Joined
·
121,821 Posts
ขออนุญาต คุณบอล หน่อยนะที่ก๊อบมา :lol::lol:ระหว่างรอการศึกษาในเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA มาดูข้อมูลเบื้องต้นของ โครงการสนามบินนานาชาติ ศรีวิชัย (ดอนสัก) กันครับ
- สนามบินที่ได้มาตรฐาน มีอุปกรณ์ ครบครัน มีศูนย์ซ่อมครบวงจร
- ศูนย์กลาง การส่งออก สินค้า ภาคเกษตร แร่ และอาหารทะเล
- สามารถรองรับเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้
- มีอาคาร (hangar) รับฝากเครื่องบินส่วนตัว ของเจ้าของมารีน่า และทั่วไป
- ให้บริการแก่ทุกสายการบิน ทั้งในประเทศ ต่างประเทศ เครื่องเช่าเหมาลำ* ด้วยความเสมอภาค และ เป็นธรรม
- มลภาวะทางเสียงน้อยมากเพราะสามารถ ร่อนลงจากทะเล และ วิ่งขึ้นออกไปทางทะเล เมื่อลมอ่อน
- เมื่อลงจากเครื่องบิน ผู้โดยสาร สามารถขึ้นเรือได้เลย ไปรับกระเป๋าจากสายพานที่ปลายทาง (one stop service)
แบบแปลนโครงการศรีวิชัยนคร : โครงการสนามบินนานาชาติดอนสัก
![]()
1.สนามบินนานาชาติ
2.เทอร์มินอล สนามบิน
3.โรงแรมแอร์พอร์ท
4.มาริน่าโฮเต็ล
5.คอนโดมิเนี่ยม
6.ท่าเทียบเรือเฟอร์รี่ ไป-เกาะสมุย และไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ
ที่ตั้ง
สถานที่ตั้งของที่ดินเป้าหมาย อยู่ที่อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ 2,091 ไร่ อยู่กึ่งกลางของภาคใต้ ติดทะเลยาวถึง 2.0 กม. เศษ เป็นที่ราบ เป็นนากุ้งร้าง ปกคลุมด้วยหญ้าและไม้ล้มลุก ซึ่งเป็นทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมเป็นอย่างมากสำหรับการริเริ่มจัดตั้งเป็นเมืองท่านานาชาติ แห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งจะสามารถเพิ่มความสะดวกและศักยภาพในการค้าขายกับฝั่งประเทศเพื่อนบ้านในแถบ*เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เป็นอย่างดี
![]()
![]()
![]()
![]()
รันเวย์
![]()
ทิศทางการวิ่งของเครื่องบินจะอยู่ในแนวเดียวกันกับทางวิ่งของสนามบิน สุราษฎร์ธานี
![]()
รันเวย์สามารถสร้างให้ ยาวได้ถึง 3,600 ม. เพราะมีพื้นราบที่กว้างใหญ่ ขยับขยายและพัฒนาได้อย่างไร้ขีดจำกัด*
ทางวิ่ง 22-04 (Runway 22-04) (04 หมายถึงทางวิ่งที่อยู่ในทิศ 40 องศาจากทิศเหนือขณะที่ 22 หมายถึงทิศที่ 220 องศาจากทิศเหนือ)
ความยาวของทางวิ่ง 3,600 เมตร เพิ่ม หัว - ท้าย ทางวิ่งอีกข้างละ 100 ม.
ระยะปลอดภัยด้านข้าง ด้านละ 75 ม. ตลอดความยาว 3,800 (3,800 x 150)
ทางวิ่งกว้าง 60 ม.
ทางขับ (taxi way) ขนาด 3,600 x 20 ม.
ที่จอดเครื่องบิน 40 จุด
ขยายได้ถึง 150 จุด
โดย บริษัทสมุยชลคราม จำกัด
ลองเอาแผนผังมาทาบลงบน Google Map ครับ
![]()
1.สนามบินนานาชาติ
2.เทอร์มินอล สนามบิน
3.โรงแรมแอร์พอร์ท
4.มาริน่าโฮเต็ล
5.คอนโดมิเนี่ยม
6.ท่าเทียบเรือเฟอร์รี่ ไป-เกาะสมุย และไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ
'นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี'ดันแผนพัฒนา 7 เหลี่ยม ศก.
นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า รัฐบาลโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้เร่งดำเนินการแผนพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งมอบนโยบายให้กระทรวงมหาดไทยกำกับดูแลการบริหารราชการในภูมิภาคดังกล่าว ดังนั้นตนในฐานะได้รับมอบหมายให้กำหนดนโยบายเพื่อนำไปปฏิบัตินั้น เมื่อเร็วๆนี้ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุดเพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวโดยในเบื้องต้นคณะกรรมการได้นำเสนอแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ให้เป็นเขตพื้นที่ 7 เหลี่ยมเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจหลักของภาคใต้ 7 จังหวัด มี ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ ภูเก็ต และนครศรีธรรมราช โดยมีจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นศูนย์กลาง
สำหรับแผนพัฒนาฯนั้น จะมุ่งเน้นให้เกิดการเชื่อมโยงด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ใน 7 จังหวัดภาคใต้ ที่ตั้งอยู่บน 2 ฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทยให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งโครงการต่างๆภายในแผนพัฒนาฯจะประกอบด้วยระบบรางในรูปแบบไฮสปีดเทรนให้เกิดการเชื่อมโยงกับทางถนนและทางน้ำ(ท่าเรือ)ในพื้นที่ดอนสักกับท่าเรือกระบี่หรือพังงาได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น พร้อมกับทางอากาศ โดยจะผลักดันให้มีการก่อสร้างสนามบินเพิ่มอีก 2-3 แห่งทั้งที่ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี และพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งนี้ในปัจจุบันพื้นที่สมุยมีข้อจำกัดด้านการบิน อีกทั้งใช้เวลานานในการเดินทางทั้งทางบกและทางเรือ ปัจจุบันสายการบินบางกอก แอร์เวย์ส ให้บริการนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 3,500 คนต่อวัน ซึ่งในอนาคตแนวโน้มยังจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจึงต้องเร่งดำเนินการให้สามารถรองรับไว้ตั้งแต่วันนี้
สอดรับกับการนำเสนอข่าวของ "ฐานเศรษฐกิจ" ที่รายงานว่า ขณะนี้ได้มีกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจบนเกาะสมุยนับ 10 ราย เตรียมผนึกนักลงทุนจากประเทศจีนทุ่มงบกว่า 7 พันล้านบาท สนามบินนานาชาติที่อำเภอดอนสักพร้อม ท่าเรือยอชต์ มารีน่า คลับ โรงแรมครบวงจร บนเนื้อที่ 2 พันไร่ หวังแก้ปัญหาข้อจำกัดไฟลต์เข้าเกาะสมุย (อ่านรายละเอียดเพื่มเติมย้อนหลังได้ในฉบับที่ 2,762 ระหว่างวันที่ 2-4 สิงหาคม 2555)
นายวุฒิพงศ์กล่าวอีกว่ายังได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมไปเร่งรัดกรมเจ้าท่าที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2556 จำนวน 35 ล้านบาทไปศึกษาเรื่องการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยประสานสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ที่ได้รับการจัดสรรงบปี 2556 จำนวน 120 ล้านบาทไปเร่งศึกษาความเหมาะสมหาแนวทางเชื่อมโยงทางรถไฟกับถนนและท่าเรือและสนามบินให้ได้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น ส่วนกรมการบินพลเรือนได้รับงบประมาณจากทางจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 10 ล้านบาท ให้ไปเร่งว่าจ้างศึกษาความเหมาะสมของการก่อสร้างสนามบินเพิ่มเติม
"นโยบายหลักให้พัฒนาเมืองท่าดอนสักให้เป็นพอร์ตเซ็นเตอร์ คือประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึก ท่าอากาศยานและท่าการขนส่งทางถนนและทางรถไฟจึงเน้นให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับไปพิจารณาเรื่องอื่นๆประกอบด้วยเพื่อบูรณาการการเชื่อมโยงใน 7เหลี่ยมเศรษฐกิจให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
ด้าน น.พ.บุญ วนาสิน ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) กล่าวเสริมว่าทั้งโครงการรถไฟฟ้าไฮสปีดเทรน และการก่อสร้างสนามบินตามแผนพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ที่วางไว้นั้น หลังจากได้หารือกับนักลงทุนจากประเทศจีนหลายรายแล้วเห็นว่ามีความน่าสนใจลงทุน เพราะมองเห็นถึงศักยภาพการพัฒนาในอนาคตและรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยในเบื้องต้นมี 2 บริษัทที่เป็นผู้ลงทุนท่าเรือขนาดใหญ่ของจีน แต่ยังขอไม่เปิดเผยชื่อมีความสนใจพร้อมร่วมลงทุนได้ทันที
ดร.จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กล่าวว่า ในขณะนี้แผนการพัฒนาดังกล่าวถือเป็นเพียงนโยบายในระดับหนึ่งเท่านั้น ยังต้องมีการศึกษาความเหมาะสมและมีกระบวนการดำเนินการอื่นๆ ประกอบการพิจารณาด้วย แม้ว่าจะมีการอ้างอิงว่าปริมาณผู้โดยสารในแต่ละเดือนมีจำนวนมากเกินกว่าที่สนามบินจะรองรับได้ก็ตาม แต่อย่าลืมว่าการแข่งขันในปัจจุบันมีหลากหลายแนวทางมากขึ้น จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อน เพราะไม่ต้องการเห็นสนามบินมีการใช้งานอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพเช่นหลาย ๆ สนามบินในภูมิภาคที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง เนื่องจากไม่มีการเชื่อมโยงการเดินทางให้เกิดประสิทธิภาพนั่นเอง
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,764 9-11 สิงหาคม พ.ศ. 2555
^^ รอเพียงผลการศึกษาความเหมาะสมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วครับ สำหรับโครงการเมืองท่าดอนสัก - โครงการศรีวิชัยนคร