมีศักยภาพในการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมที่สอดคล้องกับความต้องการในการเดินทางของประชาชน กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม ได้เล็งเห็นว่าการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 จะเป็นโครงการหนึ่งของการพัฒนาโครงข่ายการเชื่อมพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำ ซึ่งนอกจากจะเป็นทางเลือกของเส้นทางเดินทางที่อำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยแบ่งเบาการจราจรบนสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้ว ยังเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของประชาชนรวมทั้งช่วยปรับปรุงโครงข่าย เส้นทางคมนาคมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครตอนบน และจังหวัดนนทบุรีให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น สอดคล้องตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้สามารถรองรับการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเขตชุมชน






See less See more
4
1 - 20 of 207 Posts
Location


The Project will be a new river crossing bridge at a location approximately in the middle between two existingbridges, Phra Nang Klao Bridge and Rama V Bridge. The Project is a part of the completed main road linking network developed by the Department of Rural Roads (DRR) in the area on the west side of the river, Wat Nakorn-In Bridge and Connecting Road Construction Project and Pak Kret Bridge and Connecting Road Construction Project.


แนวเส้นทางโครงการ : โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1 เป็นโครงการสะพานข้ามแม่น้ำและถนนต่อเชื่อม โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการที่ ถนนนนทบุรี 1 ทางด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในตำแหน่งทางโค้งใกล้กับโรงเรียนศรีบุญยานนท์ แนวเส้นทางในช่วงต้นอยู่ในพื้นที่ด้านใต้ของท่าน้ำพิบูลสงคราม 4 และชุมชนตลาดขวัญ แนวจะวางตัวมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขึ้นฝั่งด้านตะวันตกบริเวณพื้นที่ฝั่งใต้ของคลองอ้อมนนท์ โดยแนวเส้นทาง จะอยู่ในพื้นที่ระหว่างศาลหลักเมืองซึ่งอยู่ทางด้านเหนือ และอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกที่อยู่ทางด้านใต้ของแนวตามลำดับ เมื่อแนวเส้นทางผ่านอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกแล้วแนวจะเบนไปทางทิศตะวันตก ตัดผ่านถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ประมาณที่ กม.1+300 จากนั้น แนวจะวางตัวขนานไปทางด้านใต้ของแนวถนนวัดโบสถ์ดอนพรม-ท่าน้ำนนทบุรี ผ่านพื้นที่ว่างเปล่า
และสวน และจะบรรจบซ้อนทับกับถนนวัดโบสถ์ดอนพรม-ท่าน้ำนนทบุรี ที่ประมาณ กม.2+600 ไปจนถึงจุดสิ้นสุดโครงการที่ถนนราชพฤกษ์ ตำแหน่งที่ปัจจุบันเป็นสะพานข้ามถนนราชพฤกษ์ รวมระยะทาง ประมาณ 4.3 กิโลเมตร โดยมีองค์ประกอบหลักของโครงการ ดังนี้

1 ทางแยกต่างระดับบนถนนนนทบุรี 1 บริเวณจุดเริ่มต้นโครงการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

- มีทางลงสำหรับรถในทิศทางที่จะลงถนนนนทบุรี 1 เพื่อไป ท่าน้ำนนทบุรี พร้อมทางขึ้นสำหรับรถบนถนนนนทบุรี 1 ในทิศทางจากท่าน้ำนนทบุรีที่จะขึ้นสะพาน โดยไม่ต้องผ่านแยกสัญญาณไฟจราจรบริเวณสามแยกถนนนนทบุรี 1 ถนนเลี่ยงเมืองมีทางขึ้นสำหรับรถบนถนนนนทบุรี 1 ในทิศทางจากถนนรัตนาธิเบศร์ที่จะไปท่าน้ำนนทบุรีต่อเชื่อมเข้ากับทางลงสะพาน สำหรับรถที่จะไปในทิศทางท่าน้ำนนทบุรีข้างต้น มีทางขึ้นบนถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี สำหรับรถในทิศทางขึ้นสะพานโดยไม่ต้องผ่านแยกสัญญาณไฟจราจรบริเวณสามแยกถนนนนทบุรี

– ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี ทางแยกบริเวณตลาด อตก. มีสะพานข้ามแยกบนถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีในทิศทางจากถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ที่จะไปถนนรัตนาธิเบศร์


2..สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ขนาด 6 ช่องจราจร เป็นสะพานรูปแบบ Extradosed ความยาวสะพานรวม 460 เมตร ระยะห่างเสาตอม่อ .200 เมตร

3.ทางขึ้น-ลงสะพาน ต่อเชื่อมด้านทิศตะวันตก บริเวณจุดตัดระหว่างแนวถนนโครงการกับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหมท่าน้ำนนทบุรีได้ออกแบบไว้ เป็นสะพานข้ามแยก โดยมีทางขึ้น-ลง สำหรับรับ-ส่ง รถ จากชุมชนเฉลิมพระเกียรติ และชุมชนตามแนวถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม -ท่าน้ำนนท์ (เดิม)

4. ถนนระดับดิน ขนาด 6 ช่องจราจร

5. ทางแยกต่างระดับที่ถนนราชพฤกษ์ บริเวณจุดสิ้นสุดโครงการซึ่งเดิมมีสะพานรถยนต์ยกระดับข้ามถนนราชพฤกษ์ ตามแนวถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม - ท่าน้ำนนทบุรี ขนาด 2 ช่องจราจร (ไป-กลับ) ของกรมทางหลวงชนบทอยู่แล้ว จึงได้ออกแบบโดยใช้สะพานยกระดับเดิมเป็น Ramp สำหรับ ส่งรถจากฝั่งตะวันออก (ถนนโครงการ) ข้ามถนนราชพฤกษ์สู่ถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม - ท่าน้ำนนทบุรี (มุ่งหน้าฝั่งตะวันตก) ตามรายละเอียดดังนี้

- มี Directional Ramp ชเพื่อส่งรถจากถนนโครงการเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนราชพฤกษ์ เพื่อมุ่งหน้าถนนรัตนาธิเบศร์
- มีสะพานยกระดับขนานกับสะพานยกระดับเดิม เพื่อส่งรถจากถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม ข้ามถนนราชพฤกษ์เข้าสู่ถนนโครงการ มุ่งหน้าฝั่งตะวันออก
- มี Loop Ramp เพื่อรับรถจากถนนราชพฤกษ์เลี้ยวขวาเข้าถนนโครงการ มุ่งหน้าฝั่งตะวันออก


See less See more
Project Components





The Project is located in a jurisdiction area of Muang District in Nonthaburi Province.
The beginning of project locates at Nonthaburi 1 Road that is an existing road on the east side of the Chao Phraya River. Then the route is aligned towards the west direction crossing the river by a bridge including its connected viaduct before connecting to the existing road, Wat Bot Don Phrom-Thanam Nonthaburi Road, on the west side of the river. From this connecting point the route is aligned coinciding with the existing road at an approximate length of 1.7 kilometers to the end of project at Ratcha Phruk Road, a main road network in the north-south direction on the west area of the river. The total length of the Project is as of 4.3 kilometers approximately.


the Project can be classified into 4 main components as shown ;

1. An interchange at Nonthaburi 1 Road and a flyover at Muang Nonthaburi Bypass Road




2. A 6-lane extradosed prestressed concrete bridge of 200 m. main span of which the total length is 460 m.




3. A 6-lane at-grade road




4. An interchange at Ratcha Phruk Road

See less See more
5
Wow the first cable strayed bridge in Nonthaburi ^^.
Last News


June 3, 2009 The Department of Rural Roads (DDR) obtained the Cabinet's approval for the construction project of the Chao Phraya River Crossing Bridge at Nonthaburi 1 Road.

The Cabinet approved in principle the Chao Phraya River Crossing Bridge at Nonthaburi 1 Road with a budget framework of 3.796 billion baht. The DDR is required to spend an overseas loan along with the budget.

January 11, 2009 Office of the National Economic and Social Development Board,NESDB Board Approved the Construction of the Chao Phraya River Crossing Bridge at Nonthaburi 1 Road under the supervision of the Department of Rural Roads.



3 มิถุนายน 2552……...มติคณะรัฐมนตรี อนุมัติหลักการให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1 ภายในวงเงิน 3,796 ล้านบาท โดยให้กรมทางหลวงชนบทใช้เงินกู้ต่างประเทศเพื่อสมทบกับเงินงบประมาณในอัตราส่วนเงินกู้ 70 % เงินงบประมาณ 30 % เพื่อเป็นค่าก่อสร้างโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ

14 พฤษภาคม 2552……..ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 285 ต่อ50 งดออกเสียง19ไม่ลงคะแนน17 ของกรอบการเจรจากู้เงินจากต่างประเทศ ตามแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศประจำปีงบประมาณ 2552ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปี 2552 วงเงิน 600.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ19,814.19 ล้านบาท แยกเป็น 4โครงการคือ

1.โครงการก่อสร้างทางสายหลักให้เป็น 4ช่องจราจร(ระยะที่2)ของกรมทางหลวง ที่จะขอกู้จากธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชีย ประมาณ 170.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

2.โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี1 ของกรมทางหลวงชนบท ที่จะขอกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ ไจก้า จำนวนประมาณ 80.52 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ และ

3โครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลักครั้งที่ 8 ของการประปานครหลวง ที่จะขอกู้จากไจก้าประมาณ 60.61 ล้านเหรียญสหรัฐ และ

4.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเส้นทางบางซื่อ - ท่าพระและหัวลำโพง บางแค จำนวน 289 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

6 พฤษภาคม 2552……...คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติกรอบการเจรจาเงินกู้จากต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามแผนการก่อหนี้ต่างประเทศประจำปี 2552 ตามที่สำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งเป็นการกู้ผสมผสานกันระหว่างเงินกู้จากธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) เร็วๆ นี้จะนำเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาอนุมัติ เพื่อเจรจาเงื่อนไขการให้กู้กับแหล่งเงินกู้ต่อไป ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1 ของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) วงเงิน 2,657.20 ล้านบาท ขอกู้จากไจก้า ซึ่งกรมทางหลวงชนบทได้เวนคืนที่ดินและมีความพร้อมที่จะก่อสร้างทันที เป็นการช่วยในการพัฒนาโครงข่ายการเชื่อมโยงพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯและนนทบุรี ทำให้โครงข่ายการจราจรทั้ง 2 จังหวัดสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้านนายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวว่า กรมมีความพร้อมจะเปิดประมูลก่อสร้างโครงการสะพานนนทบุรี 1 ทันทีหลังจากขั้นตอนการกู้เงินจบลงและได้รับความเห็นชอบจากไจก้าเรื่องของการพีคิวผู้รับเหมาก่อสร้าง คาดว่าจะเริ่มประมูลได้ต้นปี 2553 ใช้เวลาก่อสร้าง 2-3 ปี ปัจจุบันเวนคืนที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว

11 มกราคม 2552……...สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เห็นชอบโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1 ของกรมทางหลวงชนบท ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอเนื่องจาก สศช.เห็นว่าจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาเชื่อมโยงพื้นที่ฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และยังเพิ่มทางเลือกในการเดินทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาให้กับประชาชนในพื้นที่พัฒนาใหม่ของจังหวัดนนทบุรี ที่สำคัญยังช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรบนสะพานพระนั่งเกล้า และสะพานพระราม 5 ที่เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน
See less See more
สะพานนนทบุรี 1" สะดุด งบฯไม่พอ-เลื่อนยาวถึงปี 2552

ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3844


คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต

กรมทางหลวงชนบท (ทช.) มีแผน จะก่อสร้างโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1 ระยะทาง 4.3 กิโลเมตร วงเงิน 5,600 ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ต่างประเทศ 60% เงินงบประมาณ 40%

เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาจราจรทั้งในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และเป็นโครงข่ายเติมเต็มเชื่อมการคมนาคม 2 ฝั่งแม่น้ำ ระหว่างฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วยระบายรถบนสะพานที่มีอยู่เดิม อย่างสะพานพระนั่งเกล้าและสะพานพระราม 5 ที่แออัดอยู่ในขณะนี้ นอกจากนี้ยังช่วยให้โครงข่ายเส้นทางคมนาคมในเขตพื้นที่กรุงเทพฯตอนบนและจังหวัดนนทบุรีมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคตในพื้นที่ใกล้เคียง

ปัจจุบัน ทช.ได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2549 ที่ผ่านมา และได้เข้าทำการเวนคืนที่ดินไปบางส่วน

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปี 2549 ได้รับงบประมาณเวนคืนค่อนข้างน้อยแค่ 50 ล้านบาท จากวงเงิน 2,000 กว่าล้านบาท ทำให้สามารถเวนคืนที่ดินไปได้เพียง 18 รายเท่านั้น

แนวทางดำเนินการ นับตั้งแต่ปี 2550-2551 ทช.จะเสนอของบประมาณสำหรับการเวนคืนที่ดิน วงเงิน 1,950 ล้านบาท เพื่อจะสะสางการเวนคืนที่ดินให้แล้วเสร็จ โดยมีที่ดินที่จะต้องเวนคืนจำนวน 392 แปลง อาคารและสิ่งปลูกสร้าง 150 หลัง ต้นไม้ยืนต้นและพืชผล จำนวน 184 แปลง

ส่วนการก่อสร้าง หลังจากที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ปรับแบบใหม่แล้ว ปรากฏว่าค่าก่อสร้างสูงขึ้นจากเดิมประเมินไว้ 2,700 ล้านบาท เป็น 3,600 ล้านบาท จะเห็นว่าจากปัญหางบประมาณดังกล่าว ทำให้ทาง ทช. ยังไม่ได้มีแผนชัดเจนในการก่อสร้างโครงการนี้ ผลกระทบลูกโซ่คือกรอบเวลาในการทำงานต้องเจอโรคเลื่อนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เดิมวางแผนเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปลายปี 2550 และเลื่อนเป็นปี 2551

ล่าสุดคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2552 ใช้เวลาก่อสร้าง 30 เดือน หรือ 2 ปีครึ่ง ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังไม่ใช้แผนงานที่ตายตัวแต่อย่างใด เนื่องจาก ถือเป็นโครงการ "ไม่เร่งด่วน"

รายละเอียด เป็นโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำและถนนต่อเชื่อม ซึ่งถนนต่อเชื่อมจะมีขนาด 6 ช่องการจราจร แนวโครงการมีจุดต้นทางของโครงการอยู่ที่ถนนนนทบุรี 1 ทางด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ในตำแหน่งบริเวณทางโค้งใกล้กับโรงเรียนศรีบุญยานนท์

โดยแนวเส้นทางในช่วงต้นอยู่ในพื้นที่ด้านใต้ของท่าน้ำพิบูลสงคราม 4 และชุมชนตลาดขวัญ จากนั้นข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขึ้นฝั่งตะวันตกบริเวณพื้นที่ฝั่งใต้ของคลองอ้อมนนท์ แนวเส้นทางจะอยู่ในพื้นที่ระหว่างศาลหลักเมืองซึ่งอยู่ทางด้านเหนือและอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก

เมื่อแนวเส้นทางผ่านอุทยานเฉลิมกาญจนา ภิเษกแล้ว จะเบนแนวเส้นทางไปทางทิศตะวันตกตัดผ่านถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ประมาณ ก.ม.1+300 จากนั้นจะขนานไปทาง ด้านใต้ของถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ผ่านพื้นที่ว่างเปล่าและสวน บรรจบและซ้อนทับเข้ากับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ที่ตำแหน่งประมาณ ก.ม.2+600 จนถึงจุดปลาย ของโครงการที่ถนนราชพฤกษ์ ในตำแหน่ง ที่ปัจจุบันเป็นสะพานข้ามถนนราชพฤกษ์

ในการออกแบบเพื่อให้เชื่อมกับโครงข่ายอื่นๆ ทช.ได้มีการออกแบบทางขึ้น-ลงให้เอื้อมากขึ้น เช่น รูปแบบทางเชื่อมขึ้น-ลงด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทางแยกถนนนนทบุรี 1-ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี มี 4 จุด คือ ทางลงสำหรับรถในทิศทางที่จะลงถนนนนทบุรี 1 เพื่อไปท่าน้ำนนทบุรี พร้อมทางขึ้นสำหรับรถบนถนนนนทบุรี 1 ในทิศทางจากท่าน้ำนนทบุรีที่จะขึ้นสะพานโดยไม่ต้องผ่านแยกสัญญาณไฟจราจรบริเวณสามแยกถนนนนทบุรี 1-ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี

นอกจากนี้ มีทางขึ้นสำหรับรถบนถนนนนทบุรี 1 ในทิศทางจากถนนรัตนาธิเบศร์ที่จะไปท่าน้ำนนทบุรี ต่อเชื่อมเข้ากับทางลงสะพานสำหรับรถที่จะไปในทิศทางท่าน้ำนนทบุรีข้างต้น มีทางขึ้นบนถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี สำหรับรถในทิศทางขึ้นสะพานโดยไม่ต้องผ่านแยกสัญญาณไฟจราจรบริเวณสามแยกถนนนนทบุรี 1-ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี ทางแยกบริเวณตลาด อ.ต.ก. และ มีสะพานข้ามแยกบนถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี ในทิศทางจากกรุงเทพฯ-นนทบุรี จะไปทางถนนรัตนาธิเบศร์

See less See more
โยนรัฐบาลใหม่อนุมัติเงินกู้'นนท์1' เจ้าของรร.แลนด์มาร์คฟันกำไรที่ 800%


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2280 20 ธ.ค. - 22 ธ.ค. 2550

กรมทางหลวงชนบทรอรัฐบาลใหม่อนุมัติเงินกู้ 3.6 พันล้านบาทลุยสร้างสะพานข้ามเจ้าพระยานนทบุรี 1 หลัง"ขิงแก่"ดองจนเค็ม เหตุลุ้นเจบิคปล่อยกู้รถไฟฟ้าก่อน ชี้ จำเป็นต้องเดินหน้า เพื่อแก้จราจร - เวนคืนแล้วเสร็จ 100% ด้าน บิ๊กโรงแรมแลนด์มาร์ค ยันไม่เห็นด้วย/รับได้ค่าชดเชยสูงไร่ละ 8 ล้านจากที่ซื้อไร่ละล้าน

แหล่งข่าวระดับสูงจากกรมทางหลวงชนบท เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่าขณะนี้กรมรอรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ พิจารณาเห็นชอบ ให้กระทรวงการคลังเซ็นค้ำประกันเงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือเจบิค วงเงิน 3,650 ล้าน เพื่อก่อสร้างโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 หลังจากที่ผ่านมา ได้ เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เพื่อขออนุมัติกรณีดังกล่าวไปแล้วเกือบ 1 ปี ปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้า ซึ่งมั่นใจว่ารัฐบาลชุดนี้คงอนุมัติไม่ทัน ประกอบกับใกล้ถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (23 ธันวาคม 2550 ) ดังนั้น จะต้องเลื่อนระยะเวลาออกไปแม้ว่าจะล่าช้าออกไปบ้าง ก็ต้องเข้าใจ เพราะเข้าใจว่ารัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับรถไฟฟ้ามีความจำเป็นเร่งด่วนที่สุดก่อน


อย่างไรก็ดี โครงการนี้จะเดินหน้าก่อสร้างอย่างแน่นอน เนื่องจาก ได้เวนคืนจ่ายค่าชดเชยไปแล้ว 100 % จำนวน 1015 แปลง และมีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างแล้ว ที่สำคัญต้องเร่งแก้ปัญหาจราจรเร่งด่วนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้เกิดความคล่องตัวขึ้น ส่วนการเข้าไปกว้านซื้อที่ดินของเอกชนเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยนั้น เกิดขึ้นนานแล้ว เพียงแต่รอให้ถนนเกิดขึ้นให้เป็นรูปเป็นร่างเท่านั้น

ด้านนายจตุพร สิหนาทกถากุล เจ้าของธุรกิจในเครือโรงแรมแลนด์มาร์ค ซึ่งเป็น 1 ในผู้ที่ถูกกระทบจากการเวนคืนที่ดิน จากโครงการสะพานนนทบุรี 1 กล่าวว่า มองว่าการลงทุนของรัฐบาล (รัฐบาลชุดทักษิณ) ในการก่อสร้างสะพานนนท์บุรี 1 จุดตรงนี้ไม่ควรเกิดขึ้น เนื่องจากมีสะพานพระราม 5 และสะพานพระนั่งเกล้า อยู่ใกล้เคียงกัน กับแนวสะพานใหม่อยู่แล้ว อย่างไรก็ดี ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องสร้างสะพานอีกแห่งผ่ากลาง ระหว่าง สะพานสองแห่งนั้นด้วย แต่เมื่อเป็นนโยบายและรัฐบาลต้องการสร้างเพื่อแก้ปัญหาจราจรก็ต้องยอม

นายจตุพร กล่าวต่อว่า ผมมีที่ดินในบริเวณนี้อยู่พอสมควร โดนเวนคืนไปประมาณ 3ไร่ ซึ่งส่วนตัวรู้สึกเสียดายต้นทุเรียนที่มีอยู่นับ 100 ต้นมากกว่า อีกทั้งการเวนคืนก็เป็นการสร้างถนนผ่ากลางที่ดินที่มีอยู่ ซึ่งต่อไปสวนผลไม้ที่ปลูกไว้ก็คงได้รับผลกระทบจากฝุ่นต่างๆที่จะเกิดขึ้นด้วย ซึ่งการเวนคืนดังกล่าวเขาจ่ายให้ผมไร่ละ 8 ล้านบาท ตอนซื้อผมซื้อที่ดินมาไร่ละ 1 ล้านกว่าๆ ตอนนี้จ่ายค่าเวนคืนมาให้กว่า 70% แล้วซึ่งจริงๆผมก็ไม่ได้อยากได้เงิน

"ที่ผ่านมา ได้เคยพาเจ้าหน้าที่ ไปชี้จุดอื่นที่ไม่ต้องเวนคืนที่ดินของชาวบ้าน แต่เขาก็ไม่เอา และในขณะเดียวกันชาวบ้านที่ขายที่ได้ราคาเขาก็สนับสนุน ขณะที่ผมเสียดายสวนผลไม้มากกว่า เพราะปัจจุบันพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ก็มีน้อยอยู่แล้ว "นายจตุพรกล่าวในที่สุด

สอดคล้องกับเจ้าของที่ดินรายหนึ่งในพื้นที่ที่อยู่ในแนวเวนคืนเพื่อก่อสร้างสะพานนนทบุรี 1 กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นแรงผลักดันของนักการเมืองท้องถิ่น อดีตพรรคไทยรักไทยที่วิ่งเต้น เพราะไปซื้อที่ไว้เป็นสวนผลไม้เป็นที่ตาบอดเลยต้องการผลักดันให้มีการตัดถนนผ่าน เพื่อให้ขายที่ได้ในราคาสูง และได้ตั้งงบเวนคืนไว้สูงถึง 7,000-8,000 ล้านบาท ทั้งๆที่เป็นที่ดินตาบอด

"คนได้ประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นหัวคะแนนก็มีที่ดินอยู่ในบริเวณนั้นด้วย ก็พยายามผลักดันให้มีการตัดสะพาน นอกจากขายที่ดินได้แล้วก็ยังได้ประโยชน์ต่อเนื่องในเรื่องของการรับเหมาต่างๆที่จะเกิดขึ้นด้วย" แหล่งข่าวกล่าว
See less See more
ลุยแน่ สะพาน'นนท์ 1' รอ'สมัคร2' ไฟเขียวเงินกู้

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2327 01 มิ.ย. - 04 มิ.ย. 2551


แม้กรมทางหลวงชนบท (ทช.) จะจ่ายค่าชดเชยกรรมสิทธิ์ในส่วนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ให้กับผู้ถูกกระทบจากการเวนคืนโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 ทั้ง 1,015 แปลงไป 100 % เมื่อปีที่ผ่านมาแล้วก็ตาม แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถก่อสร้างได้ เพราะรัฐบาลชุดที่แล้ว"ขิงแก่" ไม่อนุมัติเงินกู้ วงเงิน 3,650 ล้านบาทให้ ด้วยเหตุผลที่ว่า เน้นประหยัด ชูนโยบายพอเพียง ไม่พอกหนี้เพิ่ม

อีกทั้งโครงการนี้เป็นนโยบายของรัฐบาลสมัย"ทักษิณ " ไฮโซ เศรษฐี ริมเจ้าพระยาย่านตลาดขวัญ จังหวัดนนทบุรี และเจ้าสัวโรงแรมดังระดับประเทศ ร้องระงม ว่า ให้ยกเลิกโครงการ เนื่องจาก ไม่ชอบมาพากล เป็นใบสั่งทั่นนายกฯสมัยนั้น และยังอ้างอีกว่า ต้องการลากแนวเพื่อผ่านเข้าที่ดินแถวๆถนนราชพฤกษ์ตัดกับถนนเส้นนี้พอ อีกทั้งยังร้องต่อว่า โครงการนี้ไม่คุ้มกับเงินลงทุนเพราะซ้ำซ้อนกับสะพานพระนั่งเกล้า ห่างกันแค่ 1กิโลเมตร ที่สำคัญสะพานแห่งนี้กำลังขยับขยายสร้างเป็นสะพานสองชั้นแก้ปัญหาจราจรที่คับคั่งอยู่แล้ว!!

เรื่องนี้เงียบหายไปนาน ....แต่จะเดินหน้าหรือถอยหลังอย่างไร "คอลัมน์เกาะติดแนวเวนคืน"ก็ได้รับชี้แจงจากกรมทางหลวงชนบทว่า โครงการนี้ก่อสร้างแน่ !! ขณะนี้ ได้ถูกบรรจุในงบประมาณปี2552 แล้ว และอยู่ระหว่างขออนุมัติเงินกู้ ส่วนต้นทุนค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นจากตัวแปรของราคาน้ำมัน นั้น ไม่มีปัญหาเพราะยังไม่ได้ว่าจ้างผู้รับเหมา จึงยืนราคาเดิมไปก่อน

ตอกย้ำกันอีกครั้ง สำหรับแนวสายทางของโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี1 เป็นโครงการก่อสร้างสะพานและแนวถนนต่อเชื่อมมีจุดเริ่มต้นโครงการอยู่ที่ถนนนนทบุรี 1 ทางด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในตำแหน่งบริเวณทางโค้งใกล้กับโรงเรียนศรีบุญญานนท์บริเวณนี้จะเป็นถนนแนวราบขนาดเขตทาง 6 ช่องจราจรอยู่ในท้องที่ด้านใต้ของท่าน้ำพิบูลสงคราม 4 และชุมชนตลาดขวัญ วางตัวในแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขึ้นฝั่งด้านตะวันตกบริเวณพื้นที่ฝั่งใต้ของคลองอ้อมนนท์โดยแนวสายทางจะอยู่ในพื้นที่ระหว่างศาลหลักเมือง ซึ่งอยู่ทางด้านเหนือและอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกที่อยู่ทางด้านใต้ของแนวตามลำดับเมื่อแนวเส้นทางผ่านอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกต่อจากนั้นจะเบนขึ้นไปทางทิศตะวันตกตัดผ่านถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรีที่ประมาณกิโลเมตรที่ 1+300 จากนั้นวางตัวขนานไปทางด้านใต้ของถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรีผ่านพื้นที่ว่างเปล่าและสวนบรรจบและทับซ้อนเข้ากับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม- ท่าน้ำนนทบุรีที่ประมาณกิโลเมตรที่ 2+600 จนถึงจุดปลายของโครงการที่ถนนราชพฤกษ์ในตำแหน่งที่ปัจจุบันเป็นข้ามถนนราชพฤกษ์รวมระยะทาง 4.3 กิโลเมตรโดยมีรูปแบบทางเชื่อมขึ้น-ลงด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาทางแยกถนนนนทบุรี1-ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี ทางแยกบริเวณตลาดอ.ต.ก. นอกจากนี้จะมีสะพานข้ามแยกบนถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีในทิศทางจากถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีที่จะไปถนนรัตนาธิเบศร์
See less See more
เวนคืน5พันล้านสะพานนนท์1 ข้ามเจ้าพระยาผ่ากลางเมืองทะลุวิภาวดีฯ

มติชนออนไลน์ วันที่ 16 กรกฎาคม 2551 - เวลา 08:45:03 น.


ทางหลวงชนบท-จ.นนท์ หนุนสร้างโครงข่ายยกระดับยาว 8 ก.ม.เชื่อมถนนนครอินทร์-วิภาวดีฯ 4.6 พันล้านรับสะพานข้ามเจ้าพระยา'นนทบุรี 1' เปิดแนวเวนคืน 3 ทางเลือก


กรมทางหลวงชนบท-จังหวัดนนท์ จับมือผลักดันก่อสร้างโครงข่ายยกระดับยาว 8 ก.ม.เชื่อมต่อถนนนครอินทร์-วิภาวดีรังสิต 4.6 พันล้านบาท รับสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา "นนทบุรี 1" ที่กำลังจะสร้างใหม่ หวังแก้ปัญหาคอขวดย่านเมืองนนท์ เปิดละเอียดยิบแนวเวนคืน 3 ทางเลือก อาคารพาณิชย์ ที่อยู่อาศัย ตึกสูงทำเลถนนกรุงเทพฯ-นนท์ ประชาราษฎร์ งามวงศ์วาน ประชาชื่น กำแพงเพชร 2 ประชานิเวศน์ 1 รัชดาฯ วิภาวดีฯ ลุ้นระทึกเจอแจ็กพอต ดีเวลอปเปอร์ตีปีกบูมขุมทอง 2 ฝั่งเจ้าพระยา



นายสุรพล ศรีเสาวชาติ ผู้อำนวยการสำนักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่กรมได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาวงเงินกว่า 11 ล้านบาท เพื่อศึกษาโครงการก่อสร้างโครงข่ายเชื่อมต่อถนนนครอินทร์-ถนนวิภาวดีรังสิต ที่จะก่อสร้างเป็นทางยกระดับหรือทางบายพาสขนาด 4 ช่องจราจร และมีถนนสำหรับสัญจรไปมาอยู่ด้านล่างคล้ายๆ ทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ โดยจะต่อเชื่อมกับสะพานนนทบุรี 1 ที่กรมมีแผนจะก่อสร้าง ซึ่งได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินตั้งแต่ปี 2549 และการเวนคืนคืบหน้าไปมากแล้ว จากนั้นแนวเส้นทางจะตัดผ่านหลายพื้นที่เป็นทางยาวไปเชื่อมกับถนนวิภาวดีรังสิต ขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาศึกษาโครงการดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างคัดเลือกแนวเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดจากที่บริษัทที่ปรึกษาเสนอมาทั้งหมด 4 ทางเลือก

ประกอบด้วย แนวที่ 1 เริ่มต้นที่ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี ระหว่างทางแยกตัดถนนประชาราษฎร์ และทางแยกตัดกับถนนพิบูลสงคราม ผ่านถนนนครอินทร์ บริเวณร้านนารัญน์ ผ่านหลังซอยวัดกำแพง 9 ขนานไปกับคลองบางขุนเทียน ผ่านหลังซอยกรุงเทพฯ-นนทบุรี 7 ผ่านถนนประชาราษฎร์ บริเวณปากซอยกรุงเทพฯ-นนทบุรี 7 แล้วผ่านทางด่วนศรีรัช ผ่านถนนประชาชื่น คลองประปา และด้านหลังตลาดพงษ์เพชร แล้วขนานไปกับคลองบางเขน ด้านฝั่งเหนือ แล้วเชื่อมต่อกับถนนงามวงศ์วาน บริเวณด้านทิศเหนือของเรือนจำกลางคลองเปรม

แนวที่ 2 จุดเริ่มต้นบริเวณเดียวกับแนวที่ 1 จากนั้นแนวเส้นทางจะเบี่ยงแยกออกไปบริเวณพื้นที่ด้านหลังกระทรวงสาธารณสุขกับคลองบางเขน ผ่านทางด่วนศรีรัช ผ่านหมู่บ้านประชาสุข จากนั้นแนวเส้นทางจะตัดผ่านแนวสายไฟฟ้าแรงสูง ทางแยกสัญญาณไฟจราจรระหว่างถนนประชาชื่นกับถนนเทศบาลสงเคราะห์ หรือถนนประชานิเวศน์ 1 โดยสร้างทางยกรับบนถนนประชานิเวศน์ 1 แล้วข้ามคลองเปรมประชากร ลดระดับเป็นอุโมงค์ผ่านทางรถไฟ และถนนกำแพงเพชร 2 ไปบรรจบกับถนนวิภาวดีรังสิตบริเวณวัดเสมียนนารี

แนวที่ 3 จุดเริ่มต้นเหมือนกับแนวที่ 1 และ 2 แต่แนวเส้นทางจะเบี่ยงออกไปจากแนวที่ 1 และ 2 เมื่อตัดผ่านถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี บริเวณปากซอยกรุงเทพฯ-นนทบุรี 7 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางเขน ผ่านไปด้านใต้หมู่บ้านสารินปาร์ค ผ่านชุมชนซอยรัชดาภิเษก 70 และพื้นที่ระหว่างซอยรัชดาภิเษก 66 ซอยรัชดาภิเษก 68 แล้วเข้าเชื่อมต่อกับถนนรัชดาภิเษก ก่อนถึงทางแยกประชานุกูล และเข้าซ้อนทับกับถนนรัชดาภิเษก ไปออกถนนวิภาวดีรังสิต

แนวที่ 4 เป็นแนวทางเลือกที่ใช้แนวเส้นทางแนวที่ 1 และ 3 รวมเข้าด้วยกัน เพื่อให้เป็นการรวมและกระจายการจราจรบริเวณถนนงามวงศ์งาน และถนนรัชดาภิเษก
นายสุรพลกล่าวว่า โครงการนี้กรมทางหลวงชนบทใช้เวลาศึกษาทั้งหมด 7 เดือน ตั้งแต่กุมภาพันธ์-กันยายน 2551 หลังจากก่อนหน้านี้กรมได้หารือและร่วมศึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดนนทบุรี ถึงแนวทางในการก่อสร้างเส้นทางเพื่อระบายรถจากพื้นที่โซนตะวันออกของจังหวัดนนทบุรี ที่ปัจจุบันเริ่มหนาแน่นมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณถนนนครอินทร์ ด้วยการก่อสร้างเส้นทางมาเชื่อมกับระบบทางด่วน และถนนวิภาวดีรังสิต

ขณะเดียวกันจังหวัดนนทบุรีเกรงว่าเมื่อมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ คือ สะพานนนทบุรี 1 เสร็จเรียบร้อย จะทำให้รถมากระจุกตัวบริเวณทางลง จึงมีแนวคิดร่วมกันว่า ควรสร้างทางยกระดับเชื่อมไปออกถนนสายหลัก และทางด่วนเลย เพราะนอกจากช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างด้านตะวันตกกับด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และถนนสายหลักในแนวเหนือ-ใต้ได้อีกด้วย

โดยในการสำรวจศึกษาโครงการนี้บริษัทที่ปรึกษาได้ศึกษาครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี และพื้นที่บางส่วนของ กทม. และโครงข่ายถนนสายสำคัญๆ ในปัจจุบันด้วย เช่น ถนนนครอินทร์ วิภาวดีรังสิต รัตนาธิเบศร์ งามวงศ์วาน ติวานนท์ วงศ์สว่าง รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ-นนทบุรี ประชาราษฎร์ ประชาชื่น เทศบาลสงเคราะห์ และทางด่วนศรีรัช

ขั้นตอนต่อไปกรมจะส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมาประกอบการศึกษาด้วย จากก่อนหน้านี้มีกลุ่มอนุรักษ์คลองบางเขนจำนวน 100 คน ทำหนังสือคัดค้านการก่อสร้าง เนื่องจากไม่อยากย้ายถิ่นฐานที่อยู่อาศัย ซึ่งกรมได้ทำหนังสือชี้แจงไปแล้วว่าโครงการนี้ยังเป็นแค่การศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน และจะมีการชี้แจงอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 กรกฎาคมนี้ จากนั้นวันที่ 26 กรกฎาคมจะเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี

มีรายงานข่าวว่า สำหรับแนวเส้นทางโครงการทั้ง 4 ทางเลือก แนวที่มีความเหมาะสมและคุ้มค่าด้านวิศวกรรมมากที่สุด คือ แนวที่ 2 ที่ไปเชื่อมถนนวิภาวดีฯ บริเวณวัดเสมียนนารี ระยะทางจากถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีประมาณ 7-8 กิโลเมตร ซึ่งหากเลือกแนวทางนี้จะมีการก่อสร้างทางยกระดับบนถนนเดิม คือประชานิเวศน์ 1 ส่วนช่วงตั้งแต่ส่วนต่อเชื่อมกับสะพานนนทบุรี 1 มาจนถึงทางแยกไฟแดงบริเวณคลองประปาประชาชื่น จะก่อสร้างทางยกระดับใหม่ ทำให้ไม่ต้องใช้งบฯก่อสร้างมากเหมือนกับอีก 3 แนวทางเลือก
ทั้งนี้ จากการประเมินในเบื้องต้น คาดว่าโครงการนี้จะใช้เงินก่อสร้างประมาณ 4,600 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้างประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับค่าเวนคืนที่น่าจะอยู่ที่กว่า 2,000 ล้านบาทเช่นเดียวกัน โดยอาจต้องมีการเวนคืนบริเวณที่เป็นถนนตัดใหม่ จุดต่อเชื่อมกับสะพานนนทบุรี 1 มาจนถึงแยกคลองประปา โดยมีบ้านเรือน อาคาร และสิ่งปลูกสร้าง ที่ต้องเวนคืนหลายร้อยหลังคาเรือน อย่างไรก็ตาม ในส่วนนี้บริษัทที่ปรึกษาจะศึกษารายละเอียดอีกครั้ง

See less See more
ลุย 3 โปรเจ็กต์ยักษ์นนทบุรี + สะพานนนท์ 1/ถนนเชื่อมปากเกร็ด/อุโมงค์ราชพฤกษ์หมื่นล้าน

ฐานเศรษฐกิจ 16/07/2008


ทางหลวงชนบทฝ่าวิกฤติต้นทุนก่อสร้างพุ่ง กัดฟัน! เดินหน้าลุย 3 โปรเจ็กต์ยักษ์จังหวัดนนทบุรี เฉียดหมื่นล้านตามแผน ไล่จากสะพานข้ามเจ้าพระยานนทบุรี1 /ต่อเชื่อมปากเกร็ด-กาญจนาภิเษก แนวตะวันออก-ตก / อุโมงค์ราชพฤกษ์ ชี้ ไม่ชะลอโครงการหวั่นกระทบเศรษฐกิจภาพรวม ดิ้น ขอเงินกู้เจบิค ปรับแบบลดไซซ์ เพิ่มต้นทุนก่อสร้างไม่เกิน 20-30 %

จากปัญหางบประมาณมีจำกัดประกอบกับต้นทุนค่าก่อสร้างยังไม่นิ่ง ส่งผลให้สาธารณูปโภคของรัฐใหม่ๆ ต้องชะลอออกไปหลายโครงการ ขณะเดียวกันโครงการเร่งด่วน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้อง ของบประมาณค่าก่อสร้างเพิ่มตาม ต้นทุนที่แท้จริงในท้องตลาด

แหล่งข่าวจากกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า กรมพิจารณาเดินหน้าก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ จำนวน 3 โครงการ ในเขตท้องที่จังหวัดนนทบุรี ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยไม่ชะลอ โครงการออกไปยังปีงบประมาณอื่นๆ แม้มีปัจจัยลบจากต้นทุนค่าก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม ได้แก่ โครงการก่อสร้างอุโมงค์บริเวณวงเวียนถนนราชพฤกษ์ -นครอินทร์ งบประมาณก่อสร้าง 700 กว่าล้านบาท โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานนนทบุรี 1 และแนวถนนต่อเชื่อม มูลค่า 3,796 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างถนนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์(ปากเกร็ด) -ถนนกาญจนาภิเษก ในแนวตะวันออก-ตก มูลค่า 2,300 ล้านบาท

ทั้งนี้ เหตุผลที่ กรมไม่ชะลอโครงการออกไปเนื่องจาก จะกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งการจ้างงาน การซื้อ-ขายวัสดุก่อสร้าง ที่มีผลกระทบโดยตรงถึงการจับจ่ายซื้อสินค่าอุปโภค-บริโภค อีกทั้งโครงการดังกล่าวมีความพร้อมและเวนคืนไปแล้ว 100 %โดยเฉพาะสะพานนนท์ 1 หากไม่เร่งดำเนินการจะทำให้เกิดผลเสียตามมาก็คือ เกิดการบุกรุกเขตทางของรัฐเพื่อหาประโยชน์ทั้งที่ได้เสียงบประมาณเวนคืนไปแล้ว การแก้ปัญหาจราจรไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เจ้าของที่ดิน ผู้ประกอบการจัดสรร ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ จะ ได้รับอานิสงส์จากโครงการนี้ช้าลง

สำหรับโครงการก่อสร้าง อุโมงค์ บริเวณวงเวียน ถนนราชพฤกษ์ -ถนนนครอินทร์ ที่มีแผนก่อสร้างในปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550-กันยายน 2551) ซึ่งได้ตัวผู้รับเหมาแล้วคือ บริษัทสามประสิทธิ์ จำกัด ในวงเงิน 700 กว่าล้านบาท แม้จะตัดราคาต่ำจากราคากลางไม่มาก แต่มีปัญหาว่า ผู้รับเหมาไม่เซ็นสัญญา เพราะ ราคาเหล็กเดิมอยู่ที่ 20 บาทต่อกิโลกรัม แต่ปัจจุบัน ขยับขึ้น 40 กว่าบาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ ผู้รับเหมายากที่จะตัดสินใจรับงาน เพราะ อุโมงค์ต้องใช้เหล็กเป็น 10,000 ตัน หากเสี่ยงรับงานจะส่งผลให้ขาดทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท และเร็วๆนี้กรมจะเรียกบริษัทดังกล่าวหารือว่า จะยกเลิกการเซ็นสัญญาก่อสร้างโครงการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายสมัคร สุนทรเวช เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมาหรือไม่

ทั้งนี้ หากผู้รับเหมาปัดเซ็นสัญญา จะต้องนับหนึ่งประมูลโครงการใหม่ กรมมีทางออกสำหรับ โครงการดังกล่าวคือ จะไม่พิจารณาปรับค่าก่อสร้างขึ้นตามต้นทุนที่ผู้รับเหมาเรียกร้องหรือ ตามมติครม. แต่จะยืนราคากลางเดิมไว้ คือ 700 กว่าล้านบาท และ หันมาปรับลดขนาดโครงการให้เล็กลงแทน เช่นความลาดชันตัวอุโมงค์จากเดิม 4% ให้เหลือ 5% หรือ ลดความลึกของอุโมงค์ลง อีกทั้งยังปรับเขตทางเท้าให้แคบลง จาก 1.20 เมตรให้เหลือเพียง 90 เมตร ลดวัสดุตกแต่งความหรูหรา บริเวณโดยรอบอุโมงค์ ลดระยะทาง และเขตทางให้สั้นลงเล็กน้อย ฯลฯ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยได้มาก

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ส่วนโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณนนทบุรี 1 และแนวถนนต่อเชื่อมมูลค่า 3,796ล้านบาท ที่ผ่านมา กรมได้ของบประมาณปี 2552 ( ตุลาคม 2551-กันยายน 2552) 100 % คือ 3,796 ล้านบาท โดยไม่ขออนุมัติเงินกู้ แต่ปรากฏว่า กระทรวงคมนาคมและ สำนักงบประมาณ ได้เสนอแนะว่าหากโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดิน 100 % หรือเกือบ 4,000 ล้านบาท เพียงโครงการเดียวและเน้นแก้ปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น จะไม่เป็นธรรมต่อ ประชาชนที่อยู่ต่างจังหวัดโดยเฉพาะ โครงการถนนไร้ฝุ่นของ กรมที่อยู่ตามชนบทห่างไกลจะไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้นสำนักงบประมาณจึง เสนอให้กรม ใช้เงินกู้สำหรับโครงการนี้ทั้งหมด

ดังนั้น เมื่อเดือนมิถุนายน 2551 ที่ผ่านมา กรมได้ ทำเอกสารขออนุมัติเงินกู้ จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ เจบิค และเสนอขอความเห็นชอบจากครม. เมื่อครม.อนุมัติแล้ว กรมจะนำเอกสารการอนุมัติเงินกู้เสนอต่อ สำนักบริหารหนี้ (สปน. ) เพื่อผูกพักภาระหนี้โครงการดังกล่างต่อไปในวงเงิน กู้ 3,796 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโครงการสะพานนนทบุรี 1 โดย จะยื่นขออนุมัติรวมแพ็กเกจเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ช่วงปลายปีนี้ และประมาณเดือน เมษายน 2552 จะเริ่มทำพีคิว หรือ พิจารณาคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้รับเหมาที่มีขีดความสามารถที่จะรับงาน ประมาณ ปลายปี 2552 จะได้ตัวผู้รับเหมา และก่อสร้างได้ โดยใช้เวลาก่อสร้าง 36 เดือน หรือ 3 ปี สำหรับราคาค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นนั้นกรมได้บวกเพิ่มให้แล้วช่วงที่เสนอครม.เห็นชอบโครงการ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา จากเดิม วงเงิน 3,500-3,600 ล้านบาทเป็น 3,796 ล้านบาท

สุดท้ายคือ โครงการก่อสร้างถนนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์(ปากเกร็ด) -ถนนกาญจนาภิเษก ในแนว ตะวันออก-ตะวันตก มูลค่า 2,300 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการต่อเชื่อมสะพานพระราม 4 บริเวณห้าแยกปากเกร็ด ระยะทาง 4.5กิโลเมตร โดยในปีงบประมาณ 2552 ได้เสนอขอเงินค่าเวนคืนหรือค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินวงเงิน 450 -500 ล้านบาท เพื่อจ่ายชดเชยและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ที่เหลือ จำนวน 192 หลังคาเรือน จากปีที่ผ่านมาเวนคืนไปแล้ว 54 หลังคาเรือน ส่วน ค่าก่อสร้าง 2,300 ล้านบาท จะขอ อนุมัติเงินกู้ เจบิค ต่อจาก สะพานนนท์1 ต่อไป

ส่วน โครงการถนนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์(ปากเกร็ด) ฯ ในแนวเหนือ -ใต้ ระยะทาง เกือบ 10 กิโลเมตร จะจัดสรรงบประมาณเวนคืนในปีงบประมาณ 2553 เนื่องจาก เป็น โครงการขนาดใหญ่กว่าช่วงแนวตะวันออก-ตก เฉพาะ ค่าเวนคืน ไม่ต่ำกว่า 2,000-3,000 ล้านบาท มีผู้ถูกกระทบจากการเวนคืน ไม่ต่ำกว่า 500 ราย มูลค่าก่อสร้าง ไม่ต่ำกว่า 7,000ล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า กรณีต้นทุนค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นนั้น ยอมรับจะกระทบต่อแผนโครงการ แต่ถ้ารู้จักบริหารต้นทุนและ ปรับลดขนาดโครงการลงจะช่วยได้มาก ที่สำคัญแต่ละโครงการกรม จะปรับต้นทุนค่าก่อสร้างเพิ่มให้แค่ไม่เกิน 20% -30 % เท่านั้น ส่วนที่มีผู้รับเหมาออกมาระบุว่าต้นทุนเพิ่มขึ้น 40-50 % นั้น เป็นตัวเลขที่สูงเกินไปและ ไม่เป็นความจริง เพราะต้นทุนหลักคือ น้ำมันกับเหล็กเท่านั้น ส่วนวัสดุอื่นอาทิ ปูนซีเมนต์ หิน ทราย ขยับขึ้นไม่มาก ดังนั้นจึงนำราคาเหล็กมาหาค่า ถัวเฉลี่ยกับวัสดุตัวอื่นที่ราคาถูกกว่าได้
See less See more
'เจบิค' ปล่อยกู้แน่ 'สะพานนนท์1' 4 พันล้าน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2357 13/09/2008


ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่ตึงเครียด !ผู้คนหมดมู้ด จับจ่าย "อีเวนต์" ต่างๆ หลายงานต้องเลื่อน!แต่ ที่ไม่เลื่อนและเดินหน้าฉลุย เห็นจะเป็นโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1มูลค่า 3,796 ล้านบาท ระยะทาง 4.3 กิโลเมตร ขนาด 6 ช่องจราจร ของกรมทางหลวงชนบทหนึ่งในหลายโครงการขนาดใหญ่ที่รัฐบาลเร่งผลักดัน เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ! สำหรับความคืบหน้าโครงการ"สะพานนนทบุรี 1 "แห่งนี้ การเวนคืนจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้วเสร็จ 100% ซึ่งรออยู่แต่งบประมาณก่อสร้างที่มาจาก เงินกู้ต่างประเทศ


ล่าสุดได้รับการยืนยันจาก"สุพจน์ ทรัพย์ล้อม" อธิบดีกรมทางหลวงชนบท ถึงความพร้อมของโครงการนี้ว่า ได้รับอนุมัติให้ผ่านการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ( EIA) จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) แล้ว ที่สำคัญ สำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง ยังเห็นชอบในเบื้องต้นให้โครงการนี้ก่อภาระหนี้ผูกพัน ตามที่กรมทางหลวงเสนอขอเงินกู้จาก ธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ เจบิค ส่งผลให้เมื่อไม่นานมานี้ "เจบิค" ได้ ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่จังหวัดนนทบุรี สำรวจแนวโครงการและความเป็นไปได้ ร่วมกับกรมทางหลวงชนบท ผลการตรวจสอบพื้นที่สรุปว่า "เจบิค" เห็นชอบ และรับปากว่า ยินดีให้การสนับสนุนเงินกู้ต่อโครงการนี้ วงเงิน 3,796-4,000 ล้านบาท

โดยให้เหตุผลว่าเป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ช่วยร่นระยะการเดินทาง ลดการใช้พลังงาน และ แก้ปัญหาจราจร เชื่อมโยงโครงข่ายจราจรระหว่างกรุงเทพมหานคร กับจังหวัดในปริมณฑลคือนนทบุรีตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียงให้เกิดความคล่องตัวขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าที่ดินทรัพย์สินให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยรอบโครงข่ายดังกล่าว

ส่วนขั้นตอนต่อไปเพียงเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) อีกครั้งเพื่อเห็นชอบ และ ให้ สบน. เซ็นอนุมัติสัญญาภาระหนี้ผูกพัน โดยอธิบดีกรมทางหลวงชนบทยืนยันว่าไม่มีปัญหาแม้การเมืองภายในประเทศจะไม่สงบแต่ "สะพานนนท์ 1" เดินหน้าต่อไม่สะดุดแน่ !

แถมยังย้ำอีกว่า ระหว่างที่รอคอยเงินกู้ กรมทางหลวงชนบท จะเดินหน้า ทำ"พีคิว" หรือ กำหนดคุณสมบัติผู้รับเหมาเบื้องต้นในเดือนเมษายน 2552 เพื่อคัดเลือกผู้รับเหมาที่มีคุณสมบัติเหมาะสม แข่งขันประมูลงานซึ่งปลายปี 2552 จะได้ตัวผู้รับเหมาและลงมือก่อสร้างโดยใช้เวลาก่อสร้าง 36 เดือน โดยงบก้อนแรกอย่างเร็วจะได้ในปีงบประมาณ 2552 อย่างช้า ไม่เกินปีงบประมาณ 2553

สำหรับความเคลื่อนไหวราคาที่ดินบริเวณถนนราชพฤกษ์ ,นครอินทร์ ติดถนนราคาตารางวาละ 40,000-50,000 บาท จากที่ไม่มีถนนเส้นนี้ ที่ดินตาบอดราคา 3,000- ไม่เกิน10,000 บาทต่อตารางวา ส่วนที่ดินบริเวณแนวก่อสร้างสะพานนนท์ 1 ฝั่งสนามบินน้ำชุมชนตลาดขวัญ ราคาซื้อขาย 70,000-80,000 บาทต่อตารางวา ส่วนกรณีข้ามฝั่งไปยังฝั่งตรงข้าม พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเรือกสวนไร่นา ที่ดินตาบอด ราคาอยู่ที่ 5,000- 10,000 บาทต่อตารางวา และในอนาคตราคาจะขยับขึ้น 3เท่าตัว หากโครงการเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง อย่างไรก็ดี ขณะนี้มีบริษัทพัฒนาที่ดินรายใหญ่จับจองที่ดินในรัศมีใกล้เคียงกันมาก ทั้ง บริษัท พร็อพเพอร์ตี้เพอร์เฟค จำกัด(มหาชน) บริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด(มหาชน) บริษัท เอสซีแอสเสท คอปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ฯลฯ


สำหรับแนวสายทาง โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี1 มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ถนนนนทบุรี 1 ด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในตำแหน่งบริเวณทางโค้งใกล้กับโรงเรียนศรีบุญญานนท์บริเวณนี้จะเป็นถนนแนวราบขนาด 6 ช่องจราจร อยู่ในท้องที่ด้านทิศใต้ของท่าน้ำพิบูลย์สงคราม 4 และชุมชนตลาดขวัญ วางตัวในทิศตะวันตกเฉียงใต้ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขึ้นฝั่งด้านตะวันตกบริเวณพื้นที่ฝั่งใต้ของคลองอ้อมนนท์โดยแนวสายทางจะอยู่ในพื้นที่ระหว่างศาลหลักเมืองซึ่งอยู่ทางด้านเหนือและอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกที่อยู่ทางด้านใต้เมื่อแนวเส้นทางผ่านอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกต่อจากนั้นจะเบนไปทางทิศตะวันตกตัดผ่านถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรีที่ประมาณกิโลเมตรที่ 1+300 จากนั้นวางตัวขนานไปทางด้านใต้ของแนวถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนท์ผ่านพื้นที่ว่างเปล่าและสวนบรรจบและทับซ้อนเข้ากับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรีที่ประมาณกิโลเมตรที่ 2+600 จนถึงจุดปลายของโครงการที่ถนนราชพฤกษ์ในตำแหน่งที่ปัจจุบันเป็นสะพานข้ามถนนราชพฤกษ์รวมระยะทาง 4.3 กิโลเมตร โดยมีรูปแบบทางเชื่อมขึ้นลง ด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาทางแยกถนนนนทบุรี 1-ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีมีทางลงสำหรับรถในทิศทางที่จะลงถนนนนทบุรี 1 เพื่อไปท่าน้ำนนทบุรีพร้อมทางขึ้นสำหรับรถบนถนนนนทบุรี 1 ในทิศทางจากท่าน้ำนนทบุรีที่จะขึ้นสะพานโดยไม่ต้องผ่านแยกสัญญาณไฟจราจรบริเวณสามแยกถนนนนทบุรี1-ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีทางแยกบริเวณตลาดอ.ต.ก.นอกจากนี้จะมีสะพานข้ามแยกบนถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีในทิศทางจากถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีที่จะไปถนนรัตนาธิเบศร์

เป็นที่แน่ชัดว่า พิษสงของการเมืองในบ้านเราไม่ ทำให้สัมพันธภาพระหว่างไทยกับญี่ปุ่นสั่นคลอนลงได้ โดยเฉพาะการปล่อยกู้ โครงการขนาดใหญ่ของ "เจบิค" !!!
See less See more
'ไจก้า' ปล่อยกู้ 'สะพานนนท์1' 2,656 ล้าน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2391 10/01/2009


เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ "สภาพัฒน์ " เห็นชอบ ให้ กรมทางหลวงชนบท ผูกพันภาระเงินกู้ต่างประเทศ และ งบประมาณแผ่นดิน เร่งเดินหน้าก่อสร้างโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 มูลค่า 3,796 ล้านบาท ในสัดส่วนเงินงบประมาณแผ่นดินปี 2553 วงเงิน 1,140 ล้านบาท

และ เงินกู้จาก"ไจก้า"หรือ สำนักงานโครงการช่วยเหลือของญี่ปุ่น 70 % หรือ 2,656 ล้านบาท


โดยให้เหตุผลว่าโครงการ "สะพานนนทบุรี 1" ช่วยแก้ปัญหาจราจร ให้เชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างกรุงเทพมหานคร กับจังหวัดในปริมณฑลตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียงในอนาคตได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจสูง ช่วยร่นระยะเวลาการเดินทาง เพิ่มทางเลือกในการสัญจร และลดการใช้พลังงานได้มาก

ขั้นตอนต่อจากนี้ กรมทางหลวงชนบท เตรียมเสนอกระทรวงคมนาคมเห็นชอบกลางเดือนมกราคม และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) "อภิสิทธิ์ 1" เห็นชอบกู้เงินวงเงิน 2,656 ล้านบาท จาก "ไจจ้า" ( ปัจจุบัน "ไจจ้า" ได้ รวม "เจบิค" หรือ ธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งญี่ปุ่น เข้าด้วยกัน และ ยกเลิกใช้ชื่อ "เจบิค") ภายในเดือนกุมภาพันธ์ จากนั้น จะส่งเรื่องให้ สำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง ลงนามสัญญาก่อภาระผูกพันหนี้ต่างประเทศ ปีงบประมาณ 2553 -2555


โครงการก่อสร้างสะพานนนทบุรี 1 ระยะทาง 4 .3 กิโลเมตร ขนาด 6ช่องจราจรที่ผ่านมาได้ จัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้วเสร็จ 100% ซึ่งรอแต่เพียงงบประมาณก่อสร้าง ที่คาดว่าจะได้ภายในปีนี้ ขณะเดียวกัน ช่วงระหว่างที่รอเงินกู้ จะเดินหน้า ทำ"พีคิว" หรือ กำหนดคุณสมบัติผู้รับเหมาเบื้องต้นในเดือนเมษายน 2552 คัดเลือกผู้รับเหมาที่มีคุณสมบัติเหมาะสม แข่งขันประมูลงาน ซึ่งปลายปี 2552 จะได้ตัวผู้รับเหมาและลงมือก่อสร้างโดยใช้เวลาก่อสร้าง 36 เดือน

ส่วนที่ดินบริเวณแนวก่อสร้างสะพานนนท์ 1 ฝั่งสนามบินน้ำชุมชนตลาดขวัญ ราคาซื้อขาย 70,000-80,000 บาทต่อตารางวา ส่วนกรณีข้ามฝั่งไปยังฝั่งตรงข้าม พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเรือกสวนไร่นา ที่ดินตาบอด ราคาอยู่ที่ 5,000- 10,000 บาทต่อตารางวา และในอนาคตราคาจะขยับขึ้น 3เท่าตัว หากโครงการเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง


สำหรับแนวสายทาง โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี1 มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ถนนนนทบุรี 1 ด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในตำแหน่งบริเวณทางโค้งใกล้กับโรงเรียนศรีบุญญานนท์ ยกระดับข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณทางแยกของถนนนนทบุรี 1 -ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีซึ่งจะมีทางลง นอกจากนี้จะมีสะพานข้ามแยกบนถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีในทิศทางจากถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีที่จะไปถนนรัตนาธิเบศร์

ชัดเจนว่า สะพานนนทบุรี 1 สร้างแน่ แต่งานนี้ ฟันธงว่า ยักษ์รับเหมา"ยุ่น" กอดคอรับเหมาไทย ลอยลำ !!!
See less See more
Nonthaburi bridge gets nod

Bangkokpost Published: 12/01/2009 at 12:00 AM


The government's planning agency has approved projects costing 18.85 billion baht to construct a bridge over the Chao Phraya River at Nonthaburi Road 1 and to upgrade provincial electricity distribution systems.


Ampon Kittiampon, the secretary-general of the National Economic and Social Development Board (NESDB), said the four-year bridge construction proposed by the Rural Roads Department of the Transport Ministry required an investment of 6.154 billion baht. Construction would start this year.

Mr Ampon said the new bridge would improve transport between the economically developing eastern and western banks of the river and also ease traffic congestion on the Phra Nang Klao and Rama V bridges.

But the agency suggested the funding come from the fiscal budget rather than foreign loans, as the project largely relies on local raw materials.

The NESDB also approved an electricity distribution system upgrade worth 12.69 billion baht by the Provincial Electricity Authority (PEA). The five-year project is also due to start this year to meet growing provincial demand for power.

Of the total investment, local loans would contribute 9.5 billion baht, or 75% of the budget. The PEA itself would fund the remaining 3.18 billion.
See less See more
ยักษ์รับเหมา ไทย-เทศรุมตอม ประมูล'สะพานนนท์1' ปลายปีนี้

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2411 22 มี.ค. - 25 มี.ค. 2552


โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 เป็นการพัฒนาโครงข่ายถนนสายรองต่อเชื่อมระหว่างถนนนนทบุรี 1 บริเวณพื้นที่ด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยากับถนนราชพฤกษ์ ซึ่งเป็นโครงข่ายถนนสายหลักในแนวทิศเหนือ-ใต้ บริเวณพื้นที่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่งที่จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพ การแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจในเขตจังหวัดนนทบุรี และปทุมธานี โดยกรมทางหลวงชนบทได้รับมอบให้ดำเนินโครงการ และปัจจุบันได้มีการสำรวจและจ่ายชดเชยจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว 1,000 กว่าแปลง วงเงิน 2,200 ล้านบาท


อย่างไรก็ดีกรมทางหลวงชนบทระบุว่า โครงการการก่อสร้าง"สะพานนนทบุรี 1" แห่งนี้ รอเพียง คณะรัฐมนตรี(ครม.) "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" อนุมัติ เซ็นสัญญาเงินกู้จาก"ไจก้า" เพื่อสมทบกับ งบประมาณแผ่นดิน วงเงิน 2,656 ล้านบาท จากค่าก่อสร้างทั้งหมด 3,796 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 70% ส่วนอีก 30% วงเงิน 1,140 ล้านบาท จะเป็นเงินงบประมาณแผ่นดินปีงบประมาณ2553 (ตุลาคม 2552-กันยายน 2553)

กรมทางหลวงชนบทยังยืนยันอีกว่า เข้าใจว่าครม.จะอนุมัติโครงการอีกไม่นานนี้ เนื่องจาก รัฐบาลมีนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยใช้โครงการเมกะโปรเจ็กต์เป็นตัวชูโรง เพื่อให้เกิดการจ้างงาน ที่สำคัญ"ไจก้า"เห็นชอบเงินกู้ก้อนนี้แล้ว รอเพียงลงนามเซ็นสัญญาเงินกู้กับกรมทางหลวงชนบทเท่านั้น ต่อจากนั้น ขั้นตอนต่อไป จะเปิดพีคิว (การกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้รับเหมา) ซึ่งจะพิจารณาคัดเลือก ให้เหลือเพียง 6 ราย


ซึ่งขณะนี้ได้มีผู้รับเหมา ทั้งไทยและต่างประเทศหลายรายสนใจ สอบถาม ถึง วันเวลาในการเปิดพีคิว และสนใจเข้าร่วมประมูล ไม่ว่าจะเป็น ผู้รับเหมาจากประเทศอินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี จีน อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี ส่วนรับเหมาไทย จะเป็นยักษ์ใหญ่เจ้าประจำได้แก่ บมจ.ช.การช่าง บมจ.อิตาเลียนไทย บมจ.ซิโน-ไทย วิจิตรภัณฑ์ ยูนิค ประยูรวิศร์ กำแพงเพชรวิวัฒน์ สี่แสงการโยธา ฯลฯ ซึ่งประเมินกันว่าจะมีผู้รับเหมาทั้งจากไทยและต่างประเทศเข้าแข่งขัน ประมูลงานจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 20 ราย และร่วมจอยต์เวนเจอร์กันทั้งนี้ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ในขณะที่นานๆ ครั้งกรมทางหลวงชนบทจะเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่สักโครงการ


"สะพานนนทบุรี 1" ระยะทาง 4.3 กิโลเมตร ประกอบด้วยทางแยกต่างระดับ ที่ถนนนนทบุรี1 สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขนาด 6 ช่องจราจร ลักษณะเป็นสะพานขึง ความยาว 440 เมตร ความยาวช่วงกลางสะพาน 200 เมตร ทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ต่อเนื่องจากสะพาน ด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำระยะทาง 974 เมตร ถนนระดับดินขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทางประมาณ 1.7 กิโลเมตร และทางแยกต่างระดับที่ถนนราชพฤกษ์


โดยมีจุดเริ่มต้นที่ถนนนนทบุรี1 ซึ่งอยู่ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ แนวเส้นทางวางตัวในทิศตะวันตกเฉียงใต้ ข้ามแม่น้ำไปขึ้นฝั่งด้านตะวันตก ในพื้นที่ฝั่งใต้ของคลองอ้อมนนท์ จากนั้นแนวจะเบนไปทางทิศตะวันตกเข้าบรรจบและซ้อนทับไปกับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ซึ่งเป็นถนนปัจจุบัน จนถึงจุดปลายทางโครงการที่ถนนราชพฤกษ์
See less See more
ของบสร้างสะพานนนทบุรี

Posttoday วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552


ทางหลวงชนบทขอครม. อนุมัติงบ 3,700 ล้าน สร้างสะพานนนทบุรี แก้ปัญหาจราจร

นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า ในวันพุธที่ 3 มิ.ย.นี้ จะเสนอขออนุมัติกู้เงินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี มูลค่า 3,700 ล้านบาท ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาการจราจร
“ขณะนี้สะพานพระนั่งเกล้า สะพานพระราม 5 สะพานพระราม 4 (บริเวณห้าแยกปากเกร็ด) และสะพานนนทบุรี (นวลฉวี) มีรถใช้เต็มพื้นที่ ส่วนหนึ่งเนื่องจากเป็นเส้นทางรถบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่วิ่งผ่าน เพื่อลดปัญหาการจราจรที่เข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ สะพานใหม่นี้จะเสริมการเดินทางต่อเชื่อมไปยังวงแหวนรอบนอก (ถนนกาญจนาภิเษก) ผ่าน ถนนสาย 345 และ 346 ได้สะดวกมากขึ้น” นายวิชาญ กล่าว

อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวว่า ได้เวนคืนที่ดินประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว หากครม. อนุมัติก็จะเจรจาขอกู้เงินจากองค์การ ความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจกา) ในอัตรา 70% ของมูลค่าก่อสร้าง ที่เหลืออีก 30% ใช้เงิน งบประมาณ เมื่อขั้นตอนการกู้เงินจบลง คาดว่าจะเริ่มประมูลก่อสร้างได้ในช่วงต้นปี 2553 จากนั้นจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 30 เดือน

“โครงการนี้ถือว่าเป็นโครงการเร่งด่วนที่จะช่วยแก้ปัญหาจราจร ได้ เพราะกว่ารถไฟฟ้าจะสร้างเสร็จ ก็ใช้เวลาอีกหลายปี ทั้งนี้หากครม. ไม่อนุมัติก็คงต้องรอ แต่ก็จะมีการเสนอเรื่องนี้เข้ามาใหม่” นายวิชาญ กล่าว
See less See more
เออ สงสัยว่า ทำไมมันถึงมีเสาอยู่ในน้ำแล้ว ถ้าจะทำแบบนี้แล้วเอาลงน้ำมาทั้งสองเสาไม่ดีกว่าหรอครับ
Project Components


3. A 6-lane at-grade road



interchange at Ratcha Phruk Road
เสียดายสร้างถนนใหม่น่าจะกำหนดให้เอาสายไฟฟ้าลงดินตั้งแต่ตอนนี้ไปเลย
จะไม่ได้ต้องมาวางแผน ขุดถนนอีกรอบให้สิ้นเปลือง
จริงๆน่าจะออกเป็นกฎเลยว่าต่อไปนี้ถ้าจะตัดถนนใหม่ ต้องวางท่อสายไฟลงใต้ดินไปด้วยพร้อมๆกัน
ไม่เริ่มตอนนี้จะเริ่มตอนไหน
See less See more
สะพานแบบเดียวกันหมดเลยอ่ะ
1 - 20 of 207 Posts
This is an older thread, you may not receive a response, and could be reviving an old thread. Please consider creating a new thread.
Top