SkyscraperCity Forum banner

Thailand Western Economic Corridor (WEC)

4417 Views 37 Replies 2 Participants Last post by  napoleon
1 - 20 of 38 Posts
...
,,,,,,,
Western Seaboard project in sights

25 Mar 2015 at 07:47

The government plans to revive a Western Seaboard project to link Myanmar's Dawei economic zone to a new industrial zone in Prachuap Khiri Khan province.

Industry Minister Chakramon Phasukvanich said the Western Seaboard project would be submitted for cabinet approval in the next two weeks after it had been studied and worked on since 1999.

According to the plan, the government will develop Prachuap Khiri Khan, Kanchanaburi, Phetchaburi, Samut Songkhram, Ratchaburi and Chumphon provinces into an industrial zone, mostly for the upstream-to-downstream steel sector.

"Since the Eastern Seaboard in Rayong is very crowded, we must create a new industrial zone in the West," Mr Chakramon said.

He said iron and steel projects would help to increase supply to meet steel demand in the construction sector ahead of implementation of the Asean Economic Community late this year.

The projects would also increase industrial trade along the border, Mr Chakramon said.

The government will continue to support investment in the upstream iron and steel industry in the new western zone.

"Thailand need such upstream iron plants in order to provide support to other downstream steel businesses nationwide," Mr Chakramon said.

"So if any private investors want to invest in the upstream iron and steel business, the government will provide full support."

Mr Chakramon said Sahaviriya Steel Industries Plc (SSI) was among the companies interested in investing in an upstream iron project in the zone.

SSI has spent 500 billion baht to develop 2,000 rai of land in Prachuap Khiri Khan province since about 1990,planning to build a steel complex with annual capacity of 30 million tonnes.

Mr Chakramon said investors in the Western Seaboard could link to the Dawei project, where the Myanmar government would also provide full support.

"SSI's project is in a perfect location for its upstream iron and steel business, and if the company wants to continue its investment there, the government will lend full support, as we also plan to develop our own upstream industry," he said.

Mr Chakramon said the country's own upstream steel business would reduce costly steel imports of 10 million tonnes a year while helping to develop Thailand's steel industry.

"The size of upstream steel projects should be big enough to produce economies of scale. They should have a capacity of 4 million tonnes a year," he said.

However, it seems SSI wants extra support from the government such as measures to prevent the import of cheap steel from China.

Mr Chakramon said SSI had raised a proposal that the government impose a surcharge on imported Chinese steel, which was cheaper than home-made steel and would hurt local steel business.

"The Industry Ministry plans to meet with the Board of Investment to seek ways to help our steelmakers," he said.

However, SSI chief executive Win Viriyaprapaikit declined to comment.

Thai construction companies Italian-Thai Development Plc and Rojana Industrial Park Plc are expected to sign an agreement soon with the Myanmar government to start developing the first phase of the Dawei megaproject.

http://www.bangkokpost.com/business/news/507339/western-seaboard-project-in-sights
See less See more
"บิ๊กตู่" ผุดไอเดีย เดินหน้าเวสต์เทิร์นซีบอร์ด

วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 20:19:42 น.Tweet

เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 10 มีนาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้ตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อไปช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดในการขับเคลื่อนงาน และต่อไปจะดำเนินการในลักษณะเดิมที่มีโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก หรืออีสเทิร์นซีบอร์ดแล้ว แต่ทางตะวันตกยังไม่มี จึงให้รัฐบาลคิดกันมาว่าจะทำโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวันตก หรือเวสต์เทิร์นซีบอร์ดได้หรือไม่ มีนิคมอุตสาหกรรม มีโรงเหล็กเพื่อเป็นอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ โดยคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษ จะมีเอกชนเข้ามาร่วมด้วย เพื่อช่วยขับเคลื่อนงานด้านการตลาด และหาคนมาลงทุน เพราะรัฐบาลบริหารเองไม่ได้ทั้งหมด

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1425993013
See less See more
“บิ๊กตู่”สั่งตั้งเวสเทิร์นซีบอร์ด

นายกตู่ฯ ปิ้งไอเดีย สั่งหาช่องตั้งเวสเทิร์นซีบอร์ด พัฒนาอุตสาหกรรมภาคตะวันตก ตั้งอนุกรรมการขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษ จี้เห็นผลใน 1 เดือน

วันอังคาร 10 มีนาคม 2558 เวลา 18:54 น.

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมครม.ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการจัดตั้งโครงการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมภาคตะวันตก (เวสเทิร์น ซีบอร์ด) ในลักษณะเดียวกับโครงการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมภาคตะวันออก (อีสเทิร์น ซีบอร์ด) ปัจจุบัน ว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ โดยตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรมผลิตเหล็กต้นน้ำ เชื่อมต่อเขตเศราฐกิจพิเศษ ซึ่งต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลหนึ่งชุด และอาจมีเอกชนเข้าอยู่ในคณะกรรมการชุดนี้ เพื่อดูช่องทางด้านการตลาดและด้านการลงทุน

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ ได้มีข้อสั่งการในครม. ให้ตั้งอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษแต่ละพื้นที่ซึ่งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.)มีมติประกาศให้เป็นพื้นที่นำร่อง

ทั้งนี้การตั้งอนุกรรมการดังกล่าวขึ้นมา เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้ประกาศพื้นที่พัฒนาระยะที่ 1ไปแล้ว5แห่ง แต่การขับเคลื่อนยังไม่ได้ผลทันใจเนื่องจากเมื่อมี กนพ. แล้ว และมีอนุกรรมการทำงานอีก 4 ชุด คือ อนุกรรมการด้านสิทธิประโยชน์ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการจัดหาที่ดิน และด้านแรงงานสาธารณสุข แต่ภาระงานไปตกอยู่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงต้องมีคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนในแต่ละเขต ซึ่งคณะอนุกรรมการนี้จะประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ที่เป็นข้าราชการและเอกชน โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) จะเป็นผู้ประสานงานเพื่อตั้งต่อไป

“ที่ต้องตั้งอนุกรรมการรายพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นมาก็เพื่อแก้ไขปัญหาในแต่ละจุดที่แตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อนทุกอย่างเร็วขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีต้องการให้เห็นผลภายใน1เดือนนี้ โดย สศช. รับเป็นผู้ไปประสานงานเพื่อตั้งอนุกรรมการต่อไป”

สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ5พื้นที่ที่พล.ประยุทธ์ ได้ลงนามประกาศการกำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ให้ชัดเจนเพื่อจัดตั้งและดำเนินการเขตพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่บางส่วนของ5จังหวัด ได้แก่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลาและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด สำหรับอีกพื้นที่ที่ กนพ.มีมติให้เป็นพื้นที่พัฒนาในระยะที่1อีกแห่งคือเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย ซึ่งรอให้นายกรัฐมนตรีลงนามประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป

http://www.dailynews.co.th/Content/economic/306579/“บิ๊กตู่”สั่งตั้งเวสเทิร์นซีบอร์ด
See less See more
รัฐบาลเตรียมปัดฝุ่น โครงการ เวสเทิร์น ซีบอร์ด

วันจันทร์ ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

รัฐบาลเตรียมปัดฝุ่นโครงการเวสเทิร์น ซีบอร์ด ตามนโยบายนายกรัฐมนตรีรองรับเศรษฐกิจพิเศษเชื่อมโยงท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายในเมียนมาร์

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ครั้งที่ 2/2558 โดยที่ประชุมได้มีการหารือเรื่องการบริหารจัดการที่ดินเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับการจัดหาที่ดินของรัฐรองรับการลงทุนของภาคเอกชน และแก้ปัญหาราคาที่ดินในพื้นที่จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งพิจารณากำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในเขตเศรษฐกิจพิเศษแต่ละพื้นที่ เพื่อเตรียมจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมชายแดนตามนโยบายรัฐบาล

ประเด็นสำคัญ ที่ประชุมยังได้หยิบยกข้อเสนอของนายกฯ ในการรื้อฟื้น การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตก หรือ "เวสเทิร์นซีบอร์ด" ขึ้นมาใหม่ หลังมีการศึกษาไว้ตั้งแต่ปี 2539 ภายใต้การสนับสนุนขององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า โดยวางแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตก มีพื้นที่เป้าหมาย 6 จังหวัด กาญจนบุรี สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร เพื่อการเชื่อมโยงโครงข่ายกับเมียนมาร์เปิดประตูเศรษฐกิจสู่อันดามัน แต่ไม่ได้มีการขับเคลื่อนต่อ

แต่ปัจจุบันพื้นที่ภาคตะวันตกมีศักยภาพ มากขึ้น หลังจากไทยและเมียนมาร์กำลังร่วมกันพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ซึ่งจุดนี้รัฐบาลมีแนวคิดที่จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมผลิตเหล็กต้นน้ำ เชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลตะวันตกขึ้นมา 1 ชุดเพื่อดำเนินการศึกษาขับเคลื่อนต่อไป

http://www.thaitv3.com/ข่าวด่วน/119347/รัฐบาลเตรียมปัดฝุ่น-โครงการ-เวสเทิร์น-ซีบอร์ด.html

See less See more
  • Like
Reactions: 1
Western Seaboard project in sights Dawei link, steel developement pluses

Bangkok Post 25 Mar 2015 at 07:47

The government plans to revive a Western Seaboard project to link Myanmar's Dawei economic zone to a new industrial zone in Prachuap Khiri Khan province.

Industry Minister Chakramon Phasukvanich said the Western Seaboard project would be submitted for cabinet approval in the next two weeks after it had been studied and worked on since 1999. According to the plan, the government will develop Prachuap Khiri Khan, Kanchanaburi, Phetchaburi, Samut Songkhram, Ratchaburi and Chumphon provinces into an industrial zone, mostly for the upstream-to-downstream steel sector. "Since the Eastern Seaboard in Rayong is very crowded, we must create a new industrial zone in the West," Mr Chakramon said.

He said iron and steel projects would help to increase supply to meet steel demand in the construction sector ahead of implementation of the Asean Economic Community late this year. The projects would also increase industrial trade along the border, Mr Chakramon said. The government will continue to support investment in the upstream iron and steel industry in the new western zone. "Thailand need such upstream iron plants in order to provide support to other downstream steel businesses nationwide," Mr Chakramon said. "So if any private investors want to invest in the upstream iron and steel business, the government will provide full support."

Mr Chakramon said Sahaviriya Steel Industries Plc (SSI) was among the companies interested in investing in an upstream iron project in the zone. SSI has spent 500 billion baht to develop 2,000 rai of land in Prachuap Khiri Khan province since about 1990, planning to build a steel complex with annual capacity of 30 million tonnes. Mr Chakramon said investors in the Western Seaboard could link to the Dawei project, where the Myanmar government would also provide full support. "SSI's project is in a perfect location for its upstream iron and steel business, and if the company wants to continue its investment there, the government will lend full support, as we also plan to develop our own upstream industry," he said.

Mr Chakramon said the country's own upstream steel business would reduce costly steel imports of 10 million tonnes a year while helping to develop Thailand's steel industry. "The size of upstream steel projects should be big enough to produce economies of scale. They should have a capacity of 4 million tonnes a year," he said.

However, it seems SSI wants extra support from the government such as measures to prevent the import of cheap steel from China. Mr Chakramon said SSI had raised a proposal that the government impose a surcharge on imported Chinese steel, which was cheaper than home-made steel and would hurt local steel business. "The Industry Ministry plans to meet with the Board of Investment to seek ways to help our steelmakers," he said. However, SSI chief executive Win Viriyaprapaikit declined to comment.

Thai construction companies Italian-Thai Development Plc and Rojana Industrial Park Plc are expected to sign an agreement soon with the Myanmar government to start developing the first phase of the Dawei megaproject.

http://www.bangkokpost.com/business/news/507339/western-seaboard-project-in-sights.
See less See more
  • Like
Reactions: 2
จักรมณฑ์ปัดฝุ่นเวสเทิร์น ซีบอร์ด
ฐานเศรษฐกิจ ออนไลน์ วันพุธที่ 25 มีนาคม 2015 เวลา 10:56 น.

"จักรมณฑ์" ดึงเอสเอสไอปลุกโครงการ "เวสเทิร์น ซีบอร์ด" ใช้พื้นที่อ.บางสะพาน นำร่อง 2 หมื่นไร่ ผุดอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร ไล่ตั้งแต่เหล็กต้นน้ำอย่างโรงถลุงเหล็ก ไปจนถึงเหล็กปลายน้ำ เตรียมนำเสนอครม.เศรษฐกิจช่วงต้นเดือนเม.ย.นี้ ไฟเขียว ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนเหมือนกับ "อีสเทิร์น ซีบอร์ด" ให้หน่วยงานความมั่นคงดูแลปัญหาการต่อต้าน มั่นใจเกิดได้ภายในรัฐบาลชุดนี้

นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังจากที่นายวิน วิริยประไพกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือเอสเอสไอ เข้าพบเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2558 ว่า เป็นการหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตกหรือเวสเทิร์น ซีบอร์ด หลังจากที่ได้รับนโยบายมาจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่จะรื้อฟื้นโครงการเวสเทิร์นซีบอร์ดขึ้นมาอีกครั้ง จึงได้เชิญผู้บริหารของเอสเอสไอมาหารือด้วย เป็นการยืนยันว่ารัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาพื้นที่ในอำเภอบางสะพาน ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขึ้นมาเป็นโครงการเวสเทิร์น ซีบอร์ด ที่มีลักษณะเดียวกับโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก หรืออีสเทิร์น ซีบอร์ด แต่อยู่คนละฝั่งกัน

โดยนโยบายการพัฒนาเวสเทิร์นซีบอร์ดนี้ เป็นไปได้ที่จะส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ เนื่องจากปัจจุบันไทยต้องนำเข้าเหล็ก 10 ล้านตันต่อปี ซึ่งการลงทุนโรงงานเหล็กต้นน้ำจะต้องมีขนาด 4 ล้านตันต่อปี จึงจะคุ้มทุน ซึ่งปัจจุบันไทยก็มีโรงงานผลิตเหล็กกลางน้ำในจังหวัดระยอง ดังนั้นการพัฒนาเวสเทิร์น ซีบอร์ดควรมีอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำด้วย ส่วนจะมีอุตสาหกรรมอื่นอะไรบ้างนั้นรวมถึงกรอบการพัฒนาพื้นที่ การจัดตั้งคณะกรรมการ กระทรวงอุตสาหกรรม จะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจพิจารณาในอีก 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นคาดว่าจะมีความชัดเจนขึ้น และมั่นใจว่าจะผลักดันให้เกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลชุดนี้

"รัฐบาลได้ประกาศนโยบายส่งเสริมพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษไปแล้ว โดยดึงภาคเอกชนมาร่วมดำเนินการ ขณะที่การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันตก ภาคเอกชนอย่างเอสเอสไอ ก็มีพื้นที่ขนาดใหญ่และท่าเรือรองรับอยู่แล้ว หากเครือสหวิริยา สนใจเข้าร่วมก็สามารถเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าวได้ จากเดิมที่เคยมีแผนลงทุนตั้งโรงงานเหล็กต้นน้ำ ที่อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ อยู่แล้วก็สามารถเป็นโครงการนำร่องในระยะแรกไปก่อน และหลังจากนั้นค่อยขยายพื้นที่อื่นๆต่อไป" นายจักรมณฑ์ กล่าว

แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในการหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารของเอสเอสไอนั้น ทางเอสเอสไอ ต้องการคำยืนยันจากนายจักรมณฑ์ว่า รัฐบาลต้องการให้พื้นที่อำเภอบางสะพาน เป็นโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษหรือเวสเทิร์น ซีบอร์ด และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมก็ได้ยืนยันกลับไป พร้อมกับชักชวนเอสเอสไอเข้ามาร่วมโครงการ โดยรัฐบาลจะรับพื้นที่ดังกล่าวเข้ามาและขับเคลื่อนโดยภาครัฐ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว ทางเอสเอสไอมีท่าเรือและพื้นที่ในอำเภอบางสะพานเป็นจำนวนมาก หากนำมาใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเหมือนกับรูปแบบของการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคทะเลตะวันออกหรืออีสเทิร์น ซีบอร์ด ได้ ก็จะเป็นประโยชน์กับประเทศ

โดยการพัฒนาพื้นที่ระยะแรกนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ต้องการใช้พื้นที่ของเอสเอสไอ ขับเคลื่อนไปก่อน เนื่องจากมีความพร้อมทางด้านท่าเรือและที่ดินเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว จากเป้าหมายที่จะใช้พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2 หมื่นไร่ ซึ่งจะเป็นพื้นที่โรงงานประมาณ 1.5 หมื่นไร่ อีก 5 พันไร่ เป็นการจัดวางระบบสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ถนน ประปา พร้อมกับพื้นที่กันชน ซึ่งมีเป้าหมายที่จะพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร ตั้งแต่การผลิตเหล็กต้นน้ำ อย่างโรงถลุงเหล็ก ไปจนถึงเหล็กในขั้นกลางน้ำ และปลายน้ำ รวมถึงอาจจะมีอุตสาหกรรมบริการด้านโลจิสติกส์เพิ่มขึ้นมาด้วย เพื่อเป็นจุดต่อเชื่อมออกสู่ทะเลอ่าวไทย ที่ต่อเชื่อมโครงข่ายมาจากเมียนมาร์

อย่างไรก็ตาม ในการหารือครั้งนี้ยังถือว่าเป็นแนวทางเบื้องต้นในการพัฒนาเวสเทิร์น ซีบอร์ด ที่จะต้องมีการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจในช่วงต้นเดือนเมษายน เพื่อกำหนดขอบเขตในการพัฒนา ที่จะต้องบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เหมือนกับการพัฒนาพื้นที่อีสเทิร์น ซีบอร์ด ที่มีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ขึ้นมาเป็นเจ้าภาพขับเคลื่อน โดยเฉพาะปัญหาที่ทางเอสเอสไอมีความเป็นห่วง ในเรื่องของการต่อต้านจากมวลชนในพื้นที่ ซึ่งในส่วนนี้คงจะต้องนำเสนอครม.เศรษฐกิจ เพื่อมอบหมายให้หน่วยงานที่ดูแลด้านความมั่นคงไปดูแล เพราะต้องยอมรับว่าพื้นที่ดังกล่าว มีปัญหาการต่อต้านโรงงานอุตสาหกรรมที่สะสมมาอย่างยาวนาน

แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรมหนักกล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตก หรือ "เวสเทิร์น ซีบอร์ด" ของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีนั้น เป็นเรื่องเดิมที่หลายปีที่ผ่านมาสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ ก็จะมีพื้นที่เป้าหมาย 6 จังหวัด กาญจนบุรี สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร และถ้าเวสเทิร์น ซีบอร์ดเกิดขึ้นก็ต้องมีอุตสาหกรรมหนักในพื้นที่ เช่น โรงถลุงเหล็ก โรงงานผลิตเหล็กแปรรูปขั้นปลาย โรงไฟฟ้า และมองว่าโครงการนี้จะเกิดขึ้นได้ภาครัฐต้องนำร่องโดยเฉพาะการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ที่ต้องผลักดันและมีภาคเอกชนมาร่วมด้วย

"เวสเทิร์น ซีบอร์ด มีการศึกษาไว้ตั้งแต่ปี 2539 ภายใต้การสนับสนุนขององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นหรือไจก้า โดยวางแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตก เพื่อการเชื่อมโยงโครงข่ายกับเมียนมาร์เปิดประตูเศรษฐกิจสู่อันดามัน แต่ไม่ได้มีการขับเคลื่อนต่อ ล่าสุดพื้นที่ภาคตะวันตกมีศักยภาพมากขึ้น หลังจากไทยและเมียนมาร์กำลังร่วมกันพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ซึ่งจุดนี้รัฐบาลมีแนวคิดที่จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมผลิตเหล็กต้นน้ำ เชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลตะวันตกขึ้นมา 1 ชุดเพื่อดำเนินการศึกษาขับเคลื่อนต่อไป ส่วนเสียงคัดค้านจากกลุ่มคนในพื้นที่ขณะนี้น่าจะต่างไปจากเมื่อ 8 ปีที่แล้ว

สอดคล้องกับที่กลุ่มทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อครั้งที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นครั้งที่แล้ว มีค่ายรถยนต์จากญี่ปุ่นแลกเปลี่ยนข้อมูลกับนายกรัฐมนตรีว่า ปัจจุบันฐานการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยยังต้องนำเข้าเหล็กคุณภาพสูงจากญี่ปุ่นอยู่ เนื่องจากในไทยไม่มีโรงงานถลุงเหล็ก ส่วนผู้ผลิตเหล็กในประเทศก็ยังไม่สามารถผลิตได้ตามสเปกที่ค่ายรถยนต์ต้องการ ซึ่งทุกค่ายรถยนต์ต้องให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้เพราะเป็นเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภค หากมีโรงถลุงเหล็กเกิดขึ้นในประเทศไทยจริงก็น่าจะเป็นเรื่องดี

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=270483:2015-03-25-03-57-30&catid=85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=629#.VRYTqfmUfvk
See less See more
รัฐโหมเมกะโปรเจ็กต์ เดินหน้าปักหมุดชุดใหญ่ลุ้นฟื้น‘เวสเทิร์นซีบอร์ด’ผุดโรงถลุงเหล็ก

วันอาทิตย์ที่ 05 เมษายน 2015 เวลา 10:02 น.

“จักรมณฑ์” เล็งฟื้นโครงการเวสเทิร์นซีบอร์ดที่บางสะพานพร้อมทาบกลุ่มทุนเก่ากลับมาผุดโรงถลุงเหล็ก

ในภาวะซึมเซาของเศรษฐกิจไทย ที่ยิ่งบั่นทอนความเชื่อมั่นนักลงทุนลงเป็นลำดับนี้ นักเศรษฐศาสตร์ชี้ตรงกันว่า รัฐต้องเร่งสร้างความชัดเจนในแผนลงทุนโครงการขนาดใหญ่ เพื่อปลุกความเชื่อมั่นภาคเอกชนกลับคืนมา เพื่อจะเริ่มตัดสินใจลงทุนตาม เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต ทำให้นับแต่กลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รัฐบาลทยอยประกาศปฏิทินแผนการลงทุนโครงการใหญ่ออกมาเป็นระลอก ทั้งที่เป็นการลงทุนของภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ผ่อนคลายข้อจำกัดเพื่อจูงใจการลงทุนของภาคเอกชน จนถึงปัดฝุ่นโครงการเวสเทิร์นซีบอร์ด เพื่อดึงดูดเอกชนลงทุนโรงถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมหนักต้นน้ำอีกรอบ นั้น

-ฟื้นเวสเทิร์นซีบอร์ด

นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้สัมภาษณ์ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เร็ว ๆ นี้โดยไม่เกินเดือนพฤษภาคม จะเสนอครม.เศรษฐกิจให้พิจารณาอนุมัติ โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตก หรือเวสเทิร์น ซีบอร์ด ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช. หรือสภาพัฒน์) เคยศึกษาไว้นานแล้ว เพื่อเป็นฐานการลงทุนอุตสาหกรรมหนัก เช่น เหล็ก โรงไฟฟ้า มีภาครัฐนำร่อง โดยอาจเป็นการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ร่วมมือกับภาคเอกชน ศึกษาความเป็นไปได้ร่วมกัน ซึ่งจะดีกว่าในสายตาทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่ดังกล่าว

ส่วนพื้นที่เบื้องต้นเริ่มจากที่มีอยู่แล้วก่อน คือพื้นที่ที่บางสะพานของเครือสหวิริยา ขนาดประมาณ 9 พันไร่ เพียงพอที่จะสร้างโรงถลุงเหล็ก โรงไฟฟ้า มีท่าเรือน้ำลึก ซึ่งการลงทุนตั้งโรงถลุงเหล็ก จะต้องเปิดการลงทุนเป็นการทั่วไป โดยจะกลับไปทาบทามกลุ่มผู้สนใจเดิม อาทิ บริษัท นิปปอนสตีลฯ และเจเอฟอี สตีล จากญี่ปุ่น หรือทุนเกาหลี เช่น กลุ่มพอสโก ให้ทบทวนแผนกลับมาลงทุนอีกครั้ง ส่วนรูปแบบจะเป็นอย่างไร ต้องพิจารณาร่วมกันอีกครั้ง โดยในส่วนของกลุ่มสหวิริยา มีความพร้อมด้านพื้นที่ไว้รองรับอยู่แล้ว

-ลากทางรถไฟ9กม.ไปท่าเรือ

นายจักรมณฑ์กล่าวอีกว่า ส่วนการพัฒนาพื้นที่ ภาครัฐกับกนอ.จะลงทุนร่วมกันในรูปแบบไหนก็ต้องมาดูในรายละเอียด เพราะตรงนี้ก็ต้องเห็นใจกลุ่มสหวิริยา ที่เป็นผู้ลงทุนลงแรงมากมาก่อนแล้ว มีที่ดิน มีท่าเรือ ดังนั้น ภาครัฐก็ต้องช่วยในแง่ระบบโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ เข้ามาเสริม เช่น นำรถไฟไปเชื่อมท่าเรือ วางโครงสร้างถนน และแหล่งน้ำในลักษณะสร้างเป็นอ่างเก็บน้ำ เป็นต้น

ทั้งนี้ เส้นทางรถไฟจะเริ่มจากสถานีรถไฟบางสะพาน เชื่อมไปที่ท่าเรือน้ำลึกบางสะพาน ระยะทาง 9 กิโลเมตร เป็นเส้นทางรถไฟเพื่อการพาณิชย์ สำหรับขนแร่-เหล็ก ก็ถือว่าเป็นรายได้เข้ารัฐ คนที่ลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการรถไฟฯ หรือใครก็แล้วแต่ ก็จะได้กำไรเข้ามาอยู่แล้ว ส่วนท่าเรือต่อไปในอนาคตก็ขยายได้ เพราะมีความลึกที่มีศักยภาพ ปัจจุบันเป็นท่าเรือของเอกชน(กลุ่มสหวิริยา) ถ้ามีการขยายท่าเรือเพิ่มรัฐกับเอกชนอาจจะลงทุนร่วมกันก็ได้

-เล็งเชื่อมมะริด-ทวาย

ทั้งนี้ โครงการเวสเทิร์นซีบอร์ดสำหรับอุตสาหกรรมหนักที่บางสะพาน จะสามารถเชื่อมโยงอีสเทิร์นซีบอร์ด ในการขนส่งวัตถุดิบ หรือสินค้าโดยทางเรือ ตัดตรงอ่าวไทย ทำให้มีต้นทุนโลจิสติกส์ที่ถูกกว่าการขนส่งทางราง หรือทางถนน ขณะเดียวกันยังสามารถเชื่อมโยงกับเมียนมาร์ โดยผ่านได้ทั้งช่องทางด่านสิงขร ซึ่งอยู่ห่างจากบางสะพานเพียง 60 กิโลเมตร ไปออกเมืองมะริดริมฝั่งทะเลอันดามัน หรือไปเชื่อมกับโครงการทวายผ่านทางจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับเมียนมาร์ และอาจมีญี่ปุ่นร่วมด้วย ดังนั้น การผลักดันให้เกิดเวสเทิร์น ซีบอร์ด ถือว่าเป็นทำเลที่ดีมาก เป็นยุทธศาสตร์ทางการค้าการลงทุนที่สำคัญทางหนึ่ง

-สวัสดิ์เชียร์ขุดคอคอดกระ

ต่อเรื่องนี้นายสวัสด์ หอรุ่งเรือง ประธานกรรมการบริษัท ศรีราชา ฮาร์เบอร์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่าเห็นด้วยกับนโยบายนี้ แต่จะเป็นประโยชน์มากกว่า ถ้ารัฐจะกล้าลงทุนให้ใหญ่ไปเลย โดยการขุดคลองคอคอดกระ จะเป็นการพัฒนาท่าเทียบเรือทางภาคใต้ เปิดเส้นทางเดินเรือทะเลเชื่อมฝั่งมหาสมุทรอินเดียจากทะเลอันดามัน มาฝั่งอ่าวไทยไปมหาสมุทรแปซิฟิก โดยไม่ต้องอ้อมไปผ่านสิงคโปร์ ร่นยะยะเวลาขนส่ง 7 วัน จะทำให้ไทยมีความสำคัญในการขนส่งทางทะเลทันที

"ถ้าขุดคอคอดกระได้ขนส่งชายฝั่งแหลมฉบังไปลงระนอง จะเกิดประโยชน์มากกว่า เมื่อเทียบกับใช้พื้นที่ที่บางสะพาน ที่จะทำได้ไม่ถึงครึ่งทาง และถ้าเลือกทำที่บางสะพานจริง ผมก็มองว่า จะเป็นคนขี้ขลาดตายวันละหลายครั้ง หรือจะคนกล้าตายครั้งเดียว"

เช่นกันนายทวิช เตชะนาวากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยอินดัสเตรียล เอสเตท จำกัด ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมไฮเทค(บ้านหว้า) จ.พระนครศรีอยุธยา เห็นด้วยกับแผนการดังกล่าว แต่ห่วงว่า การผลักดันโครงการขนาดใหญ่แบบนี้จะต้องใช้เวลา ขณะที่รัฐบาลมีเวลาบริหารประเทศอีกเพียง1 ปี ไม่รู้นโยบายรัฐบาลใหม่จะทำต่อหรือไม่

http://www.thanonline.com/index.php...9:2009-02-08-11-24-05&Itemid=629#.VSOIOfmUdqU
See less See more
  • Like
Reactions: 1
ร.ฟ.ท.รับฟังความเห็นการเชื่อมต่อทางรถไฟแหลมฉบัง-ท่าเทียบเรือน้ำลึกทวาย


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
7 เมษายน 2558 14:41 น.

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำหนดจัดการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการศึกษาความเป็นไปได้ การเชื่อมต่อทางรถไฟ ระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าเทียบเรือน้ำลึกทวาย ในเขตพื้นที่ที่แนวโครงการผ่าน เพื่อชี้แจงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของประชาชน ต่อผลการศึกษาความเหมาะและแนวคิดการออกแบบ ตลอดจนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้รับรู้ข้อมูลโครงการอย่างถูกต้อง สอดคล้องในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 67 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 โดยกำหนดให้มีการประชุมขึ้นในวันที่ 22 เมษายนนี้ เวลา 08.30 -12.00 น. ณ ห้องประชุมกิ่งเงิน-กิ่งทอง โรงแรมแกรนด์ อินคำ อำเภอบางพลี จังสมุทรปราการ

ทั้งนี้ ขอเชิญชวนประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ ในวัน เวลาและสถานที่ดังกล่าว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์หมายเลข 0 2187 1453
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000040164
See less See more
ปัดฝุ่นแผนลงทุน "สิงขร-บางสะพาน" ฟื้นเส้นทางการค้า "เชื่อม" มะริดผ่าอ่าวไทยไปจีน

updated: 19 พ.ย. 2559 เวลา 08:00:45 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

"สมคิด" สั่งปัดฝุ่นแผนลงทุน "ท่าเรือน้ำลึก อ.บางสะพาน และด่านสิงขร จ.ประจวบคีรีขันธ์" ฟื้นเส้นทางการค้าเชื่อมมะริด เมียนมา "อรรชกา" เด้งรับประสานสิบทิศ สภาพัฒน์ กรอ.หน่วยงานที่รับผิดชอบ 10 จังหวัดภาคตะวันตก "ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร อยุธยา และอ่างทอง" ลุยทบทวนแผนศึกษาลงทุนภาคตะวันตกใหม่ทั้งหมด

นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมหารือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อรื้อแผนการศึกษาการลงทุนในพื้นที่ภาคตะวันตกที่ สศช.ได้เคยทำไว้แล้วกลับมาทบทวนใหม่ หลังจากนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ มีคำสั่งให้ทุกหน่วยงานร่วมกันพิจารณา เพราะต้องการพัฒนาเศรษฐกิจ ผลักดันภาคอุตสาหกรรม และฟื้นเส้นทางเชื่อมการค้าระหว่างประเทศ โดยมุ่งเป้าไปยังท่าเรือน้ำลึก อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่เป็นเส้นทางการค้าของเรือประมงเชื่อมไปยังมะริด ประเทศเมียนมา เป็นการลดระยะทางการขนส่งสินค้า จากเดิมเส้นฝั่งอันดามันจะผ่านทางท่าเรือน้ำลึกระนอง จ.ระนอง เข้าอ่าวไทยและเชื่อมต่อไปยังประเทศจีน รวมถึงจะศึกษาแผนการพัฒนาของด่านสิงขร อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีพรมแดนอยู่ติดกับเขตตะนาวศรีเชื่อมไปยังมะริดของเมียนมาเช่นกัน

โดยจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิอุตสาหกรรมจังหวัดโซนภาคตะวันตกและศูนย์ส่งเสริมการอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ภายใต้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ซึ่งมีความรับผิดชอบใน 10 จังหวัดภาคตะวันตก ประกอบด้วยราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร อยุธยา และอ่างทอง เพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาอุตสาหกรรม รวมถึงพัฒนาสินค้าผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้มีศักยภาพ เติบโต และสามารถส่งออกได้

"รัฐเน้นลงทุนบริเวณท่าเรือน้ำลึกบางสะพานและด่านสิงขร เพราะปัจจุบันใช้เป็นจุดผ่อนปรนทางการค้าระหว่างชายแดนไทยและเมียนมาอยู่แล้ว เราจะมาดูว่าผลการศึกษาที่ สศช.ทำไว้เป็นอย่างไร จะเชื่อมอะไรกันได้บ้าง สินค้าอะไรที่เมียนมาต้องการเราจะได้พัฒนาให้ตรงกับความต้องการเพื่อส่งออก เพราะยอมรับว่าคนเมียนมานิยมใช้ของไทย"

สำหรับภาคตะวันตก ข้อมูลจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ระบุว่า 5 กลุ่มที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ภาคตะวันตก คือ อุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้างและสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร และอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง มีผลิตภัณฑ์มวลรวมแต่ละจังหวัด (GPP) รวมกัน 10 จังหวัด มูลค่า 1,453,447 ล้านบาท มีการค้าชายแดนไม่ต่ำกว่า 36,000 ล้านบาท จำนวน SMEs ถึง 234,110 กิจการ เป็นภาคการผลิต 34,085 กิจการ และยังเป็นส่วนของวิสาหกิจชุมชนอีก 4,013 แห่ง จำนวน 67,899 ราย สินค้าส่วนใหญ่ส่งออกขายไปยังประเทศเมียนมา

ขณะที่รายงานข่าวจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ระบุว่า ข้อมูลโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ (รง.4) ประเภท 2 และ 3 ในพื้นที่ภาคตะวันตก 10 จังหวัด นับตั้งแต่ 1 ม.ค.-15 พ.ย. 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 800 แห่ง มูลค่าการลงทุน 60,438.13 ล้านบาท เทียบกับ 1 ม.ค.-15 พ.ย. 2558 ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการมีจำนวน 705 แห่ง มูลค่าการลงทุน 96,650.41 ล้านบาท

และข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) พบว่าจำนวนโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุนตลอด 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย. 2559) ในภาคตะวันตกอยู่ที่ 32 โครงการ ลดลง 52% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 66 โครงการ ขณะที่เงินลงทุนปีนี้ 6,500 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 21,560 ล้านบาท ลดลง 70% หากเทียบกับภาคอื่น ๆ ซึ่งมีทั้งจำนวนโครงการและมูลค่าการลงทุนสูงขึ้นทั้งหมด

นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า ยอดการลงทุนภาคตะวันตกที่ลดลงเป็นผลมาจากการที่รัฐมีมาตรการสนับสนุนให้ลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษรูปแบบคลัสเตอร์ใน11จังหวัดและเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ใน 3 จังหวัด ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์การลงทุนสูงสุด ยกเว้นภาษีนิติบุคคลถึง 8 ปี ลดหย่อนภาษี 50% เพิ่มเติมอีก 5 ปี ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าพื้นที่ทั้งสองส่วนนี้มียอดขอรับส่งเสริมสูงขึ้นมาก เป็นส่วนของคลัสเตอร์ 27 โครงการ มูลค่าลงทุน 25,372 ล้านบาท และส่วนของ EEC จำนวน 271 โครงการ เงินลงทุน 118,690 ล้านบาท

"ปกติภาคตะวันตกไม่ค่อยมีกิจการไปลงทุนอยู่แล้ว อาจเป็นเพราะโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ค่อยดี หรือยังไม่พร้อม แต่เชื่อว่าหากโครงการท่าเรือน้ำลึกและการพัฒนาด่านชายแดนเกิดขึ้นจริง จะทำให้ภาคตะวันตกมีการลงทุนมากขึ้น แต่อาจจะได้แค่บางประเภทกิจการ เช่น โรงไฟฟ้าชีวมวล เพราะพื้นที่ดังกล่าวมีวัตถุดิบพวกเศษไม้เปลือกไม้จำนวนมาก"

แหล่งข่าวภาคเอกชนกล่าวว่า สำหรับด่านสิงขรซึ่งอยู่ฝั่งตะวันตกของ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นศูนย์รวมภาคเกษตร อาทิ มะพร้าว ยางพารา สับปะรด ปาล์มน้ำมัน รวมทั้งอุตสาหกรรมประมง และยังเป็นที่ตั้งของ 7 โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ คือ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด, บริษัท เหล็กแผ่นรีดเย็นไทย จำกัด, บริษัท เหล็กแผ่นเคลือบไทย จำกัด, บริษัท บางสะพานบาร์มิล จำกัด, บริษัท บี เอส เมทัล จำกัด, บริษัท ยูนิพัลพ์ (ประเทศไทย) จำกัด และโรงงานดีดีออลวู๊ด ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เชื่อว่าจะเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะใช้ด่านและท่าเรือน้ำลึกทำการค้ากับเพื่อนบ้านให้สะดวกขึ้นรองรับการเติบโตของเมียนมาที่สูงถึง7.8%ในอนาคต

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1479291211
See less See more
ไม่แน่ใจว่าเคยมีใครเอามาลงหรือยัง พอดีไปเจอมาครับ


ปล.หากระทู้ท่าเรือน้ำลึกทวายไม่เจอ ลงในนี้ด้วยคงไม่มีปัญหามั้งครับ

"เปรมชัย-อาคม" เร่งเคลียร์ปมทวาย ถกพม่าลุยทางด่วนเชื่อมไทยดึงนักลงทุน

updated: 28 ก.พ. 2560 เวลา 08:01:18 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

หลังโครงการเมกะโปรเจ็กต์ "ท่าเรือน้ำลึกทวาย" ที่ "บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์" ยักษ์รับเหมาของไทยได้สัมปทานพัฒนา 75 ปี ชะงักไปนานนับปี พลันที่รัฐบาลเมียนมามีการผลัดใบ

ล่าสุดเริ่มเคลื่อนไหวอีกครั้ง เมื่อ "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ขนทัพนักธุรกิจตระกูลดังของไทยไปเยือนเมียนมา ซึ่งหนึ่งในนั้นมี "เปรมชัย กรรณสูต" บิ๊กอิตาเลียนไทยฯ ร่วมทริปด้วย

จุดหมายเพื่อยืนยันความพร้อมการลงทุนโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายที่บริษัททุ่มทุนไปกว่า6พันล้านบาทเริ่มต้นโครงการในระยะแรกและขอความมั่นใจจากรัฐบาลเมียนมากับพิมพ์เขียวที่รอการประทับตราจากรัฐบาลชุดใหม่ ทั้งแผนการพัฒนา แหล่งเงินทุน และรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)

เสร็จจากทริปเมียนมา "เปรมชัย" กล่าวว่า ทางรัฐบาลเมียนมาได้ตั้งคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ตั้งแต่ พ.ย. 2559 เพื่อขับเคลื่อนโครงการร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยกับเมียนมา ในส่วนของบริษัทได้สิทธิพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมยังไม่สามารถเริ่มได้ ต้องรอใบอนุญาตการใช้ที่ดิน (Landlist) และใบอนุญาตเริ่มทำงาน คาดว่าจะได้รับอนุญาตให้เริ่มได้ใน 2-3 เดือนนี้

โดยการพัฒนาในเฟสแรก มีพื้นที่ 18,000 ไร่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 700 ล้านเหรียญ จะแล้วเสร็จใน 2 ปี จะทยอยก่อสร้างและเปิดขายพื้นที่ให้นักลงทุนที่สนใจ ภายในจะมีท่าเรือขนาดเล็ก โรงไฟฟ้า ที่พักอาศัย จากนั้นจะทยอยพัฒนาพื้นที่ส่วนที่เหลือ 8000 ไร่

ทั้งนี้รัฐบาลไทยและเมียนมาจะช่วยสร้างถนนเชื่อมชายแดนไทยเข้าไปยังทวาย โดยรัฐบาลไทยให้รัฐบาลเมียนมากู้เงินแบบรัฐต่อรัฐ ในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน โดยนายสมคิด รองนายกรัฐมนตรี มอบให้คมนาคมเป็นผู้การโครงการ

"รูปแบบถนนมีจัดเก็บค่าผ่านทาง โดยรัฐบาลเมียนมาจะเก็บค่าผ่านทางคืนให้กับรัฐบาลไทย ขณะนี้กำลังพิจารณารายละเอียด อีก 2-3 เดือนก็เริ่มสร้างได้ ค่อนข้างมั่นใจว่าโครงการจะมีความก้าวหน้า"

ด้าน "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้หารือร่วมกับ นายเฮนรี วาน เธียว รองประธานาธิบดีสหภาพเมียนมา เมื่อวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา เร่งโครงการก่อสร้างถนน หลังล่าช้ามานาน

โดย "อาคม" ย้ำว่าไทยและเมียนมาหารือการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย โดยให้ความสำคัญการสร้างถนนเชื่อมโยงชายแดนไทยที่ด่านบ้านพุน้ำร้อนกับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ระยะทาง 132 กม. กว่า 4,500 ล้านบาท ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของไทยอนุมัติแล้วให้ความช่วยเหลือเป็นเงินกู้กับรัฐบาลเมียนมา จากสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (NEDA) ทั้งนี้ วงเงินอาจจะเปลี่ยนแปลงเพราะญี่ปุ่นที่เข้าร่วมโครงการ มีข้อเสนอแนะการก่อสร้างทางขึ้น-ลงของถนน ให้กรมทางหลวง (ทล.) ศึกษาแบบรายละเอียดการก่อสร้างที่อาจจะเพิ่มช่องจราจรทางขึ้น-ลงภูเขา

"โครงสร้างพื้นฐานเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้โครงการนี้มีความสำเร็จสร้างความเชื่อมั่นถนนต้องมาก่อนเพื่อส่งเสริมการค้าและลงทุน ซึ่งไทยจะรีบออกแบบรายละเอียดโครงการ และเงินกู้ให้เมียนมาพิจารณา"

ส่วนท่าเรือและโรงไฟฟ้าขนาดเล็กอยู่ในระหว่างการพิจารณาแบบก่อสร้างรายละเอียดเรื่องรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากเมียนมาฝ่ายไทยจะหารือกับอิตาเลียนไทยฯให้เร่งสร้างท่าเรือและโรงไฟฟ้าสำหรับโรงไฟฟ้าได้แจ้งให้กับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงไฟฟ้าและพลังงานเมียนมาซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจทวาย ระยะแรกหากการใช้ไฟฟ้าในทวายระยะเริ่มต้นไม่หมด ทางไทยยินดีรับซื้อต่อ

"รัฐบาลเมียนมารับข้อเสนอและรายละเอียดโครงการ ถนน ท่าเรือ โรงไฟฟ้า ซึ่งมี.ค.นี้จะหารือข้อสรุปอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และวงเงินอีกครั้ง ถือเป็นความก้าวหน้าโครงการนี้หลังเปลี่ยนผ่าน ซึ่งวันนี้ได้รับคำตอบจากเมียนมาว่า โครงการนี้ยังดำเนินการต่อ และเร่งรัดโครงการเพื่อประโยชน์ในด้านนิคมอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว" นายอาคมกล่าว

นอกจากนี้ รองประธานาธิบดีเมียนมาต้องการให้ไทยมีการเปิดด่านชายแดนเชื่อมกับเมียนมาเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ ได้แก่ 1.ด่านแม่สอด จ.ตาก ขณะนี้อยู่ระหว่างสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2.ด่านสิงขร จ.ประจวบคีรีขันธ์ ฝ่ายไทยประกาศเป็นด่านการค้าพิเศษไทย-เมียนมา และเพิ่มการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถเชื่อมเมืองมะริดได้ และ 3.ด่านห้วยต้นนุ่น จ.แม่ฮ่องสอน เชื่อมไปยังเมืองเนย์ปิดอว์

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1488173845
See less See more
...
เอกชนภาคเหนือเสนอตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันตก หรือ WEC โดยใช้ EEC เป็นต้นแบบ

วันที่ 25 ธันวาคม 2560 - 11:41 น.

เอกชนภาคเหนือเสนอตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันตก หรือ WEC โดยใช้ EEC เป็นต้นแบบ หวังให้รัฐช่วยสนับสนุนเพื่อเชื่อมโยงการค้าในอนาคต

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังการประชุมร่วมคณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์และภาคเอกชน ได้แก่ หอการค้า สภาอุตสาหกรรม สภาเกษตรกร และสมาคมการท่องเที่ยว ว่าเบื้องต้นการประชุมครั้งนี้ ผู้นำภาคเอกชนเสนอให้รัฐบาลประกาศจัดตั้งโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันตก (Western Economic Corridor) หรือ WEC เป็นโครงการที่ 2 ต่อจากโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานและศักยภาพของพื้นที่ใน 3 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย และตาก มีความพร้อมแต่ยังขาดการสนับสนุนและเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ และหากสามารถพัฒนาได้ เส้นทางดังกล่าวจะเป็นจุดเชื่อมการค้าสำคัญไปยังประเทศเพื่อนบ้านหรือขยายต่อไปได้จีน อินเดีย


สำหรับศักยภาพในพื้นที่ดังกล่าวนี้ มีสนามบินถึง 3 แห่ง และกำลังจะเพิ่มเป็น 4 แห่งที่แม่ระมาด อีกทั้งยังมีด่านการค้าที่แม่สอดเป็นประตูการค้าสำคัญที่มูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นทุกปี และยังเป็นทางผ่านของสถานีรถไฟความเร็วสูง มีสถานีรถไฟรางคู่ และยังเป็นจุดเชื่อม East-West Economic Corridor ที่สี่แยกอินโดจีน รวมทั้งยังมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูงมาก เช่น อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ที่เป็นพื้นที่มรดกโลก อุ้มผาง และน้ำตกทีลอซู เป็นต้น ซึ่งหากทำได้เชื่อว่า จะเพิ่มมูลค่า GDP ได้ถึงกว่า 4.4 ล้านล้านบาท ภายใน 10 ปี จากปัจจุบันที่มีมูลค่าเพียง 1.6 แสนล้านบาทเท่านั้น

นอกจากนี้ ทางภาคเหนือตอนล่างยังเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านการผลิตและแปรรูปอาหาร อีกทั้งยังมีโอกาสสูงที่จะใช้ประโยชน์จากเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศอนุภูมิภาค ได้แก่ GMS และ BIMSTEC รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพทางการตลาดสูงมาก จึงพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อเตรียมการใช้ประโยชน์จากศักยภาพได้อย่างเต็มที่ เช่นโครงการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าของภาคเหนือตอนล่าง การเชื่อมโยงธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว กับ สสป. ลาว และเมียนมา รวมทั้งจะนำแนวคิดการตลาดนำการผลิตเพื่อสนับสนุนให้ภาคเหนือตอนล่างป็นฐานการผลิตอาหารที่มีมูลค่าสูงและสินค้าเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี สำหรับโครงการที่ภาคเอกชนเสนอในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่น ก็จะประสานให้ได้รับการพิจารณาในระดับรัฐบาลต่อไป

https://www.prachachat.net/economy/news-92291
See less See more
ปล.หากระทู้ท่าเรือน้ำลึกทวายไม่เจอ ลงในนี้ด้วยคงไม่มีปัญหามั้งครับ

ทวาย อยู่นี่

http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=2011001
งัด WEC บูมศก.เหนือ

29 December 2017

“พล.อ.ประยุทธ์” รับหลักการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันตก ชงให้สศช.ไปศึกษาแผนพัฒนา หวังสร้างเศรษฐกิจให้ 3 จังหวัด ตาก สุโขทัย และพิษณุโลก ดันจีพีพีพุ่ง 8.23 แสนล้านบาทใน 10 ปี ดึงโครงการรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ให้เชื่อมต่อ

นายฐาปนา บุญยประวิตร อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย และผู้ประสานเครือข่ายบริษัทพัฒนาเมือง เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าในการประชุมหารือระหว่างพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารท้องถิ่น และผู้แทนเกษตรกรในภาคเหนือ ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ที่ผ่านมา ถึงทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ ได้มีการเสนอให้พื้นที่ 3 จังหวัด ประกอบด้วย ตาก สุโขทัย และพิษณุโลก เป็นพื้นที่พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันตก(West Economic Corridor : WEC) เช่นเดียวกับโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC)


++“ประยุทธ์”รับหลักการแล้ว

โดยผลของการประชุม นายกรัฐมนตรี ได้รับหลักการและมีข้อสั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) รับข้อเสนอการขอสนับสนุนให้ศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาไปประกอบการพิจารณาการขับเคลื่อน WEC ตามขั้นตอน โดยในช่วงต้นเดือนมกราคม 2561 จะมีการบรรยายสรุปแบบเข้มข้นให้กับภาคเอกชนจังหวัดพิษณุโลก ตาก และสุโขทัย เพื่อให้ทราบทิศทางและแนวทางการดำเนินงานในทิศทางเดียวกัน

นายฐาปนา กล่าวอีกว่า สำหรับการผลักดันให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ WEC นั้นมีเป้าหมายที่ต้องการให้ทั้ง 3 จังหวัดเป็นศูนย์กลางด้านการค้าและการลงทุนของภูมิภาค ด้วยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการปรับปรุงผังเมืองรวม รองรับการเป็นศูนย์เศรษฐกิจที่ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ พร้อมเป็นจุดเชื่อมต่อด้านพาณิชยกรรมและการลงทุน ที่จะต้องมีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อระหว่างศูนย์เศรษฐกิจ โดยการลงทุนโดยตรงของภาครัฐและการร่วมลงทุนของภาคเอกชนในแต่ละจังหวัด

นายฐาปนา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ต้องการให้ WEC เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และบริการสุขภาพของอนุภูมิภาคและของภาคเหนือ ด้วยความร่วมมือของสถาบันการศึกษาในพื้นที่ กับโรงพยาบาลขนาดกลาง-ใหญ่ของภาคเอกชนในการปรับปรุงฟื้นฟูหรือขยายกิจการที่มีอยู่เดิมและการลงทุนใหม่ รวมทั้ง การเป็นศูนย์การท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการเป็นศูนย์ประชุมนานาชาติ ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน ที่ดำเนินการด้านท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน และการจัดประชุมและนิทรรศการ


++ยกระดับท่าอากาศยาน

อีกทั้งการเป็นศูนย์กลางการเดินทางและขนส่งของอนุภูมิภาค เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมและขนส่งเป็นการลงทุนที่ใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การลงทุนส่วนใหญ่จะต้องดำเนินการโดยภาครัฐ หรือร่วมลงทุนกับภาคเอกชน

โดยเฉพาะการปรับปรุงฟื้นฟูท่าอากาศยานที่มีอยู่และลงทุนอากาศยานแห่งใหม่ เช่น การยกระดับท่าอากาศยานพิษณุโลกและท่าอากาศยานแม่สอด เป็นท่าอากาศยานนานาชาติ การก่อสร้างท่าอากาศยานจ.ตาก แห่งที่ 2 เป็นต้น

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว รูปแบบการเชื่อมต่อภายในอนุภูมิภาค จะต้องมีโครงข่ายทางรางประเภทรถไฟความเร็วสูง ส่วนต่อขยายสุโขทัย-ตาก-แม่สอด เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง ซึ่งจะสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงของเมียนมาและอินเดียในอนาคตได้ รวมทั้งการมีโครง การขนส่งสินค้าด้วยรถไฟทางคู่ ส่วนต่อขยายพิษณุโลก-สุโขทัย-ตาก-แม่สอด เพื่อขนส่งสินค้าระหว่าง WEC เชื่อมต่อไปยังโครงข่ายรถไฟของเมียนมาและอินเดียในอนาคต เป็นต้น

++10ปีมูลค่าการค้าพุ่ง

สำหรับผลที่จะเกิดขึ้นกับการพัฒนา WEC นั้น หากสามารถดำเนินการตามที่กล่าวมาได้ จะทำให้เพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ยกระดับมูลค่าการค้าระหว่างประเทศด้วยการขับเคลื่อนจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเกิดการลงทุนขึ้นในพื้นที่ โดยมีการประเมินมูลค่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัดหรือจีพีพีในช่วง 10 ปี ของทั้ง 3 จังหวัดอยู่ที่ 8.23 แสนล้านบาท เป็นในส่วนของจ.ตาก 2.25 แสนล้านบาท จ.สุโขทัย 1.85 แสนล้านบาท และพิษณุโลก 4.12 แสนล้านบาท

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,326 วันที่ 28 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560

http://www.thansettakij.com/content/245676

See less See more
ครม.เห็นชอบแผนพัฒนาภาคกลาง4จว.


2018-03-06 15:57:00

นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ซึ่งเป็นการประชุมร่วมกันระหว่างนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดภาคกลางตอนล่าง และภาคเอกชน ได้เห็นชอบแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ที่มี 4 จังหวัด ทั้ง สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์



ทั้งนี้ที่ประชุมได้เห้นชอบการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากครม.เพื่อดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เพชรบุรีตอนล่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีกเป็นเงิน 573 ล้านบาท รวมทั้งโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม ริมแม่น้ำเพชรบุรีระยะที่ 3 โครงการสนับสนุนการปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทนจังหวัดสมุทรสงคราม โครงการฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่เรียนนอกใหม่ในท้องที่จังหวัดเพชรบุรี โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันตก

ขณะเดียวกันยังเห็นชอบโครงการบริหารจัดการขยะจังหวัดสมุทรสงคราม การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและลองสเตย์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง การสนับสนุนการเป็นมหานครแห่งครัวโลก และการยกระดับจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขรเป็นจุดผ่านแดนถาวร

https://www.dailynews.co.th/economic/630923
See less See more
.......
1 - 20 of 38 Posts
This is an older thread, you may not receive a response, and could be reviving an old thread. Please consider creating a new thread.
Top