SkyscraperCity Forum banner

Nonthaburi 1 Bridge

87623 Views 206 Replies 63 Participants Last post by  napoleon



World Forum https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?p=46106887


http://www.nonthaburi1bridge.com

Project Background


As a continuous growth of population in Bangkok and its vicinity, the land used of the area in the north of Bangkok and its adjacent area of Nonthaburi Province, especially in the west side of the Chao Phraya River, has been rapidly changed due to the large amount of residential community development. This results in an increasing traffic demand in the morning from the residential area on the west side to the employment and educational area on the east side and vice versa situation in the evening. Consequently, this increasing demand results in a congested traffic condition on the existing river crossing bridges especially in the morning peak period


The Commission for the Management of Land Traffic, the summit body who considers the land transportation system of the nation of which the chairman is the Prime Minister, had a resolution on 23rd February 2004 assigning the Department of Rural Roads (DRR) as the Executing Agency for the implementation of the Project.

.....เนื่องด้วยคณะกรรมการจัดระบบการจัดจราจรทางบกได้มีการประชุม ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547
โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งผลการประชุมมีมติในเรื่องของการพัฒนาระบบถนนและทางด่วน มอบหมายให้กรมทางหลวงชนบท ดำเนินการโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1

จากการกระจายตัวของการพัฒนาพื้นที่ไปในทิศทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลสืบเนื่องจากอัตราการเพิ่มของประชาชนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีการพัฒนาค่อนข้างมาก มีผลให้ความต้องการในการเดินทางข้ามไปมาระหว่างสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากปริมาณของการจราจรบนสะพานที่เชื่อมการคมนาคมระหว่างฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบันมีสภาพที่หนาแน่นมาก


.... ดั้งนั้นจึงมีความจำเป็นในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มเติมในบริเวณที่เหมาะสม และมีศักยภาพในการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมที่สอดคล้องกับความต้องการในการเดินทางของประชาชน กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม ได้เล็งเห็นว่าการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 จะเป็นโครงการหนึ่งของการพัฒนาโครงข่ายการเชื่อมพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำ ซึ่งนอกจากจะเป็นทางเลือกของเส้นทางเดินทางที่อำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยแบ่งเบาการจราจรบนสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้ว ยังเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของประชาชนรวมทั้งช่วยปรับปรุงโครงข่าย เส้นทางคมนาคมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครตอนบน และจังหวัดนนทบุรีให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น สอดคล้องตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้สามารถรองรับการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเขตชุมชน






21 - 40 of 207 Posts
ทช.รับเวนคืนสะพานนน 1 ครบ 100 % เตรียมลงเข็มปี 53

LogisticNews กรุงเทพฯ 25 ก.ย.2009


กรมทางหลวงชนบท (ทช.) รับงานสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยานนนทบุรี 1 วงเงิน 3.7 พันล้าน เวนคืนครบ 100 % เตรียมลงมือก่อสร้างกลางปี 53

นาย วิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยถึงโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1 ว่า ว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวได้มีการเวนคืน,รื้อถอนอสังหาริมทรัพย์ บริเวณโครงการแล้วเสร็จ 100 % และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการประกวดราคาและเริ่มก่อสร้างได้ประมาณกลางปี 2553 ก่อนจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 30 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคม ปี 2555 มีงบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 3,796,000,000 แบ่งเป็นใช้เงินงบประมาณ 1,138,800,000 บาท และเงินกู้นอกงบประมาณ 2,657,200,000 บาท

นายวิชาญ กล่าวว่า หลังจากโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จจะอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ประชาชนใน จังหวัดนนทบุรี ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาการจราจรบนสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงช่วยปรับปรุงโครงข่ายเส้นทางคมนาคมในพื้นที่กรุงเทพมหานครตอนบนและ จังหวัดนนทบุรีให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ในทุกขั้นตอนของการดำเนินโครงการได้มีการทำประชาพิจารณ์โดยให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม และกรมทางหลวงชนบท ในการพัฒนาโครงข่ายทางให้สมบูรณ์ อย่างพอเพียงและยั่งยืน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนต่อไป โดยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวงชนบท สายด่วนทางหลวงชนบท 1146 หรือ www.dor.go.th/drr
รอไจก้าให้กู้เงินสร้างสะพานนนท์ 1

Dailynews วันศุกร์ ที่ 04 ธันวาคม 2552 เวลา 8:06 น


นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 ว่า ทช. ยังอยู่ระหว่างรอองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ ไจก้า อนุมัติเงินกู้ 80.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ เทียบเท่า 2,657.2 ล้านบาท จากค่าก่อสร้างทั้งหมด 3,796 ล้านบาท คาดว่าไจก้าจะอนุมัติเงินกู้ให้ได้ช่วงประมาณเดือน พ.ค. 2553 ส่วนเงินงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลอีก 30% ได้รับจัดสรรแล้วในปีงบประมาณ 2553 หลังจากไจก้าอนุมัติเงินกู้แล้วจะเปิดประกวดราคาทันที คาดว่าจะเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาได้ราว ๆ เดือน ก.ย. 2553 ระหว่างนี้ ทช. ได้เดินหน้าจัดทำทีโออาร์คัดเลือกผู้รับเหมาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเบื้องต้น เพื่อให้กระบวนการทำงานเสร็จพร้อม ๆ กับการรออนุมัติเงินกู้ ให้สามารถเดินหน้าประกวดราคาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้รับเหมา จะต้องมีบริษัทของญี่ปุ่นรวมกลุ่มอยู่ด้วย ตามเงื่อนไขเงินกู้ของไจก้า นอกจากนี้ต้องเป็นผู้รับเหมาที่เคยทำงานก่อสร้างสะพาน ในลักษณะนี้มาก่อน ซึ่งสะพานนี้ออกแบบผสมระหว่างสะพานขึงตรงกลางสะพานกับสะพานแบบคานยื่นต่อกัน ในประเทศไทยมีสะพานลักษณะนี้อยู่แห่งเดียว คือ ที่สะพานข้ามแม่น้ำโขงที่จังหวัดมุกดาหาร แต่ที่ต่างประเทศมีสะพานลักษณะนี้เป็นจำนวนมาก จึงไม่มีปัญหาในการหาผู้รับเหมา เพราะสามารถรวมตัวกับผู้รับเหมาต่างประเทศได้.
ได้ฤกษ์ตอกเข็มสะพานนนทบุรี1 เปิดซิงทำเลทองใหม่เมืองนนท์-กรุงเทพฯโซนตต.

วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4204 ประชาชาติธุรกิจ



ทช.เร่งสปีด "สะพานนนทบุรี 1" หลัง ไจก้าให้เงินกู้ เริ่มพีคิวผู้รับเหมาแล้ว ดีเดย์ยื่นประมูล ก.ค.นี้ ตอกเข็มปลายปี บิ๊ก รับเหมาขาประจำทั้งไทย-เทศ แห่ชิงเค้ก 3.7 พันล้านบาท "ITD-ช.การช่าง-ซิโน-ไทยฯ-กำแพงเพชรวิวัฒน์-ยูนิค-คาจิม่า- สุมิโต-ไทเซ-ไชน่าฮาร์เบอร์" วงในโวยลั่นล็อกสเป็กให้ต่างชาติ


หลังเตรียมความพร้อมล่วงหน้ามาร่วม 2 ปี ถึงตอนนี้ กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ใกล้จะได้ฤกษ์เดินหน้าโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณนนทบุรี 1 เงินลงทุน 3,796 ล้านบาท เป็นเงินกู้ 70% และงบประมาณ 30% เนื่องจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) อนุมัติเงินกู้อย่างเป็นทางการแล้ว

ขณะเดียวกัน ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อ 20 เมษายน 2553 ที่ผ่านมา ได้อนุมัติแผนเงินกู้จากไจก้า วงเงิน 7,307 ล้านเยน หรือ 2,656 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ภายใต้เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.95 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยส่วนการว่าจ้างที่ปรึกษา ร้อยละ 0.01 ต่อปี ค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ของวงเงินกู้ที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย ร้อยละ 0.1 ต่อปี ระยะเวลาชำระเงินกู้ 20 ปี ปลอดหนี้ 6 ปี การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใน 6 ปี โดยเตรียมเสนอรัฐสภาพิจารณา 20 พฤษภาคมนี้ เพื่อเซ็นสัญญาเงินกู้ ส่วนที่เหลือ 1,140 ล้านบาท ใช้เงิน งบประมาณ

นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เพื่อให้โครงการเดินหน้าอย่างรวดเร็วจะคัดเลือกคุณสมบัติผู้รับเหมาก่อสร้าง (พีคิว) และขั้นตอนประมูลที่จะเปิดประมูลแบบนานาชาติ 1 สัญญา โดยเปิดให้ผู้รับเหมาไทยและต่างชาติเข้าร่วมประมูล ในระหว่างที่รอเซ็นเงินกู้ คาดว่าใช้เวลาประมาณ 3 เดือนขั้นตอนต่าง ๆ จะแล้วเสร็จ

โดยระหว่างวันที่ 30 มีนาคมถึง 4 มิถุนายนนี้ ทช.ได้ประกาศเชิญชวนผู้รับเหมายื่นพีคิว ซึ่งมีผู้รับเหมามารับเอกสารแล้วกว่า 10 ราย ใช้เวลาพิจารณา 1 เดือน จากนั้นจะส่งรายชื่อให้สำนักงบประมาณ และไจก้าอนุมัติจะเปิดให้ยื่นซองประมูลเดือนกรกฎาคม 2 ซอง คือเทคนิคและราคา เซ็นสัญญาเดือนกันยายน 2553 เริ่มก่อสร้างตุลาคม-พฤศจิกายน 2553 เพราะเวนคืนที่ดินเสร็จเรียบร้อยตั้งแต่ปี 2551 ใช้เวลาก่อสร้าง 30 เดือน ถึงกลางปี 2556

รายชื่อผู้รับเหมาที่รับเอกสารการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น อาทิ บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บจ.คาจิม่า, บมจ.ช.การช่าง, บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, บจ.เอ.เอส. แอสโซ ซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964), บจ.กำแพงเพชรวิวัฒน์ก่อสร้าง, บมจ.ยูนิค เอ็นยิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, บจ.บุญสหะการสร้าง, บจ.ไชน่าฮาร์เบอร์, บจ.ทิพากร, บจ.สุมิโตโม, บจ.ไทเซ

"โครงการนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากกับพื้นที่โซนตะวันตก จะพลิกโฉมเปิดพื้นที่พัฒนาใหม่มากขึ้น และเพิ่มทางเลือกในการเดินทางสำหรับคนนนทบุรี และ กทม.ฝั่งตะวันตก เพราะสะพานจะเชื่อมโยง 2 ฝั่งเจ้าพระยา การเดินทางจะสะดวกขึ้น และเสริมศักยภาพโครงข่ายปัจจุบันทั้งถนนราชพฤกษ์ เลี่ยงเมืองปากเกร็ด สะพาน พระนั่งเกล้า ช่วยแก้ปัญหาการจราจรได้มาก"

นายวิชาญกล่าวว่า รูปแบบสะพานนนทบุรี 1 ผสมผสานระหว่างสะพานขึงและคอนกรีต เรียกว่าสะพานคานขึง หรือ extradosed เหมือนกับนำสะพานภูมิพล 1 และสะพานพระปิ่นเกล้ามารวมกัน ประเทศไทยยังไม่มีการสร้างสะพานรูปแบบนี้ ผู้รับเหมาไทยที่ไม่มีผลงานนี้จะต้องร่วมทุนกับต่างชาติ

ด้านแหล่งข่าวจากผู้รับเหมาก่อสร้างกล่าวว่า ผู้รับเหมาไทยกังวลเรื่องการกำหนดคุณสมบัติผู้รับงานโครงการนี้มาก เพราะรับเหมาไทยแข่งขันได้ยาก เหมือนต้องการล็อกสเป็กให้ต่างชาติ เนื่องจากระบุให้มีผลงานสะพานแบบ extradosed ซึ่งมีเฉพาะในญี่ปุ่น รับเหมาไทยจึงต้องหาพาร์ตเนอร์ที่มีผลงานเข้าร่วม และเป็นแกนนำไม่ได้ต้องเป็นผู้ร่วมทุนรายที่ 2 และ 3 เท่านั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการนนทบุรี 1 ระยะทางรวม 4.3 กิโลเมตร รูปแบบมีทั้งสะพานข้ามแม่น้ำ 6 ช่องจราจร ยาว 460 เมตร และถนนต่อเชื่อมระดับดิน 6 ช่องจราจร จุดเริ่มต้นอยู่บนถนนนนทบุรี 1 ฝั่งตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้โรงเรียน ศรีบุญยานนท์ ด้านใต้ของท่าน้ำพิบูลสงคราม 4 และชุมชนตลาดขวัญ แล้วเบี่ยงไปทิศตะวันตกเฉียงใต้ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางด้านตะวันตกฝั่งใต้ของคลองอ้อมนนท์ โดยแนวจะอยู่ระหว่างศาลหลักเมืองและอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก

จากนั้นเบนไปทิศตะวันตก ตัดผ่านถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ก.ม.1+300 แล้วจะขนานไปตามแนวถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ผ่านพื้นที่ว่างเปล่าและสวน บรรจบกับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ที่ ก.ม.2+600 สิ้นสุดโครงการที่ถนนราชพฤกษ์ บริเวณสะพานข้ามถนนราชพฤกษ์

จะมีทางต่างระดับเชื่อมกับโครงข่ายเดิมบนถนนนนทบุรี 1 บริเวณจุดเริ่มต้นเป็นทางลงสำหรับรถที่จะลงถนนนนทบุรี 1 ไปท่าน้ำนนทบุรี และทางขึ้นสำหรับรถบนถนนนนทบุรี 1 จากท่าน้ำนนทบุรีที่จะขึ้นสะพาน โดยไม่ต้องผ่านสามแยกถนนนนทบุรี 1 และถนนเลี่ยงเมือง และมีทางขึ้นสำหรับรถบนถนนนนทบุรี 1 จากถนนรัตนาธิเบศร์ที่จะไปท่าน้ำนนทบุรี ต่อเชื่อมเข้ากับทางลงสะพาน สำหรับรถที่จะไปท่าน้ำนนทบุรี และทางขึ้นบนถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี สำหรับรถขึ้นสะพาน โดยไม่ต้องผ่านสามแยกนนทบุรี 1 ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี ทางแยกบริเวณตลาด อ.ต.ก.และมีสะพานข้ามแยกบนถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี จากถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีที่จะไปรัตนาธิเบศร์

ตัวสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีทางขึ้น-ลงต่อเชื่อมด้านทิศตะวันตก ที่จุดตัดระหว่างแนวถนนโครงการกับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี เป็นสะพานข้ามแยกมีทางขึ้น-ลง สำหรับรับ-ส่งรถจากชุมชนเฉลิมพระเกียรติ และชุมชนตามแนวถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนท์เดิม

ส่วนถนนระดับดินตัดใหม่จะมีแยกต่างระดับที่ถนนราชพฤกษ์ บริเวณจุดสิ้นสุดโครงการจะเป็นแรมป์สำหรับส่งรถจากฝั่งตะวันออก (ถนนโครงการ) ข้ามถนนราชพฤกษ์สู่ถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี (มุ่งหน้าฝั่งตะวันตก) เพื่อส่งรถจากถนนโครงการเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนราชพฤกษ์มุ่งหน้าถนนรัตนาธิเบศร์ และมีสะพานยกระดับขนานกับสะพานยกระดับเดิม ส่งรถจากถนนวัดโบสถ์ดอนพรหมข้ามถนนราชพฤกษ์เข้าสู่ถนนโครงการ มุ่งหน้าฝั่งตะวันออก มีลูปแรมป์รับรถจากถนนราชพฤกษ์เลี้ยวขวา เข้าถนนโครงการ มุ่งหน้าฝั่งตะวันออก

หน้า 8
ราคาที่ดินพุ่ง2.5เท่า!ตอกเข็ม'สะพานนนท์1'

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,536 3-5 มิถุนายน พ.ศ. 2553


กรมทางหลวงชนบท เตรียมลงมือก่อสร้างโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณ ถนนนนทบุรี 1 ไม่เกิน ปลายปี 2553 หรือ ต้นปี 2554 หลัง สภาผู้แทนราษฎรอนุมัติเซ็นสัญญากู้เงิน "ไจก้า" กว่า 7,000 ล้านเยน หรือกว่า 3,796 ล้านบาท

ล่าสุดขณะนี้ได้เตรียมจัดทำเอกสาร และประกาศ "พีคิว" หรือกำหนดคุณสมบัติผู้รับเหมาเบื้องต้น เพื่อคัดเลือกผู้รับเหมาที่มีคุณสมบัติเหมาะสม แข่งขันประมูลงาน คาดว่าจะได้ตัวผู้รับเหมา ประมาณปลายปีนี้ แน่นอนว่าต้องมีผู้รับเหมาจากประเทศญี่ปุ่นรายใดรายหนึ่ง คว้างานนี้ไปด้วยการจอยต์เวนเจอร์กับยักษ์รับเหมาไทย อย่างอิตาเลียนไทย, ช.การช่าง เป็นต้น

แม้โครงการนี้จะเน้นการแก้ปัญหาจราจร เชื่อมโยงโครงข่ายจราจรระหว่างกรุงเทพมหานคร กับจังหวัดในปริมณฑลคือนนทบุรีตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียงให้เกิดความคล่องตัวขณะเดียวกัน ทำเลดังกล่าวตลอดแนวสายทาง จากเดิมเป็นเรือกสวนไร่นา จะกลายเป็นทำเลทอง โดยเฉพาะช่วงที่ถนนตัดผ่านหน้าดิน

โดย "วสันต์ คงจันทร์" กรรมการผู้จัดการบริษัท เอเจนซีฟอร์เรียลเอสเตทแอฟแฟร์สฯ สะท้อนมุมมองว่าโดยเฉลี่ยราคาที่ดิน บริเวณท่าน้ำนนท์ จังหวัดนนทบุรี เฉลี่ยราคา ไร่ละ 4 -5 ล้านบาท หรือตารางวาละกว่า 10,000 บาท เมื่อมีถนนใหม่ตัดผ่านหรือเปิดหน้าดินใหม่ ตลอดแนวติดถนน เฉลี่ยราคาที่ดินจะปรับขึ้น 2.5 เท่า หรือประมาณ 35,000-50,000 บาทต่อตารางวา โดยทำเลดังกล่าว เหมาะที่จะพัฒนาเป็นเชิงพาณิชย์ อาทิ ตึกแถว อาคารพาณิชย์ โชว์รูม ร้านค้า ร้านอาคาร

เนื่องจากราคาที่ดินค่อนข้างสูง ส่วนบ้านจัดสรร เหมาะที่จะพัฒนาด้านใน ประมาณ 1-2 กิโลเมตร จากแนวถนนเดิมราคาไม่เกิน 10,000 บาทต่อตารางวา ซึ่งจะขยับขึ้นไม่เกิน 40-50%

ขณะนี้มีผู้ประกอบการเข้าไปจับจองพื้นที่แล้วและรอการพัฒนา เนื่องจากได้ซื้อที่ดินต่อเนื่องจาก ถนนราชพฤกษ์ ถนนนครอินทร์ ซึ่งเป็นถนนที่บูมสุดๆ และราคาที่ดินได้ขยับตัวต่อเนื่อง ส่วนที่ดินที่ราคาแพงสูงสุด จะอยู่บริเวณแนวก่อสร้างสะพานนนท์ 1 ฝั่งสนามบินน้ำชุมชนตลาดขวัญ ราคาซื้อขาย 70,000-80,000 บาทต่อตารางวา

สำหรับความเคลื่อนไหวราคาที่ดินบริเวณถนนราชฤกษ์, นครอินทร์ ติดถนนราคาตารางวาละ 50,000-60,000 บาท

สำหรับแนวสายทางโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ถนนนนทบุรี 1 ด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในตำแหน่งบริเวณทางโค้งใกล้กับโรงเรียนศรีบุณยานนท์บริเวณนี้จะเป็นถนนแนวราบขนาด 6 ช่องจราจร อยู่ในท้องที่ด้านทิศใต้ของท่าน้ำพิบูลย์สงคราม 4 และชุมชนตลาดขวัญ วางตัวในทิศตะวันตกเฉียงใต้ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขึ้นฝั่งด้านตะวันตกบริเวณพื้นที่ฝั่งใต้ของคลองอ้อมนนท์

โดยแนวสายทางจะอยู่ในพื้นที่ระหว่างศาลหลักเมืองซึ่งอยู่ทางด้านเหนือและอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกที่อยู่ทางด้านใต้เมื่อแนวเส้นทางผ่านอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกต่อจากนั้นจะเบนไปทางทิศตะวันตกตัดผ่านถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ที่ประมาณกิโลเมตรที่ 1+300 จากนั้นวางตัวขนานไปทางด้านใต้ของแนวถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนท์ผ่านพื้นที่ว่างเปล่าและสวนบรรจบและทับซ้อนเข้ากับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรีที่ประมาณกิโลเมตรที่2+600 จนถึงจุดปลายของโครงการที่ถนนราชพฤกษ์ในตำแหน่งที่ปัจจุบันเป็นสะพานข้ามถนนราชพฤกษ์รวมระยะทาง 4.3 กิโลเมตร

มีรูปแบบทางเชื่อมขึ้นลง ด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาทางแยกถนนนนทบุรี 1-ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีมีทางลงสำหรับรถในทิศทางที่จะลงถนนนนทบุรี 1 เพื่อไปท่าน้ำนนทบุรีพร้อมทางขึ้นสำหรับรถบนถนนนนทบุรี 1 ในทิศทางจากท่าน้ำนนทบุรีที่จะขึ้นสะพานโดยไม่ต้องผ่านแยกสัญญาณไฟจราจรบริเวณสามแยกถนนนนทบุรี1-ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีทางแยกบริเวณตลาดอ.ต.ก.นอกจากนี้จะมีสะพานข้ามแยกบนถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีในทิศทางจากถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีที่จะไปถนนรัตนาธิเบศร์

นอกจากสะพานนทบุรี 1 จะช่วยแก้ปัญหาจราจรแล้ว ยังช่วยเพิ่มศักยภาพของทำเล จากเรือกสวนไร่นา พลิกกลายเป็นทำเลเชิงพาณิชย์ไปในในบัดดล !!!
ทช.ดีเดย์15ก.ค.นี้ขายซองประมูล"สะพานนนท์1"4พันล้าน

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4221 ประชาชาติธุรกิจ


นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า วันที่ 15 กรกฎาคม 2553 นี้ กรมจะเปิดให้ผู้รับเหมาทั้ง 4 รายที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น (พีคิว) ซื้อเอกสารประกวดราคาโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณนนทบุรี 1 ระยะทาง 4.3 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 3,796 ล้านบาท โดยจะเปิดประมูล 1 สัญญา จากนั้นอีก 45 วัน หรือภายในเดือนสิงหาคมจะให้ยื่นซองราคาและเปิดซองราคาหาผู้เสนอราคาต่ำสุดเพื่อให้เซ็นสัญญาก่อสร้างได้ภายในเดือนกันยายนนี้

ผู้รับเหมาก่อสร้างที่ผ่านพีคิว 4 ราย ประกอบด้วย 1.กิจการร่วมค้า ST (บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ บจ.ไทเซอิ คอร์ปอเรชั่น) 2.บริษัท คาจิม่า คอร์ปอเรชั่น จำกัด 3.บริษัท ไชน่าเรลเวย์นัมเบอร์ไฟฟ์ 4.กิจการร่วมค้า ITD-SMCC (บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ และ บจ.สุมิโตโม มิตซุย คอนสตรัคชั่น)

"หลังเซ็นสัญญาก่อสร้างในเดือนกันยายนแล้ว คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนพฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป ใช้เวลา 30 เดือน หรือประมาณ 2 ปีครึ่ง จะแล้วเสร็จกลางปี 2556"

นายวิชาญกล่าวว่า เนื่องจากโครงการนี้เป็นเงินกู้สัดส่วน 70% จึงต้องดำเนินการตามขั้นตอนของเจ้าของเงินกู้คือ องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ตั้งแต่การคัดเลือกพีคิวจนถึงขั้นตอนการประกวดราคา โดยทุกขั้นตอนจะต้องผ่านความเห็นชอบจากไจก้า อาจทำให้ใช้ระยะเวลานานในการหาตัวผู้รับเหมา แต่พยายามดำเนินการควบคู่กันไปหลังจากชัดเจนว่าไจก้าสนับสนุนเงินก่อสร้างแน่นอนแล้ว

แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้างเปิดเผยว่า ขณะนี้มีบริษัทรับเหมาของไทยเตรียมเป็นซับคอนแทร็กเตอร์ (รับเหมาช่วง) ต่อจากบริษัทต่างชาติแล้ว ส่วนใหญ่เป็นคู่ค้าเดิมที่เคยเป็นพันธมิตรกันมาก่อน เนื่องจากรับเหมาต่างประเทศจะไม่ลงมือก่อสร้างเองแต่จะอาศัยรับเหมาไทย เป็นหลัก

โดยในส่วนบริษัทคาจิม่า ทาง บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ซับงานก่อสร้างให้ เพราะเคยเป็นกิจการร่วมค้าก่อสร้างโครงการสะพานวัดนครอินทร์มาก่อน ส่วนบริษัท ไชน่าเรลเวย์ จะซับงานให้กับบริษัท กรุงธนเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ที่เคยร่วมงานก่อสร้างโครงการสะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 (ห้วยทราย-เชียงของ)

โครงการนี้เป็นที่หมายตาของกลุ่มผู้รับเหมาเพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่รองจากโครงการรถไฟฟ้า ดูจากรายชื่อแล้วเป็นไปได้สูงที่จะล็อกสเป็กให้กับรายใดรายหนึ่ง เพราะมีแต่รับเหมารายใหญ่ที่ผ่านการพิจารณาด้านคุณสมบัติ ต้องจับตา บมจ. ซิโน-ไทยฯ และ บมจ.ยูนิคฯ ที่มี สายสัมพันธ์กับฝ่ายการเมืองและข้าราชการระดับสูงในกระทรวงคมนาคม

"โครงการนี้ใช้เงินกู้จากประเทศญี่ปุ่น และสะพานคานขึง หรือ extradosed ที่กรมทางหลวงชนบทกำหนดไว้ในสเป็ก ทีโออาร์ เทคโนโลยีแบบนี้มีเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่เดียวจึงเป็นไปได้สูงที่รับเหมาญี่ปุ่นจะได้งาน ต้องดูว่าคาจิม่าและไทเซใครจะได้งาน เพราะเคยก่อสร้างให้กับกรมทางหลวงชนบทด้วยกันทั้งคู่"

หน้า 8
ทางหลวงชนบทแจงสร้างสะพานนนท์ไม่เอื้อซิโนไทย

Posttoday 30 มิถุนายน 2553 เวลา 12:38 น.


กรมทางหลวงชนบท แจง โครงการสะพานข้ามแม่น้ำจ.นนทบุรี ไม่ได้เอื้อประโยชน์ ชิโนไทย ยัน ได้เปิดโอกาสให้บริษัทรับเหมาทั่วโลกเข้ามาเสนอตัวก่อสร้าง

การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.2554 จำนวน 2.07ล้านล้านบาท ได้มีพิจารณางบประมาณของกระทรวงคมนาคมในส่วนของกรมทางหลวงชนบทจำนวน 20,768,483,500 ล้านบาท ทั้งนี้ประเด็นที่กมธ.ให้ความสนใจมากที่สุด คือ โครงการก่อสร้างสะพานข้าแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 จำนวน 3.7 พันล้านบาท

โดยนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร กมธ.ในสัดส่วนของพรรคเพื่อไทย ตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดทำไมการก่อสร้างโครงการนี้ไม่มีการแบ่งสัญญากับผู้รับเหมาก่อสร้าง เป็น 3 สัญญาเพื่อ ป้องกันไม่ให้เกิดการล็อคสเปคบริษัทที่จะเข้ามาดำเนินการก่อสร้างแต่กรณีนี้กลับกำหนดให้มีการทำสัญญากับผู้รับเหมาเพียงสัญญาเดียว

นายยุทธพงศ์ กล่าวว่า ที่สำคัญบริษัทผู้รับเหมาที่ผ่านการพิจารณา คุณสมบัติเบื้องต้น (พีคิว) จำนวน 4 ราย ได้แก่ 1.กิจการร่วมค้า ST (บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ บจ.ไทเซอิ คอร์ปอเรชั่น) 2.บริษัท คาจิม่า คอร์ปอเรชั่น จำกัด 3.บริษัท ไชน่าเรลเวย์นัมเบอร์ไฟฟ์ 4.กิจการร่วมค้า ITD-SMCC (บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต์ และ บจ.สุมิโตโม มิตซุย คอนสตรัคชั่น) ซึ่งล้วนเป็นบริษัทที่มีสัญชาติญี่ปุ่นแทบทั้งสิ้น จึงอยากทราบว่ามีทำไมถึงมีแต่บริษัทญี่ปุ่นที่ผ่านการพิจารณา

“มีความจำเป็นอะไรที่ต้องดำเนินการใช้เงินกู้จากองค์การความร่วม มือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ประมาณ 2.6 พันล้านบาท เพราะตอนนี้รัฐบาลไทยเองก็มีการกู้เงินมาทำโครงการจะทำให้เป็นการสร้างภาระ ให้กับประเทศมากเกินไป แต่ถ้าจะสร้างจะมีเทคโนโลยีอื่นๆหรือไม่ที่จะช่วยประหยัดงบประมาณได้มากกว่า นี้เหมือนกับการสร้างสะพานพระราม 5 เป็นต้น”นายยุทธพงศ์ กล่าว

นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท ชี้แจงว่า งบประมาณที่ใช้ในโครงการนี้แบ่งเป็นเงินนอกงบประมาณ 2,657,200,000 ล้าน บาท เงินงบประมาณ 1,138,800,000 บาท ซึ่งเงินงบประมาณมีการอนุมัติผูกพันตั้งแต่ปี 2553-2556 ขณะที่เงินนอกงบประมาณจะมาจากการกู้เงินจากไจก้าเป็นหลัก รูปแบบของการก่อสร้างสะพานะ ขนาด 6 ช่องจราจร เป็นสะพานคานขึง หรือ extradosed ความยาวสะพานรวม 460 เมตร ระยะห่างเสาตอม่อ 200 เมตร ซึ่งการก่อสร้างในรูปแบบสะพานคานขึงถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดสำหรับการ ก่อสร้างสะพานของโลกที่มีต้นทุนในการก่อสร้างถูกกว่าแบบเก่า

นายวิชาญ กล่าวว่า โครงการนี้ไม่ได้มีการล็อคสเปคตามที่มีการตั้งข้อสังเกตโดยยืนยันที่ผ่านมา ทางกรมทางหลวงชนบทได้มีการเปิดโอกาสให้บริษัทที่มีความสามารถในการก่อสร้าง สะพานในรูปแบบคานขึงเข้ามายื่นซองประกวดราคาทั่วโลกแต่ส่วนตัวก็ไม่เข้าใจ เหมือนกันว่าทำไมถึงไม่มีการเสนอเข้ามายกเว้นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ขณะเดียวกันการก่อสร้างโครงการนี้เราเองไม่ได้ปิดกั้นบริษัทของไทยในการเข้า มามีส่วนร่วมกับการก่อสร้าง โดยบริษัทไทยสามารถเข้ามาร่วมในลักษณะกิจการร่วมค้า หรือ Joint Venture ได้

“สำหรับการไม่แบ่งสัญญาเป็น3สัญญาหรือ หลายสัญญาไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้ใครแต่ที่ต้องทำเพราะป้องกันปัญหาใน การควบคุมเวลาในการก่อสร้าง เนื่องจากถ้าแบ่งเป็นหลายสัญญาให้กับแต่ละบริษัทผู้รับเหมาหากมีบริษัทใด บริษัทหนึ่งดำเนินการก่อสร้างล่าช้าจะส่งผลกระทบโดยรวมต่อการก่อสร้างให้ล่า ช้าไปด้วยกันทั้งหมด” นายวิชาญ กล่าว

จากนั้น กมธ.ยังได้ให้ความสนใจสอบถามถึงความคืบหน้าในการดำเนินการโครงการถนนไร้ผุ่น ของรัฐบาลพร้อมกับสอบถามมีหลักเกณฑ์อย่างไรเพื่อให้มีการกระจายโครงการนี้ไป ตามภูมิภาคอย่างเป็นธรรม

นายวิชาญ กล่าวว่า ยืนยันการดำเนินการโครงการนี้ยึดหลักความเป็นธรรมและความจำเป็นอย่างแน่นอน เพราะกรมทางหลวงชนบทเล็งเห็นประโยชน์ที่ประชาชนและเกษตรกรจะได้รับจาก โครงการนี้ ซึ่งตอนนี้กรมทางหลวงชนบทได้มีการลงพื้นที่สำรวจถนนที่ยังมีสภาพเป็นลูกรัง ซึ่งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบทพบว่าตอนนี้มีถนนที่เป็น สภาพลูกรังอยู่ประมาณ 3 พันกิโลเมตร ซึ่งทางกรมจะเร่งดำเนินโครงการให้เป็นถนนไร้ฝุ่นต่อไป
ทางหลวงชนบทยันประมูล"สะพานนนทบุรี1"โปร่งใส ปัดล็อคสเปคให้บ.ญี่ปุ่น

วันที่ 01 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 20:30:52 น. มติชนออนไลน์


นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแมˆน้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี (นนทบุรี-ราชพฤกษ์) หรือสะพานนนทบุรี 1 ระยะทาง 4.3 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 3.8 พันล้านบาท ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอรายละเอียดการประกวดราคาเสนอองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ให้ความเห็นชอบเนื่องจากเป็นโครงการที่ใช้เงินกู้จากไจก้าถึง 70% คาดว่าไจก้าจะใช้เวลาในการพิจารณาประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้นจึงจะสามารถประกาศประกวดราคาได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีผู้รับเหมาต่างประเทศแสดงความสนใจเข้าร่วมประมูลหลายราย


ผู้สื่อข่าวถามว่า มีกระแสข่าวว่าเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) มีการล็อคสเปคให้กับผู้รับเหมาจากประเทศญี่ปุ่น นายวิชาญกล่าวยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นการประกวดราคานานาชาติ (อินเตอร์เนชั่นแนลบิด) ในทีโออาร์ดังกล่าวยังได้มีระบุให้ผู้รับเหมาไทยสามารถเป็นแกนนำในการยื่นซองประกวดราคาได้ มีการกำหนดมูลค่างานและประสบการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะผลงานเกี่ยวกับงานสร้างสะพานไว้ ไม่สามารถจะเอื้อประโยชน์ให้รายใดรายหนึ่งได้
ประมูล'สะพานนนท์1'สัญญาเดียว

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,545 4-7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กรมทางหลวงชนบท ใช้เวลา 2 เดือน คัดเลือก คุณสมบัติเบื้องต้นผู้รับเหมา หรือ พีคิว ที่สนใจประมูลโครงการก่อสร้างสะพาน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 หรือ "สะพานนนทบุรี 1" ระยะทาง 4.3 กิโลเมตร มูลค่า 3,796 ล้านบาท

ล่าสุด มี บริษัทรับเหมา ผ่านพีคิว จำนวน 4 ราย ได้แก่ 1.กิจการร่วมค้าST หรือบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท ไทเซอิ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 2. บริษัทคาจิม่า คอร์ปอเรชั่นจำกัด 3. บริษัท ไชน่าเรลเวย์นัมเบอร์ไฟฟ์ และ4. กิจการร่วมค้าITD-SMCC หรือ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน)และ บริษัท สุมิโตโม มิตซุย คอนสตรัคชั่น จำกัด ทั้งนี้ ผู้รับเหมาที่เข้าคัดเลือกพีคิว มีไม่มากโดยเฉพาะประเทศแถบยุโรป เข้าใจว่า ปัจจัยการจลาจลทางการเมือง ที่ผ่านมา

ที่น่าจับตา น่าจะเป็นกลุ่มกิจการร่วมค้า ซิโน-ไทย กับ ไทยเซอิ และ กิจการร่วมค้า อิตาเลียนไทยกับ สุมิโตโมน่าจะชิงดำกันฝุ่นตลบ ที่สำคัญ "ซิโน-ไทย" ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันว่า อาจได้งาน เนื่องจาก มีแบ็กดี โดยมีผู้พ่อนั่งเก้าอี้ตัวใหญ่ในรัฐบาล

โดยเฉพาะกรรมาธิการ พิจารณางบประมาณปี 2554 สัดส่วนฝ่ายค้านคือพรรคเพื่อไทย" ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร" มองว่า โครงการนี้ ซิโน-ไทย อาจได้งาน ด้วยการ"ล็อกสเปก" เหมือนหลายโปรเจ็กต์ยักษ์ที่ผ่านมา ตั้งแต่แอร์พอร์ตลิงค์ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ฯลฯ ขณะเดียวกัน ตั้งข้อสังเกตว่าสะพานนนทบุรี 1 เป็นโครงการขนาดใหญ่ น่าจะซอยย่อยออกเป็น 3 สัญญาเพื่อกระจายงานให้กับผู้รับเหมาไม่ใช่เอื้อให้ กับผู้รับเหมาเพียงรายเดียว เนื่องจากงานรัฐมีน้อย

ด้านกรมทางหลวงชนบทออกมาตอบโต้ทันควันว่า งานนี้ ไม่มีล็อกให้ใคร ขึ้นอยู่กับการแข่งขัน ที่สำคัญ สาเหตุที่ไม่ซอยย่อยหลายสัญญา เพื่อกระจายงาน เนื่องจาก นโยบายของกรม จะเน้น"สัญญาเดียว" และ ถือว่าไม่ผิดกติกาอะไร เนื่องจากป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการก่อสร้างและส่งมอบงานที่ล่าช้าและไม่ตรงกัน ตลอดจนพื้นที่ทับซ้อนบริเวณรอยต่อระหว่างโครงการ มีการแย่งเข้าพื้นที่ก่อนหลัง กีดกันกีดขวางการเข้าพื้นที่ของผู้รับเหมาด้วยกัน ส่งผลให้กรมต้องเข้าไปแก้ปัญหาและเกิดความล่าช้าตามมา ซึ่งที่ผ่านมา เคยมีประสบการณ์จากโครงการก่อสร้างถนนวงแหวนอุตสาหกรรม มูลค่า 9,000 ล้านบาท ที่มีการซอยย่อยสัญญาออกเป็น 3-4 สัญญา ปรากฏว่า
เกิดปัญหาในลักษณะนี้ขึ้น ทำให้การเปิดใช้เส้นทางจราจรล่าช้าแล้วเสร็จไม่พร้อมกัน

ขณะที่ อธิบดีกรมทางหลวง "วิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ " ระบุว่า สะพานนนทบุรี1 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเงินกู้จากไจก้า 70% ซึ่งการดำเนินงานจะอยู่ในสายตาไจก้า และไม่มีการล็อกสเปกแน่นอน ซึ่งกรมได้เปิดกว้างให้ผู้รับเหมาทุกกลุ่มทั้งในและต่างประเทศเข้าแข่งขัน เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ โครงการเดียว ที่ต้องการผู้รับเหมาฝีมือดีที่สุด เนื่องจากเป็นการก่อสร้างในรูปแบบสะพานคานขึง ความยาว รวม 460 เมตร ระยะห่างเสาตอม่อ 200 เมตร ซึ่งจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดสำหรับการก่อสร้างสะพานของโลก ที่มีต้นทุนในการก่อสร้างถูกกว่าแบบเก่า

สะพานแห่งนี้ เมื่อแล้วเสร็จ จะช่วยแบ่งเบาจราจร สะพานพระนั่งเกล้า สะพานพระราม 4 ได้เป็นอย่างดี และสามารถเชื่อมโครงข่ายจราจร ระหว่างกทม.และนนทบุรี ตลอดจน จังหวัดปริมณฑลใกล้เคียงได้สะดวกรวดเร็วขึ้น ที่สำคัญ รัศมีโดยรอบราคาที่ดินจะขยับขึ้น จากเดิมเป็นเรือกสวนไร่นา ที่ดินตาบอด ตารางวาละ 5,000 - 10,000 บาทขยับเป็น 40,000-50,000 บาทต่อตารางวา อาทิ บริเวณวัดโบสถ์ดอนพรหม และบริเวณใกล้เคียงกับถนนราชพฤกษ์ ซึ่งที่ผ่านมามี บริษัทพัฒนาที่ดินค่ายใหญ่ๆ เข้าไปกว้านซื้อรอผุดโครงการบ้านจัดสรรจำนวนมาก
"สะพานนนทบุรี 1" ระยะทาง 4.3กิโลเมตร ขนาด 6 ช่องจราจร วงเงินก่อสร้าง 3,796 ล้านบาท แนวสายทางมีจุดเริ่มต้นโครงการอยู่ที่ถนนนนทบุรี 1 ทางด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในตำแหน่งบริเวณทางโค้งใกล้กับโรงเรียนศรีบุณยานนท์บริเวณนี้จะเป็นถนนแนวราบขนาด 6 ช่องจราจรอยู่ในท้องที่ด้านใต้ของท่าน้ำพิบูลสงคราม4 และชุมชนตลาดขวัญวางตัวในแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขึ้นฝั่งด้านตะวันตกบริเวณพื้นที่ฝั่งใต้ของคลองอ้อมนนท์

โดยแนวสายทางจะอยู่ในพื้นที่ระหว่างศาลหลักเมืองซึ่งอยู่ทางด้านเหนือและอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกที่อยู่ทางด้านใต้ ของแนวตามลำดับ เมื่อแนวเส้นทางผ่านอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกต่อจากนั้นจะเบนขึ้นไปทางตะวันตกตัดผ่านถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ที่ประมาณกิโลเมตรที่ 1+300 จากนั้นวางตัวขนานไปทางด้านใต้ของถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี
ผ่านพื้นที่ว่างเปล่าและสวนบรรจบและทับซ้อนเข้ากับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรีที่ประมาณกิโลเมตร ที่2+600 จนถึงจุดปลายของโครงการที่ถนนราชพฤกษ์ในตำแหน่งที่ปัจจุบันรวมระยะทาง 4.3 กิโลเมตร โดยมีรูปแบบทางเชื่อมขึ้น-ลงด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาทางแยกถนนนนทบุรี 1 -ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีทางแยกบริเวณตลาดอ.ต.ก.นอกจากนี้จะมีสะพานข้ามแยกบนถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีในทิศทางจากถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีที่จะไปถนนรัตนาธิเบศร์

ต้องจับตาดูว่า ใครจะมาวิน แต่ที่แน่ๆ รับเหมาญี่ปุ่นไม่รายใดก็รายหนึ่ง นอนมาแน่ !!!
ได้ฤกษ์ประมูลทำสะพานนนท์1 เปิดกว้างทั้งผู้รับเหมาไทย-เทศ

Dailynews วันจันทร์ ที่ 13 กันยายน 2553 เวลา 9:20 น
.
นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยความ คืบหน้าโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1 ว่า เตรียมประกาศประกวดราคาสัปดาห์นี้ โดยจะเปิดให้ผู้รับเหมาต่างชาติสามารถร่วมประมูลได้

ซึ่งสะพานนี้ออกแบบผสมระหว่างสะพานขึงตรงกลางสะพานกับสะพานแบบคานยื่นต่อกัน ในประเทศไทยมีสะพานลักษณะนี้ คือ ที่สะพานข้ามแม่น้ำโขงที่จังหวัดมุกดาหาร ทั้งนี้คาดว่าจะได้ตัวผู้รับเหมา เริ่มสร้างต้นปี 2554 ใช้งบประมาณ 3,796 ล้านบาท เป็นสะพานขึง ขนาด 4 ช่องจราจร ยาว 440 เมตร พร้อมก่อสร้างถนนต่อเชื่อม แนวสายทางเริ่มต้นที่ถนนนนทบุรี 1 ด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณทางโค้งใกล้กับโรงเรียนศรีบุญยานนท์ ด้านใต้ของท่าน้ำพิบูลสงคราม 4 และชุมชนตลาดขวัญ วางตัว ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาขึ้นฝั่งด้านตะวันตก ฝั่งใต้ของคลองอ้อมนนท์ระหว่างศาลหลักเมือง และอุทยานเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก แล้วเบนไปทางทิศตะวันตกตัดผ่านถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ที่ กม.1+300 จากนั้นจะวางตัวขนานไปทางด้านใต้ของแนวถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ผ่านพื้นที่ว่างเปล่าและสวน ก่อนไปบรรจบและทับซ้อนเข้ากับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ที่ กม.2+600 สิ้นสุดโครงการที่สะพานข้ามถนนราชพฤกษ์ รวมระยะทาง 4.3 กม. ใช้เวลา ก่อสร้าง 30 เดือน.
20 ธ.ค.ผู้รับเหมา3รายชิงดำสร้างสะพานนนท์1

Dailynews วันพฤหัสบดี ที่ 23 กันยายน 2553 เวลา 9:52 น

นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า ทช.ได้ประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1 ขนาด 6 ช่องจราจร พร้อมเชิงลาดสะพาน ทางแยกต่างระดับ 2 แห่ง ที่จุด บรรจบถนนนนทบุรี 1 และถนนราชพฤกษ์ ขายเอกสารถึงวันที่ 28 ก.ย.นี้ ชี้แจงและดูแบบสถานที่ก่อสร้าง 20 ต.ค. ยื่นซอง 20 ธ.ค. และจะใช้เวลาพิจารณาไม่เกิน 90 วัน เพื่อลงนามสัญญาจ้างและเดินหน้าก่อสร้างได้

นายวิชาญ กล่าวต่อว่า ทช.ได้พิจารณาคัดเลือกบริษัทที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตาม ข้อกำหนดขององค์การความร่วมมือระหว่าง ประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) เจ้าของเงินกู้ก่อสร้างสะพานแล้ว พบว่า มีเอกชนเข้าร่วมตรวจสอบคุณสมบัติ 10 กว่าราย แต่ผ่านเพียง 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.บริษัท คาจิมา 2. บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จอยน์เวนเจอร์กับบริษัท ไทเซ และ 3.บมจ.อิตาเลี่ยนไทยดิเวลลอปเม้นท์ จอยน์เวนเจอร์กับบริษัท ซูงิโมโต้ เนื่องจากเงื่อนไขผู้รับเหมาต้องมีผลงานสร้างสะพานแบบผสมระหว่างสะพานขึงตรงกลางกับสะพานแบบคานยื่นต่อกัน เหมือนสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งมีแห่งเดียวในประเทศไทย ส่วนบริษัทต่างประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ราว 15 บริษัท ไม่สนใจร่วมงานระยะทางไกลไม่คุ้มทุน.
ยื่นซอง'สะพานนนท์1ཐธ.ค.ซิโน-ไทยมาแรง

วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4248 ประชาชาติธุรกิจ


"ซิโน-ไทย-ITD-คาจิม่า" ชิงดำบิ๊กโปรเจ็กต์ "สะพานนนทบุรี 1" วงเงิน 3,796 ล้านบาท กรมทางหลวงชนบทดีเดย์ 20 ธ.ค.นี้ ได้ฤกษ์ยื่นซองราคาประมูล หลังดีเลย์มานาน เตรียมเซ็นสัญญาก่อสร้างปลายปีนี้ เริ่มตอกเสาเข็มต้นปีི


นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กรมได้ออกประกาศเชิญชวนผู้รับเหมาก่อสร้างทั้ง 3 ราย ที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น (พีคิว) มายื่นซองประกวดราคาโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 ระยะทาง 4.3 กิโลเมตร วงเงิน 3,796 ล้านบาท โดยจะให้ผู้รับเหมามีเวลา 90 วันในการออกแบบและคิดราคาก่อสร้าง หลังจากนั้นจะให้ยื่นซองราคาภายในวันที่ 20 ธันวาคมนี้

สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างที่ผ่านพีคิว 3 ราย คือ 1.กิจการร่วมค้า ST (บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น และ บจ.ไทเซอิ คอร์ปอเรชั่น) 2.บริษัท คาจิม่า คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ 3.กิจการร่วมค้า ITD-SMCC (บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ และ บจ.สุมิโตโม มิตซุย คอนสตรัคชั่น)

ทั้งนี้หลังได้ผู้เสนอราคาต่ำสุดแล้ว จะนำผลประกวดราคาให้ทางองค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า อนุมัติ จากนั้นจะเสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป คาดว่าจะลงนามสัญญาก่อสร้างได้ภายในปลายธันวาคมนี้ หรืออย่างช้าประมาณต้นเดือนมกราคม 2554

"วันที่ 28 กันยายนนี้ ทางกระทรวงการคลังและไจก้าจะลงนามสัญญาเงินกู้ร่วมกัน ซึ่งจะมีค่าก่อสร้างของสะพานนนทบุรี 1 รวมอยู่ด้วย เพราะโครงการนี้จากค่าก่อสร้าง 3,796 ล้านบาท ใช้เงินกู้ 70% และเงินงบประมาณ 30%"

สำหรับเนื้องานก่อสร้าง ประกอบด้วย 6 ส่วน คือ 1.สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขนาด 6 ช่องจราจร พร้อมเชิงลาดสะพาน 2.ทางแยกต่างระดับ 2 แห่ง ที่จุดบรรจบถนนเพชรบุรี 1 และถนนราชพฤกษ์ 3.สะพานข้ามทางแยกบนถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี 4.ถนนระดับดินขนาด 6 ช่องจราจร 5.งานอื่น ๆ เช่น ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบระบายน้ำ รื้อย้ายและก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น 6.งานสาธารณูปโภคของการประปานครหลวง และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เมื่อได้ผู้รับเหมาแล้วจะลงมือก่อสร้างได้ทันที ใช้เวลาก่อสร้าง 30 เดือน กำหนดเสร็จประมาณกลางปี 2556"

แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้างกล่าวว่า การเสนอราคาโครงการนี้ผู้รับเหมา ทั้ง 3 รายมีแนวโน้มจะเสนอราคาไม่เกินกรอบราคา 3,796 ล้านบาท ตามที่กรมทางหลวงชนบทกำหนด เนื่องจากหากเกินจากนี้จะยิ่งทำให้โครงการล่าช้าออกไป เพราะต้องผ่านการต่อรองราคาอีก แต่หากราคาไม่เกินจะเซ็นสัญญาก่อสร้างได้เร็ว โดยคาดการณ์ว่าผู้ที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะได้งานคือกิจการร่วมค้าซิโน-ไทยและไทเซอิ

หน้า 12
ญี่ปุ่นปล่อยกู้ 2 โครงการใหญ่ รถไฟฟ้าฯ-สะพานข้ามเจ้าพระยา 8.6 พันล้านบาท

วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 16:20:49 น. มติชนออนไลน์


คลังลงนามกู้เงินเจบิค 2 โครงการสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 23,946 ล้านเยนหรือ 8,695 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 28 กันยายน นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงการคลังเปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ลงนามสัญญาเงินกู้ และหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น สำหรับโครงการเงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่นครั้งที่ 32 กับนายยูจิ คูมามารุ อุปทูต รักษาการแทนเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและนายยาซูโนริ โอนิชิ ผู้อำนวยการองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (เจบิค) ประจำประเทศไทย



นายประดิษฐ์กล่าวว่า รัฐบาลไทยกู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านทางเจบิค เพื่อใช้ในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ 2 โครงการ วงเงิน 23,946 ล้านเยน หรือประมาณ 8,695 ล้านบาทคือ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 ของกรมทางหลวงชนบาท วงเงิน 7,307 ล้านเยน และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ระยะที่ 2 ของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 16,639 ล้านเยน ซึ่งเป็นเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน โดยมีดอกเบี้ยสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการสำหรับโครงการแรก0.95% ต่อปี ระยะชำระหนี้ 20 ปี รวมเวลาปลอดหนี้เงินต้น 6 ปี



ส่วนโครงการที่ 2 นั้น คิดดอกเบี้ย 1.4% ต่อปี ระยะชำระหนี้ 25 ปี รวมเวลาปลอดหนี้เงินต้น 7 ปี ทั้งนี้ดอกเบี้ยสำหรับส่วนค่าจ้างที่ปรึกษา 0.01% ต่อปี โดยมีค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ 0.1% ของวงเงินที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย ส่วนเงื่อนไขการจัดซื้อสินค้าและบริการเปิดโอกาสโดยเสรี สามารถจัดซื้อสินค้าและบริการได้จากทุกประเทศ โดยวิธีประกวดราคานานาชาติ



“รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินในรูปเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแก่ไทยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 11 จนถึงปัจจุบัน มีวงเงินกู้รวมทั้งสิ้น 2.164 ล้านล้านเยน ส่วนใหญ่จะมุ่งให้แก่โครงการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาเมือง และพัฒนาชนบท รวมทั้งโครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมนุษย์”นายประดิษฐ์กล่าว
ไทย-ญี่ปุ่นชิงเค้กสะพานนนท์1

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,591 12-15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

จับตา 3 กลุ่มยักษ์รับเหมา ไทย-ญี่ปุ่น กิจการร่วมค้า ST ซิโน-ไทย+ ไทเซอิ กิจการร่วมค้า ITD -SMCC อิตาเลียนไทย + สุมิโตโม และ คาจิม่า ที่ผ่าน พี.คิว. ชิงดำ สะพานข้ามเจ้าพระยานนทบุรี 1 ค่า 3.7พันล้านบาท กรมทางหลวงชนบทรับซองราคา+เทคนิคพร้อมเปิด คาด20 ธันวาคม รู้ผลใครชนะประมูลให้ราคาต่ำสุดเทคนิคเยี่ยม ม.ค.54 ตอกเสาเข็ม ปลายปีหน้าเปิดใช้ปี 56 ฟันธงฟันราคาไม่ต่ำกว่า 20%

แหล่งข่าวจากกรมทางหลวงชนบท เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ใน วันที่ 20 ธันวาคม 2553 กรมกำหนดเปิดรับซองราคาและซองเทคนิคเพื่อแข่งขันประมูลโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 หรือ สะพานนนทบุรี 1 มูลค่า 3,796 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ เนื่องจากใช้เงินกู้จาก "ไจก้า"หรือ องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น

ทั้งนี้ กลุ่มผู้รับเหมา 3 กลุ่มที่ ผ่านพี.คิว. หรือ ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติผู้รับเหมาเบื้องต้น และซื้อซองประกวดราคา เมื่อวันที่ 15กรกฎาคม 2553 ประกอบด้วย 1. กิจการร่วมค้า ST บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) กับ บริษัท ไทเซอิ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 2. กิจการร่วมค้า ITD -SMCC ( บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) กับ บริษัท สุมิโตโม มิตซุย คอนสตรัคชั่นฯ และ 3. บริษัท คาจิม่า คอร์ปอเรชั่น จำกัด

โดยจะเปิดซองเทคนิคและซองราคาพร้อมกัน ภายในเดือนมกราคม 2554 เพื่อให้ได้กลุ่มผู้รับเหมาเพียงรายเดียวที่ให้ราคาต่ำสุด การเซ็นสัญญาระหว่างผู้รับเหมาและกรมทางหลวงชนบท ตามแผน กำหนดภายในเดือนพฤษภาคม 2554 แต่เนื่องจาก ขั้นตอนที่ต้องส่งเอกสารหลักฐานให้ "ไจก้า" เจ้าของเงินตรวจสอบค่อนข้างละเอียดและใช้เวลายาวนาน คาดว่าน่าจะไม่ทันตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ แต่เส้นตายจะต้องไม่เกิน เดือนกันยายน 2554 หรือให้ทันภายในปีงบประมาณ2554 และหลังจากนั้น จะลงมือตอกเสาเข็มต้นแรกทันที ในเดือนตุลาคม 2554 ใช้เวลาก่อสร้างนาน 30 เดือน หรือ 2 ปีครึ่งคาดว่าจะเปิดการจราจรได้ในปี 2556

อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวประเมินว่าการแข่งขันครั้งนี้น่าจะรุนแรง เพราะนานๆ ครั้งจะมีโครงการขนาดใหญ่ ของรัฐเกิดขึ้นนอกเหนือไปจากรถไฟฟ้า คาดว่าน่าจะฟันราคากว่า 20 % จากหลายประสบการณ์ที่กรมทางหลวงชนบท เปิดแข่งขันประมูลโครงการขนาดใหญ่ๆมา อาทิ สะพานพระราม 4 ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม ฯลฯ

สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 ระยะทาง 4.3 กิโลเมตร มูลค่า 3,796 ล้านบาท พื้นที่ที่ก่อสร้าง และถูกกระทบจากการเวนคืน มีที่ดินถูก 385 แปลง คิดเป็นเนื้อที่ 144 ไร่ ส่วนอาคารและสิ่งปลูกสร้าง 431 หลังคาเรือน ต้นไม้ยืนต้นและพืชผล185 แปลง รวมค่าเวนคืน 2,200 ล้านบาท

"สะพานนนทบุรี 1" ตัวสะพานจะเป็นสะพานขึงที่สวยงาม มีความยาวกว่า 1 กิโลเมตร ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จากนั้น จะเป็นแนวราบ ขนาด 6ช่องจราจร โดย แนวสายทางมีจุดเริ่มต้นจากบริเวณ ถนนนนทบุรี 1 ทางด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในตำแหน่งบริเวณทางโค้งใกล้กับโรงเรียนศรีบุญญานนท์บริเวณนี้จะเป็นถนนแนวราบขนาด 6 ช่องจราจรอยู่ในท้องที่ด้านใต้ของท่าน้ำพิบูลสงคราม 4 และชุมชนตลาดขวัญวางตัวในแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขึ้นฝั่งด้านตะวันตกบริเวณพื้นที่ฝั่งใต้ของคลองอ้อมนนท์

แนวสายทางจะวางตัวอยู่ในพื้นที่ระหว่างศาลหลักเมืองซึ่งอยู่ทางด้านเหนือและอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกที่อยู่ทางด้านใต้ ของแนวตามลำดับ เมื่อแนวเส้นทางผ่านอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก จากนั้นจะเบนแนวขึ้นไปทางตะวันตกตัดผ่านถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ที่ประมาณกิโลเมตรที่ 1+300 จากนั้นวางตัวขนานไปทางด้านใต้ของถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี

ผ่านพื้นที่ว่างเปล่าและสวนบรรจบและทับซ้อนเข้ากับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรีที่ประมาณกิโลเมตร ที่ 2+600 จนถึงจุดปลายของโครงการที่ถนนราชพฤกษ์ในตำแหน่งที่ปัจจุบันรวมระยะทาง 4.3กิโลเมตร โดยมีรูปแบบทางเชื่อมขึ้น-ลงด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาทางแยกถนนนนทบุรี 1 -ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีทางแยกบริเวณตลาดอ.ต.ก.นอกจากนี้จะมีสะพานข้ามแยกบนถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีในทิศทางจากถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีที่จะไปถนนรัตนาธิเบศร์ ด้วย

จากการสำรวจพบว่าราคาที่ดินรัศมีโดยรอบ ขยับสูงขึ้น หลายเท่าตัว จากเดิมเป็นเรือกสวนไร่นา ที่ดินตาบอดไม่มีทางเข้า-ออก ตารางวาละ 5,000 - 10,000 บาท ขยับเป็น 40,000-50,000บาทต่อตารางวา ไม่แพ้ถนนสายทองคำอย่างถนนราชพฤกษ์ อาทิ บริเวณวัดโบสถ์ดอนพรหม และบริเวณใกล้เคียงที่เชื่อมกับถนนราชพฤกษ์ ซึ่งที่ผ่านมามี บริษัทพัฒนาที่ดินค่ายใหญ่ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้าไปกว้านซื้อรอผุดโครงการบ้านจัดสรรจำนวนมาก อาทิ บมจ.พร็อพเพอร์ตี้เพอร์เฟค แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ควอลิตี้เฮ้าส์ เอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ ศุภาลัย พฤกษา เอสซีแอสเสท สัมมากร ฯลฯ โดยพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ซื้อที่ดินจำนวน 400-500ไร่ และทยอยสะสมต่อเนื่อง

ซึ่งเป็นแปลงยาวทำเลดี ซึ่งมุมหนึ่งของแปลงที่ดินจะอยู่ด้านใต้ของถนนแจ้งวัฒนะใกล้กับห้าแยกปากเกร็ดและเป็นแนวยาวไปบรรจบกับแนวเขตทางของสะพานนนทบุรี1 และถนนต่อเชื่อมบริเวณท่าน้ำนนท์และอีกด้านหนึ่งของแปลงที่ดินไปชนกับถนน345 ไปเชื่อมกับถนนราชพฤกษ์ ส่วน เอสซีแอสเสท ที่ดินไม่ต่ำกว่า 300 ไร่ ด้านหนึ่งติดกับถนนราชพฤกษ์อีกด้านติดกับแนวถนนตัดใหม่สะพานนนทบุรี1บริเวณเชื่อมกับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหมฯลฯ
อิตาเลี่ยนไทย-ซิโนทัยชิงดำสะพานนนท์1

Dailynews วันอังคาร ที่ 21 ธันวาคม 2553 เวลา 10:41 น

เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. ที่กรมทางหลวงชนบท ได้เปิดให้ยื่นซองประกวดราคาด้านเทคนิคและราคาโครงการก่อสร้างสะพานนนทบุรี 1 วงเงิน 3,796 ล้านบาท ภายหลังปิดรับซองมีบริษัทผู้รับเหมายื่นซอง 2 ราย จากที่มีสิทธิยื่นซอง 3 รายได้แก่ กลุ่ม ITD-SMCC นำโดยบริษัท อิตาเลี่ยนไทยฯ และกลุ่ม ST นำโดยบริษัท ซิโนทัย จะใช้เวลาพิจารณาราว 1 เดือน คาดว่าต้นปี 2554 จะเริ่มก่อสร้างได้ สะพานดังกล่าว จะก่อสร้างข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและถนนต่อเชื่อมมีจุดเริ่มต้นที่ ถนนนนทบุรี 1 ใกล้โรงเรียนศรีบุณยานนท์ แนวเส้นทางช่วงต้นอยู่ในพื้นที่ด้านใต้ของท่าน้ำพิบูลสงคราม 4 และชุมชนตลาดขวัญ วางตัวมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขึ้นฝั่งด้านตะวันตกบริเวณพื้นที่ฝั่งใต้ของคลองอ้อมนนท์ เส้นทางอยู่ในพื้นที่ระหว่างศาลหลักเมืองทางด้านเหนือ และอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกที่อยู่ทางด้านใต้ตามลำดับ เมื่อแนวเส้นทางผ่านอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกแล้วจะเบนไปทางทิศตะวันตก ตัดผ่านถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ประมาณที่ กม.1+300 จากนั้น แนวจะวางตัวขนานไปทางด้านใต้ของแนวถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ผ่านพื้นที่ว่างเปล่าและสวน และจะบรรจบซ้อนทับกับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ที่ กม. 2+600 ไปจนถึงจุดสิ้นสุดโครงการที่สะพานข้ามถนนราชพฤกษ์ รวม 4.3 กม.
Kaohoon 21/12/2010

รายงานข่าวจากกรมทางหลวงชนบท (ทช.) แจ้งว่า วานนี้ (20 ธ.ค.) ทช. ได้เปิดให้ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและราคาโครงการก่อสร้างสะพานนนทบุรี 1 วงเงิน 3,796 ล้านบาท ปรากฏว่ามีผู้มายื่นเอกสาร 2 ราย คือ กลุ่ม ITD-SMCC Join Venture นำโดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD และกลุ่ม ST Join Venture นำโดยบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC จากผู้มีสิทธิ์ยื่นเอกสารทั้งหมด 3 ราย โดยกลุ่ม KAJIMA CORPORATION ขอถอนตัว

สำหรับขั้นตอนจากนี้ ทช. จะเปิดข้อเสนอด้านเทคนิค และใช้เวลาพิจารณาประมาณ 1 เดือน จากนั้นจะส่งให้องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ให้ความเห็นชอบก่อนเปิดข้อเสนอด้านราคา และส่ง JICAเห็นชอบอีกครั้ง คาดว่าสามารถเริ่มการก่อสร้างได้ในต้นปี 2554 โดยใช้เทคนิคใหม่เป็นกึ่งสะพานคานขึง ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเป็นสะพานแห่งแรกของประเทศไทย

สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1 เป็นโครงการสะพานข้ามแม่น้ำและถนนต่อเชื่อม มีจุดเริ่มต้นโครงการที่ถนนนนทบุรี 1 ด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในตำแหน่งทางโค้งใกล้กับโรงเรียนศรีบุญยานนท์ แนวเส้นทางช่วงต้นอยู่ในพื้นที่ด้านใต้ของท่าน้ำพิบูลสงคราม 4 และชุมชนตลาดขวัญ แนวจะวางตัวมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขึ้นฝั่งด้านตะวันตกบริเวณพื้นที่ฝั่งใต้ของคลองอ้อมนนท์

แนวเส้นทาง จะอยู่ในพื้นที่ระหว่างศาลหลักเมืองซึ่งอยู่ทางด้านเหนือ และอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกที่อยู่ด้านใต้ของแนวตามลำดับ เมื่อแนวเส้นทางผ่านอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกแล้วแนวจะเบนไปทางทิศตะวันตก ตัดผ่านถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ประมาณที่ กม.1+300 จากนั้น แนวจะวางตัวขนานไปทางด้านใต้ของแนวถนนวัดโบสถ์ดอนพรม-ท่าน้ำนนทบุรี ผ่านพื้นที่ว่างเปล่าและสวน และจะบรรจบซ้อนทับกับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ที่ประมาณ กม.2+600 ไปจนถึงจุดสิ้นสุดโครงการที่ถนนราชพฤกษ์ ตำแหน่งที่ปัจจุบันเป็นสะพานข้ามถนนราชพฤกษ์ รวมระยะทาง ประมาณ 4.3 กิโลเมตร
"ซิโน-ไทย"ทิ้งทวนประมูล3.8พันล. ชี้มาแรงสุด-โปรเจ็กต์ส่งท้ายปี"สะพานนนทบุรี1"

วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4273 ประชาชาติธุรกิจ


2 บิ๊ก "ซิโน-ไทยฯ-ITD" ควงรับเหมาแดนปลาดิบชิงดำบิ๊กโปรเจ็กต์ส่งท้ายปี"53 "สะพานนนทบุรี 1" วงเงิน 3,796 ล้าน กรมทางหลวงชนบทวาดแผนต้นปี"54 เซ็นสัญญาก่อสร้าง-ตอกเข็มต้นแรก วงในเผย "ซิโน-ไทยฯ" มาแรงสุด


ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า หลังจากที่กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ให้เวลาผู้รับเหมาก่อสร้างทั้ง 3 รายที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น (พีคิว) ได้ออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 ระยะทาง 4.3 กิโลเมตร วงเงิน 3,796 ล้านบาท ภายในเวลา 90 วัน เมื่อ วันที่ 20 ธันวาคม 2553 ที่ผ่านมา ทช. ได้เปิดให้ผู้รับเหมายื่นซองประกวดราคา

ปรากฏว่ามีผู้รับเหมามายื่นซองประกวดราคา 2 รายประกอบด้วย 1.กิจการร่วมค้า ST (บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ บจ.ไทเซอิ คอร์ปอเรชั่น) 2.กิจการร่วมค้า ITD-SMCC (บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ และ บจ.สุมิโตโม มิตซุย คอนสตรัคชั่น) ส่วนบริษัท คาจิม่า คอร์ปอเรชั่น จำกัด ก่อนวันยื่นประมูลดังกล่าวได้ทำหนังสือแจ้งว่าไม่พร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลงาน

ตามขั้นตอน ทช.กำหนดเปิดซองราคานับจากนี้อีก 1 เดือน หรือภายในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554 เนื่องจากต้องนำผลการเปิดซองด้านเทคนิคส่งให้ทางองค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) เจ้าของเงินกู้อนุมัติ หลังจากนั้นจะเสนอผู้ชนะประมูลเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติเพื่อลงนามในสัญญาก่อสร้างต่อไป คาดว่าจะลงนามสัญญาและเริ่มก่อสร้างได้ต้นปี 2554 ใช้เวลาก่อสร้าง 30 เดือนแล้วเสร็จปี 2556

สำหรับเนื้องานก่อสร้างมี 6 ส่วน คือ 1.สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ขนาด 6 ช่องจราจร พร้อมเชิงลาดสะพาน 2.ทางแยกต่างระดับ 2 แห่ง ที่จุดบรรจบถนนเพชรบุรี 1 และถนนราชพฤกษ์ 3.สะพานข้ามทางแยกบนถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี 4.ถนนระดับดิน 6 ช่องจราจร 5.งานอื่น ๆ เช่น ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบระบายน้ำ รื้อย้าย และก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น 6.งานสาธารณูปโภคของการประปานครหลวง และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

รูปแบบโครงการมีทั้งสะพานข้ามแม่น้ำ 6 ช่องจราจร ยาว 460 เมตร และถนนต่อเชื่อมระดับดิน 6 ช่องจราจร จุดเริ่มต้นอยู่บนถนนนนทบุรี 1 ฝั่งตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้โรงเรียนศรีบุญยานนท์ แนวช่วงต้นอยู่ด้านใต้ท่าน้ำพิบูลสงคราม 4 และชุมชนตลาดขวัญ เบี่ยงมาทิศตะวันตกเฉียงใต้และข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางฝั่งด้านตะวันตกฝั่งใต้ของคลองอ้อมนนท์ โดยแนวจะอยู่ในพื้นที่ระหว่างศาลหลักเมืองและอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก

จากนั้นแนวจะเบนไปทิศตะวันตกตัดผ่านถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรีที่ก.ม.1+300 แล้วขนานไปตามแนวถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรีผ่านพื้นที่ว่างเปล่าและสวน บรรจบกับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ที่ ก.ม.2+600 สิ้นสุดโครงการที่ถนนราชพฤกษ์ บริเวณสะพานข้ามถนนราชพฤกษ์

แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้างกล่าวว่า กลุ่มผู้รับเหมาที่มีความเป็นไปได้สูงจะได้งานโครงการนี้ คือ กลุ่มซิโน-ไทย และไทเซอิฯ คาดว่าจะมีการเสนอราคาสูงกว่ากรอบราคากลางที่กำหนด เนื่องจากราคาเดิมประเมินไว้หลายปีที่ผ่านมา ขณะที่ปัจจุบันราคาวัสดุก่อสร้างได้เปลี่ยนแปลงไปมากพอสมควร

หน้า 9
รอไจก้าพิจารณาเทคนิค เลื่อนเปิดซองส.นนท์1

Dailynews วันจันทร์ ที่ 24 มกราคม 2554 เวลา 9:03 น

นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างสะพานนนทบุรี1 วงเงิน 3,796 ล้านบาทว่า หลังจากกรมฯเปิดให้ยื่นซองประกวดราคาด้านเทคนิคและราคา เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. แยกเป็นเงินกู้ไจก้า 70% งบประมาณ 30% มีบริษัทผู้รับเหมายื่นซอง 2 ราย จากที่มีสิทธิยื่นซอง 3 ราย ได้แก่ กลุ่ม ITD-SMCC Join Venture นำโดยบริษัท อิตาเลี่ยนไทยฯ และกลุ่ม ST Join Ventur นำโดยบริษัท ซิโนทัย ขณะนี้คณะกรรมการฯได้เปิดซองเทคนิคและนำส่งไจก้าพิจารณาเห็นชอบแล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้าจากไจก้า ทำให้จากเดิมที่จะเปิดซองราคาภายในเดือนนี้อาจต้องเลื่อนออกไป และคาดว่าไม่มีปัญหาเพราะผลการพิจารณาข้อเสนอเทคนิคเบื้องต้นเท่าที่กรรมการฯ พิจารณาไม่มีปัญหาน่าจะเห็นสอดคล้องกับไจก้า และเมื่อไจก้าอนุมัติมาจะเปิดซองราคาทันทีพร้อมเจรจาผู้รับเหมาให้วงเงินค่าก่อสร้างอยู่ในกรอบงบประมาณ ซึ่งส่วนนี้ตนให้ความสำคัญมาก เพราะรูปแบบเดิมในส่วนของงานถนนต่อเชื่อมเคยออกแบบก่อสร้าง 4 ช่องทาง แต่ตนได้ปรับแบบให้เป็น 6 ช่องทางเพื่อรองรับปริมาณการจราจรในอนาคต โดยใช้งบประมาณเท่าเดิม หากผู้รับเหมาไม่ปรับราคาตนมีนโยบายให้เปิดประกวดราคาใหม่ตามกรอบวงเงินงบประมาณที่มีเท่านั้น สะพาน ดังกล่าว มีจุดเริ่มต้นโครงการที่ ถนนนนทบุรี 1 ทางด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้โรงเรียนศรีบุณยานนท์ บริเวณด้านใต้ของท่าน้ำพิบูลสงคราม 4 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขึ้นฝั่งด้านตะวันตกบริเวณพื้นที่ฝั่งใต้ของคลองอ้อมนนท์ ระหว่างศาลหลักเมือง และอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก.
4 มี.ค.54 เปิดซองสะพานนนท์1

หลังจากรอ"ไจก้า"หรือ องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นนับเดือนเพื่ออนุมัติให้เปิดซองราคาประมูลโครงการก่อสร้าง สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 ขนาด 6 ช่องจราจรระยะทาง 4.3 กิโลเมตร มูลค่า 3,796 ล้านบาท ของกรมทางหลวงชนบท ล่าสุด ไจก้าได้ไฟเขียวแล้ว โดยกำหนดเปิดซองราคาภายในวันที่ 4 มีนาคม 2554 ที่จะถึงนี้ คราวนี้มีลุ้นกันตัวโก่งว่าใครจะคว้าเค้กก้อนโตนี้ไปครอง

อย่างไรก็ดี กลุ่มยักษ์รับเหมาที่ ชิงดำเหลือเพียง 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. กิจการร่วมค้า ST บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) กับ บริษัท ไทเซอิ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 2. กิจการร่วมค้า ITD -SMCC ( บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) กับ บริษัท สุมิโตโม มิตซุย คอนสตรัคชั่นฯ ) ส่วน บริษัท คาจิม่า คอร์ปอเรชั่น จำกัดได้ถอนตัวออกไป

มีการวิเคราะห์กันว่ากลุ่มซิโน-ไทยก็ต้องการสร้างผลงานและหวังได้งานให้มากที่สุด ที่ผ่านมาจะประมูลได้ทั้งรถไฟฟ้า ถนน มาแล้วหลายโครงการ ขณะที่กลุ่มอิตาเลียนไทย ก็ต้องการได้งานโครงการนี้เช่นกันและมีประสบการณ์ดัมพ์ราคาต่ำกว่า 20% มาแล้ว เชื่อว่าการแข่งขันครั้งนี้น่าจะรุนแรง เพราะนานๆ ครั้งจะมีโครงการขนาดใหญ่ของรัฐเกิดขึ้นนอกเหนือไปจากรถไฟฟ้า คาดว่าน่าจะฟันราคากว่า 20% จากหลายประสบการณ์ที่กรมทางหลวงชนบท เปิดแข่งขันประมูลโครงการขนาดใหญ่ๆมา อาทิ สะพานพระราม 4 ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม ฯลฯ

การประมูลโครงการสะพานนนทบุรี 1 หากได้ตัวผู้รับเหมาแล้ว หลังจากนั้นจะต้องรอเซ็นสัญญา คาดว่าภายในกลางปี 2554 หลังจากนั้น กรมจะต้องส่งเอกสารหลักฐานให้ "ไจก้า" เจ้าของเงินตรวจสอบค่อนข้างละเอียดอีกครั้ง คาดว่าไม่เกิน เดือนกันยายน 2554 จะลงมือตอกเสาเข็มต้นแรกทันที โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างนาน 30 เดือน หรือ 2 ปีครึ่งคาดว่าจะเปิดการจราจรได้ในปี 2556

สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 ระยะทาง 4.3 กิโลเมตร มูลค่า 3,796 ล้านบาท พื้นที่ที่ก่อสร้าง และถูกกระทบจากการเวนคืน มีที่ดินถูก 385 แปลง คิดเป็นเนื้อที่ 144 ไร่ ส่วนอาคารและสิ่งปลูกสร้าง 431 หลังคาเรือน ต้นไม้ยืนต้นและพืชผล 185 แปลง รวมค่าเวนคืน 2,200 ล้านบาท

"สะพานนนทบุรี 1" ตัวสะพานจะเป็นสะพานขึงที่สวยงาม มีความยาวกว่า 1 กิโลเมตร ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จากนั้น จะเป็นแนวราบ ขนาด 6 ช่องจราจร โดย แนวสายทางมีจุดเริ่มต้นจากบริเวณ ถนนนนทบุรี 1 ทางด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในตำแหน่งบริเวณทางโค้งใกล้กับโรงเรียนศรีบุญญานนท์บริเวณนี้จะเป็นถนนแนวราบขนาด 6 ช่องจราจรอยู่ในท้องที่ด้านใต้ของท่าน้ำพิบูลสงคราม 4 และชุมชนตลาดขวัญวางตัวในแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขึ้นฝั่งด้านตะวันตกบริเวณพื้นที่ฝั่งใต้ของคลองอ้อมนนท์

แนวสายทางจะวางตัวอยู่ในพื้นที่ระหว่างศาลหลักเมืองซึ่งอยู่ทางด้านเหนือและอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกที่อยู่ทางด้านใต้ ของแนวตามลำดับ เมื่อแนวเส้นทางผ่านอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก จากนั้นจะเบนแนวขึ้นไปทางตะวันตกตัดผ่านถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ที่ประมาณกิโลเมตรที่ 1+300 จากนั้นวางตัวขนานไปทางด้านใต้ของถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี

ผ่านพื้นที่ว่างเปล่าและสวนบรรจบและทับซ้อนเข้ากับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรีที่ประมาณกิโลเมตร ที่ 2+600 จนถึงจุดปลายของโครงการที่ถนนราชพฤกษ์ในตำแหน่งที่ปัจจุบันรวมระยะทาง 4.3 กิโลเมตร โดยมีรูปแบบทางเชื่อมขึ้น-ลงด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาทางแยกถนนนนทบุรี 1 -ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีทางแยกบริเวณตลาดอ.ต.ก.นอกจากนี้จะมีสะพานข้ามแยกบนถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีในทิศทางจากถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีที่จะไปถนนรัตนาธิเบศร์ ด้วย

จากการสำรวจพบว่าราคาที่ดินรัศมีโดยรอบ ขยับสูงขึ้น หลายเท่าตัว จากเดิมเป็นเรือกสวนไร่นา ที่ดินตาบอดไม่มีทางเข้า-ออก ตารางวาละ 5,000 - 10,000 บาท ขยับเป็น 40,000-50,000 บาทต่อตารางวา ไม่แพ้ถนนสายทองคำอย่างถนนราชพฤกษ์ อาทิ บริเวณวัดโบสถ์ดอนพรหม และบริเวณใกล้เคียงที่เชื่อมกับถนนราชพฤกษ์ ซึ่งที่ผ่านมามี บริษัทพัฒนาที่ดินค่ายใหญ่ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้าไปกว้านซื้อรอผุดโครงการบ้านจัดสรรจำนวนมาก อาทิ บมจ.พร็อพเพอร์ตี้เพอร์เฟค แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ควอลิตี้เฮ้าส์ เอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ ศุภาลัย พฤกษา เอสซีแอสเสท สัมมากร ฯลฯ

โดยพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ซื้อที่ดินจำนวน 400-500 ไร่ และทยอยสะสมต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแปลงยาวทำเลดี ซึ่งมุมหนึ่งของแปลงที่ดินจะอยู่ด้านใต้ของถนนแจ้งวัฒนะใกล้กับห้าแยกปากเกร็ดและเป็นแนวยาวไปบรรจบกับแนวเขตทางของสะพานนนทบุรี1 และถนนต่อเชื่อมบริเวณท่าน้ำนนท์และอีกด้านหนึ่งของแปลงที่ดินไปชนกับถนน345 ไปเชื่อมกับถนนราชพฤกษ์ ส่วน เอสซีแอสเสท ที่ดินไม่ต่ำกว่า 300 ไร่ ด้านหนึ่งติดกับถนนราชพฤกษ์อีกด้านติดกับแนวถนนตัดใหม่สะพานนนทบุรี1 บริเวณเชื่อมกับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหมฯลฯ

น่าจะเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอีกแห่งหนึ่งที่การแข่งขันประมูลงานค่อนข้างร้อนแรง ขณะเดียวกันหากก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยแก้ปัญหาจราจรในพื้นที่กทม.และฝั่งธนได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญบ้านจัดสรรแห่ตามไปแจ้งเกิดแน่!!!

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,613 27 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

http://www.thanonline.com/index.php...54-1&catid=129:2009-02-08-11-47-38&Itemid=479
18มี.ค.อิตาเลี่ยนไทยฯ-ชิโน-ไทยฯชิงดำสะพานนนท์1

Dailynews วันพฤหัสบดี ที่ 17 มีนาคม 2554 เวลา 9:43 น

นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า วันที่ 18 มี.ค.นี้ กรมฯจะเปิดซองข้อเสนอราคาโครงการก่อสร้างสะพานนนทบุรี 1 วงเงิน 3,796 ล้านบาท แยกเป็นเงินกู้ไจก้า 70% งบประมาณ 30% โดยขณะนี้ได้รับอนุมัติการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคจากไจก้าแล้วที่เห็นสอดคล้องกับกรมฯว่าผู้รับเหมายื่นซอง 2 ราย กลุ่ม ITD-SMCC Join Venture นำโดยบริษัท อิตาเลี่ยนไทยฯ และกลุ่ม ST Join Ventur นำโดยบริษัท ชิโน-ไทย ผ่านข้อเสนอด้านเทคนิค หลังเปิดซองราคาจะเชิญผู้ที่เสนอต่ำสุดมาเจรจาให้วงเงินค่าก่อสร้างอยู่ในกรอบงบประมาณ

โครงการดังกล่าวจะใช้เทคนิคใหม่เป็นสะพานกึ่งบารานห์กึ่งสะพานขึงแห่งแรกของไทย เริ่มต้นโครงการที่ ถนนนนทบุรี 1 ด้านตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้โรงเรียนศรีบุณยานนท์ แนวเส้นทางช่วงต้นอยู่ในพื้นที่ด้านใต้ท่าน้ำพิบูลสงคราม 4 และชุมชนตลาดขวัญ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขึ้นฝั่งด้านตะวันตกบริเวณพื้นที่ฝั่งใต้ของคลองอ้อมนนท์ ระหว่างศาลหลักเมืองและอุทยานเฉลิม
กาญจนาภิเษก ตัดผ่านและขนานถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี กม.1+300 ผ่านพื้นที่สวน และบรรจบถนนวัดโบสถ์ดอนพรม-ท่าน้ำนนทบุรี ที่ กม.2+600 สิ้นสุดโครงการที่ถนนราชพฤกษ์ รวม 4.3 กม.

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=354&contentID=127270
'ITD-SMCC' คว้าประมูล 4,363ล.

ในที่สุดกรมทางหลวงชนบทก็ได้บริษัทผู้รับเหมาที่ชนะการประกวดราคาก่อสร้างโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 หลังล่าช้ามานาน คือ กลุ่ม กิจการร่วมค้า ITD -SMCC หรือ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) กับ บริษัท สุมิโตโม มิตซุย คอนสตรัคชั่น จำกัด ที่เสนอราคาต่ำสุด 4,363 ล้านบาท โดยไม่รวมงานประมูลระบบประปา ของการประปานครหลวง (กปน.) 150.9 ล้านบาท และงานวางระบบโทรศัพท์ ของ บริษัททีโอที จำกัด(มหาชน) หรือ ทีโอที 27.57 ล้านบาท รวม 4,542 ล้านบาท

เฉือนคู่แข่งอย่าง กลุ่ม กิจการร่วมค้า ST บริษัท ซิโน-ไทยเอ็นจิเนียริ่งแอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน)กับ บริษัท ไทเซอิ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่เสนอราคา 4,704 ล้านบาท แยกเป็นระบบ ประปา 149.95 ล้านบาท และ ทีโอที 27.57 ล้านบาท รวม 4,881ล้านบาท

อย่างไรก็ดีประเมินว่ากลุ่มผู้รับเหมาจากญี่ปุ่นที่จับขั้วกับกลุ่ม ITD เป็นบริษัทรายใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นและคว้าการประมูลมาแล้วหลายโครงการโดยเฉพาะต่างประเทศ ขณะนี้เตรียมส่งรายงานผลการประมูลเสนอต่อ"ไจก้า" หรือ องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นในฐานะเจ้าของเงินสัดส่วน 70%และต้องมีการต่อรองราคาคาดว่าภายใน 2-3 เดือนน่าจะเซ็นสัญญาก่อสร้างขั้นตอนต่อไปจะเสนอต่อ คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นช่วงประมาณไม่เกินกันยายน 2554 ใช้เวลาก่อสร้างนาน 30 เดือน หรือ 2 ปีครึ่งคาดว่าจะเปิดการจราจรได้ในปี 2556

โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 และแนวถนนต่อเชื่อม ระยะทาง 4.3 กิโลเมตร ขนาด 6 ช่องจราจร ตัวสะพานก่อสร้างเป็นสะพานขึงระยะทางยาวประมาณ 1 กิโลเมตร อย่างไรก็ดีหากแล้วเสร็จจะช่วยรองรับการจราจรที่เกิดจากการกระจายตัวของการพัฒนาพื้นที่ไปในทิศทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลสืบเนื่องจากอัตราการเพิ่มของประชากรมากขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีการพัฒนาค่อนข้างมากมีผลให้ความต้องการเดินทางข้ามไป-มาระหว่างสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากปริมาณจราจรบนสะพานที่เชื่อมโครงข่ายคมนาคมระหว่างฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบันคือสะพานพระนั่งเกล้ามีความหนาแน่นมาก

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการก่อสร้างสะพานแห่งนี้ เพิ่มเติมในบริเวณที่เหมาะสมและมีศักยภาพในการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมที่สอดคล้องกับความต้องการในการเดินทางของประชาชนที่สามารถเลือกใช้เส้นทางและช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจยกระดับคุณภาพชีวิต ของนนทบุรีให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นที่สำคัญเพื่อให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองของกทม.และจังหวัดในปริมณฑลให้สามารถรองรับการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเขตชุมชนต่อไป

"สะพานนนทบุรี 1" แนวสายทางมีจุดเริ่มต้นจากบริเวณ ถนนนนทบุรี 1 ทางด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในตำแหน่งบริเวณทางโค้งใกล้กับโรงเรียนศรีบุญญานนท์บริเวณนี้จะเป็นถนนแนวราบขนาด6 ช่องจราจรอยู่ในท้องที่ด้านใต้ของท่าน้ำพิบูลสงคราม 4 และชุมชนตลาดขวัญวางตัวในแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขึ้นฝั่งด้านตะวันตกบริเวณพื้นที่ฝั่งใต้ของคลองอ้อมนนท์ แนวสายทางจะวางตัวอยู่ในพื้นที่ระหว่างศาลหลักเมืองซึ่งอยู่ทางด้านเหนือและอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกที่อยู่ทางด้านใต้ ของแนวตามลำดับ

เมื่อแนวเส้นทางผ่านอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก จากนั้นจะเบนแนวขึ้นไปทางตะวันตกตัดผ่านถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี ที่ประมาณกิโลเมตรที่ 1+300 จากนั้นวางตัวขนานไปทางด้านใต้ของถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี บรรจบและทับซ้อนเข้ากับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรีที่ประมาณกิโลเมตร ที่2+600 จนถึงจุดปลายของโครงการที่ถนนราชพฤกษ์รวมระยะทาง 4.3 กิโลเมตร

ประมาณกลาง-ปลายปี 2556 หากการก่อสร้างไม่มีอุปสรรคเชื่อว่านนทบุรีจะมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน !!!

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,620 24-26 มีนาคม พ.ศ. 2554


http://www.thanonline.com/index.php...4363&catid=129:2009-02-08-11-47-38&Itemid=479
21 - 40 of 207 Posts
This is an older thread, you may not receive a response, and could be reviving an old thread. Please consider creating a new thread.
Top