SkyscraperCity Forum banner

Nonthaburi 1 Bridge

87622 Views 206 Replies 63 Participants Last post by  napoleon



World Forum https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?p=46106887


http://www.nonthaburi1bridge.com

Project Background


As a continuous growth of population in Bangkok and its vicinity, the land used of the area in the north of Bangkok and its adjacent area of Nonthaburi Province, especially in the west side of the Chao Phraya River, has been rapidly changed due to the large amount of residential community development. This results in an increasing traffic demand in the morning from the residential area on the west side to the employment and educational area on the east side and vice versa situation in the evening. Consequently, this increasing demand results in a congested traffic condition on the existing river crossing bridges especially in the morning peak period


The Commission for the Management of Land Traffic, the summit body who considers the land transportation system of the nation of which the chairman is the Prime Minister, had a resolution on 23rd February 2004 assigning the Department of Rural Roads (DRR) as the Executing Agency for the implementation of the Project.

.....เนื่องด้วยคณะกรรมการจัดระบบการจัดจราจรทางบกได้มีการประชุม ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547
โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งผลการประชุมมีมติในเรื่องของการพัฒนาระบบถนนและทางด่วน มอบหมายให้กรมทางหลวงชนบท ดำเนินการโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1

จากการกระจายตัวของการพัฒนาพื้นที่ไปในทิศทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลสืบเนื่องจากอัตราการเพิ่มของประชาชนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีการพัฒนาค่อนข้างมาก มีผลให้ความต้องการในการเดินทางข้ามไปมาระหว่างสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากปริมาณของการจราจรบนสะพานที่เชื่อมการคมนาคมระหว่างฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบันมีสภาพที่หนาแน่นมาก


.... ดั้งนั้นจึงมีความจำเป็นในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มเติมในบริเวณที่เหมาะสม และมีศักยภาพในการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมที่สอดคล้องกับความต้องการในการเดินทางของประชาชน กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม ได้เล็งเห็นว่าการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 จะเป็นโครงการหนึ่งของการพัฒนาโครงข่ายการเชื่อมพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำ ซึ่งนอกจากจะเป็นทางเลือกของเส้นทางเดินทางที่อำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยแบ่งเบาการจราจรบนสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้ว ยังเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของประชาชนรวมทั้งช่วยปรับปรุงโครงข่าย เส้นทางคมนาคมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครตอนบน และจังหวัดนนทบุรีให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น สอดคล้องตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้สามารถรองรับการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเขตชุมชน






81 - 91 of 207 Posts
ปิดสะพานมหาเจษฎาบดินฯ คืนวันเสาร์ที่ 10 ก.พ. 4 ทุ่ม ถึงตี 5 ทดสอบรับน้ำหนักบรรทุก

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 - 11:28 น.

กรมทางหลวงชนบท โดยสำนักบำรุงทาง เปิดเผยว่า กรมทางหลวงชนบทได้ว่าจ้างสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาโครงการพัฒนาแบบจำลองและระบบตรวจวิเคราะห์ความมั่นคงแข็งแรงสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในความรับผิดชอบดูแลของกรมทางหลวงชนบท เพื่อสร้างความมั่นใจต่อความปลอดภัยในการใช้งานสะพานแก่ประชาชนผู้ใช้ทาง ในการดำเนินโครงการจะมีการทดสอบความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุก (Load Testing) ของสะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์ เพื่อความปลอดภัยในขณะปฏิบัติงานมีความจำเป็นต้องปิดการจราจรบนสะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์
ฝั่งทิศทางจากถนนราชพฤกษ์มุ่งสู่ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี ในคืนวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 22.00 น. ถึงเช้าวันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 05.00 น. จึงขอความร่วมมือให้ประชาชนโปรดหลีกเลี่ยงการใช้เส้นทางการจราจรในวันและเวลาดังกล่าว และขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้

https://www.prachachat.net/property/news-113451

อัด1.2 หมื่นล้านเชื่อมนนทบุรี-นครปฐม เปิดโครงข่ายใหม่ถนน 6-8 เลน ทะลวงที่ดินตาบอด

วันที่ 15 January 2019 - 20:43 น.


ทุ่ม 1.2 หมื่นล้านผุด 2 โครงข่ายใหม่ทะลวงรถติด บูมที่ดินตาบอดทำเลกรุงเทพฯโซนตะวันตก “นนทบุรี-นครปฐม” เวนคืน 160 ไร่ สร้างถนน 6-8 เลน ต่อเชื่อม “สะพานนนท์ 1-ราชพฤกษ์-กาญจนาภิเษก” ระยะทาง 4 กม. เดินหน้ารื้อ 1,370 แปลง เปิดหน้าดิน 3 อำเภอ ตัดถนนจาก “นครอินทร์-ศาลายา” ระยะทาง 12 กม. ปี’63 ลุยเต็มสูบ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมทางหลวงชนบท (ทช.) มีแผนจะพัฒนาก่อสร้างถนนสายใหม่เพื่อเสริมโครงข่ายการคมนาคมในพื้นที่กรุงเทพฯโซนตะวันตก จำนวน 2 โครงการ รวมมูลค่าการลงทุน 12,863 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการต่อเชื่อมสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยานนทบุรี 1-กาญจนาภิเษก วงเงิน 3,663 ล้านบาท และโครงการถนนต่อเชื่อมถนนนครอินทร์-ศาลายา วงเงิน 9,200 ล้านบาท

EIA เชื่อมสะพานนนท์ 1 ฉลุย

โดยโครงการถนนต่อเชื่อมสะพานนนทบุรี 1-กาญจนาภิเษก หลังศึกษารายละเอียดโครงการแล้วเสร็จมาตั้งแต่ปี 2559 เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2562 ได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จากคณะกรรมการชุดใหญ่ มี “บิ๊กป้อม-พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ” รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อจากนี้ กรมทางหลวงชนบทจะต้องนำโครงการเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติต่อไป

นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากผลการศึกษาของโครงการนี้จะใช้เงินลงทุน 3,663 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้าง 1,296 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ 2,367 ล้านบาท มีพื้นที่ถูกเวนคืน 160 ไร่ หรือ 340 แปลง อาคารและสิ่งปลูกสร้าง 220 แห่ง



สร้างถนนยาว 4 กม.

แนวเส้นทางจะต่อขยายถนนต่อเชื่อมโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณถนนนนทบุรี 1 ที่เปิดใช้ไปแล้วเมื่อปี 2558 มีจุดเริ่มต้นอยู่บริเวณทางแยกต่างระดับราชพฤกษ์เดิมบริเวณแยกวัดโบสถ์ดอนพรหม ตัดตรงไปจนเชื่อมกับถนนกาญจนาภิเษก บริเวณ กม.23+300 ห่างแยกต่างระดับบางใหญ่ 3.5 กม. และห่างจากต่างระดับบางคูเวียง 2 เมตร ระยะทางรวม 3.827 กม.



รูปแบบโครงการก่อสร้างถนนระดับดินขนาด 6-8 ช่องจราจร สะพานหรือทางยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร พร้อมถนนระดับดินขนาด 2-3 ช่องจราจร และสะพานหรือทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร

“ตามแผนที่วางไว้ในปี 2563 จะเริ่มสำรวจอสังหาริมทรัพย์ จากนั้นเริ่มเวนคืนในปี 2564 ก่อสร้างในปี 2565 แล้วเสร็จปี 2567” นายพิศักดิ์กล่าวและว่า

ทะลวงที่ดินตาบอด

เมื่อแล้วเสร็จจะบรรเทาปัญหาการจราจรของพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพฯโซนตะวันตกได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะบนถนนราชพฤกษ์ที่มีปริมาณจราจรเพิ่มขึ้น หลังเปิดใช้สะพานนนทบุรี 1 รวมถึงยังสามารถรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นจากการเจริญเติบโตของเมืองและลดขนาดพื้นที่ปิดล้อมขนาดใหญ่ (super block) ของพื้นที่ในกรอบถนนบางกรวย-ไทรน้อย ถนนนครอินทร์ ถนนบางใหญ่-บางคูลัด และถนนกาญจนาภิเษก รวมถึงเป็นการส่งเสริมการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม

“โครงการนี้จะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้แก่โครงข่ายที่สำคัญในบริเวณนี้ โดยสามารถใช้เป็นเส้นทางในการเดินทางระหว่างด้านตะวันตก-ตะวันออกของกรุงเทพมหานครได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับถนนสายหลักที่สำคัญในแนวเหนือ-ใต้ได้ด้วยเช่นกัน” นายพิศักดิ์กล่าวและว่า

ในขณะที่ถนนกาญจนาภิเษก หรือถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก ซึ่งเป็นถนนสายหลักในพื้นที่ตามแนวเหนือ-ใต้ที่สำคัญอีกเส้นหนึ่งนั้น ปัจจุบันมีแผนพัฒนาโครงข่ายคมนาคมสายหลักที่เชื่อมต่อกับถนนกาญจนาภิเษกในพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งเหนือและฝั่งตะวันตก

ทั้งในลักษณะทางหลวงพิเศษและทางหลวงเกิดขึ้นมากมายหลายโครงการเพื่อกระจายการจราจรสู่ภูมิภาคได้อย่างรวดเร็ว โดยเมื่อมีการพัฒนาถนนกาญจนาภิเษกให้เป็นทางหลวงพิเศษอย่างสมบูรณ์แล้ว จะสามารถแยกรถทางไกลที่ต้องการออกไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ จากรถในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะมีผลให้ประสิทธิภาพของถนนกาญจนาภิเษกเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น



ทุ่ม 9 พันล้านเร่งนครอินทร์-ศาลายา

นายพิศักดิ์กล่าวอีกว่า ส่วนโครงการก่อสร้างถนนต่อเชื่อมถนนนครอินทร์-ศาลายา ปัจจุบันได้สำรวจและออกแบบรายละเอียดเสร็จแล้ว คาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวม 9,200 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 4,600 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดิน 4,600 ล้านบาท มีที่ดินถูกเวนคืน 1,370 แปลง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม และสิ่งปลูกสร้าง 87 หลัง ปัจจุบันรออนุมัติรายงานอีไอเอ ตามแผนจะสำรวจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 เริ่มเวนคืนในปี 2564 และก่อสร้างในปี 2565-2567

รูปแบบโครงการเป็นถนนตัดใหม่ขนาด 6 ช่องจราจร พร้อมทางต่างระดับ 2 แห่ง ก่อสร้างตามแนวตะวันตก-ตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ปิดล้อมขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ 90 ตร.กม. มีแนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ 2 จังหวัด 3 อำเภอ ได้แก่ อ.บางกรวย อ.บางใหญ่ ของ จ.นนทบุรี และ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ระยะทางรวม 12 กม.

“เมื่อโครงการแล้วเสร็จในอนาคต จะช่วยเพิ่มเติมโครงข่ายใหม่และเสริมประสิทธิภาพเส้นทางคมนาคม การจราจรที่ติดขัดพื้นที่โซนตะวันตกของกรุงเทพฯ โดยเฉพาะบนถนนกาญจนาภิเษก ถนนบรมราชชนนี”

เชื่อมนนทบุรี-นครปฐม

แนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นบนทางหลวงชนบท สาย นฐ.5035 ช่วงด้านเหนือของเดอะรอยัลเจมส์กอล์ฟแอนด์สปอร์ตคลับ ห่างจากทางหลวงชนบท สาย นฐ.3004 (ศาลายา-บางภาษี) ประมาณ 1 กม. จากหมู่บ้านอาภากร และหมู่บ้านอาภากร 3 ไปทางทิศใต้ประมาณ 250 เมตร ทางทิศตะวันออกใกล้คลองนราภิรมย์ และทางแยกต่างระดับศาลายา สภาพการใช้ที่ดินโดยรอบเป็นอาคารพาณิชย์ ที่อยู่อาศัยและที่ว่าง

จากนั้นจะตัดผ่านทางหลวงชนบท สาย นบ.5014 ข้ามคลองสามท้าว ตัดทางหลวงชนบท สาย นบ.1001 ข้ามคลองจีนบ่าย คลองขุนเจน โดยแนวเส้นทางจะอยู่ทางทิศเหนือของศูนย์พัฒนาชีวิตใหม่ แล้วแนวจะเบี่ยงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามคลองลาดละมุด ผ่านทางหลวงชนบท สาย นบ.5035 ใกล้กับทางแยกเข้าวัดบางม่วง ข้ามคลองโสนน้อย

ตัดผ่านทางหลวงชนบท นบ.1001 บริเวณซอยอินทนิล ผ่านพื้นที่โล่งด้านหลังหมู่บ้านศุภาลัยการ์เด้นวิลล์ ข้ามคลองบางนาและคลองประปา ก่อนเบี่ยงขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผ่านพื้นที่ระหว่างหมู่บ้านมัณฑนา กับโครงการบ้านเอื้ออาทร บางกรวย (วัดพระเงิน)

โดยแนวจะอยู่ด้านทิศใต้ของวัดสุนทรธรรมิการาม ข้ามคลองหัวคู และเข้าบรรจบกับถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก บริเวณ กม.ที่ 11+997 เป็นจุดเชื่อมทางแยกต่างระดับบางคูเวียง เพื่อให้แนวเส้นทางต่อเชื่อมกับถนนนครอินทร์ได้โดยตรง ซึ่งสภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันบริเวณโดยรอบจุดสิ้นสุดโครงการ มีอาคารพาณิชย์ ที่อยู่อาศัย (หมู่บ้านกฤษณา) และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ คือ พลัสมอลล์ โลตัส

https://www.prachachat.net/property/news-278390



เปิดไฟประดับสะพานข้ามเจ้าพระยา 13 แห่ง

2019-04-29

นายกฤชเทพ สิมลี อธิบดีกรมทางหลวงชนบท(ทช.)ว่า เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ทช.จัดให้มีการเปิดไฟประดับสะพานบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลที่อยู่ในความดูแลของกรม จำนวน 13 แห่ง ได้แก่ สะพานพระราม 3 (Phra Ram 3 Bridge) สะพานพระราม 4 (Phra Ram 4 Bridge) สะพานพระราม 5 (Phra Ram 5 Bridge) สะพานพระราม 7 (Phra Ram 7 Bridge) สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์ (Maha Chetsadabodinthranuson Bridge) สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (Somdet Phra Pinklao Bridge) สะพานพระพุทธยอดฟ้า (Phra Phutthayotfa Bridge) สะพานพระปกเกล้า (Phra Pokklao Bridge) สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (Somdet Phrachao Taksin Maharat Bridge) สะพานกรุงธน (Krung Thon Bridge) สะพานกรุงเทพ (Krung Thep Bridge) สะพานภูมิพล 1 (Bhumibol 1 Bridge) และสะพานภูมิพล 2 (Bhumibol 2 Bridge) โดย ทช.ได้ทำการเปิดไฟประดับไปจนถึงวันที่ 31 ก.ค.62 ช่วงเวลา 19.00 น. ถึง 22.00 น. และสำหรับในช่วงวันที่ 4-6 พ.ค.62 จะทำการเปิดไฟประดับในช่วงเวลา 18.00 น. ถึง 24.00 น.

สำหรับการเปิดไฟประดับสะพานนั้น ทช.ได้ดำเนินการตามแนวคิดเพื่อเฉลิมฉลอง จึงกำหนดให้ใช้สีสันหลากหลายรูปแบบ เพื่อแสดงให้เห็นว่าประชาชนชาวไทยร่วมเฉลิมพระเกียรติและแสดงให้เห็นความงดงามของบรรยากาศบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา อันจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้นทช.จึงขอเชิญประชาชนร่วมชมทัศนียภาพความสวยงามของสะพานและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่สำคัญของไทย

https://www.dailynews.co.th/economic/706598

cr. กรมทางหลวง

เวนคืนบางกร่าง-บางใหญ่ ตัดถนนใหม่เชื่อม “สะพานนนทบุรี1-กาญจนาฯ”

วันที่ 7 ตุลาคม 2563

ครม.อนุมัติกรมทางหลวงชนบทเวนคืนที่ดิน 160 ไร่ “อ.บางกร่าง-เมืองนนท์ -บางใหญ่“ สร้างถนนใหม่ 6-8 เลน เชื่อมสะพานนนทบุรี 1 ทะลุถนนกาญจนาภิเษก วงเงิน 4 พันล้าน แก้รถติด เสร็จปี’67

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 6 ต.ค.2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบางกร่าง อำเภอเมืองนนทบุรี ตำบลบางเลน และตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. ….

ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบางกร่าง อำเภอเมืองนนทบุรี ตำบลบางเลน และตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เพื่อสร้างทางหลวงชนบท ตามโครงการก่อสร้างถนนต่อเชื่อมสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1 (สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์) กับถนนกาญจนาภิเษก

เนื่องจากปัจจุบันการจราจรในพื้นที่บนเส้นทางของถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนนครอินทร์ ถนนราชพฤกษ์ ถนนกาญจนาภิเษก และจุดตัดทางแยกต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียง มีสภาพติดขัดค่อนข้างมาก มีสาเหตุจากปริมาณรถส่วนหนึ่งต้องเดินทางผ่านถนนสายหลักเดิม เพื่อมุ่งสู่พื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร

แต่เนื่องจากถนนสายหลักเดิมมีปริมาณการจราจรเกินความจุของถนนที่จะสามารถรองรับได้ จึงเป็นเหตุให้เกิดสภาพการจราจรติดขัดต่อเนื่องและสะสมเป็นบริเวณกว้าง ประกอบกับกรมทางหลวงชนบทได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1 เสร็จแล้ว จะก่อให้เกิดปริมาณจราจรเข้ามาใช้เส้นทางโดยรอบมากขึ้น

เพื่อบรรเทาปัญหาสภาพการจราจรติดขัด และอำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่ง อันเป็นกิจการสาธารณูปโภค รวมถึงเพิ่มอัตราความเร็วเฉลี่ยในการเดินทางบนโครงข่ายถนนโดยรอบพื้นที่

โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนถนนดังกล่าว รวมทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายระบบคมนาคมระดับพื้นที่และภูมิภาค รองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเจริญเติบโตของเมือง จึงจำเป็นต้องสร้างโครงการ



ซึ่งกรมทางหลวงชนบทได้ดำเนินการสำรวจและออกแบบรายละเอียดโครงการ และทำการศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการดำเนินโครงการ พบว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีค่า 1,152.23 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ (EIRR) มีค่า 16.60% อัตราผลประโยชน์ต่อต้นทุน (B/C Ratio) มีค่า 1.45 ซึ่งถือได้ว่าโครงการดังกล่าวนี้มีความเหมาะสมในการดำเนินการ

ลักษณะของโครงการเป็นถนนก่อสร้างใหม่ ขนาด 6 – 8 ช่องจราจร ช่องจราจรกว้างช่องละ 3.25 เมตร ชนิดผิวจราจรแอสฟัลติกคอนกรีต ทางเท้ากว้าง 3.75 เมตร เกาะกลางแบบยกกว้าง 3.00 เมตร เขตทางกว้าง 30.00 – 50.00 เมตร มีระยะทางประมาณ 3.827 กม.

มีที่ดินที่ถูกเวนคืนประมาณ 160 ไร่ จำนวน 340 แปลง มีอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนประมาณ 220 รายการ ใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการประมาณ 4,032.00 ล้านบาท แยกเป็นค่าจ้างที่ปรึกษาสำรวจอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 15 ล้านบาท ค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 2,396 ล้านบาท ค่าก่อสร้างประมาณ 1,621 ล้านบาท โดยคาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2567




แผนที เวนคืนบางกร่าง-บางใหญ่ สะพานเชื่อมนนทบุรี1
ตัดถนนใหม่ 3 สายใยแมงมุม ทุ่ม 3.6 หมื่นล้าน บูม “กทม.-นนท์-นครปฐม”

วันที่ 12 ตุลาคม 2563

ปัจจุบันการขยายตัวของเมืองแผ่ออกทางด้านข้างจาก “แม่น้ำเจ้าพระยา” จะขยายไปยังพื้นที่โซนตะวันออก-ตะวันตกมากยิ่งขึ้น ตามการพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งทั้งถนน มอเตอร์เวย์ ทางด่วนและรถไฟฟ้าทำให้ต้องมีการพัฒนาโครงข่ายใหม่เพื่อต่อเชื่อมการเดินทาง

ล่าสุด “ทช.-กรมทางหลวงชนบท” มีแผนจะเวนคืนที่ดินก่อสร้างถนนและสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอีก 5 โครงการ ต่อเชื่อมพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร รองรับการจราจรและการขยายตัวของเมืองโซนตะวันตกเชื่อมยังโซนตะวันออก

เชื่อมสะพานนนท์ 1-วงแหวน
“ปฐม เฉลยวาเรศ”
อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรมมีแผนจะก่อสร้างถนนและสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเสริมโครงข่ายการคมนาคมในพื้นที่กรุงเทพฯโซนตะวันตกและปรับปรุงถนนเดิม จำนวน 5 โครงการ รวมมูลค่าการลงทุนประมาณ 36,783 ล้านบาท จะเป็นโครงข่ายเชื่อมแนวตะวันออก-ตะวันตก ต่อขยายจากสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมกับวงแหวนรอบกลาง คือ ถนนราชพฤกษ์ และวงแหวนกาญจนาภิเษก ที่เป็นแนวเหนือ-ใต้ ในลักษณะตารางสี่เหลี่ยมใยแมงมุม

ประกอบด้วย โครงการต่อเชื่อมสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยานนทบุรี 1 หรือสะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์กับถนนกาญจนาภิเษก วงเงิน 4,032 ล้านบาท แยกเป็นค่าจ้างที่ปรึกษาสำรวจอสังหาริมทรัพย์ 15 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 2,396 ล้านบาท เป็นที่ดิน 160 ไร่ จำนวน 340 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 220 รายการ และค่าก่อสร้าง 1,621 ล้านบาท

เป็นถนนสายใหม่ ขนาด 6-8 ช่องจราจร แนวเส้นทางจะต่อขยายถนนต่อเชื่อมสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณถนนนนทบุรี 1 ที่เปิดใช้ไปแล้วเมื่อปี 2558 มีจุดเริ่มต้นอยู่บริเวณทางแยกต่างระดับราชพฤกษ์เดิมบริเวณแยกวัดโบสถ์ดอนพรหม ตัดตรงไปจนเชื่อมกับถนนกาญจนาภิเษก บริเวณ กม.23+300 ห่างแยกต่างระดับบางใหญ่ 3.5 กม. และห่างจากต่างระดับบางคูเวียง 2 เมตร มีระยะทาง 3.827 กม.

เปิดพื้นที่ตาบอดโซนตะวันตก
ทั้งนี้ โครงการนี้ได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว และเมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2563 ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินแล้ว โดยในรายละเอียดจะกำหนดพื้นที่ที่จะเวนคืนท้องที่ ต.บางกร่าง อ.เมืองนนทบุรี ต.บางเลน และ ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี พ.ศ. … หลังจากนี้จะให้เจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในปี 2564 กรมได้งบประมาณสำรวจแล้ว จากนั้นในปี 2565 จะของบประมาณเวนคืนที่ดินคาดว่าจะเริ่มประมูลก่อสร้างในปี 2566 แล้วเสร็จในปี 2568

จะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรของพื้นที่ จ.นนทบุรี และกรุงเทพฯโซนตะวันตกได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะบนถนนราชพฤกษ์ที่มีปริมาณจราจรเพิ่มขึ้น รวมถึงรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นจากการเจริญเติบโตของเมืองและลดขนาดพื้นที่ปิดล้อมขนาดใหญ่ (super block) ของพื้นที่ในกรอบถนนบางกรวย-ไทรน้อย ถนนนครอินทร์ ถนนบางใหญ่-บางคูลัด และถนนกาญจนาภิเษก และยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม

เร่งเวนคืนนครอินทร์-ศาลายา
นายปฐมกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ มีโครงการถนนต่อเชื่อมถนนนครอินทร์-ศาลายา จะใช้เงินลงทุน 9,200 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 4,600 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดิน 4,600 ล้านบาท มีที่ดินถูกเวนคืน 1,370 แปลง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม และสิ่งปลูกสร้าง 87 หลัง ซึ่งกรมได้รับงบประมาณปี 2564

สำรวจอสังหาริมทรัพย์แล้ว จะเริ่มเวนคืนในปี 2565 และก่อสร้างในปี 2566 แล้วเสร็จในปี 2568-ปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอ พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินให้ ครม.อนุมัติ คาดว่าจะมีการพิจารณาภายในวันที่ 12 ต.ค.นี้ หากไม่ทันน่าจะเป็นครั้งถัดไป

รูปแบบเป็นถนนตัดใหม่ขนาด 6 ช่องจราจร พร้อมทางต่างระดับ 2 แห่ง ก่อสร้างตามแนวตะวันตก-ตะวันออก เป็นพื้นที่ปิดล้อมขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ 90 ตร.กม. จะพาดผ่านพื้นที่ 2 จังหวัด 3 อำเภอ ได้แก่ อ.บางกรวย อ.บางใหญ่ ของ จ.นนทบุรี และ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ระยะทางรวม 12 กม.

เปิดโผแนวเส้นทาง

แนวเส้นทาง (ดูแผนที่) มีจุดเริ่มต้นบนทางหลวงชนบท สาย นฐ.5035 ช่วงด้านเหนือของเดอะรอยัลเจมส์กอล์ฟแอนด์สปอร์ตคลับ ห่างจากทางหลวงชนบท สาย นฐ.3004 (ศาลายา-บางภาษี) ประมาณ 1 กม. จากหมู่บ้านอาภากร และหมู่บ้านอาภากร 3 ไปทางทิศใต้ประมาณ 250 เมตร ทางทิศตะวันออกใกล้คลองนราภิรมย์ และทางแยกต่างระดับศาลายา สภาพการใช้ที่ดินโดยรอบเป็นอาคารพาณิชย์ ที่อยู่อาศัยและที่ว่าง

ตัดผ่านทางหลวงชนบท สาย นบ.5014 ข้ามคลองสามท้าว ตัดทางหลวงชนบท สาย นบ.1001 ข้ามคลองจีนบ่าย คลองขุนเจน โดยแนวเส้นทางจะอยู่ทางทิศเหนือของศูนย์พัฒนาชีวิตใหม่ แล้วแนวจะเบี่ยงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามคลองลาดละมุด ผ่านทางหลวงชนบท สาย นบ.5035 ใกล้กับทางแยกเข้าวัดบางม่วง ข้ามคลองโสนน้อย ผ่านทางหลวงชนบท นบ.1001 บริเวณซอยอินทนิล ผ่านพื้นที่โล่งด้านหลังหมู่บ้านศุภาลัยการ์เด้นวิลล์ ข้ามคลองบางนาและคลองประปา ก่อนเบี่ยงขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผ่านพื้นที่ระหว่างหมู่บ้านมัณฑนา กับโครงการบ้านเอื้ออาทร บางกรวย (วัดพระเงิน)

โดยแนวจะอยู่ด้านทิศใต้ของวัดสุนทรธรรมิการาม ข้ามคลองหัวคู และเข้าบรรจบกับถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก บริเวณ กม.ที่ 11+997 เป็นจุดเชื่อมทางแยกต่างระดับบางคูเวียง ซึ่งสภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันบริเวณโดยรอบจุดสิ้นสุดโครงการ มีอาคารพาณิชย์ ที่อยู่อาศัย (หมู่บ้านกฤษณา) และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ คือ พลัสมอลล์ โลตัส

“ถนนสายนี้จะคู่ขนานกับสายนนทบุรี 1-วงแหวนฯ โดยมีสะพานพระราม 5 เป็นตัวเชื่อมการเดินทาง เมื่อเปิดใช้จะช่วยเพิ่มเติมโครงข่ายใหม่และเสริมประสิทธิภาพเส้นทางคมนาคม การจราจรที่ติดขัดพื้นที่กรุงเทพฯโซนตะวันตก ทั้งถนนกาญจนาภิเษก ถนนบรมราชชนนี”

ขยายแน่กัลปพฤกษ์-พุทธสาคร
นายปฐมกล่าวอีกว่า อีกโครงการส่วนต่อขยายถนนกัลปพฤกษ์-ถนนพุทธสาคร ระยะทาง 13.6 กม. วงเงิน 7,364 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้าง 6,014 ล้านบาท ค่าเวนคืน 1,350 ล้านบาท มีที่ดินถูกเวนคืน 316 แปลงวงเงิน 1,140 ล้านบาท อาคารสิ่งปลูกสร้าง ถูกเวนคืน 137 หลัง วงเงิน 210 ล้านบาท เป็นถนนตัดใหม่ขนาด 6 ช่องจราจร เชื่อมกับถนนเดิม ทำให้จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดโครงการ จากเดิมเป็น 3 แยก จะเป็น 4 แยก เปิดพื้นที่ตาบอดให้มีการพัฒนา

แนวเส้นทางจะเริ่มต้นบริเวณจุดเชื่อมต่อถนนกัลปพฤกษ์ตัดกับถนนกาญจนาภิเษก มีจุดตัด 5 แห่ง ที่ถนนบางบอน 3, 4 และ 5 และถนนสาธารณะอีก 2 แห่ง และบรรจบกับจุดที่ถนนพุทธสาคร ตัดกับถนนเศรษฐกิจ ซึ่งจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดโครงการออกแบบเป็นทางแยกต่างระดับ เชื่อมกับถนนสายหลักได้ทุกทิศทาง โดยไม่มีสัญญาณไฟจราจร จุดตัด 5 แห่งออกแบบเป็นสะพานข้ามทางแยก โดยด้านล่างจะเป็นทางแยกสัญญาณไฟจราจรพร้อมทางกลับรถ

“โครงการยังไม่ได้ขอจัดสรรงบประมาณ รออนุมัติอีไอเอและร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน ต้องทำให้จบก่อนถึงจะเสนอขออนุมัติจาก ครม.เพื่อทำการสำรวจการเวนคืนที่ดินได้ คาดว่าจะตั้งงบประมาณในปี 2566 คงทำไม่ทันในปี 2565 เพราะกว่าการดำเนินการจะจบใช้เวลาเป็นปี แต่ไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว ก็ต้องสร้างเพราะช่วยบรรเทาจราจรบนถนนพระราม 2 และโดยรอบ ซึ่งถนนพุทธสาครจะต่อเชื่อมกับถนนพุทธมณฑลสาย 4 และถนนเศรษฐกิจ”


ปัดฝุ่นสะพานสนามบินน้ำ
นายปฐมกล่าวอีกว่า กรมยังได้งบประมาณปี 2564 จำนวน 930 ล้านบาท ขยายถนนชัยพฤกษ์ช่วงจากสะพานพระราม 4-กาญจนาภิเษก ระยะทางประมาณ 12 กม. จาก 6 ช่องจราจร เป็นถนน 10 ช่องจราจร เนื่องจากปัจจุบันการจราจรหนาแน่นมาก จากการที่เมืองมีการขยายตัวมายังโซนนี้ จะเริ่มประมูลและก่อสร้างภายในสิ้นปี 2563 นี้ แล้วเสร็จปลายปี 2565

อีกทั้งกรมยังได้งบประมาณปี 2564 เพื่อศึกษารีวิว โครงการก่อสร้างถนนและสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสนามบินน้ำ โดยแนวคาดว่าจะไม่ต่างจากแนวเดิมที่ศึกษาไว้ แต่จะตัดสร้างช่วงแนวตะวันตก จากถนนกาญจนาภิเษกใกล้กับสถานีศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร (เดโป้) รถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) ข้ามถนนบางกรวย-ไทรน้อย ถนนราชพฤกษ์ แล้วสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสนามบินน้ำมาสิ้นสุดที่ถนนติวานนท์ ระยะทางประมาณ 13 กม. วงเงินลงทุน 15,257 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้าง 4,199 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดิน 11,058 ล้านบาท


cr. js100 20/10/2020



ทช. ทุ่ม 2.3 พันล้าน ผุดถนนเชื่อมสะพานข้ามเจ้าพระยา นนทบุรี 1-กาญจนาภิเษก แก้รถหนึบ พระราม 5

9 พ.ย. 2563

นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า เตรียมดำเนินโครงการต่อเชื่อมสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1-ถนนกาญจนาภิเษก จังหวัดนนทบุรี เสริมประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่ง เพิ่มเติมโครงข่ายเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างถนนกาญจนาภิเษกกับถนนราชพฤกษ์ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรหนาแน่น
เนื่องจากปัจจุบันสภาพการจราจรในโครงข่ายถนนในพื้นที่จากฝั่งตะวันตกด้านทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร มีสภาพที่หนาแน่น ทั้งบนเส้นทางของถนนนครอินทร์ในทิศทางขาเข้าตั้งแต่บริเวณสะพานพระราม 5 รวมถึงทางขึ้น-ลง และจุดตัดทางแยกต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งมีสาเหตุจากปริมาณรถ

“ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินการสำรวจอสังหาริมทรัพย์และประมาณราคาเพื่อกำหนดเป็นค่าทดแทนในการเวนคืน คาดว่าจะใช้งบประมาณราว 2,396 ล้านบาท เพื่อนำที่ดินมาดำเนินการก่อสร้างต่อไป โดยจะใช้เวลาดำเนินงาน 270 วัน การดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะใช้ระยะเวลา 1 ปีงบประมาณ และการดำเนินงานก่อสร้างคาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี”

นายปฐม กล่าวว่า การก่อสร้างโครงการถนนเชื่อมต่อสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณ ถนนนนทบุรี 1 มายังถนนกาญจนาภิเษก จะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้แก่โครงข่ายคมนาคม สามารถใช้เป็นเส้นทางในการเดินทางระหว่างด้านตะวันตก-ตะวันออกของกรุงเทพมหานครได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น ทั้งยังเชื่อมโยงกับถนนสายหลัก และที่แนวเหนือ-ใต้ ได้อีกด้วย”

โครงการดังกล่าวเป็นถนนก่อสร้างใหม่ มีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากถนนเชื่อมต่อสะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์ (บริเวณทางแยกต่างระดับถนนราชพฤกษ์) วางตัวมาทางทิศตะวันตก ข้ามถนนบางกรวย-ไทรน้อย ผ่านพื้นที่ชุมชน พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่โล่งข้ามคลองบางกอกน้อย จนบรรจบกับถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงหมายเลข 9) ระยะทางรวมโดยประมาณ 3.827 กิโลเมตร

รูปแบบของโครงการเป็นถนนที่มีผิวจราจรแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ขนาด 6-8 ช่องจราจร ช่องจราจรกว้างช่องละ 3.25 เมตร พร้อมทางเท้าทั้งสองข้างกว้างข้างละ 3.75 เมตร มีเขตทางโดยประมาณ 40 เมตร แบ่งทิศทางการจราจร ไป-กลับ มีสะพานยกระดับ (Overpass) ข้ามจุดตัดกับถนนบางกรวย-ไทรน้อย สะพานข้ามคลองบางกอกน้อย และทางแยกต่างระดับ (Interchange) บริเวณจุดตัดกับถนนกาญจนาภิเษก ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของโครงการ ทั้งนี้ โครงการกำหนดให้ระบบสาธารณูปโภคทั้งหมดอยู่ใต้ดิน

81 - 91 of 207 Posts
This is an older thread, you may not receive a response, and could be reviving an old thread. Please consider creating a new thread.
Top