SkyscraperCity Forum banner

Nonthaburi 1 Bridge

87693 Views 206 Replies 63 Participants Last post by  napoleon



World Forum https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?p=46106887


http://www.nonthaburi1bridge.com

Project Background


As a continuous growth of population in Bangkok and its vicinity, the land used of the area in the north of Bangkok and its adjacent area of Nonthaburi Province, especially in the west side of the Chao Phraya River, has been rapidly changed due to the large amount of residential community development. This results in an increasing traffic demand in the morning from the residential area on the west side to the employment and educational area on the east side and vice versa situation in the evening. Consequently, this increasing demand results in a congested traffic condition on the existing river crossing bridges especially in the morning peak period


The Commission for the Management of Land Traffic, the summit body who considers the land transportation system of the nation of which the chairman is the Prime Minister, had a resolution on 23rd February 2004 assigning the Department of Rural Roads (DRR) as the Executing Agency for the implementation of the Project.

.....เนื่องด้วยคณะกรรมการจัดระบบการจัดจราจรทางบกได้มีการประชุม ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547
โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งผลการประชุมมีมติในเรื่องของการพัฒนาระบบถนนและทางด่วน มอบหมายให้กรมทางหลวงชนบท ดำเนินการโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1

จากการกระจายตัวของการพัฒนาพื้นที่ไปในทิศทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลสืบเนื่องจากอัตราการเพิ่มของประชาชนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีการพัฒนาค่อนข้างมาก มีผลให้ความต้องการในการเดินทางข้ามไปมาระหว่างสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากปริมาณของการจราจรบนสะพานที่เชื่อมการคมนาคมระหว่างฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบันมีสภาพที่หนาแน่นมาก


.... ดั้งนั้นจึงมีความจำเป็นในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มเติมในบริเวณที่เหมาะสม และมีศักยภาพในการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมที่สอดคล้องกับความต้องการในการเดินทางของประชาชน กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม ได้เล็งเห็นว่าการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 จะเป็นโครงการหนึ่งของการพัฒนาโครงข่ายการเชื่อมพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำ ซึ่งนอกจากจะเป็นทางเลือกของเส้นทางเดินทางที่อำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยแบ่งเบาการจราจรบนสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้ว ยังเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของประชาชนรวมทั้งช่วยปรับปรุงโครงข่าย เส้นทางคมนาคมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครตอนบน และจังหวัดนนทบุรีให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น สอดคล้องตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้สามารถรองรับการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเขตชุมชน






See less See more
4
21 - 40 of 207 Posts
สร้างเเบบนี้สร้างธรรมดาก็ได้มั้งเปลืองงบประมาณเเผ่นดิน
นนทบุรีคงอยากได้สะพานสวยๆเป็นเอกลักษณ์ซักสะพานนึงมั้งครับ

แต่ผมว่ามันก็ดูแปลกๆอยู่ดี
^^ อยากได้สะพานแขวน แบบ Golden Gate บ้างอะ อิอิ
^^ อยากได้สะพานแขวน แบบ Golden Gate บ้างอะ อิอิ
ทำได้ครับ แต่ส่วนมากจะทำกับทางน้ำที่กว้างมากๆอ่ะครับ

แล้วคาดว่าค่าก่อสร้างน่าจะแพงกว่าด้วย เพราะใช้สลิงเยอะ ฐานสลิงอีก
See less See more
MOSCOW| Zhivopisny Bridge | length 1460m | main section 405m | arque height 105m | 2007


สร้างความเเตกต่างหน่อยเถอะสะพานมันจะเหมือนกันหมดเเล้ว
See less See more
2










แนวนี้ผมว่าเหมาะแล้ว แต่ว่าน่าจะถึงเวลามีอีก theme แล้วนะ ไม่งั้นถ่ายรูปออกมานึกว่าไปเที่ยวอยู่ที่เดียว ;o
See less See more
4
ดูเตี้ยๆป้อมๆหนาๆบึกๆ ไม่สวยเลยอ่ะโบราณมาก
อยากได้แบบเพรียวๆโปร่งๆกว่านี้
ทำได้ครับ แต่ส่วนมากจะทำกับทางน้ำที่กว้างมากๆอ่ะครับ

แล้วคาดว่าค่าก่อสร้างน่าจะแพงกว่าด้วย เพราะใช้สลิงเยอะ ฐานสลิงอีก
สร้างตรงปากแม่น้ำเลยครับกว้างดี 555
See less See more
^^ คาดว่าสร้างเสร็จ สะพานก็จมน้ำเสียเเล้ว ก็เป็นสะพานบาดาล




AMAZNING THAILAND ! :D
See less See more
มันก็ดูป้อมๆจริงแหละ

แต่ยังไง ผมว่าดีกว่าสร้างธรรมดาๆนะ

ดูเป็นเอกลักษณ์ดี
มันก็ดูป้อมๆจริงแหละ

แต่ยังไง ผมว่าดีกว่าสร้างธรรมดาๆนะ

ดูเป็นเอกลักษณ์ดี
มันเป็นเอกลักษณ์ประมานชิ้นที่สามแล้วมั้งครับ ไอ้สะพานประเภทนี้ คิดอะไรไม่ออกก็เอาสะพานแขวนแบบสะพานพระราม 8
See less See more
^^ คุณ thainotts ครับ ผมว่าเขามีเหตุผลจะสร้างหรอกครับ แถมรู้สึกว่าสร้างสะพานแบบนี้ถ้าสร้างให้มันสมเหตุสมผลมันจะสร้างได้ถูกกว่าสะพานคอนกรีตแบบสะพานปกเกล้าด้วยซ้ำนะครับ ลองอ่านความเห็นของผมดูก่อนนะครับคุณ thainotts เพราะผมพูดในเรืองของ Land Scape(ภูมิประเทศ) Location(ภูมิสถาปัตย์) เอาไว้ครับ

ดูเตี้ยๆป้อมๆหนาๆบึกๆ ไม่สวยเลยอ่ะโบราณมาก
อยากได้แบบเพรียวๆโปร่งๆกว่านี้
ต้องทำให้กลมกลืนกับวัดเฉลิมพระเกียติและอุทยานเฉลิมพระเกียติที่ตกแต่งด้วยศิลปกรรมแบบไทยแท้ๆครับ เขาคงคิดมาแล้วแหละครับว่าถ้าสร้างไปแล้วมันรับกับสถาปัตยกรรมรอบข้างครับไม่งั้นกรมศิลปากรคงไม่ให้สร้าง(วัดแห่งนี้เคยเป้นป้อมเก่าเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาครับไว้สกัดข้าศึกก่อนที่จะเข้าไปตีกรุง เมือย้ายเมืองหลวงแล้วป้อมนี้ก็หมดประโยชน์เลยเอามาสร้างเป็นวัดซะเลย)

ฉะนั้นแล้วต้องสร้างให้มันรับกับวัดแห่งนี้ครับไม่งั้นกรมศิลป์และพวกนักอนุรักษณ์ได้โวยวายตายเลย:bash:

เออ สงสัยว่า ทำไมมันถึงมีเสาอยู่ในน้ำแล้ว ถ้าจะทำแบบนี้แล้วเอาลงน้ำมาทั้งสองเสาไม่ดีกว่าหรอครับ
จากเท่าที่สังเกตุนะชัยดูในรูปของพี่นโปเรียนจะพบว่า ตรงนั้นมันเป็นคุ้งน้ำนะสังเกตุว่าระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามันชึกกว่าปกติเลยทำให้ตอกตอม่อลงสองฝั่งแบบสะพานปกติโดยทั่วไปไม่ได้ ตามหลักธรณีวิทยาสภาพภูมิประเทศเป็นดินเหนียวและสภาพช่วงแม่น้ำตรงนั้นมันเป็นช่วงโค้งคุ้งน้ำหักศอกทำให้กระแสน้ำพัดเข้าหาฝั่งในกระแสที่แรงกว่าปกติทำให้ร่องน้ำลึกมันอยู่ที่ริมคลิ่งด้านที่โค้งไม่(ตามปกติร่องน้ำลึกมันต้องอยู่กลางแม่น้ำไงนี่เป็นสาเหตุว่าทำไมถึงปักตอม่อกลางแม่น้ำตรงนั้นไม่ได้)

และเมื่อตรงนั้นมันปักตอม่อไม่ได้ก็เลยต้องสร้างเป็นสะพานแขวนครับในลักษณะดังรูปครับเพราะเท่าที่ดูๆตอม่อฝั่งเมืองนนทบุรีพื้นมันตื้นเลยปักตอม่อกลางน้ำได้ส่วนฝั่งวัดเฉลิมพระเกียตินั้นร่องน้ำมันลึกและส่วนที่ลึกที่สุดของแม่น้ำมันอยู่ตรงนั้นพอดีเลยทำให้ปักต่อม่อลำบากแถมถ้าจะปักจริงๆ ต้องปักลึกกว่าฝั่งนนท์บุรีด้วย แถมกระแสน้ำตรงร่องน้ำมักเป็นช่วงที่แรงที่สุดเมือสร้างตอม่อคอนกรีตลงไปทางน้ำมันย่อมเปลี่ยนทางเดินคราวนี้วุ่นวายกันทั้งแม้น้ำแหละครับ เมื่อตอม่อไปสร้างขวางทางน้ำเชี่ยวมันก็ย่อมที่จะสึกหรอครับ (นึกภาพตามครับว่าเอาก้อนกินไปวางไว้บนทางน้ำไหนแรงๆมันยังเคลื่อนใช่ไหม?ฉะนั้นแล้วกรณีนี้มันน่าจะเป้นกรณีเดียวกันคือเมื่อตอม่อมันไปขวางทางน้ำแล้วมันย่อมเคลื่นทีละน้ดทำให้การบำรุงรักษาลำบาก)

เหตุฉะนี้เลยต้องสร้างสะพานขึงในลักษณะนี้นั้นเอง(ตอนแรกเห็นรูปก็สงสัยแบบนายนั้นแหละแต่เมือเห้นภาพด้านล่างแล้วเก็ตขึ้นมาทันที:cheers:)

2. A 6-lane extradosed prestressed concrete bridge of 200 m. main span of which the total length is 460 m.

แต่ว่าทำไมคานมันเหมือนคานหล่อของสะพานพระราม 4 เลย - - หรือว่าเขาเอาสลิงค์มาช่วยรับน้ำหนักตรงช่วงนั้นหว่า

สร้างเเบบนี้สร้างธรรมดาก็ได้มั้งเปลืองงบประมาณเเผ่นดิน
นักการเมืองไทยทำอะไรประหยัดงบแผ่นดินกันอยู่แล้วครับ:banana:แต่เอาเข้ากระเป็าตัวเองเยะๆ:nuts: แต่ที่สร้างไม่ได้น่าจะเป็นเหตุผลข้างต้นที่ผมได้กล่าวมานั้นแหละครับ:lol:

ปล.หวังว่าคงไม่เอาการเมืองมาตีกันในกระทู้นี้อีกนะครับขอร้องเลย:eek:hno:
See less See more
ตั้งแต่ปี 50-54 เวียตนามทยอยสร้างสะพานขึงมากกว่า ไทย มาเลย์ อินโด รวมกันซะอีก

ยังไม่รวมโปรเจ็คขายฝันของเวียตนามนะ 555
See less See more
อ้วนซะ...


เหมือนสะพานตรงปากเกร็ดเลย T_T



ว่าแต่อีกเรื่องนึง ผมอยากให้แยกแยะระหว่าง interchange กว้างๆ ที่ใช้กับทางหลวงหรือทางด่วน กับถนนในเมืองอ่ะครับ(ที่อนุญาตให้สร้างสิ่งก่อสร้างทางพาณิชย์ข้างทางได้ในอนาคต) ถึงแม้มันจะสังกัดกรมทางหลวงก็เถอะ

ไม่ต้องพูดถึงเลยว่าระยะเดินเท้าเวลาจะเดินผ่าน Interchange เพื่อเปลี่ยนสายรถเมล์ ข้ามถนน หรือเดินไปมาปกติจะไกลขนาดไหน หรือว่าคนเดี๋ยวนี้ไม่คิดอะไรเพราะขับรถกันหมดแล้ว :(
See less See more
ยื้อ'สะพานนนท์1' ไจก้าเลื่อนเซ็นสัญญาเงินกู้ 2,658 ล้าน มี.ค.53

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2449 02 ส.ค. - 05 ส.ค. 2552


โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 ของกรมทางหลวงชนบทได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อให้ก่อภาระหนี้ผูกพันกับ "ไจก้า" ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนมิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา และมีเป้าหมาย เซ็นสัญญาเงินกู้ ในเดือนตุลาคม 2552 หรือต้นปีงบประมาณ 2553

แต่ทำไปทำมา...ปรากฏว่า "ไจก้า" ขอเลื่อนเซ็นสัญญาเงินกู้วงเงิน 2,658 ล้านบาท ( สัดส่วน 70% ของมูลค่าโครงการ ) ออกไป เดือนมีนาคม 2553 ซึ่ง"ไจก้า" อ้างว่ายังไม่พร้อม เนื่องจากระยะเวลากระชั้นชิดเกินไป อีกทั้งยังต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาจากรัฐบาลอีกหลายขั้นตอน

จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้กรมทางหลวงชนบท ได้ตัดสินใจ ใช้งบกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลหรือ งบไทยเข้มแข็ง แทนเพราะ ใช้งบประมาณเพียง 2,000 กว่าล้านบาท ซึ่งนำมารวมกับงบประมาณปกติที่ได้รับ จึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่เมื่อพิจารณาให้ถ่องแท้แล้วกลับพบว่า โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นโครงการขนาดใหญ่ ต้องใช้เทคนิคการก่อสร้างทางวิศวกรรมสูง ดังนั้นจึงต้องมีการคัดเลือกคุณสมบัติผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์

ความล่าช้าครั้งนี้ทำให้แผนแก้ปัญหาจราจร และการร่นระยะเวลาเดินทางกลับช้าออกไป ขณะเดียวกันเมื่อยังไม่มีการลงนามในสัญญาเงินกู้ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ทำให้ กรมทางหลวงชนบท ไม่สามารถทำอะไรได้โดยเฉพาะ การจัดทำ "พีคิว" หรือ คัดเลือกคุณสมบัติผู้รับเหมาเบื้องต้น แต่ทางออก ได้เจรจาต่อรองกับ "ไจก้า"เพื่อคัดเลือกให้ได้ตัวผู้รับเหมาไม่เกินเดือนกันยายน 2553 หรือ ก่อนสิ้นปีงบประมาณ ซึ่งคาดว่า ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ส่วนการก่อสร้างจะใช้เวลา 30 เดือน

สำหรับ โครงการก่อสร้างสะพานนนทบุรี 1 ใช้งบประมาณก่อสร้าง 3,796 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกู้ สัดส่วน 70% คือ 2,658 ล้านบาท งบประมาณแผ่นดิน 1,138 ล้านบาท หรือ สัดส่วน 30% มี ระยะทางยาว 4.3กิโลเมตร ประกอบด้วยทางแยกต่างระดับ ที่ถนนนนทบุรี1 สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขนาด 6 ช่องจราจร ลักษณะเป็นสะพานขึง ความยาว 440 เมตร ความยาวช่วงกลางสะพาน 200 เมตร ทางยกระดับขนาด6ช่องจราจร ต่อเนื่องจากสะพาน ด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำระยะทาง 974 เมตร ถนนระดับดินขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทางประมาณ 1.7 กิโลเมตร และทางแยกต่างระดับที่ถนนราชพฤกษ์


โดยมีจุดเริ่มต้นที่ถนนนนทบุรี1 ซึ่งอยู่ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ แนวเส้นทางวางตัวในทิศตะวันตกเฉียงใต้ ข้ามแม่น้ำไปขึ้นฝั่งด้านตะวันตก ในพื้นที่ฝั่งใต้ของคลองอ้อมนนท์ จากนั้นแนวจะเบนไปทางทิศตะวันตกเข้าบรรจบและซ้อนทับไปกับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ซึ่งเป็นถนนปัจจุบัน จนถึงจุดปลายทางโครงการที่ถนนราชพฤกษ์
See less See more
ทช.รับเวนคืนสะพานนน 1 ครบ 100 % เตรียมลงเข็มปี 53

LogisticNews กรุงเทพฯ 25 ก.ย.2009


กรมทางหลวงชนบท (ทช.) รับงานสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยานนนทบุรี 1 วงเงิน 3.7 พันล้าน เวนคืนครบ 100 % เตรียมลงมือก่อสร้างกลางปี 53

นาย วิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยถึงโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1 ว่า ว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวได้มีการเวนคืน,รื้อถอนอสังหาริมทรัพย์ บริเวณโครงการแล้วเสร็จ 100 % และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการประกวดราคาและเริ่มก่อสร้างได้ประมาณกลางปี 2553 ก่อนจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 30 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคม ปี 2555 มีงบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 3,796,000,000 แบ่งเป็นใช้เงินงบประมาณ 1,138,800,000 บาท และเงินกู้นอกงบประมาณ 2,657,200,000 บาท

นายวิชาญ กล่าวว่า หลังจากโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จจะอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ประชาชนใน จังหวัดนนทบุรี ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาการจราจรบนสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงช่วยปรับปรุงโครงข่ายเส้นทางคมนาคมในพื้นที่กรุงเทพมหานครตอนบนและ จังหวัดนนทบุรีให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ในทุกขั้นตอนของการดำเนินโครงการได้มีการทำประชาพิจารณ์โดยให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม และกรมทางหลวงชนบท ในการพัฒนาโครงข่ายทางให้สมบูรณ์ อย่างพอเพียงและยั่งยืน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนต่อไป โดยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวงชนบท สายด่วนทางหลวงชนบท 1146 หรือ www.dor.go.th/drr
See less See more
เดี๋ยวนี้เมืองนนท์เจริญกว่าฝั่งธนฯ 55
รอไจก้าให้กู้เงินสร้างสะพานนนท์ 1

Dailynews วันศุกร์ ที่ 04 ธันวาคม 2552 เวลา 8:06 น


นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 ว่า ทช. ยังอยู่ระหว่างรอองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ ไจก้า อนุมัติเงินกู้ 80.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ เทียบเท่า 2,657.2 ล้านบาท จากค่าก่อสร้างทั้งหมด 3,796 ล้านบาท คาดว่าไจก้าจะอนุมัติเงินกู้ให้ได้ช่วงประมาณเดือน พ.ค. 2553 ส่วนเงินงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลอีก 30% ได้รับจัดสรรแล้วในปีงบประมาณ 2553 หลังจากไจก้าอนุมัติเงินกู้แล้วจะเปิดประกวดราคาทันที คาดว่าจะเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาได้ราว ๆ เดือน ก.ย. 2553 ระหว่างนี้ ทช. ได้เดินหน้าจัดทำทีโออาร์คัดเลือกผู้รับเหมาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเบื้องต้น เพื่อให้กระบวนการทำงานเสร็จพร้อม ๆ กับการรออนุมัติเงินกู้ ให้สามารถเดินหน้าประกวดราคาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้รับเหมา จะต้องมีบริษัทของญี่ปุ่นรวมกลุ่มอยู่ด้วย ตามเงื่อนไขเงินกู้ของไจก้า นอกจากนี้ต้องเป็นผู้รับเหมาที่เคยทำงานก่อสร้างสะพาน ในลักษณะนี้มาก่อน ซึ่งสะพานนี้ออกแบบผสมระหว่างสะพานขึงตรงกลางสะพานกับสะพานแบบคานยื่นต่อกัน ในประเทศไทยมีสะพานลักษณะนี้อยู่แห่งเดียว คือ ที่สะพานข้ามแม่น้ำโขงที่จังหวัดมุกดาหาร แต่ที่ต่างประเทศมีสะพานลักษณะนี้เป็นจำนวนมาก จึงไม่มีปัญหาในการหาผู้รับเหมา เพราะสามารถรวมตัวกับผู้รับเหมาต่างประเทศได้.
See less See more
21 - 40 of 207 Posts
This is an older thread, you may not receive a response, and could be reviving an old thread. Please consider creating a new thread.
Top